ดวงอาทิตย์ลับฟ้าที่ภูเก็ตก่อนกรุงเทพฯ
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อาทิตย์, 27 กันยายน 2009
    เหตุผลที่ ดวงอาทิตย์ตก ที่ภูเก็ต ก่อน กรุงเทพครับ

    ฟังข่าวจากวิทยุเมื่อวันที่ 27พค.52 ช่วงพยากรณ์อากาศบอกว่า "วันนี้ที่ประภาคารกาญจนภิเษกแหลมพรหมเทพจังหวัดภูเก็ต ดวงอาทิตย์ตกเวลา 18:40 น. กรุงเทพมหานคร ดวงอาทิตย์ตกเวลา 18:41 น. "

           ผมก็เลยสงสัยนิดหน่อยครับว่าเป็นไปได้หรือไม่ครับที่ดวงอาทิตย์จะตกที่ภูเก็ต ก่อนกรุงเทพ
           ขอเหตุผลด้วยนะครับ พอดีไม่ค่อยเก่งเรื่องวิทยาศาตร์ ดาราศาตร์ สักเท่าไรเลยครับ

    จากคุณ : Stream down - [ 29 พ.ค. 52 15:42:13 ]

     

 
 

        ความคิดเห็นที่ 1

        แกนโลกเอียง

        จากคุณ : HogHeaven - [ 29 พ.ค. 52 16:01:48 ]

         

       
       
        ความคิดเห็นที่ 2

        ผิวโลกมันโค้งอ่ะ ภูเก็ตอยู่ตรงตามแนวพระอาทิตย์ตกก่อนที่อื่นในประเทศ

        จากคุณ : QWERTY (Beau VIBE) - [ 29 พ.ค. 52 16:01:53 ]

         

       
       
 
    ความคิดเห็นที่ 3

    ไม่รู้อธิบายแล้วจะงงกว่าเดิมหรือเปล่านะ



    เพราะเวลามาตรฐานที่ภูเก็ต "เร็วกว่า" เวลาตามดวงอาทิตย์ มากกว่าที่กรุงเทพฯ ครับ

    เวลามาตรฐานของประเทศ จะใช้ที่ลองจิจูด 105 ตะวันออกซึ่งผ่านจังหวัดอุบลราชธานี แต่กรุงเทพฯ อยู่ที่ลองจิจูด 100 ตะวันออก ดังนั้นกรุงเทพฯ จึงใช้เวลามาตรฐานที่เร็วกว่าเวลาตามดวงอาทิตย์อยู่ 5*4 = 20 นาที

    (ถ้าคิดง่ายๆ คือ สมมติเวลามาตรฐานเป็นเวลาเที่ยงวัน คนอุบลฯ จะเห็นดวงอาทิตย์อยู่กลางศีรษะพอดี แต่คนที่กรุงเทพฯ จะเห็นดวงอาทิตย์ยังขึ้นมาไม่ถึงจุดกลางศีรษะ ต้องรอไปอีกประมาณ 20 นาทีคือ 12.20 น. คนกรุงเทพจึงจะเห็นดวงอาทิตย์อยู่กลางศีรษะพอดี)


    ส่วนภูเก็ตอยู่ไปทางตะวันตกของกรุงเทพอีก คือลองจิจูดที่ 98 ตะวันออก เวลาตามดวงอาทิตย์จึงเร็วกว่าเวลาตามดวงอาทิตย์มากกว่าที่กรุงเทพฯ จึงเห็นว่าดวงอาทิตย์ตกเมื่อคิดตามเวลามาตรฐานเร็วกว่าที่กรุงเทพฯ เล็กน้อย


    จากคุณ : เกียรตินำ - [ 29 พ.ค. 52 16:01:57 ]

     

 
 
    ความคิดเห็นที่ 4

    ใช้เวลาเดียวกันทั่วประเทศไม่ใช่เหรอครับ


    จริงๆแล้ว ถ้า ภูเก็ต จะ พระอาทิตย์ตกเร็วกว่ากรุงเทพ ได้
    นั่นก็น่าจะเป็นเพราะ เป็นช่วง ฤดูร้อน-ฝน ซึ่งโลกหันขั้วเหนือ
    เข้าหาพระอาทิตย์ และทำให้ ซีกโลกฝั่งเหนือ มีกลางวันยาวนานกว่า ฝั่งใต้

    โดยเฉพาะขั้วโลกนั้น ฝั่งเหนือจะไม่มีกลางคืน ส่วนฝั่งใต้ เป็นกลางคืนยาวนานประมาณ 3 เดือนเลยทีเดียว (นอนหลับสบายเลยไม่ต้องทำงาน 3 เดือน)


    สรุปคือ ตอนกลางวัน ของคนภูเก็ตสั้นกว่าของคนกรุงเทพ นั่นเอง


    จากคุณ : Humandroy - [ 29 พ.ค. 52 16:07:59 ]

     

 
 
    ความคิดเห็นที่ 5

    เวลาในประเทศไทยไม่ตรงกันเหรอครับ
    GMT + 7


    จากคุณ : sukyone - [ 29 พ.ค. 52 16:07:59 ]

     

 
 
    ความคิดเห็นที่ 6

    น่าจะตาม คคห 1
    ไม่ใช่ คคห 3 แน่ๆ ครับ


    จากคุณ : vandalism - [ 29 พ.ค. 52 16:08:20 ]

     

 
 
    ความคิดเห็นที่ 7

    ตอบกระทู้ชนกัน เรียกประกันด่วน

    จากคุณ : sukyone - [ 29 พ.ค. 52 16:08:56 ]

     

 
 
    ความคิดเห็นที่ 8

    ประเทศไทยเวลาเท่ากันทั้งประเทศ ถ้าดูตามลองจิจูด ภูเก็ตน่าจะตกทีหลังสุดนะ ถ้าตกก่อนก็น่าจะมีผลจากแกนโลกเอียง จากการคาดคะเน

    จากคุณ : sabtoat - [ 29 พ.ค. 52 16:23:38 ]

     

 
 
    ความคิดเห็นที่ 9

    """ดวงอาทิตย์ตก ที่ภูเก็ต ก่อน กรุงเทพ"""

    ไม่จำเป็นเสมอไป
    เป็นบางช่วงของปีเท่านั้น

    เช่นเดียวกับบางช่วง ที่พระอาทิตย์ขึ้น ที่นราธิวาส ก่อนอุบล
    บางช่วง อุบล ก็เห็นดวงอาทิตย์ก่อนนราธิวาส

    เนื่องจาก แกนของโลกเอียงเมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์นั่นเอง


    เช็คเวลาที่แท้จริงได้ที่นี่http://www.navy.mi.th/hydro/sun52.htm
    จะเห็นว่าเดือนมค. พระอาทิตย์ขึ้นที่นราธิวาส ก่อนอุบล ไม่กี่นาที
    แต่เดือนกค. ที่อุบล พระอาทิตย์ขึ้นก่อนนราธิวาสประมาณครึ่งชั่วโมงเชียว

    ก็เช่นเดียวกับพระอาทิตย์ตกที่กรุงเทพกับภูเก็ตแล แก้ไขเมื่อ 29 พ.ค. 52 16:39:01


    จากคุณ : ต้นโพธิ์ต้นไทร - [ 29 พ.ค. 52 16:30:11 ]

     

 
 
    ความคิดเห็นที่ 10

    ตอนเด็กๆผมก็เคยคิดแบบ #3 ครับ

    แต่มาคิดดูดีๆแล้ว เราก็ฟังเวลามาตรฐานจากวิทยุ โทรทัศน์ เหมือนกันทั้งประเทศไม่ใช่เหรอครับ  ดังนั้น  เราใช้เวลาเดียวกันทั้งประเทศครับ  แต่ๆละเรือนจะมีเดินเพี้ยนกันบ้าง เป็นเรื่องทางเทคนิคครับ


    คำตอบจริงๆก็เพราะแกนโลกเอียงอย่างว่าครับ  เอียงยังไงก็ลองไปนั่งคิดดูน่ะครับ  เพราะถ้าแกนโลกนี้ตั้งตรง  ภูเก็ตจะดวงอาทิตย์ตกที่สุดท้ายของประเทศเสมอ  และอุบลฯ ดวงอาทิตย์จะขึ้นก่อนเสมอครับ


    จากคุณ : สมภพ เจ้าเก่า - [ 29 พ.ค. 52 16:45:37 ]

     

 
 
    ความคิดเห็นที่ 11

    ใช้เวลาเดียวกันทั้งประเทศน่ะใช่ครับ เพื่อความไม่สับสน

    แต่ถ้านับจากองศาแล้ว ยังไงมันก็ไม่เท่ากันครับ ภูเก็ตเลยตกก่อนไง


    จากคุณ : Lancaster - [ 29 พ.ค. 52 16:55:28 ]

     

 
 
    ความคิดเห็นที่ 12

    อ่าน ๆๆ

    จากคุณ : นายผี (สระนาฬิเกร์) - [ 29 พ.ค. 52 18:23:16 ]

     

 
 
    ความคิดเห็นที่ 13

    อ่าน คห. ที่ 3 คับ (อ่านดีๆ ค่อยๆอ่าน แล้วจะไม่งง)
    แล้วค่อยไปสรุปด้วย คห.1

    เครียร์ทุกประเด็น


    จากคุณ : จิ้งจกทะเลทราย - [ 29 พ.ค. 52 19:44:02 ]

     

 
 
    ความคิดเห็นที่ 14

    ตกที่ภูเก็ต แล้วไปขึ้นที่อุบล

    จากคุณ : โทโมกะ - [ 29 พ.ค. 52 20:01:01 ]

     

 
 
    ความคิดเห็นที่ 15

    ถึงใช้คำว่า "เวลามาตรฐาน" กับ "เวลาตามดวงอาทิตย์" ไงครับ เพื่อแยกจากกัน

    เวลาตามดวงอาทิตย์ คือเวลาที่เกิดขึ้นเมื่อเราเทียบกับธรรมชาติของดวงอาทิตย์ เช่น เวลาเที่ยงวันคือดวงอาทิตย์จะต้องอยู่ตรงศีรษะเราพอดี ไม่เยื้องทางตะวันออกหรือตะวันตก
    เวลาตามดวงอาทิตย์ จะถูกกำหนดตามลองจิจูด ถ้าตำบลที่มีลองจิจูดเดียวกัน เวลาตามดวงอาทิตย์จะตรงกัน แต่ถ้าต่างลองจิจูดเวลาก็จะต่างกัน ลองจิจูดละ 4 นาที

    แต่เวลามาตรฐาน คือเวลาที่เรากำหนดขึ้นเองตามความต้องการ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเท่ากับเวลาตามดวงอาทิตย์ อย่างเช่นมาเลเซียหรือสิงคโปร์ ก็อยู่ลองจิจุดเดียวกับเรา แต่เลือกใช้เวลามาตรฐานเร็วกว่าเรา 1 ชั่วโมงซะงั้น หรือประเทศในยุโรปก็ยังกำหนดเวลามาตรฐานแตกต่างกันไปตามฤดูกาล ช่วงหน้าร้อนเร็วขึ้นกว่าหน้าหนาว 1 ชั่วโมง ทั้งที่ยังอยู่ลองจิจูดเดิม เป็นต้น

    สาเหตุที่ต้องมีเวลามาตรฐาน ก็เพื่อความสะดวกในการบอกเวลาสำหรับดินแดนที่อยู่ในอาณาเขตการปกครองเดียวกันให้ตรงกัน โดยไม่ต้องคำนึงถึงเวลาตามดวงอาทิตย์ให้ยุ่งยาก
    ไม่งั้นเวลาคนกรุงเทพฯ จะไปอุบลฯ ก็จะต้องหมุนนาฬิกาให้เร็วขึ้น 20 นาที หรือคนอุบลฯ จะมากรุงเทพฯ ก็ต้องหมุนนาฬิกาให้ช้าลง 20 นาที ยุ่งยากมากมาย จึงกำหนดให้กรุงเทพฯ กับอุบลฯ ซึ่งอยู่ในประเทศเดียวกันและมีลองจิจูดใกล้เคียงกันอยู่แล้วให้ใช้เวลามาตรฐานเดียวกัน



    เรื่องความแตกต่างระหว่างเวลามาตรฐาน กับเวลาตามดวงอาทิตย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยเล่าไว้ในหนังสือเรื่อง "ถกเขมร" ว่า สมัยก่อนเขมรถูกฝรั่งเศสกำหนดให้ใช้เวลามาตรฐานเร็วกว่าเมืองไทย 1 ชั่วโมง ทั้งที่อยู่ลองจิจูดเดียวกัน วันหนึ่งท่านไปเที่ยวเขมรแล้วสังเกตเห็นพระสงฆ์ที่เขมรฉันอาหารหลังเที่ยงเลยสงสัยว่าจะไม่ผิดข้อห้ามหรือ แต่พระท่านนั้นบอกว่าตนถือเวลาเที่ยงตาม "เวลาตามดวงอาทิตย์" ไม่ใช่เวลามาตรฐาน ดังนั้นเมื่อดวงอาทิตย์ยังไม่ตรงกลางศีรษะ ก็ยังถือว่ายังไม่ถึงเที่ยงวันยังฉันเพลได้ แม้เวลามาตรฐานจะบอกเวลาเลยเที่ยงแล้วก็ตาม


    จากคุณ : เกียรตินำ - [ 29 พ.ค. 52 21:04:02 ]

     

 
 
    ความคิดเห็นที่ 16

    ผมไม่เห็นด้วยกับเรื่องแกนโลกเอียงนะ แกนโลกเอียงทำให้เวลาที่เราเห็นพระอาทิตย์มากขึ้นน้อยลงก็จริง แต่ก็จะส่งผลถึงทั้งประเทศ (ทั้งโลกด้วย)

    แต่ทีี่พระอาทิตย์ตกที่ภูเก็ตก่อนกรุงเทพเพราะว่า ภูเก็ตอยู่ทางด้านตะวันตก ของกรุงเทพ เอ้าเทียบง่ายๆเลย อเมริกาก็อยู่ทางด้านตะวันตกของไทย พระอาทิตย์เค้าก็ตกเร็วกว่าเรา


    สรุป #1 ผิด #3ถูกครับ  #10 ถึงแกนโลกตรงผลก็ไม่เปลี่ยนครับ ภูเก็ตตกก่อนเช่นเดิม

    น่าสนใจนะกระทู้นี้


    จากคุณ : elvish346 - [ 29 พ.ค. 52 21:34:54 ]

     

 
 
    ความคิดเห็นที่ 17

    #1 ถูกแล้วล่ะ เพราะแกนโลกเอียงต่อดวงอาทิตย์ทำให้เกิดฤดูกาล

    ถ้าวัดจริงๆแล้วจุดที่อยู่ตะวันตกสุดของไทยก็คือแม่ฮ่องสอนเพียงแต่ภูเก็ตเป็นจุดที่น่าสนใจกว่า

    ดวงอาทิตย์จะตกที่่ภูเก็ตก่อนกรุงเทพฯก็จะมีเฉพาะกลางค่อนปลายพ.ค.ถึงปลายก.ค.เท่านั้นโดยประมาณ แต่ก็แค่2-3นาทีเอง

    ผมว่าแต่ละความเห็นที่ตอบมาก็มีส่วนถูกทั้งนั้นเลย


    จากคุณ : อาแปะชาเขียว - [ 29 พ.ค. 52 23:02:09 ]

     

 
 
    ความคิดเห็นที่ 18

    เอ้าเทียบง่ายๆเลย อเมริกาก็อยู่ทางด้านตะวันตกของไทย
    พระอาทิตย์เค้าก็ตกเร็วกว่าเรา
    ^
    ^
    เข้าใจอะไรผิดไปเหรอปล่าว  ของเราตกไปตั้งนาน แล้ว
    เขายังไม่เช้าเลย
    แ้ล้ว USA จะตกก่อนเราได้อย่างไร


    จากคุณ : น้าพร - [ 29 พ.ค. 52 23:43:33 ]

     

 
 
    ความคิดเห็นที่ 19

    ตามความเข้าใจผมนะ

    แหลมพรหมเทพเป็นส่วนที่ยื่นออกไปทางตะวันตกมากที่สุดของภูเก็ต และภูเก็ตก็เป็นจังหวัดที่อยู่ทางปลายสุดของด้านตะวันตกของประเทศ ลองนึกภาพตอนโลกหมุนแล้วกันนะครับ ดวงอาทิตย์จะลับขอบฟ้าที่ปลายแหลมพรหมเทพจังหวัดภูเก็ตก่อนกรุงเทพแน่นอน ทำนองเดียวกับอาทิตย์ขึ้น ที่อำเภอโขงเจียมของ จ.อุบลฯ เป็นพื้นที่ปลายสุดของด้านตะวันออก ดวงอาทิตย์จะขึ้นที่นี่ก่อนที่อื่นของประเทศไทยเช่นกันครับ

    ยกเว้นถ้านับเวลาอาทิตย์ตกที่เกาะสิมิลันหรือพีพี อันนี้ดวงอาทิตย์จะตกก่อนภูเก็ตครับ


    จากคุณ : T7Promoter - [ 30 พ.ค. 52 07:53:39 ]

     

 
 
    ความคิดเห็นที่ 20

    เพราะโลกเอียงไงครับ
    จากรูป มองทางตะวันตกของอินเดีย สว่างแล้ว
    แต่ทางขั้วโลกใต้ แถวออสเตรเลีย แม้อยู่ทางใต้แต่ก็อยู่ทิศตะวันออกของเรา
    เขายังมืดอยู่เลย
     
     


    จากคุณ : bbiggy - [ 30 พ.ค. 52 08:54:15 ]

     

 
 
    ความคิดเห็นที่ 21

    คคห 16 เข้าใจผิดอย่างมากนะครับ

    ภูเก็ตอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงเทพ ตามหลักก็ต้องเกิดกลางวันและกลางคืนหลังกรุงเทพ

    อเมริกาอยู่ทิศตะวันตกของไทยจริงครับ และดวงอาทิตย์ก็ตกหลังเราด้วย แต่หากคุณ
    โทรไปอเมริกาตอน 6 โมงเช้าเมืองไทย อเมริกาจะ 6 โมงเย็น คุณอาจจะบอกว่า
    เขาอาทิตย์ตกก่อน แต่อย่าลืมว่า 6 โมงเย็นของอเมริกา คือของเมื่อวานนะครับ

    เรื่องโลกเอียง ตามภาพใน คคห คุณ bbiggy เลยครับ

    สรุป ยืนยันคำเดิม คคห 1 ถูก คคห 3 ผิดครับ แก้ไขเมื่อ 30 พ.ค. 52 10:13:54


    จากคุณ : vandalism - [ 30 พ.ค. 52 10:13:28 ]

     

 
 
    ความคิดเห็นที่ 22

    ผมจะสรุปให้งงกว่าเดิมนะครับ โซนเวลา กับเวลาพระอาทิตย์ตก เป็นคนละเรื่องกัน แต่เกี่ยวกันนิด ๆ

    1.ภูเก็ตอยู่ทางทิศตะวันตกมากกว่ากรุงเทพ ดังนั้นจึงเห็นพระอาทิตย์ตกหลังจากกรุงเทพ
    ประมาณว่าลาดกระบังท้องฟ้ามืดแล้วแต่หนองแขมยังสว่างอยู่ (นิดนึงพอ: Friday all in love)
    เช่นกัน ถ้าพระอาทิตย์ขึ้น กรุงเทพเห็นก่อนภูเก็ต (แป๊บนึง) แต่ที่ผานกแอ่น ภูกระดึงจะสวยมาก

    2.ภูเก็ต กรุงเทพ อุบลราชธานี อยู่ในโซนเวลา +7 จากเมืองกรีนิช อังกฤษ
    ทั้งนั้น รวมถึงฮานอย จาการ์ต้าร์ และอีกเมืองในรัสเซีย (Krasnoyarsk) ที่ +7 ก็คือเวลาของเรา
    เร็วกว่าเวลามาตรฐานไป 7 ชั่วโมง ดังนั้นปีใหม่เราจึงฉลองเร็วกว่าอังกฤษ อเมริกา
    เขาแบ่งจากเส้นแนวตั้งของโลกเรา ลากจากทางขั้วโลกเหนือไปขั้วโลกใต้
    เขาเรียกเส้นรุ้ง หรือเส้นแวงก็ไม่รู้ ผมเรียกสลับกันประจำ อันไหนแนวนอน อันไหนแนวตั้ง
    แต่ลองดูภาพใน #20 ก็จะเห็นว่าเขาลากเส้นแบ่งไว้เท่า ๆ กันแล้ว

    3.ข้อนี้แถม อเมริกาที่มีหลายโซนเวลาเพราะประเทศกว้างใหญ่มาก ถ้าเทียบ
    กับเมืองไทยแล้ว พื้นที่เราแคบกว่าเยอะ  เลยแค่โซนเดียวก็พอ ว่ากันว่า
    ถ้าขับรถจาก LA มานิวยอร์ก ตั้งปรับเวลาให้เร็วขึ้นด้วย จึงมีนาฬิกาสำหรับ
    อเมริกันชน ที่บอกเวลาแบ่งตามโซนของแต่ละรัฐ (บอกเวลาได้ 7 ประเทศ ยกเว้นไทย)

    ผิดถูกยังไง รอคนต่อไปชี้แจง


    จากคุณ : AW Milan - [ 30 พ.ค. 52 10:15:49 ]

     

 
 
    ความคิดเห็นที่ 23

    เกี่ยวกับแกนโลกเอียงจริง ๆ ครับ ดูภาพ จะเข้าใจได้ไม่ยาก

    เส้นแบ่งกลางวัน-กลางคืน ตอนดวงอาทิตย์ตกที่ประเทศไทย

    (แก้พิมพ์ตก)

    แก้ไขเมื่อ 30 พ.ค. 52 16:35:58

     
     


    จากคุณ : แมวสีหมอก - [ 30 พ.ค. 52 13:06:25 ]

     

 
 
    ความคิดเห็นที่ 24

    พอถึงเดือนธันวาคม ดวงอาทิตย์จะเฉียงลงใต้
    คงจะเดากันออก ว่ารูปจะออกมาเป็นแบบไหน


    จากคุณ : แมวสีหมอก - [ 30 พ.ค. 52 13:12:28 ]

     

 
 
    ความคิดเห็นที่ 25

    ขออนุญาตเก็บเข้าคลังนะครับ

    จากคุณ : vandalism - [ 30 พ.ค. 52 16:08:49 ]

     

 
 
    ความคิดเห็นที่ 26

    อธิบายตามภาพคห.23 ครับ

    เหตุการณ์ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าที่แหลมพรมเทพ ก่อนกรุงเทพ
    จะเกิดในช่วงดวงอาทิตย์อ้อมเหนือมากๆ เช่นช่วงเดือนมิถุนายนนี้แหละครับ
    คิดง่ายๆ ตะวันอยู่ทางซีเหนือมาก เส้นเงาแบ่งกลางวัน-กลางคืน เป็นดังภาพที่คุณแมวสีหมอกนำมาให้ดู

    ในทำนองเดียวกัน
    เมื่อถึงช่วงใกล้ 22 ธันวาคม ดวงอาทิตย์อ้อมใต้มากๆ
    ก็ทำให้จังหวัดนราธิวาสเห็นอาทิตย์ขึ้นก่อนอุบลราชธานี


    จากคุณ : พรเลิศ - [ 30 พ.ค. 52 16:17:29 ]

     

 
 
    ความคิดเห็นที่ 27

    ภาพประกอบ ตามความเห็นของคุณพรเลิศข้างบน

    วันที่ 22 ธันวาคม ดวงอาทิตย์ขึ้นที่นราธิวาสก่อนอุบลราชธานี
     
     


    จากคุณ : แมวสีหมอก - [ 30 พ.ค. 52 16:46:26 ]

     

 
 
    ความคิดเห็นที่ 28

    ^
    ^
    คงจะถึง บางอ้อกันแล้วนะครับ


    จากคุณ : น้าพร - [ 1 มิ.ย. 52 03:18:30 ]

     

 
 

อ้างอิง

http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2009/05/X7916733/X7916733.html