การปรองดอง : สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์
เขียนโดย สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์   
พุธ, 20 มิถุนายน 2012

ฝากรูป  

การปรองดอง

(สะท้อนจากวรรณกรรมในอินเดีย)

 

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์

๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๕

  

กลุ่มชนในสังคมเดียวกันมีความขัดแย้ง  อันเป็นเหตุให้ความสุขทั้งส่วนบุคคลและส่วนรวมแปรเปลี่ยนไปเป็นความทุกข์  สมาชิกในสังคมไม่ประสงค์ความทุกข์  จึงพยายามหาหนทางลดความขัดแย้ง  ด้วยวิธีการปรองดอง  เพื่อให้ความสุขกลับคืนมา

 

กำหนดให้ "ความทุกข์"แห่งการขัดแย้ง  เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขให้ลดลง  ใช้วิธีอริยสัจ ๔ ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศเป็นปฐมเทศนาธัมจักกัปปวัตนสูตร ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กล่าวคือ  ๑. ทำความเข้าใจคุณสมบัติของทุกข์แห่งความขัดแย้ง   ๒. ต้นเหตุแห่งความทุกข์ (สมุทัยของทุกข์)แห่งการขัดแย้ง    ๓. วิถีทางแก้ความทุกข์ (นิโรธ)แห่งความขัดแย้ง และ ๔. การปฏิบัติการแก้ทุกข์(มรรค)ด้วยวิธีการปรองดอง

 

คุณสมบัติของทุกข์แห่งความขัดแย้ง  มีคำที่ใช้เป็นคำกริยา เช่น ขัดกัน  (conflict, interlace); ปะทะกัน (clash, conflict, zap, collide);  ต่อสู้กัน  (scrimmage, conflict);  ไม่ถูกโรคกัน  (clash, conflict, contend, collide); มีคำที่ใช้เป็นคำนาม เช่น การขัดกัน  (conflict);   กรณีพิพาท  (dispute, conflict, fight, battle, collision );   ศึก  (battle, fighting, war, combat, fight, conflict); การปะทะกัน  (collision, clashing, strife, conflict);  การต่อสู้กัน  (scrimmage, skirmish, conflict);   การศึก  (battle, war, conflict, combat, fight, campaign);    ความระหองระแหง  (disagreement, quarrelsomeness, discord, dissension, conflict);   ศึกสงคราม ( war, warfare, fight, combat, battle, conflict)  ให้คำเหล่านี้แสดงคุณสมบัติของทุกข์แห่งความขัดแย้ง

 

ในอดีตจากวรรณกรรมทางศาสนาที่เคยแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งทางสังคม เช่นเรื่องมหาภารตยุทธ์  เรื่องรามเกียรติ์  เรื่องพระเทวทัต  เรื่องพระเจ้าอชาตศัตรู  เรื่องพระองคลิมาล  หรือเรื่องสามัคีเภท

ฝากรูป

 

 

เรื่องมหาภารตยุทธ์

"มหาภารตะเป็นเรื่องราวความขัดแย้งของพี่น้องสองตระกูล ระหว่างตระกูลเการพและตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็สืบเชื้อสายมาจากท้าวภรตแห่งกรุงหัสตินาปุระมาด้วยกัน จนบานปลายไปสู่มหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ซึ่งมีพันธมิตรของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก  (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B0)
 
ฝากรูป

 

 

 

เรื่องรามเกียรติ์

"เหตุเกิดเมื่อนนทกไปเกิดใหม่เป็นทศกัณฐ์มีสิบหน้ายี่สิบมือตามคำพระนารายณ์  ก่อนนั้นเมื่อพระนารายณ์สังหารนนทกแล้ว ได้ไปขอพระอิศวรจะให้เหล่าเทวดาและตนไปตามสังหารนนทกในชาติหน้า หลังจากนั้น ทหารเอกทั้งห้า จึงเกิดตามกันไป ได้แก่ หนุมานเกิดจากเหล่าศาสตราวุธของพระอิศวรไปอยู่ในครรภ์นางสวาหะ สุครีพ เกิดจากพระอาทิตย์แล้วโดนคำสาปฤๅษีที่เป็นพ่อของนางสวาหะ องคต เป็นลูกของพาลีที่เป็นพี่ของสุครีพ ชมพูพาน เกิดจากการชุบเลี้ยงของพระอินทร์ นิลพัท เป็นลูกของพระกาฬ " (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%8C)

 

 

   " คืนหนึ่งทศกัณฐ์ฝันร้าย พิเภกทำนายว่า ทศกัณฐ์ถึงคราวเคราะห์ให้ส่งนางสีดาคืนไปเสีย ทศกัณฐ์โกรธมาก ขับไล่พิเภกออกนอกเมือง พิเภกจึงเข้าไปสวามิภักดิ์กับพระราม ช่วยให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการทำสงครามแก่พระรามอยู่เสมอ (วิกิพีเดีย)   

 

ฝากรูป

 

                พระรามทำสงครามกับทศกัณฐ์อยู่นานหลายปี จนญาติพี่น้องของทศกัณฐ์ตามในสงครามกันหมด ทศกัณฐ์ต้องออกรบเอง พระรามแผลงศรถูกหลายครั้ง แต่ทศกัณฐ์ก็ไม่ตาย เพราะถอดดวงใจฝากฤๅษีโคบุตรไว้ หนุมานกับองคตจึงทูลรับอาสาพระรามไปหลอกเอากล่องดวงใจมาจนได้ ทศกัณฐ์ออกรบอีก พอพระรามแผลงศรไปปักอกทศกัณฐ์ หนุมานก็ขยี้กล่องดวงใจจนแหลกลาญ ทศกัณฐ์จึงสิ้นชีวิต จากนั้นพิเภกก็พานางสีดามาคืนให้พระราม และเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ นางสีดาจึงขอทำพิธีลุยไฟ ซึ่งนางสามารถเดินลุยไฟได้อย่างปลอดภัย พระรามตั้งให้พิเภกครองกรุงลงกา(วิกิพีเดีย)  แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งของพระรามกับทศกัณฐ์

    

เรื่องพระเทวทัต 

"พระเทวทัตยังเป็นผู้มักใหญ่ใฝ่สูง อยากจะเป็นพระศาสดาแทนพระพุทธองค์ โดยพระเทวทัตกระทำการถึงขั้นที่เสนอให้พระพุทธเจ้าลาออกจากตำแหน่งพระศาสดาแล้วให้พระเทวทัตเป็นพระศาสดาแทน และพยายามทำตัวให้ดูเป็นผู้นำที่เคร่งครัดอย่างยิ่งยวดเพื่อแบ่งแยกคณะสงฆ์ เช่น เสนอพระวินัยอย่างเคร่งครัด เช่น กินเจตลอดชีวิต อยู่ป่าตลอดชีวิต แก่พระพุทธเจ้าเพื่อทรงบัญญัติ ซึ่งเมื่อผู้คนเริ่มทราบความตั้งใจชั่วของท่าน ทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูออกห่าง ไม่อุปถัมภ์บำรุง และโดนดูหมิ่นจากชาวบ้านและพระสงฆ์ ทำให้ในภายหลัง ท่านได้สำนึกผิด และเดินทางไปขอขมาพระพุทธเจ้า แต่ทว่าด้วยกรรมที่ท่านสร้างไว้นั้นหนักมาก จึงทำให้ท่านต้องถูกธรณีสูบลงสู่อเวจีนรก ณ ริมสระโบกขรณีหน้าวัดพระเชตวันมหาวิหาร"(http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%95)  แสดงให้เห็นว่าพระเทวทัตขัดแย้งกับพระพุทธองค์

    

เรื่องพระเจ้าอชาตศัตรู 

"อชาตศัตรู (แปลว่า ผู้ที่ไม่เป็นศัตรู)ในวัยเยาว์ พระเจ้าพิมพิสารทรงเลี้ยงดูพระโอรสเป็นอย่างดี และทรงสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมาร เมื่อเข้าวัยรุ่นทรงมีสติปัญญาเฉียบแหลม แต่ก็ได้รู้จักกับพระเทวทัตที่กำลังจะแสวงหาผู้ที่จะมาช่วยตนปลงพระชนม์พระบรมศาสดา ซึ่งต้องการได้รับความสนับสนุนจากผู้มีอำนาจทางบ้านเมือง และด้วยที่พระเจ้าอชาตศัตรูขาดประสบการณ์ สามารถชักจูงได้ง่าย ทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูเกิดความศรัทธาในพระเทวทัต ถูกเสี้ยมสอนว่า ชีวิตคนเรานั้นไม่เที่ยงไม่แน่ว่าจะได้ครองราชย์สมบัติ จึงควรปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารเสีย แล้วขึ้นครองราชย์แทน ส่วนพระเจ้าเทวทัตจะปลงพระชนม์พระศาสดาและทำหน้าที่ปกครองสงฆ์ พระเจ้าอชาตศัตรูก็หลงเชื่อ จับพระเจ้าพิมพิสารมาขังในคุกและทรมานโดยวิธีการต่างๆ จนพระบิดาสิ้นพระชนม์

(http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B9)

แสดงให้เห็นว่าพระเจ้าอชาตศัตรูขัดแย้งกับพระเจ้าพิมพิสาร

    

เรื่องพระองคุลิมาล 

"องคุลิมาลชื่อว่า อหิงสกะ เป็นบุตรของปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล เมืองสาวัตถี มารดาของชื่อ มันตานี อหิงสกะได้ไปเรียนวิชาที่เมืองตักกสิลา และสามารถเรียนได้รวดเร็วอีกทั้งยังปรนนิบัติอาจารย์อย่างดี จนเป็นที่รักใคร่ของอาจารย์อย่างมาก เป็นเหตุให้ศิษย์อื่นริษยา จึงยุยงอาจารย์ว่าองคุลิมาลคิดจะทำร้าย อาจารย์จึงคิดจะกำจัดองคุลิมาลเสีย โดยบอกกองคุลิมาลว่า ถ้าจะสำเร็จวิชาต้องฆ่าคนให้ได้หนึ่งพันคนเสียก่อน องคุลิมาลจึงออกเดินทางฆ่าคน แล้วตัดนิ้วหัวแม่มือมาคล้องที่คอเพื่อให้จำได้ว่าฆ่าไปกี่คนแล้ว เหตุนี้เอง อหิงสกะจึงได้รับสมญานามว่า องคุลิมาล จนครบ 999 คน ก็มาพบพระพุทธเจ้า และได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ออกบวชเป็นพุทธสาวก "(http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A5)

แสดงให้เห็นว่าองคุลิมาลขัดแย้งกับญาติของผู้คนที่ถูกโจรองคุลิมาลฆ่า

 

ฝากรูป
 

    

เรื่องสามัคีเภท

"พระเจ้าอชาตศัตรูปรึกษากับวัสสการพราหมณ์เพื่อหาอุบายทำลายความสามัคคีของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวี โดยการเนรเทศวัสสการพราหมณ์ออกจากแคว้นมคธ เดินทางไปยังเมืองเวสาลี แล้วทำอุบายจนได้เข้าเฝ้ากษัตริย์ลิจฉวี และในที่สุดได้เป็นครูสอนศิลปวิทยาแก่ราชกุมารทั้งหลาย ครั้นได้โอกาส ก็ทำอุบายให้ศิษย์แตกร้าวกัน จนเกิดการวิวาท และเป็นเหตุให้ความสามัคคีในหมู่กษัตริย์ลิจฉวีถูกทำลายลง เมื่อนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูจึงได้กรีธาทัพสู่เมืองเวสาลี สามารถปราบแคว้นวัชชีลงได้อย่างง่ายดาย" (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C)  แสดงความขัดแย้งระหว่างพระเจ้าอชาตศัตรูกับเหล่ากษัตรีย์ลิจฉวี
    

ทุกเรื่องแสดงให้เห็นว่าคู่กรณีของความขัดแย้งสิ้นสุดด้วยความตาย  มีเรื่องพระองคุลิมาลเรื่องเดียวที่มีคนกลางเข้ามามีบทบาทจนความขัดแย้งจากการฆ่าคนหยุดทันที  กลายเป็นความขัดแย้งของญาติผู้ตายกับพระองคุลิมาล  ทุกเรื่องเป็นเพียงแสดงถึงความพยายามให้รู้ถึงทุกข์ของความขัดแย้ง  พอรู้ว่าต้นเหตุของความขัดแย้งคือความต้องการล่วงเข้าไปในสิทธิของผู้อื่นด้วยความรุนแรง  พอรู้ว่าไม่มีเรื่องใดที่มีกลไกของคนกลางมาลดความขัดแย้ง  ยกเว้นเรื่องพระองคุลีมาล 

    

ส่วนแนวทางในการปฏิบัติเพื่อลดความขัดแย้งของคู่กรณี  ไม่มีเรื่องใดที่เป็นแนวให้ปฏิบัติไปสู่ความปรองดองได้  ความขัดแย้งจะต้องลดได้ด้วยความปรองดอง  ถ้าไม่มีการปรองดอง  พฤติกรรมของผู้ขัดแย้งจะต้องทนทุกข์ทรมานด้วยกลุ่มคำขัดแย้งข้างต้นตามที่สังคมต่างทราบกันดีว่า  หากไม่ปรองดอง  จะนำไปสู่ความทุกข์ในการปะทะกัน, การต่อสู้กัน, (สำนวน)การไม่ถูกโรคกัน, เกิดกรณีพิพาท, ความระหองระแหง   และเกิดศึกสงคราม  ล้วนนำสังคมไปสู่ความตายและความทุกข์อย่างมหันต์  แต่ข้อมูลจากการศึกษาเรื่องราวในอินเดียยังไม่มากพอ  จึงยังไม่พบข้อมูลแนวการปฏิบัติให้คู่กรณีไปสู่ความปรองดอง  จำเป็นต้องศึกษาจากเรื่องราวอื่น

    

การปรองดองเพื่อให้ความขัดแย้งลดลง  มีคำที่ใช้หลายรูปแบบคำ เช่น การประนีประนอม (compromise, reconciliation, conciliation, mediation); การคืนดี (reconciliation); การไกล่เกลี่ย  (mediation, reconciliation, conciliation), การกลืน  (swallowing, gulping down, gobbling up, reconciliation, harmonization, devouring)

   

อารมณ์ร้ายของกลุ่มชนในสังคมมีระดับที่ไม่เท่าเทียมกัน  แต่ละสังคมต่างก็มีอารมณ์ร้ายของส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน (Individual difference) และการไม่มีคนกลางผู้มากด้วยบารมีของทั้งสองฝ่ายดังเช่นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเรื่องพระองคุลิมาล การยุติความขัดแย้งหรือการปรองดองจึงจำเป็นต้องผุดขึ้นในหมู่ของแต่ละฝ่าย  แม้มีเพียงฝ่ายเดียวที่มองเห็น  ก็มีโอกาสที่จะปรองดองได้

    

พฤติกรรมการปรองดอง (การประนีประนอม, การคืนดี, การไกล่เกลี่ย, การกลืน) จะเกิดขึ้นและ/หรือไม่เกิดขึ้น  ขึ้นอยู่กับสิ่งเร้า (Stimulation) ที่จะต้องสร้างขึ้นให้มีบรรยากาศของการปรองดอง  หรือสร้างขึ้นเพื่อลดบรรยากาศของความขัดแย้ง  เช่นในเรื่องมหาภารยุทธ  รุ่นพ่อกับรุ่นลูกของทั้งสองฝ่ายประหัตประหารตายทั่วทุ่งกุรุเกษตร  ลูกและหลานที่เหลือรอดชีวิตต่อมาก็สรรค์สร้างพิธีกรรมเบี่ยงเบนไปสู่การปรองดองคือการทำพิธีอัญเชิญพระแม่คงคามารับอัฐิของบรรพชนขึ้นสูสวรรค์ นี่คือการสร้างเงื่อนไข(Conditioning)ที่จะไม่ต้องให้รุ่นหลานต้องประหัตประหารต่อเนื่องกันไปอีก  แต่ผู้วายชนม์ก็ตายไปตามสภาพธรรม  ลูกหลานและญาติมิตรในกลุ่มนั้นก็กระทำพิธีลอยอังคารสืบมา  เมื่อเกิดสิ่งเร้าจากฝ่ายตรงข้ามอันก่อให้มีอารมณ์ร้ายไปสู่ความขัดแย้ง  ก็ขอให้อดทนดุจดั่งพระองคุลิมาลแม้จะมีก้อนศิลาปะทะร่างปะทะบาตรก็จักข่มใจ  วาจาหรือข้อความใดที่เป็นสิ่งเร้าให้อารมณ์ไปสู่ความขัดแย้งจะต้องลดลงทั้งสองฝ่าย  การไม่สร้างความขัดแย้งให้ทายาทรับรู้แม้จะใช้เวลาเนิ่นนาน แต่เป็นการปรองดองที่มีผลสัมฤทธิ์สูงซึ่งมีตัวอย่างจากเรื่องมหาภารตยุทธ เรื่องรามเกียรติ์และเรื่องพระองคุลิมาล

   

นอกจากจะลดสิ่งเร้าในทางลบ  การสร้างสรรค์สิ่งเร้าในทางบวกเช่นการแสดงตัวอย่างผลดีของความสามัคคี  ความมั่นคงของชีวิต ที่จะนำไปสู่ความสุขของครอบครัว  ความสุขของสังคม  ความสุขของประเทศและความสุขของมนุษยชาติ  ที่หน่วยของแต่ละชีวิตสามารถสร้างได้ด้วยตัวของตัวเอง

  

เพียงอยู่เฉย ๆ  ความทุกข์ทางธรรมชาติก็มาเยือนอย่างไม่กลัวเกรงอยู่แล้ว  แล้วเราจะสร้างทุกข์จากความขัดแย้งเพิ่มขึ้นในชีวิตให้เราต้องมีทุกข์ทบเท่าทวีคูณอีกหรือ?

 

 

 

 

จังหวัดภูเก็ตจัดการอบรมปลูกจิตสำนึกการปรองดอง ๔ - ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ณ ห้องจามจุรี ภูเก็ตเมอร์ลิน  ตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตประธานการจัดการอบรม  ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ วิทยากร : ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกับการปรองดอง

 

 

 

 

ฝากรูป 

 

 

ฝากรูป 

 

ฝากรูป  

 

***

 

วัฒน์ภาษา2  วรรณกรรม

 

 

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พุธ, 04 กรกฎาคม 2012 )