อวกาศสวยสิบ
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อังคาร, 03 พฤศจิกายน 2009
10 สุดยอดภาพจากอวกาศ vote  

@@@@@ ถ้าเกิดการทำซ้ำ หรือตั้งกระทู้ผิดห้องต้องขออภัยมา ณ ที่นี่ด้วยครับ เพราะเกิดจากความไม่ตั้งใจจริงๆ ครับ ถ้าท่านสมาชิกท่านใดได้ไปเจอกระทู้เดิม และผมได้ทำซ้ำ รบกวนท่านสมาชิกที่พบเจอ ฝากบอกเครดิต ท่านเดิมให้ผมด้วยนะครับ เพราะจะได้นำเครดิตท่านผู้นั้นมาลงเพิ่มให้ครับ  ขอบคุณทุกท่านที่อ่านครับ @@@@@


อวกาศกว้างใหญ่และดวงดาวบนฟ้าไกลเป็นดินแดนแห่งความมหัศจรรย์ที่มนุษย์เฝ้าฝันจะฝ่าฟันเดินทางไปหยั่งรู้พื้นที่ที่ไม่รู้ว่าจบลงตรงไหน นานมาหลายศตวรรษเท่าที่มนุษย์รู้จักแหงนมองท้องฟ้า ภาพแสงระยิบระยับล้วนจับตาจับใจไม่น้อย และเมื่อมนุษย์สามารถประดิษฐ์กล้องส่องทางไกลจนขยายใหญ่ถึงกล้องโทรทัศน์ ภาพดวงดาวที่ไกลโพ้นก็ชัดเจนขึ้นทุกขณะ

ทว่า เมื่อกล้องโทรทรรศน์ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถสูงขึ้น ถึงขนาดส่องไกลได้ถึงหลายร้อยหลายพันปีแสงและยังออกไปโคจรนอกโลกบันทึกภาพต่างๆแทนดวงตาของมวลมนุษยชาติ ภาพจากอวกาศในช่วงหลังๆ จึงได้สวยงามและอัศจรรย์ยิ่งนัก

แม้จะล่วงเลยปี 2550 มาหลายเวลาแล้ว แต่ “ภาพอวกาศ” ที่ไร้กาลเวลาก็ยังน่าดูอยู่เสมอ ท่ามกลางภาพอวกาศมากมาย เราจึงขอหยิบยก 10 สุดยอด “ภาพอวกาศ” ที่ความสามารถของมนุษย์จะบันทึกได้มานำเสนอ โดยเป็นลำดับความนิยมจากเว็บไซต์เนชันแนล กราฟิก นิวส์ ที่ได้ประมวลไว้เมื่อครั้นที่ภาพเหล่านี้เผยแพร่สู่สาธารณชน

 
 

จากคุณ: ~@ GoMaMoN @~
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 00:06:33
ถูกใจ: เคลิ้มสมาคม, Piggie MM, บุญถิ่น, นายทองขาว, winglet, phahurat, Dolphin In Love, แพนด้า ณ เชียงใหม่, ยำยำรสหอยลายผัดฉ่า, Pretty_Cute_Girl, ป่านฉะนี้เธออยู่ดีไฉน, Ogeejung



      ความคิดเห็นที่ 1  

      1. วาระสุดท้ายของฝาแฝดดวงอาทิตย์
      เมื่อกลางเดือน ก.พ.2550 องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ได้เผยภาพดาวฤกษ์ที่ตายแล้ว อยู่ในสภาพ “ดาวแคระขาว” มีแสงสว่างเป็นจุดอยู่ใกล้ใจกลางเนบิวลา NGC 2440 และที่น่าสนใจคือ ดาวดังกล่าวมีลักษณะคล้ายดวงอาทิตย์

      ดาวฤกษ์ขนาดเล็กและกลางอย่าง “ดวงอาทิตย์” ส่วนใหญ่มีจุดจบเป็น “ดาวแคระขาว” เมื่อไฮโดรเจนซึ่งเป็นสารประกอบส่วนใหญ่ของดาวเปลี่ยนเป็นฮีเลียม ดาวดวงนั้นเริ่มกลายเป็นดาวสีแดงยักษ์ และพ่นสิ่งต่างๆ ออกสู่เนบิวลา จากนั้นก็จะเหลือใจกลางที่ร้อน และเปลี่ยนเป็นดาวแคระขาวไปในที่สุด

      ภาพดาวแคระขาวที่บันทึกได้นี้ห่างจากโลกออกไป 4,000 ปีแสง นับว่าเป็นดาวแคระขาวที่ร้อนที่สุดเท่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยบันทึกมา คือมีอุณหภูมิสูงถึง 200,000 องศาเซลเซียส แสงอัลตราไวโอเล็ต (สีม่วง-ฟ้า) ที่เห็นตรงใจกลางภาพนั้นคือกลุ่มก๊าซที่พวยพุ่งออกมาจากใจกลางของดวงดาว

      ดวงอาทิตย์ของเราก็จะมีชะตากรรมเหมือนดาวดวงนี้ แต่ยังไม่เกิดขึ้นภายใน 5 พันล้านปีนี้แน่นอน

      (ภาพ Aurore Simmonet/Sonoma State University)

       
       

      จากคุณ: ~@ GoMaMoN @~
      เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 00:06:59

 
ความคิดเห็นที่ 2  

2. วัตถุประหลาดวนรอบดาว
ภาพวัตถุประหลาดมวลเท่าดาวเคราะห์โคจรรอบดาวนิวตรอน ในเดือน ก.ย.50 นับเป็นเทห์วัตถุที่แปลกสุดๆ เท่าที่นักดาราศาสตร์เคยพบเห็น แทนที่วัตถุชิ้นนี้จะโคจรรอบดาวฤกษ์ธรรมดาทั่วไป แต่กลับโคจรรอบดาวพัลซาร์หรือนิวตรอนอย่างรวดเร็ว

ดาวนิวตรอนหมุนรอบตัวเองร้อยกว่ารอบใน 1 วินาที เร็วกว่าเครื่องปั่นในครัวเสียอีก ปกติแล้วดาวชนิดนี้ก็จะหมุนช้าลงตามอายุ แต่ดูเหมือนว่าวัตถุประหลาดจะช่วยส่งพลังให้ดาวดวงนี้เพิ่มความเร็วขึ้นไปอีก จากภาพจะเห็นมวลหมู่แก๊สผุดออกมาในลักษณะที่ไม่เสถียร

วัตถุมวลประหลาดนี้ห่างจากดาวที่มันโคจรรอบๆ ประมาณ 370,149 กิโลเมตร ใกล้กว่าโลกกับดวงจันทร์ และสามารถสังเกตเหตุการณ์นี้ได้จากโลก

นักดาราศาสตร์คาดว่าระบบวัตถุประหลาดโคจรรอบดาวนิวตรอนนี้เกิดขึ้นจากดาวฤกษ์ 2 ดวงเมื่อหลายพันล้านปีก่อน และแม้ว่าดาวฤกษ์ดวงใหญ่จะกลายเป็นซูเปอร์โนวาไป แต่ก็ยังซ่อนอยู่เบื้องหลังดาวนิวตรอน ส่วนดาวดวงเล็กกว่าก็ขยายตัวกลายเป็นดาวยักษ์แดง แต่ยังไม่มีใครระบุได้แน่ชัดว่าดาวดวงเล็กจะมีอายุยืนยาวไปถึงเมื่อใด

(ภาพ Science)

 
 

จากคุณ: ~@ GoMaMoN @~
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 00:07:26
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 3  

3. ร่องรอยแห่งน้ำจากดาวอังคาร
ภาพจากดาวเทียมที่โคจรรอบดาวอังคารเผยให้เห็นว่าครั้งหนึ่งเคยมีน้ำไหลผ่านอยบนชั้นหิน ซึ่งปรากฎรายงานผลการศึกษาในวารสารวิทยาศาสตร์เมื่อเดือน ก.พ.50 โดยรอยแยกที่ชั้นหินเหนือหลุมเบคเกอเรลทำให้เห็นชั้นหินสีสว่างและเข้มและเมื่อใช้กล้องความละเอียดสูงจากยานสำรวจดาวอังคารบันทึกสู่โลก นักวิทยาศาสตร์ก็ตื่นตะลึงเมื่อผลวิเคราะห์ออกมาว่า ที่รอยแยกดังกล่าวมีน้ำซึมอยู่ก่อนหน้า และน่าจะมีความหวังว่าหากขุดเข้าไปในพื้นผิวของดาวแดง น่าจะพบแหล่งน้ำอย่างแน่นอน

(ภาพ NASA/JPL-Caltech/University of Arizona)

 
 

จากคุณ: ~@ GoMaMoN @~
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 00:07:46
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 4  

4. เนบิวลาบิดเกลียว
ฝุ่นผงจากดาวหางรายล้อมดาวฤกษ์ให้ดูเหมือนดวงตาในใจกลางเนบิวลารูปหอย (Helix nebula) อันห่างไกล ภาพนี้บันทึกจากกล้องโทรทัศน์อวกาศสปิตเซอร์ของนาซา และเปิดเผยสู่สาธารณชนเมื่อวันที่ 12 ก.พ.50 เนบิวลานี้ห่างจากโลก 700 ปีแสง ประกอบด้วยดาวฤกษ์ที่มีลักษณะเหมือนดวงอาทิตย์แต่ดายไปแล้ว กลายเป็นดาวแคระขาวสีสันหลากหลาย

ยังมีเนบิวลาที่มีลักษณะใกล้เคียงกันเช่นนี้มากมายในกาแลกซีทางช้างเผือกที่พวกเราอาศัยอยู่แต่เนบิวลารูปหอยเป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นหลักฐานถึงการรอดชีวิตในจักรวาล ก่อนที่ดาวจะหมดอายุขัย ดาวหางก็โคจรผ่านเข้ามาสู่ระบบพอดี ขณะที่ดาวดายลงก็ขยายตัวออก เกิดมวลปะทะกัน ฝุ่นผงจากทั้งคู่ดันเข้าหากันและหมุนวนรอบดาวแคระขาว อันเป็นสิ่งสุดท้ายที่ทิ้งไว้หลังดาวฤกษ์สูญสลาย

(ภาพ NASA/Swift/Sonoma State University/A. Simonnet)

 
 

จากคุณ: ~@ GoMaMoN @~
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 00:08:21
ถูกใจ: เลดี้ลิลิ

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 5  

5. ดาวแม่เหล็กระเบิด
ภาพจำลองเทห์วัตถุอวกาศที่พบได้ยากยิ่ง “ดาวแม่เหล็ก” ขณะกำลังระเบิดและปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปรังสีเอ็กซ์ ดาวดวงนี้ห่างจากกลุ่มดาวคนยิงธนูประมาณ 15,000 ปีแสง เป็นดาวนิวตรอนหมุนเร็วขนาดเล็ก และก่อนหน้าการระเบิดปลดปล่อยรังสีเอ็กซ์ออกมาเป็นจำนวนมาก

ดาวแม่เหล็กดวงนี้มีความกว้างเพียงแค่ 15 กิโลเมตร แต่มีมวลมากพอๆ กับดวงอาทิตย์ ซึ่งองค์การอวกาศยุโรป (อีซา) ผู้นำในการศึกษาครั้งนี้พบว่าดาวดังกล่าวมีสนามแม่เหล็กรุนแรงมากเป็นอันดับต้นๆ ในจักรวาล สูงมากกว่า 600 ล้านล้านล้านเท่าของสนามแม่เหล็กโลก

(ภาพ : Gregor Kervina, courtesy NASA/JPL)

 
 

จากคุณ: ~@ GoMaMoN @~
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 00:08:37
ถูกใจ: เลดี้ลิลิ

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 6  

6. มนุษย์ต่างดาวอาจจะแปลกประหลาดกว่าที่คิด
นี่เป็นภาพจำลองการลงจอดของยานแหย่ (โพรบ) ฮอยเกนของนาซาและอีซา ที่ตกลงท่ามกลางทะเลสาบมีเทนของ “ไททัน” บริวารแห่งดาวเสาร์ และจากการจมจ่อมอยู่ในของเหลวแบบนั้นทำให้ทางภาคพื้นดินได้รับข้อมูลว่าสิ่งมีชีวิตนอกโลกอาจจะแปลกประหลาดไปจากที่เคยคาดการณ์กันไว้

นักวิทยาศาสตร์มีข้อมูลส่วนหนึ่งที่จะพิจาณาถึงคำจำกัดความของ “ชีวิต” ในอีกรูปแบบหนึ่งที่แตกต่างไปจากสิ่งมีชีวิตบนโลกอย่างสิ้นเชิง ที่โลกเราพึ่งพา “คาร์บอน” เป็นองค์ประกอบสำคัญ แต่ชีวิตที่ต่างดาวที่ได้รับข้อมูลจากไททันนั้น น่าจะมีความแปลกประหลาดอย่างยิ่ง และที่สำคัญสามารถดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สุดขั้ว อย่างทะเลกรดได้

(ภาพ NASA/JPL-Caltech/Institut d’Astrophysique Spatiale)

 
 

จากคุณ: ~@ GoMaMoN @~
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 00:08:56
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 7  

7. ซูเปอร์โนวาทำลาย “หอคอยฝุ่น”
“พิลลาร์ส ออฟ ครีเอชัน” (Pillars of Creation) หรือ “แท่งฝุ่นแห่งการสร้าง” ซึ่งเป็นกลุ่มก๊าซรูปแท่งขนาดใหญ่ที่เป็นหน่ออ่อนสำหรับการอนุบาลดาวฤกษ์รุ่นใหม่ ในเนบิวลานกอินทรี ซึ่งนักดาราศาสตร์ได้คาดการณ์มานับพันๆ ปีแล้วว่าพิลลาร์ ออฟ ครีเอชันจะถูกทำลายด้วยแรงระเบิดของซูเปอร์โนวาจากมรณกรรมของดาวฤกษ์ยักษ์ในบริเวณใกล้เคียง ในช่วงเดือน ม.ค.2550

แท่งที่อัดแน่นไปด้วยฝุ่นก๊าซแห่งนี้เป็นสัญลักษณ์ของการก่อกำเนิดดาวใหม่ กลายเป็นภาพสำคัญเมื่อฮับเบิลบันทึกได้ในปี 2538 โดยส่วนที่หนาแน่นที่สุดนั้นถูกคลื่นกระแทกจากซูเปอร์โนวาตั้งแต่ 6 พันปีก่อน ซึ่งกว่าที่เราจะได้เห็นภาพเนบิวลาที่ถูกทำลายแล้วนั้นก็ต้องย้อนไปถึง 7 พันปีแสงอันเป็นระยะทางที่เนบิวลาดังกล่าวห่างจากโลก

ภาพในย่านแสงอินฟราเรดจากกล้องสปิตเซอร์แสดงให้เห็นในส่วนสีแดงว่าเนบิวลานกอินทรีนั้นร้อน และขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงในส่วนนี้ถูกกระตุ้นจากพลังของซูเปอร์โนวา ทำให้หอคอยดังกล่าวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ที่ถูกอิทธิไม่สามารถทนทานต่อสภาพดังกล่าวได้จึงเกิดการสลายไปในที่สุด

อย่างไรก็ดี การระเบิดของหอคอยแหล่งกำเนิดแห่งดวงดาวก็หาใช่ข่าวร้ายซะทีเดียว ซึ่งนักดาราศาสตร์เชื่อว่าคลื่นกระแทกของซูเปอร์โนวาจะเป็นเชื้อไฟทำให้เกิดดาวใหม่ท่ามกลางกลุ่มควันที่คลื่นย่างกรายไปถึง

(ภาพ Opher et al., 2007/Science)

 
 

จากคุณ: ~@ GoMaMoN @~
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 00:09:23
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 8  

8. ระบบสุริยะเป็นรูป “กระสุน”
ภาพกราฟิกแสดงให้เห็นถึงระบบสุริยจักรวาล ที่เต็มไปด้วยอนุภาคที่อัดเกาะกันไว้ (สีเหลือง) ขณะกำลังผ่านเข้าสู่สนามแม่เหล็กระหว่างดวงดาวของกาแลกซีทางช้างเผือก (แนวเส้นสีน้ำตาล) ซึ่งภาพจำลองนี้เป็นผลมาจากการค้นพบครั้งใหม่โดยข้อมูลจากยานวอยเอเจอร์ที่เดินทางท่องอวกาศมาเกือบ 30 ปีว่า ภาพของระบบสุริยะนั้นมีลักษณะเป็นวงรีหรือกระสุน

(ภาพ NASA)

 
 

จากคุณ: ~@ GoMaMoN @~
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 00:09:48
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 9  

9.ลำแสงแห่งดาวพฤหัส
แสงสีม่วงที่ปรากฏตรงขั้วเหนือและใต้ของดาวพฤหัสที่เห็นในภาพนี้บันทึกในย่านรังสีเอ็กซ์ โดยกล้องโทรทัศน์จันทรา ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) และผนวกเข้ากับภาพในคลื่นแสงที่ตามองเห็นจากกล้องฮับเบิล นับเป็นภาพที่ได้รับความสนใจไม่น้อย

ลำแสงดังกล่าวสร้างความประหลาดใจให้แก่นักวิทยาศาสตร์ไม่น้อยว่ามีแสงที่ขั้วออกมาได้อย่างไร ทั้งที่ดาวเคราะห์ดวงใหญ่สุดแห่งระบบสุริยะ มีการเปลี่ยนขั้วแม่เหล็กอย่างรวดเร็วและรุนแรงทุกๆ 10 ชั่วโมง สร้างแรงดันไฟฟ้าได้ถึง 10 ล้านโวลต์ที่รอบๆ ขั้วทั้ง 2

ทั้งนี้การโยกไปมาของดาวพฤหัส เกิดจากการกระตุ้นของอนุภาคภูเขาไฟจากดวงจันทร์ไอโอ ซึ่งดูเหมือนการแสดงที่ไม่มีวันจบสิ้น ความเชื่อมโยงระหว่างอุภาคภูเขาไฟที่ได้รับจากจันทร์บริวารดวงเล็กๆ ถึงกับมีผลต่อขั้วของดาวเคราะห์อย่างพฤหัสเลยหรือ...นี่คือปริศนาที่นักวิทยาศาสตร์ยังงุนงงอยู่

(ภาพ Simon Baker/Reuters)

 
 

จากคุณ: ~@ GoMaMoN @~
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 00:10:13
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 10  

10. ดาวหาง “แมกนอต” สุกสว่างเหนือท้องฟ้าซีกโลกใต้
การเดินทางมาเยือนโลกของดาวหางแมกนอต เมื่อต้นปี 2550 ที่ผ่านมา นับเป็นช่วงที่ดาวหางดวงนี้สว่างสุกใสที่สุดในรอบ 40 ปี ซึ่งสว่างมากจนสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า แม้ในยามที่ดาวหางปรากฏใกล้กับช่วงพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าก็ยังมองได้อย่างชัดเจน

โรเบิร์ต แมกนอต นักดาราศาสตร์ชาวออสเตรเลียเป็นผู้ค้นพบดาวหางที่สุกสว่างนี้ เป็นครั้งแรกเมื่อเดือน ส.ค.ปี 2549 ในรัฐนิวเซาธ์เวลส์ ออสเตรเลีย แต่น่าเสียดายที่ดาวหางดวงนี้สังเกตได้เฉพาะจากท้องฟ้าทางซีกโลกใต้ ซึ่งภาพที่บันทึกได้นี้ เป็นดาวหางแมกนอตที่มีความกว้าง 10 กิโลเมตร กำลังพุ่งดิ่งเหมือนกำลังตกลงมาจากท้องฟ้าด้วยความเร็วประมาณ 100 กิโลเมตรต่อวินาที เหนือพื้นที่เมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ ห่างจากโลกออกไป 120 ล้านกิโลเมตร

ที่มา....http://picpost.postjung.com/64279.html

 
 

จากคุณ: ~@ GoMaMoN @~
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 00:10:45
ถูกใจ: lui2520

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 11  

ซ้ำรึเปล่าไม่รู้ แต่เจตนาสร้างสรรค์ ฉันโอเค

เอาไป 1 กีป

จากคุณ: เคลิ้มสมาคม
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 00:33:09
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 12  

^
^

ขอบคุณจ้า

 
 

จากคุณ: ~@ GoMaMoN @~
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 00:50:22
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 13  

ขอบคุณครับ

จากคุณ: เศียรนาคา ... (Eumentis)
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 01:25:37
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 14  

แสบตา หึหึ  ชอบภาพสุดท้าย

จากคุณ: หัวปลาทู
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 01:35:26
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 15  

ขอบคุณคับผม

จากคุณ: maodarifto
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 02:20:32
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 16  

ไม่ซ้ำกับอันก่อนนะ

จากคุณ: คลามิเซีย
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 02:24:09 A:192.168.1.76 X:61.7.191.29 TicketID:123589
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 17  

ภาพสุดท้ายนี่เห็นอยู่ที่นิวซีแลนด์ประมาณ 3 วันครับ ชัดเจน สวยงาม

จากคุณ: monixe
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 07:08:13
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 18  

ภาพสุดท้าย ถ้าบ้านเราเห็น คงมีคน ขอหวยเป็นแน่แท้

จากคุณ: vn, man
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 09:16:35
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 19  

เค้าวัด อุณหภูมิ กับ มวล ของดาวได้อย่างไรครับ....

จากคุณ: Night Claw
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 09:25:50
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 20  

http://www.marinerthai.com/sara/view.php?No=1214
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=206252

ก็ไม่รู้ว่าจริงๆใครเขียน

จากคุณ: ฮั่วเฉียวกงฮัก *_*
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 10:22:04
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 21  

มันสุดยอดจริงๆนะเออ

จากคุณ: ยำยำรสหอยลายผัดฉ่า
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 10:44:12
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 22  
ขอตินิดนึงน่ะครับ

ไม่ค่อยชอบตรงภาพประกอบมันไม่คมอ่ะครับ

พอภาพเบลอๆ ผมก็เลยไม่รู้สึกว่ามันเป็น

"ภาพสุดยอดจากอวกาศ"

น่ะครับ

-----------------------------------------------------------------

อยากดูภาพคมๆนี่เข้าลิงค์ MarinerThai ใน คห.20 ได้น่ะครับ

แก้ไขเมื่อ 03 พ.ย. 52 13:13:36

จากคุณ: OceaNiCa
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 13:12:33
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 23  

^^

จากคุณ: เซ็งอูฐ
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 13:14:14
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 24  
ชอบภาพเกี่ยวกับดาราศาสตร์ค่ะ
โหวตโลด~

อิดิทเพิ่ม: เนบิวลาบิดเกลียว ยังก๊ะดวงตาพญามารเลย แหะๆ...

แก้ไขเมื่อ 03 พ.ย. 52 13:32:07

จากคุณ: เลดี้ลิลิ
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 13:30:19
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 25  

ขึ้นไปที่ 22

ขอบคุณสำหรับคำติชมครับ

 
 

จากคุณ: ~@ GoMaMoN @~
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 13:48:40
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 26  

ชอบครับ

จากคุณ: RSM
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 14:11:00
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 27  

แปะรูปคมๆให้ใหม่ละกันนะู^^

1. วาระสุดท้ายของฝาแฝดดวงอาทิตย์

 
 

จากคุณ: wrought
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 14:58:02
ถูกใจ: ป่านฉะนี้เธออยู่ดีไฉน

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 28  

2. วัตถุประหลาดวนรอบดาว

 
 

จากคุณ: wrought
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 14:58:33
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 29  

3. ร่องรอยแห่งน้ำจากดาวอังคาร

 
 

จากคุณ: wrought
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 14:58:58
ถูกใจ: เคลิ้มสมาคม

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 30  

4. เนบิวลาบิดเกลียว

 
 

จากคุณ: wrought
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 14:59:23
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 31  

5. ดาวแม่เหล็กระเบิด

 
 

จากคุณ: wrought
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 14:59:45
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 32  

6. มนุษย์ต่างดาวอาจจะแปลกประหลาดกว่าที่คิด

 
 

จากคุณ: wrought
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 15:00:08
ถูกใจ: เคลิ้มสมาคม

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 33  

7. ซูเปอร์โนวาทำลาย “หอคอยฝุ่น”

 
 

จากคุณ: wrought
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 15:00:32
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 34  

8. ระบบสุริยะเป็นรูป “กระสุน”

 
 

จากคุณ: wrought
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 15:00:55
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 35  

9.ลำแสงแห่งดาวพฤหัส

 
 

จากคุณ: wrought
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 15:01:14
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 36  

10. ดาวหาง “แมกนอต” สุกสว่างเหนือท้องฟ้าซีกโลกใต้

 
 

จากคุณ: wrought
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 15:01:34
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 37  

ขอบคุณสำหรับความรู้และภาพสวย ๆ ค๊า

จากคุณ: ป่านฉะนี้เธออยู่ดีไฉน
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 16:03:39
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 38  

ชอบจังเลย จัดไป3กีบ

จากคุณ: Ogeejung
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 16:13:31
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 39  

สวยดี ทำให้คิดว่าจักรวาลช่างลึกลับและมีสิ่งที่เราไม่รู้อีกมากมายเลย

จากคุณ:
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 17:17:45 A:110.164.13.86 X: TicketID:186156
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 40  

หนึ่งในวิชาที่ผมชอบมากที่สุด ก็คือ ดาราศาสตร์

ชอบมาตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็กตัวน้อยๆ

ทุกๆคืนจะต้องออกไปมองท้องฟ้า ไม่งั้นจะนอนไม่หลับ

มองไปพลางครุ่นคิดไป ว่าเอ ทำไมดาวมันส่องแสงสีขาวๆนวลๆออกมาได้นะ


(พอยุ่งเริ่มเยอะ ก็จะวิ่งเข้าบ้าน)

จากคุณ: ตุ๊กตาแกะเน่าๆ
เขียนเมื่อ: 3 พ.ย. 52 17:44:01
  

 

อ้างอิง