อ๊ามท่าเรือ : ดร.อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พฤหัสบดี, 03 ธันวาคม 2020

.

ศาลเจ้าท่าเรือ
ดร.อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร

กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ
๒ ธันวาคม ๒๕๖๓
(มอภ.จห.14958)

ศาลเจ้าขนาดใหญ่และสวยงามอีกแห่งในจังหวัดภูเก็ต ที่ผู้คนนิยมมาขอพรให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงจาก "เทพเจ้าโป่เส่งไต่เต่" หรือองค์หงอจินหยิน ผู้มีความเชี่ยวชาญในการแพทย์แผนโบราณ และสักการะเทพเจ้ากวนอู (องค์เต้กุ๊น) เทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ องค์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดภูเก็ต



ศาสนสถาน ที่รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับบรรพชนชาวจีนที่เดินทางเข้ามายังจังหวัดภูเก็ต ซึ่งบรรพชนชาวจีนเหล่านั้นได้นำความเชื่อ และพิธีกรรมต่าง ๆ มาให้ชาวภูเก็ตได้ปฎิบัติอีกด้วย  เช่น เมื่อถึงเทศกาลถือศีลกินผัก ชาวภูเก็ตจะมาร่วมพิธีกันที่นี่ด้วยเช่นกัน เพราะศาลเจ้าท่าเรือเป็นศาลเจ้าที่เก่าแก่อีกแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต


ที่อยู่ : 169 ถนนเทพกระษัตรี ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

เปิดให้เข้าชม : 08.00-17.00 น.

เว็บไซต์ : https://www.facebook.com/ศาลเจ้าท่าเรือ


ประวัติ

ศาลเจ้าท่าเรือ มี องค์พระโป้เส่ง ไต่เต่ (หงอจินหยิน) เป็นพระประธาน  หงอจินหยินเป็นแพทย์แผนจีน ที่เชี่ยวชาญด้านรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยสมุนไพร และการแมะคือการจับชีพจรข้อมือ เป็นการวิเคราะห์โรคที่ค่อนข้างแม่นยำมาก  วิชาการแพทย์แผนจีนได้รับการถ่ายทอดมาจากครอบครัว รักษาคนหายเป็นจำนวนมาก จนได้รับการขนานนามว่า "เทพเจ้าผู้ช่วยชีวิต" มีผู้คนเคารพนับถือมากแถบฝูเจี้ยน ไต้หวัน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากคุณงามความดี และความสามารถในการรักษาคน จึงมีผู้รวบรวมตำรายาขึ้น จัดทำเป็นหนังสือสารานุกรม สมุนไพรจีน  แปลเป็นภาษาต่าง ๆ มอบให้กับห้องสมุดหลายประเทศ

 

ชาวบ้านในบริเวณบ้านท่าเรือ ได้ทำพิธีอัญเชิญ ดวงจิตวิญญาณของเทพเจ้าโป้เส่ง ไต่เต้ (หงอจินหยิน) มาประทับร่างทรง หรือ ม้าทรง เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ให้กับคนที่เจ็บป่วย โดยไม่คิดค่ารักษา ในขณะนั้นบริเวณบ้านท่าเรือยังไม่มีศาลเจ้า ร่างทรงพระหมอหงอจินหยินจึงรักษาผู้ป่วยในบ้านของชาวบ้าน
  เมื่อคนหายเจ็บป่วยจากการรักษาของพระหมอ ก็เกิดความศรัทธา ได้บริจาคเงิน ให้กับพระหมอ หรือ เทพเจ้าหมอ บางคนก็บริจาคเป็นที่ดิน ทางคณะกรรมการ และชาวบ้านจึงเห็นพ้องกันว่าควรสร้างศาลเจ้าขึ้น  หากที่ดินไม่เพียงพอ ก็ใหัซื้อที่ดินบริเวณใกล้เคียงเพิ่ม



ศาลเจ้าท่าเรือ จึงเกิดขึ้นจากความศรัทธาของชาวบ้าน และคณะกรรมการชุดนั้น สร้างบนที่ดิน ที่ได้รับบริจาคและซื้อเพิ่มเติม โดยกรรมสิทธิ์ที่ดิน และเงินที่ได้รับบริจาค มอบให้กับกระทรวง มหาดไทยเป็นผู้ดูแล

ปี พ.ศ.2543 ทางคณะกรรมการมีมติปรับปรุงอาคารศาลเจ้า ประกอบกับกรมทางหลวงแผ่นดิน ได้ขยายทาง ทำให้บริเวณศาลเจ้าคับแคบ จึงได้จัดซื้อที่ดินด้านหลัง และด้านข้างของศาลเจ้าเพิ่ม เพื่อขยาย และก่อสร้างศาลเจ้าหลังใหม่ โดยนำรูปแบบประติมากรรมของศาลเจ้าขงจื้อ นานกิง ประเทศจีน มาประยุกต์ให้เข้ากับการใช้ประกอบพิธีกรรมศาลเจ้าท่าเรือจึงเป็นปูชนียสถาน ที่ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนบ้านท่าเรือ มาจนถึงปัจจุบัน

พิธีกรรม / ประเพณี

งานประเพณีประจำปีของศาลเจ้าท่าเรือ  ได้แก่  วันแซยิดหรือวันเกิดของเทพเจ้า และเทศกาลถือศีลกินผัก ซึ่งเริ่มในวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ของปฏิทินจีน ในงานจะมีพิธีกรรมต่างๆ ตลอด 9 วัน 9 คืน


บรรณานุกรม

ศาลเจ้าท่าเรือ อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร สืบค้นจาก http://www.srisunthon.go.th/  เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓


ศาลเจ้าท่าเรือ อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร สืบค้นจาก http://dawninphuket.blogspot.com/ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓


ศาลเจ้าท่าเรือ อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร สืบค้นจาก news.phuketindex.com  เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓

หงอจินหยิน อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร สืบค้นจาก www.somboon.info เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓

 

นามานุกรม

วัน  แสนเขียว เพศชาย  อยู่ที่ 174/3 หมู่ที่ 3 ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ให้ข้อมูลอรุณรัตน์ สรรเพ็ชร เมื่อ 9 ตุลาคม 2563


สุนันทา กลสามัญ เพศหญิง เกิดประมาณ พ.ศ. ภูมิลำเนาจังหวัดภูเก็ต อยู่ที่ ต.เกาะแก้ว อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต ให้ข้อมูลอรุณรัตน์ สรรเพ็ชร เมื่อ 9 ตุลาคม 2563

เพิ่ม จาก มอภ.จห.
ภาพอ๊ามท่าเรือ รหัส 14227

อิวเก๊ง อ๊ามท่าเรือ รหัส 14397

เทพเจ้ากวนอู  รหัส 9966

.
คติชนวิทยา  คติชนวิทยา  
.
อ๊ามท่าเรือ  ต้นฉบับ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๓
.

Link ศาลเจ้าท่าเรือ  คำค้าหา ศาลเจ้าบ้านท่าเรือ อ๊ามบ้านท่าเรือ อิวเก๊งอ๊ามท่าเรือ (ภาพ)

 

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พฤหัสบดี, 03 ธันวาคม 2020 )