พรฤมล เกตุรักษ์:คติบ้านนบปริง
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พฤหัสบดี, 08 ธันวาคม 2016

 

คติชนหมู่บ้านนบปริง อำเภอเมือง จังหวัดพังงา
1. มุขปาฐะ
1.2 คำทุภาษา
1.2.1คำด่า
1.2.1.1 ไอ้สัตว์(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 21 พฤศจิกายน)
1.2.1.2 อีนรก(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 21พฤศจิกายน)
1.2.1.3 ไอ้หมาเย็ดแม่(พัชราพร เกตุรักษ์ให้ข้อมูลเมื่อ 21พฤศจิกายน)
1.2.1.4 อีเปรต(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 21พฤศจิกายน)
1.2.1.5 อีเวร(เพียร วรรณะ ให้ข้อมูลเมื่อ 21พฤศจิกายน)
1.2.1.6 อีชิงหมาเกิด(ศิริวรรณ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 21พฤศจิกายน)
1.2.1.7 อีชาติหมา(มนตรี เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 21พฤศจิกายน)
1.2.1.8 อีหน้าหี(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 21พฤศจิกายน)
1.2.1.9 ไอ้หัวดอ(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 21พฤศจิกายน)
1.2.1.10 อีอุบาท(ศิริวรรณ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 21พฤศจิกายน)

 

1.2.2 คำแช่ง
1.2.2.1 ไปเปลวต๊ะไอ้สัตว์(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 22 พฤศจิกายน)
1.2.2.2 ไปให้รถชนตายต๊ะไอ้เย็ดแม่(ศิริวรรณ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 22 พฤศจิกายน)
1.2.2.3 ขอให้ตายโหง (ศิริวรรณ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 22 พฤศจิกายน)
1.2.2.4 ขอให้ฉิบหายกันทั้งตระกูล(มนตรี เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 22 พฤศจิกายน)
1.2.2.5 ขออย่าให้เจริญ(ลาไล วรรณะให้ข้อมูลเมื่อ 22 พฤศจิกายน)
1.2.2.6 ขออย่าให้ได้พุดได้เกิด (มนตรี เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 22 พฤศจิกายน)

1.3 คำพังเพย
1.3.1 ทำบุญร่วมชาติ ตักบาตรร่วมขัน (ช่วง เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 23 พฤศจิกายน)
1.3.2 เก็บเล็กผสมน้อย(มนตรี เกตุรักษ์ให้ข้อมูลเมื่อ 23 พฤศจิกายน)
1.3.3 กงเกวียนกำเกวียน(ศิริวรรณ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 23 พฤศจิกายน)
1.3.4 แกะดำ(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 23 พฤศจิกายน)
1.3.5 คางคกขึ้นวอ (มนตรี เกตุรักษ์ให้ข้อมูลเมื่อ 23พฤศจิกายน)
1.3.6 กินปูนร้อนท้อง(มนตรี เกตุรักษ์ให้ข้อมูลเมื่อ 23 พฤศจิกายน)
1.3.7 กระต่ายตื่นตูม(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 23พฤศจิกายน)
1.3.8กาฝาก (พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 23พฤศจิกายน)
1.3.9 ก่อร้างสร้างตัว(ศิริวรรณ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 23พฤศจิกายน)
1.3.10 ดินพอกหางหมู(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 23พฤศจิกายน)
1.3.11 กำปั้นทุบดิน(มนตรี เกตุรักษ์ให้ข้อมูลเมื่อ 23พฤศจิกายน)
1.3.12 กิ่งกาได้ทอง(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 23พฤศจิกายน)
1.3.14 กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง(มนตรี เกตุรักษ์ให้ข้อมูลเมื่อ 23 พฤศจิกายน)
1.3.15กินบนเรือนขี้รดบนหลังคา(มนตรี เกตุรักษ์ให้ข้อมูลเมื่อ 23พฤศจิกายน)
1.4 คำสาบาน 
1.4.1 ขอให้ฟ้าดินเป็นพยาน(ไพศาล บู่ทอง ให้ข้อมูลเมื่อ 24พฤศจิกายน)
1.4.2 หากผิดคำสัญญาขอให้มีอันเป็นไป(ไพศาล บู่ทอง ให้ข้อมูลเมื่อ 24พฤศจิกายน)

1.5 คำอธิษฐาน 
1.5.1 ขอให้พบเจอแต่สิ่งดี ๆ ด้วยเถิด (ศิริวรรณ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 25 พฤศจิกายน)
1.5.2 งวดหน้าขอให้ถูกเบอร์ทีเถิด(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 25พฤศจิกายน)
1.5.3 ขอให้พอเจอแต่คนดี ๆ ที่เข้ามาในชีวิต (พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 25พฤศจิกายน)

1.6 คำอวยพร 
1.6.1 ขอให้ชีวิตลูกมีแต่สิ่งดี ๆ เข้ามา สิ่งไม่ดีก็ขอให้ออกไป(เพียร วรรณะ ให้ข้อมูลเมื่อ 26พฤศจิกายน)
1.6.2 ขอให้มีการงานดี ๆ ทำ (จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 26พฤศจิกายน)
1.6.3 ขอให้ทุกคนในครอบครัวมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง(ไพศาล บู่ทอง ให้ข้อมูลเมื่อ 26พฤศจิกายน)
1.6.4 ขอให้มั่งมีศรีสุข ทำมาค้าขายร่ำรวย(มนตรี เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 26พฤศจิกายน)

1.7 คำอุทิศ
1.7.1 ขอให้ส่วนบุญส่วนกุศลที่ลูกได้ทำมาในวันนี้ ช่วยส่งให้ถึงเจ้ากรรมนายเวรและบรรพบุรุษทั้งหลายของลูกด้วยเถิดขอให้เจ้ากรรมนายเวรของลูกมารับส่วนบุญส่วนกุศลนี้ด้วยเทอญ (มนตรี เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 26พฤศจิกายน)
1.10 ตำนาน
1.10.1 เขาตาปูเป็นชื่อเกาะเล็กๆ ในอ่าวพังงา เป็นเขาหินปูนที่มีลักษณะพิเศษ คือ มีฐานเล็กแต่ตัวภูเขามีขนาดใหญ่จนทำให้หลายคนแปลกใจว่ายืนอยู่ได้อย่างไร มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีชายหาปลาคนหนึ่งออกไปทอดแห่หาปลา ทอดอยู่นานยังไม่ได้ปลาสักตัวเดียว ครั้งสุดท้ายทอดลงไปติดตาปูมาตัวหนึ่งแกหยิบขึ้นมาแล้วเหวี่ยงทิ้งลงในน้ำแล้วเดินไปทอดแหในที่อื่น ๆ ต่อไป แต่ทอดแหลงไปกี่ครั้งๆ ก็ขึ้นมาแต่ตาปูตัวเดิมอีก แกโมโหมาก ใช้มีดฟันตาปูตัวนั้นอย่างแรง ตาปูขาดกระเด็นไปปักที่กลางทะเล กลายเป็นเขาตาปูมาถึงทุกวันนี้(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 26พฤศจิกายน)
1.10.2 ตำนานถ้ำน้ำผุด นานมาแล้วมีพระธุดงค์รูปหนึ่ง ได้เดินทางมาถึงตำบลถ้ำน้ำผุด เห็นมีป่าเขาเป็นที่ร่มรื่น และเงียบสงบ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม จึงปักกรดจำศีลภาวนาอยู่ ณ ที่นั้น ในขณะที่นั่งวิปัสสนาอยู่นั้นได้ยินเสียงดัง จนแผ่นดินสั่นสะเทือน เป็นเสียงที่ดังจากโพรงหินในป่า ภูเขา พร้อมกับน้ำไหลออกมามากมาย แต่พระภิกษุรูปนั้น ยังคงนั่งบำเพ็ญเพียรต่อไป จนถึงกลางดึกสงัด มีร่างของชายแก่คนหนึ่งนุ่งขาวห่มขาวถือไม้เท้า มีผมยาว หนวดเครายาว เดินออกมาจากถ้ำ ตรงมาหาพระภิกษุนั้นแล้วบอกพระภิกษุว่าอย่ามาบำเพ็ญเพียรที่นี้เลย ด้วยจะหาความสงบไม่ได้ เพราะต่อจากนี้ไป ณ ที่นี้ จะเกิดสิ่งมหัศจรรย์ คือ จะมีเสียงดังจากใต้ดิน แล้วมีน้ำผุดออกมาเป็นระยะ ๆ ขอให้ไปหาที่ที่สงบกว่านี้ พระภิกษุนั้นรับคำ ชายชรานั้น ขอร้องให้พระภิกษุช่วยบอกชาวบ้านในละแวกนั้น ให้ช่วยกันสร้างศาลเจ้าขึ้นบูชา แล้วร่างนั้นก็หายไป ต่อมาพระภิกษุได้ เล่าเรื่องนั้นให้ชาวบ้านฟัง ชาวบ้านบางคนก็เคยเห็นชายชราตรงกับที่พระภิกษุเล่าให้ฟัง เดินหายไปทางถ้ำนั้นอยู่บ่อย ๆ จึงพากันเชื่อถือ แล้วได้ช่วยกันสร้างศาลเจ้าขึ้น บนเนินเขาเพื่อบูชา ในปัจจุบันผุพังไปหมดแล้ว แต่ได้มีผู้มีจิตศรัทธาสร้างขึ้นมาใหม่ คลุมบริเวณที่มีน้ำผุด ชาวบ้านเรียกว่า "ศาลเจ้าบุญเท่าก้อง" และมีพิธีไหว้เจ้ากันในเดือน ๓ ของทุกปี ปัจจุบันถ้ำน้ำผุด เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดพังงา มีลักษณะแปลกกว่าที่อื่นตรงที่ น้ำจะผุดออกมาไม่เป็นเวลา วันละ ๑ - ๓ ครั้ง ก่อนที่น้ำจะผุดมีเสียงดังสะเทือน ชาวพังงาเชื่อว่าผู้ที่เห็นน้ำผุดเท่านั้นจะมีบุญ ถ้าใครไม่มีบุญน้ำจะไม่ผุดให้เห็น(มนตรี เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 26 พฤศจิกายน) 
1.10.2 ตำนานเขานางหงส์ กาลครั้งหนึ่ง มีชายสองคนชื่อนายเต่าและนายเฒ่า ทั้ง ๒ คน เป็นเพื่อนรักใคร่ชอบพอกันมาแต่มีอายุต่างกันคือ นายเต่ามีอายุมากกว่านายเฒ่าหลายปี นายเต่ามีลูกสาวสวย ชื่อว่า "นางหงส์" นายเฒ่าเป็นคนรูปหล่อและนิสัยดีไม่ได้เฒ่าแก่ตามชื่อนายเต่าเห็นว่าเป็นคนมีหลักฐานมั่นคง จึงตัดสินใจยกลูกสาวให้ เพราะลูกสาวจะได้เป็นฝั่งเป็นฝา พอถึงวันฤกษ์ดีนายเฒ่าก็ยกขบวนขันหมากมายังบ้านนายเต่า ทางบ้านนายเต่าก็เตรียมจัดทำสำรับกับข้าวอาหารคาวหวานต่างๆ เพื่อเลี้ยงแขกที่จะมาในงาน เมื่อนางหงส์ได้ยินว่านายเฒ่าจะมาสู่ขอตัวเอง นางก็คิดว่า นายเฒ่าคงเป็นคนแก่เฒ่าไม่เจียมตัว นางทั้งโกรธทั้งอายและเสียใจ จึงวิ่งเข้าห้องปิดประตูแล้วร้องด่านายเฒ่าต่างๆ นานา ประกาศว่านางจะไม่ยอมแต่งงานกับนายเฒ่าเด็ดขาด นายเฒ่าโกรธจัดจึงเหวี่ยงขันหมากทิ้ง จนกลายเป็นเขาขันหมาก นายเต่าโมโหลูกสาว จึงเตะกะทะคว่ำลงไป กลายเป็นเขากะทะคว่ำ ในปัจจุบัน
หลายวันต่อมา นางหงส์ไปเที่ยวในงานแห่งหนึ่ง นางแอบเห็นนายเฒ่าเข้าจึงตกตะลึงเพราะนายเฒ่ายังเป็นหนุ่มรูปหล่อ ไม่แก่เหมือนชื่อ นางเสียใจจึงกลับมาจัดข้าวตอกดอกไม้เดินทางไปขอขมาต่อนายเฒ่า พอพบหน้านายเฒ่านางก็ตรงไปกราบขอขมาและขอคืนดีแล้วบอกว่ายินดีจะแต่งงานด้วย ฝ่ายนายเฒ่ายังไม่หายโกรธพอเห็นหน้านางหงส์มาขอขมาจึงตวาดและขว้างปาข้าวตอกดอกไม้ไปต่อหน้า นางหงส์รู้สึกอับอายอย่างมาก จึงวิ่งกลับบ้านวิ่งพลางร้องไห้ไปพลาง จนเหนื่อย แค้นแสนแค้น นางกระเสือกกระสนล้มตายอยู่กลางป่านอนตะแคงกลายเป็น เขานางหงส์ ซึ่งปัจจุบันเป็นเทือกเขาที่สูงชันและสลับซับซ้อนมาก กั้นระหว่างเขตอำเภอเมืองพังงากับอำเภอทัปปุดจนตราบเท่าทุกวันนี้(มนตรี เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 26 พฤศจิกายน)
1.12 นิทาน 
1.12.1เดิมมีพี่น้อง ๒ คน พี่ชื่อยมดึงเป็นชาย น้องชื่อยมโดย เป็นหญิง ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ประจวบคีรีขันธ์ ต่อมานางยมโดยเสียชีวิต ตายมเศร้าโศกมากจึงละทิ้งถิ่นเดิมไปตามยถากรรมจนมาถึงปลายคลองแสง ในเขตอำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฏร์ธานี และอาศัยอยู่กับตาโจงโดงในละแวกบ้านไกรสร ซึ่งมีอาชีพหาน้ำมันชันจากต้นยาง เนื่องจากตายมดึงเป็นคนขยันจนตาโจงโดงพอใจมาก ถึงกับยกนางทองตึงให้แก่ตายมดึงครั้นอยู่มาวันหนึ่ง มีโขลงช้างป่าเข้ามาทำลายไร่ข้าวและผักผลไม้ของตายมดึง ไล่ไปแล้วก็กลับมากินอีกเป็นหลายคราวจนนายยมดึงโกรธแค้น จะฆ่าช้างทั้งโขลงนั้นให้ได้ยังมีตางุ้ม เป็นชาวบ้านพุมเรียง อำเภอไชยา มีอาชีพค้าขายเดินทางไปต่างเมืองอยู่เสมอ ตางุ้มมีช้างอยู่ ๒ เชือก เป็นช้างพังและช้างพลายเพื่อเป็นพาหนะในการบรรทุกสินค้า คราวนั้นตางุ้มเดินทางจากไชยาไปค้าขายถึงเขาพนมและจะต่อไปยังตะกั่วป่า ขณะตางุ้มพักช้างอยู่นั้น โขลงช้างที่ตายมดึงไล่วิ่งผ่านมา ช้างพลายของตางุ้มเห็นช้างพังงามเข้าก็กระชากปลอกขาดออกวิ่งติดตามนางช้างพังป่านั้นไป ได้อาละวาดต่อสู่กับช้างพลายป่าจนฝูงช้างแตกกระจัดกระจายหนีไปคนละทิศละทางจนเป็นเหตุให้ตายมดึงสำคัญผิดติดตามล่าช้างของตางุ้มเชือกหนึ่งด้วย
ตายมดึงสะกดรอยล่าช้างกับหมาตัวหนึ่ง ตามมาจนถึงคลองสก ซึ่งน้ำเชี่ยวมาก ช้างพังเชือกหนึ่งกำลังท้องแก่ตกใจวิ่งหนี จนพลาดตกลงไปในคลองนั้นแรงกระแทกทำให้ตกลูกออกมา ลูกช้างตัวนั้นกลายเป็นหินอยู่กลางคลองสก จึงเรียกว่า "หินลูกช้าง" มาจนบัดนั้น ตายมดึงยังคงติดตามรอยช้างต่อไป โดยลากหอกตามไป เรื่อย ๆ ทางที่ลากหอกไปนั้น ทำให้ดินและหินแยกเป็นทางน้ำอยู่ในเขตอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เรียกหมู่บ้านแถบนั้นว่า "บางลากหอก" หรือบางตาม จนมาถึงทุกวันนี้ตายมดึงตามช้างไปจนถึงช่องเขาในป่าลึก ในตำบลคลองสก ณ ที่ นั้นมีม้าตัวหนึ่งเหลียวมาดูตายมดึง เขาช่องนั้น จึงได้ชื่อว่า "ช่องม้าเหลียว" ครั้นไล่ต่อไปจนเกือบจะทันตายมดึงได้เอาดินปืนใส่กระบอกปืนจ้องยิง แต่กระสุนพลาดไปจึงเรียกสถานที่ที่กระสุนตก ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ บ้านบางหมานว่า "ช่องลูกปลาย" และด้วยความโกรธที่ยิงช้างไม่ถูกตายมดึง จึงโยนปืนทิ้ง ปืนไปตกบนภูเขาตรงหน้าวัดสองพี่น้อง ตำบลคลองสก จึงเรียนภูเขานั้นว่า "เขาโยน"ตายมดึงเหนื่อยมาก จึงปล่อยให้หมาที่ตามมาด้วยไล่ช้างไปก่อน หมาไล่ไปพบแลน (เหี้ย) แลนวิ่งหนีลงรู ซึ่งอยู่บนเขาตรงหน้าถ้ำวราราม แต่แลนถูกหมาตะครุบได้ตรงส่วนหาง หางแลนจึงหลุดคารูนั้นอยู่ จึงเรียกสถานที่นั้นว่า "แลนคารู" ครั้นแลนหลุดไปได้หมาได้แต่แหงนดู จึงเรียกที่บริเวณนั้นว่า "ย่านหมาแหงน" ฝ่ายตายมดึงได้ใช้พร้าขว้างแลนพลาดไปถูกภูเขา พร้าหัก จึงเรียกสถานที่นั้นว่า "เขาพร้าหัก" ครั้นไล่ต่อไปอีกเกิดฝนตกหนักจำเป็นต้องเอาดินปืนทิ้งไว้ในถ้ำ จึงเรียกถ้ำนั้นว่า "ถ้ำดินปืน"ช้างพลายของตางุ้มถูกตายมดึงตามล่าไม่ลดละต้องเตลิดหนีไปจนถึงแดนเมืองตะกั่วป่า ไปหยุดนอน ณ ป่าแห่งหนึ่งในเขตอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา จึงได้ชื่อว่า "บ้านช้างนอน" พอตายมดึงตามมาเกือบทันช้างก็หนีต่อไปจนผ่านช่องเขาซึ่งอยู่ระหว่างอำเภอท้ายเหมืองกับอำเภอตะกั่วทุ่ง ตายมดึงเห็นแผ่นหินใหญ่วางอยู่จึงยืนลับหอกกับแผ่นหินนั้น ที่นั่นจึงได้ชื่อว่า "เขาหินลับ" สืบมาจนถึงทุกวันนี้ตายมดึงตามล่าจนเข้าเขตเมืองพังงา ก็เป็นที่ป่ารกและฝนตกหนัก จึงปืนขึ้นไปบนภูเขาลูกหนึ่ง แล้วชะโงกดูช้างเชือกนั้น ปัจจุบันบริเวณนั้นจึงเรียกว่า "ทุ่งคาโง่ก" พอตายมดึงเห็นช้างก็รีบลงมาใช้หอกแทงช้างนั้นทันที หอกปักเข้าที่ขาข้างหนึ่ง ทำให้ขาช้างเป็นแผลใหญ่ และพิการเดินไม่ถนัด เรียกบริเวณที่ช้างถูกแทงขานั้นว่า "บ้านแผล" (อยู่ในเขตอำเภอเมืองพังงา) ช้างยังกระเสือกกระสนหนีต่อไปจนหมดแรงก็หมอบนอนอยู่กลางแดด ปัจจุบันเรียกบริเวณนั้นว่า "บ้านตากแดด" ตายมดึงได้ใช้หอกแทงตรงท้องของช้างเลือดไหลทะลักออกมาในที่สุดก็สามารถล้มช้างพลายของตางุ้มได้สำเร็จช้างนั้นกลายเป็นหินเรียกว่า "เขาช้าง" ตรงส่วนที่เป็นท้องของช้าง ซึ่งมีเลือดไหลทะลักออกมานั้น กลายเป็นน้ำตก และท้องช้างกลายเป็นถ้ำใหญ่เรียกว่า "ถ้ำพุงช้าง" และด้วยความแค้นของตายมดึงได้ผ่าท้องช้างล้วงเอาตับไตไส้พุงออกมาต้มแกงกินเป็นอาหาร พอกินเสร็จก็ยกหม้อข้าวหม้อแกงเหวี่ยงลงในวังน้ำใกล้ ๆ นั้น ปัจจุบันเรียกบริเวณนั้นว่า "วังหม้อแกง" ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับตลาดพังงา และต่อมาคำว่า "พิงงา" นี้เอง ได้กลายมเป็น "พังงา"ฝ่ายตางุ้มเจ้าของช้างเที่ยวตามหาช้างของตนไม่พบ ตามมาจนถึงพังงา จึงรู้ว่าช้างของตนถูกฆ่าเสียแล้วก็เสียใจจนขาดใจตายตามช้างไป แล้วร่างของตางุ้มกลายเป็นภูเขาเรียกว่า "เขาตางุ้ม" นั่งเฝ้าอยู่ใกล้ ๆ ซากช้าง คือ "เขาช้าง" นั้นเองบางตำนานเล่าว่าช้างของตางุ้ม เป็นช้างพังและมีงาเล็ก ๆ เมื่อถูกงาออกจึงเรียกว่า "พังงา" และบางตำนานเล่าว่าช้าวที่ถูกฆ่านั้นเป็นช้างของตายมดึงที่ขี่ไปแต่งงาน แล้วช้างหยุดไปทำลายพืชไร่ของเขา จึงถูกฆ่าตำนานที่เกี่ยวกับเขาช้างนี้ เนื่องจากมีมานานผู้เล่าจึงมักนำเอาสถานที่อื่น ๆ ในบริเวณนั้นมาเชื่อมโยงเสริมต่อ จึงพิสดารออกไปมากมาย ดังเช่น พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายไว้ในจดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.๑๒๘ ว่า "เขาช้างที่กล่าวมาแล้วนั้นมีเรื่องเล่ามาว่า ตายมดึงได้ผูกช้างไว้จะไปช่วยการแต่งงานลูกสาวตาม่องล่าย แต่ช้างได้ไปเหยียบข้าวในนาของตายมดึงเสียไปมาก แล้วก็หนี ตายมดึงไล่ช้างมาตั้งแต่ตะกั่วป่ามาทันเข้าที่นี่ แล้วฆ่าช้างนั้นตาย ตายมดึงถอนงาช้างไปพิงไว้ที่เขาลูกหนึ่ง จึงมีชื่อว่า "เขาพิงงา" อยู่เหนือเขาช้าง เล่ากันต่อไปว่าเมืองนี้เดิมเรียกว่า "เมืองพิงงา" มาภายหลังจึงเพี้ยนไปเป็น พังงาแทน ส่วนช้างที่ตายมดึงฆ่าตายนั้น ที่ผูกอยู่บนหลังช้างได้ตกลงมาคว่ำอยู่ทางท้ายช้าง แล้วกลายเป็นเขาอยู่ต่อท้ายเขาช้างบัดนี้" (ช่วง เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 26พฤศจิกายน)
1.13 เนื้อเพลงเปล 
1.13.1นกกาเหว่า(มนตรี เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 27พฤศจิกายน)
เจ้านกกาเหว่าเอ๋ย ไข่ให้ไว้แม่กาฟัก แม่กาก็หลงรัก คิดว่าลูกในอุทธรณ์
คาบเอาข้าวมาเผื่อ คาบเอาเหยื่อมาป้อน ถนอมไว้ในรังนอน ซ่อนเหยื่อมาให้กิน
ปีกเจ้ายังอ่อน คลอแคล ท้อแท้จะสอนบิน พาลูกไปหากินที่ปากน้ำพระคงคา
ตีนเจ้าเหยียบสาหร่าย ปากก็ไซร้หาปลา กินกุ้ง กินกั้ง กินหอย กระพังแมงดา
กินแล้วก็โผมา จับที่ต้นหว้าโพธิ์ทอง ปีกเจ้ายังอ่อนคลอแคลท้อแท้จะสอนบิน
พาลูกไปหากินที่ปากน้ำพระคงคา ตีนเจ้าเหยียบสาหร่าย ปากก็ไซร้หาปลา
กินกุ้ง กินกั้ง กินหอย กระพังแมงดา กินแล้วก็โผมา จับที่ต้นหว้าโพธิ์ทอง
1.13.2 จันทร์เจ้า(ช่วง เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 27พฤศจิกายน)
จันทร์เจ้าเอ๋ย ขอข้าวขอแกง ขอแหวนทองแดง ผูกมือน้องข้า
ขอช้างขอม้า ให้น้องข้าขี่ ขอเก้าอี้ให้น้องข้านั่ง
ขอเตียงตั่งให้น้องข้านอน ขอละครให้น้องข้าดู
ขอยายชูเลี้ยงน้องข้าเถิด ขอยายเกิดเลี้ยงตัวข้าเอง
1.13.3ไก่เถื่อน (มนตรี เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ 27พฤศจิกายน)
ไก่เถื่อนเหอ ขันเทือนทั้งบ้าน
ลูกสาวขี้คร้าน นอนให้แม่ปลุก
ฉวยได้ด้ามขวาน แยงวานดังพลุก
นอนให้แม่ปลุก ลูกสาวขี้คร้านการเห้อ
1.13.4 โยกเยก(มนตรี เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ 27พฤศจิกายน)
โยกเยกเอย น้ำท่วมเมฆ 
กระต่ายลอยคอ หมาหางงอ กอดคอโยกเยก

1.16 เนื้อเพลงประกอบการละเล่น
1.16.1 จ้ำจี้(ศิริวรรณ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 28พฤศจิกายน)
จ้ำจี้มะเขือเปราะ กะเทาะหน้าแว่น
พายเรืออกแอ่น กะแท่นต้นกุ่ม
สาวสาวหนุ่มหนุ่ม อาบน้ำท่าไหน
อาบน้ำท่าวัด เอาแป้งที่ไหนผัด
เอากระจกที่ไหนส่อง เยี่ยมเยี่ยมมองมอง
นกขุนทองฮู้
1.16.2 งูกินหาง(ศิริวรรณ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 28พฤศจิกายน)
พ่องู : “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”
แม่งู : “กินน้ำบ่อโสกโยกไปก็โยกมา” พร้อมแสดงอาการโยกตัวไปมา
พ่องู : “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”
แม่งู : “กินน้ำบ่อทรายย้ายไปก็ย้ายมา” พร้อมแสดงอาการส่ายไปส่ายมา
พ่องู : “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”
แม่งู : “กินน้ำบ่อหินบินไปก็บินมา” พร้อมแสดงอาการบินไปบินมา
พ่องู : “กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว”
1.16.3 รีรีข้าวสาร(มนตรี เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ28พฤศจิกายน)
รีรีข้าวสาร สมมะนานข้าวเปลือก 
เด็กน้อยตาเหลือก เลือกท้องใบลาน 
คดข้าวใส่จาน คอยพานคนข้างหลังไว
1.16.4 มอญซ่อนผ้า(ศิริวรรณ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 28พฤศจิกายน)
มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง 
ไว้โน่นไว้นี่ ฉันจะตีก้นเธอ

1.17 บทคำร้อง 
1.17.1 รำวงกลองยาว (ช่วง เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 28พฤศจิกายน)
เอ้ามาละเว้ย เอ้ามาละเว้ย
เอ๋ยมาละวา เอ๋ยมาละวา
มาแต่ของเขา ของเราก็ไม่มา 
ใครมีมะกรูด มาแลกมะนาว
ใครมีมะกรูด มาแลกมะนาว
ใครมีลูกสาว มาแลกลูกเขย
เอาวะเอาเหวย ลูกเขยกลองยา

1.21 บทสวดมนต์ 
1.21.1 บูชาพระรัตนตรัย (จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 28 พฤศจิกายน)
อะระหังสัมมาสัมพุทโธภะคะวา, พุทธังภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ ฯ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ ฯ (กราบ)
1.21.2 แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 28 พฤศจิกายน)
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพะยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
1.21.3 บทแผ่ส่วนกุศล(มนตรี เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 28 พฤศจิกายน)
อิทัง เม มาตาปิตูนังโหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
อิทัง เม ญาตีนังโหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานังโหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
อิทัง สัพพะเทวะตานังโหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
อิทัง สัพพะเปตานังโหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
อิทัง สัพพะเวรีนังโหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี
อิทัง สัพพะสัตตานังโหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
1.23 ปริศนาคำทาย 
1.23.1 ไอ้ไหรเห้อต้นเท่าครก ใบปรกดิน (ตะไคร้)(ศิริวรรณ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.23.2 ไอ้ไหรเห้อต้นเท่าขา ใบวาเดียว (ต้นกล้วย)(ศิริวรรณ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.23.3 ไอ้ไหรเห้อต้นเท่าลำเรือ ใบห่อเกลือไม่มิด (ต้นสน)(ศิริวรรณ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.23.4ไอ้ไหรเห้ออยู่กลางป่า สวมชฎาแหลมเปี๊ยบ (หน่อไม้)(ศิริวรรณ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.23.5ไอ้ไหรเห้อเด็ก ๆ นุ่งผ้า พอใหญ่ขึ้นมาเอาผ้าโพกหัว (มะเขือ)(ศิริวรรณ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.23.6ไอ้ไหรเห้อเด็กดำนอนในมุ้งขาว เรือนปั้นหยาทาสีเขียว (น้อยหน่า)(มนตรี เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.23.7 ไอ้ไหร่เห้อใบหยัก ๆ ลูกรักเต็มคอ (มะละกอ)(มนตรี เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.23.8ไอ้ไหรเห้อลูกแก่ แม่ตาย (ต้นกล้วย)(มนตรี เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.23.8 ไอ้ไหรเห้อหัวเหมือนกอไผ่ หางเหมือนไม้พาย (กุ้ง)(มนตรี เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.23.9 ไอ้ไหรเห้อก้นชี้ฟ้า หน้าไถดิน (หอย)(มนตรี เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.23.10 ไอ้ไหรเห้อสี่ขาเดินมา หลังคามุงกระเบื้อง (เต่า)(มนตรี เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.23.11 ไอ้ไหร่เห้อตัวดำท้ายแดง ใช้เหล็กแทงเป็นอาวุธ (ผึ้ง)(มนตรี เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.23.12 ไอ้ไหรเห้อสองตีนบังแดด แปดตีนเดินมา (ปู)(มนตรี เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.23.13 ไอ้ไหรเห้อเย็นออกเป็นฝูง เหมือนกับจูงกันมา (ค้างคาว)(มนตรี เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน) 
1.23.14 ไอ้ไหรเห้อตาฤาษีอยู่ในถ้ำ นอนคว่ำคุกเข่า (กบ)(มนตรี เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)

1.25 ภาษาที่ใช้กับสัตว์ 
1.25.1 ลูกหมามานี้มา(เพียร วรรณะ ให้ข้อมูลเมื่อ 29พฤศจิกายน)
1.25.2 ไอ้เหมี๊ยวมากินข้าวมา (เพียร วรรณะ ให้ข้อมูลเมื่อ 29พฤศจิกายน)

1.26 ภาษิต 
1.26.1ขว้างงูไม่พ้นคอ(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.26.2 เขียนเสือให้วัวกลัว(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.26.3 เข้าเมืองตาลิ่ว ต้องลิ่วตาตาม(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.26.4 เข้าด้ายเข้าเข็ม(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.26.5 ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.26.6 ขายผ้าเอาหน้ารอด(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.26.7 ข้าวใหม่ปลามัน(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.26.8 ข้าวยากหมากแพง(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.26.9 ขี้แพ้ชวนตี(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.26.10 ขี้ไม่ให้หมากิน (จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.26.11ขี้ช้างจับตั๊กแตน (จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.26.12ขี้หมูรา ขี้หมาแห้ง(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.26.13แกว่งเท้าหาเสี้ยน(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.26.14กำแพงมีหู ประตูมีช่อง(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.26.15ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)

1.29 สำนวน 
1.29.1 ชักแม่น้ำทั้งห้า(ศิริวรรณ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.29.2 ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม(ศิริวรรณ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.29.3 ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด(ศิริวรรณ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.29.4 ชุบมือเปิบ(ศิริวรรณ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.29.5 ตักบาตรอย่าถามพระ(ศิริวรรณ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.29.6 ตัดหางปล่อยวัด(ศิริวรรณ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.29.7 ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ(ศิริวรรณ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.29.8 ตีงูให้กากิน(ศิริวรรณ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.29.9 กลับหน้ามือเป็นหลังมือ(ศิริวรรณ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.29.10 กาคาบพริก(ไพศาล บู่ทอง ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.29.11 นกสองหัว(ไพศาล บู่ทอง ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.29.12 น้ำขึ้นให้รีบตัก(ไพศาล บู่ทอง ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.29.13 น้ำท่วมปาก(ไพศาล บู่ทอง ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.29.14 กำขี้ดีกว่ากำตด(ไพศาล บู่ทอง ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.29.15 ปากปราศรัย ใจเชือดคอ(ไพศาล บู่ทอง ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.29.16 ปากว่าตาขยิบ(ไพศาล บู่ทอง ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)
1.29.17 ปิดทองหลังพระ(ไพศาล บู่ทอง ให้ข้อมูลเมื่อ 29 พฤศจิกายน)

2. อมุขปาฐะ 
2.3 การละเล่นของเด็ก 
2.3.1 จี้จุ๊บ(จิตติพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 30พฤศจิกายน)
2.3.2น้อยออก(จิตติพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน)
2.3.3หม้อข้าวหม้อแกง(จิตติพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน)
2.3.4กระโดดยาง(จิตติพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน)
2.3.5ม้าก้านกล้วย(จิตติพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน)
2.3.6หมากเก็บ(จิตติพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน)
2.3.7เดินกะลา(จิตติพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน)
2.3.8ซ่อนแอบ(จิตติพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน)
2.3.9เป้ายิงฉุบ(จิตติพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน)

2.5 ความเชื่อ 
2.5.1 ห้ามนอนหันหัวไปทางทิศตะวันตกเพราะจะทำให้เจ็บป่วย อายุสั้น เพราะเป็นทิศของคนตาย
(ลาไล วรรณะ ให้ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน)
2.5.2 ห้ามนอนหัวค่ำ
สมัยโบราณผู้เฒ่าผู้แก่จะห้ามมิให้ลูกหลานนอนหัวค่ำ เพราะจะถูกผีอำ หรือไม่ก็จะมาขโมยเอาวิญญาณของเราไป หรือหลอกล่อให้เราไปอยู่ด้วย(ลาไล วรรณะ ให้ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน)
2.5.3ห้ามเล่นเงาตอนกลางคืน
เพราะจะทำให้เด็กเกิดเหตุร้ายตามมา ไม่ว่าจะเป็นผี วิญญาณร้าย ทั้งหลายที่ผ่านมา อาจจะมองเห็นเด็กได้จากเงาของเด็กนั้น ซึ่งจะทำให้พวกผี วิญญาณเหล่านี้ จะคอยตามไปรบกรวนหรือหลอกหลอนเด็กได้ เมื่อยามนอนหลับ(ลาไล วรรณะ ให้ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน)

2.6 เครื่องมือประกอบอาชีพ 
2.6.1 พร้า(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน)
2.6.2 แห(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน)
2.6.3 ตะเกียง(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน)
2.6.4 จอบ(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน)
2.6.5 มีดกรีดยาง(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน)

2.10 ประเพณี 
2.10.1 ประเพณีลอยกระทง(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน)
2.10.2 ประเพณีแต่งงาน(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน)
2.10.3ประเพณีสงกรานต์(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน)
2.10.4ประเพณีบวชนาค(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน)
2.10.5ประเพณีสารทเดือนสิบ(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน)
2.10.6ประเพณีตรุษจีน(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน)
2.10.7ประเพณีกินเจ(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน)
2.10.8ประเพณีแห่เทียนพรรษา(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน)
2.10.9งานแห่เทพเจ้าศาลเจ้าม่าจ้อโป๋(จตุพงศ์ เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน)

2.18 ศาสนพิธี 
2.18.1 พิธีขึ้นบ้านใหม่(ช่วง เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)
2.18.2 พิธีสวดบ้าน(ช่วง เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)
2.18.3 พิธีไหว้ภูมิ(ช่วง เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)
2.18.4 พิธีตั้งศาลตายาย(ช่วง เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)
2.18.5 พิธีตั้งเจ้าที่ในสวน(ช่วง เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)

2.20 อาหาร 
2.20.1 แกงพุงปลา(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)
ส่วนผสม 1.ปลาย่าง
2.มะเขือ
3.หัวมัน
4.ถั่วฝักยาว
5.ไตปลาสำเร็จรูป
6.หน่อไม้
7.มะเขือแว้ง
2.20.2 ผัดผักกาดดอง(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)
ส่วนผสม 1.ผักกาดดอง
2.ไข่ไก่
3.หมู
4.เกลือ
5.น้ำตาล
6.ผงชูรส
2.20.3 คั่วกลิ้งหมู(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)
ส่วนผสม 1.หมูสับ
2.เครื่องเทศ
3.ข่า
2.20.4 ผัดเผ็ด(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)
ส่วนผสม 1.เครื่องแกงพริก
2.20.5 ฉูฉี่ปลา(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)
ส่วนผสม 1.ปลา
2.เครืองแกงทิ
3.ใบมะกรูด
2.20.6 ปลาทอดเครื่อง(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)
ส่วนผสม 1.ปลา
2.เครื่องแกงทิ
3.ใบมะกรูด
2.20.7 ลูกตอผัดเคย(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)
ส่วนผสม 1.สะตอ
2.เคย
3.หมู
2.20.8 น้ำชุป(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)
ส่วนผสม 1.เคย
2.หัวหอม
3.พริก
4.กระเทียม
5.น้ำตาล
6.มะนาว
2.20.9 ผัดเปรี้ยวหวาน(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)
ส่วนผสม 1.มะเขือเทศ
2.แตงกวา
3.ต้นหอม
4.สับปะรด
5.ลูกชิ้นปลา
2.20.10 ปลาทอด(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)
ส่วนผสม 1.ปลา
2.เกลือ
2.20.11 ผักเมียงลวกกะทิ(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)
ส่วนผสม 1.ผักเมียง
2.กุ้งแห้ง
3.หัวหอม
4.น้ำกะทิ
2.20.12 ผัดผักเมียง(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)
ส่วนผสม 1.ผักเมียง
2.ไข่ไก่ 
2.21 เครื่องดื่ม 
2.21.1 น้ำใบเตย(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)
ส่วนผสม 1.ใบเตยสด
2.น้ำเปล่า
3.น้ำตาลทราย
2.21.2 น้ำกระเจี๊ยบ(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)
ส่วนผสม 1.กระเจี๊ยบ
2.น้ำเปล่า
3.น้ำตาลทราย
2.21.3 น้ำแมงลัก(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)
ส่วนผสม 1.เม็ดแมงลัก
2.น้ำเปล่า
3.น้ำตาลทราย
2.21.4 น้ำสัปปะรด(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)
ส่วนผสม 1.สับปะรด
2.น้ำเปล่า
3.น้ำตาลทราย
2.21.5 น้ำมะพร้าว(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)
ส่วนผสม 1.น้ำมะพร้าว
2.น้ำตาลทราย
2.21.6 น้ำลำไย(

พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)
ส่วนผสม 1.ลำไย
2.น้ำตาลทราย
2.21.7น้ำส้ม(พัชราพร เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)
ส่วนผสม 1.น้ำส้ม
2.น้ำตาลทราย

3.ผสม มีทั้งมุขปาฐะและอมุขปาฐะ
3.2 การแสดงท่าทางประกอบคำร้อง
3.2.1 รำหน้ากลองยาว(มนตรี เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)
3.2.2 รำแห่หน้านาค(มนตรี เกตุรักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ1 ธันวาคม)

นามานุกรม

จตุพงศ์ เกตุรักษ์ เกิดเมื่อ วันศุกร์ ที่ 14 มิถุนายน 2514 อายุ 45 ปี เพศชาย ที่อยู่ 34/5 หมู่ 4 ต.นบปริง อ.เมือง จังหวัดพังงา 82000 เบอร์โทรศัพท์ 062-9499448 ให้ข้อมูลนางสาวพรฤมล เกตุรักษ์ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2559
จิตติพร เกตุรักษ์ เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ ที่ 17 กรกฎาคม 2529 อายุ 30 ปี เพศหญิง ที่อยู่ 34/1 หมู่ 4 ต.นบปริง อ.เมือง จังหวัดพังงา 82000 เบอร์โทรศัพท์ 096-3469091 ให้ข้อมูลนางสาวพรฤมล เกตุรักษ์ เมื่อวันที่ 30พฤศจิกายน 2559
ช่วง เกตุรักษ์ เกิดเมื่อ วันพุธ ที่ 7 มกราคม 2478 อายุ 81 ปี เพศชาย ที่อยู่ 35 หมู่ 4 ต.นบปริง อ.เมือง จังหวัดพังงา 82000 ให้ข้อมูลนางสาวพรฤมล เกตุรักษ์ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2559
พัชราพร เกตุรักษ์ เกิดเมื่อ วันพุธ ที่ 26 สิงหาคม 2520 อายุ 39 ปี เพศหญิง ที่อยู่ 34/5 หมู่ 4 ต.นบปริง อ.เมือง จังหวัดพังงา 82000 เบอร์โทรศัพท์ 099-4786435 ให้ข้อมูลนางสาวพรฤมล เกตุรักษ์ เมื่อวันที่ 21พฤศจิกายน 2559
เพียร วรรณะ เกิดเมื่อ วันจันทร์ ที่ 8 มกราคม 2495 อายุ 64 ปี เพศชาย ที่อยู่ 34/2 หมู่ 4 ต.นบปริง อ.เมือง จังหวัดพังงา 82000 เบอร์โทรศัพท์ 096-8718990 ให้ข้อมูลนางสาวพรฤมล เกตุรักษ์ เมื่อวันที่ 26พฤศจิกายน 2559
ไพศาล บู่ทอง เกิดเมื่อ วันศุกร์ ที่ 10 สิงหาคม 2519 อายุ 40 ปี เพศชาย ที่อยู่ 34/1 หมู่ 4 ต.นบปริง อ.เมือง จังหวัดพังงา 82000 เบอร์โทรศัพท์ 062-7820965 ให้ข้อมูลนางสาวพรฤมล เกตุรักษ์ เมื่อวันที่ 24พฤศจิกายน 2559
มนตรี เกตุรักษ์ เกิดเมื่อ วันพฤหัสบดี ที่ 23 มิถุนายน 2476 อายุ 83 ปี เพศหญิง ที่อยู่ 35 หมู่ 4 ต.นบปริง อ.เมือง จังหวัดพังงา 82000 ให้ข้อมูลนางสาวพรฤมล เกตุรักษ์ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2559
ลาไล วรรณะ เกิดเมื่อ วันเสาร์ ที่ 6 กันยายน 2498 อายุ 61 ปี เพศหญิง ที่อยู่ 34/2 หมู่ 4 ต.นบปริง อ.เมือง จังหวัดพังงา 82000 เบอร์โทรศัพท์ 099-4124236 ให้ข้อมูลนางสาวพรฤมล เกตุรักษ์ เมื่อวันที่ 22พฤศจิกายน 2559
ศิริวรรณ เกตุรักษ์ เกิดเมื่อ วันอังคาร ที่ 12 ตุลาคม 2497 อายุ 62 ปี เพศหญิง ที่อยู่ 34 หมู่ 4 ต.นบปริง อ.เมือง จังหวัดพังงา 82000 เบอร์โทรศัพท์ 099-7204057 ให้ข้อมูลนางสาวพรฤมล เกตุรักษ์ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2559

คติชน :คติชนวิทยา