รนท้าวเทพกระษัตรี
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
เสาร์, 26 กุมภาพันธ์ 2011

ฝากรูป 

รนท้าวเทพกระษัตรี

Thep Krasattri House

 

ภาพบริเวณรนท้าวเทพกระษัตรี

เกาะบ้านเคียน ในเขตเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี

อ.ถลาง จ.ภูเก็ต

 
ท้าวเทพกระษัตรี  (ท่านผู้หญิงจัน)
ท้าวศรีสุนทร (คุณมุก)
พญาถลางทองพูน ณ ถลาง
พญาถลางเทียน  (พญาเพชรคีรีศรีพิไชยสงครามรามคำแหง) เมืองภูเก็จ พญาทุกรราชเทียน (จดหมายพญาเทียน)
แม่ปราง
เจ้าคุณมารดาทอง
พระยกบัตรจุ้ย
มหาดเล็กเนียม
ทองเพ็ง  
 

รนจำลองของท่านย่าจัน(ท้าวเทพกระษัตรี)

สาระ : -

บ้านท้าวเทพกระษัตรี

ภาพบริเวณรนท้าวเทพกระษัตรี

ฝากรูป   

ท้าวเทพกระษัตรีถือกำเนิดเป็นบุตรีคนโตในครอบครัวท่านจอมร้างบ้านเคียน ผู้เป็นเจ้าเมืองถลางประมาณปลายกรุงศรีอยุธยา  พระยาพิมลอัยาขันผู้เป็นสามีได้เป็นเจ้าเมืองถลางในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งเมืองอยู่ที่เกาะบ้านเคียน

 

การค้นหาตำแหน่งบ้านเรือนท้าวเทพกระษัตรี
 ๑. จดหมายเหตุเมืองถลางได้ระบุไว้ว่า     "ครั้นพม่ายกมาตีปากพระได้  กลับแล่นหนีมา ณ บ้าน แลคนซึ่งให้รักษาบ้านเรือนอยู่นั้นแล่นทุ่มบ้านเรือนเสีย  ข้าวของทั้งปวงเป็นอันตราย มีคนเก็บริบเอาไปสิ้น" (ประสิทธิ  ชิณการณ์และสมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ๒๕๒๕:๑๓) เป็นข้อความในจดหมายของท่านผู้หญิงจันมีไปถึงพระยาราชกปิตันที่เมืองปีนัง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๙ (หลังเสร็จศึกถลาง พ.ศ.๒๓๒๘ แล้ว) เหตุการณ์ในช่วงที่ท่านผู้หญิงจันกลับคืนมาถึงบ้านในครั้งนั้น  ท่านผู้หญิงจันเล่าว่าผู้คนหนีภัยพม่าไปเกือบสิ้น  ท่านผู้หญิงจันจึงได้รวบรวมผู้คนมาเสริมค่าย ณ บ้านตะเคียนไว้ต้านศึกพม่า (นรภัยพิจารณ์,ขุน ๒๕๑๐:๑๑๖) ความสอดคล้องต้องกันดังนี้ ตำแหน่งที่บ้านท้าวเทพกระษัตรีจึงควรอยู่ที่บ้านตะเคียน (ชาวบ้านเรียกบ้านเคียน)
 ๒. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เสด็จถึงเมืองถลางตอนปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๕๒ ทรงบันทึกไว้ว่า "บ้านท้าวเทพกระษัตรี ยังชี้ได้ อยู่ริมวัดพระนางสร้าง" (มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ ๒๖๐๖:๙๓) ซึ่งนายคล้อย  ทองเจริญ ผู้เคยเห็นเหตุการณ์ในวันนั้น ยืนยันว่าเมื่อก่อนบริเวณวัดพระนางสร้าง มีอาณาเขตกว้างออกไปทางทิศเหนือถึงริมคลองบางใหญ่ (สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์ ๒๕๒๖:๒๔๒) บ้านท้าวเทพกระษัตรีจึงควรอยู่ด้านทิศเหนือของบริเวณวัดพระนางสร้างและควรอยู่ใกล้กับคลองบางใหญ่

 

 ข้อความในแผ่นป้ายบ้านท้าวเทพกระษัตรี  ตามฉบับร่างของนายสมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์  ซึ่งกลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ  มีมติให้ความเห็นชอบแล้ว มีดังนี้


 "หน้ารนแม่หม้า  มีขามคอม้า  มีหว้ากาจับ  มีต้นม่วงคล้า  มีสระหน้ารน  มีคูโดยรอบ  มีขอบค่ายไผ่"  คำเชิญตายายผีถลางที่บ่งบอกบริเวณรนท้าวเทพกระษัตรี (จัน)


 สถานที่นี้ เดิมเป็นจวนของจอมร้างบ้านเคียน  ผู้รั้งเมืองถลางในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  ตกมาเป็นมรดกของบุตรสาวคือท่านผู้หญิงจัน(ท้าวเทพกระษัตรี)   ท่านผู้หญิงจันได้สร้างค่ายไม้ตะเคียนไว้ต้านศึกพม่าจนพม่าแตกพ่ายไปเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๓๒๘


 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๖ เคยเสด็จทอดพระเนตรเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๕๒ (ร.ศ.๑๒๘)

Click at the image to view full size
ฝากรูป

บรรณานุกรม

ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จกรมพระยา  ไทยรบพม่า พิมพ์ครั้งที่ ๕ ศิลปาบรรณาคาร ๒๕๑๔, ๘๐๗ หน้า


นรภัยพิจารณ์,ขุน "ประวัติท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร" อนุสรณ์ท้าวเทพกระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร หน้า ๑๑๖ โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น
๒๕๑๐ 

ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๒ คุรุสภา ๒๕๐๖,๓๓๖ หน้า


ประสิทธิ  ชิณการณ์ และสมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์  จดหมายเหตุเมืองถลาง  ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต ๒๕๒๕, ๒๗ หน้าอัดสำเนา


พระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.๑๒๘  ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ ๒๕๐๖,
๒๙๐ หน้า


ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต แผนที่ (เพิ่มแผนที่และภาพ)บ้านในค่าย หอวัฒนธรรมภูเก็จ ๑ เมษายน ๒๕๑๐, ๑ หน้า


สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์ เสริมรู้เมืองภูเก็จ ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต ๒๕๒๖, ๒๙๐ หน้า

 

 

****

มห.ภูเก็จ

สารานุกรม มทศ.

Thanit Prathip2 Na2 Thalang

ประวัติศาสตร์ 9 ประวัติศาสตร์ 803

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อังคาร, 13 กุมภาพันธ์ 2018 )