จุ๊ยตุ่ย : น.พ.ประสิทธิ์ โกยศิริพงศ์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
เสาร์, 04 กุมภาพันธ์ 2012


จุ๊ยตุ่ย(水碓)เป็นพื้นที่บริเวณต้นซอยภูธรหน้าศาลเจ้า บริเวณนี้เป็นที่ต่ำกว่าพื้นที่ข้างเคียง ในอดีตคูที่เห็นในวันนี้เป็นคลองใหญ่ รับน้ำจากถนนวิชิตสงครามและถนนปฏิพัทธ์ ชาวบ้านใช้ประโยชน์จากความแรงของกระแสน้ำ ติดตั้งกังหันเพื่อใช้ตำข้าวเปลือก ครกที่ใช้กังหันเป็นแรงในการตำ คนจีนภูเก็ตเรียกว่า จุ๊ยตุ่ย(水碓) 水 (อ่านว่าสุ่ยในภาษาจีนกลาง ฮกเกี้ยนอ่านว่าจุ้ยแปลว่าน้ำ 碓 (อ่านว่าตุ้ยในภาษาจีนกลาง ฮกเกี้ยนอ่านว่าตุ่ยแปลว่าครก) รวมกันเรียกว่าครกน้ำ หมายถึงครกตำข้าวที่ใช้แรงน้ำแทนแรงคน ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนี้ว่าจุ๊ยตุ่ย

ขอขอบคุณโกเกี๋ยว หรือคุณดิโรจน์ เลิศเอกกุล ผู้ให้ข้อมูล

 ·  · · 28 ตุลาคม 2011 เวลา 23:40 น.
  • ทั้งคุณและ Krittichai Kruekaeo กับ Supangpan Khors ถูกใจสิ่งนี้
    • Krittichai Kruekaeo ชัดเจนมากครับ
      29 ตุลาคม 2011 เวลา 0:25 น. ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ · 
       · 1
    •  
      Sommai Pinphutsin มีคนเคยกล่าวว่า ตุ่ย แปลว่าคู่ บริเวณหน้าอ๊ามมี ๒ สายน้ำมาบรรจบกัน จึงเรียกว่า จุ้ยตุ่ย ผมรับข้อมูลนี้มาเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้วโน้นด้วยความกรุณาของ ดร.ณรงค์ หงษ์หยก ที่ช่วยประสานงานกับคนจีนท่านนั้น
      30 ตุลาคม 2011 เวลา 22:06 น. ·  · 1
    •  
      Prasit Koysiripong ไม่ใช่ครับ
      30 ตุลาคม 2011 เวลา 23:17 น. ·  · 1
    • Prakob Chantsakul คนแปล"ตุ่ย"ว่าคู่ คงชอบเล่น"สามก๊ก" มี"เลี๊ยบ ตุ่ย ซ่ามกอก" 555
      9 พฤศจิกายน 2011 เวลา 8:08 น. ·  · 1
    •  
      Sommai Pinphutsin ใครมีประสบการณ์ ช่วยเขียนทบทวนการเรียกชื่อหมากในซ่ามกอกให้ครบถ้วนสมบูรณ์ด้วยครับ เขียนเลียนเสียงชาวภูเก็จนี่แหละ จะขอเก็บไว้ในคลังคำภูเก็จครับ
รูปประจำตัว

***

พจนสารอันดามัน มทศ.

วัฒนธรรม2วัฒน์ ภาษาสื่อสาร2

น.พ.ประสิทธิ์ โกยศิริพงศ์