ครูมีหน้าที่สอนคนให้เกิดการเรียนรู้
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
ศุกร์, 26 กุมภาพันธ์ 2010
วันพฤหัสบดี ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553

สอนคน ต้องตรงเป้า

Posted by Dr.Kaew , ผู้อ่าน : 89 , 08:50:47 น.  
หมวด : การศึกษา 

 
 
ดร.ปกรณ์ สุปินานนท์
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ในเรื่องงานฝึกอบรม หลักสูตรและการสอน เพื่อเสริมสร้างและเติมเต็มให้กับครูและนักฝึกอบรม เป็นเวทีแลกเปลี่ยนในเรื่องการศึกษา เป็นชุมชน Online ของครูไทยในโลกของการสื่อสารที่ไร้พรมแดน
Permalink : http://www.oknation.net/blog/learning  

 

Training (การฝึกอบรม) และ Education (การศึกษา) ต่างมีเป้าหมายเดียวกันคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียนให้เป็นไปตามผู้สอนตั้งใจไว้  โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของ
ผู้เรียน ผู้สอนต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะพัฒนาพฤติกรรมใดเพื่อเป้าหมายในการสอนและประเมินผล

การเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมในแผนการสอนเพื่อฝึกอบรมพนักงานจะทำให้ผู้สอนรู้ว่าเมื่อจบหลักสูตรแล้วผู้เรียนจะได้อะไรกลับไป และผู้สอนเองก็มีเป้าหมายชัดเจนว่าจะสอนหัวข้ออะไร เพื่อผู้สอนสร้างเนื้อหาและกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้โดยง่าย ไม่สับสน โดยเฉพาะผู้สอนที่มีองค์ความรู้มากมายมักจะเลือกไม่ถูกว่าจะเอาหัวข้อใดสอน เพราะมันน่าสอนไปหมด หากเรามีเป้าหมายเป็นตัวตั้งไว้ก่อนว่าหัวข้อและกิจกรรมใดตอบโจทย์ของวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมได้ดีที่สุด จะได้เลือกใช้หัวข้อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่เราตั้งไว้

ปัญหาของ Trainer ส่วนใหญ่มักไม่รู้จะเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมอย่างไร  ทำให้ไม่อยากทำแผนการสอน ซึ่งถ้าท่านไม่ทำแผนการสอนก็เหมือนดาราไม่มีบท (Script) ในการแสดง ยิ่งถ้าเป็นวิทยากรมือใหม่ไม่มีแผนการสอน โอกาสตกม้าตายมีสูง หรือแม้แต่ Trainer มือเก่าเองถ้าไม่เตรียมตัวหรือไม่เตรียมแผนการสอนที่ดีก็มีโอกาสพลาดได้เช่นกัน

หัวใจของแผนการสอน คือ วัตถุประสงค์ที่เราต้องวางเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนว่าจะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในระดับใด โดยผมขอยกทฤษฎีการเรียนรู้ของ Benjamin S. Bloom  ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มพฤติกรรมทางสมองที่ออกแบบทฤษฏี Bloom’s Taxonomy และได้รับการพัฒนาต่อยอดโดย Lorin Anderson ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ Bloom  ซึ่งช่วยให้การเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมด้านความรู้ ความจำ(Cognitive Domain) สามารถประเมินผลผู้เรียนได้ชัดเจนมากขึ้น

จากภาพด้านบนจะเห็นว่า ผู้เรียนเริ่มจากการรับรู้เพื่อเรียนรู้จากเรื่องที่ง่ายไปหายาก ให้ผู้เรียนได้จดจำก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ความเข้าใจ นำไปใช้ วิเคราะห์ ประเมินค่า จนผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆได้เอง โดยผู้สอนต้องพิจารณาว่าจะสอนผู้เรียนให้รับรู้ได้ในระดับใดเพื่อนำมาเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม โดยเลือกใช้คำต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับขั้นการรับรู้ในการเขียนวัตถุประสงค์
ได้ดังนี้

ขั้นที่ 1 จำ : ให้คำจำกัดความ (Define),จำลอง (Duplicate),จัดทำรายการ(List),จดจำ(Memorize),ระลึก(Recall),พูดซ้ำ (Repeat),คัดลอก(Reproduce State)
ตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์ : ผู้เรียนจดจำบัตรเครดิตได้
(เพราะผมต้องการให้ผู้เรียนจำรูปลักษณะของบัตรเครดิตต่าง ๆ ที่บริษัทรับบริการ)

ขั้นที่ 2 เข้าใจ : แยกหมวดหมู่(Classify),บรรยาย(Describe),อภิปราย(Discuss),ชี้แจงเหตุผล(Explain),จำแนก(Indentify),หาแหล่งที่ตั้ง(Locate),จำแนกออก(recognize),รายงาน(Report),คัดสรร(Select),แปลความ(Translate),การถอดความ(Paraphrase)
ตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์ : ผู้เรียนบรรยายลักษณะของบัตรเครดิตได้ 
(เพราะผมต้องการให้ผู้เรียนบรรยายได้ว่าลักษณะของบัตรเครดิตมีสัญลักษณ์หรือรูปแบบลักษณะใดบ้าง)

ขั้นที่ 3 ประยุกต์ใช้ : เลือก(Choose),แสดง(Demonsrate),ละคร(Dramatize),บริการอาชีพ(Employ),อธิบายพร้อมตัวอย่าง (Illustrate),ปฏิบัติการ(Operate),กำหนดการทำงาน(Schedule),ร่าง(Sketch),แก้ปัญหา(solve),ใช้(Use),เขียน(Write)
ตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์ : ผู้เรียนสามารถแจ้งสิทธิประโยชน์เมื่อลูกค้าใช้บัตรเครดิตได้ถูกต้อง
(เพราะผมต้องการให้ผู้เรียนเลือกรับบัตรเครดิตจากลูกค้าและให้คำแนะนำสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ กับลูกค้า โดยแสดงบทบาทสมมุติ หรือใช้เกมโดยให้เลือกว่าจะรับบัตรใบนี้หรือไม่ เป็นต้น)

ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ : ประเมินค่า(Appraise),เปรียบเทียบ(Compare),แตกต่าง(Contrast),วิจารณ์(Criticize),จำแนก(Differentiate),แบ่งแยก(Discriminate),วินิจฉัย(Distinguish),ตรวจสอบ(Examine),ทดลอง (Experiment)
ตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์ : ผู้เรียนจำแนกความแตกต่างของบัตรเครดิตและบัตรประเภทต่าง ๆ ได้ (เพราะผมต้องการให้ผู้เรียนแยกแยะบัตรประเภทต่าง ๆ ที่ร้านรับบริการ เพื่อสิทธิ์ของลูกค้าที่แตกต่างกันตามสิทธิ์ของบัตรแต่ละประเภท เช่น บัตรเครดิต , บัตรส่วนลด , บัตรพนักงานที่เป็นส่วนลดได้  เป็นต้น

ขั้นที่ 5 ประเมินค่า : ประเมินค่า(Appraise),อภิปราย(Argue),แก้ต่าง(Defend),พิจารณาตัดสิน(Judge),เลือก(Select),สนับสนุน(Support),ให้คุณค่า(Value),ประเมินค่า(Evaluation)
ตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์  : ผู้เรียนอภิปรายถึงข้อดีในการใช้บัตรเครดิตของลูกค้าได้
(เพราะผมต้องการให้ผู้เรียนเชียร์ลูกค้าให้ใช้บัตรเครดิตแทนเงินสด เพื่อเพิ่มยอดขายและสะสมแต้มของลูกค้า)

ขั้นที่ 6 สร้างสรรค์ : รวบรวม(Assemble),สร้าง(Construct),สร้างสรรค์(Creat),ออกแบบ(Design),พัฒนา(Develop),คิดสูตร-คิดระบบ(Formulate),เขียน(Write)
ตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์ : ผู้เรียนสามารถวางแผนการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายจากการใช้บัตรเครดิตของลูกค้าได้
(เพราะผมต้องการให้ผู้เรียนคิดแผนการตลาดใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มยอดขายที่ใช้จ่ายร่วมกับบัตรเครดิต)

การเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมในแผนการสอนต้องพิจารณาว่าเราต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในระดับใดโดยดูจากนโยบายบริษัท เช่น จาก Job Description หรือ Competency เป็นต้น
โดยพิจารณาถึงเวลาการฝึกอบรมว่ามีมากน้อยแค่ไหนด้วย เพราะถ้าเราตั้งวัตถุประสงค์ในระดับขั้นสูงเกินไป เช่น ผู้เรียนเป็นพนักงานเสิร์ฟที่เรียนรู้ในระดับขั้นที่ 2 ก็เพียงพอตามลักษณะงานประจำที่ทำ คือ “บรรยายลักษณะของบัตรเครดิตได้”  แต่วัตถุประสงค์เราเขียนในแผนการสอนถึงระดับขั้นที่ 6 คือ “สามารถวางแผนการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายจากการใช้บัตรเครดิตของลูกค้าได้”  ก็เกินความจำเป็นและสูญเสียทรัพยากรโดยใช่เหตุ เช่น เสียเวลาที่ต้องใช้ฝึกอบรม เพราะกว่าพนักงานเสิร์ฟจะเข้าใจตามวัตถุประสงค์ถึงระดับขั้นที่ 6 ซึ่งยากกว่าในระดับขั้นที่ 2 มาก  คงใช้เวลาอบรมกันหลายวัน แทนที่จะนำเวลาที่มีฝึกอบรมในเรื่องที่จำเป็นในเนื้องานที่ทำจริง ๆ

 

อ้างอิง

http://www.norsorpor.com/go2.php?t=m&u=http%3A%2F%2Fwww.oknation.net%2Fblog%2Flearning%2F2010%2F02%2F25%2Fentry-1