ธรณีวิทยาอันดามัน
เขียนโดย อาทิตา เหมรา   
เสาร์, 19 มีนาคม 2016

ธรณีวิทยาอันดามัน เขาสูงสู่ทะเลลึก

Geology of the Andaman : From Deep Blue Sea to Towering Mountain Peaks

 

ดินแดนแห่งเทือกเขาและสินแร่ (Land of Mountainous and Rich ore Deposits)

                พื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน ประกกอบด้วยเทือกเขาสำคัญ ได้แก่

·       เทือกเขาภูเก็ต มีลักษณะทางธรณีเป็นหินโคลน หินทราย หินดินดาน ส่วนทางตอนใต้เป็นหินปูนและหินแกรนิต ซึ่งหินแกรนิตชุดนี้ถือเป็นต้นกำเนิดแร่ดีบุกในเขตจังหวัดระนอง พังงาและภูเก็ต “ดีบุก” เป็นแร่ที่มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง มีความแข็งเท่าแร่ควอตซ์ ส่วนใหญ่มีสีเทา ดำ เมื่อถูกขูดจะเกิดรอยสีขาว เผาไม่ละลาย ต้องป่นเป็นผงผสมถ่านหลอมออกมาจึงจะได้ก้อนดีบุกบริสุทธิ์

·       เทือกเขานครศรีธรรมราช มีลักษณะทางธรณีเป็นหินทรายแป้ง หินโคลน และหินทรายสีม่วงแดง สลับกับหินปูน ส่วนบริเวณเขาหลวง ซึ่งเป็นยอดเขาสูงสุดในภาคใต้ เป็นหินแกรนิต

The Andaman Coast is the land ofr mountainous terrain and rich ore deposts. Running parallel to the Andaman coastline are two important mountain chains-Phuket Range and Nakhon Si Thammarat Range.

·       Phuket Range; the geology of this range, one of the southern sections of the cordillera from Tibet, is formed of mudstone, sandstone, and shale. On its southern end arise limestone and granite, the latter of which is a source of the tin ore mineral straddling the provinces of Ranong, PhangNga, and Phuket. Tin in nature is an ore in the shape of a hard rock known as cassiterite (tin dioxide) whose hardness is equal to quartz. Mostly gray to black, it turns white when scratched. It is resistant to smelting, and must be ground into powder and mixed with coal (carbon) before being smelted to produce pure molten tin.

·       Nakhon Si Thammarat Range; the mountain chain consists of siltstone, mudstone, and purplish-ted sandstone, interspersed with limestone. KhaoLuang, the South’s highest elevation, is basically granite in composition.

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่ราบแห่งชายฝั่งทะเลอันดามัน (Flatland on the Andaman Coast)

                ชายฝั่งทะเลอันดามันนี้เป็นที่ราบแคบ ๆ จากการยุบตัวของเปลือกโลก ชายหาดมีลักษณะเว้าแหว่ง มีหน้าผาสูงชัน นอกจากนี้ชายฝั่งยังได้รับอิทธิพลของคลื่นลมและกระแสน้ำทำให้เกิดการกัดเซาะ จนเกิดเป็นลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ได้แก่

·       ถ้ำทะเล (Sea Cave) เช่น ถ้ำพระนาง จังหวัดกระบี่

·       ถ้ำลอด (Sea Arch) เช่น ถ้ำลอดที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จังหวัดพังงา

·       สะพานหินธรรมชาติ (Natural Bridge) เช่น เกาะไข่ อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล

·       เกาะหินโด่ง (Stack) เช่น เขาตะปูในเขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จังหวัดพังงา

Running along the Andaman coastline are strips of flatland, the result of the subsidence of the earth crust. Many beaches on the shore assume a concave shape. Also dotting the landscape are high cliffs, rocks and karsts. Through millennia of exposure to gales and tide currents, there occur several fascinating natural wonders unique to the marine landscape, most of which become popular tourist attractions. These exotic contours include a sea cave called Phra Nang cave, Krabi province; a sea arch called Lot cave in AoPhangNga Marine National Park, PhangNga province; a natural bridge at Khaiisland, Tarutao Marine National Park, Satun province; and a stack called Tapu island in AoPhangNga Marine National Park, PhangNga province.

 

สู่ท้องทะเลลึก (Deep Blue Sea)

                ทะเลอันดามันที่เป็นน่านน้ำไทยเกือบทั้งหมดอยู่บนไหล่ทวีป โดยแอ่งใต้ท้องทะเลนี้เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก มีระดับน้ำลึกอยู่ในช่วงประมาณ 200-1,400 เมตร

                The Andaman Sea off the Thai waters is almost entirely situated on the continental shelf. The depths of the sea during this stretch range from 200 to 1,400 meters.

ป่าชายเลน จุดบรรจบของแผ่นดินและท้องทะเล

(Mangrove Forests Where the Land and Sea Intermingle)

 
 
 

EQ: เขาป่านาเลและโลกสีคราม

***

ภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์ 
Andaman Center
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พฤหัสบดี, 14 กันยายน 2017 )