ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พุธ, 02 กุมภาพันธ์ 2011

ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต

 

กลุ่มภาพศาลากลาง

Click at the image to view full size สร้าง พ.ศ. ๒๔๔๙  ค.ศ.1906
ฝากรูป

 

  อาคารศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ตั้งอยู่ ณ หัวมุมถนนนริศร ติดกับถนนสุรินทร์เป็นอาคารสถานที่ราชการที่ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๑๙๓ ตอนที่ ๓๙ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๒๐ หน้า ๒๐๒๗ เนื่องจากเป็นอาคารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และมีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม

Click at the image to view full size
ฝากรูป

เนื่องด้วยพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ฯ สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตมีดำริเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๙ ในการพัฒนามณฑลภูเก็ต รวมทั้งการย้ายที่ว่าการเมืองภูเก็ตซึ่งอยู่ในตลาดเพื่อความสง่างามและใช้ที่ตั้งเดิมทำเหมือง มีดำริให้ไปตั้งที่เขาโต๊ะแซะ เป็นนิคมข้าราชการ โดยมีศูนย์กลางที่ศาลากลาง ดังนั้นพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ซึ่งได้เชิญชาวต่างชาติขุดแร่ดีบุกในเขตประทานบัตรบริเวณถนนหลวงพ่อวัดฉลอง ถนนพังงา ถนนสุรินทร์ และถนนสุทัศน์  คือประทานบัตรแปลงด้านหน้าที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขภูเก็ต โดยให้ฝรั่งสร้างศาลากลางเป็นการแลกเปลี่ยนประทานบัตรการขุดแร่ดีบุกแปลงดังกล่าว บริษัทนั้นก็ให้ช่างชาวอิตาเลี่ยนสร้าง ยังไม่ทันสร้างพระยารัษฎาฯ ก็ถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖ จึงคงมีการสร้างหลังจากนั้น  และรัชกาลที่ ๖ ได้เสด็จไปเปิดศาลารัฐบาล ในคราวเสด็จประพาสภูเก็ตครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๐

Click at the image to view full size
ฝากรูป

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ศาลากลางเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๐๒ เป็นการเสด็จฯครั้งแรกของทั้ง ๒ พระองค์ ในช่วงที่นายอ้วน สุระกุล เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต

Click at the image to view full size
ฝากรูป

 ลักษณะอาคารเป็นอาคาร ๒ ชั้น ทั้งหมด พื้นอาคารชั้นล่างสูงกว่าพื้นดิน ๕ ขั้นบันได ลักษณะการวางผังแบบ SYMMETRICAL BALANCE  ด้านหน้าอาคารเป็นจั่ว    หันหน้าไปทางพระบรมรูปรัชกาลที่ ๕ ซึ่งประดิษฐานอยู่บนแท่นสูงในวงเวียนพระบรมรูปหันพระพักตร์ไปทางประตู ซึ่งไม่ได้ใช้เป็นทางเข้าหลัก เนื่องจากทางด้านนั้นไม่ใช่ทางรถเข้า เป็นเพียงบันไดขึ้น ทางสัญจรหลักสำหรับรถจะเข้าทางด้านข้างของอาคาร


 ตลอดอาคารทั้งชั้น ๑ และชั้น ๒ จะเป็นเสาลอยขนาดเสา ๑๕ ซ.ม. เสาคอนกรีตเสริมเหล็กช่วงเสาถี่  มีทางเดินรอบอาคารระหว่างเสาทุกต้นจะมีลูกกรงปูนโปร่งสีขาว อาคารส่วนที่เป็นไม้จะมีกรอบสีเทาอ่อน ไม้ส่วนอื่นทาสีเทาอมฟ้าอ่อน ทั้งชั้น ๑ และ ๒ ประดับด้วยไม้ฉลุลวดลาย และเกล็ดไม้ตาย เป็นส่วนกันแดด อาคารนี้ไม่มีหน้าต่าง จะเป็นลักษณะประตูเปิดบานคู่ทุก ๆ ช่วงเสา ความสูงประมาณ ๕๐ ซ.ม. กรอบบานสีเทา ตัวบานสีเขียวอมเทา การระบายอากาศของอาคารนี้ดีมาก เป็นอาคารที่โปร่งและเย็นสบาย พื้นภายในอาคารเป็นพื้น ค.ส.ล. ทำผิดเป็นรูเล็ก ๆ โดยตลอดไม่ทาสี พื้นบางส่วนมีการดัดแปลง เช่น ทำเป็นแผ่นหินขัดเรียงต่อๆ กันแบบมีกระเบื้องทางด้านหน้าเมื่อเข้ามาจะเป็นบันได ขึ้นชั้น ๒ บันได เป็นบันไดสีไม้โอ๊คเข้มเกือบดำ  หัวบันไดสลักเป็นรูปดอกไม้กลีบมะเฟืองสวยงามมาก ส่วนลูกกรงบันไดเรียบง่าย เป็นไม้ตีตามตั้งไม่ได้ฉลุ แต่ตีไม้ลักษณะเป็น PATTERN เมื่อขึ้นไปชั้น ๒ จะเป็น COURT ซึ่งมีระเบียงล้อมรอบ ลูกกรงระเบียงเป็นลูกกรงปูนลวดลายเหมือนภายนอก พื้นชั้น ๒ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ทำผิดเป็นรู ๆ เหมือนชั้น ๑ เหนือ COURT เป็นช่วงเปิดโล่งในหลังคา อาคารนี้มี COURT ๒ COURT เป็น COURT ปิด มองไม่เห็นจากภายนอก เพราะล้อมรอบอยู่ด้วยส่วนห้องทำงาน ทั้งชั้น ๑ และชั้น ๒ ภายใน COURT ทำเป็นสวนหย่อมและมีห้องน้ำที่ต่อเติมใหม่ยื่นออกไปใน COURT ทั้ง ๒ COURT นี้ด้วย ทั้ง ๒ COURT มีขนาดเท่ากันอยู่ในตำแหน่งสมมาตร ในอาคารหลังคาอาคารจะมีกันสาดคอนกรีตเสริมเหล็ก ยื่นออกมาจากแนวเสาชั้น ๒ มุงกระเบื้องลอนคู่เป็นมุมต่ำมากมาชนผนังอาคารชั้น ๒ เหนือส่วนนี้เป็นช่องแสง แล้วจึงถึงส่วนหลังคาซึ่งยื่นชายคาออกไปเล็กน้อย  หลังคามุงกระเบื้องซีเมนต์สีแดง มีลักษณะที่แปลกคือแผ่นกระเบื้องบางมากจนมองแทบไม่เห็น ความหนาของกระเบื้องเป็นกระเบื้องแผ่นสี่เหลี่ยมวางซ้อนทับกันเป็นมุมแหลม จะสังเกตได้ว่าอาคารรุ่นที่สร้างใกล้เคียงกับศาลากลางนี้ มักจะมีเสาใหญ่ตั้งแต่ ๖๐ x ๖๐ ซ.ม.ขึ้นไป แต่ศาลากลางเป็นเสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีขนาดเล็กเพียง ๑๕ x ๒๐ ซ.ม. ด้านบนของเสาตกแต่งด้วยไม้ฉลุเป็นลวดลายตรงช่องระบายอากาศมีลวดลาย ๒ ขนาด ลวดลายที่ฉลุบนไม้สักขนาดสั้นอยู่เหนือประตูเป็นรูปดอกไม้คล้ายรูปดอกทิวลิป เหนือขึ้นไปเป็นไม้สักขนาดใหญ่ฉลุเป็นรูปดอกไม้อยู่ในแจกัน อนึ่ง ชั้นบนของอาคารมีนาฬิกาโบราณ    ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพประทานเป็นที่ระลึกเมื่อได้ทรงบัญชาราชการกระทรวงมหาดไทยมาครบ ๒๐ ปี ในพุทธศักราช ๒๔๕๕ ด้วย

 

***

จห.ภูเก็จ

Shatile.fm

การช่างฝีมือ3วัฒน์ สถาปัตยกรรม การช่างฝีมือแถว5

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( จันทร์, 10 ตุลาคม 2011 )