การบันทึกคำภาษาถิ่น
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อังคาร, 19 กรกฎาคม 2016
การบันทึกคำภาษาถิ่น
ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์
...

การปรากฎคำ มี ๓ แบบ

ข้อ ๑. เสียง ให้หูได้ยิน [คำอ่าน]
ข้อ ๒. รูปแบบสร้าง ให้ตามองเห็น เป็นอักษรไว้พิมม์ ไว้เขียน
ข้อ ๓. ความหมาย คำแปลของ ๑ เสียง และ ๒ รูปแบบสร้าง
เช่น
ข้อ ๑ [หน่ามชุบ], [จิง], [จัง วัด พู แก็ต], [รูวดีย], [มีย].
ข้อ ๒. น้ำชุบ, จริง, จังหวัดภูเก็ต, รูดี, มือ.
ข้อ ๓. น้ำพริก, จริง, ชื่อจังหวัดที่เป็นเกาะใหญ่สุดของไทย, รูสะดือ, มือ.
ถ้าตาเรามองเห็น
.
หน่ามชุบ, จิง, จัง วัด พู แก็ต, รูวดีย, มีย.
.
เราจะมีปัญหาในการอ่าน(ข้อ ๑) และเดาความหมาย (ข้อ ๒) ยากมาก
ลองแปลความหมายของเสียง (ข้อ ๑) ดังนี้
.
น็อกบินค้ามหน็อน หร็อดฉ็อนหน็อก หน็อกน็อกบ็อนน็อน
.
เป็นความพยายามเขียนให้ใกล้เคียงกับเสียง (ข้อ ๑) ที่ได้ยินเพื่อใช้เป็น ข้อ ๑ และข้อ ๒
แต่ถ้าเราเขียน (ข้อ ๒) เป็น
.
นกบินข้ามถนน รถชนนก นกน็อคบนถนน
.
นี่คือเขียน ไม่ใช่อ่าน(หรือออกเสียง)
ถ้าออกเสียง จะเป็น
.
น็อกบินค้ามหน็อน หร็อดฉ็อนหน็อก หน็อกน็อกบ็อนน็อน
.
ย้อนกลับไปข้างต้น
เราเห็นคำ (เขียน) ข้อ ๒ เป็น น้ำชุบ, จริง, จังหวัดภูเก็ต, รูดี, มือ.
ผล :- คนทุกภาคเข้าใจ
.
ชาวภูเก็ต จะอ่านหรือออกเสียง (ข้อ ๑) เป็น
หน่ามชุบ, จิง, จัง วัด พู แก็ต, รูวดีย, มีย.
ผล :- ชาวภูเก็ตฟังรู้เรื่อง ชาวภาคอื่น ฟังไม่รู้เรื่อง
จึงต้องมีคำแปลหรือความหมาย เป็น
น้ำพริก, จริง, จังหวัดภูเก็ต, รูสะดือ, มือ.
.
อีกปัญหาหนึ่งของการเขียน ที่ไม่มีใครสามารถเขียนระดับเสียงวรรณยุกต์ทั้ง ๘ เสียงระดับได้ เพราะเรามีอักขระเพียง เอก โท ตรี จัตวา ลองทดลองเขียน มะละกอ เป็นภาษาภูเก็ตดูก็ได้นะ เขียนเสร็จ ให้ฅนอ่านภาคกลางลองอ่านดู ว่าเสียงระดับเดียวกับที่ชาวภูเก็ตออกเสียงจริง ๆ ไหม
ไม่ว่าจะเขียนอย่างไร จะไม่มีเสียง ลอกอ ของชาวภูเก็ตเลย
นักสัทอักษรจึงต้องเลี่ยงไปใช้ภาษาสากลเป็น
[lɔ:5 kɔ:3]
.
.
***
วัฒนธรรมภาษา 2 วัฒน์ 
ภาษาสื่อสาร
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พุธ, 07 กรกฎาคม 2021 )