ภูเก็จเมืองแก้ว |
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ. | |
อาทิตย์, 09 สิงหาคม 2009 | |
ภูเก็จเมืองแก้ว
ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ๑๓ มีนาคม ๒๕๓๖
นักปราชญ์ได้ยกสิ่งสูงค่าให้เป็น แก้ว มหาชนก็สร้างแก้วให้มีค่า ไม่ว่าจะเป็นเพชร มณี มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดาหาร เพทาย ไพฑูรย์ คือ แก้วเก้าส่งผลให้มีทหารแก้ว ขุนนางแก้ว กวีแก้ว เมียแก้ว ลูกแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว และเมืองแก้วภารกิจของเมืองอันนี้มีสิทธิ์อันชอบธรรมที่จะนำ “แก้ว” ไปใช้ ต้องได้รับการพิสูจน์ตรวจสอบด้วยการณกาลให้กล่าวขวัญถึงแก้วกอปรแล้วเป็นแก่นเมือง ทรัพยากรแห่งดิน และสินแห่งน้ำอันอุดม สมบูรณ์ของเกาะภูเก็จ ได้ปรากฏหลักฐานสืบกาลมาตั้งแต่ พ.ศ. ๗๐๐ ที่คลอดิอุส ปโตเลมี กล่าวไว้ในชื่อ JUNK CEYLON และจีนเรียก SILAN ผ่านมาถึง พ.ศ. ๑๕๖๗ ได้ขานเรียกเกาะภูเก็จว่ามณิครัมที่แปหมายว่าเมืองแก้ว บรรดาสามายนามที่เกี่ยวข้องกับเมืองก็ต้องสอดคล้องกับเมืองแก้วให้รับกันได้ จึงต้องมีเจ้าแห่งเมืองว่า “ออกญาเพชร” ว่าการเมืองแก้วที่อุดมด้วยสินแร่ อำพัน มุก สัตว์ป่าและป่าไม้ ตอนต้นรัชกาลที่ ๕ มีเหตุการณ์จลาจลอั้งยี่เกิดขึ้นในแผ่นดินภูเก็จ เป็นเหตุให้เกิดวีรกรรมของพ่อท่านสมเด็จเจ้าวัดฉลอง ในปี พ.ศ. ๒๔๑๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เป็น “พระครูสุทธิวงษาจาริย์ญาณมุนีสังฆปาโมกข์” ภูเก็จจึงมีพระแก้วในหัวใจสืบมาอีกรูปหนึ่ง ปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงตอนต้นสมัยรัชกาลที่ ๖ ก็มีขุนนางแก้วประดับภูเก็จอีกคือ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี(คอซิมบี๊ ณ ระนอง) กาลสืบมาถึงปัจจุบัน ภูเก็จได้รับการขานชื่อระบือก้องไปทั่วโลกว่า “ไข่มุกแห่งอันดามัน” “ไข่มุก” นั่นก็คือแก้ว
|
|
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อาทิตย์, 09 สิงหาคม 2009 ) |