บ้านเรือนในจังหวัดภูเก็ต
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พฤหัสบดี, 10 มกราคม 2008

รน = เริน = เรือน = บ้านที่อยู่อาศัย 

  

          เนื่องจากภูเก็ตเป็นดินแดนที่อุดมไปด้วยแร่ดีบุก   ทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นที่ต้องการของต่างชาติ และมีชาวต่างประเทศมาตั้งห้างเพื่อขนส่งแร่ดีบุกในภูเก็ตมาโดยตลอด สมัยอยุธยามีชาวโปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส    มีการแลกเปลี่ยนสินค้ากับดีบุกมาโดยตลอด(จดหมายเหตุท้าวเทพกระษัตรี)  ต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์มีทั้งชาวตะวันตกและชาวจีนได้เข้ามาทำเหมืองแร่ภูเก็ต ได้นำเอาวิทยาการใหม่ ๆ เข้ามาในภูเก็ต วัฒนธรรมภูเก็ตยิ่งหลากหลายมากยิ่งขึ้นเช่นชาวภูเก็ตรับเอาความเชื่อจากศาสนาฮินดูเกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์ การนับถือพระอิศวร พระพรหม พระนารายณ์ เข้ามาผสมผสานกับการนับถือในพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ ภาษาพูด ในบางคำของชาวภูเก็ตก็รับเอามาจากภาษมลายูบ้าง ภาษอังกฤษบ้าง ภาษจีนบ้าง     ขนบธรรมเนียมประเพณีก็มีทั้งพิธีพุทธ พิธีพราหมณ์ พิธีจีน ผสมผสานในชาวภูเก็ตทุกคน ทั้งนี้เพราะภูเก็ตมีคนต่างชาติต่างภาษาเข้ามามีอิทธิพลในภูเก็ตหลายพวกนั่นเอง


          ภูเก็ตในอดีตเป็นสังคมชนบท อยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
ไม่ว่าจะเป็นด้านแรงงาน พืชผล การให้ปันสิ่งของ แม้กระทั่งที่ดินทำกินหรือที่อยู่อาศัย เป็น
สังคมที่ผู้คนค่อนข้างจะเป็นตัวของตัวเองสูง พูดจาเสียงดังไม่เกรงใจใคร รักพวกพ้อง มัก
จะเรียกกลุ่มของตนตามหมู่บ้านที่อยู่ เช่น ชาวบางเหนียว ชาวสามกอง ชาวโรงอิฐ  พวก
บ้านส้าน บ้านพอน บ้านเคียน ฯลฯ
          บ้านเรือนแบบจีน สร้างด้วยดิน เรียกว่า ตึกดิน หรือกว้านดิน เนื่องจากวัสดุ
ที่ใช้ก่อสร้างทำด้วยดิน หรือดินเผา  ดินที่ใช้ในการสร้างบ้านเรือนแบบนี้นัยว่าเป็นดินที่ผสม
ด้วยวัสดุบางอย่าง เพื่อให้มีคุณสมบัติเกาะยึดติดแน่นไม่เปราะและไม่ผุพังง่าย ชาวจีนใช้ดิน
ผสมนี้อัดกระทุ้งให้เรียบสนิท เสริมสูงขึ้นจากพื้นจนเป็นรูปกำแพง และใช้เป็นฝาผนังบ้านทั้ง
สี่ด้าน มีประตู หน้าต่าง ใช้ไม้แก่นเนื้อแข็งเป็นวงกบประตู หน้าต่าง และบานประตู  หาก
เป็นบ้านสองชั้นจะใช้ไม้เป็นคาน รอดและปูพื้น ส่วนหลังคาจะวางขื่อ แป และจันทัน  ด้วย
ไม้โกงกางหรือไม้แสม หลังคาจะมุงกระเบื้องรางซึ่งมีลักษณะเป็นครึ่งวงกลมทำด้วยดินเผา
บ้านเรือนแบบนี้ส่วนมากเป็นเรือนชั้นเดียว ถ้าสูงกว่านี้ก็เป็นเรือนสองชั้นเท่านั้น   เพราะ
เสี่ยงต่อการพังทลายได้ง่าย บ้านแบบนี้หาดูได้จาก บ้านห้องแถวบริเวณแถวน้ำ   ห้องแถว
บริเวณบางเหนียว (ถนนภูเก็ต) และตึกแถวในตลาดอำเภอกะทู้
          บ้านเรือนแบบชิโน - โปรตุกีส บ้านแบบนี้เป็นบ้านของชาวภูเก็ตระดับเศรษฐี
เพราะใช้วัสดุราคาแพง และบางครั้งต้องสั่งวัสดุมาจากต่างประเทศ ชาวภูเก็ตเหล่านี้ส่วน
ใหญ่เป็นนักธุรกิจที่ต้องเดินทางไปติดต่อค้าขายกับปีนัง(ในสมัยนั้นการคมนาคมระหว่างภูเก็ต
- กรุงเทพ ฯ ไม่สะดวก  มีความยากลำบากมาก การติดต่อค้าขายกับปีนังจะสะดวกกว่า)
และพอใช้ลักษณะบ้านแบบนี้จึงจำแบบอย่างมาปลูกสร้างบ้านของตนเอง  ส่วนใหญ่ในบรรดา
พ่อค้าระดับเศรษฐีจะนิยมแพร่หลายและเอาแบบอย่างต่อ ๆ กัน
          ลักษณะบ้านแบบนี้  เป็นแบบผสมระหว่างสถาปัตยกรรมจีน  กับสถาปัตยกรรม
โปรตุเกส คือแปลนอาคารแบ่งออกเป็นช่วง ๆ  แต่ละช่วงจะมีช่องสำหรับให้แสงสว่างตาม
ธรรมชาติส่องลงมาได้ ช่วยให้มีอากาศหมุนเวียนภายในอาคาร   โครงสร้างเป็นตึกก่ออิฐ
หรือเทคอนกรีตแบบยุโรป มีหน้าต่างหรือเฉลียงยื่นออกมาจากตัวบ้าน  กรุบานหน้าต่างหรือ
ประตูกระจกสี ตกแต่งลวดลายตามขอบประตูและหน้าต่าง    หัวเสามีลักษณะเป็นเสาแบบ
ยุโรป คือลักษณะเสาแบบดอริค (Doric) ไอโอนิค (Ionic) และโครินเธียน  (Corin
thian) ระหว่างเสาจะมีลักษณะเป็นประตูโค้งแบบโรมัน ด้านหน้าจะประดับด้วยลายปูนปั้น
แบบจีน กระเบื้องปูพื้นจะเป็นกระเบื้องปูแบบฝรั่ง แต่หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา  แบบ
ทรงกระบอกผ่าซีก
          นอกจากนี้   ถ้าเป็นอาคารที่สร้างเป็นตึกแถวชั้นล่างจะเป็นทางเดินติดต่อกัน
ตลอดทั้งแถว ทำให้ผู้คนที่เดินผ่านบริเวณอาคารเหล่านี้สามารถเดินลอดตลอด    ทางเดิน
เหล่านี้เป็นที่พักแดด พักฝนได้ไปในตัว เรียกส่วนนี้ว่า หง่อก่ากี่(อาเขด) เราจะพบตึกแถวเหล่านี้ในจังหวัดภูเก็ต คือ บริเวณ
ตึกแถว - ถนนถลางทั้งสองฝากถนน และตึก- แถวถนนดีบุก แบบตึกเดียว เช่น  บ้านพระ
พิทักษ์ บ้านคุณสิทธิ์ ตัณฑวณิช ฯลฯ   ทุกบ้านจะขุดบ่อเป็นของตนเองเพื่อบริโภคและอุปโภค
ภายในบ้าน  ภูเก็ตไม่เคยมีปัญหาขาดแคลนน้ำในอดีต

 

บรรณานุกรม

(เป็นบรรณานุกรมรวมใน "ภูเก็จเมืองแก้ว")

คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ ๖  ภู เก็จ ๓๓  เอดิสันเพรสโปรดักส์
   ๒๕๓๓               
คณะกรรมการจัดงาน ๒๐๐ ปี วีรสตรีเมืองถลาง  อนุสรณ์ ๒๐๐ ปี วีรสตรีเมืองถลาง  วิคตอรี
   เพาเวอร์พอยส์จำกัด, ๒๕๒๘                 
ตีนติดดิน (นามแฝง) "ยุทธการชิงป่ากับอนาคตภูเก็ต"   เสียงใต้   หน้า ๕  ฉบับวันพฤหัสบดี
   ที่ ๒๐ กุมภาพันธุ์ ๒๕๓๕                      
นรภัยพิจารณ์ (ไวย ณ ถลาง), ขุน  "ประวัติท้าวเทพกระษัตรี"  อนุสรณ์ท้าวเทพกระษัตรี -
    ท้าวศรีสุนทร   ที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์ ท้าวเทพ
   กระษัตรี - ท้าวศรีสุนทร  ณ บริเวณสี่แยกท่าเรือ จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม
   พ.ศ.๒๕๑๐             
บรรเจิด  ประทีป ณ ถลาง บรรณาธิการ  รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์ถลาง  เรือนแก้ว
   การพิมพ์ ๒๕๒๘
 ประชุมพงศาวดาร เล่มที่ ๒   ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑ ตอนปลาย      โรงพิมพ์คุรุสภา
   กรุงเทพ ฯ   ๒๕๑๖           
 ประชุมพงศาวดาร เล่มที่ ๗ ภาคที่ ๖  โรงพิมพ์คุรุสภา  ๒๕๑๖         
 ประชุมพงศาวดารเล่มที่ ๓๐ ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๐ (ต่อ) - ๕๓     โรงพิมพ์คุรุสภา
   กรุงเทพ ฯ  ๒๕๑๑
ประสิทธิ  ชิณการณ์  และสมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์  ปริวรรต   จดหมายเหตุเมืองถลาง   กลุ่ม
   ผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ  ๒๕๒๕, ๒๗ หน้า  อัดสำเนา                       
ผังเมือง, สำนัก   แผนพัฒนาจังหวัดยุทธศาสตร์จังหวัดภูเก็ต   แผนพัฒนาจังหวัดภูเก็ต ๒๕๒๘-
   ๒๕๔๔
 พงศาวดารเมืองถลาง (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๒ฉ ) ประชุมพงศาวดารฉบับหอสมุดแห่ง
    ชาติเล่ม ๑  โรงพิมพ์ก้าวหน้า , ๒๕๐๖
มหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร, สมเด็จพระบรมโอรสธิราช เจ้าฟ้า  จดหมายเหตุประพาส
    หัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.๑๒๘ (พ.ศ.๒๔๕๒)   สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราช
   สุดาศิริโสภาพรรณวดีโปรดให้พิมพ์ในงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน  ณ วัดมงคลนิมิตร
   จังหวัดภูเก็ต ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๐              
ฤดี  ภูมิภูถาวรและปิยา  ช่อผล   แนวคิดในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น   สำนักงานคณะ
   กรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  ๒๕๓๓
ศิลปากร, กรม    ถลาง ภูเก็ตและชายฝั่งทะเลอันดามัน โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์
    และเศรษฐกิจ    อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟ จำกัด   ๒๕๓๒
หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต    ศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต เล่มที่
    ๒    ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต วิทยาลัยครูภูเก็ต  ๒๕๓๕
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ภูเก็ต     พิมพ์ครั้งที่ ๒    กลุ่มผู้สนใจ
   ประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ  ๒๕๓๒, ๙๙ หน้า  อัดสำเนา                             
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       "หลักฐานเมืองภูเก็จ"   เมืองธุรกิจ    ๑๕ - ๒๔ สิงหาคม ๒๕๓๔  หน้า ๑๗
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       "อาเขต"      เมืองธุรกิจ      ๑๕ - ๒๔ สิงหาคม ๒๕๓๓ - ๔  กันยายน
   ๒๕๓๓  หน้า ๒๒          
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       วรรณกรรมท้องถิ่นภูเก็ต    ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต   ๒๕๓๒, ๘๔๑ หน้า
   อัดสำเนา
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       กุฏิหลวงพ่อแช่ม       กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จและศูนย์วัฒนธรรม
   จังหวัดภูเก็ต  ๒๕๓๑, ๓๔ หน้า อัดสำเนา                           
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       บรรณาธิการ  เชิดชูเกียรติ สกุล  ณ นคร และเฉ่ง  เลิศกิจสมบูรณ์     กลุ่มผู้
   สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จและศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต  ๒๕๓๔,  ๒๓๑ หน้า
   อัดสำเนา
บรรณาธิการ   ประสิทธิ  ชิณการณ์ : ขุมทรัพย์วัฒนธรรมภูเก็จ     กลุ่มผู้สนใจ
   ประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จและศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต  ๒๕๓๓,  ๒๘๗ หน้า อัดสำเนา
บรรณาธิการ   เชิดชูเกียรติ เฉ่ง  เลิศกิจสมบูรณ์    กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์
   เมืองภูเก็จและศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต ๒๕๓๓, ๓๑๓ หน้า อัดสำเนา
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       บรรณาธิการ    เชิดชูเกียรติ สกุล  ณ นคร    กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมือง
   ภูเก็จและศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต  ๒๕๓๓,  ๓๑๓ หน้า    อัดสำเนา
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       บรรณาธิการ   ประเพณีเกาะภูเก็ต    พิมพ์ครั้งที่ ๔ ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       บรรณาธิการ     เลียบ  ชนะศึก : ขุมทรัพย์วัฒนธรรมถลาง      กลุ่มผู้สนใจ
   ประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จและศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต  ๒๕๓๓, ๒๔๕ หน้า  อัดสำเนา
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       รวบรวม     เสริมรู้เมืองภูเก็ต     ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ตและกลุ่มผู้สนใจ
   ประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ   ๒๕๒๖, ๒๙๗ หน้า  อัดสำเนา
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       "ขุมทรัพย์วัฒนธรรมภูเก็จ : ประสิทธิ  ชิณการณ์"     เมืองธุรกิจ    ๕ - ๑๔
   กรกฎาคม ๒๕๓๔ หน้า ๘                  
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       "จวนพระยาถลางหนู"     เมืองธุรกิจ     ๑๕-๒๔ มกราคม ๒๕๓๕  หน้า ๑๕
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       "จิ้ว  ประโมงกิจ : แม่เพลงรองเง็งแห่งอันดามัน"      เมืองธุรกิจ     ๒๕
   กรกฎาคม ๒๕๓๔ - ๔ สิงหาคม ๒๕๓๓ - ๔ กันยายน ๒๕๓๓  หน้า ๑๒
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       "ตาลปัตรพ่อท่านสมเด็จเจ้า(แช่ม)"   เมืองธุรกิจ   ๕ - ๑๔ มกราคม  ๒๕๓๕
   หน้า ๑๗              
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       "บ้านขุนมรดก : เรือนไทยถิ่นภูเก็จ ต้นแบบอาคารพิพิธภัณฑสถาน   แห่งชาติ"
    เมืองธุรกิจ     ๕ - ๑๔ ตุลาคม ๒๕๓๓   หน้า ๑๖
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       "บ้านพระยาวิชิตสงคราม  :  โบราณสถาน ๑ ใน ๔ ของภูเก็จ"  เมืองธุรกิจ
   ๒๔ มีนาคม ๒๕๓๔ - ๔ เมษายน ๒๕๓๔  หน้า ๑๗              
"พระพุทธสามกษัตริย์ : พระพุทธรูปดีบุกที่ใหญ่ที่สุด"  เมืองธุรกิจ    ๑๕ - ๒๔
   กรกฎาคม ๒๕๓๓ - ๔ สิงหาคม ๒๕๓๓ - ๔ กันยายน ๒๕๓๓  หน้า ๑๒
"ภูเขาในภูเก็จ"   เมืองธุรกิจ   ๕ - ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ หน้า ๑๗            
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       "เลียบ  ชนะศึก : ขุมทรัพย์วัฒนธรรมถลาง"     เมืองธุรกิจ     ๑๕ - ๒๔
   สิงหาคม ๒๕๓๓ - ๔ กันยายน ๒๕๓๓  หน้า ๒๑                
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       "วัดพระนางสร้าง"    เมืองธุรกิจ      ๑๕ - ๒๔ มีนาคม ๒๕๓๔  หน้า ๑๗
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       "ศาลจังหวัดภูเก็ต"     เมืองธุรกิจ     ๕ - ๑๔ มีนาคม ๒๕๓๔   หน้า ๑๗
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       "ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต"      เมืองธุรกิจ      ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ - ๔
   มีนาคม ๒๕๓๔  หน้า ๑๗                
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       "สกุล  ณ นคร : นักการเมืองรางวัลกระสุนทอง"  เมืองธุรกิจ  ๒๕ สิงหาคม
   ๒๕๓๓ - ๔ กันยายน ๒๕๓๓  หน้า ๒๑               
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       ข้อสังเกตประวัติศาสตร์ใน"เลือดถลาง "    ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด   ภูเก็ต
   ๒๕๒๙,  ๒ หน้า  อัดสำเนา                   
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       ชาวเล : การปรับตัว    ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต   ๒๕๒๘,    ๕ หน้า 
   อัดสำเนา               
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       บ้านท้าวเทพกระษัตรี  ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต ๒๕๒๗, ๕ หน้า อัดสำเนา
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       ประเพณีลอยเรือชาวเล  ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมวิทยาลัยครูภูเก็ต   ๒๕๒๙, ๑๑
   หน้า   อัดสำเนา                 
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       เมืองถลางบางโรง  ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต ๒๕๒๗, ๙ หน้า อัดสำเนา
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       เมืองถลางบ้างดอนศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต ๒๕๒๗, ๙ หน้า อัดสำเนา
สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์       รองเง็ง   ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต  ๒๕๒๔,  ๒ หน้า   อัดสำเนา
สุนทร ชวาลศิลป์ โลกหมุนไป (นามแฝง) "เลพังกับการทำลายสภาพแวดล้อม"   เดลินิวส์
   ฉบับวันจันทร์ ๒๗ มกราคม ๒๕๓๕  หน้า ๑๐       ฉบับวันจันทร์ ๒๘ มกราคม ๒๕๓๕
   หน้า ๑๐                 
สุนัย  ราชภัณฑารักษ์    ภูเก็ต  แสวงการพิมพ์   ๒๕๒๗        
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษาเขตการศึกษา ๔ จุลสารสังคมศึกษา จังหวัดของข้าพเจ้า
   ระนอง ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง  สำนักงานศึกษาธิการเขตการศึกษา ๔, ๒๕๒๐
หน่วยอนุรักษ์ศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต   ข้อมูลสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมจังหวัดภูเก็ต  ศูนย์
   วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต วิทยาลัยครูภูเก็ต ๒๕๓๕
เอกวิทย์ ณ ถลาง วิเคราะห์เค้าเงื่อนประวัติศาสตร์ถลาง    วิทยาลัยครูภูเก็ต   ๑๑-๑๕
   มีนาคม  ๒๕๒๗   อัดสำเนา
เอกสารเมืองถลาง (ตอนที่ ๒) แถลงงานประวัติศาสตร์ เอกสารโบราณคดี   ๑ มกราคม
   ๒๕๑๒ สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี สี่แยกราชวิถี 

 ตัดตอนมาจาก "ภูเก็จเมืองแก้ว"

ประสิทธิ ชิณการณ์ และสมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์

ปรับปรุงเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๖

 

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( เสาร์, 12 มกราคม 2008 )