อาหว้าย : การละเล่นของเด็ก
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อังคาร, 20 กุมภาพันธ์ 2018
อาหว้าย : การละเล่น

 
การละเล่นของเด็กแบ่งเป็น ๒ ฝ่ายคือฝ่ายหลักและฝ่ายตี จำนวนเท่ากัน มีลูกกิ๋ว (ลูกบอลขนาดเล็ก, ลูกเทนนิส) และแท่งหลักเรียกว่าก๊วนมีขนาดเท่าแผ่นอิฐ  แพ้ชนะอยู่ที่ฝ่ายหลักสามารถ เคลื่อนลูกกิ๋วไป ปะทะก๊วนของฝ่ายตี ก็เปลี่ยนฝ่ายกลับกัน  ฝ่ายหลักก็เป็นฝ่ายตี ฝ่ายตีก็เป็นฝ่ายหลัก ฝ่ายตีมีชื่อท่าตี (สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ บรรณาธิการ ๒๕๕๔ : ๒๐๒-๒๑๗) ว่า อาหว้าย ชีหล้า ดัวหล้า โปะ ก้าด กางกาง เซปะ แต่ละชื่อท่าตีแบ่งเป็น ๓ ท่า เช่น อาหว้าย อาหว้ายตู และอาหว้ายดั่ว ถัดไปเป็นชีหล้า ชีหล้าตู และชีหล้า ดั่ว เป็นต้น  ตัวอย่างท่าตีชีหล้า  ผู้ตียืนหันหลังให้ก๊วน โยนลูกกิ๋วสูงขึ้นในแนวดิ่ง ใช้ฝ่ามือ หรือกำหมัด ที่ถนัดตีลูกกิ๋วไปฝ่ายหลัก ถ้าฝ่ายหลักรับลูกได้ ลูกกิ๋วไม่ตกถึงพื้น คนตีจะหยุดตี ีทีเรียกว่า ตาย เปลี่ยนคนตีใหม่ในท่าที่ไม่ผ่านนั้น จนหมดคนฝ่ายตีที่มีสิทธิ์ตีหรือที่เรียกว่าตายหมด  ก็เปลี่ยนฝ่าย ฝ่ายตีก็เริ่มจากท่าตีที่ค้างอยู่ก่อนเปลี่ยนฝ่าย ช่วยให้ผู้เล่นมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ร่วมสังคมกับเพื่อน  การเล่นอาหว้ายได้ใช้สติปัญญาที่จะกระทำให้ลูกกิ๋วไม่ตาย  ทั้งฝ่ายตีและฝ่ายหลักได้ออกกำลังกาย ถ้วนทั่วทุกตัวคน  (สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์  ผู้เขียน)

นามานุกรม
สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ผู้เขียน เพศชาย เกิด ๑ สิงหาคม ๒๔๘๙ ภูมิลำเนาวัฒนธรรมภูเก็ต สถานที่ติดต่อ ๑๗๕ หมู่ ๑ ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต FB:สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ โทร.0813262549 เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๘
บรรณานุกรม
พจนานุกรมภาษาถิ่นใต้ พุทธศักราช ๒๕๕๐ พิมพ์ครั้งที่ ๕ (พ.ศ.๒๕๕๑) นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ๕๖๔ หน้า
สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ บรรณาธิการ (๒๕๔๕) วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดภูเก็ต กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร ๓๘๓ หน้า
.
***
วัฒนธรรม4กีฬา  การกีฬา
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อังคาร, 27 กุมภาพันธ์ 2018 )