ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
จันทร์, 03 สิงหาคม 2015

 ดรรชนี  งาน ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์
สารบาญ   งาน  สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์

จดหมายเหตุ มอภ.จห.


 

เปิดสำรอง สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ประวัติย่อ 

 อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ผศ.PDFพิมพ์อีเมล์
เขียนโดย สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์   
พฤหัสบดี, 17 มกราคม 2008

"พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ (พมร.)

เป็นงานสร้างสรรค์ทางศิลปะ

บนฐานงานวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์"

ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ จึงได้อาสาเข้าร่วมงานพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ กะทู้ ตามแนวคิดเดิมของ ประเสริฐ ขาวกิจไพศาล นายกเทศมนตรีตำบลกะทู้ ซึ่งได้คิดไว้เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๓  แล้วมาเริ่มต้นใหม่หลังพิบัติภัยสีนามิ (Tsunami เกิดเมื่อ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗)

ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ เสนอให้พิพิธภัณฑ์หมืองแร่ (พมร.กะทู้) มีคนเดินชมวนขวาทักษิณาวัฏแด่บรรพชนชาวเหมือง ไปตามลำดับคือ ทรัพย์นายหัวเหมือง กำเนิดโลก(ในระบบสุริยจักรวาลกำเนิดแร่ กำเนิชีวิต กำเนิฅน ฅนพบแร่ ฅนใช้แร่ ฅนแสวงหาแร่  จึงเกิดเหมืองแล่น เหมืองครา เหมืองรูเหมืองอุโมงค์ เหมืองหาบ เหมืองสูบ เหมืองฉีด เหมืองเรือขุด และเหมืองแพดูด

ขนส่งแร่ ทำความสะอาดแร่ แยกแร่ ถลุงแร่  แล้วแปรแร่ดีบุกไปเป็นโลหะดีบุก จัดกระทำให้โลหะดีบุกเป็นผลิตภัณฑ์

วิถีชีวิตชาวเหมือง

เรือสำเภาจีนเทียบท่าที่สะพานหิน ชาวจีนหอบสมบัติ "เสื่อผืนหมอนใบ"ย่างเท้าก้าวเหยียบแผ่นดินภูเก็จ เข้าสู่บางเหนียว และตลาดในทู เป็นกุลีจีนในเหมืองหาบ สร้างเนื้อสร้างตัวรับเจ้าสาวเข้าร่วมชีวิต สร้างฐานะสืบลูกขยายหลานบาบ๋า มีความสุขตราบกาลนิรันดร.

สมหมาย คิดอย่างนี้  แล้วก็สร้างนิทรรศการ พมร.ให้เป็นไปดั่งนั้น

เขาคือ สมหมาย

ตั้งใจให้ท่านสมหมาย ดังที่สมหมายหมายไว้

 อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์

พ.ม., กศ.บ.(ภาษาไทย), กศ.ม.(การอุดมศึกษา)

เกิดวันที่ 1 สิงหาคม 2489 ณ จังหวัดสงขลา

1. ประวัติการศึกษา

ระดับการศึกษา วุฒิย่อ(วิชาเอก) วันเดือนปี ชื่อสถานศึกษา

ปริญญาโท กศ.ม.(การอุดมศึกษา) 2524 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มศว.ประสานมิตร

ปริญญาตรี กศ.บ.(ภาษาไทย) 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร วศ.ประสานมิตร

อนุปริญญา พ.ม. 2511 สนามสอบจังหวัดภูเก็ต

ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู ป.กศ. 2509 โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช

มัธยมศึกษา

ม.ศ.3 2507 โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จ.ภูเก็ต

ม.3 2504 โรงเรียนถลาง จ.ภูเก็ต

ประถมศึกษา

ป.4 2501 โรงเรียนวัดพระนางสร้าง อ.ถลาง จ.ภูเก็ต

 

2. ประวัติรับราชการ

2.1 เริ่มรับราชการในตำแหน่งครูจัตวา ณ โรงเรียนวัดสุวรรณคีรีวงก์ ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ ภูเก็ต เมื่อเดือนพฤษภาคม 2509 ย้ายไปโรงเรียนวัดมงคลวราราม ตำบลสาคู อ.ถลาง จ.ภูเก็ต และย้ายไปเป็นครูตรีโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.2514

2.2 เริ่มราชการในสถาบันราชภัฏเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2517 ตำแหน่ง อาจารย์ตรี วิทยาลัยครูเลย กรมการฝึกหัดครู ช่วยราชการ ณ วิทยาลัยครูนครราชสีมา ในคณะครุศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์

2.3 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ 1 วิทยาลัยครูภูเก็ต เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2519

2.4 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ 2 วิทยาลัยครูภูเก็ต เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2526

2.5 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2544

2.6 ข้าราชการบำนาญ ตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙

 

3. ผลงานทางวิชาการ

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์(๒๕๒๔) ความต้องการศึกษาและการได้โอกาสศึกษาในระดับอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ๓๓๐ หน้า อัดสำเนา

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์(๒๕๔๓) เอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาถิ่น ภูเก็ต : สถาบันราชภัฏภูเก็ต  ๘๗ หน้า

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ (๒๕๔๒) หน่วยเสียงภาษาถิ่นในจังหวัดภูเก็ต ภูเก็ต : สถาบันราชภัฏภูเก็ต  ๑๙๕ หน้า

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์(๒๕๔๗) นามสถานในจังหวัดภูเก็ต ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต  ๘๕ หน้า

 

4. ผลงานเผยแพร่(บางส่วน)

ประสิทธิ ชิณการณ์ และสมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ จดหมายเหตุเมืองถลาง ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต ๒๕๒๔, ๒๗ หน้า อัดสำเนา

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ศึกถลาง ๒๓๒๘ ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต ๒๕๒๕, ๒ หน้า อัดสำเนา

____. เสริมรู้เมืองภูเก็ต ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต ๒๕๒๖, ๒๙๒ หน้า อัดสำเนา

ปริวรรต :-

มหาเวสสันดร, ปลาบู่ทอง, พิเภกสอนบุตร, พาลีสอนน้อง, ปริศนาลายลักษณ์ฯลฯ

รวบรวมปริศนาคำทาย :-

บ้านบางม่าเหลา, บ้านสาคู, บ้านบางเทา, บ้านในทอน ฯลฯ

เรียบเรียง :-

ลักษณะคำประพันธ์ในบุด, ประเพณีลอยเรือชาวเล, ตามรอยพระบาท ร.๖, ตามเสียงปี่พระอภัยมณี, บ้านท้าวเทพกระษัตรี, ชาวเล:การปรับตัว, วัดพระทอง, เมืองถลางบางโรง, เมืองถลางบ้านดอน, ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต, ภูเก็จ, บทละครวีรสตรีถลาง, พจนานุกรมภาษาภูเก็ต

บรรณาธิการ และ บรรณาธิการผู้ช่วย:-

ประสิทธิ ชิณการณ์ : ขุมทรัพย์วัฒนธรรมภูเก็จ

เลียบ ชนะศึก : ขุมทรัพย์วัฒนธรรมถลาง

สกุล ณ นคร : นักการเมืองรางวัลกระสุนทอง

๓๐ ปี ราชภัฏภูเก็ต

ประวัติท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร

เฉ่ง เลิศกิจสมบูรณ์ : ประติมากรพระจีน

ไชยยุทธ ปิ่นประดับ : ขุมทรัพย์วัฒนธรรมกะทู้

ภูเก็จเมืองแก้ว

ถลางหมายเหตุ'๔๐

จิ้ว ประโมงกิจ : แม่เพลงอันดามัน

ประชา ตัณฑวณิช : นักอนุรักษ์มรดกอันดามัน

ผศ.วิจิตร สังข์ประพันธ์

ผชช.ชูชาติ ระวิจันทร์

ประเทือง อัฐพร

วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาภูเก็ต

จังค์ ซีลอน

มองหมองในปริศนาคำทาย

เรื่องสั้นสมหมายขอให้ผู้อ่านจงสมหมาย

ออกแบบตราศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต

ออกแบบตราศูนย์ศิลปวัฒนธรรมวิทยาลัยครูภูเก็ต

ออกแบบตรากลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ

ออกแบบตราภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏภูเก็ต

ออกแบบตรา หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต

ออกแบบตราโปรแกรมวิชาวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

ออกแบบตราคลังสมองภูเก็ต ของ อบจ.ภูเก็ต พ.ศ.๒๕๔๗

ออกแบบตราพิพิภัณฑ์เหมืองแร่ กะทู้ เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๙

ออกแบบตราหอจดหมายเหตุถลาง เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๑

แต่งเพลงมาร์ชโรงเรียนวัดสุวรรณคีรีวงก์

แต่งเพลงศิษย์เก่าโรงเรียนวัดสุวรรณคีรีวงก์

แต่งเพลงมาร์ชโรงเรียนวัดมงคลวราราม

ภาษาในวัฒนธรรมภูเก็จ(๒๕๔๙)

ทรัพยากรภูเก็จ ๒๙ หลักเพชร ในประตูเมืองภูเก็ต (Phuket Gateway) แต่งร่วมกับประสิทธิ ชิณการณ์  เห็นด้วยกับแนวคิด แต่ไม่เห็นด้วยกับรูปทรงของเต่าและไข่เต่า ณ ที่นั้นแต่ประการใด ตั้งใจว่า ถ้ามีผู้สนับสนุนเพิ่ม จะสร้างเต่าทะเล(อาจเป็นเต่ามะเฟือง)กับไข่เต่าทะเลไว้ให้อนุชนดู จะได้ไม่สับสนกับไข่เค็มไชยา และโครงเต่าบก ที่สร้างไว้ในปี พ.ศ.๒๕๕๐

 

บรรยายสาธารณะ ภูเก็ตภูมิ ความเคลื่อนไหวทางสังคม วัฒนธรรมของฅนเมืองภูเก็จ

 

5. เคยดำรงดำแหน่ง

ประธานศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต(พ.ศ.๒๕๒๔-๒๕๒๗)

ประธานกลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ(พ.ศ.๒๕๓๕- )

กรรมการมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร (พ.ศ.๒๕๓๕- )

หัวหน้าพิพิธภัณฑ์วัดพระทอง

หัวหน้าภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูภูเก็ต

รองประธานโปรแกรมวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏภูเก็ต

เลขานุการโปรแกรมวิชาวัฒนธรรมศึกษา สถาบันราชภัฏภูเก็ต

ที่ปรึกษาหมู่บ้านวัฒนธรรมถลาง(พ.ศ.๒๕๔๑-)

อนุกรรมการวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้(พ.ศ.๒๕๓๔-๒๕๕๑)

หัวหน้าหอวัฒนธรรมภูเก็จ

ผู้อำนวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏภูเก็ต

เลขานุการและกรรมการหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต

กรรมการสมัชชาองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น

อาจารย์พิเศษวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต(พ.ศ.๒๕๒๓-)

อาจารย์พิเศษวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต(พ.ศ.๒๕๒๔-๒๕๕๑)

รองประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองภูเก็ต(พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๔๗)

ที่ปรึกษามูลนิธิพิพิธภัณฑ์สึนามิ(๒๕๔๘-๒๕๕๐) ดำเนินการไม่ประสบผลสำเร็จ 

ผู้อำนวยการนักการมรดกภูเก็ต ในกองทุนอนุสรณ์หลวงอนุภาษภูเก็ตการ http://www.phuketheritage.net  กองทุนฯ ให้ยกเลิกเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๕๐

ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต ในสังกัดเทศบาลเมืองกะทู้ พ.ศ.๒๕๔๙ - ๒๕๕๓

เกิดความขัดแย้งกับนักคอรัปชั่นกินรางเหมืองแร่ กินน้ำตกจำลอง จึงถูกเทศบาลเมืองกะทู้ ช่วง พ.ศ.๒๕๕๓ - สั่งยึดทรัพย์สินส่วนตัวที่นำไปช่วยงานพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต ทำหนังสืออย่างตรงไปตรงมาเพื่อขอคืนทรัพย์สินส่วนตัวกลับคืน นายชัยอนันท์ นายกเทศมนตรีเมืองกะทู้ ทำเฉยลูกเดียว ไม่ตอบรับหนังสือแต่ประการใด ทรัพย์สินส่วนตัวจึงถูกยึดไว้ใช้งานในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต ข้าพเจ้าเข้าไปดูทรัพย์สินส่วนตัวต้องจ่ายเงินค่าตั๋ว

ผู้จัดการศูนย์อันดามัน Andaman Center  ในสังกัด อบจ.พังงา เมื่อ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ - ๓๐ กันยายน ๒๕๕๙
ผู้อำนวยการ Andaman Center ในสังกัด อบจ.พังงา เมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐

Andaman Center  ชื่อเต็มคือ ศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา กรมศิลปากรสร้างด้วยงบประมาณแผ่นดินกว่า ๑๘๐ ล้านบาทเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๓ ไว้เป็นแหล่งการเรียนรู้และทรัพยากรทางการท่องเที่ยว

 

6. งานที่กำลังปฏิบัติ

6.1 สร้างหอสมุดศาสนานานาชาติ ที่วัดไชยธาราราม เริ่มคิดเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘ หลังการพบปะผู้รู้ผู้ร่วมสานคิด ได้จำแนกไปเป็น ๓ งาน คือ

6.1.1 หอพระไตรปิฎกนานาชาติ จะสร้างที่วัดไชยธาราราม(วัดฉลอง) ในขุมเหมืองหน้าวัดไชยธาราราม ต.ฉลอง อ.เมืองภูเก็ต

6.1.2 หอสมุดศาสนานานาชาติ มอบ อบต.ฉลอง จะสร้างไว้ติดกับวัดฉลอง ทางประตูทางออกด้านข้างหน้าวัดฉลอง  เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ ได้ปรึกษากับคุณวินัย เรืองจารุวัฒนา ไวยาวัจกรวัดสิริสีล จะมอบชื่อนี้ให้วัดสิริสีล ต.ฉลอง อ.เมืองภูเก็ต

6.1.3 หอคัมภีร์อัลกุรอ่าน ให้สร้างไว้ในอนุสรณ์สถานถลางชนะศึกเสนอนางอัญชลี วานิช เทพบุตร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ในวันเสวนาจัดทำแผนแม่บทอุทยานประวัติศาสตร์ถลาง วันศุกร์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

6.2 สร้างพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็จ ใช้พื้นที่เต็มพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เริ่ม พ.ศ.๒๕๔๓ เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘ นายประเสริฐ ขาวกิจไพศาล นายกเทศบาลตำบลกะทู้ เสนอโครงการสร้างพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่  ทต.กะทู้เชิญ ผอ.กองประชุมเมื่อตุลาคม ๒๕๔๙  มติคณะกรรมการมอบหมายให้ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศฺลป์ เป็น ผอ.พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้ เปิด  http://www.kathutin.com  ไว้เสนอแนวคิดและฐานข้อมูล  และประสานด้วย อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้

6.3 รณรงค์ให้ถนนถลางเป็นพิพิธภัณฑ์ชีวิตเมืองภูเก็จ เริ่ม พ.ศ.๒๕๓๓ เสนอเทศบาลนครภูเก็ต เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๐ ได้ปรับปรุงไฟฟ้าแสงสว่างซอยรมณีย์

6.4 สร้าง web site : phuketheritage.net เป็นเสมือนหอสมุดคลังข้อมูลมณฑลภูเก็จ เริ่ม พ.ศ.๒๕๔๗ (พ.ศ.๒๕๔๙ อยู่ในกองทุนหลวงอนุภาษภูเก็ตการ) และสร้าง http://www.phuketdata.net  อบจ.ภูเก็ต.ให้การสนับสนุน แต่นายสมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ต้องจ่ายเงินค่าบำรุงรักษา และเพิ่มเติมข้อมูล  ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์จึงมอบให้มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร (มทศ.) ดำเนินการเมื่อมกราคม ๒๕๕๕ มีคุณปาณิศรา(นก) ชูผล เป็นบรรณาธิการ (EDITOR)

6.5 สร้างหอหมายเหตุภูเก็จ เริ่มคิดเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๐  สร้างไว้ในพื้นที่อนุสรณ์สถานถลางชนะศึก  เสนอนางอัญชลี วานิช เทพบุตร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ในวันเสวนาจัดทำแผนแม่บทอุทยานประวัติศาสตร์ถลาง วันศุกร์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

6.6 พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ Kathu Mining Museum  และ  อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้   เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๙  พ.ศ.๒๕๕๒ เปลี่ยนเป็น พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต PHUKET MINING MUSEUM ใช้ www.phuketdata.net

6.7 อนุสาวรีย์ถลางชนะศึก  ในอนุสรณ์สถานถลางชนะศึก เริ่มเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๒ เสนอนางอัญชลี วานิช เทพบุตร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ในวันเสวนาจัดทำแผนแม่บทอุทยานประวัติศาสตร์ถลาง วันศุกร์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ พ.ศ.๒๕๕๒ มีมติกับผู้ร่วมงาน ให้วางศิลาฤกษ์ตามที่เห็นสมควร ไม่ต้องรอบุคคลที่เคยคิดว่าจะรอให้เกียรติเขา เพราะรอมานานถึง ๓๐ ปีแล้ว
นายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ส่ง ดร.ประเจียด ธรรมอักษร และ ว่าที่ ร.ต.ไตรบัญญัติ จริยะเลอพงษ์ ไปเจรจาของบประมาณจากกรรมการจัดสรรงบประมาณภาคใต้ ได้มา ๒๖ ล้านบาท สร้างอนุสาวรีย์ ๙ วีรชนเมืองถลาง  ในอนุสรณ์สถานเมืองถลาง (Phuket historical Park)

 

ในปี พ.ศ.๒๕๕๓ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อนุสรณ์สถานเมืองถลาง (Phuket Historical Park)  ว่าที่ ร.ต.ไตรบัญญัติ จริยะเลอพงษ์ เป็นตัวแทนเข้าเสนองานที่จังหวัดสงขลา ขอรับทุนสร้างอนุสาวรีย์ ๒๖ ล้านบาท และกรรมการ มทศ.ได้สนับสนุนให้มีธงมิตรภาพแห่งสันติสุข (FRIENDSHIP of PEACE) กำหนดเป็นธงสีฟ้าสีแห่งความสดใจโปร่งตา

 

6.8 สร้างและดำเนินการเว็ปไซต์

www.kathutin.com (เริ่มเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๙-๒๕๕๑)

www.phuketculture.com  (ปรับปรุงมาจาก www.phuketculture.net ยกเลิกเมื่อกลางปี พ.ศ.๒๕๔๕)

www.phuketchallenge.com (ยกเลิกเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๕)

www.anuraktai.com (ยกเลิกเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๔๖ เริ่มใหม่ พ.ศ.๒๕๔๘-๒๕๕๐)

http://culture.pkru.ac.th/

http://anurak.orbortor.net/ (ยกเลิกเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๙)

http://www.chanmuk.com ให้เป็นเว็ปดำเนินการของมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร เริ่มเมื่อต้นเดือนมีนาคม ๒๕๕๑ ตอบคำถามประวัติศาสตร์ถลาง รับรางวัลเงินหมื่นใน E Question สิ้นสุดเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๒

http://www.thalangarchive.com ใช้เป็น homepage ของงานจดหมายเหตุถลาง แบ่งเป็น AR = จดหมายลายลักษณ์, MAP= แผนที่, PIC = จดหมายเหตุรูป PHO=จดหมายเหตุภาพ ดำเนินงาน ณ หอสมุดเฉลิมพระเกียรติฯ หน้าโรงเรียนถลางพระนางสร้าง (ทดลองใช้งานเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๑)

http://www.racha9.com ใช้เป็น Homepage ของจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดำเนินการ ณ หอจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาคารจตุรมุข หาดสุรินทร์ จังหวัดภูเก็ต (ทดลองใช้งานเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๑ แต่ อบต.เชิงทะเล ไม่มีคนรักที่จะดำเนินการ จึงยุติในปี พ.ศ.๒๕๕๒)

http://www.muban.com รอผู้สนใจเข้าครอบครอง

 

มอบหมายให้ปิยพร (จุ๊ก) ทองมาก กู้ www.kathutin.com นำข้อมูลได้บางส่วนกับข้อมูลบางส่วนใน www.phuketdata.net สนับสนุนทุนดำเนินการเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๒ ปรับปรุงเป็น www.phuketdata.net ส่งมอบให้มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ดำเนินการเมื่อ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๕

๖.๙ กรรมการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว พ.ศ.๒๕๕๒-

๖.๑๐ เทศบาลเมืองกะทู้ ว่าจ้างให้เป็นผู้จัดการพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต ตั้งแต่วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๒ - ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓

๖.๑๑ เสนอสร้างพิพิธภัณฑ์บรรพชีวิน( ) สตูล  ที่อำเภอละงู เสนอ อบจ.สตูล เมื่อกลางปี พ.ศ.๒๕๕๑  น่าจะไม่ประสบผล  เพราะไม่มีผู้ใดสนใจไทรโลไบต์(๕๓๐ ล้านปี) แกรปโตไลต์(๔๐๐ ล้านปี) แอมโมไนต์(๓๐๐ ล้านปี) และหินตะกอนที่เก่าที่สุดในประเทศไทย

๖.๑๒ มัคคุเทศก์(วิทยากร) สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล อินเดีย-เนปาล ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๙-

๖.๑๓ อบจ.พังงา จ้างให้เป็น ผู้จัดการ (พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๐) ผู้อำนวยการ (พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๐) ศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรม และประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา ใช้ชื่อย่อว่า Andaman Center, อันดามันมิวซ์สยาม, AndamanMuSiam ตั้งแต่วันจันทร์ที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๗ 
Andaman Center ตั้งอยู่ที่บ้านท่าด่าน หมู่ ๑ ตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมือง จังหวัดพังงา ๘๒๐๐๐

 

คำค้น คำสืบค้น

ประวัติย่อของนายสมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ อดีต ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ โปรแกรมวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
ประวัตินายสมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ อาจารย์สถาบันราชภัฏภูเก็ต
ประวัติอาจารย์สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์  อาจารย์วิทยาลัยครูภูเก็ต อาจารย์วิทยาลัยครูนครราชสีมา
ประวัติคุณครูสมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย โรงเรียนวัดมงคลวราราม โรงเรียนวัดสุวรรณคีรีวงก์
ประวัติผู้จัดการพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต
ประวัติผู้จัดการพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ผู้อำนวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏภูเก็ต
ผลงานนายสมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ประธานกลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ
ผลงานอาจารย์สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์  หัวหน้าหอวัฒนธรรมภูเก็จ

ประวัติสมหมาย   xit;y9bl,s,kp

รูปภาพที่ฝากไว้กับ http://upic.me/listmy.php

สมหมายสมหมาย

ศูนย์อันดามัน
ศูนย์ศึกษาวิจัย
ศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรม และประเพณีแห่งอันดามัน 

 อาหว้าย การละเล่นของเด็ก  อาว้าย อ่าหวาย อาว่าย การละเล่นพื้นบ้าน

 

***

พจนสารอันดามัน

มนุษยศาสตร์ 203 แถว3  ประวัติศาสตร์

ภาพครอบครัว "ปิ่นพุทธศิลป์

สำรอง  อีกชุด xbjor6mTLb]xN 

อีกชุด  สมหมาย ผศ

คำค้น  l,s,kp  xbjor6mTLb]xN

.

ไม่มีคำอธิบาย

 

 

 

 
สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์

 
ผลงาน   ผู้สูงวัย   ปู่หมาย   ผู้เฒ่าอันดามัน
.
.

๑. ประวัติผู้ได้รับการเสนอชื่อ
ชื่อ นายสมหมาย นามสกุล ปิ่นพุทธศิลป์
ยศ / ตำแหน่ง เมื่อรับราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
เกิดวันที่ ๑ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๙ อายุ ๗๔ ปี ๖ เดือน
ศาสนา พุทธ สถานภาพ สมรส
หมายเลขบัตรประจำตัว  3  8303  00035  36  2
ที่อยู่ปัจจุบัน  ๑๗๕ หมู่ ๑ บ้านหินรุ่ย ตำบลเทพกระษัตรี ถนนเทพกระษัตรี อำเภอถลาง ภูเก็ต สถานที่ติดต่อ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 83110
โทรศัพท์ 0813262549  E-mail : สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์
ข้อมูลครอบครัว  ภรรยาชื่อนางสุพัตรา ปิ่นพุทธศิลป์ นามสกุลเดิม เรืองไกรกลกิจ มีโรคประจำตัว คือโรคไต ฟอกไตเป็นจำสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง โรคความดันและเบาหวาน อยู่ในความดูแลของโรงพยาบาลชลประทาน นนทบุรี  มีบุตร ๒ คน คือนายสุพรหมินทร์  ปิ่นพุทธศิลป์ เกิดวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๑๓ สมรสกับนางกัลยา ปิ่นพุทธศิลป์ มีบุตร ๒ คน ชื่อนายสัญมณินท์ ปิ่นพุทธศิลป์ กับ ด.ญ.ภัสสรินท์ ปิ่นพุทธศิลป์ อยู่เป็นครอบครัวที่อำเภอศรีราชา ชลบุรี  บุตรชายคนที่ ๒ ชื่อ นายจักรพัณน์  ปิ่นพุทธศิลป์ เกิดวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๑๙ รับราชการอยู่ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมรสกับนางนิตยา ปิ่นพุทธศิลป์ มีบุตร ๒ คน ชื่อ ด.ญ.ปัณยินท์ ปิ่นพุทธศิลป์ และ ด.ช.ปิณฑ์ชวินท์ ปิ่นพุทธศิลป์ อยู่เป็นครอบครัวที่อำเภอเมืองนนทบุรี
ข้อมูลสุขภาพ นายสมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ มีโรคเก๊าท์ อยู่ในความดูแลของโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ส่วนคุณภาพชีวิตและสุขภาพ อยู่ในเอกสารแนบ หน้า ๓๙ - ๕๔  ปีนภูกระดึง ครั้งที่ ๙ เมื่ออายุ ๖๙ ปี
ข้อมูลเพิ่มเติม  ผลงานปรากฏอยู่ใน www.phuketdata.net, หอจดหมายเหตุ มอ. (มอภ.จห.) ได้เสนอตัวอย่างในเอกสารแนบ หน้า ๒ - ๓๘
๒. ประวัติการศึกษา
พ.ศ.๒๕๒๔ กศ.ม.(การอุดมศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.ประสานมิตร)
พ.ศ.๒๕๑๘ กศ.บ.(ภาษาไทย-โภชนาการ) วิทยาลัยวิชาการศึกษา (วศ.ประสานมิตร)
พ.ศ.๒๕๑๒ พ.ม. สนามสอบจังหวัดภูเก็ต
พ.ศ.๒๕๐๙ ป.กศ. โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ.๒๕๐๗ ม.ศ.๓ โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จังหวัดภูเก็ต
พ.ศ.๒๕๐๔ ม.๓ โรงเรียนถลาง อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
พ.ศ.๒๕๐๑ ป.๔ โรงเรียนวัดพระนางสร้าง อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน
๓. สังคมได้ใช้ประโยชน์จากผลงานของนายสมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ทางด้านการศึกษา  งานวิจัย งานด้านมัคคุเทศก์ งานด้านวัฒนธรรม งานด้านโบราณคดี งานด้านธรณีกาล งานด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว   จากการสอน บรรยาย ปฏิบัติ และผลิตสื่อ มีปรากฏใน www.phuketdata .net, มอภ.จห.  และตอบคำถามใน FB.:สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์, Morall Jotmaihet, Thai Phasa, Khati Chonwithya  และในเครือข่ายเพื่อนพันธมิตร  ได้เสนอตัวอย่างในเอกสารแนบ หน้า ๒-๕๔
.
Link ผลงาน ผู้เฒ่าอันดามัน  
พ่อเฒ่าอันดามัน
.
.
***
ประวัติศาสตร์  บุคคลในประวัติศาสตร์ 
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พฤหัสบดี, 24 มิถุนายน 2021 )