เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.
|
เสาร์, 29 สิงหาคม 2009 |
แหล่งกำเนิดเพชร แหล่งต้นกำเนิดเพชร เพชรจะเกิดฝังในหินคิมเบอร์ไลต์ ( Kimberlite ) แต่จากการสำรวจหินคิมเบอร์ไลต์บนพื้นผิวโลกประมาณ 5,000 กว่าแหล่ง พบชนิดที่เป็นต้นกำเนิดให้เพชรมีเพียง500-600 แหล่งเท่านั้น ลักษณะหินอัคนีชนิดนี้มักจะเกดมีลักษณะเป็นปล่อง ( Pipe )หรือเป็นท่อวงรี ๆ คล้ายปล่องภูเขาไฟดันแทรกหินชั้นหรือหินเดิมชนิดต่างๆ ขึ้นมาด้วยความดันอย่างสูงมากจึงทำให้ธาตุคาร์บอนหลอมเป็นเพชร ฝังอยู่ในเนื้อหินที่เกิดลักษณะเป็นพนัง (Dyke) ก็เคยปรากฏเห็นอยู่บ้างเช่นกันจุดกำเนิดของหินคิมเบอร์ไลต์ เชื่อกันว่าจะเกิดในระยะที่ลึกมากคือไม่ต่ำกว่า 40 กิโลเมตรลงไปจากพื้นผิวโลกปัจจุบัน มีความเชื่อกันว่าเพชรเป็นส่วนที่เกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้วภายใต้พื้นผิวโลกในระยะลึกดังกล่าวแล้ว ถูกนำพาขึ้นมาอย่างฉับพลันโดยคิมเบอร์ไลต์
| | หินคิมเบอร์ไลต์เป็นหินอัคนีประเภทเพริโดไทต์ (Peridotite)ชนิดหนึ่ง ที่ถือได้ว่ามีฤทธิ์เป็นด่างอย่างมาก (Ultrabasic igneous rock) ซึ่งมีสมบัติทางเคมีตรงข้ามกับหินแกรนิตเป็นอย่างมาก ลักษณะพิเศษของหินคิมเบอร์ไลต์พอจะสรุปอย่างสั้นๆดังนี้ - ขณะที่เกิดมักมีพวกสารระเหยง่ายเป็นปริมาณสูง เช่น ไอน้ำ หรือ ก๊าซคาร์บอนไซด์
- แร่โอลิวีน เป็นส่วนประกอบหลัก (40-60%) ของหินชนิดนี้มักจะถูกแปรเลี่ยนไปเป็นแร่เซอร์เพนทีน (Serpentinized)
- มักจะพบแร่แคลไชต์ (CaCo3 ) เกิดร่วมเสมอ และอาจมีมากถึง 20 %
- พบแร่ไพรอกซีนชนิดไดออปไซค์ ที่มีโครเมียมสูง
- พบแร่โกเมนชนิดไพเรป (Pyrope garnet)
- อาจพบแร่ไมกาชนิดแมกนีเซียม หรือ ไพลโกไพต์ (Phlogopite) ได้เสมอ จึงเป็นแร่ที่ใช้ช่วยพิสูจน์ชนิดหินนี้ได้
|
อาจพบแร่รูไทล์ อิลเมไนต์ และแมกนีไทต์ ได้เช่นกันและมักจะมีปริมาณธาตุแมกนีเซียมและโครเนียมสูง ฉะนั้นปริมาณธาตุโครเนียมและแมกนีเซียมในแร่ดังกล่าวข้างต้นจึงสามารถใช้เป็นตัวชี้แนะที่ดีได้อย่างหนึ่งในการติดตามหาหินคิมเบอร์ไลต์ในทางอ้อม ตามที่ได้กล่าวข้างต้นพอสรุปได้ว่า หินคิมเบอร์ไลต์ที่ให้เพชรก็คือ หินอัคนีชนิดเพริโดไทต์ที่ถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นแร่เซอร์แพนทีน (Serpentinized) โดยส่วนใหญ่จะมีแร่แคลไซต์ปะปนอยู่เสมอ และมักจะพบแร่ไมกาชนิดโพลโกไพต์เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย หินชนิดนี้มักจะถูกบีบอัดให้แตกเสมอ การเคลื่อนไหวของเปลือกโลกอันมีผลทำให้หินที่ให้เพชรดังกล่าวเกิดการยกตัวขึ้นมา แล้วเกิดการผุสลายได้ง่าย เป็นเหตุให้เพชรที่เกิดฝังในเนื้อหินหลุดออกมาและนำพาไปสะสมยังที่ลุ่มในท้องน้ำ แม่น้ำ และในท้องทะเล หรือ ใกล้ๆชายทะเล สำหรับปล่องหินมี่ให้เพชรพบ่วา มักจะเกิดอยู่ใต้ผิวดินอีกทีหนึ่งทั้งนี้คงจะเป็นเพราะผุทำลายตัวเองได้ง่าย หินส่วนบนๆมักจะผุทำให้ดินเป็นสีเหลืองและลึกลงไปข้างล่างของปล่องดินจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน และในที่สุดเมื่อลึกลงไปอีกเนื้อหินจะอยู่ในสภาพแข็งที่ไม่มีการเปลี่ยนสภาพมากนัก ลานแร่เพชรหลายแห่งของโลกไม่ปรากฏร่องรอยของหินต้นกำเนิดอยู่ในบริเวณที่ไกลจากหินต้นกำเนิด หรือหินต้นกำเนิดอาจผุพังสลายตัวไปหมดแล้วก็ได้
อ้างอิง ข้อมูลข้างต้น เพชรในภูเก็ตพังงา แหล่งพบเพชรในประเทศไทศไทย
1. ลานแร่เพชรในทะเลอ่าวทุ่งคา-อ่าวมะขาม จังหวัดภูเก็ต บริเวณที่พบเพชรวางตัวในลานแร่เป็นแนวกว้างประมาณ 4-5 กิโลเมตร ห่างจากฝั่งออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร มีแนวความยาวพดในทิศเหนือใต้ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับว่าต้นกำเนิดหินที่ให้เพชรดันแทรกขึ้นมานี้มีแนวเป็นไปตามแนวหรืออาศัยแนวรอยเลื่อน “มารุย” ซึ่งพาดผ่านไปทางด้านใต้ต่อไป หากคิดนี้ถูกต้อง เพชรควรจะมีโอกาสพบได้เป็นแนวยาวจากบริเวณดังกล่าว พาดไปทางเหนือจนถึงทับปุดและต่อขึ้นไปได้อีกไกลมาก ทางใต้ของช่วงที่ขุดพบเพชรของบริเวณนี้ก็อาจมีโอกาสพบเพชรอีกหลายสิบกิโลเมตร
2. เพชรในแม่น้ำพังงา ลุ่มน้ำพังงานับว่าเป็นแหล่งเพชรที่ทราบกันมานานก่อนแหล่งอื่นปรากฏว่าเรือขุดทั้ง 3 ลำที่เคยขุดแร่ดีบุกในลานแร่ของแม่น้ำนี้ได้เพชรทุกลำ พนักงานที่เกี่ยวข้องกับจิ๊กของเรือขุดและคนงานล้างแล้วแร่ที่แต่งแร่ในโรงล้างแร่หรือคนงานประจำจิ๊กเรือขุด ดังกล่าวจะทราบได้ดีว่าช่วงไหนเรือขุดจะขุดได้แร่มากที่สุด นายหล๊ะ จันทรส และ นายหลี จันทรส แห่งบ้านถ้ำน้ำผุดจังหวัดพังงา เคยทำงานประจำเรือขุดเมื่อ 40 ปีที่มาแล้ว ได้ยืนยันว่าที่ดินฝั่งตรงข้ามกับจังหวัดเยื้องไปทางบ้านถ้ำน้ำผุดรวมเป็นบริเวณประมาณ 5-6 ไร่ เป็นที่ของเอกชนซึ่งยังไม่มีการเปิดเหมืองจะพบเพชรมาก เมื่อใดที่กะพ้อของเรือขุดหย่อนลงไปสะดุดกับพื้นดาน (Bed rock) ซึ่งเป็นหินปูน (แบบ Pinacles) และถ้ากะสะช่วงนั้นมี สีแดงจะพบเพชรบ่อยที่สุด เป็นที่คาดหมายกันว่าบริเวณแอ่งท้องน้ำของแม่น้ำพังงานี้ คงจะผลิตเพชรออกมา นับเป็นพันๆเม็ดแล้วที่มีขนาดใหญ่ 6-8 กะรัต ก็เคยได้ข่าวกันอยู่บ้าง
3. เพขรที่บ้านบางมุด ตำบลทุ่งคาโงก ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพังงา ได้มีการพบเพชรจากดินชั้นกะสะดีบุกจากขอบด้านตะวันออกของแม่น้ำพังงาในเขตบ้านบางมุด ผู้ที่พบเพชร มักจะเก็บเป็นความลับตลอดมา
4. เพชรที่กะปงและที่บ้านในเหล อำเภอกะปง จังหวัดพังงา ที่บ้านเหลตามคลองเหล มีการพบเพชรอยู่บ้างเช่นกันส่วนใหญ่ได้จากเรือขุดแร่ดีบุก ซึ่งปัจจุบันเรือขุดได้หยุดดำเนินการแล้ว
5. เพชรที่บ้านบางม่วง-บ้านน้ำเค็ม-บ้านแหลมป้อม-บ้านบางสัก-อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ได้มีการพบเพชรจากเหมืองเรือขุดดีบุกของบริษัทเรือขุดแร่บุญสูง จำกัด ที่บ้านทุ่งตึก ซึ่งอยู่ในตอนกลางๆของปลายเกาะคอเขา ในเขตอำเภอตะกั่วป่า และบริเวณใกล้บ้านบางหม้อภายในบริเวณจากแหลมบางหม้อไปจนถึงบ้านแหลมป้อม และกินอาณาเขตออกไปในทะเลประมาณ 2 กิโลเมตร ไปจนถึงบ้านบางสัก นับเป็บบริเวณที่กว้างใหญ่ และให้เพชรมากที่สุดในขณะนี้อ้างอิง ข้อมูลเพชรภูเก็ตพังงา กำเนิดเพชร | | · กำเนิดเพชร เพชรเป็นอัญมณีที่ถือกำเนิดจากการก่อรูปผลึกของธาตุคาร์บอน (Carbon) เช่นเดียวกับกราไฟต์ (ไส้ดินสอดำ) แต่ด้วยความแตกต่างกันที่โครงสร้างของผลึกทั้งสอง ทำให้เพชรกลายเป็นธาตุที่มีความแข็งมากที่สุดในโลก ขณะที่กราไฟต์มีความแข็งที่ต่ำมาก เพชรได้ก่อตัวขึ้นเป็นรูปผลึกภายใต้ความดันหลายล้านปอนด์ต่อตารางนิ้ว และอุณหภูมิที่สูงนับพันองศาในชั้นเปลือกโลกชั้นในที่อยู่ลึกลงจากเปลือกโลกชั้นนอกประมาณ 160 กิโลเมตร ทำให้คาร์บอนมีการจับตัวกันในรูปแบบโครงสร้างที่พิเศษขึ้น ด้วยการระเบิดของภูเขาไฟได้นำเพชรขึ้นสู่พื้นผิวโลก แพร่กระจัดกระจายไปในทิศทางต่าง ๆ ตามการไหลของธารลาวาสู่พื้นที่ราบลุ่มภายใต้อุณหภูมิบนผิวโลกที่ต่ำกว่าทำให้ลาวาเกิดการเย็นและแข็งตัว ต่อมาได้เกิดการเลื่อนของเปลือกโลกและการผุกร่อนของธารลาวาที่แข็งตัว ประกอบกับลมและน้ำฝนได้กัดเซาชะนำผลึกเพชรไหลไปตามแม่น้ำลำคลองปะปนไปกับกรวดหินดินทรายและผลึกแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ ผลึกเพชรบางส่วนก็ถูกพัดพาไกลออกไปสู่ปากทะเลและมหาสมุทร เมื่อเวลาผ่านไปผลึกเพชรซึ่งมีความหนาแน่นที่มากกว่ากรวดหินดินทราบก็ได้ถูกฝังจมลึกลงใต้ผืนทรายอีกครั้งรอปรากฎการณ์ธรรมชาติที่อาจจะนำขึ้นสู่พื้นผิวโลกอีกครั้งในอนาคต· การทำเหมืองเพชรเหมืองเพชรแบบขุดเจาะปล่องภูเขาไฟ (Kimberlitic) เป็นวิธีการที่ต้องใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรขนาดใหญ่ในการขุดเจาะลงไปตรงปากปล่องภูเขาไฟที่สงบแล้ว ก่อนทำการลำเรียงวัตถุดิบออกมาทำการร่อนเพื่อหาผลึกเพชรเหมืองแบบที่ลุ่ม (Alluvial) เป็นการขุดหาเพชรที่ถูกน้ำชะล้างมาตามสายน้ำภายหลังการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา ซึ่งมีการเลื่อนของเปลือกโลก ดันให้เพชรขึ้นมาอยู่ที่ผิวโลก และถูกน้ำชะล้างไหลลงมาตามที่ราบลุ่ม, ปากแม่น้ำ, และถูกกระแสน้ำพัดซัดจมลงไปอยู่ใต้ทะเลถูกฝังลึกลงไปใต้ทราย ซึ่งการหาเพชรด้วยวิธีนี้จะทำให้ได้เพชรที่มีคุณภาพดีเพราะไม่ถูกกระทบกระแทกจากเครื่องจักรกลที่เจาะหาเพชรตามปล่องภูเขาไฟ มีปริมาณเพียง 20% ของเพชรที่ขุดได้ที่มีคุณภาพดีพอสำหรับการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ ส่วนที่คุณภาพไม่ดีก็มีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น ทำประตูยานอวกาศ เพราะมีความแข็งที่ดีที่สุด สามารถทนต่อแรงเสียดสีในขณะที่ยานขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูง ทำเครื่องตัด เครื่องเจียรหัวสว่านเพื่อการขุดเจาะ เป็นต้น โดยเฉลี่ยแล้วเพชรที่มีคุณภาพขนาด 1 กะรัต อาจจะต้องขุดทำลายหินดินปริมาณ 50 – 250 ตัน เลยทีเดียว และนี่คือสาเหตุที่ทำให้เพชรมีมูลค่าสูง เนื่องจากความหายากนั่นเอง
· คุณสมบัติของเพชร ชนิดของเพชร : เพชรคุณภาพดี ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับอัญมณี สามารถแบ่งออกตามคุณสมบัติทางกายภาพที่มีอิทธิพลในเรื่องสี ได้เป็น 4 ชนิด คือ ชนิด 1a เป็นเพชรที่มีธาตุไนโตรเจนปนเปื้อนเล็กน้อย ทำให้เพชรเป็นสีขาวติดเหลืองเล็กน้อย มีประมาณ 98% ของเพชรที่ขุดพบ ชนิด 1b เป็นเพชรที่มีธาตุไนโตรเจนแทรกอยู่จนทำให้เพชรมีสีเหลืองสด มีประมาณ 1% ของเพชรที่ขุดพบ ชนิด 2a เป็นเพชรขาวบริสุทธิ์ไม่มีธาตุให้สีปนเปื้อน ถือว่าเป็นเพชรที่มีคุณภาพสีที่ดีที่สุด คือ ไม่มีสีเลย อยู่ในสภาพไร้สี (Colorless) เป็นชนิดที่หาได้ยากมาก ชนิด 2b เป็นเพชรที่มีธาตุโบรอนปนเปื้อนทำให้เพชรมีสีฟ้า หาได้ยากมาก
สีของเพชร : แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มสี คือ เพชรไร้สี (สีขาว) และเพชรสีแฟนซี เพชรไร้สี (สีขาว) เพชรที่บริสุทธิ์จะไม่มีสารใดปนเปื้อนอยู่เลยซึ่งก็จะทำให้เพชรนั้นไร้สี (Colorless) ซึ่งคนไทยมักเรียกไร้สีว่า “เพชรสีขาว” ส่วนเพชรสีขาวที่ติดเหลืองอ่อนก็จะถูกจัดไว้ในกลุ่มเดียวกับเพชรสีขาว เพชรสีแฟนซี ขณะที่เพชรสีจะถูกเรียกว่า “สีแฟนซี” (Fancy Color) หมายถึงเพชรที่มีสีที่แตกต่างจากเพชรสีขาวได้แก่ สีเหลือง, สีน้ำตาล, สีชมพู, สีแดง, สีเทา, สีดำ, สีฟ้า และสีเขียว
เพชรสีแฟนซีมีสาเหตุที่ทำให้เกิดสีที่ต่างกัน คือ- เพชรสีเหลือง เกิดจากการปนเปื้อนของธาตุไนโตรเจน- เพชรสีฟ้า เกิดจากการปนเปื้อนของธาตุโบรอน- เพชรสีเทา เกิดจากการปนเปื้อนของไฮโดรเจน และโบรอน- เพชรสีดำ เกิดจากธาตุคาร์บอนที่ก่อรูปเป็นผลึกละเอียดที่รวมตัวเป็นจำนวนมากในเนื้อเพชร- เพชรสีส้ม เพชรสีชมพู และเพชรสีแดง เกิดจากความผิดปรกติทางโครงสร้าง- เพชรสีเขียว เป็นสีที่ไม่มีในธรรมชาติแต่เกิดจากการอาบรังสี
· เส้นทางการค้าเพชร จากวัตถุดิบที่ดูเหมือนกรวดหิน ในเริ่มต้นจนกลายมาเป็นอัญมณีสุกใสส่องประกายบนเรือนร่างของผู้สวมใส่ มีเส้นทางการเดินทางที่แสนยากลำบากและยาวไกล เริ่มต้นจากเพชรดิบที่ถูกค้นพบบนพื้นผิวโลก ผ่านไปยังองค์กรการขายของเดอร์เบียส์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการเกี่ยวกับเพชรที่ใหญ่ที่สุดของโลกไปยังพ่อค้าเพชรดิบเพื่อจำหน่ายต่อไปยังผู้ประกอบการด้านเจียระไนเพชรโดยผ่านทางตลาดการค้าเพชรดิบที่เรียกกันในวงการว่า “Bourses” จากนั้นก็ไปยังพ่อค้าขายส่ง พ่อค้าขายปลีกและที่สุดคือลูกค้าซึ่งก็คือผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเครื่องประดับอัญมณี ประมาณการกันว่าราคาเพชรจะเพิ่มขึ้น ขั้นตอนละกว่าสองร้อยถึงสามร้อยเปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
· เพชรเปื้อนเลือด (Blood Diamond) “เพชรเปื้อนเลือด” เป็นคำที่ถูกใช้เรียกเพชรผิดกฎหมายที่มีการลักลอบค้าโดยกลุ่มกบฎในประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกาไม่ว่าจะเป็นเซียร์ราลีโอน (Sierra Loane), ลิเบเรีย (Liberia), แองโกลา (Angola) และคองโก (Congo) ซึ่งมีสัดส่วนการผลิตไม่เกินร้อยละ 15 ของเพชร ที่ค้ากันทั่วโลก เพชรเปื้อนเลือดได้เริ่มต้นขึ้นในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 เมื่อกลุ่มกบฎแนวร่วมเพื่อการปฏิวัติ (Revolutionary United Front) ในเซียร์ราลีโอน ทวีปแอฟริกาได้มีอิทธิพลเข้าควบคุมพื้นที่ที่อุดมด้วยเพชรดิบจำนวนมาก จากนั้นก็จะลักลอบนำเพชรออกขายในตลาดมืด เพื่อนำเงินมาซื้ออาวุธสงครามต่อต้านรัฐบาล ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา กลุ่มกบฎได้สังหารผู้คนไปประมาณ 50,000 คน และอีกหลายพันคนที่ถูกตัดมือจนต้องกลายเป็นคนพิการ เพื่อหาทางสกัดกั้นการค้าเพชรเปื้อนเลือดที่สร้างความทุกข์ยากให้กับผู้คนในประเทศเหล่านั้น ในปีคริสตศักราชที่ 2002 สภาเพชรโลก (World Diamond Council) ซึ่งเป็นองค์กรที่ประกอบด้วยผู้ผลิตและผ้าค้าเพชรมากกว่า 50 ราย ได้รับเงินทุนสนับสนุนส่วนใหญ่จากเดอร์เบียส์ให้มีการจัดตั้งกระบวนการ คิมเบอลี (Kimberly Process) และโดยการผลักดันของสหประชาชาติให้มีการกำหนดกฎการค้าเพชรที่ต้องมีการตรวจสอบอย่างเคร่งครัดเพื่อไม่ให้มีเพชรเปื้อนเลือดปลอมปนเข้ามา ซึ่งก็สามารถครอบคลุมประเทศ ต่าง ๆ ที่มีการขุดเจียระไนและการซื้อเพชร การขนส่งเพชรทั้งหมดจะต้องปิดผนึกระบุที่มาที่ไปอย่างชัดเจน ผู้ค้าเพชรรายได้ทำผิดกฎจะต้องถูกดำเนินคดีและกำจัดออกไปจากอุตสาหกรรม ซึ่งผลลัพธ์ของความร่วมมือที่ได้คือ ระบบการออกใบรับรองเพชร ที่เรียกว่า “Kimberley Process Certification Scheme” ซึ่งเป็นโครงการทดลองของอุตสาหกรรมเพชรในการตรวจสอบการค้าเพชรที่ผิดกฎหมายด้วยตนเอง โดยชาติสมาชิกทั้ง 71 ชาติ ได้ตกลงที่จะทำการค้าขายกันเฉพาะในหมู่สมาชิกด้วยกันตรวจสอบซึ่งกันและกัน แล้วจึงออกใบรับรองที่รับประกันว่าเพชรเม็ดนั้น ๆ ไม่ได้มาจากแหล่งที่มีความขัดแย้ง ระบบตรวจสอบแบบนี้จะพยายามติดตามเพชรทุกเม็ด นับตั้งแต่ที่ออกจากเหมืองเพชรไปจนถึงมือของผู้ซื้อ และผู้ใดที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์นี้ก็จะถูกขับออกทันที อย่างเช่น ประเทศคองโก ถูกห้ามทำการค้าเพชรในปีคริสตศักราช 2004 เพราะละเลยข้อปฏิบัติโดยปล่อยให้มีการลักลอบนำเพชรเข้าจากเพื่อนบ้าน และเวเนซุเอลาถูกเตือนว่าจะถูกสั่งระงับการค้าขายหลังจากที่ประเทศนี้รายงานยอดส่งออกเพชรเป็นศูนย์ในปี คริสตศักราช 2005 การค้าเพชรในขณะนี้จึงไม่ใช่เพชรเปื้อนเลือดอย่างที่ผ่านมาอีกต่อไป ประกอบกับประเทศ ต่าง ๆ ในแอฟริกาตะวันตกเริ่มมีสันติภาพเกิดขึ้น จึงทำให้เชื่อได้ว่าเรื่องของเพชรเปื้อนเลือดได้กลายเป็นเพียงอดีตไปแล้ว ขณะนี้ชาวแอฟริกันนับเป็นล้าน ๆ คนได้เรียนหนังสือ และได้รับบริการสาธารณสุขที่ดีขึ้นจากรายได้ของการค้าเพชรของประเทศอย่างถูกกฎหมายอ้างอิง
| |
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( เสาร์, 29 สิงหาคม 2009 )
|