ลอยเรือมอแกน
เขียนโดย ปฎิญาใจ ดาจันทร์   
พฤหัสบดี, 04 สิงหาคม 2011

                                            
ลอยเรือมอแกน LOI RUEA MOKEN


                                                                                                                              ลอยเรือเป็นคำนาม  

ลอยเรือเป็นชื่อประเพณีของชาวเลเผ่ามอแกนและเผ่ามอแกล๊น (http://123.242.170.139/newweb2011)

งานประเพณีลอยเรือ เป็นประเพณีของชาวเลเผ่ามอแกน
ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณเกาะสุรินทร์ จัดขึ้นในช่วงประมาณ
เดือนเมษายน – พฤษภาคมของทุกปีที่บริเวณหมู่บ้าน
ชาวเลบนเกาะสุรินทร์ใต้ เป็นประเพณีการประกอบพิธี
ฉลองเสาวิญญาณบรรพบุรุษ (เหนียะเอนหล่อโปง)
ในระหว่างนี้ชาวเผ่ามอแกนจะหยุดการทำกิจกรรมต่างๆ
เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในงาน ในวันงานจะมีการเข้าทรง
การเซ่นไว้วิญญาณบรรพบุรุษ การเสี่ยงทาย การเล่นดนตรี
การร่ายรำและการลอย “ก่าบาง” ซึ่งถือว่าเป็นการลอย
ความทุกข์และโรคภัยไข้เจ็บให้พ้นไปจากครอบครัวและชุมชน
นอกจากนี้ยังมีชาวเผ่ามอแกนจากที่อื่นๆ
ในแถบใกล้เคียงเดินทางมาร่วมงานด้วย
เพื่อมาทำพิธีเซ่นสรวงบูชาวิญญาณบรรพบุรุษให้ช่วยปกป้องคุ้มครองพวกตน
ชาวเล ถือว่าการลอยเรือเป็นประเพณีสำคัญที่สุดในรอบปี
นิยมจัดขึ้นปีละ 2 ครั้งๆ ละ 3 วัน คือในวันขึ้น 14, 15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำ
ของเดือน 6 กับเดือน 11 ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูมรสุม ส่วนวันลอยเรือชาวเล
บางแห่งจะพากันไปเซ่นไหว้ผีหมู่บ้านก่อนเพื่อความเป็น สิริมงคล
ส่วนในการต่อเรือพิธี หรือ ปลาจั๊ก ซึ่งทั้งหมู่บ้านจะต่อกันเพียงลำเดียว
ไม้ที่ใช้ต่อเรือจะเป็นไม้เนื้ออ่อน ส่วนมากนิยมใช้ไม้ระกำ
โดยเรือปลาจั๊กจะมีขนาดกว้าง 2 ฟุต ยาวประมาณ 6 ฟุต
ตกแต่งลวดลายอย่างสวยงาม ใบเรือทำจากผ้าดิบ
และยังมีการแกะสลักไม้ระกำ เป็นนายท้ายเรือ
พายนำเครื่องใช้ประจำวัน อาทิ มีด ครก เสื้อผ้า รองเท้า ฯลฯ
ใส่ไปในเรือด้วย จากนั้นเมื่อทำการต่อเรือเสร็จแล้ว ในตอนค่ำ
ผู้นำครอบครัวจะนำตุ๊กตาที่แกะสลักเป็นรูปคนโดยแกะจากไม้ระกำ
ตามจำนวนสมาชิกของครอบครัว พร้อมทั้งตัดเล็บมือ เล็บเท้า
เส้นผมของทุกคนในบ้าน ตลอดจนของแห้ง เช่น กะปิ เกลือ หมาก พลู
ที่เตรียมมาใส่ลงไปในเรือด้วย

สำหรับการลอยเรือนั้น ในตอนค่ำจะมีหนุ่มสาวชาวเล
ร่วมกันเต้นรำวง ร้องรำรองแง็งกันอย่างครึกครื้นสนุกสนาน
จนกระทั่งถึงรุ่งสางของวันใหม่ จากนั้นก็จะมีการนำเรือปลาจั๊ก
ปล่อยลงกลางทะเล เมื่อแน่ใจว่าเรือได้ลอยหายลับไปแล้ว
จึงเป็นอันว่าเสร็จพิธีกรรมหลัก

หลังจากนั้นพวกผู้ชายจะเข้าป่าไปหาไม้มาทำเป็นรูป
ไม้กางเขนจำนวน 7 อัน ที่ปลายไม้ทั้งสองด้านติดใบกะพ้อ
นำไปปักเรียงเป็นแถวตามแนวตั้งจากบกออกสู่ทะเลตรงบริเวณ
ที่วางเรือพิธี ไม้นี้ชาวเล เรียกว่า กายู่ฮาปัด เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์
คอยปัดรังควานไม่ให้สิ่งอัปมงคลกลับเข้ามาในหมู่บ้านอีก
ชาวบ้านจะปักไม้นี้ไว้จนถึงเช้าวันพรุ่ง จึงถอนออกไปปักใหม่
เป็นแนวนอนยาวตลอดตั้งแต่หัวหมู่บ้านจนถึงท้ายหมู่บ้าน
เป็นอันเสร็จพิธีลอยเรือ บรรดาพี่น้องชาวเลจากที่ต่างๆ
ที่สนุกสนานรื่นเริงกันมาหลายวันก็ถึงคราวต้อง เลิกรา
รอจนกว่าพิธีลอยเรือในครั้งหน้าจะเวียนมาบรรจบอีกวาระหนึ่ง
จึงถอนไม้กายู่ปา ฮัดท่อนเก่าออก เพื่อนำท่อน

คติ / แนวคิด ทำให้ทราบประวัติความเป็นมาสถานที่สำคัญ ๆ ต่าง ๆ ในจังหวัดพังงา

อ้างอิง:http://123.242.170.139/newweb2011/index.php?option=com_content&view=article&id=121&Itemid=237


ชาวต่างประเทศออกเสียง  Loi Ruea

ชาวพังงาออกเสียง  [loy5 ria5]

ชาวภูเก็จออกเสียงตรงกับชาวพังงา

 

***

พังงาศึกษา
วัฒนธรรม2วัฒน์  ภาษาสื่อสาร 2

ปฎิญาใจ ดาจันทร์ ประสานงานค้นนำเสนอ http://www.phuketdata.net/main/index.php?option=com_content&task=view&id=1078&Itemid=5

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( เสาร์, 06 สิงหาคม 2011 )