อาหารในประเพณีเจี๊ยะฉ่าย
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อังคาร, 09 กุมภาพันธ์ 2021
เอกลักษณ์ในพิธีกินผักPDFพิมพ์อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
จันทร์, 11 กุมภาพันธ์ 2008

๕.๒(๔) เอกลักษณ์ในพิธีกินผัก

 

 งานประเพณีกินผัก(เจี๊ยะฉ่าย)เพื่อบูชากิ้วอ๋องไต่เต่(พระราชาธิราชทั้ง ๙ พระองค์) ของทุกศาลเจ้า มีพืชผักและเครื่องบูชาในพิธีกรรม ๙ วัน ๙ คืน

๑. พืชผักในโรงครัว

 ๑. ข้าวสาร(บี้)
 ๒. ฟักทอง(กี้มโก้ย)
 ๓. ฟักเขียว(ต่างโก้ย)
 ๔. ผักบุ้ง(เอ้งฉ่าย)
 ๕. ถั่วฝักยาว(ฉ้ายต่าว)
 ๖. มะเขือ(เก๋ว)
 ๗. กะหล่ำปลี(โก่เหลฉ่าย)
 ๘. ถั่วงอก(ต่าวเหง)
 ๙. หัวเผือก(ปี่นั่งอ่อ)
 ๑๐. ผักกาดดอง(เกี่ยมฉ่าย)
 ๑๑. หัวไชโป้(ฉ้ายป้อ)
 ๑๒. มันแกว(บ่างก้วน)
 ปรุงเป็นแกงจืด ผัด หรือแกงเผ็ด

๒. เครื่องปรุงและอาหารประกอบ

 ๑. ซีอิ้วขาว(ฉี้วเฉ้ง)
 ๒. ซีอิ้วดำ(ต่าวอิ๋ว)
 ๓. เต้าเจี้ยว(ต่าวเจี่ยว)
 ๔. เต้าเจี้ยวดำ(อิ่มสี่)
 ๕. เต้าหู้ยี้(ต่าวหยู่)
 ๖. น้ำตาล(ถืง)
 ใช้ปรุงอาหาร  และเป็นอาหารเสริม


๓. ขนม
 ๑. ขนมรวม(เต่เหลี่ยว)
 ๒. ขนมเต่า(อ้างกู๋)
 ๓. ขนมฟู(ฮวดโก้ย)
๔. เปะถึ่งโก้
 และมีน้ำชา(เต๋) เป็นเครื่องดื่ม


๔. ผักแห้ง
 ๑. ดอกเข็มทอง(กี้มเจี้ยม)
 ๒. เห็ดหูหนู(บ๊กนี้)
 ๓. เห็ดหอม(เหี้ยวก้อ)
 ๔. วุ้นเส้น(ต่างหู้น)
 ๕. ฟองเต้าหู้(ตั๊กก้ากี้)
 ๖. หมี่สั่ว


๕. ผลไม้ ๕ ชนิด
 ๑. กล้วยข้าว(บี้เจ้ว)  ข้าวออกเสียงตรงกับเข้า  เป็นการขอให้มีสิ่งมงคลเข้ามา
 ๒. สับปะรด(อ่องหลาย) สมญานามของศัพท์จีนหมายถึงโชคมา
 ๓. ส้มเขียวหวาน(ส้มแป้น-ก้าม) ศัพท์จีนใกล้กับก้ามเสี่ยม หมายถึงขอขอบคุณ และส้มมีกลีบส้มหลายกลีบ หมายถึงความสามีคคี  อยู่ด้วยกัน เป็นความใกล้ชิดอบอุ่น
 ๔. ส้มโอ(อี่ว)
 ๕. ละมุดสีดา(บ่าสี่กู้)


๖. เครื่องบูชาในศาลเจ้า
 ๑. ธูปเล็ก(เส้เหี้ยว)
 ๒. ธูปใหญ่(ตั่วเหี้ยว)
 ๓. เทียนไขเล็ก(เส้เจก)
 ๔. เทียนไขใหญ่(ตั่วเจก)
 ๕. ไม้หอม(เช่งเหี้ยวฉา)
 ๖. กระดาษทองเล็ก(เส้กี้ม)
 ๗. กระดาษทองใหญ่(ตั่วกี้ม)
 ๘. ลูกประทัด(ผ่าว)
 ๙. กระดาษเหลือง(อึ่งจั้ว)


เครื่องปรุงอาหารและเครื่องบูชาเหล่านี้เป็นสิ่งที่ชาวภูเก็ตใช้ประกอบในพิธีกินผักมาไม่ต่ำกว่า ๘๐ ปีมาแล้ว  รายการบางอย่างอาจมีข้อห้ามทั้งที่น่าจะเข้าร่วมในพิธีกินผักได้ เช่นไม่ใช้กุ่ยไฉ่(กุ้ยฉ่าย) กระเทียม เป็นต้น เพราะเชื่อว่าพืชผักดังกล่าวเป็นการกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบสะอาด(เช้ง-เฉ้ง)ในการถือศีลในพิธีกินผัก

...
***
มนุษยศาสตร์ ความเชื่อ
กินเจภูเก็ต
กินผัก 

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อังคาร, 09 กุมภาพันธ์ 2021 )