ภาวะโลกร้อน
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อาทิตย์, 06 มิถุนายน 2010
โมเดลภาวะโลกร้อน ภาคทฤษฏี Green House Effect Model  
มีกระทู้เชียร์โลกร้อน ต้านโลกร้อนกันก็หลายหน แต่ยังไม่มีลงทฤษฏี หรือเอาโมเดลมาให้เห็นกันจะๆ กระผมเลยถือเป็นโอกาสทบทวนความรู้ที่เรียน สร้างโมเดลภาวะโลกเรือนกระจกขึ้นมาโดยหวังว่า จะสร้างความเข้าใจ ให้กับผู้อ่านที่จะถกกันเรื่องโลกร้อนสามารถลงลึกกันได้มากขึ้น และจะได้มองเห็นกันว่า ทำไม ประเด็นโลกร้อนหลายๆประเด็นที่เป็นที่คาใจ ซึ่งผมบ่งชี้ไว้ในส่วนวิจารณ์ครับ

ถ้าอย่างไรก็ขอช่วยกด เก็บกระทู้นี้เข้าคลังกระทู้ด้วยนะครับ กระทู้นี้อาจสามารถเอาไปใช้อ้างอิงได้อีกในภายภาคหน้า

โมเดลจำลองการเกิด Green House Effect

โมเดลที่พบเห็นกันทั่วไปตามแบบของ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เป็นโมเดลที่อิงตาม Radiation Heat transfer  ซึ่งการสร้างแบบจำลองนี้ ก็จะใช้ Radiation Heat transfer เป็นหลัก

ขั้นตอนกระบวนการเปลี่ยนแปลงพลังงานที่เข้าและออกจากโลก พอสรุปได้ดังต่อไปนี้
1) รังสีจากดวงอาทิตย์ ที่แผ่ออกมา ในช่วงที่ความยาวคลื่นเข้ากับ Band gap ของ GHG จะถูกดูดซับ ตามสัดส่วนการมีอยู่ของ GHG  โดยรังสีส่วนที่ดูดซับไว้ได้นั้นจะถูกแผ่ออกในช่วงรังสีตามอุณหภูมิก๊าซ GHG
2) รังสีจากดวงอาทิตย์ส่วนที่กระทบโลก จะถูกสะท้อนออกบางส่วนตามค่า Albedo ของโลก ที่ประมาณ *0.4 หรือเป็น Absorptivity 0.6* (Reflect/Incident energy)
3) ความร้อนแผ่ออกจากแกนโลก คำนวณได้ตามอุณหภูมิ Magma และความหนาเปลือกโลกในสภาพ Conduction heat transfer
4) ความร้อนของโลกจะแผ่รังสีออกมาตามอุณหภูมิโลก ส่วนที่ความยาวคลื่นเข้ากับ Band gap ของ GHG จะถูกดูดซับ ตามสัดส่วนการมีอยู่ของ GHG  โดยรังสีส่วนที่ดูดซับไว้ได้นั้นจะถูกแผ่ออกในช่วงรังสีตามอุณหภูมิก๊าซ GHG
5) รังสีที่แผ่กลับจากข้อ 4) จะถูกนำย้อนกลับเข้าไปบวกกับความร้อนเข้าสู่โลก
6) จุดสมดุลพลังงานคือ อุณหภูมิโลก และ อุณหภูมิ GHG ที่สามารถแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศได้เท่าปริมาณพลังงานที่เข้าสู่ระบบ

แก้ไข**
Albedo โลกคือ 0.4 และ ตัว 0.6 คือ Absorptivity ครับ ขออภัย เบลอขนาดหนัก

แก้ไขเมื่อ 20 เม.ย. 53 14:41:06

 
 

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 16 เม.ย. 53 12:34:17
  


 
 
 

 
ความคิดเห็นที่ 1

ประเด็นความรู้ที่ต้องใช้ในการจัดทำโมเดล Green House Effect

1) การแผ่รังสี และหน้าต่างการดูดซับคลื่นรังสี หลัก Black Body Radiation อธิบายช่วงความยาวคลื่นและความหนาแน่นของพลังงานตามช่วงความยาว ที่ขึ้นกับอุณหภูมิพื้นผิวนั้นๆ
2) ปริมาณรังสีที่ GHG จะดูดซับได้มากที่สุดจากช่วงรังสีที่แหล่งความร้อนเปล่งออกมา อธิบายเกี่ยวกับ การคำนวณปริมาณรังสีที่ GHG จะดูดซับได้ตามช่วงความยาวคลื่น
3) ปริมาณรังสีที่ GHG จะดูดซับได้ ด้วยความหนาของ GHG เอง Concept ของ Emissivity และ Absorptivity ตามความหนา หรือปริมาณชั้น GHG ที่มี
4) Conduction Heat transfer การถ่ายเทความร้อนจากใต้พิภพสู่พื้นโลก

ประกาศตัวแปรที่ใช้ในการจัดทำโมเดลครั้งนี้
 s = Stefan-Boltzmann constant = 5.67 x 10-8 W/m2K4
 C = ความเร็วแสง = 299,792,458 m/s
 h = Planck’s constant =  6.63 x 10 -34 J.s
 k = Boltzmann’s constant =1.38 x 10-23 J/molecule.K
 nk = earth crust thermal conductivity = 1.83 W/m.K
 l = ความยาวคลื่น [=] m
 a = Absorptivity [=] ไม่มีหน่วย
 e = Emissivity [=] ไม่มีหน่วย
 q = heat flux [=] W/m2
 P = ความดัน [=] ATM
 T = อุณหภูมิ [=] Kelvin

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 16 เม.ย. 53 12:34:37
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 2

1) การแผ่รังสี และหน้าต่างการดูดซับคลื่นรังสี
รังสีจากดวงอาทิตย์ และการแผ่รังสีกลับจากพื้นโลก เป็นรูปแบบของ Black Body Radiation ซึ่ง ค่าความเข้มข้นพลังงานที่ปล่อยออกมาตามแต่ละช่วงคลื่นแสง แปรผันตามอุณหภูมิพื้นผิว โดย Planck ได้ให้โมเดล การแผ่รังสีของ Black body ไว้ดังต่อไปนี้
I’(l,T) = 2hc2l-5(ehc/(lkT)-1)-1

อุณหภูมิผิวโลกที่ต่างกัน จะให้ช่วง Peak การแผ่รังสีที่ต่างกัน ในขณะที่ก๊าซเรือนกระจกมีช่วงการดูดซับแสงที่จำกัดเป็นบางช่วง การที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ก็จะทำให้เกิดการเลื่อนของ Peak รังสี หลุดจากช่วงการดูดซับของ GHG ได้

ทั้งนี้ ปริมาณรังสีที่ตกสู่พื้นโลกยังมีปัจจัยลบจากเมฆที่ป้องกันแสงอาทิตย์กระทบสู่พื้นโดยตรง ซึ่งประมาณสัดส่วนไว้ว่าพลังงานที่ลงสู่พื้นได้มีค่าประมาณ 75%

 
 

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 16 เม.ย. 53 12:35:13
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 3

2) ปริมาณรังสีที่ GHG จะดูดซับได้มากที่สุดจากช่วงรังสีที่แหล่งความร้อนเปล่งออกมา
ค่าสัดส่วนของรังสีที่ GHG สามารถดูดซับได้สูงสุด คือช่วงการพาดผ่านของ Spectrum จากดวงอาทิตย์ หรือโลกที่เข้ากับช่องการดูดซับ ของ GHG การดูดซับนี้ ผมอ้างตามบทความของ J.N. Howard ข้างล่างเพื่อ Plot ช่วงการดูดซับ และคิดเป็นอัตราส่วนที่ GHG มองเห็น

 
 

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 16 เม.ย. 53 12:35:39
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 4

3) ปริมาณรังสีที่ GHG จะดูดซับได้ ด้วยความหนาของ GHG เอง
จากช่วงรังสีที่ GHG ดูดซับได้ ก็ยังมี Factor การดูดซับ และแผ่รังสีของชั้น GHG ที่ส่งผลต่อภาวะ Green House Effect  ได้แก่ค่า Absorbtivity และ Emissivity ขึ้นอยู่กับปริมาณของ GHG ที่ขั้นขวางระหว่างทางเดินของรังสีจากดวงอาทิตย์ โดยแสดงความสัมพันธ์กับตัวแปรคือ
 - อุณหภูมิ (T)
 - Mean Beam Length (L) คือความหนาของชั้น GHG  กรณีนี้คือความหนาของชั้นบรรยากาศ เทียบที่ความดัน 1 ATM จะมีค่าประมาณ
 - ความดัน Partial Pressure (P)  คือความเข้มข้นตลอดระยะความหนาของชั้น GHG

ผู้เขียนได้จำลองกราฟขึ้นมาตามแบบค่า Emissivity ของ CO2 และ H2O ได้สมการโดยประมาณดังต่อไปนี้

ec=(0.125 ln(Pc.L)-1.479).10-5T+0.029ln(Pc.L)+0.19
ew =(-2.652 ln(Pw.L)-17.11).10-5T+0.115ln(Pc.L)+0.541

การ Fit สมการ ใช้เทคนิคการใส่ log เพื่อลด Order ของการแปรผันออกไป และใช้วิธีการ Optimization เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์ของสมการ ตัวสมการย่อมมีค่าความเบี่ยงเบนจากค่าจริงในระดับ +/- 10% แต่ก็มีความเพียงพอที่จะนำใช้ในการจำลองโมเดล GHG

ถ้ามีใครสนใจ วิธีการ Fit สมการ จขกท อาจนำเสนอเป็นบทความในวาระถัดๆไป

ความสัมพันธ์ของค่า  Emissivity และ Absorptivity ของ CO2 และ H2O จาก Heat transfer 7th ED ของ J.P. Holman ในกรณีที่อ้างอิงความดันรวมที่ 1 บรรยากาศ ค่า Correction factor = 0
ac = e(TGHG/TWall)0.65
aw = e(TGHG/TWall)0.45

ตัวห้อย c = carbon dioxide w = water Wall = อุณหภูมิสัมผัส ของวัตถุเป้าหมายเช่นดวงอาทิตย์ หรือพื้นโลก
กรณีของดวงอาทิตย์ อุณหภูมิที่ใช้จะเป็นอุณหภูมิ Black body ที่ค่าความเข้มข้นรังสีประมาณ 1,400 W/m2 ซึ่งอ้างอิงตามตำแหน่งของดาวโลกที่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นระยะทาง 149,597,887.5 กม เป็นสำคัญ

โดยสรุปสมการ Heat transfer จะอยู่ในรูป  

q = acsTGHG4-ecsTGHG4+ awsTGHG4-ewsTGHG4

เป็นค่าความร้อนที่ GHG ดูดซับไว้ได้ กรณีที่ค่าความร้อนที่ดูดซับเกินก็คือความหนาของชั้น GHG เกินพอจะดูดซับส่วนความร้อนจากแหล่งความร้อนนั้นได้หมดนั่นเอง

 
 

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 16 เม.ย. 53 12:36:40
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 5
4) Conduction Heat transfer การถ่ายเทความร้อนจากใต้พิภพสู่พื้นโลก
การถ่ายเทความร้อนจากใต้พิภพ เป็นไปตามสมการ Conduction heat transfer คือ
qconduction =  nk(Tmagma – Tearth)/dx

เนื่องจาก สัดส่วนความหนาของเปลือกโลกต่อสัดส่วนรัศมีของโลกน้อยมาก จึงถือว่า dx เป็นความหนาของเปลือกโลกไปเลย เพราะ จขกท ก็ขี้เกียจจะไปผูก Shape factor เพิ่ม (ชุ่ยแล้วไงขอรับกระผม)
dx = ความหนาเปลือกโลก = 25,430 เมตร
Tmagma =  1,473 K

จริงๆแล้วความร้อนจากใต้พิภพนี้อาจเรียกได้ว่าน้อยมากจนละไว้เสียก็ได้ แต่ไหนๆก็ทำแล้ว เลยใส่ไปให้ครบๆครับ

แก้ไข
ใส่สมการผิด ตัดค่า Area ออก
จาก q = nkAdT/dx --> q = nkdT/dx

แก้ไขเมื่อ 16 เม.ย. 53 15:01:57

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 16 เม.ย. 53 12:37:09
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 6
สูตรที่ผูกสำเร็จแล้ว
การคำนวณส่วนที่ต้องใช้วิธีทำแบบ Iteration คือค่า IR back radiation จากฝั่งพื้นโลก ซึ่งจะส่งผลต่ออุณหภูมิสุดท้ายของ ผิวโลก และ GHG

โมเดลสามารถปรับเปลี่ยน Content ของ CO2 และ H2O อย่างอิสระ ในชั้นตอนแรกผมคิดจะใส่ค่าการ Absorb ของ มีเธนและออกซิเจนเข้าไปด้วย แต่มันจะต้องอ้างตำราหลายเล่ม ซึ่งกว่าจะตรวจทานกันเสร็จ ปลายปีนี้ทำคนเดียวก็ไม่จบ เพราะทำงานไปด้วย ศึกษาเองไปด้วยครับ

แก้ไข
ในรูปตรงหัวข้อ Albedo จริงๆเป็น Absorptivity ครับ Flux ลงเป็น 150 W/m2 และ ดูดซับไป 90 W/m2 ข้าน้อยสมควรตายจริงๆขอรับ

แก้ไขเมื่อ 20 เม.ย. 53 14:44:52

 
 

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 16 เม.ย. 53 12:37:37
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 7

ผลการจำลองโมเดล 1
กรณีที่โลกไม่มีชั้นบรรยากาศ อุณหภูมิของโลก จะอยู่ที่ประมาณ 3 องศาเซลเซียส
Green House Effect ส่วนใหญ่ของโลกมีผลมาจากน้ำ ซึ่งน้ำในอากาศในระดับ 100 ppm ก็เพียงพอที่จะ ดึงอุณหภูมิขึ้นมาประมาณ 19 C

 
 

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 16 เม.ย. 53 12:38:04
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 8

ผลการจำลองโมเดล 2
ผลกระทบของการมีอยู่ของ Carbon dioxide ในแง่ของการดูดซับรังสีจากดวงอาทิตย์จะไม่มีเลย เนื่องจาก ปริมาณ CO2 เพียงไม่กี่ ppm ก็เพียงพอจะดูดซับรังสีแล้ว เพราะชั้นบรรยากาศของโลกมีความหนาถึง 6.5 กม แต่ส่วนที่ CO2 ส่งผลเกิดจากการจับพลังงานที่แผ่กลับจากฝั่งโลกที่ช่วงความยาวคลื่น 4,000 nm ซึ่งเป็น Back radiation ที่ลอดช่องโหว่ ช่วงความยาวคลื่นที่น้ำจะดูดซับได้

 
 

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 16 เม.ย. 53 12:38:31
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 9
ผลการจำลองโมเดล 3
โมเดลที่จัดทำ เปรียบเทียบกับ โมเดลโลกร้อนยอดนิยม ก็จะพบว่าช่วง CO2 จาก 300 ppm -> 1,000 ppm ส่งผลถึงอุณหภูมิเฉลี่ยโลกเพิ่มได้ 2 องศาโดยประมาณ ซึ่งจะต่ำกว่าโมเดลยอดนิยมนี้เล็กน้อย

แก้ไขเมื่อ 16 เม.ย. 53 12:48:29

 
 

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 16 เม.ย. 53 12:39:02
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 10

วิจารณ์

1) จากโมเดล Green House Effect มีข้อสังเกตคือ การที่ก๊าซเรือนกระจกจะสามารถนำพลังงานเข้ามาเพิ่มสู่ระบบ หรือป้องกันการที่พลังงานจะออกจากระบบไป ตัว Band Gap ของ GHG นั้นๆจะต้องเป็นช่วงที่ไม่ทับ Band Gap การดูดซับรังสีของน้ำ อย่างกรณี CO2 ที่มีช่วงการดูดซับคลื่นช่วง 4,000 nm ที่ยังมิได้ดูดซับโดยน้ำ จึงมีผลต่อการที่พลังงานเพิ่มขึ้นสู่ระบบ ตรงนี้เป็นที่น่าสงสัยว่า CH4 ซึ่งมี Band Gap ทับกับน้ำ ทั้งช่วง Peak 3,000 และ 7,000 nm ซึ่งการดูดซับรังสีของน้ำครอบคลุมช่วงรังสีนั้นแล้ว

2) ประเด็นที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง คือผลกระทบของเมฆในบรรยากาศ ซึ่งเป็นตัวกันแสงให้สะท้อนออกสู่อวกาศ กรณีที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ปริมาณเมฆน่าจะเพิ่มขึ้น และอาจชดเชยลดปริมาณพลังงานเข้าระบบ แม้แต่โมเดลที่จำลองว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2 องศา การเพิ่มจริงอาจน้อยกว่านั้นได้มาก

 
 

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 16 เม.ย. 53 12:41:08
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 11

วิจารณ์ 2
3) ข้อสังเกตเรื่องสัดส่วนพลังงานที่มีการแปรเปลี่ยน จะพบว่า สัดส่วนพลังงานที่มีการเคลื่อนไหวโดยเฉพาะ การแผ่รังสีของโลกออก หรือปริมาณพลังงานที่ดูดซับโดย GHG จากทางฝั่งโลกมีสัดส่วนการแปรเปลี่ยนในระดับที่สำคัญ เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงทางอุณหภูมิ ซึ่งสิ่งที่เราเรียกว่าภาวะโลกร้อน และเอาอุณหภูมิโลกมาเป็นตัวตั้งในการวัดนั้น อาจเป็นดัชนีชี้วัดที่ไม่ถูกต้องเป็นอย่างยิ่ง

4) ผลจากการใช้อุณหภูมิเป็นตัววัด ยังถึงกับมีนักเคลื่อนไหวบางกลุ่มที่พยายามตีค่าการเพิ่มของอุณหภูมิตามปริมาณ ppm CO2 ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งถ้าดูจากโมเดล อุณหภูมิสูงสุดที่ CO2 สามารถทำให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นได้จะมี Limit boundary ที่ประมาณ 299 K หรือ มากที่สุด + 6 องศาจากอุณหภูมิปัจจุบัน เพราะอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ย่อมทำให้การแผ่รังสีมากขึ้นเป็นธรรมดา

 
 

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 16 เม.ย. 53 12:41:37
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 12

ส่งท้าย
จากที่จัดทำโมเดลขึ้นมา ข้อมูลที่ตะลุยอ่านจริงๆก็มีมากกว่าที่อยู่ในอ้างอิง เพราะผมก็อ่านไปเรื่อย สุดท้ายหลักๆก็อิงข้อมูลจากเล่ม Heat Transfer และ Perry เป็นหลัก เพราะงานนี้ไม่ใช่เรียงความแต่เป็นการทดลองสร้างโมเดลจำลองสภาวะ Green House Effect ขึ้นมา ปํญหาหลักของการเขียนบทความนี้ คือการที่ต้องมาไล่ทบทวนสิ่งที่เคยเรียนแบบผ่านๆ มาทำความเข้าใจกับมันจริงๆจังๆ เอาเข้าใจริง เรื่อง Green House Effect ข้อมูลเชิงทฤษฏีมันก็ไม่ไกลจากตัวคนที่เรียนวิศวกรรมสักเท่าไหร่ โมเดลนี้สามารถเขียนจริงๆอ้างจากเล่ม Heat Transfer อย่างเดียวก็ทำได้ หนังสือเล่มนี้น่าจะเรียกว่าเป็นมาตรฐานที่วิศวกรทุกคนน่าจะเคยมีหรือเคยผ่าน และก็หวังว่าบทความนี้ คงจุดประกายความสนใจคนอ่านได้สักคนสองคน ที่จะลองแกะโมเดลสภาวะโลกร้อนมาทดสอบ ลองคำนวณด้วยตนเอง แทนที่จะพึ่งการอ่านสิ่งที่คนอื่นวิเคราะห์มา ที่อาจมี Bias ปะปนอยู่จำนวนมากก็เป็นได้

อ้างอิง (สักหน่อย)
1)  J.P. Holman “Heat Transfer” 7th ED, McGrawHill
2)  “Perry’s Chemical Engineering Handbook” 8th ED, McGrawHill
3)  http://books.google.co.th/books?id=z_anVNTmQLUC&pg=PA293&lpg=PA293&dq=gas+emissivity&source=bl&ots=1-4KCO2bnq&sig=lljcX9wS_I9c3etCWdc849Jv_04&hl=th&ei=eRYxSoXTNtSBkQX6q83EBw&sa=X&oi=book_result&ct=result&resnum=6#PPA278,M1
4)  http://www.john-daly.com/artifact.htm
5)  http://www.btinternet.com/~robertjtucker/gas_emissivity.htm
6)  http://en.wikipedia.org/wiki/File:Atmospheric_Transmission.png
7)  http://en.wikipedia.org/wiki/Greenhouse_effect
8)  http://en.wikipedia.org/wiki/Absorptivity
9) http://en.wikipedia.org/wiki/Beer–Lambert_law
10)  http://asd-www.larc.nasa.gov/~kratz/ref/p14jgr.pdf
11) http://csep10.phys.utk.edu/astr162/lect/light/radiation.html
12) http://www.meteo.mcgill.ca/bourqui/

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 16 เม.ย. 53 12:42:01
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 13

กระทู้นี่ท่าจะยากเกินแฮะ ผ่านแล้วก็ผ่านไป

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 16 เม.ย. 53 18:02:57
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 14  

ขอบคุณครับ เป็นกำลังใจให้ครับ

ประเด็นเรื่อง Band Gap เคยมีคนอ้างว่า ไอน้ำดูดซับรังสีในช่วง wave length ของคาร์บอนไดออกไซด์ไปเกือบหมด เพื่อที่จะชี้ว่า CO2 ไม่มีผลเลยหรือมีน้อยมาก ซึ่งไม่จริง

ส่วนเรื่อง Band Gap ของมีเทนที่ซ้ำกับไอน้ำ เข้าใจว่า ไอน้ำดูดซับได้ไม่หมดเต็ม 100% ของรังสีใน wavelength นั้น ทำให้มีเทนยังมีผลต่อสมดุลพลังงานอยู่

จากคุณ: Trebovir Road
เขียนเมื่อ: 16 เม.ย. 53 18:41:58
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 15

ขอบคุณมากครับที่เข้ามาดู

ครับ ประเด็นของ Wavelength ที่มีเธนซ้ำกับไอน้ำ ที่จะดูว่าไอน้ำจับได้หมดหรือไม่หมด ก็เลยต้องใช้วิธีคำนวณตามปริมาณที่มีจริง ซึ่งก็คือมันหมดตามทฤษฏีตั้งแต่ 100 ppm แล้วน่ะครับ ซึ่งมันอาจเกิดจากการถูกรับ และมีการปล่อยกลับออกมาในช่วงค่าความยาวคลื่นเดิมแทนที่จะแผ่ออกมาในรูปรังสีความร้อน ถ้ามีเธนจะมีผล นั่นคือเฉพาะส่วนที่เหลือและเบี่ยงเบนจากทฤษฏีซึ่งมีผลได้น้อยมากครับ อย่างน้อยก็ในโมเดลของผม

ส่วน Bang gap ของ CO2 นั่นมีช่วงยอดที่พ้น Band gap ของไอน้ำจริงครับ

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 16 เม.ย. 53 19:30:50
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 16

อ่านแล้วรู้สึกว่าต้องพัฒนาตัวเองเยอะมากมายเลยทีเดียว ส่วนตัวผมสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว แต่กับคอมพิวเตอร์นี่ยังอ่อนด้อยจริงๆ เทอมนี้มีเรียน simulation สงสัยต้องขอคำแนะนำจากท่านผู้ทรงภูมิซะแล้ว //ถูกใจที่สุด

จากคุณ: Finnegan 'Finn' Bell
เขียนเมื่อ: 17 เม.ย. 53 05:10:27
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 17

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับคุณ Finnegan 'Finn' Bell การเขียน Simulation ปัญหาหลักอย่างไรก็คือตัวโจทย์ ไม่ว่าจะเป็น Heat Mass หรือ เศรษฐศาสตร์ ครับ ขอให้โชคดี กับการเรียนครับ

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 17 เม.ย. 53 10:48:47
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 18
นับถือ นับถือ

ผมไม่รู้ลึกพอที่จะวิจารณ์ แต่สังเกตว่าค่า 2 C ที่คุณ Darth Prin คำณวนได้นั้นใกล้เคียงกับค่าที่ได้จากการ observe จริง ขอให้ลองดูกราฟใน link ข้างล่าง ถ้าต่อกราฟออกไปถึง 1000 ppm ก็น่าจะได้ประมาณนั้น

http://wattsupwiththat.com/2009/10/25/what-does-a-reduction-to-350-ppm-of-co2-get-you/

ปล. นอกจากนี้ผมเห็นด้วยที่คุณกล่าวว่า ในความเป็นจริงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิอาจจะน้อยกว่านั้น เนื่องจากในความเป็นจริง โลกดูมีแนวโน้มจะเป็น negative feedback มากกว่าที่จะเป็น positive feedback

แก้ไขเมื่อ 17 เม.ย. 53 21:04:42

 
 

จากคุณ: กาลามะชน
เขียนเมื่อ: 17 เม.ย. 53 20:53:15
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 19

คล้ายจริงๆด้วยแฮะคุณ กาลามะชน

มันเหมือนมีการคำนวณผิดโดยเอา Band Gap ส่วนที่ซ้อนกับของน้ำเข้ามาคำนวณ หรือการคำนวณ CO2 แยกจากน้ำแล้วเอาผลมาบวกกันตรงๆ ตรงนี้ก็ไม่รู้เสียด้วย เพราะโมเดลพวกนี้จะให้เป็นอุณหภูมิต่าง แต่ไม่ให้อุณหภูมิสมบูรณ์ อย่างกรณีผม ให้ปริมาณน้ำอยู่ที่ 1% ของอากาศ และตัด Spectrum เป็น Portion ที่ดูดซับได้

ถ้าผมตัดปริมาณน้ำออกทั้งหมด อุณหภูมิฐานของโลกก็จะต่ำ และการแผ่รังสีของโลกเทียบกับอวกาศก็จะต่ำด้วย ผลของ CO2 ก็จะเสมือนมีผลสูงขึ้น ซึ่งเป็นเพราะความต่างศักย์ของอุณหภูมิตามสมการ Radiation heat transfer ไม่ใช่จาก thermal sequencing ครับ

ขอบคุณที่เข้ามาดูครับ

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 18 เม.ย. 53 23:02:46
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 20

ขอบคุณมากครับ สาระล้วนๆ

ต้องตั้งใจอ่านและย่อยข้อมูล

เนื้อหาแล้วครับ

จากคุณ: สันปันน้ำ
เขียนเมื่อ: 19 เม.ย. 53 13:16:37
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 21

โหวตให้กระทู้ไม่ตก

จากคุณ: Cryptomnesia
เขียนเมื่อ: 19 เม.ย. 53 16:13:56
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 22  

:) ลงชื่อนะฮะ

จากคุณ: นักปาด..มิรู้พลั้ง
เขียนเมื่อ: 19 เม.ย. 53 16:21:44
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 23  

:) อ่านจบแล้วความรู้แนวนี้แทบไม่มี ขอให้กำลังใจและนิยมท่านพี่แทนครับ

จากคุณ: นักปาด..มิรู้พลั้ง
เขียนเมื่อ: 19 เม.ย. 53 16:28:08
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 24

โลกมันร้อน พี่ๆช่วยกระผมหน่อยนะคร้าบ

 
 

จากคุณ: กิ๊ฟไม่ใช่ตุ๊กตา
เขียนเมื่อ: 19 เม.ย. 53 16:50:37
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 25

ภาษาชาวบ้านเรียกปรากฏการณ์นี้ว่าอะไรครับ

จากคุณ: หัวปลาทู
เขียนเมื่อ: 19 เม.ย. 53 16:50:37
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 26

ขอศึกษาแบบเงียบๆๆค่ะ..เพราะดูแล้วท่าจะยาก..

จากคุณ: nuanapa
เขียนเมื่อ: 19 เม.ย. 53 17:01:54
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 27

เดี๋ยวมาอ่านครับ ^^

ช่วยโหวตไว้อีกคน

จากคุณ: xnone
เขียนเมื่อ: 19 เม.ย. 53 17:13:01
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 28

ถามจริงๆนะครับ  

ทุกวันนี้  ปรากฏการณ์โลกร้อนมันเป็นเรื่องจริงหรือครับ

ตอนแรกก็นึกว่าเป็นนโยบายหาเสียงของ อัล กอร์

ส่วนตัวคิดว่ายังสรุปไม่ได้  แต่ช่องสามเขาก็ช่วยรณรงค์เยอะดี

จากคุณ: SAINT_OF_FIRE
เขียนเมื่อ: 19 เม.ย. 53 18:05:29
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 29

กระทู้ความรู้ ขอโหวต

ขอแนะนำอะไรนิดนึงครับพี่ ตัวเลขหรือสมการ เยอะมากครับ ทำให้บางคนไม่อยากที่จะอ่าน

จากคุณ: อนุภาคกลูออน
เขียนเมื่อ: 19 เม.ย. 53 18:22:52
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 30

#28 ผลกระทบจาก GHG ย่อมมี แต่ประเด็นคือมันกระทบขนาดไหนและกระทบอย่างไรน่ะครับ ถ้าเราเข้าใจมันแบบผิวๆอย่างที่พวก Activist เขาทำกันก็บอกง่ายๆ หยุดใช้พลังงาน หยุดปลูกข้าว ห้ามใช้ปลาสติก ห้ามกินเนื้อสัตว์ กินเหล้าสูบบุหรี่ทำโลกร้อน บลาๆๆ จนกลายเป็นว่ามนุษย์ถ้าสูญพันธุ์ไปซะแก้โลกร้อนได้

ที่ลงทุนเขียนโมเดลนี้ขึ้นมา ก็เพื่อให้ดูว่ามันไม่ได้ซับซ้อนอะไรขนาดนั้น คนธรรมดาก็ศึกษาเองได้ เพื่อให้กล้าเรียนรู้และเข้าใจด้วยตนเอง และใช้วิจารณญาณพิจารณาได้ว่า ที่เราเรียกโลกเรือนกระจก มันมีที่มาทางทฤษฏีอย่างไร และส่งผลกระทบได้ขนาดไหน แมันเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อ Biosphere เป็นหลัก และลักษณะของภาวะโลกเรือนกระจกมันจะเกี่ยวกับพลังงาน ที่อาจแปรเปลี่ยนเป็นกำลังลมและกระแสน้ำได้ ละที่แน่ๆ มันไม่ใช่ว่าภาวะโลกเรือนกระจกทำน้ำทะเลเดือดหรือโลกแตกภูเขาไฟระเบิดครับ ในวาระต่อไปผมจะเขียนเกี่ยวกับสมดุล CO2ในทะเลที่เกี่ยวพันกับเมฆฝนครับ แต่คงต้องรอสักพัก เพราะผมศึกษาเองเขียนเองมันก็ช้าเป็นธรรมดา

#25 จากที่เห็น การเรียกว่าภาวะโลกเรือนกระจกน่าจะถูกต้องกว่าเรียกภาวะโลกร้อน เพราะจากที่แสดงไว้ใน #11 ผลกระทบของ GHG ส่งผลกับอัตราการถ่ายเทของพลังงานมากกว่าการเพิ่มหรือลดของอุณหภูมิมากมายนัก มันอาจทำให้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นได้เร็วขึ้น แต่ผลที่เกี่ยวกับการทำให้ร้อนมากขึ้นกลับน้อยมาก ขอบคุณทุกๆท่านที่เข้ามาอ่านและช่วยผลักกระทู้ไว้ครับ

#29 ผมก็ว่ายังงั้น แต่ถ้าไม่เอาทฤษฏีมาลงเลย คนก็คงยังถกแต่ความเชื่อ ซึ่งไม่มีวันได้บทสรุป เอาความรู้มากองไว้ให้ ยังพอคาดหวังได้ว่าคนจะได้ศึกษาและมาถกกันด้วยความรู้แทนที่จะว่ากันด้วยความเชื่อแต่อย่างเดียวน่ะครับ ผมก็เสีย self ไปหลายตอนไม่มี comment เลย เพราะปรกติเห็นถกกันจะเป็นจะตายก็เรื่องโลกร้อน พอลงทฤษฏีกลายเป็นเงียบกริบ อ่า เวลาปีกว่าที่ตูศึกษามา ฤากลายเป็นผายลมไปเสียแล้วนั่นน่ะขอรับ

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาดู เข้ามาศึกษา และช่วยผลักกระทุ้ไว้

ปล ผลักหมีขาวตกน้ำป๋อมแป๋ม

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 19 เม.ย. 53 19:45:34
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 31

อ่านไม่รู้เรื่องแต่ก็โหวต สาระวิชาการดีๆ หากมีเวลาจะมาตั้งใจอ่านนะ

จากคุณ: Choco-Mix
เขียนเมื่อ: 19 เม.ย. 53 20:54:45
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 32

ลงชื่อไว้ก่อน  ^ ^

จากคุณ: env42_tay
เขียนเมื่อ: 19 เม.ย. 53 21:35:42
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 33

แอบมาเชียร์ แล้วก็อ่านอย่างงงๆ - -"

จากคุณ: พ่อค้าก๋วยเตี๋ยว ณ ทุ่งบางกะปิ
เขียนเมื่อ: 19 เม.ย. 53 22:05:51
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 34

สรุปก็คือกรณีโลกร้อนจริงหรือมันเป็นแค่วัฏจักรธรรมดาทั่ว ๆ ไป เป็นเรื่องที่ต้องจับตากันต่อไป ถูกหรือเปล่าครับ

ผมเคยเห็นคนเอาวัฏจักรอุณหภูมิโลกย้อนหลังมาให้ดู ปรากฎว่าปัจจุบันยังอยู่แค่ตรงกลาง ๆ ของค่าที่เคยเป็นด้วยซ้ำ แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดคือลูบมันถี่ขึ้นหรือเปล่า

จากคุณ: RadiS
เขียนเมื่อ: 19 เม.ย. 53 23:15:11
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 35

มึนมาก ฮ่าฮ่าฮ่า พยายามอ่านหลายรอบ แต่สู้ไม่ไหวจริงๆ T^T

ขอโหวตแทนแล้วกันนะครับ ^^

จากคุณ: อ้ายคนเมือง
เขียนเมื่อ: 19 เม.ย. 53 23:23:14
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 36
#34 โมเดลนี้ไม่ได้ตอบไปถึงขั้นนั้นครับ เป็นแค่กลไกของการเกิดภาวะโลกเรือนกระจก ที่แสดงให้เห็นว่าลักษณะของผล มันจะแสดงออกในรูปไหน อุณหภูมิสูงขึ้น หรือสมดุลพลังงานที่เปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น ก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นมา ถ้า band gap มันซ้ำกันและก๊าซตัวอื่นที่ดูดซับและ Sequence ความร้อนเต็มที่แล้ว ถึงมันจะมีเพิ่มก็ไม่น่าเกิดผลกระทบอะไรเป็นต้น

ซึ่งผลกระทบของน้ำมือมนุษย์มันมีถึงระดับไหน อันนั้นก็จะเป็นบทความต่อไปครับ เพราะผมเน้นคือตัวทฤษฏี ไม่ใช่บทสรุป คนที่จะ pro หรือ con กับภาวะโลกเรือนกระจก อย่างน้อยก็ควรมีพื้นฐานความรู้ของสมดุลอุณหภูมิโลกน่ะครับ

เพราะผมเองก็ไม่ได้ต้านเรื่องโลกร้อนทั้งหมด แต่ผมไม่พอใจที่ใครๆเห็นข่าวภัยพิบัติ หรือ heat wave แล้วไปโยงว่าเพราะโลกร้อน หรือกลัวไปถึงขั้นน้ำแข็งขั้วโลกจะละลายหมดน้ำท่วมโลกเพราะภาวะโลกร้อนน่ะครับ

หลายๆเรื่อง เราใช้ความเชื่อในการตัดสินโดยขาดความรู้ที่จะใช้พิจารณาครับ

เพิ่มเติมนิดน่ะครับ

# 35 เกี่ยวกับการทำความเข้าใจทฤษฏี ถ้าไปหาหนังสือที่เกี่ยวกับ Heat transfer และอ่านในส่วน Radiation Heat transfer จะช่วยทำความเข้าใจได้ดีขึ้นครับ เรื่อง Green House Gas จะมีการสอนถึงผลของมันโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการออกแบบเตา Furnace ซึ่งนำมาปรับใช้ได้ครับ

แก้ไขเมื่อ 19 เม.ย. 53 23:34:36

แก้ไขเมื่อ 19 เม.ย. 53 23:57:07

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 19 เม.ย. 53 23:30:22
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 37

โหๆๆ    ขอดูเงียบๆละกัน

ช่วงนี้กระแสโลกร้อนในหว้ากอยังไม่แรง  ตอนนี้ขอนั่งรอดูละกัน  หวังว่าจะเป็นที่ถกเถียงกันอีก

จากคุณ: zawaafaps
เขียนเมื่อ: 19 เม.ย. 53 23:44:02
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 38

เห็น graph กับตัวเลขแล้วขนลุก
ลุกเพราะดูไม่รู้เรื่อง T_T
แต่เป็นกำลังใจให้ Darth Prin นะคะ
ช่วยเก็บเข้าคลังให้ด้วยค่ะ

ปล อมยิ้ม จขกท สวยอ่ะ มีหลายสี :)

จากคุณ: หญิงป้า
เขียนเมื่อ: 20 เม.ย. 53 00:28:39
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 39

http://eospso.gsfc.nasa.gov/ftp_docs/lithographs/CERES_litho.pdf

จากคุณ: icebee
เขียนเมื่อ: 20 เม.ย. 53 02:00:05
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 40

กระทู้ดีๆมีสาระอย่างนี้ต้องโหวต+ให้กิ๊ฟ

จากคุณ: เกียงอุยศิษย์มังกรหลับ
เขียนเมื่อ: 20 เม.ย. 53 02:32:57
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 41

อ่านแล้วหน้าอาจารย์ฟิสิกส์ลอยมาแต่ไกลเลย

ได้สาระมากครับ โหวตให้ครับ

จากคุณ: Singster
เขียนเมื่อ: 20 เม.ย. 53 08:30:40
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 42

คุณ Darth Prin

ค่า albedo เฉลี่ยของโลกมัน 0.39 ไม่ใช่หรือครับ
ไม่ใช่ 0.6 เน้อ

จากคุณ: alan the lamb
เขียนเมื่อ: 20 เม.ย. 53 13:38:45
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 43
เออ แฮะ แล้วตอนผมผูกสูตรก็ดันใช้เป็น Absorptivity
เกือบต้องล้างโมเดลใหม่ตั้งแต่ต้นแล้วกระผม

//me ปาดเหงื่อ ขอบคุณ alan the lamb ที่สังเกตให้ครับ

เดี๋ยวเปลี่ยนรูป Excel ทีหลังแล้วกัน วิ่งไปแก้ตรงหัวเรื่องก่อน

แก้ไข พิมพ์ผิดเรื่อยเลยแฮะ

แก้ไขเมื่อ 20 เม.ย. 53 14:42:04

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 20 เม.ย. 53 14:37:53
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 44

สรุปว่าเกิดผลกระทบแน่นอน
แถมคาดเดาลำบาก

ทุกคนต้องตื่นรู้ และลงมือทำแล้วครับ

แต่ทำอะไรนี่สิ

จากคุณ: g9h
เขียนเมื่อ: 20 เม.ย. 53 15:36:26
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 45
มีเรื่องที่น่าสนใจประการหนึ่ง

ค่า CO2 1000 ppm นั้นไม่มีทางเกิดขึ้นได้ เนื่องจากโลกมีเชื้อเพลิงฟอสซิลเหลืออยู่ไม่มากพอ

ค่า 1000 ppm เป็นค่าที่สมมติขึ้น โดยสมมติว่าโลกมีเชื้อเพลิงฟอสซิลให้ใช้แบบไม่มีขีดจำกัด และมีอัตราการใช้ที่เพิ่มแบบก้าวหน้าทุกๆปี

แต่ชาวโลกเผาฟอสซิลร้อยกว่าปี ทำไห้ CO2 เพิ่มขึ้นจาก 280 ppm เป็น 380 ppm คือเพิ่มขึ้น 100 ppm

ในขณะที่ peak oil คาดว่าอยู่ข้างหน้าไม่ไกล คือปี 2025 เป็นอย่างเร็ว หรือปี 2040 เป็นอย่างช้า

หลังจากนั้นอัตราการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจะลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะแหล่งเชื้อเพลิงร่อยหลอ

ค่า CO2 สูงสุดที่จะสามารถเกิดขึ้นได้จริงในทางปฏิบัติ ในอีก 100 ปีข้างหน้า ประมาณว่าไม่เกิน 600 ppm เท่านั้น

แบบจำลองต่างๆที่ทำวิจัยออกมาในรุ่นหลังๆ จึงมักจะคิดออกมาสูงสุดแค่ 600 ppm

แก้ไขเมื่อ 20 เม.ย. 53 20:57:25

จากคุณ: กาลามะชน
เขียนเมื่อ: 20 เม.ย. 53 16:21:51
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 46

คำนวณตามดูก็ใกล้เคียงตามที่คุณ กาลามะชนว่าไว้ แต่ผมก็คำนวณไปถึง 10,000 ppm เพราะผมอยากเห็นขีดจำกัดขั้นสูงสุดที่ CO2 จะเพิ่มอุณหภูมิขึ้นไปได้อยู่ดี

ถ้าคำนวณตามที่ คุณ กาลามะชนว่า มวลอากาศของโลกอยู่ที่ 5 x 1015 ตัน
CO2 จากการใช้เชื้อเพลิงโลก อยู่ที่  2.9 x 1010 ตัน
ปริมาณ CO2 ควรเพิ่มขึ้น 5.8 ppmw ต่อปี หรือ 3.8 ppmv
(w = น้ำหนัก v = ปริมาตร)

และก็มีข้อสังเกตอยู่ว่า จากการตรวจวัด อัตราการเพิ่มของ CO2 กลับอยู่ที่1.5 ppmv ต่อปี

มันน่าจะมีสมดุลตัวอื่นๆที่คุมการเพิ่มขึ้นของ CO2 ไว้ด้วย การเผาเชื้อเพลิงทั้งหมด ไม่น่าจะหมายความว่า CO2 จะเพิ่มตามนั้นครับ

 
 

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 20 เม.ย. 53 17:54:50
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 47

อ่านแล้ว งง ๆ ไม่ค่อยเข้าใจนัก แต่ก็ขอบคุณครับที่นำมาให้อ่าน

แม้จะได้เล้กน้อย แต่ก็ได้มากขึ้นละนะ

จากคุณ: et009
เขียนเมื่อ: 20 เม.ย. 53 20:01:40
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 48

ผมไม่เคยคำณวนเอง แต่ตามที่อ่านเจอ นักวิทยาศาสตร์พบว่า CO2 ที่มนุษย์ปล่อยออกไปนั้น จะหายไปประมาณ 1 ใน 3 โดยนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นเพราะละลายลงสู่มหาสมุทรกับน้ำฝน

จากคุณ: กาลามะชน
เขียนเมื่อ: 20 เม.ย. 53 21:01:29
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 49

โมเดลการละลาย CO2 ด้วยน้ำฝน ถ้างานเบาลงจะเอาโมเดล Scrubber มาจับให้ดูครับ ผมว่าวิชาที่วิศวกรเรียน ถ้าจะเอาใช้จริงๆก็ใช้อธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติได้เยอะ

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 20 เม.ย. 53 21:33:34
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 50

ส่วนหนึ่งคงกลายเป็นหินปูนตกตะกอนใต้ทะเลด้วย
ลงไปแล้วอยู่นาน ไม่กลับเข้ามาในวัฏจักรอีก

จากคุณ: alan the lamb
เขียนเมื่อ: 21 เม.ย. 53 09:29:31
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 51

ดู An Inconvenneint Truth ของคุณอัล กอร์ แล้วคิดว่ามันน่ากลัวจริงๆนะ ทั้งๆที่ตอนฟังก็พยายามฟังอย่างมีวิจารญาณว่าอาจเป็นนโยบายหาเสียงของเขาจริงๆก็ได้
ทฤษฎีโลกร้อนนี่ยังมีการถกเถียงว่าตอนนี้ร้อนจริงเพราะปรากฏการณ์ Green House Effect จริงๆรึเปล่า บางทีไม่รู้จะเชื่อฝ่ายไหนดี = ="

จากคุณ: End of Love
เขียนเมื่อ: 21 เม.ย. 53 10:46:01
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 19

ซ่อมรูปใน คห 46 ครับ

Green House Effect ผมเห็นว่า ศึกษาให้เข้าใจด้วยตัวเองดีที่สุด มันอาจไม่ใช่ว่า อัล กอร์ ใช้แค่เพื่อหาเสียง แต่เขาน่าจะเชื่ออย่างนั้นจริงๆ และดำเนินการตามวิธีของนักเคลื่อนไหว เป็น Activist ครับ

เชื่อฝ่ายไหน แนะนำให้เชื่อฝ่ายที่มีเหตุผล พิจารณาตามหลักกาลามสูตรครับ

 
 

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 22 เม.ย. 53 02:39:34
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 20

คห10
GHG barrier ดูดซับ 204W/m2 นั้นคือตอนที่ยังไม่สมดุลความร้อนใช่ป่าว

จากคุณ: icebee
เขียนเมื่อ: 22 เม.ย. 53 04:02:02
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 21

อ่านเข้าใจง่ายค่ะ ขอบคุณมากๆ

จากคุณ: แม่น้องอะตอม
เขียนเมื่อ: 22 เม.ย. 53 06:14:40
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 22

# เอ่อ ตอนนี้หมายเลขกระทู้รวนสุดๆ ดังนั้น
คุณ icebee
GHG Barrier รับจากดวงอาทิตย์มา 92 W/m2
และก็รับจากพื้นโลกมาอีก 223 W/m2
รวมๆ แล้วพลังงานขาเข้าคือ = 92+ 223 = 315 W/m2

แต่ทิศทางที่มันกระจายความร้อนออกไป จะกระจายไปทั้งด้านออกสู่อวกาศและออกสู่พื้นโลก นั่นคือ การกระจายของมัน 157.5 W/m2 ออกสู่อวกาศ และ 157.5 กลับสู่พื้นโลก

แต่ทีนี้ พลังงานที่กลับสู่พื้นโลก มันก็จะถูกดูดซับและแผ่รังสีออกมาอีกครั้งรวมๆกับที่รับจากดวงอาทิตย์ และ Geothermal คือ 285 W/m2 ซึ่งสัดส่วนพลังงานตรงนี้ GHG จะสามารถดูดซับได้แค่ 223 W/m2 เพราะหน้าต่างช่วงคลื่นรังสีที่ GHG ดูดซับ มีได้แค่นั้น ให้ดูรูปที่ความเห็น 3 ที่ขึ้นเป็นหัวข้อ 2) ประกอบครับ

คุณ แม่น้องอะตอม
เป็นครั้งแรกๆเลยที่มีคนบอกว่าผมเขียนรู้เรื่องครับ ToT

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 22 เม.ย. 53 10:47:08
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 23

สำหรับ ตัวอย่างโจทย์ของ CERES ที่คุณ icebee โพส ตรง คห 39 อันแรก

นั่นเป็นวิธีการคำนวณหาอุณหภูมิสัมผัสเฉลี่ยของโลกโดย Radiation Heat Transfer ซึ่งมีค่าที่ใช้คือ

A = Albedo -> 1- Albedo = Absorptivity ซึ่งที่อุณหภูมิเดียวกัน จะ เท่ากันกับ Emissivity
ส่วนค่า e ตรงนี้ปรกติจะใช้ในความหมาย Emissivity ของ CERES ใช้เป็นค่าตัวแปร Factor ของ Greenhouse Effect
S คือ Solar Constant ที่ต้องหารด้วย 4 เพราะ พื้นที่ผิวของโลก คำนวณด้วยพื้นที่ผิวทรงกลม Area = 4pR2 แต่ พื้นที่ๆแสงอาทิตย์ตกกระทบเป็นพื้นที่วงกลม Area = pR2
เมื่อเฉลี่ยพื้นที่ออกให้เท่ากันทั้งโลก Flux ความร้อน หรือ q = S/4

สมการในลักษณะ q(A-1) =esT4

ใช้บ่งชี้การมีอยู่ของ Greenhouse effect ได้ แต่ไม่สามารถบ่งชี้ว่า ถ้า GHG แต่ละตัวถ้าเพิ่มขึ้น กี่ ppm แล้ว โลกจะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นกี่องศา

ตอนแรกก็งงๆว่าโพสลิงค์นี้ทำไม แต่เห็นที่ถามใหม่ ผมเลยเดาว่าสิ่งที่ Icebee อยากรู้คือให้อธิบายโมเดลของ CERES น่ะครับ

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 22 เม.ย. 53 11:05:10
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 24

เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง เดี๋ยวจะพยายามทำความเข้าใจใหม่อีกรอบนึง
ยังไงก็ ขอบคุณนะครับ

จากคุณ: LiTzuMin
เขียนเมื่อ: 22 เม.ย. 53 17:47:58
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 25

จากความรู้ระดับม.ปลายสมดุลความร้อนเกิดขึ้นเมื่อพลังงานความร้อนที่ระบบได้รับหรือสร้างขึ้นเป็นศูนย์ ในกรณีระบบอยู่ในสมดุลความร้อนสามารถพิจรณาอุณหภูมิได้ง่ายๆ อย่างCERES ด้านขวาเป็นพลังงานเข้า ด้านซ้ายเป็นการแผ่รังสีกลับ พลังงานรวมที่ระบบได้รับเป็นศูนย์ ด้วยหลักการเดียวกันถ้ามองระบบเป็นชั้นบรรยากาศก็ทำได้เหมือนกัน (การคำนวณอุณหภูมิของระบบที่ไม่สมดุลทำได้โดยใช้สมการอนุพันธ์ขึ้นกับเวลาแต่มันจะยุ่งยากไป)

โมเดลที่ใน คห1 สามารถเขียนเป็นสมการสมดุลความร้อนได้ แต่พอเห็นผลใน คห10 ก็แปลกใจเลยลองถามดู ก็ได้คำตอบว่าบรรยากาศได้รับพลังงานรวมไม่เป็นศูนย์แสดงว่าอุณหภูมิกำลังเพิ่มขึ้นหรอ

ถ้ากำลังเพิ่มไหนกราฟอุณหภูมิเทียบเวลา กราฟ คห 7,8 ไม่ระบุเวลาหมายความว่าไง

จากคุณ: icebee
เขียนเมื่อ: 23 เม.ย. 53 04:13:12
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 26

ขอบคุณที่ช่วยตรวจทานให้ครับ พบข้อผิดพลาดตอนเอาข้อมูลที่คำนวณในเซลล์มาใส่รูปจริงๆ

สมดุลพลังงาน ดึงข้อมูลผิดเซลล์ Back radiation ด้านล่างสุดต้องเป็น 28 W/m2 ผมไปดึงมาจากเซลล์ที่เป็น Reflection ผมน่าจะได้สังเกตว่าสัดส่วนพลังงานมันไม่สมดุล ก็ Sequencing มัน 252 W/m2 แล้วมันจะปล่อยออกไปได้ไง 223 + 62 W/m2 ผมว่าคนที่คำนวณตามคงมีคนงงเพราะรูปอย่างนี้ได้จริงๆ

เกี่ยวกับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นของ คห 7 และ 8 คือสมดุลอุณหภูมิตามปริมาณ GHG ไม่มีหน่วยเวลาครับ

กรณีนี้ Flux เข้าดวงอาทิตย์คือ 248 W/m2
และ
ออกผ่าน GHG 46+112 สะท้อนจากผิวโลก 62 และแผ่รังสีตรงจากโลก ส่วนที่หลุดจาก Bandgap 29 W/m2 โดยประมาณ (เดี๋ยวต้องเช็คเศษให้ดีๆอีกที หายไป 1 วัตต์ต่อ ตรม แฮะ)

เช็คโมเดลดูดีๆ รู้สึกผมจะบวก Bandgap ของ CO2 ซ้ำกับน้ำในบางส่วนด้วย นี่น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้อุณหภูมิผิวสูงกว่าที่เป็นจริง

ตอนเย็นแก้โมเดลอีกที

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 23 เม.ย. 53 08:13:15
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 27

ตรงนี้แก้ใหม่ ใส่ทศนิยมเพิ่ม และ Iterate เพิ่มจากที่เดิมทำ 5 step

ส่วนต่างคือตรง ส่วน Flux ที่โลกแผ่รังสีออกมาครับ

 
 

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 23 เม.ย. 53 11:25:12
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 28

เพิ่ม Balance พลังงาน ในส่วนการแผ่รังสีของโลก ช่วงที่ลอด GHG กลับสู่อวกาศครับ

 
 

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 23 เม.ย. 53 11:28:00
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 29

เชื่อว่า ภาวะโลกร้อน เกิดจากการกระทำของมนุษย์ครับ มนุษย์ทำอย่างไรย่อมได้ผลอย่างนั้นกลับคืนตามหลักศาสนา ถ้าอยู่ดีๆ ก็ร้อน หรือร้อนตามวัฏจักร ก็ถือว่าโลกนี้กวน.....มาก

จากคุณ: freepark
เขียนเมื่อ: 23 เม.ย. 53 13:28:24
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 30

กระทู้ที่อ่านหัว ๆ เรื่องว่าดีมีสาระ    แล้วยิ่งเรื่องโลกร้อนที่เป็นประเด็นถกเถียงกันปัจจุบันแล้วด้วย    ผมอยากได้บทย่อ ๆ สั้น ๆ ได้ใจความ   อ่านไม่เสียเวลาแล้วรู้เรื่องนะ



ดูอย่างเช่นคนที่บอกว่าโลกร้อนสิ  แค่เหตุผล
-ใช้สาร CFCs แล้วทำลายชั้นบรรยากาศ
-ใช้ถุงเยอะ น้ำมัน
-วัวตดยังบอกโลกร้อนอ่ะ - -'

คือมันสั้น ๆ ง่าย ๆ แต่ก็ทำให้น่าคิดและชวนปฏิบัติตาม    ผมอยากให้มีคนไม่เชื่อโลกร้อนทำเหตุผลง่าย ๆ สั้น ๆ น่าเชื่อถือออกมาให้ได้ดูบ้าง





แต่ก็ดีใจครับที่ จขทก. สร้างกระทู้นี้ขึ้นมา  ผมจะเก็บไว้ในคลังเพื่อกลับมาอ่านอีกครั้ง  ตอนนี้อ่านไม่ไหว  ไม่มีเวลา      

ผมก็สับสนเรื่องโลกร้อนเหมือนกัน  แต่ออกจะไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่ว่าโลกร้อนเพราะน้ำมือเรา ๆ ท่าน ๆ กันครับ

จากคุณ: siLvan
เขียนเมื่อ: 23 เม.ย. 53 20:51:00
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 31

คุณ SiLvan

ผมเข้าใจว่าเรื่องโลกร้อนแบบสั้นๆอ่านง่ายๆมีเยอะแล้วครับ

แต่ยิ่งสั้น ยิ่งง่าย ยิ่งหมกเม็ดเอาการตัดสินใจของผู้เขียนเองใส่เข้าไป กราฟเป็นอย่างไรมาอย่างไรก็ไม่อธิบาย

ดังนั้น ผมเลยเขียนเรื่องอ่านยาก ลงทฤษฏีให้รู้แล้วรู้รอด คำนวณมาเป็นกราฟเอง

ถ้าอยากให้ Simulate อะไรออกมาอย่างถ้าไอน้ำลดลง หรือให้สมมุติ Albedo ของโลกเปลี่ยนไป ผมก็จะคำนวณให้ใหม่ได้เลยน่ะครับ

เสียดายนิดคือจำนวนการ iteration หรือความละเอียดในการคำนวณ bandgap ของ Excel มีจำกัด ถ้าจะทำให้ดีกว่านี้
คงต้องเขียนเป็น VB ออกมา แต่ถ้าทำอย่างนั้น การแสดงผลและตรวจสอบว่าสูตรหรือการคำนวณของผม ถูกหรือผิด ก็จะยากขึ้นสำหรับ
ผู้อ่านครับ

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 23 เม.ย. 53 21:19:43
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 32

บน ล่าง บน ล่าง ซ้าย ขวา ช้าย ขวา เอ บี สตาร์ท ซีเลค

กดโหวดไว้ก่อน งง

จากคุณ: Eakiji Onisuka
เขียนเมื่อ: 23 เม.ย. 53 23:45:00
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 33

ตัวเลขที่ใช้ต่างจาก http://en.wikipedia.org/wiki/File:Greenhouse_Effect.svg เยอะอยู่นะครับ

จากคุณ: icebee
เขียนเมื่อ: 25 เม.ย. 53 03:18:33
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 34

โลกร้อนน่าจะเกิดจากหลายเหตุผล
พื้นที่น้ำแข็งลดลง กระส้อนแสงกลับอวกาศน้อยลง ละอองที่เกิดจากการเผ่าไหม้ (aerosol) ทำให้เกิดการซับพลังงานมากขึ้น แล้วเป็นต้นเหตุของการรวมตัวของไอน้ำ น้ำเป็นตัวหลักในการดูซับพลังงานในชั้นบรรยากาศ และตัวแปรสุดท้าย CO2

จากคุณ: icebee
เขียนเมื่อ: 25 เม.ย. 53 06:11:14
  

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 35

คุณ icebee
แน่นอนครับ เพราะผมอิงตามทฤษฏี Heat transfer ผมใช้เฉพาะรังสีเข้า ค่า Albedo และสัดส่วน CO2 และ H2O เท่านั้น ส่วน Flux ความร้อนอื่นๆผมคำนวณเอง ได้ค่ามาอย่างไร ผมก็ต้องเขียนไปอย่างนั้น

ตัวเลขที่มีในรูปที่ icebee โชว์ ของ วิกิ ผมเห็นว่ามีข้อที่ผิดอยู่คือการไม่คิดการสะท้อนกลับ ซึ่งรังสีที่สะท้อนกลับ มันจะไม่เหลือส่วนที่ถูกดูดซับด้วย Spectrum band gap ได้ และก็เป็นเหตุผลความเบี่ยงเบนของโมเดลกับภาคปฏิบัติอย่างในรูปของคุณ กาลามะชน คห 18 ครับ

การสะท้อนกลับอวกาศน้อยลง? ผมเกรงว่าจากโมเดล การสะท้อนตรงกลับไม่เปลี่ยนแปลงเลย ส่วนที่เปลี่ยนแปลง คือการแผ่รังสีออกจากโลกที่จะ Sequence ผ่าน GHG มากขึ้น และแผ่รังสีผ่านชั้น GHG ครับ

Albedo ของโลกที่เปลี่ยนไปสมมุติการละลายของน้ำแข็ง เดี๋ยวจะทำเป็นกราฟให้ดู

ส่วนผลกระทบของไอน้ำในอากาศ จากการสร้างและจำลองโมเดลไม่เห็นว่ามีผลใดๆต่อการดูดซับความร้อนเพิ่ม ดูตามรูปใน คห 7 มันดูดซับได้หมดตั้งแต่ช่วง 100 ppm แล้ว มันมีแต่จะทำให้โลกเย็นลงจากการเปลี่ยนเป็นเมฆ และสะท้อนแสงออกแทนที่จะให้แสงไปถึงผิวโลกครับ

จากคุณ: Darth Prin
เขียนเมื่อ: 25 เม.ย. 53 12:17:01
  

 
 

 

อ้างอิง

http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2010/04/X9132979/X9132979.html