ดาวเคราะห์ชนดาวอังคาร
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พฤหัสบดี, 03 มกราคม 2008

วันที่ 03 มกราคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6244 ข่าวสดรายวัน


ตั้งตารอ"30มกราคม"

ดาวเคราะห์ชน"อังคาร"




วันที่ 30 มกราคมที่จะถึงนี้ อดใจรอให้ดีว่าเราอาจได้เห็นภาพดาวเคราะห์น้อยขนาดพอๆ กับสนามฟุตบอล อาจพุ่งชนดาวอังคาร จากรายงานล่าสุดของนายดอน เยียวแมนส์ หัวหน้าโครงการวัตถุที่เดินทางมาใกล้โลกขององค์การนาซ่า พบว่า โอกาสที่ดาวเคราะห์น้อย "2007 WD5" ชนดาวอังคารเพิ่มขึ้น

นายเยียวแมนส์ กล่าวว่า การสำรวจแคททาลีนาสกายในอริโซน่าที่นาซ่าออกงบประมาณสนับสนุน พบ "2007 WD5" เป็นครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา จากการรวบรวมข้อมูลทั้งเส้นทางการโคจรและเส้นทางการเดินทางของ "2007 WD5" ที่องค์การนาซ่าประมวลขึ้นก่อนหน้านี้พบว่า โอกาสที่ "2007 WD5" จะชนดาวอังคารมีประมาณ 1 ใน 75 แต่ล่าสุดพบว่ามีโอกาสสูงถึง 1 ใน 25 แล้ว

นักดาราศาสตร์ต่างตั้งตารอดูด้วยความตื่นเต้นว่า "2007 WD5" จะชนดาวอังคารหรือไม่ การพุ่งชนนี้จะไม่เกิดอันตรายใดๆ กับโลก เพราะโลกอยู่ห่างจากดาวอังคารถึง 27,900 ไมล์ ถ้ามีการชนกันจริงก็จะมีการระเบิด ทำให้เกิดแอ่งกว้างราวครึ่งไมล์ในบริเวณทางตอนเหนือที่ยาน "อ๊อพพอร์ทูนิตี้" ทำการสำรวจมากนาน 3 ปีแล้ว และจะปลดปล่อยพลังงานเท่ากับเมื่อครั้งที่สะเก็ดดาวพุ่งชนโลกที่ทากัชคา ในแคว้นไซบีเรียเมื่อค.ศ. 1908 จนทำให้ต้นไม้ 60 ล้านต้นราบเรียบเป็นหน้ากลอง

 

http://www.norsorpor.com/go2.php?u=http%3A%2F%2Fwww.matichon.co.th%2Fkhaosod%2Fview_news.php%3Fnewsid%3DTUROMFpXTXdNakF6TURFMU1RPT0%3D%26sectionid%3DTURNeU5nPT0%3D%26day%3DTWpBd09DMHdNUzB3TXc9PQ%3D%3D

 

จากสมาคมดาราศาสตร์  >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

http://thaiastro.nectec.or.th/news/2007/news20071201.html

 

 ข่าวดาราศาสตร์

Image  

ดาวเคราะห์น้อย(อาจ)ชนดาวอังคาร

23 ธันวาคม 2550

จับตาดูดาวเคราะห์น้อย 2007 ดับเบิลยูดี 5 (2007 WD5) ให้ดี ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีโอกาสพุ่งชนดาวอังคารในต้นปี 2551 นี้

http://thaiastro.nectec.or.th/news/2004/special/img/crater.jpg

การคำนวณวงโคจรโดยสำนักงานวัตถุใกล้โลกขององค์การนาซาแสดงว่า ดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดประมาณ 50 เมตรนี้จะเฉียดเข้าใกล้ดาวอังคารที่สุดในวันที่ 30 มกราคม 2551 เวลา 17:55 น. ตามเวลาประเทศไทย โดยระยะใกล้ที่สุดห่างจากดาวอังคาร 48,000 กิโลเมตร

แต่ด้วยความไม่แน่นอนของวงโคจร บวกกับความคลาดเคลื่อนของการสำรวจ ทำให้เส้นทางที่แท้จริงของดาวเคราะห์น้อยอาจไม่ตรงตามที่คำนวณ ดังนั้น 2007 ดับเบิลยูดี 5 อาจเบี่ยงออกห่างจากดาวอังคารมากกว่า 48,000 กิโลเมตร หรืออาจใกล้กว่า 48,000 กิโลเมตร หรือยิ่งกว่านั้น อาจจะชนดาวอังคารก็ได้ นักดาราศาสตร์ประเมินว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีโอกาสชนดาวอังคารประมาณ 1 ใน 75

“ขณะนี้ (23 ธันวาคม 2550) ดาวเคราะห์น้อย 2007 ดับเบิลยูดี 5 อยู่กึ่งกลางระหว่างโลกกับดาวอังคาร และกำลังมุ่งหน้าไปยังดาวอังคารด้วยความเร็วประมาณ 44,600 กิโลเมตรต่อชั่วโมง” ดอน ยีโอแมนส์ ผู้อำนวยการของสำนักงานวัตถุใกล้โลกที่ห้องปฏิบัติการเจพีแอลของนาซากล่าว

หากดาวเคราะห์น้อย 2007 ดับเบิลยูดี 5 ชนดาวอังคารจริง จุดพุ่งชนก็น่าจะอยู่บริเวณที่ราบกว้างใหญ่ทางเหนือของดาว ซึ่งเป็นบริเวณที่รถสำรวจออปพอร์ทูนิตีของนาซากำลังปฏิบัติงานอยู่

“เราคาดว่าปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นบนดาวอังคารเฉลี่ยทุกพันปี” สตีฟ ชีสลีย์ นักวิทยาศาสตร์จากเจพีแอลกล่าว “ถ้า 2007 ดับเบิลยูดีชนดาวอังคารในวันที่ 30 มกราคมจริง มันจะพุ่งชนด้วยความเร็ว 48,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและอาจทำให้เกิดหลุมของการพุ่งชนที่มีความกว้างกว่าครึ่งไมล์” หลุมอุกกาบาตที่รถออปพอร์ทูนิตีกำลังสำรวจอยู่ในขณะนี้ก็มีขนาดใกล้เคียงกัน

การพุ่งชนจะปล่อยพลังงานเท่ากับการระเบิดขนาด 3 เมกะตัน ความรุนแรงระดับนี้เทียบเท่ากับการระเบิดที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1908 ที่ทังกัสกา ไซบีเรีย แต่การระเบิดที่ทังกัสกาไม่ทิ้งหลุมไว้ เนื่องจากวัตถุที่พุ่งเข้าใส่ได้ระเบิดและสลายไปในอากาศก่อนจะถึงพื้นดิน ในกรณีของดาวอังคารซึ่งมีบรรยากาศเบาบางกว่าโลกมาก นักดาราศาสตร์คาดว่าดาวเคราะห์น้อยมีโอกาสมาถึงพื้นดินมากกว่า

ดาวเคราะห์น้อย 2007 ดับเบิลยูดี 5 ค้นพบเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 โดยโครงการสำรวจท้องฟ้าแคตทาลีนาซึ่งเป็นโครงการขององค์การนาซา การค้นพบนี้ทำให้ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้อยู่ในรายชื่อของวัตถุที่ต้องจับตาด้วย เนื่องจากมีเส้นทางโคจรใกล้โลก หลังจากนั้นจึงมีการสำรวจเสริมจากหอดูดาวสเปซวอตช์ที่คิตพีก แอริโซนา และหอดูดาวแมกดาลีนาริดจ์ในนิวเมกซิโก ข้อมูลใหม่ที่ได้มาทำให้นักดาราศาตร์ทราบว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อโลก แต่จะเป็นอันตรายต่อดาวอังคารแทน

เนื่องจากข้อมูลด้านวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ได้มาจากการสำรวจเป็นเวลาสั้นมากเพียงไม่ถึงเดือน ดังนั้นจึงมีความคลาดเคลื่อนได้มาก การสำรวจภายในห้าสัปดาห์ข้างหน้านี้จะช่วยให้การคำนวณหาวงโคจรแม่นยำขึ้น ว่าจะชนหรือไม่ชน

ที่มา:

 

 

 

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อาทิตย์, 06 มกราคม 2008 )