วัตถุประสงค์ของงานวัฒนธรรม สวช.
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
จันทร์, 15 มิถุนายน 2009

สรุปคำบรรยาย
การเปิดประชุมและชี้แจง

 

วัตถุประสงค์ของงานวัฒนธรรม


กับความรับผิดชอบขององค์กรธุรกิจต่อสังคม


โดย นางนพพร  มุกดามณี
รองเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ


สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ    ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการส่งเสริม  CSR กับงานวัฒนธรรม   เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจกับ CSR กับงานวัฒนธรรม ให้กับบุคลากรทางวัฒนธรรม และให้เกิดพลังการขับเคลื่อนการดำเนินงานวัฒนธรรมให้เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยมุ่งหวังว่าจะดำเนินการ CSR อย่างไรกับภาคธุรกิจ   ซึ่งจะเรียนรู้ได้จากวิทยากรที่มาบรรยายให้ความรู้ เรื่อง CSR กับงานวัฒนธรรม โดยขอให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ศึกษาและนำความรู้จากวิทยากรมาปรับกระบวนการทำงานของสำนักงานให้เกิดประโยชน์แก่สังคม ได้อย่างไร  

 

เนื่องจาก CSR  เป็นนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงวัฒนธรรม   นอกจากนี้ภาคธุรกิจกำลังมีนโยบายที่จะให้ความร่วมมือกับภาคสังคม โดยให้งบประมาณสนับสนุนกับภาคสังคมและภาคราชการให้มากขึ้น  โดยภาคธุรกิจ เน้นเรื่องประชาชน  ซึ่งมีจุดหมายปลายทางคือ   ความเข้มแข็งของประชาชนเหมือนกับสำนักงานฯ  ดังนั้น สำนักงานฯ  จะต้องเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงให้กับภาคธุรกิจ  สนับสุนนงบประมาณและความคิด ในการดำเนินงานเพื่อสังคม หากหน่วยงานใดสามารถเสนอโครงการเพื่อสังคมให้กับภาคธุรกิจ   ภาคธุรกิจจะพิจารณาให้งบประมาณสนับสนุนง   เช่น  โครงการครูขยะของบริษัทเชฟร่อน  AIS  TURE  TVบูรพา  เป็นต้น  ทั้งนี้ รัฐบาลกำลังดำเนินการเรื่องลดหย่อนภาษี ให้กับภาคเอกชนที่บริจาคเงินเพื่อสังคมด้วย


  การทำงานวัฒนธรรมแบบยั่งยืน  ต้องดำเนินการถึง ๒ เรื่อง คือ

๑. งานต้องเข้มแข็ง   หมายถึง      เนื้องานต้องชัดเจน สามารถมองในเชิงลึก ได้

๒.  งานต้องแข็งแรง หมายถึง    ต้องทำสามารถนำไปทำเป็นแผนงานยะระยาวได้ และ  ทำเป็นแผนของงบประมาณในปีต่อไป


            วิธีการทำงานให้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติยั่งยืน คือ ต้องเป็นนักวิชาการจัดการงานวัฒนธรรมในเชิงวิชาการ    ต้องดำเนินการใน  ๔ เรื่อง  ดังนี้


๑. ดำเนินการ MOU  กับภาคราชการให้เป็น
๒. ดำเนินการ CSR  กับภาคเอกชนให้ได้
๓. ประสานงานกับเครือข่ายให้เข็มแข็ง
๔. การประเมินผลชัดเจน


                      ข้อสังเกตจากประเมินผล   ส่วนใหญ่จะพบว่างบประมาณไม่พอ การดำเนินงานไม่ต่อเนื่อง ดังนั้น สำนักงานฯจะต้องสร้างความเข้าใจงานวัฒนธรรมให้กับเครือข่ายให้มากขึ้น    โดยการให้เครือข่ายเห็นคุณค่าของงานวัฒนธรรม และชื่นชมกับเนื้องานวัฒนธรรม ไม่ใช้งบประมาณเป็นตัวตั้ง  ใช้เนื้องานเป็นตัวตั้งให้ได้  และในการจัดทำงบประมาณปีงบประมาณ  ๒๕๕๒  ต้องจัดทำเป็น Event ใหญ่ 

 

การบริหารจัดการงานวัฒนธรรม หมายถึง การบูรณาการจัดการองค์ความรู้ เป็นคู่มือที่สามารถให้วัฒนธรรมจังหวัดหรือประชาชนนำไปดำเนินการได้ ซึ่งการดำเนินคู่มือนี้สามารถใช้ประกอบการขอเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นในระบบแท่งต่อไปด้วย ดังนั้น ขอให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เก็บเกี่ยวความรู้ เก็บเกี่ยววิชาการ   เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานวัฒนธรรม  ขอให้ตั้งใจฟัง  ขอให้การประชุมครั้งนี้มีประโยชน์และ มีความสำคัญมาก   ขอกราบขอบพระคุณท่านประธานกองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม   นายสุนทร  อรุณานนท์ชัย  เป็นอย่างสูงที่ให้ความเมตตากับสำนักงานฯ  และขอเปิดประชุมขอให้การประชุมครั้งนี้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ทุกประการ  
     ……………………….

 


สรุปคำบรรยาย

 

CSR กับงานวัฒนธรรม


โดย นายสุนทร  อรุณานนท์ชัย


ความหมายของวัฒนธรรม
วัฒนธรรม เป็นทรัพย์สินของชนชาติ สามารถบ่งบอกถึงอารยธรรมในอดีตได้เป็นยุคๆ แต่ละภาคส่วนของโลก อาจจะมีวัฒนธรรมแตกต่างออกไปตามสิ่งแวดล้อม ขนบธรรมเนียบที่แตกต่างกันไป ประเทศชาติมีประวัติศาสตร์เก่าแก่ประเทศหนึ่งในโลก ตั้งแต่อยู่ชมพูทวีป มีชนชาติวัฒนธรรมอ่อนน้อม ท่อมตน โอบอ้อมอารีย์ต่อผู้อื่นเคารพผู้อวุโส และสิ่งอื่น ๆ มากมายล้วนแต่เป็นวัฒนธรรมที่ดีงามที่บรรพชนได้สร้างไว้ให้กับคนไทย ในวันนี้ วัฒนธรรมบางอย่างเป็ฯการบอกให้รู้ว่าเป็นคนชาติใด ศาสนาใด ขนบธรรมเนียบเป็นเช่นไรได้ ชนชาติใดที่มีสิ่งดีงามมาก ๆ ถ้าจะได้รับการยกย่องนับถือ โดยพลเมืองร่วมโลกได้ ตรงข้ามกับคนในชาติที่ไม่สามัคคี เช่น ฆ่า ประหารกันและกัน ก็จะได้รับการถูกว่าเป็นชาติที่ไม่มีอารยธรรม ป่าเถือนได้


 กระทรวงวัฒนธรรม เป็นกระทรวงสำคัญทางปัญญาด้านวัฒนธรรม ข้าราชการในกระทรวงโดยเฉพาะหน่วยงานของ สวช. มีความสำคัญมากเป็นพิเศษ เพราะดูแลด้านวัฒนธรรม บำรุงรักษาให้อยู่คู่คนไทยไม่ให้วัฒนธรรมจากต่างชาติที่ไม่ดีมาย่ำยีเยาวชนคนไทย


 CSR ของภาคธุรกิจ ที่รับผิดชอบต่อสังคมมีเป้าหมายและแผนงานในการทำธุรกิจแบบยั้งยืนได้อย่างไร ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ (Corporate Social Responsibility – CSR)
แนวคิด “ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ” (CSR)
 แนวคิด  CSR   ภารกิจหรือข้อผูกพันในกิจการขององค์กรใด ๆ ย่อมนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองที่ยั่งยืนได้อย่างเป็นผลสำเร็จ ทั้งยังมีโอกาสค้นพบวัตนกรรมหรือธุรกิจใหม่ ๆ ธุรกิจย่อมไม่สามารภประสพความสำเร็จที่ยั่งยืนได้ในสังคมที่ล้มเหลว


นิยาม “ความรับผิดชอบต่อสังคมของธรุกิจ” (CSR)


 นิยาม  (CSR) “การดำเนินธุรกิจ” ( และการดำเนินกิจการที่มิใช่ธุรกิจ) ภายใต้หลักจริยธรรม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Governance) ควบคู่ไปกับการใส่ใจดูแลรักษา และฟื้นฟูไม่สร้างผลกระทบในทางลบต่อชุมชนสังคม (Social) และสิ่งแวดล้อม (Environment) รวมทั้งมีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ผสมผสานอย่างบูรณาการ เพื่อนำไปสู่การดำเนินธุรกิจ และกิจการต่าง ๆ ให้ประสพความสำเร็จ เติบโตควบคู่การสร้างผลกำไร และผลิตภาพมูลค่าเพิ่มได้อย่างยั่งยืน (Sustainability)


นิยาม “ความรับผิดชอบต่อสังคมของธรุกิจ” (CSR) ต่อสังคม  (Social)
 หมายถึง ทั้งสังคมใกล้ คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับธุรกิจหรือกิจการนั้นโดยตรง เช่น ลูกค้า คู่ค้า พนักงาน ผู้บริหาร กรรมการ ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน ชุมชนสังคมที่เป็นที่ตั้งของธุรกิจ และสังคมไกล คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโดยอ้อม เช่น ซับพลายเออร์ กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาชีพ องค์กรพัฒนาเอกชน ประชาชนในระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับโลก

 

นิยาม “ความรับผิดชอบต่อสังคมของธรุกิจ” (CSR) ต่อสิ่งแวดล้อม (Environmest)
 หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ซึ่งมีทั้งสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น ภูเขา ป่าไม้ พันธุ์ไม้ สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ แหล่งน้ำ แม่น้ำ และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์ค้นพบ และสร้างขึ้น เช่น หลักศาสนา ความเคารพเชื่อถือ ขนบธรรมเนียบประเพณี วัฒนธรรมอันดี


แนวปฏิบัติ 8 ด้านของ CSR


 ด้านที่ 1. การกำกับดูแบกิจการที่ดี
  จัดให้มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพโปร่งใสตรวจสอบได้


ด้านที่ 2. การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม
  การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรมย่อมก่อให้เกิดความเชื่อมั่นกับผู้เกี่ยววข้องอันจะส่งผลดีต่อกิจการในระยะยาว


ด้านที่ 3. การเคารพสิทธิและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม
  ทรัพยากรบุคคลเป็นปัจจัยที่สำคัญของธุรกิจในการสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มผลผลิต


ด้านที่ 4. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
  สินค้าหรือบริการของธุรกิจต้องมีคุณภาพ มีความคุ้มค่าไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยง หรืออันตรายต่อผู้บริโภค


ด้านที่ 5. (การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม (พร้อมกับแก้ไขผลกระทบจากธุรกิจในทางลบต่อสังคม)
  ธุรกิจควรจัดกิจกรรมทางสังคม หรือมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการของธุรกิจ


ด้านที่ 6. การดูและรักษาสิ่งแวดล้อม.
  ธุรกิจจึงมีหน้าที่ในการประกอบกิจการโดยต้องปรับปรุงสภาวะของโลก เพื่อคุณภาพชีวิต
  มนุษย์ด้วยการจัดปัญหาสิ่งแวดล้อมพร้อมกันไป


ด้านที่ 7. การพัฒนาและเผยแพร่วัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม
  พัฒนาความรู้ใหม่ ๆ ที่เกิดจากประสบการณ์ในการดำเนินงานด้าน CSR จนกลายเป็นวัตกรรมในทางธุรกิจที่สามารถสร้างผลิตภาพมูลค่าเพิ่มให้สูงขึ้นไปได้อีกทั้งต่อธุรกิจ และสังคม


ด้านที่ 8. การจัดทำรายงานการดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคมอย่างโปร่งใน


  ธุรกิจควรให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นการปฏิบัติตามแนวทาง CSR  ที่กล่าวมาอย่างถ้วน