คิดสร้างปัญญา
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อาทิตย์, 16 พฤษภาคม 2010

โยนให้คิด..ไม่ได้คิดให้โยน!!

บทบาทนักการอุดมศึกษารุ่นใหม่

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม 2552

โชคดีที่ได้มีโอกาสรับฟังการบรรยายของรองอธิบดีกรมศิลปากร นายบวรเวท รุ่งรุจี ในชั้นเรียนของนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาประวัุติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ  เมื่อช่วงปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ต้องบอกว่า..สังคมการศึกษาไทยไม่ไร้ซึ่งคนดีจริงๆ

นับตั้งแต่เกิดปรากฎการณ์ขโมย โบราณวัตถุมรดกล้ำค่าของชาติ คือพระพิมพ์กว่า 90 รายการ จากพิพิธภัณฑ์แห่งชาติขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น  เชื่อว่าคนไทยหลายคนคงเป็นเดือดเป็นแค้น และ่แช่งชักหักกระดูกโจรใจมารกันทุกคนเป็นแน่  แต่เมื่อเวลาผ่านไปสักพัก..เราก็จะค่อยๆลืมเลือน เหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา อย่างที่เราเริ่มจะลืมๆการบุกเข้าไปทำลายนาคห้าเศียรที่สะพานนาคราช ปราสาทพนมรุ้ง ..มีสักกี่คนที่ยังติดตามถามไถ่เพื่อหาคนผิดมาลงโทษ

โชคดีที่ได้มีโอกาสรับฟังการบรรยายของรองอธิบดีกรมศิลปากร นายบวรเวท รุ่งรุจี ในชั้นเรียนของนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาประวัุติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ  เมื่อช่วงปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ต้องบอกว่า..สังคมการศึกษาไทยไม่ไร้ซึ่งคนดีจริงๆ

นับตั้งแต่เกิดปรากฎการณ์ขโมย โบราณวัตถุมรดกล้ำค่าของชาติ คือพระพิมพ์กว่า 90 รายการ จากพิพิธภัณฑ์แห่งชาติขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น  เชื่อว่าคนไทยหลายคนคงเป็นเดือดเป็นแค้น และ่แช่งชักหักกระดูกโจรใจมารกันทุกคนเป็นแน่  แต่เมื่อเวลาผ่านไปสักพัก..เราก็จะค่อยๆลืมเลือน เหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา อย่างที่เราเริ่มจะลืมๆการบุกเข้าไปทำลายนาคห้าเศียรที่สะพานนาคราช ปราสาทพนมรุ้ง ..มีสักกี่คนที่ยังติดตามถามไถ่เพื่อหาคนผิดมาลงโทษ

การบรรยายของท่านรองบวรเวทในวันนั้น..จุดประกายความคิดให้กับนักศึกษาปริญญาโทกลุ่มเล็กๆอย่างมหาศาล  การสอนโดยบอกเล่าประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา โดยใช่เวลาเพียง 2 ชั่วโมงในการถ่ายทอด มีกลิ่นอายของวิญญาณนักปฏิบัติที่ยากจะหาใครเทียบได้  ประสบการณ์ที่ต้องใช้เวลากว่า 30 ปี ในการทำงานลองผิดลองถูก ได้กลายมาเป็นคำพูดที่สามารถสรุปหัวใจของการเรียนรู้ได้อย่างยอดเยี่ยม..ในช่วงเวลาสั้นๆ..  

กระบวนการถ่ายทอดความรู้ภูิมิปัญญาให้กับผู้เรียน  ในระดับที่มีความรู้เชิงทฤษฎีแบบสหสาขามากันแล้วนั้น หนทางที่ดีที่สุดสำหรับสมองคนกลุ่มนี้ คือการนำประสบการณ์ที่ชี้ให้เห็นข้อจำกัดของทฤษฎีขึ้นมาตีแผ่  เราเคยรับรู้มาจากบทเรียนร้อยแปดพ้นเก้า..แต่เวลาเจอของจริงแล้วอึ้งกันไป  นั่นคือปัญหาของการขาดประสบการณ์ในการพลิกแพลงแก้ไขสถานการณ์ 

การเรียนรู้ของสมองเด็กหรือผู้ใหญ่นั้น มีธรรมชาติด้านหนึ่งที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็วขึ้น นั่นคือการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม หรือ ประสบการณ์เดิม เวลาที่เราปิ๊งไอเดียใหม่ๆ ความรู้สึกที่วาบขึ้นมานั้น คือการที่สมองของเราเกิดการเชื่อมหรือสร้างวงจรการเรียนรู้ขึ้นมาใหม่นั้นเอง ถ้าหากสมองของเราได้รับการกระตุ้นให้คิดอยู่อย่างสม่ำเสมอแล้ว การแตกยอดหรือสร้างวงจรลัดที่ถูกต้องเหมาะสม ก็พร้อมจะเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ แบบที่เรียกว่า การระเบิดของความรู้นั่นเอง

ท่านรองบวรเวทได้เล่าถึงชีวิตการทำงานกว่า 30 ปีที่ผ่านมา ด้วยภาษาที่ฟังง่าย เปรียบเทียบให้เห็นภาพ โดยสอดแทรกความคิดเห็นส่วนตัว ที่เป็นผลึกความคิดมุมมองจากภูมิความรู้ในปัจจุบัน แบบนี้เรียกว่า..ความเก๋า..คือการหวนย้อนกลับไปคิดถึงอดีตที่เราจะนำความรู้ที่เพิ่มพูนมากขึ้นในปัจจุบันเข้าไปแก้ไขมันอย่างไร..

ข้อมูลที่นักศึกษาได้รับรู้จากท่านบวรเวทในวันนั้น ..นอกเหนือจากทฤษฎีการอนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุ ผ่านการเล่าเรื่องอย่างมีชีวิตชีวาราวกับหนังชีวิตทีีตื่นเต้น สนุกสนานเร้าใจแล้ว ข้อเท็จจริงที่ถูกเปิดเผยทั้งด้านมืด และด้านสว่างของการทำงานอนุรักษ์สมบัิติล้ำค่ำของชาติ เพราะเรามักรับรู้ประวัติศาสตร์กันด้านเดียว จากหนังสือแบบเรียนที่ถูกกำหนดขึ้นโดยกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งต้องยอมรับว่าความคิดผู้แต่งตำราที่ผ่านประสบการณ์หรือสถานการณ์ ณ ช่วงเวลาหนึ่งๆ ย่อมตีความประวัติศาสตร์ด้วยอารมณ์และความรู้สึกแบบหนึ่ง  การชำระประวัติศาสตร์บางส่วนเพื่อให้เห็นมุมมองที่เที่ยงธรรมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง  ไม่เช่นนั้นลูกหลานไทยก็จะถูกปลูกฝังให้เคึยดแค้นเพื่อนบ้านโดยรอบอย่างเช่นเป็นอยู่ในทุกวันนี้

ข้อเท็จจริงจากชั้นเรียนในวันนั้น เผยให้เห็นการทำลายทรัพย์สินล้ำค่าของไทย ที่เราเคยมุ่งแต่ประนามชาติที่เป็นอริและรบพุ่งกับเรามาช้านาน  แต่เราลืม..หรือตั้งใจที่จะมองข้ามตัวเราเองว่า คนไทยสมัยหนึ่งนั้น..เป็นตัวการในการทำลายโบราณวัตถุล้ำค่าเช่น การย้ายเมืองหลวง ชาวบ้านขุดหาของเก่า การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐต่อการบริหารจัดการสมบัติของชาติ..  สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นเหล่านี้รุนแรงกว่าที่ต่างชาติเข้ามาเผาโจมตีเราเสียอีก ข้อเท็จจริงเหล่านี้คืออาหารสมองชั้นดีที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้สามารถคิดแตกยอดได้  และเป็นหน้าที่ของนักการอุดมศึกษารุ่นใหม่ต้องนำมาสู่ผู้เรียนให้ได้

มุมมองใหม่ๆที่ได้ถูกโยนให้นักศึกษากลุ่มเล็กๆ ได้จุดประกายให้แต่ละคนช่วยกันไตร่ตรองว่า..

  • เราจะแปลงทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติในชีวิตจริงได้อย่างไร
  • เรามีข้อมูลที่พร้อม เพียงพอสำหรับการคิดวิเคราะห์ต่อไปแล้วหรือไม่
  • เราจะเชื่อมโยงข้อมูลนำไปสู่การปฏิบัติที่มีตัวแปรเป็นสิ่งแวดล้อมต่างๆได้อย่างไร

นี่คือหน้าทีของนักการอุดมศึกษารุ่นใหม่..ที่ต้องโยนให้นักศึกษาคิด ไม่ใช่การคิดให้โยนพ้นๆไป เพราะการสอนแต่เพียงทฤษฎีจะนำไปสู่มุมมองที่มืดบอดของผู้เรียน โดยเฉพาะเื่มื่อสมองเกิดความงุนงงว่า..สิ่งที่ตนเรียนรู้นั้นมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตของตนเองอย่างไร  การเรียนรู้แบบนี้คือความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เพราะผู้เรียนหลายคนแม้จะได้คะแนนระดับ 4 เต็ม แต่็ก็หลงลืมความรู้เหล่านั้นไปอย่างรวดเร็ว ..เนื่องจากสมองได้เกิดกระบวนการกำจัดทิ้งข้อมูลที่ไม่สำคัญหรือไม่ได้ใช้  ก็..ไม่รู้จะเอาทฤษฏีที่ไม่มีความสำคัญกับชีวิตเหล่านั้นไปใช้ทำอะไร..สมองคงไม่โง่ที่จะเก็บข้อมูลไว้ให้เปลืองเนื้อที่!! 

ดังนั้้น วิธีการสอนแบบท่านรองบวรเวท จึงไม่ใช่การท่องทฤษฎีปาวๆ โดยสมองไม่ได้รับรู้มิติของภาคปฏิบัติ  อย่างน้อยๆก็ประลองกันในสนามความคิด ..บนโต๊ะกลมโต๊ะเหลี่ยมภายในชั้นเรียนก็ยังดี

สิ่งที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งคือ ท่านรองบวรเวท แม้มีภารกิจต้องเดินทางอยู่ตลอดเวลา แต่ละวันจะได้พักผ่อนหรืออยู่กับครอบครัวน้อยมาก แต่ท่านกล่าวว่า ..หน้าที่การสอนนักศึกษาคือสิ่งที่สำคัญที่สุด และท่านจะต้องมานั่งพูดคุยประสบการณ์ชีวิตของท่านให้นักศึกษาฟัง แม้กลุ่มคนที่มานั่งเรียนจะมีไม่ถึง 20 คนในแต่ละปี แต่ท่านถือว่า..คนจำนวนเพียงน้อยนิด หากมีความเข้าใจต่อเรื่องราวต่างๆอย่างดีเพียงพอแ้ล้ว ก็จะมีประโยชน์มหาศาลต่อการนำไปเผยแพร่ต่อ ที่สำคัญคือ..ท่านเห็นว่าการเรียนรู้ด้านศิลปะหรือประวัติศาสตร์นั้น ต้องได้รับการปลูกฝังกันตั้งแต่เยาว์วัย จะได้ผลที่สุด 

ได้ฟังอย่างนี้แล้วทำให้เกิดความชื่นชมในหัวใจของความเป็นครูของท่าน ด้วยมุมมองและการปฏิบัติอย่างนี้  ทำให้เรายังคงมีความหวังอยู่เสมอว่า  หัวใจของการสอนสำหรับระดับอุดมศึกษา.. จะยังคงสูงส่งตลอดไป..