แห่ผ้าขึ้นธาตุมาฆบูชา ๒๕๕๔
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
จันทร์, 24 มกราคม 2011
Click at the image to view full size
ฝากรูป 

กำหนดการ
มาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุนานาชาติที่เมืองนคร ปี ๒๕๕๔
ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
ณ สวนศรีธรรมาโศกราชและวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
…………………….

กิจกรรมตลอดงาน  ระหว่างเวลา ๑๖.๐๐ น. –  ๒๑.๐๐ น.
-      นิทรรศการผ้าพระบฏนานาชาติ มากสไตล์หลายหลากความมหัศจรรย์
       เช่น ผ้าพระบฏทองคำ ผ้าพระบฏยักษ์ จากสวนโมกขพลาราม
- การตามประทีปโคมไฟ และลอยโคม ๑๒ นักษัตร
- ตลาดนัดโบราณขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง
- สาธิตการทำผ้าพระบฏจากทุกภูมิภาค
- การแสดงศิลปวัฒนธรรม
- กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงพุทธ “นั่งรถชมเมือง เล่าเรื่องลิกอร์”
- กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เส้นทาง ๒ พระ ๓ เทพ /เส้นทาง ๔ กาพาเที่ยว
- กิจกรรมท่องเที่ยวตามรอยกินรี ๓ พิพิธภัณฑ์ สร้างสรรค์เดิมพันใจ
- งานแสดงศิลปกรรมพุทธบูชา “งอกเงยด้วยธรรม งดงามด้วยศิลป์” ของ กลุ่มจิตรกรไทย
 
วันที่ ๑๒  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔  : บุญตามรอยธรรมที่เมืองนคร กับ ว.วชิรเมธี  ณ สวนศรีธรรมาโศกราช
- ตามประทีป ๑๒ นักษัตร และ ลอยโคมบูชาพระบรมธาตุ
- การแสดงแสงสีเสียง MINI LIGHT AND SOUND  “ศรีธรรมาโศกราช”
- ปาฐกถาธรรม “ตามรอยธรรมที่เมืองนคร” โดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี)

วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ : บุญเรียนรู้ บูชาผ้าพระบฏ ณ ศูนย์ OTOP สวนศรีธรรมาโศกราช
-    สัมมนาทางวิชาการ “ผ้าพระบฏบูชา” ว่าด้วยการสร้างทำและบูชาผ้าพระบฏ โดยคณะวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม
- การแสดงนิทรรศการและสาธิตการสร้างทำผ้าพระบฏนานาชาติและจากทุกภูมิภาคทั่วไทย
- การแสดงภาพจิตรกรรมไทยชุด “งอกเงยด้วยธรรม งดงามด้วยศิลป์” ของ  ๔๐ จิตรกรชั้นนำของประเทศ
-   การแสดงทางวัฒนธรรม ๔ ภาค  โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่,  ร้อยเอ็ด,  เทพสตรี,  นครศรีธรรมราช

 


วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔  : บุญแห่งรัก ณ สวนศรีธรรมาโศกราช
- ดาราพาธรรมกลับบ้านเกิด  โดยพัชรี  พรหมช่วย /แทนคุณ จิตต์อิสระ/ ยุทธพิชัย ชาญเลขา / สุนิสา สุขบุญสังข์ / สมฤทธิ์  ลือชัย / นายแพทย์บัญชา  พงษ์พานิช
- กิจกรรมของเยาวชนคนนคร “ชวนคนรักเข้าวัด”  ริเริ่มเพิ่มคุณค่าแห่งรัก ด้วยการทำทาน ถือศีล เจริญจิตภาวนา
             -    ชมชุดการแสดงโขน  จากวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช 

วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔: บุญสวดด้าน โอ้เอ้วิหารราย
 -     การสมโภชผ้าพระบฏ
-  ๕ กิจกรรม “ ธรรมะสรรค์สร้าง ”  ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
-     ชมชุดการแสดงโขน  จากวิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง

วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔  : บุญกวนข้าวมธุปายาสยาคู  ณ สวนศรีธรรมาโศกราช
- การสมโภชผ้าพระบฏ
- แห่ผ้าพระบฏของภูมิภาคต่างๆ
- พิธีกวนข้าวมธุปายาสยาคู  ๑๒ กะทะ ๑๒ราศี/นักษัตรตามปีเกิด โดย อาจารย์ คฑา ชินบัญชร 
- พิธีสวดชัยมงคลคาถา โดยพระสงฆ์ไทยและนานาชาติ  จาก ศรีลังกา จีน เวียดนาม อินเดีย ฯลฯ
-     ชมการแสดง MINI LIGHT AND SOUND “ชุดศรีธรรมาโศกราช” 

วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔  : บุญเครื่องพุทธบูชาผ้าพระบฏ  ณ สวนศรีธรรมาโศกราช
-      แห่ผ้าพระบฏของภูมิภาคต่างๆ
- พิธีรับผ้าพระบฏพระราชทานจากอำเภอปากพนัง
-      พิธีมหาพุทธาภิเษกผ้าพระบฏพระราชทาน / ผ้าพระบฏนานาชาติ / ผ้าพระบฏจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
    โดยเกจิอาจารย์ชื่อดัง ๘ รูป นั่งปรกบริกรรม
- ร่วมสวดชัยมงคลคาถา โดยพระสงฆ์ไทย และนานาชาติ
- ชมการแสดงทางวัฒนธรรมจากนานาชาติจาก ๔ ชาติ ๒ ฝากฝั่งแหลมทอง ศรีลังกา  อินเดีย จีน ญี่ปุ่น
- ชมการแสดง MINI LIGHT AND SOUND “ชุดศรีธรรมาโศกราช”

วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔  : บุญแห่ผ้าขึ้นธาตุ สีสันแห่งศรัทธา  ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร                                                                                         -      พิธีตักบาตร
- พิธีเปิด  โดย ฯ พณฯ  ธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน     
       นายสุรพล เศวตเศรนี   ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวรายงาน
- ชมริ้วขบวนแห่ผ้าพระบฏ มรดกแห่งศรัทธา ตื่นตากับผ้าพระบฏนานาชาติ และ๔ ภูมิภาคของไทย
- ชมการแสดงเพื่อเป็นพุทธบูชาจากประเทศศรีลังกา  อินเดีย  จีน และ การแสดงมโนราห์ จากวิทยาลัยนาฏศิลป์ นครศรีธรรมราช
- พิธีถวายผ้าพระบฏเพื่อเป็นเครื่องพุทธบูชา  อันจะนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคลอันยิ่งใหญ่
- ปรารภธรรมและเวียนเทียนมาฆบูชา       

  

Click at the image to view full size
ฝากรูป
สรุปรายละเอียด งาน “มาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุนานาชาติที่เมืองนคร” ๒๕๕๔
๑๒- ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
ณ สวนศรีธรรมาโศกราช และวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

 

๑. ความเป็นมาและความสำคัญของกิจกรรม

ร่วม ๘๐๐ ปี ที่ประเพณีแห่ผ้าบูชาพระบรมธาตุเจดีย์เมืองนครได้รับการสืบสานอย่างต่อเนื่องมาแต่ครั้งผขาวอริยพงษ์แห่งหงสาวดีอัญเชิญผ้าพระบฏมา แล้วพญาศรีธรรมาโศกราชให้นำขึ้นห่มสมโภชองค์พระบรมธาตุเจดีย์สืบเนื่องต่อกันมาถึงปัจจุบันที่ชาวพุทธต่างถือเป็นหนึ่งในโอกาสอันเป็นมหามงคลแก่ชีวิต ที่ปีละครั้งต้องมาร่วมบูชาให้จงได้ หรือไม่ก็อย่างน้อยก็สักครั้งหนึ่งในชีวิต         เป็นประเพณีที่มีเพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทยและเป็นประเพณีวัฒนธรรมสำคัญของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช ตลอดจนชาวภาคใต้และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย     มีศักยภาพในการยกระดับพัฒนาในหลากหลายมิติของการพัฒนาทั้งด้านชีวิตและสังคมวัฒนธรรม เนื่องด้วยกิจกรรมที่พัฒนาสร้างสรรค์เป็นกิจกรรมบริการขนาดใหญ่ จึงมีผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาสร้างสรรค์หลายระดับ ถือกันว่าเป็นหนึ่งในกิจกรรมมหากุศลที่ชาวพุทธพึงได้บำเพ็ญสักครั้งหนึ่งในชีวิต  จึงเห็นควรยกระดับมาตรฐานการจัดกิจกรรมมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ ให้เป็นกิจกรรมระดับนานาชาติ    โดยมุ่งหมายให้เป็นนครแห่งการจาริกแสวงบุญของชาวพุทธทั่วไปในสี่เหลี่ยมแสวงบุญของโลก ประกอบด้วย  ๔ สังเวชนียสถาน คือ     ๑.) สังเวชนียสถาน ในประเทศอินเดีย ๒.) อนุราธปุระ-โปโลนารุวะ ประเทศศรีลังกา  ๓.) มหาเจดีย์   ชเวดากอง  สหภาพพม่า และ ๔.) พระบรมธาตุเจดีย์  นครศรีธรรมราช  ซึ่งในขณะนี้องค์พระบรมธาตุเจดีย์อยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

๒. รูปแบบของการดำเนินกิจกรรม 

เนื่องในปี พุทธศักราช ๒๕๕๔ อันเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ              ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ขยายยกระดับพัฒนาเป็นงานที่มุ่งหมายในการประกาศพุทธธรรมด้วยหลากหลายรูปแบบและลีลาจากทั่วทั้งประเทศและนานาชาติ โดยเฉพาะจาก    ศรีลังกาและอินเดีย อันเป็นกัลยาณมิตรต้นเค้าของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ตลอดระยะเวลา    ๑ สัปดาห์แห่งมาฆะมาส ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และสวนศรีธรรมาโศกราช อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ระหว่างเวลา ๑๖.๐๐ น. – ๒๑.๐๐ น.ประกอบด้วยกิจกรรมเด่นในแต่ละวันดังนี้

วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ : บุญตามรอยธรรมที่เมืองนคร กับ พระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี) ตามรอยธรรม นำสู่เมืองพุทธภูมิ (เพื่อเชิญชวนถือศีลประพฤติพรหมจรรย์ตามโอวาทปาฏิโมกข์ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเมื่อคืนเพ็ญเดือนมาฆะ อันเป็นที่มาแห่งประเพณีมาฆบูชาเมื่อครั้งพุทธกาล
ประกอบด้วยการแสดงแสงสีเสียง Mini Light & Sound “ศรีธรรมาโศกราช”

 

 วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ : บุญเรียนรู้ บูชาผ้าพระบฏ
เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และศึกษานานาแบบอย่างของการบูชาด้วยผ้าพระบฏของทั้งคนไทยและนานาชาติ พร้อมการชื่นชมนิทรรศการชุดพิเศษของกลุ่มจิตรกรไทย ผู้รังสรรค์ภาพฝาผนังวัดพุทธปทีป ณ กรุงลอนดอน และ ณ สวนโมกข์กรุงเทพ
ประกอบด้วย
- การสัมมนาทางวิชาการ “ผ้าพระบฏบูชา” โดยคณะวิทยากรทางศิลปะ ประวัติศาสตร์
   และศาสนาประเพณีชั้นนำ ว่าด้วยการสร้างทำและบูชาด้วยผ้าพระบฏของ
   พุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและทั่วโลก
- การแสดงภาพจิตรกรรมไทยชุด “งอกเงยด้วยธรรม งดงามด้วยศิลป์” ของ ๔๐ จิตรกร
   ชั้นนำของประเทศ (ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔)

วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ : บุญแห่งรัก
เพื่อขยายความหมายแห่งความรักให้กว้างขวางและมีคุณค่าในโอกาสที่วันแห่งความรักอยู่ในช่วงสัปดาห์มาฆบูชา
ประกอบด้วย
- ดาราพาธรรมกลับบ้านเกิด โดยพัชรี พรหมช่วย / แทนคุณ จิตต์อิสระ /ยุทธพิชัย ชาญเลขา
  /สุนิสา สุขบุญสังข์ และสมฤทธิ์ ลือชัย ร่วมฟังข้อคิดความเห็นจากดาราที่ชวนเพื่อน
  พ้องดาราพาธรรมกลับบ้านเกิด
-  ชวนคนรักเข้าวัด การริเริ่มเพิ่มคุณค่าแห่งความรัก ด้วยการแสดงความรักที่ดีงามแก่
  บุคคลอันเป็นที่รัก ทั้งบิดามารดา ปู่ย่าตายาย บุตรหลาน รวมทั้งคนรัก ชวนกันเข้าวัด
  ไหว้พระ ทำบุญ ถือศีล ทำสมาธิ และเจริญจิตภาวนา ตามกำลังและอัตภาพ กับพระ
  ครูบาอาจารย์ที่เคารพนับถือ หรือ ณ วัดใกล้บ้าน 

วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ : บุญสวดด้าน โอ้เอ้วิหารราย
(ต้นแบบแห่งการสวดโอ้เอ้วิหารรายของกรุงรัตนโกสินทร์ที่หายสูญ) ฟังการสวดกลอนเล่านิทานธรรม แบบอย่างนันทนาการของคนรุ่นก่อนที่บุตรหลานนำมาสืบสาน
 ประกอบด้วย
- การสาธิตและประกวดแข่งขันการสวดกลอนแบบเก่าของคนนคร ที่นิยมอ่านและเล่า
   เล่นก่อนการแสดงธรรมที่ธรรมาสน์พระด้าน ณ ฐานองค์พระบรมธาตุเจดีย์  เป็นที่มา
   ของความเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน ตลอดจนต้นเค้าของการสวดโอ้เอ้วิหารราย ณ
   วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งทุกวันนี้
   หาชมและฟังได้ยากยิ่ง
- การสมโภชผ้าพระบฏ
- ๕ กิจกรรม “ธรรมะสรรค์สร้าง”
- การแสดงโขนจากวิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง

 วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ : บุญกวนข้าวมธุปายาสยาคู
ร่วมถือศีลและประพฤติพรหมจรรย์แล้วกวนข้าวมธุปายาสยาคูอันเป็นเสมือนอาหารทิพย์ที่ พระพุทธองค์ทรงเสวยก่อนการบรรลุธรรม ถวายพระแล้วแบ่งปันกันกินเสริมสร้างกำลังกาย ใจ และ ปัญญา
ประกอบด้วย
- พิธีกวนข้าวมธุปายาสยาคู ๑๒ กะทะ ๑๒ ราศี/นักษัตรตามปีเกิด โดย อาจารย์ คฑา ชินบัญชร 
 ร่วมทำบุญด้วยข้าวอ่อนที่กำลังตั้งท้องมีน้ำนม หรือน้ำตาล นม ผลไม้ต่าง ๆ พร้อมกับ
 การตั้งกองกวนข้าวมธุปายาสยาคู มีการตั้งเตาครบตามปีนักษัตร ๑๒ เตา ให้เข้าร่วม
 กวนจนสุกสมบูรณ์แล้วแบ่งนำไปถวายพระ พร้อมกับแบ่งกันกิน พร้อมกับนำกลับไป
 ฝากกัลยาณมิตรเป็นของทิพย์ควรค่า
- พิธีสวดชัยมงคลคาถา โดยพระสงฆ์ไทยและนานาชาติ จาก ศรีลังกา จีน เวียดนาม
 อินเดีย ฯลฯ
- การแสดง MINI LIGHT AND SOUND “ชุดศรีธรรมาโศกราช”
 
วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ : บุญเครื่องพุทธบูชาผ้าพระบฏ 
ประกอบด้วย
- การแห่ผ้าพระบฏของภูมิภาคต่าง ๆ
- พิธีรับผ้าพระบฏพระราชทานจากอำเภอปากพนัง
- พิธีพุทธาภิเษกผ้าพระบฏพระราชทาน / ผ้าพระบฏนานาชาติ / ผ้าพระบฏจาก หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน โดยเกจิอาจารย์ชื่อดัง ๘ รูป นั่งปรกบริกรรม
- ร่วมสวดชัยมงคลคาถา โดยพระสงฆ์ไทย และนานาชาติ
- ชมการแสดง MINI LIGHT AND SOUND “ชุดศรีธรรมาโศกราช”
หมายเหตุ  เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เป็นเจ้าภาพจัดเลี้ยงรับรองสำหรับนักท่องเที่ยว และจัดให้มีการแสดงจาก ทางวัฒนธรรมจากนานาชาติจาก ศรีลังกา จีน อินเดีย และประเทศญี่ปุ่น

วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ : บุญแห่ผ้าขึ้นธาตุ สีสันแห่งศรัทธา
(ตลอดแนวถนนราชดำเนินจากสนามหน้าเมืองถึงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร)
ร่วมขบวนแห่ผ้าอันศักดิ์สิทธิ์ของผู้คนนับหมื่นแสนที่สืบทอดมาร่วม ๘๐๐ ปี จากหน้าประตูเมืองนครสู่องค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช
ประกอบด้วย
- พิธีตักบาตร
- พิธีเปิด  โดย ฯ พณฯ  ธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  เป็นประธาน     
         นายสุรพล เศวตเศรนี   ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวรายงาน
- ชมริ้วขบวนแห่ผ้าพระบฏ มรดกแห่งศรัทธา ตื่นตากับผ้าพระบฏนานาชาติ และ ๔  
   ภูมิภาคของไทย
- ชมการแสดงเพื่อเป็นพุทธบูชาจากประเทศศรีลังกา  อินเดีย  จีน และ การแสดง   
   มโนราห์ จากวิทยาลัยนาฏศิลป์ นครศรีธรรมราช
- พิธีถวายผ้าพระบฏเพื่อเป็นเครื่องพุทธบูชา  อันจะนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคลอัน
   ยิ่งใหญ่
- ปรารภธรรมและเวียนเทียนมาฆบูชา  
หมายเหตุ ชมรม Balloon แห่งประเทศไทย ร่วมนำผ้าพระบฏสู่ท้องฟ้าและบันทึกภาพแห่งความประทับใจในมุมสูง
กิจกรรมอื่น ๆ ที่จัดตลอดงาน ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ประกอบด้วย
- การตามประทีปโคมไฟ และลอยโคม ๑๒ นักษัตร
- ตลาดนัดโบราณขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง
- สาธิตการทาผ้าพระบฏจากทุกภูมิภาค
- การแสดงศิลปวัฒนธรรม
- กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงพุทธ “นั่งรถชมเมือง เล่าเรื่องลิกอร์”
-กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เส้นทาง ๒ พระ ๓ เทพ /เส้นทาง ๔ กาพาเที่ยว
-กิจกรรมท่องเที่ยวตามรอยกินรี ๓ พิพิธภัณฑ์ สร้างสรรค์เดิมพันใจ
-งานแสดงศิลปกรรมพุทธบูชา “งอกเงยด้วยธรรม งดงามด้วยศิลป์” ของ กลุ่มจิตรกรไทย

  
นิยามศัพท์เฉพาะ
ผ้าพระบฏ  : ความเป็นมาของพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช
โดยสันนิษฐานว่าเป็นประเพณีที่รับมาจากอินเดีย ตามประวัติกล่าวว่าในสมัยพระเจ้าสามพี่น้อง คือ  พระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระเจ้าจันทรภาณุ และพระเจ้าพงษาสุระ กำลังเตรียมการสมโภชพระบรมธาตุอยู่นั้น คลื่นได้ซัดเอาผ้าแถบใหญ่ยาวผืนหนึ่ง ซึ่งมีลายเขียนพุทธประวัติ เรียกว่า “ผ้าพระบฏ”  ขึ้นที่ชายหาดอำเภอปากพนัง   ก่อนวันสมโภชพระบรมธาตุไม่กี่วัน ชาวปากพนังได้เก็บผ้านั้นไปถวายพระเจ้าศรีธรรมโศกราช  พระองค์ได้รับสั่งให้ซัก “ผ้าพระบฏ”  จนสะอาด ปรากฏว่า ลวดลายบนพื้นผ้ายังเด่นชัดมิได้ลบเลือนเมื่อซักเสร็จก็ประกาศหาเจ้าของ ต่อมาได้ทราบว่าเป็นของพุทธศาสนิกชนกลุ่มหนึ่งที่ลงเรือรอนแรมมาจากเมืองอินทรปัตร(แถบลุ่มแม่น้ำโขงประเทศกัมพูชา ปัจจุบัน) จะเดินทางนำผ้าพระบฏไปบูชาพระบาทในเมืองลังกา แต่เรือโดนมรสุมเสียก่อน  มีผู้รอดชีวิตเพียงสิบคน  พระเจ้าศรีธรรมโศกราช  พิจารณาว่าควรนำ ผ้าพระบฏ   ขึ้นไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์เป็นพุทธบูชา  เนื่องในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุ  และได้ถือเป็นงานประจำปีของเจ้าเมืองนคร ทุกยุคทุกสมัยจะต้องจัดให้มีการสมโภชพระบรมธาตุและแห่แหน “ผ้าพระบฏ” ขึ้นห่มองค์-     พระบรมธาตุสืบเนื่องถึงปัจจุบันนี้ อย่างไรก็ตามการแห่ผ้าขึ้นธาตุนิยมกระทำกันในวันมาฆบูชาและวันวิสาขบูชา จากบัดนั้นมาร่วม ๘๐๐ ปี

กิจกรรมเสริม : การกวนข้าวยาคูข้าวยาคู (หรือข้าวยาโค)
ข้าวยาคูข้าวยาคู (หรือข้าวยาโค) เป็นชื่อที่ชาวนครศรีธรรมราชเรียกกันทั่วไป   ในพุทธประวัติเรียกว่า “ข้าวมธุปายาสยาคู” ซึ่งเป็นข้าวที่นางสุชาดานำไปถวายพระพุทธเจ้า มีใจความสรุปได้ดังนี้ ในตอนเช้าวันหนึ่ง นางสุชาดาบุตรีกระฎุมพี นายใหญ่แห่งบ้านเสนานิคม ณ ตำบลอุรุเวลา ปรารถนาจะทำการบวงสรวงเทวดา    จึงหุงข้าวมธุปายาสยาคู คือข้าวสุกหุงด้วยน้ำนมโคล้วน เสร็จแล้วจัดลงในถาดทองคำ นำไปที่โพธิฤกษ์เห็น มหาบุรุษนั่งอยู่  สำคัญว่าเป็นเทวดาจึงน้อมนำข้าวมธุปายาสยาคูเข้าไปถวาย ในเวลานั้น บาตรของพระองค์เผอิญอันตรธานหายไป พระองค์ทรงรับข้าวมธุปายาสยาคูนั้นทั้งถาดด้วยพระหัตถ์แล้วทอดพระเนตรดูนาง  นางทราบพระอาการจึงทูลถวายทั้งถาดแล้วกลับไป มหาบุรุษทรงถือถาดข้าวมธุปายาสยาคูเสด็จไปสู่ท่าน้ำ แห่งเนรัญชรา เมื่อทรงน้ำแล้วจึงได้เสวยข้าวมธุปายาสยาคูจนหมด จึงทรงลอยถาดเสีย  หลังจากพระองค์ได้เสวยข้าวมธุปายาสยาคูของนางสุชาดาแล้ว ก็ได้ทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณในคืนนั้นเอง จึงถือเอาเดือนสามเป็นเดือนที่กระทำการกวนข้าวยาคู ซึ่งตรงกับเดือนแห่งมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ ชาวใต้จึงเชื่อกันว่า มธุปายาสยาคู  เป็นยาวิเศษ  ผู้ใดมีวาสนาได้รับประทานจะจัดโรคร้ายทุกชนิดร่างกายจะเจริญเติบโต  มีพลังและสมบูรณ์ด้วยปัญญา  เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตทำมาหากินบังเกิดผล
ผ้าพระบฎนานาชาติ
ผ้าพระบฏ : เครื่องบูชาพระพุทธเจ้าของชาวพุทธทั่วโลก
ผ้าพระบฏ เปรียบเสมือนหนึ่งในเครื่องบูชาพระพุทธเจ้าของชาวพุทธทั่วทั้งโลกมาเนิ่นนาน ตั้งแต่สมัยพุทธกาลในอินเดียโดยรวมแล้วถือเป็นเครื่องพุทธบูชา สร้างกุศลให้ตนเอง ตลอดจนอุทิศส่วนกุศลแด่ผู้อื่น รวมทั้งประกอบในการสื่อสารธรรมะ การเฉลิมฉลอง และพิธีกรรมต่าง ๆ จนถึงขั้นสูงสุดคือความมุ่งหมายได้บรรลุถึงซึ่งนิพพานหรือได้พบพระศรีอาริยเมตไตรย ดังที่มักนิยมเขียนกำกับไว้ว่า     “...นิพานปัจโยโหตุ ขอให้พบพระอาริยเมตรัย,...ขอให้สำเร็จนิพพานเทอญ,...ขอให้เข้านิพพานพระปัจโยโหตุ...” ในภาคเหนือ ที่กำลังกลายเป็นเพียงเครื่องประดับตกแต่งและบูชาในฐานะธง-ตุงแบบต่าง ๆ  ขณะที่ในภูมิภาคอื่นก็เหลืออยู่เพียงในบางประเพณีพิธีกรรมเท่านั้น เช่นงานบุญผะเหวด หนึ่งในฮีตสิบสองของภาคอีสาน     งานบุญเทศน์มหาชาติของภาคกลาง รวมถึงงานบุญแห่ผ้าขึ้นธาตุของเมืองนครศรีธรรมราชที่ภาคใต้ มีนานาประเทศ เข้าร่วมงาน ประเทศศรีลังกา  เนปาล  ทิเบต จีน บังกลาเทศ  เวียดนาม พม่า กัมพูชา ลาว ญี่ปุ่น รัฐเคดาห์และปีนัง ประเทศมาเลเซีย และจาก ๔ ภูมิภาคของประเทศไทย
  


  
                                  *****************

หมายเหตุการบันทึก
มนุษยศาสตร์ มนุษยศาสตร์1
Thamabutr Butrtham

 

 

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( จันทร์, 24 มกราคม 2011 )