ข่าวเด่นวิทยาศาสตร์ ๑๐ ข่าว
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อาทิตย์, 03 มกราคม 2010
10 ข่าวเด่นวิทยาศาสตร์ปี 52 ดูภาพชุดจาก Manager Multimedia
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์31 ธันวาคม 2552 10:56 น.
ความสำเร็จจากการทดลองเดินเครื่องของ “เซิร์น” หลังซ่อมแซมแม่เหล็กที่เสียหายจากการเดินเครื่องครั้งแรกเมื่อเดือน ก.ย. 51
       10. “เซิร์น” กลับมาเดินเครื่องหลังแม่เหล็กเสียหายข้ามปี
       
       ปี 2009 เป็นปีที่ “เซิร์น” กู้หน้าให้ตัวเอง หลังจากที่การทดลองเดินเครื่องเร่งอนุภาคซึ่งสร้างความฮือฮาไปทั่วโลกนั้น ทำให้เกิดความเสียหายต่อแม่เล็กจำนววนหนึ่ง จนต้องหยุดเดินเครื่องไปเป็นเวลากว่าปี การกลับมาครั้งนี้ของเซิร์นยังได้สร้างสถิติโลกเดินเครื่องเร่งอนุภาคโปรตอนด้วยพลังงานสูงแซงหน้าเครื่องเร่งอนุภาคของสหรัฐฯ

       กว่าที่ “เซิร์น” (CERN) จะกลับมาเดินเครื่องได้อีกครั้ง ต้องใช้เวลาร่วมปีในการซ่อมแซมแม่เหล็กที่เสียหายจากการเดินเครื่องครั้งแรกเมื่อเดือน ก.ย. 51 และได้ป้องกันอุบัติเหตุซ้ำรอยด้วยการติดตั้งระบบป้องกันการเกิด "เควนช์" (quench) ที่เคยเกิดขึ้นในการทดลองครั้งแรก จนกระทั่งปลายเดือน ต.ค.52ที่ผ่านมา เซิร์นจึงได้เดินเครื่องใหม่อีกครั้ง โดยได้ยิงอนุภาคเข้าเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี (LHC) ได้สำเร็จ และเครื่องตรวจวัดอนุภาคอลิซ (ALICE) และแอลเอชซีบี (LHCb) สามารถตรวจวัดการทดลองดังกล่าวได้
       
       นอกจากเดินเครื่องยิงลำอนุภาคเข้าท่อเร่งอนุภาคแล้ว เซิร์นยังได้ทดลองเดินเครื่องให้ลำอนุภาคชนกันที่ระดับพลังงานต่ำเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 พ.ย.ที่ผ่านมา และเป็นครั้งแรกด้วยที่เครื่องตรวจวัดทั้ง 4 ของเซิร์นได้ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลการชนกันของลำอนุภาคโปรตอน และในวันที่ 30 พ.ย.เซิร์นก็ได้เดินเครื่องเร่งอนุภาค 2 ลำที่ระดับพลังงาน 1.18 เทราอิเล็กตรอนโวลต์ (TeV) ซึ่งเป็นสิถิติเดินเครื่องเร่งอนุภาคด้วยพลังงานสูงที่สุดในโลก แซงหน้า “เทวาตรอน” (Tevatron) เครื่องอนุภาคของห้องปฏิบัติการเครื่องเร่งอนุภาคเฟอร์มิสหรัฐฯ (US Fermi National Accelerator Laboratory) ที่ทำสถิติสูงสุดไว้ที่ 0.98 เทราอิเล็กตรอนโวลต์
       
       สำหรับปี 2010 ในช่วงต้นปีเซิร์นมีกำหนดเดินเครื่องเร่งลำอนุภาค เพื่อชนกันที่ระดับพลังงาน 7 เทราอิเล็กตรอนโวลต์ ซึ่งลำอนุภาคแต่ละลำมีระดับพลังงาน 3.5 เทราอิเล็กตรอนโวลต์ และทั่วโลกต้องจับตาการทดลองฟิสิกส์ครั้งสำคัญนี้อีกครั้ง
       
       = อ่านเพิ่มเติม =
       
       พ.ย.นี้ เซิร์นพร้อมเดินอีกครั้งครึ่งกำลัง หวั่นเสี่ยงพังแบบครั้งแรก
       เดิมพันสูง! ถ้าเซิร์นเดินเครื่องไม่ได้ "ฟิสิกส์อนุภาค" ถอยหลังไปสิบปี
       "เซิร์น" ติดตั้งระบบแจ้งเตือนป้องกันเหตุแม่เหล็กละลายซ้ำ
       เซิร์นยิงอนุภาคเข้าท่อ "แอลเอชซี" สำเร็จหลังร้างลาเป็นปี
       เซิร์นอุ่นเครื่อง LHC รอบ 2 ฉลุย พร้อมชนโปรตอนสัปดาห์หน้า
       เฟสแรกผ่าน "เซิร์น" จับโปรตอนชนกันสำเร็จ
       “เซิร์น” ทำสถิติใหม่ เดินเครื่องพลังงานสูงแซงหน้า “เทวาตรอน”

นักวิทยาศาสตร์ที่เข้าร่วมประชุม UNFCCC ที่กรุงโคเปนเฮเกน เดนมาร์ก แสดงให้เห็นว่าถ้ายังไม่ลดก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง อุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวโลกในปี 2100 จะเพิ่มขึ้น 2 (สีเหลือง) - 4 องศาเซลเซียส (สีส้ม) ในสิ้นศตวรรษนี้แน่นอน (AFP)
       9. เวทีโลกร้อนล้มเหลว ประชาคมโลกผิดหวัง
       
       ปี 2552 เป็นปีสำคัญที่ทั่วโลกรอคอย เพราะคาดหวังว่าจะได้เห็นข้อตกลงแนวทางลดก๊าซเรือนกระจกฉบับใหม่ที่จะมีผลบังคับใช้ภายหลังสิ้นสุดข้อตกลงในพิธีสารเกียวโต แต่กลับผ่านไปโดยยังไร้ข้อตกลงใดๆ ที่ฉายให้เห็นว่าจะแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนได้
       
       การประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ที่ตัวแทนรัฐบาล 192 ชาติเข้าร่วมประชุมกันที่กรุงโคเปนเฮเกน เดนมาร์ก เพิ่งผ่านพ้นไปสดๆ ร้อนๆ และสร้างความผิดหวังให้ประชาชนทั่วโลกอย่างมาก
       
       ตลอดช่วงเวลาร่วม 2 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่การประชุมที่บาหลี อินโดนีเซียเมื่อปี 2550 UNFCCC ได้จัดการประชุมเป็นระยะในหลายประเทศ รวมทั้งที่ประเทศไทยเมื่อเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา เพื่อร่วมกันร่างแนวทางลดก๊าซเรือนกระจกภายหลังพิธีสารเกียวโตสิ้นสุด โดยหวังให้ทุกประเทศมีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน และกำหนดให้เวทีเจรจาที่โคเปนเฮเกนเป็นเวทีสุดท้ายที่จะได้ข้อตกลงฉบับใหม่สำหรับมีผลบังคับใช้หลังปี 2555
       
       ทว่าผลของการเจรจาไม่เป็นไปตามความคาดหวังของทุกฝ่าย เพราะประเทศร่ำรวยกับประเทศกำลังพัฒนาไม่สามารถตกลงเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกได้ แม้ประเทศร่ำรวยจะให้คำมั่นว่าจะช่วยเหลือด้านการเงินแก่ประเทศกำลังพัฒนา
       
       ผลที่ได้มีเพียงแค่ข้อตกลงที่จะร่วมกันควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส ภายในสิ้นศตวรรษนี้ และขอไปตกลงเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกกันใหม่ในการประชุมครั้งหน้าที่คาดว่าจะจัดขึ้นช่วงต้นปี 53 ที่ประเทศเม็กซิโก
       
       = อ่านเพิ่มเติม=
       
       - ปิดฉากโคเปนเฮเกนคว้าน้ำเหลว ยังไร้ปฎิญญาลดโลกร้อน
       - "โคเปนเฮเกน" ปิดฉาก รุมจวกสหรัฐฯ ไม่จริงจังแก้ปัญหาโลกร้อน
       - ชะตากรรม "โลก" ผลกรรม “เรา” ในวันที่ร้อนจนเกินเยียวยา
       - ดูกัน “ใครเป็นใคร” บนเวทีเจรจาโลกร้อนที่โคเปนเฮเกน
       - เผยร่างแรกแก้โลกร้อน อีก 40 ปีต้องลดก๊าซเรือนกระจกอย่างต่ำ 50%
       - "ก๊าซเรือนกระจก" อันตรายต่อสุขภาพ
       - ยูเอ็นเชื่อประชุมโลกร้อน “โคเปนเฮเกน” ปิดฉากสวย
       - เปิดโต๊ะ “โคเปนเฮเกน” ตัดสินชะตาโลกหลังปี 2012
       - สำรวจภูมิอากาศโลก ก่อนเปิดเวทีเจรจาโลกร้อนที่โคเปนเฮเกน
       - ยุโรปกดดันสหรัฐฯ ให้เข้าร่วมแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน
       - คลี่แผนที่ดูกันชัดๆ ที่ไหนเสียหายบ้าง เมื่ออุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 4 องศา
       - โนเบลสันติภาพก็ช่วยไม่ได้ เจรจาโลกร้อนที่กรุงเทพฯ ล้มเหลวเหมือนทุกครั้ง
       - น้ำท่วมใหญ่ในฟิลิปปินส์ สัญญาณเตือนต้องแก้โลกร้อนอย่างจริงจัง
       - อุณหภูมิโลกเพิ่ม 1 องศาฝนกระหน่ำแรงขึ้น 6%
       - เปิดเจรจาโลกร้อนที่กรุงเทพฯ ประธานที่ประชุมหวั่นยังไร้ข้อสรุปเหมือนเวทีก่อนๆ
       - จับตาประเด็นเจรจาโลกร้อนที่กรุงเทพฯ ก่อนหาข้อสรุปใหญ่ปลายปี
       - ปี 2050 นี้ปล่อยคาร์บอนให้น้อยที่สุด กรีนพีซเรียกร้องทุกชาติร่วมมืออย่างเป็นธรรม
       - ชาวนาเตรียมตัวไว้ในไม่ช้าอาจมีพันธะร่วม "ลดก๊าซเรือนกระจก"
       - โลกร้อนทำป่าเสื่อมโทรม "ต้นไม้" อาจปล่อยคาร์บอนแทนดูดซับ
       - ถุงยางอนามัย "วันทัช" เกาะกระแสโลกร้อน ติดฉลากลดใช้คาร์บอน
       - ทุกทวีปหรี่ไฟ ให้โลกได้พักสักชั่วโมงใน Earth Hour 2009
       - ไทยเริ่มติดฉลากคาร์บอน ประเดิม "สตรอเบอรี่อบแห้งดอยคำ"

ทุ่งนาข้าวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ภาพจาก Kosol Anusim Photomania/farmlandgrab.org)
       8. สิทธิบัตร "ข้าว" ความสำเร็จที่ตามติดมาด้วยปมขัดแย้ง
       
       ปีนี้คนไทยได้ภาคภูมิใจกับผลงานของนักวิจัยไทย ที่ค้นพบยีนควบคุมความหอมในข้าวที่ได้รับสิทธิบัตรจากสหรัฐฯ แต่หลังจากทราบข่าวดีได้ไม่นาน ก็ต้องได้ยินข่าวที่น่าหวั่นวิตกตามมา ไม่ว่าจะเรื่องการแก้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของไทย และข้าว "แจ๊สแมน" ของสหรัฐฯ ที่เตรียมปล่อยออกมาตีตลาดข้าวไทย
       
       ทีมนักวิจัยของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ร่วมกับ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ค้นพบยีนควบคุมความหอมในข้าวและสามารถทำให้ข้าวที่ไม่หอมกลับมีความหอมเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งนำไปสู่การยื่นจดสิทธิบัตรเพื่อคุ้มครองยีนและกรรมวิธีดังกล่าวทั้งในและต่างประเทศ โดยได้สิทธิบัตรแรกจากสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 51 ขณะที่ยังไม่ได้สิทธิบัตรในประเทศ
       
       ส่งผลให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจะผลักดันให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาของไทยรับจดสิทธิบัตรดังกล่าวโดยเร็วที่สุด เพื่อคุ้มครองพันธุ์ข้าวไทย ซึ่งอาจนำไปสู่การแก้กฎหมายเพื่อให้เอื้อต่อการจดสิทธิบัตรผลงานวิจัยดังกล่าว
       
       ทว่าก่อให้เกิดประเด็นที่ต้องถกเถียงกันอย่างกว้างขวางและยืดเยื้อ เมื่อนักวิชาการและกลุ่มตัวแทนภาคประชาชนออกมาคัดค้าน เพราะหวั่นเกรงว่าการแก้กฎหมายดังกล่าว อาจเป็นการเปิดช่องให้ต่างชาติที่มีเทคโนโลยีเหนือกว่าไทยเข้ามาครอบครองทรัพยากรพันธุกรรมของไทยได้ พร้อมทั้งได้เสนอทางเลือกอื่นที่สามารถคุ้มของข้าวไทยได้เช่นกันและมีความเสี่ยงน้อยกว่า เช่น กฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)
       
       ประเด็นขัดแย้งเรื่องสิทธิบัตรยังไม่ทันสร่างซา ก็มีปัญหาใหม่มาให้คนไทยกลุ้มใจอีก เมื่อสหรัฐฯ พัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่ "แจ๊สแมนไรซ์" (Jazzman rice) เพื่อหวังช่วงชิงตลาดข้าวหอมมะลิของไทยที่ต่างชาติรู้จักกันดีในนาม "จัสมินไรซ์" (Jasmine rice) ทำให้นักวิจัยไทยต้องเร่ง ปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทยให้ครองความเป็นหนึ่งในในตลาดโลกต่อไปได้
       
       ผลสรุปจะเป็นอย่างไร ต้องติดตามกันต่อไป แต่ที่แน่นอนคือตอนนี้ไทยยังไม่ได้ให้สิทธิบัตรแก่ทีมนักวิจัย และคุณภาพข้าว "แจ๊สแมนไรซ์" ยังห่างไกล "ข้าวหอมมะลิ" ของไทยมาก
       
       = อ่านเพิ่มเติม=
       
       - ชี้อาฟตาไม่น่ากระทบข้าวไทย รัฐเข้าแทรกแซงยังน่าห่วงกว่า
       - สหรัฐฯ พัฒนา"แจซแมน ไรซ์"แข่ง"หอมมะลิไทย"
       - "ดร.สุเมธ" วอนอย่าทิ้งนา รัฐบาลมั่นใจแก้วิกฤตข้าวไทยได้แน่
       - “GI-พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช” อีกทางเลือกปกป้องข้าวไทย
       - นักวิจัยไทยเร่งพัฒนา "ซูเปอร์จัสมิน" หวั่น "แจ๊สแมน" ข้าวหอมมะกันเขย่าบัลลังก์ใน 3 ปี
       - ชี้สิทธิบัตรคุมความหอมในข้าว ส่งข้าวไทยตีตลาดโลก
       - ก.วิทย์แจงไม่แก้กฎหมายให้เอื้อจดสิทธิบัตรยีนข้าวแน่นอน
       - ค้านจดสิทธิบัตรยีนข้าวหอมมะลิ เปิดช่องบรรษัทยักษ์ข้ามชาติยึดครองฐานทรัพยากรไทย
       - ค้านไทยแก้กฎหมายรับจดสิทธิบัตรยีนข้าวหอม หวั่นเปิดทางต่างชาติกอบโกย
       - ไบโอไทยแนะรัฐฯเร่งแก้กม.ป้องกันต่างชาติฮุบสิทธิบัตรข้าว
       - เปิดสิทธิบัตร "วิธีควบคุมยีนข้าวหอม" เผย "ออสเตรเลีย" คู่แข่งที่น่ากลัว
       - "อลงกรณ์"ชี้สิทธิบัตรยีนกลิ่นข้าวหอมฯ ป้องกันของเลียนแบบได้

(ซ้าย) หน้าปกวารสารไซน์ฉบับพิเศษของเดือน ต.ค. 52 ที่ตีพิมพ์ภาพโครงกระดูก "อาร์ดี" (ขวา) ชิ้นส่วนโครงกระดูกส่วนเท้าของ "อาร์ดี" ฟอสซิลในตระกูลคนที่เก่าแก่ที่สุด อายุ 4.4 ล้านปี (เอเอฟพี)
       7.ปีแห่งการค้นพบ "อาร์ดี" แก่กว่าป้าลูซี พร้อม "ซูเปอร์เอิร์ธ" และ ธาตุใหม่
       
       ปี 2009 นี้อาจเรียกได้ว่าเป็น "ปีแห่งการค้นพบ" ของวงการวิทยาศาสตร์ เพราะมีการค้นพบที่สำคัญๆ หลายครั้ง ทั้งพบสัญญาณ “ซูเปอร์เอิร์ธ” ถึง 2 ดวง การยืนยันธาตุที่พบใหม่ 2 ธาตุ ตลอดจนหลักฐานใหม่ที่แสดงถึงรากเหง้าของมนุษย์
       
       ส่งท้ายปลายปีด้วยสัญญาณ “ซูเปอร์เอิร์ธ” ดาวเคราะห์หินที่ใหญ่กว่าโลกถึง 2 ดวง จากการค้นหาของ 2 ทีมวิจัย เริ่มจากสถาบันคาร์เนกี สหรัฐฯ ที่พบสัญญาณ ดาว 61 เวอร์บี มีมวล 5.1 เท่าของโลก โคจรรอบดาวฤกษ์ “61 เวอร์จินิส” ในกลุ่มดาวหญิงสาว และทีมจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในซานตาครูซ สหรัฐฯ พบดาวเคราะห์มวล 7.5 เท่าของโลก โคจรรอบระบบดาวฤกษ์เอชดี 1461
       
       ปีนี้ยังมีการยืนยันธาตุใหม่ถึง 2 ธาตุ นั่นคือธาตุที่ 112 และธาตุที่ 114 โดยธาตุที่ 112 ซึ่งสังเคราะห์ขึ้นโดยศูนย์วิจัยไออนหนักจีเอสไอ ในเมืองดาร์มสตัดท์ เยอรมนี ตั้งแต่ปี 1996 เพิ่งได้รับการยืนยันจากสหพันธ์เคมีบริสุทธิ์และประยุกต์สากลว่าเป็นธาตุใหม่จริง ส่วนธาตุที่ 114 นั้น กลุ่มวิจัยจากห้องปฏิบัติการเบิร์กเลย์ สหรัฐฯ และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในเบิร์กเลย์ ได้สังเคราะห์สำเร็จ ยืนยันการค้นพบของสถาบันวิจัยนิวเคลียร์ดูบนาในรัสเซีย ที่สังเคราะห์ธาตุเลขอะตอมเดียวกันนี้ได้ครั้งแรกเมื่อ 10 ปีก่อน
       
       หากแต่การค้นพบครั้งสำคัญของปีนี้ คงหนีไม่พ้นฟอสซิลโครงกระดูกของ “อาร์ดี” สิ่งมีชีวิตเพศเมียตระกูลคนสปีชีส์ใหม่ อายุถึง 4.4 ล้านปี เก่าแก่กว่า “ป้าลูซี” ฟอสซิลสิ่งมีชีวิตเพศเมียตระกูลคนอีกสปีชีส์ที่มีอายุ 3.2 ล้านปี โดยฟอสซิลทั้งสองต่างพบในเอธิโอเปีย และฟอสซิลของอาร์ดียังได้พลิกทฤษฎีว่า มนุษย์มีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษคล้ายซิมแปนซี เนื่องจากฟอสซิลเก่าแก่กว่าป้าลูซีได้บ่งชี้ว่า มนุษย์และชิมแปนซีแยกสายวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษร่วมกัน
       
       นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบใหม่ในเส้นทางอพยพของชาวเอเชีย หลังจากมีโครงการ "ตามรอยชาติพันธุ์ของประชากรภูมิภาคเอเชีย" (Mapping Human Genetic Diversity in Asia) ซึ่งเก็บข้อพันธุกรรมของชนกลุ่มน้อยภูมิภาค ทำให้ได้ข้อมูลที่ขัดแย้งความเชื่อเดิมว่า "การอพยพครั้งใหญ่จากทวีปแอฟริกาเข้าสู่ทางใต้ของทวีปเอเชีย ไม่ใช่การอพยพหลายระลอกทั้งเหนือ-ใต้อย่างที่เคยเข้าใจ" อีกทั้งยังพบกลุ่มที่มีภาษาเดียวกันมีพันธุกรรมใกล้เคียงกัน
       
       ในช่วงปลายปีก็มีการเปิดเผยการค้นพบพืช 2 ชนิดใหม่ของโลก คือ "บุหรงช้าง-บุหรงดอกทู่" ซึ่งสามารถค้นพบได้เฉพาะในไทย โดยทีมวิจัยของ ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ซึ่งได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยใน "ซิสเทมาติก บอทานี" (Systematic Botany) วารสารการจำแนกพรรณไม้นานาชาติของสหรัฐอเมริกา พืชใหม่ทั้ง 2 ชนิดนี้จัดเป็นพรรณไม้หายากและเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย ที่มีเหลืออยู่ในธรรมชาติจำนวนน้อยมาก อีกทั้งจากการศึกษาสารออกฤทธิ์ทางยาเบื้องต้นพบสารคล้ายกับสารกลุ่มที่มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้
       
       = อ่านเพิ่มเติม=
       
       - ฮือฮา! ฟอสซิล 4 ล้านปี เก่ากว่า “ป้าลูซี” แย้งความเชื่อวิวัฒนาการคนกับลิง
       - ยืนยันธาตุใหม่ในตารางธาตุลำดับที่ 112
       - สังเคราะห์ได้ครั้งแรกเมื่อ 10 ปี แต่เพิ่งได้รับการยืนยัน "ธาตุ 114"
       - พบอีก 2 ดวง สัญญาณ “ซูเปอร์เอิร์ธ” ดาวเคราะห์คล้ายโลก
       - ไทยร่วมถอดจีโนมหารากเหง้าชาติพันธุ์เอเชีย พบแนวคิดอพยพครั้งใหญ่ค้านของเดิม
       - พบ 2 พืชชนิดใหม่ของโลกในไทย สารมีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง

(ซ้าย)บัซ อัลดริน เดินเล่นบนดวงจันทร์ใกล้ๆกับหน่วยอีเกิล ของยานอพอลโล 11 ซึ่งบันทึกภาพไว้โดยนีล อาร์มสตรอง ขณะทั้งสองกำลังสำรวจบริเวณ Sea of Tranquility บนดวงจันทร์ ส่วนนักบินไมเคิล คอลลิน นั้นประจำการอยู่ในหน่วยบัญชาการ (นาซา) - (ขวา) ภาพจำลองยาน LCROSS ที่ส่งไประเบิดผิวดวงจันทร์
        6. ส่งยานระเบิดพบร่องรอยน้ำ ฉลอง 40 ปีเหยียบดวงจันทร์
       
       ช่วงปี 52 นี้ "ดวงจันทร์" ยังคงเนื้อหอม โดยเฉพาะการฉลอง 40 ปีของก้าวแรกบนดวงจันทร์ พร้อมทั้งการส่งยานระเบิดผิวดวงจันทร์เพื่อศึกษาร่องรอยของน้ำ จนในที่สุดก็มีเค้ารางของ "น้ำ" สมใจ
       
       เมื่อวันที่ 20 ก.ค.2512 มนุษย์โลกได้ประทับก้าวแรกลงบนดวงจันทร์ ที่นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong), บัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) และไมเคิล คอลลินส์ (Michael Collins) 3 นักบินอวกาศขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) เดินทางไปถึงดวงจันทร์ด้วย ยานอพอลโล 11 (Apollo 11) และลงเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์เป็นครั้งแรก พร้อมกับปักธงชาติสหรัฐฯ ประกาศความสำเร็จอย่างงดงามของมวลมนุษยชาติที่พิชิตอวกาศไปได้อีกขั้นหนึ่ง และในปี 2552 นี้ก็เป็นวาระครบรอบ 40 ปี จึงได้มีการเฉลิมฉลองและรำลึกถึงความก้าวหน้าของมนุษยชาติในวันนั้น
       
       หลังการฉลองนาซาได้ส่งยาน “แอลครอส” (Lunar CRater Observation and Sensing Satellite: LCROSS) ยิงยานเซนทอร์ (Centaur) ลงสำรวจน้ำบนดวงจันทร์ ในวันที่ 9 ต.ค. จนเห็นข้อมูลว่า พบน้ำจริงๆ ในถ้ำ “คาเบียส” (Cabeus) ซึ่งเป็นพื้นที่ในเงามืดถาวรบริเวณใกล้ๆ กับขั้วใต้ของดวงจันทร์ ซึ่งเป็นการพบ “ไฮดรอกซีล” (hydroxyl) หนึ่งในผลผลิตที่เกิดจากการแตกตัวของน้ำเมื่อได้รับแสงอาทิตย์
       
       ทั้งนี้ พื้นที่ซึ่งเป็นจุดเงามืดถาวรนั้น นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า จะเป็นกุญแจในการไขประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของระบบสุริยะได้มากพอๆ กับที่แกนน้ำแข็งบนโลกเผยข้อมูลในยุคโบราณ มากกว่านั้น น้ำและองค์ประกอบเพิ่มเติมอื่นๆ ยังแสดงถึงแหล่งทรัพยากรที่มีศักยภาพอันยั่งยืนเพื่อการสำรวจดวงจันทร์ในอนาคต และการค้นพบของยานแอลครอสครั้งนี้ได้ฉายแสงครั้งใหม่ให้กับคำถามเกี่ยวกับน้ำ ซึ่งน่าจะกระจายอยู่ทั่วและมีปริมาณมากกว่าที่เคยคาดเดาก่อนหน้านี้
       
       = อ่านเพิ่มเติม =
       
       - ประมวลข่าว "รำลึก 40 ปีเหยียบดวงจันทร์ครั้งแรก"
       - พบน้ำจริงๆ หลังนาซาส่งยาน “แอลครอส” ยิงดวงจันทร์
       - LCROSS ชนดวงจันทร์ตรงเป้า แต่นาซายังบอกไม่ได้ว่าเห็นอะไร
       - หลักฐานชัดเจน พบน้ำบนผิวดวงจันทร์ครั้งแรก
       - ภาพประวัติศาสตร์ "อพอลโล" ภารกิจพานักบินสู่ดวงจันทร์

สองปราชญ์ (ซ้ายไปขวา) กาลิเลโอ กาลิเลอิ และ ชาร์ลส ดาร์วิน
        5. รำลึกปีแห่ง 2 ปราชญ์ “กาลิเลโอ-ดาร์วิน”
       
       ปี 2009 นี้มีความเกี่ยวเนื่องกับนักวิทยาศาสตร์คนสำคัญๆ ของโลกถึง 2 คน นั่นคือ กาลิเลโอ กาลิเลอิ นักดาราศาสตร์ผู้มีบทบาทต่อการปฏิวัติสู่วิทยาศาสตร์ยุคใหม่ และ ชาร์ล ดาร์วิน ผู้ให้กำเนิดทฤษฎีวิวัฒนาการ ซึ่งทั้งสองต่างทำให้เกิดการวิพากษ์ระหว่างความเชื่อทางศาสนาและความรู้ทางวิทยาศาสตร์
       
       สำหรับ กาลิเลโอ กาลิเลอิ (Galileo Galilei) แล้ว ปี 2009 เป็นวาระครบ 400 ปีที่เขาได้ส่องกล้องโทรทรรศน์ขึ้นไปบนท้องฟ้า แล้วนำมาซึ่งการค้นพบทางดาราศาสตร์ที่สำคัญๆ เป็นครั้งแรก ดังนั้นองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) และสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลหรือไอเอยู (International Astronomical Union: IAU) จึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็น "ปีดาราศาสตร์สากล" (International Year of Astronomy: IYA 2009)
       
       ตลอดทั้งปีมีการจัดกิจกรรมดาราศาตร์เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการฉลองทั้งในและต่างประเทศ ในส่วนของไทย ซึ่งประเดิมโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ที่เป็นสมาชิกของไอเอยูด้วยนั้น ที่ประกาศจัดกิจกรรมตั้งแต่ต้นปี ฟากท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งโดยนำระบบดิจิทัลมาใช้ร่วมกับเครื่องฉายดาวตัวเดิม เพื่อฉายภาพยนตร์แอนิเมชันแบบ “ฟูลโดม” ส่วนงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติในช่วงสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติจัดให้นิทรรศการกาลิเลโอเป็นหนึ่งในนิทรรศการกาลิเลโอด้วย
       
       ส่วน ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) คือผู้ที่ปฏิวัติวงการชีววิทยาด้วยการนำเสนอแนวคิด "ทฤษฎีวิวัฒนาการ" ผ่านหนังสือ "กำเนิดสปีชีส์" (The Origin of Species) หลังจากที่เขาร่วมเดินทางรอบโลกไปกับเรือหลวงบีเกิลในฐานะนักธรรมชาติวิทยา ซึ่งทฤษฎีของดาร์วินค่อยๆ ได้รับการพิสูจน์ ยืนยัน และอธิบายให้กระจ่างชัดขึ้นด้วยองค์ความรู้ในยุคต่อๆ มา ดังเช่น งานวิจัยของ ศ.ลินดา โคฮ์น (Prof. Linda M. Kohn) นักอนุกรมวิธานเห็ดราจากแคนาดา ที่ทดลองเพาะเลี้ยงยีสต์ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่แตกต่างกัน และสังเกตเห็นวิวัฒนาการของยีสต์ได้ใน 500 รุ่น
       
       ปีนี้เป็นวาระครบรอบ 200 ปี วันคล้ายวันเกิดของดาร์วิน และครบรอบ 150 ปี การตีพิมพ์ครั้งแรกของหนังสือ "กำเนิดสปีชีส์" มหาวิทยาลัยและพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในอังกฤษ ได้จัดกิจกรรมพิเศษเพื่อฉลองวาระดังกล่าวและรำลึกนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่อีกคนหนึ่งของโลก
       
       = อ่านเพิ่มเติม กาลิเลโอ กาลิเลอิ=
       
       - พบแล้วนิ้วและฟันที่หายไปของ “กาลิเลโอ”
       - “กาลิเลโอ” ปราญช์ผู้เปิดฟ้า ให้โลกเห็นจักรวาลอันกว้างใหญ่
       - 400 ปี "กาลิเลโอ" พิสูจน์ให้เห็นโลกไม่ได้เป็น "ศูนย์กลางจักรวาล"
       - เอนหลังชม "มหัศจรรย์แห่งจักรวาล" แอนิเมชันแบบฟูลโดม ของใหม่ในท้องฟ้าจำลอง
       - ท่องเอกภพ 400 ปี "กาลิเลโอ" ส่องกล้องสำรวจอวกาศในมหกรรมวิทย์
       - ขอขุดศพตรวจดีเอ็นเอ ดูสายตา "กาลิเลโอ" เห็นดาวเสาร์ไม่กลม
       - เริ่ม "ปีดาราศาสตร์สากล" เตรียมสถาปนา "พนมรุ้ง-วัดสันเปาโล" จุดสำคัญทางดาราศาสตร์ไทย
       - จัดปีดาราศาสตร์สากลฉลอง "กาลิเลโอ" ส่องกล้องดูจักรวาลครบ 400 ปี
       
       = อ่านเพิ่มเติม ชาร์ลส์ ดาร์วิน=
       
       - 150 ปี "กำเนิดสปีชีส์" เล่มนี้ที่ทำให้โลกรู้จักมากกว่าคำว่า "วิวัฒนาการ"
       - ประมูล "กำเนิดสิ่งมีชีวิต" ฉบับพิมพ์ครั้งแรก พบในห้องน้ำบ้านผู้ดี
       - ท่องโลกความหลากหลายมหกรรมวิทย์ ทำความรู้จัก "ดาร์วิน-เอเลียนสปีชีส์"
       - เพาะยีสต์ 500 รุ่นในแล็บ พิสูจน์วิวัฒนาการของ “ดาร์วิน”
       - อิทธิพลความคิดของ Darwin ต่อสังคมปัจจุบัน
       - ตามรอย "ดาร์วิน" บนเส้นทาง "บีเกิล" สู่การค้นพบสรรพสัตว์
       - วิวัฒนาการ "คน" กับ "ลิง" และ "รอยต่อ" ที่หายไป ปริศนาที่ยังรอคำตอบ
       - ร่องรอยแห่งวิวัฒนาการ "หอยมรกต" เกาะตาชัย เทียบคล้าย "นกฟินช์" แห่งกาลาปากอส
       - "กาลาปากอส" ห้องแล็บธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ของ "ดาร์วิน"
       - 200 ปี "ชาร์ลส์ ดาร์วิน" ทั่วโลกร่วมยกย่องผู้สร้างทฤษฎีวิวัฒนาการ
       - ย้อนเส้นทางชีวิต "ชาร์ลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน"

ภาพสุริยุปราคาเต็มดวงที่เกาะอิโวจิมา ทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น บันทึกโดยหอดูดาวดาราศาสตร์แห่งญี่ปุ่น (National Astronomical Observatory of Japan (NAOJ) – ภาพเอเอฟพี
        4. งดงาม "สุริยุปราคา" ตระการตา "ฝนดาวตก"
       
       ปี 2552 นับได้ว่าเป็นปีแห่งดาราศาสตร์ที่น่าจดจำอีกปีหนึ่ง เพราะนอกจากเป็น "ปีดาราศาสตร์สากล" แล้ว ยังเป็นปีที่มีปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งเกิดขึ้นด้วย นั่นคือ ปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงที่ยาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 21
       
       เริ่มต้นปีด้วยปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวนเมื่อวันที่ 26 ม.ค. ที่มีเส้นทางที่พาดผ่านมหาสมุทรอินเดีย และตะวันตกของอินโดนีเซีย ส่วนทางตอนใต้ของประเทศแอฟริกาใต้ มาดากัสการ์ ออสเตรเลีย อินเดียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งไทยและอินโดนีเซียสามารถเห็นสุริยุปราคาบางส่วนกันถ้วนหน้า
       
       มาถึงวันที่ 22 ก.ค. เป็นวันที่นักดาราศาสตร์ทั่วโลกเฝ้ารอคอยที่จะสัมผัสปรากฏการณ์ "สุริยุปราคาเต็มดวง" ที่ครั้งนี้กินเวลายาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 21 โดยแนวคราสเต็มดวงพาดผ่านประเทศอินเดีย ภูฏาน จีน ญี่ปุ่น และมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ซึ่งบริเวณที่คราสเกิดยาวนานที่สุดคือบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ นานถึง 6 นาที 39 วินาที ส่วนในประเทศไทยเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วนอีกเช่นกัน
       
       ใช่เพียงนักดาราศาสตร์เท่านั้นที่สนใจปรากฏการณ์ครั้งสำคัญนี้ ยังมีประชาชนอีกจำนวนมากที่อยากสัมผัสประสบการณ์ใต้เงาจันทร์ในวันอาทิตย์ดับแสง ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกหลั่งไหลเข้าสู่เมืองที่มีแนวคราสพาดผ่าน จนทำให้โรงแรมหรือที่พักเต็มทุกแห่ง แต่ผู้คนจำนวนไม่น้อยในบางพื้นที่ต่างต้องผิดหวังไปตามๆ กัน เพราะเมฆฝนเป็นอุปสรรค ทำให้ไม่สามารถสังเกตเห็นช่วงเวลาที่เงาจันทร์บังตะวันจนมืดมิดได้
       
       ปีนี้ยังเป็นปีที่มีปรากฏการณ์ "ฝนดาวตกลีโอนิดส์" และ "ฝนดาวตกเจมินิดส์" ให้เราได้ชมกันในช่วงค่ำคืนแห่งฤดูหนาวเมื่อช่วงกลางเดือน พ.ย. และ ธ.ค. ที่ผ่านมา ที่ปีหน้าไร้แสงจันทร์รบกวนและมีจำนวนฝนดาวตกมากกว่า 100 ดวงต่อชั่วโมง
       
       นอกจากนั้นในรอบปีที่ผ่านมายังมีปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์อื่นๆ ที่สำคัญเช่นกัน อาทิ ในเดือน ก.พ. มีปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวพฤหัสบดีในเดือน ก.พ. และ 4 ดวงจันทร์บริวารผ่านหน้าดาวเสาร์ ที่เกิดขึ้นทุกๆ 14-15 ปี และเดือน ส.ค. มีปรากฏการณ์ดาวเสาร์เกือบไร้วงแวน ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกๆ 15 ปี
       
       = อ่านเพิ่มเติม =
       
       - รวมพลเยาวชนวิจัยฝนดาวตก คุณค่าที่มากกว่าการดูดาว
       - งดงามตระการตา "ฝนดาวตกลีโอนิดส์"
       - ฟ้าเป็นใจให้คนไทยได้ชม "ฝนดาวตกลีโอนิดส์" นับร้อยดวง
       - หนาวนี้เตรียมตัวนอนนับฝนดาวตก "ลีโอนิดส์"
       - สุริยุปราคา : ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต (จบ)
       - สุริยุปราคา : ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต (1)
       - 15 ปีมีครั้งดาวเสาร์เข้าสู่ "อิควินอกซ์" เกือบไร้วงแหวน
       - มองสุริยุปราคาบนโลกจากนอกโลก
       - เก็บตกสุริยุปราคา! ทีมหอดูดาวบัณฑิตเห็น "คราส" ชัดแจ๋ว เหนือฟ้าเมืองหังโจว
       - เราได้อะไรจากปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง
       - ทฤษฎีไอน์สไตน์พิสูจน์ได้ด้วย“สุริยุปราคา”
       - นักล่าเงาจันทร์ “ศรัณย์ โปษยะจินดา” สะสมเวลาตะวันดับให้ครบชั่วโมง
       - สุริยุปราคาอีก 5 ครั้งถัดไปบนโลกนี้
       - เมืองไทยฟ้าไม่เป็นใจไปดู "สุริยุปราคาเต็มดวง" เมืองอื่นดีกว่า
       - บรรยากาศที่ทอดพระเนตร “สุริยุปราคาเต็มดวง” ณ เซี่ยงไฮ้ แม้ไม่เห็นแต่สัมผัสได้
       - ฝนตก-ฟ้าปิด "เด็กเทพศิรินทร์" อดชมสุริยุปราคาแห่งศตวรรษ
       - เตรียมพร้อมต้อนรับ "สุริยุปราคา" แห่งศตวรรษ
       - รู้ไหม "สุริยุปราคา" มีกี่ประเภท?
       - สุริยุปราคาเหนือฟ้าเมืองไทย สดร.จัดให้ประชาชนทั่วประเทศได้ชมทั่วถึง
       - เด็กๆ "เพลินพัฒนา" รับความรู้ เตรียมพร้อมดู "สุริยุปราคา" แห่งศตวรรษ
       - ไม่มีให้ดูบ่อย! เหล่าบริวารทั้ง 4 ชุมนุมกันหน้าดาวเสาร์
       - บนเขา-ชายฝั่งทะเลมีสิทธิ์เห็น "จันทร์บังดาวพฤหัสบดี" 23 ก.พ.นี้
       - เด็กๆ ตื่นตาดูสุริยุปราคาบนดาดฟ้ากระทรวงวิทย์
       - ว้าว!! ในที่สุดก็ได้เห็น “วงแหวนแห่งไฟ”
       - “มหกรรมสุริยุปราคา” คึกคักรับตรุษจีนที่จุฬาฯ
       - “สุริยุปราคา” ที่ท้องฟ้ากรุงเทพฯ
       - ชมภาพปรากฏการณ์สุริยุปราคาจากทั่วโลก
       - เงาดวงจันทร์เริ่มสัมผัสผิวโลกแล้ว ประเทศไทยดูได้ตั้งแต่ 15.53 น.
       - เตรียมกล้องให้พร้อม-กรองแสงให้พอบันทึกภาพ "สุริยุปราคา"

สาวไต้หวันสวมหน้ากากอนามัยป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจ (รอยเตอร์)
        3. "ไข้หวัดใหญ่ 2009" โรคอุบัติใหม่ลามไปทั่วโลก
       
       หลังจากโรคซาร์สและไข้หวัดนกสงบลงได้ไม่กี่ปี ก็มีโรค "ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่" โผล่มาสร้างความตระหนกให้ชาวโลกตื่นกลัวภัยจากโรคอุบัติใหม่อีกครั้งตั้งแต่ช่วงต้นปี 52 เพราะแพร่ระบาดจากคนสู่คนอย่างรวดเร็ว และทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก
       
       โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้มีรายงานการระบาดครั้งแรกในประเทศเม็กซิโก ก่อนที่จะลุกลามสู่อเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย จึงเรียกว่า "ไข้หวัดเม็กซิโก" หรือ "ไข้หวัดหมู" เพราะเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ เอช1เอ็น1 (H1N1) ซึ่งพบในหมู และส่งผลให้หลายแห่งทั่วโลกหวาดกลัวการบริโภคเนื้อหมูไปด้วย
       
       ต่อมานักวิทยาศาสตร์ถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อไวรัสดังกล่าวพบว่าไม่เหมือนกับเชื้อ H1N1 ที่เคยพบมาก่อนหน้านั้น แต่มีลักษณะพันธุกรรมที่คล้ายกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่พบในหมู นก และคน ซึ่งไม่เคยพบมาก่อน จึงมีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ไข้หวัดใหญ่ 2009 เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิดว่าเชื้อดังกล่าวมีต้นตอมาจากหมู และตื่นกลัวจนไม่กล้ากินหมู
       
       การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ทำให้รัฐบาลทั่วโลกต้องออกมาตรการในการเฝ้าระวังผู้ติดเชื้อและควบคุมการระบาดให้ได้ รวมถึงการรณรงค์ต่างๆ ที่จะช่วยให้ประชาชนปลอดภัยจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เช่น การสวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อเป็นไม่สบาย หรือหมั่นล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์
       
       ขณะเดียวกันนักวิทยาศาสตร์ก็ต้องทำงานหนักแข่งกับเวลาในการศึกษาทำความรู้จักกับเชื้อไวรัสร้ายตัวใหม่นี้ เพื่อคิดค้นวัคซีนป้องกันให้ได้ก่อนที่เชื้อจะกลายพันธุ์ หรือลุกลามสร้างความเสียหายไปมากกว่านี้ รวมถึงการเตรียมความพร้อมด้านยารักษา ซึ่งก็มีงานวิจัยต่างๆ เกี่ยวกับเชื้อไวรัสดังกล่าวออกมาอย่างต่อเนื่อง และมีการทดลองผลิตวัคซีนแล้วในปลายประเทศรวมทั้งไทย
       
       แม้ปัจจุบันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่มีอาการเหมือนโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล และรุนแรงน้อยกว่าโรคไข้หวัดนกดูเหมือนจะสงบลงในประเทศไทย แต่ก็วางใจไม่ได้ว่าเชื้อไวรัสจะกลายพันธุ์หรือมีการระบาดระลอกสองหรือไม่ ซึ่งขณะนี้ก็ยังมีรายงานพบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นระยะในหลายประเทศ โดยข้อมูลล่าสุดจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทั่วโลก มากกว่า 10,000 รายแล้ว (ข้อมูล ณ วันที่ 19 ธ.ค. 52)
       
       = อ่านเพิ่มเติม =
       
       - พบจุดอ่อนเชื้อ "ไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์" ถูกทำลายได้ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
       - สหรัฐฯ ชี้เด็กวัยเรียนควรได้วัคซีนหวัดใหญ่ 2009 ก่อนเพื่อน
       - ความเสี่ยงที่ต้องจับตาใน "วัคซีนเชื้อเป็น" หวัดใหญ่ 2009
       - กินอาหารง่ายๆ ก็สู้หวัดสายพันธุ์ใหม่ได้
       - สำรวจมหกรรมวิทย์ รู้จักเชื้อร้าย-สารพัดเทคนิคสู้หวัดสายพันธุ์ใหม่
       - "ฟ้าทะลายโจร" แค่ยาเสริม ชูสมุนไพร "5 ราก" แก้หวัดพันธุ์ใหม่ได้ผลชะงัด
       - พัฒนายาใหม่ใช้เวลานาน เสนอศึกษายาที่มีอยู่ดีกว่ารอแต่ยา-วัคซีนไข้หวัด 2009 ที่มีไม่พอ
       - ทำเองไม่ยาก "เจลล้างมือ" สู้หวัด 2009 สูตรพื้นฐานจาก วว.
       - ไทยก็ทำได้ "วัคซีนป้องกันหวัดใหญ่ 2009" ทั้งแบบเชื้อเป็นและเชื้อตาย
       - สูตรใหม่! "สเปรย์โป๊ยกั๊ก" เสริมฤทธิ์แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค
       - จริงหรือ? "ไข้หวัด" เหมือน "หัด" ใครเป็นแล้วจะไม่เป็นอีก
       - นักวิทย์เยอรมันพบหวัดในหมูระบาดรวดเร็ว หวั่นอาจติดจากคน
       - สู้โรคระบาดด้วยคณิตศาสตร์ "ดร.วรรณพงษ์ เตรียมโพธิ์" กับภารกิจโมเดลหวัดใหญ่ 2009
       - ดึงผู้เชี่ยวชาญสหรัฐฯ ทำโมเดลคณิตศาสตร์การระบาดหวัดใหญ่ 2009 สร้างแนวทางรับมือ
       - สำรวจ "หน้ากากอนามัย" เลือกแบบไหนป้องกันได้ตรงใจ
       - เล็งศึกษา "คาวตอง" ผักเมืองเหนือผลิตยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2009
       - ยีนไวรัสหวัดพันธุ์ใหม่ชี้ ไม่ใช่สายพันธุ์ใหม่มากๆ อย่างที่เข้าใจ
       - ดูกัน...สารพัดเทคนิควิธีตรวจเชื้อ "ไข้หวัดใหญ่"
       - แจงไข้หวัดใหญ่พันธุ์ใหม่อาการไม่รุนแรง ทำให้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว
       - วช.เห็นปัญหา "ไข้หวัดใหญ่" ตั้งแต่ปี '47
       - ป่วยใส่หน้ากาก-ไม่ป่วยล้างมือ ป้องกัน "หวัดใหญ่ 2009” ชะงัด
       - อย่าชะล่าใจ! แพทย์ไทยเตือนให้ระวังหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ระบาดซ้ำระลอกสอง
       - ใช้เวลากว่า 20 ปีถึงได้กำเนิดไวรัสลูกผสม "ไข้หวัดใหญ่ 2009”
       - รามาฯ พัฒนาชุดตรวจหาเชื้อดื้อยาไข้หวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ รู้ผลใน 4 ชม.
       - รพ.ราชวิถีนำร่องใช้ "ซอฟต์แวร์วัดไข้" คัดกรองผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่
       - เหตุใด “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ A2009 H1N1” แพร่ได้จากคนสู่คน!!
       - ยืนยันจันทร์นี้ได้ชุดตรวจแยกหวัดใหญ่ตามฤดูกาล-หวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ 2009
       - ไวรัสจาก "สัตว์" สู่ "คน" ต้นตอสารพัดโรคติดเชื้ออุบัติใหม่
       - ได้จีโนมไวรัส "หวัดเม็กซิโก" สวทช.คาดวัคซีนต้นแบบเกิดใน 2 สัปดาห์
       - เตือนไทยเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ "ไข้หวัดนก-ไข้หวัดใหญ่" น่าห่วงสุด

(บนจากซ้าย) ผศ.ดร.จูงใจ ปั้นประณต, รศ.ดร.อาทิวรรณ โชติพฤกษ์, ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริ และ ผศ.ดร.อนงค์นาฏ สมหวังธนโรจน์ นักวิจัยสตรี 4 คน ที่ได้รับทุนวิจัย "เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์" ประจำปี 2552 (ล่างซ้าย) ผศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ (ล่างขวา)อลิซาเบธ เอช.แบลกเบิร์น
       2. ปีทองของผู้หญิงโดดเด่นบนเวทีโลก
       
       อาจเรียกได้ว่าปี 2009 เป็นปีทองของสตรีในวงการวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการเชิดชูบนเวทีโลกมากที่สุด หากวัดจากผลการประกาศรางวัลโนเบลซึ่งมีผู้หญิงแท่นอันทรงเกียรติถึง 5 คน ส่วนนักวิจัยหญิงไทยก็ไม่น้อยหน้าเพราะได้โอกาสไปทำวิจัยไกลถึงขั้วโลกใต้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่ผู้หญิงจะได้รับโอกาสอันท้าทายเช่นนี้
       
       เป็นประวัติศาสตร์ที่ "นักสตรีนิยม" ต้องจดจำอีกสำหรับการมอบรางวัลโนเบลประจำปี 2009 นี้ ซึ่งมีผู้หญิงขึ้นรับรางวัลถึง 5 คน ซึ่งในจำนวนนั้น เป็นผู้ที่อยู่ในแวดวงวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 3 คน ได้แก่ อลิซาเบธ เอช.แบลกเบิร์น (Elizabeth H. Blackburn) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในซานฟรานซิสโก และ แครอล ไกรเดอร์ (Carol W. Greider) จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอปกินส์ ในสาขาสรีรศาสตร์และการแพทย์ และ อาดา โยนาธ (Ada Yonath) จากสถาบันวิทยาศาสตร์ไวซ์มันน์ ในสาขาเคมี
       
       นับเป็นสถิติมอบรางวัลให้กับผู้หญิงในสาขาวิทยาศาสตร์มากที่สุด ซึ่งในจำนวนผู้หญิง 40 คนที่ได้รับรางวัลโนเบล มีเพียง 15 คนเท่านั้นที่เป็นนักวิทยาศาสตร์
       
       นอกจากนี้ อลิซาเบซ แบลกเบิร์น และอาดา โยนาธ ยังได้รับรางวัล "เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์" (For Women in Science) รางวัลที่มอบโดยลอรีอัล (L'Oreal) และสำนักเลขาธิการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประจำปี 2008 ด้วย ซึ่งรางวัลดังกล่าวจะมอบให้แก่สตรีผู้ทำงานวิทยาศาสตร์ปีละ 5 คน พร้อมกันยังมีทุนในชื่อเดียวกับรางวัลนี้ ที่แบ่งเป็นทุนวิจัยระดับสากล ซึ่งมอบให้กับนักวิจัยสตรีทั่วโลกที่มีอายุไม่เกิน 35 ปี ปีละ 15 ทุนวิจัย โดยกระจายเป็นสัดส่วน 3 ทุนวิจัยต่อทวีป และทุนวิจัยระดับประเทศที่มอบให้ปีละ 4 ทุน
       
       สำหรับปีนี้นักวิจัยสตรีไทยที่ได้รับทุน "เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์" ระดับประเทศ แบ่งเป็น 2 สาขา สาขาชีวภาพ ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริ หัวหน้าห้องปฏิบัติการไมโครอะเรย์แบบครบวงจร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และ รศ.ดร.อาทิวรรณ โชติพฤกษ์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวัสดุศาสตร์ ได้แก่ ผศ.ดร.อนงค์นาฏ สมหวังธนโรจน์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผศ.ดร.จูงใจ ปั้นประณต ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       
       นอกจากนักวิจัยหญิงที่ได้รับการยกย่องบนเวทีอันทรงเกียรติแล้ว ยังมีนักวิจัยหญิงไทยที่ได้รับโอกาสอันท้าทายในการเดินทางไปทำวิจัยไกลถึงขั้วโลกใต้ นั่นคือ ผศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ จากภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ร่วมเดินทางไปกับคณะสำรวจ JARE-51 ของญี่ปุ่น โดยการสนับสนุนของสถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งญี่ปุ่น (National Institute of Polar Research)
       
       = อ่านเพิ่มเติม =
       
       - ค่ำคืนอันทรงเกียรติมีผู้หญิงขึ้นรับรางวัลโนเบลถึง 5 คน
       - โนเบลแพทย์ปีนี้มอบให้ 3 ผู้พบกลไกทำให้เซลล์อ่อนวัย
       - นายกฯ แดนจิงโจ้สุดดีใจ "เอลิซาเบธ แบลกเบิร์น" โนเบลหญิงคนแรกของออสซี
       - 3 ผู้สร้างแผนที่ "ไรโบโซม" สู่การพัฒนายาปฏิชีวนะรับโนเบลเคมี
       - 4 สาวนักวิศวกรรมเคมีควงแขนกันรับทุนวิจัย "เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์" ปี 7
       - "ดร.สุชนา ชวนิชย์" กับปฏิบัติการวิจัยขั้วโลกใต้ครั้งที่สองของคนไทย

สภาวิจัยแห่งชาติและองค์กรด้านการประดิษฐ์จากทั่วโลกมีมติร่วมกันทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล "อัจฉริยภาพทางการประดิษฐ์" แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
       1. สิทธิบัตร 11 ชาติถวาย "ในหลวง" กษัตริย์นักประดิษฐ์
       
       ทีมข่าววิทยาศาสตร์ขอประเดิมการประมวลข่าวเด่นในรอบปี 2552 ด้วยเรื่องน่ายินดี ที่พสนิกรชาวไทยมีพระมหากษัตรย์ที่ทรงพระอัจฉริยภาพจนเป็นที่ประจักษ์ในระดับสากล โดยพระองค์ได้รับสิทธิบัตรฝนหลวงจากสหภาพยุโรปและฮ่องกง พร้อมทั้งมีการถวายรางวัล "อัจฉริยภาพทางการประดิษฐ์"
       
       เมื่อช่วงเดือน ส.ค. ที่ผ่านมาคณะทำงานในโครงการดำเนินการจดทะเบียนสิทธิบัตรถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรฝนหลวง ซึ่งออกโดยสำนักสิทธิบัตรของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป และสำนักสิทธิบัตรเขตบริหารพิเศษฮ่องกง รวมจำนวน 11 ประเทศ
       
       การถวายสิทธิบัตรครั้งนี้เป็นผลมาจากสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตรฝนหลวงในชื่อ “Weather Modification by Royal Rainmaking Technology” เลขที่ 1491088 พร้อมได้ประกาศโฆษณาการรับจดทะเบียนใน European Patent Bulletin ในปี 2548
       
       สำหรับสิทธิบัตรฝนหลวงได้รับความคุ้มครองสิทธิในประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป จำนวน 30 ประเทศ อีกทั้งมีประเทศที่ออกสิทธิบัตรอย่างเป็นทางการให้จำนวน 10 ประเทศ และสำนักสิทธิบัตรเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ได้ออกสิทธิบัตรฝนหลวงเป็นสิทธิบัตรเลขที่ HK 1072525 โดยมีอายุความคุ้มครอง 20 ปี นับจากวันยื่นคำขอรับจดสิทธิบัตรในสหภาพยุโรปคือตั้งแต่วันที่ 17 ก.ย. 2546
       
       นอกจากนี้ในช่วงต้นปีสมาพันธ์นักประดิษฐ์นานาชาติ หรืออีเฟีย (International Federation of Inventors' Associations: IFIA) มีมติทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล "อัจฉริยภาพทางการประดิษฐ์" แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงสร้างสรรค์ผลงานประดิษฐ์คิดค้นอันเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อมนุษยชาติมากกว่า 1,000 ชิ้น นับเป็นครั้งแรกในโลกที่มีการถวายรางวัลนี้
       
       = อ่านเพิ่มเติม =
       
       - 10 ประเทศยุโรปพร้อมฮ่องกง ร่วมใจถวายสิทธิบัตรฝนหลวงแด่ในหลวง
       - โลกยกย่องในหลวง ทูลเกล้าถวายรางวัล "อัจฉริยภาพทางการประดิษฐ์”
       - นายกฯ นำคณะบุคคลทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลงานนักประดิษฐ์"ในหลวง"
       - นายกฯ ชี้ประเทศไทยโชคดี มี “ในหลวง” เป็นนักวิจัย ช่วยเหลือคนในชาติ

อ้างอิง

http://www.norsorpor.com/ข่าว/n1835940/รับปีใหม่%20สดร.%20ชวนคนไทยตั้งตารอชม%20%20สุริยุปราคาแห่งปี