อาภาภรณ์ ปลอดปล้อง:คติชนบ้านเขากอบ
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พฤหัสบดี, 08 ธันวาคม 2016

คติชนหมู่บ้านเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

1. มุขปาฐะ
1.2 คำทุภาษา
1.2.1 คำด่า
1.2.1.1 อีสัตว์หน้าขน (ขวัญจิรา อินนุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.1.2 ไอ้นรก (สุดารัตน์ พรมมืด ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.1.3 ไอ้เปรต (สุดารัตน์ พรมมืด ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.1.4 อีหน้าหี (ขวัญจิรา อินนุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.1.5 อีสันดาน (ขวัญจิรา อินนุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.1.6 อีหีคัน (สุดารัตน์ พรมมืด ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.1.7 อีแตดบิด (สุดารัตน์ พรมมืด ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.1.8 ไอ้หน้าตัวเมีย (ปัญญาพร ดวงสี ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.1.9 ไอ้เหี้ย (ปัญญาพร ดวงสี ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.1.10 ไอ้ระยำ (ปัญญาพร ดวงสี ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.1.11 ไอ้ชาติหมา (ปัญญาพร ดวงสี ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.1.12 ไอ้บาทลวก (วัลภา ขาวนิ่ม ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.1.13 อีช้างเย็ด (วัลภา ขาวนิ่ม ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.1.14 ไอ้เย็ดครก (วัลภา ขาวนิ่ม ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.1.15 อีชิงหมาเกิด (วัลภา ขาวนิ่ม ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.1.16 อีกะหรี่ (วัลภา ขาวนิ่ม ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.1.17 อีอาด (ดารารัตน์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.1.18 อีร่าน (ดารารัตน์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.1.19 ไอ้หัวดอ (ดารารัตน์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.1.20 อีหีสั่น (ดารารัตน์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.1.21 ไอ้เหี้ย (ดารารัตน์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.2 คำชม
1.2.2.1 สาวนั้นหน้าตาดี (วรรณา จันทรังษี ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.2.2 กับข้าวชาติกินหรอยหนัด (วรรณา จันทรังษี ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.2.3 ผิวขาวเหมือนหยวกกล้วย (วรรณา จันทรังษี ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.2.4 เด็กนั้นยิ้มน่ารัก (เปรียม ไทยมิตรชอบ ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.2.5 งามพลับ ๆ (เปรียม ไทยมิตรชอบ ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙) 
1.2.2.6 ลูกบ้านนั้นอยู่เรียบร้อย (เปรียม ไทยมิตรชอบ ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.2.7 ผ้านี้เนื้อดี (เปรียม ไทยมิตรชอบ ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.2.8 ของในหลาดวันนี้สด ๆ ทั้งเพ (เปรียม ไทยมิตรชอบ ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.3 คำแช่ง
1.2.3.1 ขอให้ฉิบหาย (ปลอบ ไทยมิตรชอบ ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.3.2 ขอให้ตายโหง (ปลอบ ไทยมิตรชอบ ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.3.3 ขออย่าได้ผุดได้เกิด (ปลอบ ไทยมิตรชอบ ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.3.4 ขอให้ล่มจมย่อยยับอย่าเหลือไหร (ปลอบ ไทยมิตรชอบ ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.3.5 ขอให้หมดตัว (อุมาพร มหาสุข ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.3.6 ขอให้เป็นง้อย (อุมาพร มหาสุข ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.3.7 ขอให้ขี้รั่ว (อุมาพร มหาสุข ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.2.3.8 ขอให้อดอยากปากแห้ง (อุมาพร มหาสุข ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.3 คำพังเพย
1.3.1 เหมือนออกยายี หมายถึง การกระทำที่ชักช้า (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.3.2 เหมือนศรีธนญชัย หมายถึง มีความฉลาดแกมโกง (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.3.3 หมาเห่าเรือบิน หมายถึง พูดจาเกินฐานะ หรือทำอะไรไม่เจียมตัว (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.3.4 เจ็ดน้ำไม่เปือย หมายถึง ทำเป็นเฉื่อยชา เกียจคร้าน (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.3.5 โง่ดักดาน หมายถึง โง่ซ้ำซากหรือไม่มีการพัฒนาขึ้น (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.3.6 หมาหัวเน่า หมายถึง เมื่อมีสิ่งใหม่ที่ดีกว่าก็เหมือนหมดประโยชน์ หรือไม่มีค่า (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙) 
1.3.7 กินเหมือนพยาธิอยู่ใน หมายถึง กินจุแต่ไม่อ้วน (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.3.8 ฝัดด็องเปล่า หมายถึง การกระทำอะไรซึ่งทำแล้วไม่เกิดผลอะไรต่อตนเองเลยแม้แต่น้อย
เป็นการเสียแรงเปล่า ๆ (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.3.9 เหลี่ยมลอกอลิด หมายถึง คนที่มีเล่ห์เหลี่ยม (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.3.10 ไม่รู้จักหวัน หมายถึง คนที่ไม่รู้กาลเทศะหรือไม่รู้เรื่องรู้ราว (สมพร เกตุทอง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.3.11 ทำหมาดอใหญ่ หมายถึง ทำอวดตนว่ายิ่งใหญ่ (สมพร เกตุทอง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.3.12 แจ้งเหมือนงานเหลิม หมายถึง สว่างไสวมาก (สมพร เกตุทอง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.3.13 หมาหวงก้าง หมายถึง หวงสิ่งที่ตนไม่ได้ใช้หรือทิ้งไปแล้ว (สมพร เกตุทอง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.3.14 คมเหมือนพร้านาป้อ หมายถึง คมมาก (สมพร เกตุทอง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.3.15 ทำยศอดแดก หมายถึง ทำประชดจนสุดท้ายไม่ได้อะไร (สมพร เกตุทอง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.3.16 โบ๋ขี้ดำ หมายถึง โง่มาก (สมพร เกตุทอง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.3.17 รักกันเหมือนอีฉีกวานดม หมายถึง คนที่รักกันมาก (สมพร เกตุทอง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.3.18 ยุ่งเหมือนข้าวยำ หมายถึง ใช้กับงานที่ยุ่ง งานเข้ามาเยอะจนทำไม่ทัน (สมพร เกตุทอง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.3.19 ผอมเหมือนไม้เสียบผี หมายถึง คนที่ผอมสูงมาก (สมพร เกตุทอง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.3.20 ขี้คร้านเหมือนเรือด หมายถึง คนที่ขี้เกียจ ไม่ค่อยทำอะไร เอาแต่กินและนอน (สมพร เกตุทอง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.3.21 กลัวหางหด หมายถึง กลัวมาก (สมพร เกตุทอง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.4 คำสาบาน
1.4.1 ถ้าขี้หกขอให้ฟ้าผ่า (วิเชียร พรมมืด ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.4.2 ถ้าไปลักจริงขอให้ตายโหง (วิเชียร พรมมืด ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.4.3 ถ้าทำจริงขออย่าให้อยู่เป็นสุข ทำไอไหรก็ไม่เจริญ (วิเชียร พรมมืด ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.4.4 ถ้าทำจริงขอให้รถชนให้แขนขาหัก พิการตลอดชีวิต (วิเชียร พรมมืด ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.5 คำอธิษฐาน
1.5.1 ขอให้ส่วนบุญส่วนกุศลที่ลูกทำ จงบันดาลให้ลูก ครอบครัว ญาติสนิท มิตรสหาย พบแต่ความสุขความเจริญด้วยเทอญ (ศิวลักษณ์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.5.2 ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ลูกนับถือช่วยปกปักรักษาคุ้มครองลูกหลานให้แคล้วคลาดจากภัยอันตรายด้วยเทอญ (ศิวลักษณ์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.5.3 ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก พระรัตนตรัย เจ้าที่ที่อาศัยอยู่ ณ ที่นี้ เทวดาประจำตัว จงช่วยให้ลูกหลานประสบแต่ความสุข ความสำเร็จในชีวิต มีสุขภาพอนามัยแข็งแรงด้วยเทอญ (ศิวลักษณ์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.5.4 ขอให้พบแต่ความสุขในชีวิต ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน สุขภาพแข็งแรง มีเงินทองใช้จ่ายไม่ขาดมือ (ศิวลักษณ์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.5.5 ขอให้สวยวันสวยคืน พบแต่ความสุขความเจริญ มีเงินทองไหลมาเทมา (ศิวลักษณ์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.7 คำอุทิศ
1.7.1 ส่วนบุญส่วนกุศลที่ลูกได้ทำขอให้ไปถึงปู่ย่าตายายที่ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงวิญญาณที่เร่ร่อน จงมารับส่วนบุญส่วนกุศลเหล่านี้เพื่อไปอยู่ในภพภูมิที่ดี (ศิวลักษณ์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.7.2 ผลบุญผลกุศลที่ลูกได้กระทำให้ไปถึงเจ้ากรรมนายเวร ที่เคยล่วงเกินทั้งชาติก่อนและชาตินี้ จงอโหสิกรรมให้ลูกด้วยเทอญ (ศิวลักษณ์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.10 ตำนาน
1.10.1 ตำนานบ้านเขากอบ ในสมัยก่อนมีชาวบ้านและท่านขุนกอบมาหาปลาทูน่าโดยมีเป็นจำนวนมากที่เขาแห่งหนึ่ง ซึ่งมีน้ำล้อมรอบภูเขา และมีถ้ำใต้ภูเขา ภายในถ้ำนั้นมีหินงอกหินย้อยที่งดงาม บนภูเขามีนกหงส์บินวนอยู่บนยอดของภูเขาร้อง กอบ ๆ ท่านขุนกอบจึงตั้งชื่อที่นี้ว่า “ถ้ำเลเขากอบ” ทำให้หมู่บ้านที่อยู่บริเวณโดยรอบมีชื่อว่า “บ้านเขากอบ” ปัจจุบันถ้ำเลเขากอบเป็นสถานที่ท่องเที่ยวโดยเป็นอันซีนไทยแลนด์ ซึ่งบริหารโดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขากอบ (ช่วง อินนุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.10.2 ตำนานเขาหัวแตก กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเจ้าฟ้าองค์หนึ่งชื่อว่า พญากอบ เป็นบุตรท้าวภุชงค์ราชานาคราช ผู้มีบุญญาธิการและมีความเชี่ยวชาญในทุก ๆ ด้านจนพญานาคทั้งเมืองบาดาลต้องสยบ เพราะอำนาจบารมีของพญากอบมีรูปร่างที่ใหญ่มาก กายยาวประมาณ 1 โยชน์ มีเกล็ดขาวดังไข่มุก นัยน์ตาสุกแดง ครั้นเมื่อท่านโตขึ้นก็ได้เดินทางท่องเที่ยวไปในสถานที่ ต่าง ๆ ตามประสาวัยรุ่น จนกระทั่งได้พบรักกับนางศรีขัน ทั้งสองจึงตกลงปลงใจอยู่ด้วยกัน ไม่นานนักนางศรีขันก็ตั้งครรภ์ พญากอบพยายามหาที่อยู่มีภูมิทัศน์งดงามและปลอดภัยให้กับนางศรีขันเพื่อรอคลอดบุตร และที่นั่นก็คือ “ถ้ำเลเขากอบ” ในปัจจุบัน โดยพญากอบได้ใช้อิทธิฤทธิ์ของตนเผาผลาญเจาะหินจนเป็นถ้ำที่มีน้ำไหลผ่าน ภายในถ้ำเต็มไปด้วยอัญมณีและมีสัตว์ต่าง ๆ อาศัยอยู่มากมายหลายชนิด รวมทั้งหินงอกหินย้อยงดงามเหมือนมีชีวิตเป็นรูปทรงต่าง ๆ สวยดังมรกตหยดน้ำและเมื่อพญากอบหาที่พักให้กับนางศรีขันได้เรียบร้อยแล้ว ทั้งสองก็สัญญาว่าจะรักกันตลอดไป แล้วเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น เมื่อยักษ์หูแกง บิดานางศรีขันได้ตามหาจนพบ ขณะทั้งสองกำลังพลอดรักกันอยู่ในถ้ำยักษ์หูแกงไม่พอใจมากคิดจะฆ่าพญากอบซึ่งเป็นลูกเขย โดยใช้ไฟพ่นใส่ โชคดีที่พญากอบหลบหลีกได้ทัน ทำให้ลูกไฟที่พ่นออกมาไปถูกภูเขาจึงเกิดเป็น “เขาหัวแตก” (ช่วง อินนุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.10.3 ตำนานผานางคอย เกิดจากที่พญากอบต้องการที่จะแก้แค้นยักษ์หูแกง แต่พอรู้ว่าเป็นพ่อตาของตัวเองก็หนีไปไม่กล้าทำร้าย โดยพญากอบจะซ่อนตัวทุกวิถีทาง เพื่อไม่ให้ยักษ์หูแกงตามหาใด หินพบ ไม่นานหลังจากนั้นนางศรีขันก็ได้คลอดบุตรออกมาจำนวนแปดหมื่นตัวซึ่งเป็นงู (ช่วง อินนุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.13 เนื้อเพลงเปล
1.13.1 เนื้อเพลงไก่เถื่อน (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙) 
ไก่เถื่อนเหอ ขันเทือนทั้งบ้าน 
ลูกสาวขี้คร้าน นอนให้แม่ปลุก 
ฉวยด้ามขวาน แยงวานดังพลุก 
นอนให้แม่ปลุก ลูกสาวขี้คร้านเหอ 
1.13.2 เนื้อเพลงไก่แจ้ (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
ไก่แจ้เหอ ว่ายน้ำซ่อแซ่ไปขอเมีย 
ขันหมากก็ลอยน้ำเสีย เอาไหรขอเมียละไก่แจ้ 
มาแวะเรือนน้อง ขอเงินขอทองสองสามแคร่
เอาไหรขอเมียละไก่แจ้ มาแวะเรือนน้องก่อนเหอ
1.13.3 เนื้อเพลงจันทร์เจ้า (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
จันทร์เจ้าเอ๋ย ขอข้าวขอแกง 
ขอแหวนทองแดง ผูกมือน้องข้า
ขอช้างขอม้า ให้น้องข้าขี่ ขอเก้าอี้ให้น้องข้านั่ง
ขอเตียงตั่งให้น้องข้านอน ขอละครให้น้องข้าดู
ขอยายชูเลี้ยงน้องข้าเถิด ขอยายเกิดเลี้ยงตัวข้าเอง
1.14 เนื้อเพลงตันโหย้ง
1.14.1 เนื้อเพลงตันโหย้งดอกเฟื่องฟ้า (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
ตันโหย้ง ตันโหย้ง โหย้งไหรละน้องโหย้งดอกเฟื่องฟ้า
น้องเป็นลูกหลานพระยารัษฎา เมืองตรังล้ำค่าของคนดี
น้องคนใจเด็ด มาอยู่ภูเก็ตแดนแห่งเศรษฐี
เมืองตรังล้ำค่าของคนดี ที่ตัวน้องนี้จากมาเรียน
1.16 เนื้อเพลงประกอบการละเล่น
1.16.1 เนื้อเพลงจุ้มจี้จุ้มบวช (สุดารัตน์ พรมมืด ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
จุ้มจี้จุ้มบวช พาลูกไปบวชถึงวัดถึงวา 
พอศึกออกมาตุ๊กตาพุงป่อง ทำท่าไหว้เข้ เข้ขบไข่ขาด 
ทำท่าไหว้ถาด ถาดหล่นใส่หัว ทำท่าไหว้ผัว ผัวฉัดพลัดได
1.16.2 เนื้อเพลงมอญซ่อนผ้า (สุดารัตน์ พรมมืด ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
อีมอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง 
ใครนั่งไม่ระวัง ฉันจะตีก้นเธอ
1.16.3 เนื้อเพลงรีรีข้าวสาร (สุดารัตน์ พรมมืด ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
รีรีข้าวสาร สองพระนางข้าวเปลือก
เลือกท้องใบลาน พานเอาคนข้างหลังไว้
1.16.4 เนื้อเพลงโพงพาง (สุดารัตน์ พรมมืด ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
โพงพางเอย ปลาเข้าลอด 
ปลาตาบอด เข้าลอดโพงพาง
1.16.5 เนื้อเพลงงูกินหาง (สุดารัตน์ พรมมืด ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
พ่องู : “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”
แม่งู : “กินน้ำบ่อโสกโยกไปโยกมา” พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู : “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”
แม่งู : “กินน้ำบ่อหินบินไปบินมา” พร้อมแสดงอาการบินไปบินมา
พ่องู : “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”
แม่งู : “กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา” พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู : “กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว”
1.18 บทตลกขำขัน
1.18.1 คุณคงอยู่ได้อีกไม่นาน (วัลภา ขาวนิ่ม ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
ณ คลินิกรักษาคนป่วย เวลา 2 ทุ่ม
คนป่วย : คุณหมอ อาการผมเป็นไงบ้างครับ
หมอ : เสียใจด้วย…หมอคิดว่า คุณคงจะอยู่ได้อีกไม่นาน
คนป่วย : ผมเป็นโรคร้ายแรงอะไรเหรอครับหมอ !!!
หมอ : คลินิกปิด 2 ทุ่มครึ่ง
1.18.2 ให้รู้มั่งผมเป็นใคร (วัลภา ขาวนิ่ม ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
ณ ร้านเหล้าแห่งหนึ่ง
เพื่อน : นี่ ๆ ลอยลิปสติกเต็มเสื้อเอ็งเลย ถ้าเมียเอ็งเอาเสื้อไปซัก ไม่โดนเมียตบเหรอเนี่ยะ ?
ผม : โถ่เอ้ยย !! ดูด้วย ว่าข้าเป็นใคร ?
เพื่อน : โฮ่…เอ็งเป็นคนไม่กลัวเมียเหรอ
ผม : เปล่า…ตูเป็นคนซักผ้า..
1.18.3 เงินกับสมอง (วัลภา ขาวนิ่ม ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
คุณครูถามนักเรียนในชั้นเรียน
ครู : นร. จะเลือกอะไร ระหว่างเงิน กับสมอง
นร. : หนูเลือกเงินค่ะ
ครู : แต่ถ้าเป็นครู ครูจะเลือกสมองนะ
นร. : ใช่ค่ะ….ทุกคนก็ต้องเลือกสิ่งที่ตัวเองไม่มี
1.21 บทสวดมนต์
1.21.1 บทสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย (สมพร เกตุทอง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ ฯ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ ฯ (กราบ)
1.21.2 บทสวดมนต์แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ (สมพร เกตุทอง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพะยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
1.23 ปริศนาคำทาย
1.23.1 ไอ้ไหรเห้อพระอินทร์หน้าเขียวตกลงมาเยี่ยวแตก เฉลย มะพร้าว (วรรณา จันทรังษี ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.23.2 ไอ้ไหรเห้อแปดตีนเดินมาหลังคามุงสังสี เฉลย ปู (วรรณา จันทรังษี ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.23.3 ไอ้ไหรเห้อ ไม่มีแค้ง ไม่มีขา เวลาไปมาใช้ปากเดิน เฉลย หอย (วรรณา จันทรังษี ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.23.4 ไอ้ไหรเห้อ เสตีนเกาะฝา อ้าปากกินคน เฉลย มุ้ง (วรรณา จันทรังษี ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.23.5 ไอ้ไหรเห้อ นกกดตาแดง น้ำแห้งก็ตาย เฉลย ตะเกียง (วรรณา จันทรังษี ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.23.6 ไอ้ไหรเห้อเด็กก็ไม่ใช่เด็ก เดินต๊อกแต๊กอยู่ข้างฝา เฉลย นาฬิกา (วรรณา จันทรังษี ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.23.7 ไอ้ไหรเห้อ ตำหวาหญ้า สูงหวาดิน เฉลย ภูเขา (วรรณา จันทรังษี ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.23.8 ไอ้ไหรเห้อยามน้อยนุ่งเตี่ยวเขียว เฒ่ามานุ่งเตี่ยวแดง เฉลย พริก (วรรณา จันทรังษี ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.23.9 ไอ้ไหรเห้อต้นเท่าครก ใบปรกดิน เฉลย ตะไคร้ (วรรณา จันทรังษี ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.23.10 ไอ้ไหรเห้อใบหยักหยัก ลูกลักเต็มคอ เฉลย มะละกอ (วรรณา จันทรังษี ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.26 ภาษิต
1.26.1 ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว หมายถึง ทำอะไรย่อมได้รับผลเช่นนั้น (ศิวลักษณ์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.26.2 กำกงกำเกวียน หมายถึง ทำอะไรกับใครไว้ ย่อมได้รับผลกรรมนั้น (ศิวลักษณ์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.26.3 ก่อร่างสร้างตัว หมายถึง ทำงานหาเงินเป็นกอบเป็นกำ (ศิวลักษณ์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.26.4 กำขี้ดีกว่ากำตด หมายถึง ได้มาบ้างดีกว่าไม่ได้อะไรเลย (ศิวลักษณ์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.26.5 กินน้ำใต้ศอก หมายถึง เมียน้อยต้องยอมรับของเหลือเดนจากเมียหลวงตกเป็นรองด้านศักดิ์ศรี (ศิวลักษณ์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.26.6 เกลือเป็นหนอน หมายถึง คนภายในกลุ่มของเรา คิดทรยศไปบอกความลับฝ่ายตรงข้าม (ศิวลักษณ์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.26.7 กินบนเรือนขี้บนหลังคา หมายถึง คนเนรคุณอาศัยบ้านเขาหรือเขาให้ความช่วยเหลือแต่กลับทำความบัดซบให้ (ศิวลักษณ์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.29 สำนวน
1.29.1 กินน้ำตาค้างคก หมายถึง เค้นเอาแต่สิ่งไม่ดี (วิเชียร พรมมืด ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.29.2 ตาเท่าไข่ห่าน หมายถึง อาการที่แสดงถึงความอยากได้มาก (วิเชียร พรมมืด ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.29.3 ใหญ่พร้าวเฒ่าลอกอ หมายถึง อายุมากเสียเปล่าไม่ได้มีลักษณะเป็นผู้ใหญ่ (วิเชียร พรมมืด ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.29.4 วัวใครเข้าคอกคนนั้น หมายถึง ใครทำกรรมดีชั่วย่อมได้รับกรรมตามที่ตนกระทำ (วิเชียร พรมมืด ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.29.5 กินข้าวไร่ นอนหลา ห่มผ้าผี หมายถึง คนจรจัด (วิเชียร พรมมืด ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
1.29.6 ตักบาตรอย่าถามพระ หมายถึง จะให้ของใครไม่ควรถามว่าจะเอาหรือเปล่า (วิเชียร พรมมืด ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2. อมุขปาฐะ
2.2 การแสดงท่าทางประกอบจังหวะ (วิเชียร พรมมืด ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.3 การละเล่นของเด็ก
2.3.1 หมากเก็บ (ดารารัตน์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.3.2 หมากฮอส (ดารารัตน์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.3.3 หมากขุมหรือหมากหลุม (ดารารัตน์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.3.4 ซ่อนแอบ (ดารารัตน์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.3.5 เป่ายิ้งฉุบ (ดารารัตน์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.3.6 ตี่ (ดารารัตน์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.3.7 น้อยออก (ดารารัตน์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.3.8 เตย (ดารารัตน์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.3.9 ขบลูกยาง (ดารารัตน์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.3.10 กระโดดยาง (ดารารัตน์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.3.11 เข้ไล่จับ (ดารารัตน์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.3.12 กระต่ายขาเดียว (ดารารัตน์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.3.13 ตุ่มโบ้ง (ดารารัตน์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.3.14 จุ้มจี้จุ้มบวช (ดารารัตน์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.3.15 บ้านทรายทอง (ดารารัตน์ บุญคง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.4 ขนบ (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.5 ความเชื่อ
2.5.1 ผีตากผ้าอ้อม เป็นคำเรียกของคนโบราณที่ใช้เรียกท้องฟ้าสีส้ม ในขณะที่กำลังจะตกดิน ไม่ว่าจะเป็นแสงโพล้เพล้ แสงพลบค่ำ หรือแสงสนธยา ซึ่งช่วงระยะเวลาของ ผีตากผ้าอ้อม อยู่ที่ประมาณ 16.00-18.00 น. สำหรับที่มาของชื่อนี้เกิดมาจากคนในสมัยก่อนที่เชื่อกันว่า ช่วงระยะเวลานี้จะเป็นช่วงที่เชื่อมต่อกันระหว่างโลกมนุษย์กับโลกที่สาม ภูติผี ปีศาจจะออกมาในช่วงนี้ ผีบางตนที่เป็นตายทั้งกลมหรือตายพร้อมลูก ก็จะพากันออกมาซักและตากผ้าอ้อมของลูก โดยมีความเชื่อว่าถ้าหากว่าเรานอนหลับในช่วงเวลานี้ จะรู้สึกเหมือนโดนผีอำ ฝันร้าย ตื่นมาก็มีอาการปวดหัวรุนแรง บางรายถึงขั้นเป็นไข้ไม่สบาย นั่นเพราะวิญญาณที่อยู่บริเวณนั้น ต้องการจะมีร่างกายเป็นของตัวเอง จึงพยายามที่จะเข้ามาสิงในร่างกาย จึงไม่นิยมให้นอนหลับในช่วงเวลานี้ (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.5.2 ห้ามไปงานศพเวลาเรากำลังเป็นแผล ความเชื่อนี้คนเฒ่าคนแก่ถือกันมาก เพราะว่างานศพเป็นงานอวมงคล เกี่ยวกับคนตาย วิญญาณ ดังนั้นหากใครเป็นแผลสดหรือแผลเปื่อย ไม่ควรไปร่วมงานศพ เพราะจะทำให้แผลเปื่อยมากขึ้น หรือเป็นแผลเรื้อรังรักษาไม่หาย วิธีแก้ไขคือ หากจำเป็นต้องไปงานศพก็ให้พกหนามต้นไม้ติดตัวไปด้วย เพื่อเป็นการแก้เคล็ด หนามที่ว่านั้น เช่น หนามมะกรูด หนามระกำ หนามเฟืองฟ้า เป็นต้น (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.5.3 ห้ามชวนใครกลับบ้านโดยไม่เอ่ยชื่อ สมัยก่อนมีแต่ป่า ภูติผีปีศาจแรง หลอกหลอนคนได้แม้กระทั่งกลางวัน และคนสมัยก่อนก็มักไปไหนมาไหนโดยการเดิน ผ่านป่าบ้าง ผ่านวัดบ้าง ผ่านป่าช้าบ้าง เวลาจะชวนใครไปบ้านระหว่างทางก็จะเอ่ยชื่อด้วย เพราะหากเผลอชวนแบบดื้อ ๆ ก็อาจจะมีสิทธิ์ได้คนที่ไม่รู้จักไปแทนแต่ไม่ใช่มนุษย์ วิธีแก้คือ ให้เอ่ยชื่อคนที่เราต้องการชวนทุกครั้ง ห้ามลืม อย่าเอ่ยปากชวนส่งเดช ยิ่งเวลากลางคืนจงพึงระวัง (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.5.4 เวลาเข้าป่าอย่าพูดถึงสิงสาราสัตว์ เวลากลางคืนไม่ควรพูดถึงเรื่องวิญญาณ ความเชื่อเรื่องนี้หลายคนคงทราบดีแล้ว และมันก็ควรเป็นเช่นนั้น เช่น เวลาเดินป่า เราไม่ควรพูดถึงสัตว์ที่น่ากลัว เช่น เสือ งู หากลงน้ำก็อย่าพูดถึงพราย หรือจระเข้ เป็นต้น เพราะมันจะมาให้เราเจอเลยทีเดียว เช่น เดียวกับเวลากลางคืนอย่าพูดถึงเรื่องผีหรือวิญญาณ ถามว่าทำไม คำตอบก็เหมือนกับพูดถึงสัตว์เวลาอยู่ในป่า (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.5.5 ห้ามนอนขวางทางเดิน คำว่าอย่านอนขวางทางนั้น หมายความว่า ตรงไหนที่เป็นทางสัญจรไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ เราไม่ควรไปนอนขวางทาง บางคนเป็นหลับง่ายต้องระวังให้ดี เช่น นอนขวางทางเข้าบ้าน เข้าร้าน เป็นต้น อาจจะต้องเจอกับอาการที่เรียกกันว่า “ผีอำ” คำนี้ไม่ได้แปลว่าโดนสิงสู่ แต่แปลว่าโดนเหยียบโดนทับ เนื่องจากวิญญานจะสัญจรผ่านทางดังกล่าว แล้วเราไปขวางทางเค้า เราก็จะต้องโดนดี โดนดีที่ว่าคือเราจะลุกไม่ขึ้น หูอื้อ รู้สึกตัวแต่ขยับตัวไม่ได้ ลืมตาไม่ขึ้น ทรมานจนกว่าเค้าจะพอใจแล้วเราถึงจะสามารถตื่นขึ้นได้ คนสมัยโบราณเวลาจะนอนในป่า จำเป็นต้องขอเจ้าที่เจ้าทาง เพราะเราคิดว่ามันเป็นที่ธรรมดาก็จริง แต่ย้อนไปในอดีตที่ที่เรากำลังนอนอยู่นั้น อาจจะเคยเป็นทางสัญจรของคนในสมัยก่อนก็เป็นได้ ดังนั้นเวลาต้องนอนผิดที่ผิดทาง จงขออนุญาตเจ้าที่เจ้าทางแล้วสวดมนต์ก่อนนอน บทไหนก็สวดไปเลยเพื่อความเป็นสิริมงคล บทสวดที่มาจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าย่อมศักดิ์สิทธิ์เหนือสิ่งใดอยู่แล้ว และเวลาจะนอนต้องดูให้ดีว่าไม่ไปขวางที่ขวางทางอะไร วิธีแก้หากโดนผีอำ 1. จงระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย (พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ) แล้วสวดมนต์บทที่เราท่องได้ สวดไปเรื่อย ๆ 2. อุทิศส่วนกุศลให้เค้าไป บทแผ่เมตตาอย่างง่าย 3. จงอย่าฝืน ต้องมีสติ ที่สำคัญอย่าพยายามลืมตา ถ้าไม่อยากเห็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ต้องมีสติและรอจนกว่าเค้าจะออกไปเอง (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.5.6 อย่าเล่นซ่อนแอบเวลากลางคืน ความเชื่อนี้เชื่อว่าเวลากลางคืน เป็นเวลาที่สิ่งลึกลับออกมาเผ่นพ่าน เวลาเราเล่นซ่อนแอบกัน บางทีเราอาจจะต้องเจอกับแขกที่ไม่ได้รับเชิญเข้ามาร่วมเล่นด้วย อีกประการคือกลางคืนมันมีตะขอตะขาบ งู สัตว์มีพิษทั้งหลาย หรือแม้แต่หนาม ตะปู กระเบื้อง เราไม่เห็นแล้วไปเหยียบเข้า อาจจะได้รับอันตรายได้ ความเชื่อนี้มีเหตุมีผลมาก และไม่ควรเล่นซ่อนแอบในงานศพ (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.5.7 อย่านอนหันหัวไปทางทิศตะวันตก ความเชื่อนี้เกิดจากคนเป็นควรจะนอนหันหัวไปทางทิศไหนก็ได้ แต่ไม่ใช่ทิศตะวันตก เพราะทิศตะวันตกนั้นเป็นทิศที่เค้าหันหัวศพคนตายไปหา ดังนั้นเรายังมีชีวิตอยู่ ก็อย่าไปนอนแบบคนตาย อีกนัยหนึ่งคือมันไม่เป็นสิริมงคลกับชีวิต (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.5.8 หลังจากกลับงานศพ ให้ล้างเท้าก่อนเข้าบ้าน ความเชื่อนี้เป็นการชำระสิ่งสกปรกที่ติดตัวมา อีกนัยหนึ่งคือชำระสิ่งไม่ดีที่ติดตัวมาด้วย เนื่องจากมันมากับตัวเรา เข้าสู่บริเวณบ้านของเราโดยเจ้าที่เจ้าทางในบ้านมิได้ขัดขวาง หากเราลืมล้างเท้า สิ่งเหล่าไม่ดีเหล่านั้นก็จะเข้าบ้านเราไปด้วย ยิ่งเวลาเรากลับจากงานศพยิ่งไม่ควรลืมเรื่องนี้เด็ดขาด ควรล้างเท้าให้เรียบร้อยก่อนจะเข้าบ้าน สิ่งไม่ดีจะได้ไม่เข้าไปหยอกล้อคนในบ้านเรา (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.5.9 ห้ามทำให้หน้าเปลี่ยนแปลงก่อนเข้านอนหรือเมื่อคนอื่นกำลังหลับไม่ควรไปแกล้งวาดหน้า ตามความเชื่อคนโบราณเขาห้าม เพราะเวลานอน หรือกำลังฝัน เชื่อว่าวิญญาณของเราออกจากร่างกายไปจริง ๆ ฉะนั้นอาจจะทำให้วิญญาณเข้าร่างไม่ถูก (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.5.10 อย่าเอาของอันตรายมาหยอกล้อ หรือคิดฆ่าตัวตาย ความเชื่อนี้เชื่อว่าเวลาเราหยอกล้อกัน เช่น จะเอาพร้า เอามีด ฟันคนอื่น หรือเล็งปืนไปหาใคร โดยหมายหยอกเล่นนั้น เป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง เนื่องจากเราอาจจะพลาดพลั้งไปได้ ทำให้เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น อีกนัยหนึ่งคือ เปิดโอกาสให้สิ่งลี้ลับผลักไม้ผลักมือเอาได้ เหมือนที่เค้าว่า “ผีผลัก” นั่นเอง ดังนั้นอย่าทำแบบนี้เด็ดขาด อีกประการสำหรับคนคิดฆ่าตัวตาย ไม่ว่าวิธีการใด เช่น โดดน้ำตาย ผูกคอตาย ยิงตัวตาย ฯลฯ เหล่านี้จะถูกชักนำจากภูตผีให้ทำด้วยส่วนหนึ่ง เพราะเวลาเราคิดจะฆ่าตัวตายหรือทำอะไรที่เสี่ยงตาย รูม่านตาเราจะเปิดกว้าง ผนวกกับอารมณ์ความเศร้าเสียใจและอารมณ์อื่น ๆ ผสมเข้ากัน ทำให้เราจิตตกเห็นภาพต่าง ๆ นานา เป็นการชักชวนให้คนเป็นให้ฆ่าตัวตายด้วย (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙) 
2.6 เครื่องมือประกอบอาชีพ
2.6.1 ไซ (สมพร เกตุทอง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.6.2 แห (สมพร เกตุทอง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.6.3 เบ็ดตกปลา (สมพร เกตุทอง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.6.4 จอบ (สมพร เกตุทอง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.6.5 พร้า (สมพร เกตุทอง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.6.6 มีดตัดยาง (สมพร เกตุทอง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.6.7 ตะเกียง (สมพร เกตุทอง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.6.8 ขวาน (สมพร เกตุทอง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.6.9 เครื่องตัดหญ้า (สมพร เกตุทอง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.8 ธรรมเนียม (สมพร เกตุทอง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.10 ประเพณี
2.10.1 ลอยกระทง (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.10.2 ชักพระหรือลากพระ (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกา

กายน ๒๕๕๙)
2.10.3 เวียนเทียน (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.10.4 สารทเดือนสิบ (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.10.5 สงกรานต์ (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.10.6 ปีใหม่ (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.10.7 รับขวัญหลาน (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.10.8 ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.10.9 แต่งงาน (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.10.10 ตรุษจีน (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.10.11 บวชนาค (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.10.12 กินเจ (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.10.13 แห่เทียนพรรษา (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.10.14 ฝังลูกนิมิต (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.10.15 ไหว้ภูมิ (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.15 ยารักษาโรค
2.15.1 ใบสาบเสื้อ นำมาตำให้ละเอียดแล้วใส่น้ำนิดหน่อย นำมาโปะที่แผลช่วยห้ามเลือดได้ (เปรียม ไทยมิตรชอบ ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.15.2 หุ้มตีนหมี นำมาโปะที่แผลช่วยสมานแผลสดได้ (นางเปรียม ไทยมิตรชอบ ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.15.3 ว่านหางจระเข้ นำมาทาแผลที่โดนน้ำร้อนลวกช่วยทำให้ไม่เป็นแผลเป็น (เปรียม ไทยมิตรชอบ ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

 ศาสนพิธี (ปลอบ ไทยมิตรชอบ ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

2.20 อาหาร
2.20.1 แกงเลียงผักหม ส่วนผสม ผักหม เนื้อปลาย่าง เกลือ น้ำเปล่า กะปิ มะละกอ (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

2.20.2 แกงพุงปลา ส่วนผสม หัวมัน เนื้อปลาย่าง มะเขือ พุงปลา (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.20.3 แกงคั่วหมู ส่วนผสม เครื่องแกงคั่ว เนื้อหมู (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.20.4 แกงจืดหมูสับ ส่วนผสม หมูสับ ผักกาดขาว วุ้นเส้น แครอท เห็ดนางฟ้า กระเทียม เกลือ น้ำเปล่า เห็ดหูลิง (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.20.5 ปลาทูทอด ส่วนผสม ปลาทู น้ำมัน เกลือ (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.20.6 น้ำชุบ ส่วนผสม พริก กะปิ มะนาว หัวหอม กระเทียม (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.20.7 แกงส้มกุ้งอ้อดิบ ส่วนผสม เครื่องแกงส้ม อ้อดิบ กุ้ง (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.20.8 ผัดยอดเรียนแก่ ส่วนผสม น้ำมัน กระเทียม ยอดเรียนแก่ น้ำมันหอย รสดี เกลือ น้ำปลา (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.20.9 ผัดผักบุ้ง ส่วนผสม น้ำมัน กระเทียม ผักบุ้ง น้ำปลา เกลือ (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.20.10 หมูทอด ส่วนผสม เนื้อหมู น้ำมันหอย เกลือ พริกไทย น้ำปลา (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.20.11 ห่อหมก ส่วนผสม เนื้อปลา ใบพลู เครื่องแกงทิ (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.20.12 แกงทิลูกเหรียง ส่วนผสม เนื้อหมู เครื่องแกงทิ ลูกเหรียง (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.20.13 ไข่เจียวยอดอม ส่วนผสม ไข่ไก่ ยอดอม น้ำปลา (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.20.14 ลวกทิยอดอม ส่วนผสม น้ำทิ ยอดอม เกลือ กะปิ (ภาวดี ปลอดปล้อง ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.21 เครื่องดื่ม
2.21.1 น้ำใบบัวบก ส่วนผสม ใบบัวบก น้ำเปล่า น้ำตาล น้ำแข็ง (ปลอบ ไทยมิตรชอบ ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.21.2 น้ำแมงลัก ส่วนผสม เม็ดแมงลัก น้ำเปล่า น้ำเฮลูบอยสีแดง น้ำแข็ง (ปลอบ ไทยมิตรชอบ ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.21.3 น้ำพร้าว ส่วนผสม มะพร้าวน้ำหอม น้ำตาล น้ำแข็ง (ปลอบ ไทยมิตรชอบ ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.21.4 น้ำใบเตย ส่วนผสม ใบเตย น้ำเปล่า น้ำตาล น้ำแข็ง (ปลอบ ไทยมิตรชอบ ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.21.5 น้ำวุ้นดำ ส่วนผสม วุ้นดำ น้ำเปล่า น้ำตาล น้ำแข็ง (ปลอบ ไทยมิตรชอบ ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.21.6 น้ำกระเจี๊ยบ ส่วนผสม กระเจี๊ยบ น้ำตาล น้ำเปล่า น้ำแข็ง (ปลอบ ไทยมิตรชอบ ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.21.7 น้ำอัญชัน ส่วนผสม ดอกอัญชัน น้ำตาล น้ำเปล่า น้ำมะนาว น้ำแข็ง (ปลอบ ไทยมิตรชอบ ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
2.21.8 น้ำมะนาว ส่วนผสม น้ำมะนาว น้ำตาล น้ำเปล่า น้ำแข็ง (ปลอบ ไทยมิตรชอบ ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
3. ผสมมีทั้งมุขปาฐะและอมุขปาฐะ
3.1 กลองยาว (อุมาพร มหาสุข ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
3.2 การแสดงท่าทางประกอบคำร้อง (อุมาพร มหาสุข ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
3.5 โนรา (อุมาพร มหาสุข ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
3.11 หนังตะลุง (อุมาพร มหาสุข ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

นามานุกรม

ขวัญจิรา อินนุรักษ์ เกิดเมื่อวันจันทร์ ที่ 26 มีนาคม 2540 อายุ 19 ปี เพศหญิง ที่อยู่ 77/2 หมู่ที่ 10 ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 92130 เบอร์โทรศัพท์ 0917842238 ให้ข้อมูลนางสาวอาภาภรณ์ ปลอดปล้อง เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
ช่วง อินนุรักษ์ เกิดเมื่อวันจันทร์ ที่ 10 กันยายน 2508 อายุ 52 ปี เพศหญิง ที่อยู่ 77/2 หมู่ที่ 10 ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 92130 เบอร์โทรศัพท์ 0856702125 ให้ข้อมูลนางสาวอาภาภรณ์ ปลอดปล้อง เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
ดารารัตน์ บุญคง เกิดเมื่อวันอังคาร ที่ 20 พฤษภาคม 2544 อายุ 15 ปี เพศหญิง ที่อยู่ 45/1 หมู่ที่ 10 ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 92130 เบอร์โทรศัพท์ 0622367692 ให้ข้อมูลนางสาวอาภาภรณ์ ปลอดปล้อง เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
ปลอบ ไทยมิตรชอบ เกิดเมื่อวันจันทร์ ที่ 16 ตุลาคม 2504 อายุ 48 ปี เพศหญิง ที่อยู่ 52/4 หมู่ที่ 10 ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 92130 เบอร์โทรศัพท์ 0965905842 ให้ข้อมูลนางสาวอาภาภรณ์ ปลอดปล้อง เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
ปัญญาพร ดวงสี เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 18 มกราคม 2540 อายุ 19 ปี เพศหญิง ที่อยู่ 34/1 หมู่ที่ 10 ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 92130 เบอร์โทรศัพท์ 0611900276 ให้ข้อมูลนางสาวอาภาภรณ์ ปลอดปล้อง เมื่อ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
เปรียม ไทยมิตรชอบ เกิดเมื่อวันศุกร์ ที่ 7 กันยายน 2508 อายุ 52 ปี เพศหญิง ที่อยู่ 52/4 หมู่ที่ 10 ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 92130 เบอร์โทรศัพท์ 0958752510 ให้ข้อมูลนางสาวอาภาภรณ์ ปลอดปล้อง เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
ภาวดี ปลอดปล้อง เกิดเมื่อวันอังคาร ที่ 14 มีนาคม 2508 อายุ 52 ปี เพศหญิง ที่อยู่ 90/2 หมู่ที่ 10 ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 92130 เบอร์โทรศัพท์ 09376442340 ให้ข้อมูลนางสาวอาภาภรณ์ ปลอดปล้อง เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
วรรณา จันทรังษี เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 3 เมษายน 2506 อายุ 50 ปี เพศหญิง ที่อยู่ 44/1 หมู่ที่ 10 ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 92130 เบอร์โทรศัพท์ 0936545940 ให้ข้อมูลนางสาวอาภาภรณ์ ปลอดปล้อง เมื่อ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
วัลภา ขาวนิ่ม เกิดเมื่อวันพุธ ที่ 12 สิงหาคม 2539 อายุ 20 ปี เพศหญิง ที่อยู่ 50/2 หมู่ที่ 10 ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 92130 เบอร์โทรศัพท์ 0884515725 ให้ข้อมูลนางสาวอาภาภรณ์ ปลอดปล้อง เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
วิเชียร พรมมืด เกิดเมื่อวันศุกร์ ที่ 14 มกราคม 2508 อายุ 52 ปี เพศชาย ที่อยู่ 102 หมู่ที่ 10 ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 92130 เบอร์โทรศัพท์ 0894894239 ให้ข้อมูลนางสาวอาภาภรณ์ ปลอดปล้อง เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

ศิวลักษณ์ บุญคง เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 16 กรกฎาคม 2508 อายุ 52 ปี เพศหญิง ที่อยู่ 45/1 หมู่ที่ 10 ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 92130 เบอร์โทรศัพท์ 0956822336 ให้ข้อมูลนางสาวอาภาภรณ์ ปลอดปล้อง เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

สมพร เกตุทอง เกิดเมื่อวันจันทร์ ที่ 21 พฤศจิกายน 2506 อายุ 54 ปี เพศชาย ที่อยู่ 120 หมู่ที่ 10 ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 92130 เบอร์โทรศัพท์ 0622036086 ให้ข้อมูลนางสาวอาภาภรณ์ ปลอดปล้อง เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

สุดารัตน์ พรมมืด เกิดเมื่อวันอังคาร ที่ 22 ธันวาคม 2540 อายุ 19 ปี เพศหญิง ที่อยู่ 102 หมู่ที่ 10 ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 92130 เบอร์โทรศัพท์ 0884457473 ให้ข้อมูลนางสาวอาภาภรณ์ ปลอดปล้อง เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
อุมาพร มหาสุข เกิดเมื่อวันศุกร์ ที่ 18 ธันวาคม 2505 อายุ 49 ปี เพศหญิง ที่อยู่ 80/3 หมู่ที่ 10 ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 92130 เบอร์โทรศัพท์ 0901446670 ให้ข้อมูลนางสาวอาภาภรณ์ ปลอดปล้อง เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

คติชน :คติชนวิทยา