จวง CHUANG
เขียนโดย ปฎิญา ดาจันทร์   
จันทร์, 01 สิงหาคม 2011

จวง

CHUANG

จวงเป็นคำนาม

จวงหมายถึงชื่อไม้หอมชนิดหนึ่ง

จวงเป็นพันธุ์ไม้พระราชทาน เพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดพังงา

ชื่อวิทยาศาสตร์  CINNAMONUM PORRECTUM KOSTE

วงศ์                LAURACEAE

ชื่ออื่น             จะไคหอม  จะไคต้น  จวงหอม  พลูต้นขาว

ลักษณะ ไม้ต้นสูง 10- 30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กิ่งอ่อนเกลี้ยงและมักจะมีคราบขาว เปลือกสีเทาอมเขียวหรือสีน้ำตาลคล้ำ  แตกเป็นร่องตามยาวลำต้น  ใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน  แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ ยาว 7 – 20 เซนติเมตร ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ผลกลมเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.7 เซนติเมตร  สีเขียว ขึ้นในป่าดงดิบบนเขา ทั่วประเทศ พบมากในภาคใต้ขยายพันธุ์โดยเมล็ด

ประโยชน์ เนื้อไม้มีกลิ่นหอมฉุน  ใช้ในการแกะสลักบางอย่าง  ทำเตียงนอน  ทำตู้  หีบใส่เสื้อผ้า กันมอด และแมลงอื่น ๆ และใช้เป็นยาสมุนไพรเปลือกเป็นยาบำรุงร่างกายอย่างดี โดยเฉพาะหญิงสาวรุ่น  ต้มกินแก้เสียดท้อง  ท้องขึ้น  ท้องเฟ้อ

หมายเหตุ : ท่านสามารถหาดูได้ที่วัดบางเหรียง   อ.ทับปุด    หรือที่หน้าสำนักงานที่ดินจังหวัดพังงา

ฝากรูป

จวง หรือ เทพธาโร

 

อ้างอิง:http://123.242.170.139/newweb2011/index.php?option=com_content&view=article&id=114&Itemid=92

ต่างประเทศออกเสียง  CHUANG

ชาวพังงาออกเสียง  [chuaŋ3]

ชาวภูเก็จออกเสียงตรงกับชาวพังงา

 

***

พังงาศึกษา

มนุษยศาสตร์  ประวัติศาสตร์

ขจรศักดิ์ ชายอีด บันทึก

ปฎิญาใจ  ดาจันทร์  ประสานงานการสืบค้น

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พฤหัสบดี, 04 สิงหาคม 2011 )