มดไม่มีตา
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อังคาร, 30 กันยายน 2008

พบ "มดจากดาวอังคาร" ในป่าอะเมซอน สืบเชื้อสายยาวนาน 120 ล้านปี
โดย ผู้จัดการออนไลน์25 กันยายน 2551 18:03 น.

 

มดชนิดใหม่ Martialis heureka ที่พบอาศัยอยู่ใต้ดินใจกลางป่าอะเมซอน มีสีซีดกว่ามดทั่วไป จงอยปากใหญ่ และมองไม่เห็น ที่สำคัญเป็นเผ่าพันธุ์มดที่ดำรงชีวิตอยู่บนโลกมายาวนานถึง 120 ล้านปี (ภาพจาก Christian Rabeling, the University of Texas at Austin)

       สิ่งมีชีวิตใหม่ ในสารบบวิทย์ยังถูกค้นพบอยู่เรื่อยๆ บนโลก ล่าสุดนักชีววิทยาพบมดชนิดใหม่ ที่มีลักษณะแปลกประหลาด กลางป่าอะเมซอน จึงต้องขนานนามให้ว่า "มดจากดาวอังคาร" และยังเป็นเผ่าพันธุ์ที่อยู่ยืนยงบนโลก มานานถึง 120 ล้านปีแล้ว
พบ "มดจากดาวอังคาร" ในป่าอะเมซอน สืบเชื้อสายยาวนาน 120 ล้านปี
โดย ผู้จัดการออนไลน์25 กันยายน 2551 18:03 น.
มดชนิดใหม่ Martialis heureka ที่พบอาศัยอยู่ใต้ดินใจกลางป่าอะเมซอน มีสีซีดกว่ามดทั่วไป จงอยปากใหญ่ และมองไม่เห็น ที่สำคัญเป็นเผ่าพันธุ์มดที่ดำรงชีวิตอยู่บนโลกมายาวนานถึง 120 ล้านปี (ภาพจาก Christian Rabeling, the University of Texas at Austin)
       สิ่งมีชีวิตใหม่ ในสารบบวิทย์ยังถูกค้นพบอยู่เรื่อยๆ บนโลก ล่าสุดนักชีววิทยาพบมดชนิดใหม่ ที่มีลักษณะแปลกประหลาด กลางป่าอะเมซอน จึงต้องขนานนามให้ว่า "มดจากดาวอังคาร" และยังเป็นเผ่าพันธุ์ที่อยู่ยืนยงบนโลก มานานถึง 120 ล้านปีแล้ว
       
       ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเท็กซัสแห่งเมืองออสติน (University of Texas at Austin) มลรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา เปิดเผยการค้นพบมดชนิดใหม่ในป่าอะเมซอน ประเทศบราซิล และได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยลงในวารสารสมาคมวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ (Proceedings of the National Academy of Sciences)
       
       ไซน์เดลีรายงาน โดยอ้างอิงข้อมูลจากมหาวิทยาลัยเท็กซัสว่า มดชนิดใหม่ที่นักวิจัยเพิ่งค้นพบนี้มีชื่อว่า มาร์เทียลิส ฮิวเรกา (Martialis heureka) ซึ่งมีความหมายว่า "มดจากดาวอังคาร" (ant from Mars) เนื่องจากมีรูปร่างแปลกประหลาดกว่ามดทั่วไป ซึ่งมดชนิดนี้มีการปรับตัว ให้สามารถอาศัยอยู่ใต้ดินได้เป็นอย่างดี มีขนาดยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร มีสีซีดๆ จงอยปากใหญ่มาก และไม่มีตา
       

       ทั้งนี้ นักวิจัยนักวิจัยได้แยกเอาดีเอ็นเอของมดจากบริเวณขา มาศึกษา ทำให้พบว่าเป็นมดสปีชีส์ใหม่ สกุลใหม่ และยังจัดอยู่ในวงศ์ย่อย (subfamily) วงศ์ใหม่อีกด้วย และเป็นครั้งแรกที่แยกวงศ์ย่อยของมดจากตัวอย่างที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งค้นพบตั้งแต่ปี 2467 โดยที่ผ่านมาแยกวงศ์ย่อยของมดได้จากตัวอย่างมดที่เป็นฟอสซิล
       
       จากการวิเคราะห์ดีเอ็นเอของมดดังกล่าว นักวิจัยยังพบอีกว่า มดชนิดนี้มีวิวัฒนาการ อยู่ในส่วนฐานของลำดับการวิวัฒนาการของมด และคำนวณอายุย้อนหลังไปได้ราว 120 ล้านปี ซึ่งมดนั้น แยกเผ่าพันธุ์มาจากบรรพบุรุษของสัตว์ จำพวกต่อแตนมานานกว่า 120 ล้านปี และวิวัฒนาการต่อมาอย่างรวดเร็วจนมีหลากหลายชนิด ที่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในดิน หรือใต้ใบไม้ที่ร่วงหล่นลงมาทับถมกัน
       
       การค้นพบครั้งนี้ คริสเตียน ราเบลิง (Christian Rabeling) นักชีววิทยาที่เป็นหัวหน้าทีม เผยว่า อาจเป็นนัยที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิต ที่ยังแอบซ่อนอยู่ใต้ดิน ภายในเขตป่าฝน ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษาวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพและวิวัฒนาการของมดเป็นอย่างยิ่ง เพราะมดเป็นสัตว์ที่พบได้ทั่วไปและมีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์
       
       นอกจากนี้ ยังเป็นหลักฐานสนับสนุนข้อมูลการปรากฏตัวขึ้นของนักล่าใต้พื้นพิภพเช่นมดเผ่าพันธุ์นี้ที่มีมาตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของวิวัฒนาการมด แต่อย่างไรก็ตาม ราเบลลิงไม่ได้ชี้ชัดว่าบรรพบุรุษของมดทั้งหมดมองไม่เห็นและอาศัยอยู่ใต้ดิน เพียงแต่ว่าลักษณะแบบนั้นคือวิวัฒนาการของมดในยุคแรกๆ และสืบเชื้อสายมาจนถึงปัจจุบันเท่านั้นเอง
       
       "จากข้อมูลที่มีอยู่ พวกเราสันนิษฐานกันว่าบรรพบุรุษของมดชนิดนี้น่าจะเป็นบางสิ่งที่มีลักษณะคล้ายๆ กับตัวต่อ หรือบางทีอาจคล้ายกับฟอสซิลของมดสฟีโคเมอมา (Sphecomyrma) ที่พบในอำพันเก่าแต่ตั้งแต่สมัยครีเตเชียส ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการอยู่ระหว่างตัวต่อและมด" ราเบลิง เผยถึงความน่าจะเป็น
       
       ราเบลิงยังบอกอีกว่าเจ้ามดชนิดนี้ อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมเขตร้อนชื้นที่มีความเสถียรภายในป่าอะเมซอน ซึ่งมีมดคู่แข่งชนิดอื่นอยู่ไม่มากนัก และมีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิอากาศเฉพาะถิ่น (microclimate) ซึ่งอาจเป็นตัวแทนของเผ่าพันธุ์ที่ยังสงวนลักษณะของบรรพบุรุษเอาไว้ได้จนถึงปัจจุบัน.