ชิงทุนการศึกษา มทศ.
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อาทิตย์, 22 สิงหาคม 2010

มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร

โครงการ แข่งขันตอบคำถามประวัติศาสตร์ถลาง
ชิงทุนการศึกษา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๔
(ร่าง)

หลักการและเหตุผล


 มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร ได้จัดให้มีการแข่งขันตอบคำถามประวัติศาสตร์ถลาง  เพื่อชิงรางวัล เป็นเวลามากกว่า ๗ ปี โดยผ่านทางสื่ออินเตอร์เน็ต  มีนักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไปให้ความสนใจในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก  มูลนิธิฯได้ทำการทบทวนโครงการเห็นว่ายังมีนักเรียน นักศึกษาที่เป็นเยาวชนในจังหวัดภูเก็ตเข้าร่วมน้อยเกินไป  ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการแข่งขัน โดยขอความร่วมมือจากโรงเรียนนำร่อง ๑๕ โรงเรียน เพื่อหาวิธีการให้เยาวชนในจังหวัดมีความรู้ในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง  ผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจ  มูลนิธิฯจึงได้ข้อมูลและวิธีการในการดำเนินโครงการให้มีความสมบูรณ์มากขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๓  และในปี  ๒๕๕๔  นี้มูลนิธิมีความคิดว่าจะคงดำเนินการในรูปแบบเดิมโดยจะเปิดโอกาสให้กับโรงเรียนต่าง ๆ  มากขึ้น 

วัตถุประสงค์
๑.  เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกระจายสู่เยาวชน
๒. เพื่อปลูกจิตสำนึกในการรักและภาคภูมิใจท้องถิ่นของตนแก่เด็กและเยาวชน 
๓. เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจนเกิดเป็นเจตคติแก่เยาวชน
๔. เพื่อส่งเสริมและให้กำลังใจแก่เยาวชนผู้มีความสามารถและรักในท้องถิ่นตน

ผู้เข้าร่วมโครงการ
๑. คุณครู ผู้สอน
๒. นักเรียน นักศึกษา
๓. ผู้ปกครอง
๔. สถาบันการศึกษา

กิจกรรม   แบ่งเป็น ๓ กิจกรรมหลัก  ดังนี้
 
กิจกรรมที่  ๑ ทุนการศึกษาเป็นรายบุคคล
วิธีการเข้าร่วมกิจกรรม
สถานศึกษาจัดกิจกรรมอบรมเพื่อให้ความรู้กับนักเรียนภายในโรงเรียนเพื่อคัดเลือกเด็กจำนวน ๓ คน (ช่วงชั้นเดียวกัน ก. ระดับประถมศึกษา หรือ ข. ระดับมัธยมศึกษา สถานศึกษาเลือกเพียงระดับเดียว อย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่าง ก.หรือ ข.)  เพื่อเข้าแข่งขันตอบคำถามชิงทุนการศึกษา  โดยทางกรรมการมูลนิธิฯ  ทำหน้าที่วิทยากรอบรมให้กับนักเรียนที่ทางสถานศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม  เมื่อได้ทางสถานศึกษาได้ตัวแทนแล้วจะต้องส่งนักเรียนเข้าสอบแข่งขันตอบคำถามที่มูลนิธิฯ  ได้จัดทำขึ้นจำนวน  50  ข้อ  โดยผู้ที่รับคะแนนชนะเลิศอันดับ 1-3  ได้รับเงินรางวัลพร้อมเกียรติบัตร

กิจกรรมที่ ๒ สถานศึกษาเป็นผู้เข้าแข่งขันและรับรางวัล
วิธีการเข้าร่วมกิจกรรม
๑. สืบเนื่องจากตัวแทนสถานศึกษาเข้าร่วมทัศนศึกษา  สถานศึกษาลงทะเบียนแข่งขันทางอินเตอร์เน็ตใน www.phuketdata.net
เพื่อตอบคำถาม EQ0015 ประวัติศาสตร์ถลางภูเก็จภูเก็ต

๒. กติกา ผู้เข้ามาร่วมตอบจะเป็นใครก็ได้ในสถานศึกษาและกี่คนก็ได้   ตัดสินผู้ชนะด้วยเวลาความเร็วที่ส่งและความถูกต้องของคำตอบ
๓. คัดเลือกสถานศึกษาผู้ชนะ ๓ รางวัล  ตัวแทนรับรางวัลที่อนุสาวรีย์ฯ วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๔


กิจกรรมที่ ๓ ประชาชนและเยาวชนทั่วไป
วิธีการเข้าร่วมกิจกรรม
๑. ประชาชนและเยาวชนทั่วไปที่ไปร่วมชมการแสดง แสง สี เสียง เมื่อจบการแสดงสามารถมาร่วมสนุกลับสมองประลองปัญญากับคำถามประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่เต็นท์มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร ณ อนุสรณ์สถานถลางชนะศึก บ้านเหรียง ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง
๒. ผู้ตอบถูกได้รับรางวัลที่ระลึก จากการมาร่วมสนุก

ขั้นตอนการดำเนินงาน
๑. เลขานุการมูลนิธิฯทำหนังสือถึงผู้อำนวยการสถานศึกษา ภายในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน   ๒๕๕๓
๒. สถานศึกษาส่งแบบตอบรับเข้าร่วมกิจกรรมก่อนเวลา ๑๒.๐๐ น ของวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน   ๒๕๕๓
๓. มูลนิธิฯเตรียมการจัดสัมมนา,  สื่อการสอนและคำถาม
๔. เตรียมระบบเพื่อรองรับการแข่งขันผ่านทางเว็บไซต์
๕. เตรียมรางวัล ประกาศเกียรติบัตร และของรางวัลที่ระลึก

ระยะเวลาในการดำเนินการ
 ตั้งแต่ ๒ พฤศจิกายน   ๒๕๕๓  ถึง ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๔
- เวลา ๑๕.๐๐ น.ของ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ประกาศรายชื่อ ๔๐สถานศึกษาที่มีสิทธิเข้าร่วมกิจกรรม
- มกราคม – กุมภาพันธ์ สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และคัดเลือกนักเรียน ๓ คนเข้าแข่งขันชิงทุนการศึกษา ส่งชื่อภายในวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
- ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔   ทำการแข่งขันคัดผู้ชนะเลิศระดับ๑ - ๓ คน
- ๕ มีนาคม ๒๕๕๔  ประกาศรายชื่อผู้ชนะทุกประเภท
- ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๔  ผู้ชนะรับรางวัลที่ อนุสาวรีย์ฯ
- ๑๓ – ๑๕ มีนาคม ประชาชนทั่วไปร่วมประลองภูมิปัญญาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ณ อนุสรณ์สถานถลางชนะศึก

 

งบประมาณ
๑. การจัดสัมมนาและทัวร์แหล่งประวัติศาสตร์ ประมาณ  ๑๕,๐๐๐ บาท
๒.จัดการแข่งขันประเภทบุคคล               ๕๕,๐๐๐ บาท
๓. เงินรางวัล, ประกาศเกียรติบัตร, ของรางวัล   ๓๐,๐๐๐ บาท
   รวมประมาณ                                  ๑๐๐,๐๐๐ บาท


แหล่งที่มาของงบประมาณ
๑. มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร
๒. องค์กรเอกชนผู้มีจิตศรัทธา


ผู้รับผิดชอบโครงการ
๑. นายสมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์    หัวหน้าโครงการ
๒. นางกุลสิริ  โพชนุกูล           รองหัวหน้าโครงการ
๓. นางศุภางค์พรรณ  ขอศานติวิชัย   รองหัวหน้าโครงการ
๔. กรรมการมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร  กรรมการ
๕. ผู้อำนวยการสถานศึกษาในจังหวัดภูเก็ต        กรรมการ
๖. นางกรทิชาต์  วัฒนพันธุ์    กรรมการและเลขานุการโครงการ


ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑.สถานศึกษาในจังหวัดภูเก็ตตื่นตัวและเห็นความสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแก่นักเรียน นักศึกษาผ่านกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม
๒.เยาวชนมีความรู้ในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมากขึ้น สามารถถ่ายทอดแก่ผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง และภาคภูมิ
๓. เยาวชนเกิดบูรณาการทางความคิด สำนึกรักและภาคภูมิในการดำรงความเป็นชาติ

 

มติที่ประชุม มทศ. ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๓

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พฤหัสบดี, 26 สิงหาคม 2010 )