พืชถิ่น อันดามัน
เขียนโดย อาทิตา เหมรา   
เสาร์, 19 มีนาคม 2016

รองเท้านารี (บุหงากะสุด)

RongThaoNari (Lady’s Slipper)

 

        มีชื่อสามัญว่า Lady’s Slipper เนื่องจากกลีบดอกมีรูปร่างคล้ายกับรองเท้าของสตรี โดยธรรมชาติของกล้วยไม้สกุลนี้เมื่อออกดอกแล้วก็จะตายไป แต่ก่อนตายจะแตกหน่อทดแทน ชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้รองเท้านารีที่สำรวจพบในฝั่งอันดามัน ได้แก่

        รองเท้านารีเหลืองตรัง (Paphiopedilumgodefroyoe)

        รองเท้านารีเหลืองกระบี่(Paphiopedilumexul)

        รองเท้านารีชาวพังงา(Paphiopedilumthaianum)

        รองเท้านารีชาวสตูล (Paphiopedilumniveum)

 

EQ: พืชตระกูลบุหงากะสุดในแถบอันดามันสามารถแบ่งออกเป็นกี่ประเภท?

ก.   4 ประเภท

ข.  5 ประเภท

ค.   6 ประเภท

ง.    7 ประเภท

ตอบ 4 ประเภท

 

 

 

พืชถิ่น อันดามัน

Endemic Vegetation of the Andaman

     

เมื่อกล่าวถึงอันดามัน หลายคนนึกถึงหาดทรายและความงามของท้องทะเล แต่รู้หรือไม่ว่าอันดามันยังเป็นแหล่งรวมพันธุ์ไม้นานาชนิด บางชนิดหาชมได้ยาก และสามารถพบได้เฉพาะบางพื้นที่ทางภาคใต้เท่านั้น

 

The name Andaman conjures up in most people’s minds a breathtaking image of tropical,sun-drenched beach and turquoise sea. But it is not the only endowment of the Andaman, for the coastal region also boasts a rich store of diverse plant species, some very rare and to be found only in certain areas of the Southern Region.

 

 

 

 

 

 

 

 

สาคู

      Sakhu (Sago Palm)

 

เป็นพืชตระกูลปาล์ม มี 2 ชนิด ชนิดที่มียอดสีแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Metroxylonsaguส่วนชนิดที่มียอด
มีสีขาวชื่อ
Metroxylonrumphiiมีชื่อสามัญว่า Sagu palm สาคูถือเป็นพื่ชที่สำคัญต่อวิถีชุมชน ใบสาคูใช้เย็บจากมุงหลังคา ห่อขนมจาก ทางสาคูใช้ทำคอกสัตว์ ผิวเปลือกต้นสาคูใช้สานเสื่อ แป้งที่ได้จากต้นสาคูใช้ทำขนมหวาน

Two species of this palm are found, one having red crowns. Metroxylonsagu and the other white crowns.Metroxylonrumphill. The Sakhu paint plays an important role for local communities. Its leaves, sewn together, are used for roofing, as well as to wrap a broiled confection. KhanomChak. The leafstalk (petiole) is used in building an animal pen; its bark in weaving mats. The starchy pith of the plant is turned into the popular dessert KhanomSakhu.

การทำสวนยางพารา

      Para Rubber Plantation

 

ยางพารา ทรัพย์บนดิน สินทรัพย์ของชาวใต้

ต้นยางพารา เป็นไม้ยืนต้นมีถิ่นกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำอเมซอน ประเทศบราซิล และเปรู คำว่า “พารา” (Para)
มีที่มาจากชื่อเมืองท่าในประเทศบราซิล ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการซื้อขายยาง ยางพาราเข้ามาในประเทศไทย
ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ได้เดินทางไปดูงานในประเทศมลายู (ปัจจุบันคือประเทศมาเลเซีย) เห็นว่าการปลูกยางพาราได้ผลผลิตดี จึงเกิดความสนใจที่จะนำยางเข้ามาปลูกในประเทศไทย แต่ในขณะนั้นไม่สามารถนำกล้าพันธุ์ยางกลับมาได้ จนกระทั่ง พ.ศ. 2444 พระสถลสถานพิทักษ์ เดินทางไปประเทศอินโดนีเซีย จึงมีโอกาสนำกล้ายางกลับมายังประเทศไทยและนำมาปลูกไว้ที่ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ปัจจุบันนี้ยังเหลือให้เห็นเป็นหลักฐานบริเวณหน้าสหกรณ์การเกษตรกันตัง

 

Para Rubber-Southern’s Earth-based Treasure and Valuable Asset

The rubber plant belongs in the genus Heveo, particularly Heveabrasilliensis, originally endemic to the Amazon River basin and rainforest of Brazil and Peru. The word Pararefers to a Brazilian state, the country’s hub of rubber trade. Para rubber trees were for the first time brought into Thailand in the reign of King Chulalongkorn (King Rama V) by PhraSathonSathanphithak under the initiative of Trang’s governor Phraya RatsadanupraditMahisonPhakdi (KhoSim Bi Na Ranong), 1899-1901 , who played an instrumental role in promoting the rubber plant growing and rubber industry in the country. PhraSathonSathanphitak planted the first rubber plants, token from Indonesia, in Kantang district, Trang province. Today only one of the piats remains standing at a spot in front of the Kantang Agricultural Cooperative office.

 

 EQ: เขาป่านาเลและโลกสีคราม

***

ภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์