พระปฏิมากรรม
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
ศุกร์, 06 พฤศจิกายน 2009

ทำไมเรียกชื่อพระพุทธรูป ว่าเชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง รัตนโกสินทร์ แล้ว อยุธยาหายไหน

vote  

ไม่เข้าใจ

จากคุณ: โฟมน่ารัก
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 17:52:25
ถูกใจ: วาหนิติ์นิกร



      ความคิดเห็นที่ 1  

      -ที่กล่าวมาจะมีลักษณะเฉพาะของงาน
      รอผู้ชำนาญ ตัวจริงมาอธิบาย
      -อย่างพวกเจดีย์ก็เหมือนกัน คนทั่วไป
      ดูแล้วก็เหมือนๆกัน แต่จะมีลักษณะเฉพาะที่ดูง่ายๆ เช่นที่ฐานใต้ปล่องไฉน คนที่รู้มองปราดเดียวก็รู้

      จากคุณ: หลี่ เสียนหลอ
      เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 18:35:46
        

       
       
       
      ความคิดเห็นที่ 2  

      ศิลปะสกุลช่างอยุธยา ไม่ได้หายไปไหน แต่มีเสน่ห์ไม่แพ้สกุลช่างสุโขทัยและเชียงแสน เพียงแต่ว่า คนไทยติดค่านิยมอันเป็นมงคล พ้องกับหมวดศิลปะ เลยทำให้สกุลช่างอยุธยาหลงลืมไป

      เริ่มจากต้นกรุงศรีอยุธยา รูปแบบศิลปะยังคงสืบทอดความเข้ม และเครียด จากศิลปะลพบุรี ทำให้พระพักตร์เคร่ง แต่ได้ผ่อนเบาลง เค้าหน้าเหลี่ยม มีกรอบพระพักตร์ ซึ่งก็สืบทอดมาจากศิลปะอู่ทอง

       
       

      จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
      เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 19:43:42

ความคิดเห็นที่ 3  

สมัยต่อมาพระพักตร์ เริ่มคลายความเครียดลง พระพักตร์ยิ้ม อิ่มเอิบ

 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 19:45:17
ถูกใจ: นางพญามารเมฆไฟ, เจ้าคุณแม่ทัพ

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 4  

ยุคต่อมารับศิลปะราชวงศ์สุโขทัยเข้ามา ทำให้ศิลปะอยุธยาผสมสุโขทัย พระพักตร์เรียวขึ้น บางครั้งมีการฟื้นฟูศิลปะสุโขทัยเข้ามาทั้งหมด ทำให้พระบางองค์เกิดความสับสนทางศิลปะ

 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 19:49:46
ถูกใจ: นางพญามารเมฆไฟ, เจ้าคุณแม่ทัพ

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 5  

และอยุธยามีการแผ่อำนาจเหนือดินแดนไปถึงนครศรีธรรมราช ทำให้เกิดศิลปะอยุธยา เรียกว่า แบบขนมต้ม คือมีความล่ำสัน

 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 19:53:54
ถูกใจ: นางพญามารเมฆไฟ, เจ้าคุณแม่ทัพ

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 6  

ต่อมาการพัฒนาศิลปะของพระสมัยอยุธยา นำระบบราชาธิราชจากกัมพูชาผสม ถือทัศนะจักรพรรดิราช ระหว่าง กษัตริย์และพระพุทธ ผสมรวมกันออกมาเป็นศิลปะแบบปราสาททอง ทรงเครื่องแบบกษัตริย์ สวมแหวน ประทับทับทรวง กรองคอ

 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 19:55:54
ถูกใจ: นางพญามารเมฆไฟ, เจ้าคุณแม่ทัพ, เจ้่าชายกบ

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 7  

หลังสมัยดังกล่าวการผสมกันระหว่างศิลปะสุโขทัยอีกทอดหนึ่ง การแต่งองค์ทรงเครื่องได้ผ่อนคลายลง กลายเป็น พระอยุธยาศิลปะทรงเครื่องน้อย

 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 19:57:18
ถูกใจ: นางพญามารเมฆไฟ, เจ้าคุณแม่ทัพ

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 8  

พระพุทธรูปยืน ศิลปะอยุธยาแบบทรงเครื่องใหญ่

 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 19:59:39
ถูกใจ: นางพญามารเมฆไฟ, เจ้าคุณแม่ทัพ

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 9  

ปลายสมัยอยุธยา ศิลปะของพระเป็นการผสมผสานกัน และไม่ค่อยสวย เนื่องจากบ้านเมืองอยู่ในภาวะสงคราม ศิลปะสกุลช่างมีหลากหลาย

แบบพระไม้แกะและการบุ ก็กำเนิดขึ้นเพื่อลดปริมาณโลหะมีค่า

 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 20:02:42
ถูกใจ: เจ้าคุณแม่ทัพ

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 10  

พระพุทธรูปมีขนาดเล็ก ลดทอดรูปแบบไป

 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 20:03:41
ถูกใจ: เจ้าคุณแม่ทัพ

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 11  

หรือแม้กระทั่งรับแบบสุโขทัยผสมพร้อมตกแต่งฉากหลังแบบอลังการ

 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 20:05:05
ถูกใจ: เจ้าคุณแม่ทัพ

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 12  

พระชัยหลังช้าง ก็เป็นสกุลช่างอยุธยาด้วย

 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 20:07:08
ถูกใจ: เจ้าคุณแม่ทัพ

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 13  

ขอบคุณคุณ หนุ่มรัตนะ มากครับ

จากคุณ: เจ้าคุณแม่ทัพ
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 21:16:19
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 14  

อยากทราบข้อมูลว่าทำไมถึงจัดพระชัยหลังช้างคห.12

เป็นสกุลช่างอยุธยาครับ

ผมว่าพระพักตร์เป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธรูปยุครัตนโกสินทร์ด้วยซ้ำ

ขอทราบข้อมูลด้วยครับ ขอบคุณครับ

จากคุณ: เจ้่าชายกบ
เขียนเมื่อ: 5 พ.ย. 52 21:47:22
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 15  

คุณหนุ่มรัตนะอธิบายได้แจ่มแจ้งดีครับ
เพียงผมยังสงสัยว่า ในสมัยสุโขทัย ได้มีพระสงฆ์ชาวลังกาเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ทั้งนครศรีธรรมโศกราช และสุโขทัย
จึงอาจนำเอาศิลปะจากลังกา มาผสมผสานด้วยจะเป็นไปได้ไหมครับ
ซึ่งช่วงเวลายังคาบเกี่ยวกับศิลปะเชียงแสน แต่องค์พระกับไม่อวบอ้วนเหมือนศิลปะเชียงแสน เพราะสองเมืองนี้ก็ยังติดต่อกันด้วยดี

จากคุณ: นครเหมันต์
เขียนเมื่อ: 6 พ.ย. 52 04:17:33
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 16  

ตอบข้อสงสัยในคห. 14

ในความชื่นชมประติมากรรมพระพุทธแต่ละยุคสมัยของไทยนั้น แต่ใครเคยสังเกตและพิเคราะห์กัน บ้างไหมว่า พระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์นี้มีรูปลักษณะพุทธศิลป์อย่างไรกัน ในเรื่องนี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านได้เขียนไว้ ก็ขอนำมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้ง ท่านว่า

เมื่อวันสองวันมานี้ผมไปคุยกับอาจารย์ประติมากรรมที่ผมเคารพนับถือท่านหนึ่ง

ที่ๆ คุยกันอยู่นั้นเป็นห้องทำงานของท่าน เห็นมีรูปปั้นบุคคลต่างๆ ซึ่งท่านได้ปั้นไว้และหล่อเป็นปลาส เตอร์ไว้แล้วหลายรูปก็เลยคุยกันด้วยเรื่องรูปปั้นบุคคลเหล่านั้นก่อน

อาจารย์บอกว่า รูปปั้นบุคคลเหล่านั้นบางรูปก็ดี ถูกใจท่าน บางรูปก็ไม่ดี ไม่ถูกใจ

ผมชี้ไปที่รูปปั้นรูปหนึ่ง ซึ่งผมเห็นว่าเหมือนตัวจริง แต่อาจารย์กลับบอกว่ารูปปั้นนั้นไม่ดี ถึงจะเหมือนก็เหมือนแบบรูปถ่าย เป็นรูปตาย เพราะไม่มีอะไรอยู่ข้างใน

อะไรที่อยู่ข้างในนั้นก็คือบุคลิกลักษณะของบุคคลที่เป็นแบบให้ปั้น ถ้าศิลปินสามารถเก็บเอาบุคลิก ลักษณะนั้นเข้าไว้ในรูปปั้นได้ รูปปั้นนั้นถึงจะไม่เหมือนก็ยังจะมีชีวิต

และที่สำคัญที่สุดก็คือเป็นตัวบุคคลที่ปั้น

อาจารย์ชี้ให้ดูรูปปั้นอีกรูปหนึ่ง ซึ่งอาจารย์บอกว่ามีอะไรอยู่ในนั้นครบถ้วน ผมดูไปแล้วก็เห็นจริง ยิ่งนั่งดูไปก็ยิ่งแลเห็นชีวิตแลเห็นความเคลื่อนไหว และแลเห็นตัวของผู้ที่มาเป็นแบบให้ปั้นนั้นได้ชัดยิ่งขึ้น

อาจารย์กำลังแต่งพระพุทธรูปที่ได้ปั้นไว้แล้วองค์หนึ่ง ผมถามท่านว่าพระพุทธรูปองค์นั้นเป็นแบบไหน ท่านก็บอกว่าไม่มีแบบแน่นอน เพราะในพระพุทธรูปองค์นั้นมีพระพุทธรูปแบบต่างๆ เช่นแบบเชียงแสน แบบอู่ทอง แบบสุโขทัย เอามาผสมกันเข้า

แบบแต่ละแบบที่มาผสมกันนั้นก็ยังแยกกันอยู่แลเห็นได้ชัด เช่นพระพักตร์เป็นสุโขทัย ลำพระองค์เป็นอู่ทอง และพระหัตถ์เป็นเชียงแสน

ผมถามอาจารย์ว่า พระพุทธรูปที่พอจะเรียกได้ว่าเป็นแบบรัตนโกสินทร์นั้นมีหรือไม่

อาจารย์ตอบว่าไม่มี

เพราะพระที่สร้างกันในยุครัตนโกสินทร์ตอนแรก ก็เป็นพระแบบอยุธยาตอนปลายทั้งสิ้น ส่วนพระที่สร้างขึ้นในกรุงรัตนโกสินทร์ยุคต่อๆ มา ก็เป็นแบบผสม หาอะไรเป็นของตัวเองไม่ได้

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 6 พ.ย. 52 07:40:32
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 17  

สกุลช่างรัตนโกสินทร์ที่คิดว่าหลุดพ้นจากศิลปะอยุธยา น่าจะเป็นการตกแต่งจีวรและฐานขององค์พระที่เริ่มต้นในช่วงรัชกาลที่ ๒

 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 6 พ.ย. 52 07:42:09
ถูกใจ: orcahappy

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 18  

แวะมานมัสการพระปฎิมาขอรับ สาธุครับ

จากคุณ: โตนิค
เขียนเมื่อ: 6 พ.ย. 52 08:29:09
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 19  

ขอบคุณ คุณหนุ่มรัตนะครับ ได้ความรู้ซะแน่นเชียวครับ

จากคุณ: Numenor
เขียนเมื่อ: 6 พ.ย. 52 09:54:40
  

อ้างอิง

http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K8512707/K8512707.html