ตัวอย่างอภิธานศัพท์
เขียนโดย ผศ.รุ่งรัตน์ ทองสกุล   
พุธ, 07 พฤษภาคม 2014

ตัวอย่างอภิธานศัพท์


 เฃ้าเย็นใต้

คำอ่าน 

                            ข้าว เหย็น ต้าย  [kha:w2 jen 5 ta:j 4]          

ชนิดของคำ         

                            คำนาม (ชื่อพืชสมุนไพร)  Smilax corbularia Kunh

                ความหมาย

                            ข้าวเหย็นใต้ เป็นไม้เถาลงหัว เถามีหนาม ใบโตเหมือนใบกลอย เกิดตามป่าดงดิบเขา

รูปแบบการใช้   

                            เฃ้าเย็นเหนือ

    เฃ้าเย็นใต้ +๑๕

(ฉ 16)               

ส่วนประกอบของขนานยา

                            แก้เหน็บชา

ข้อมูลเพิ่มเติม

            ข้าวเย็นใต้ มีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น ข้าวเย็นโคกขาว ยาหัวข้อ (เหนือ) หัวยาจีนปักษ์ใต้ เตียวโถ่ฮก

            ข้าวเย็นใต้มีสรรพคุณใกล้เคียงกับข้างเย็นเหนือ และมักจะใช้ควบคู่กัน


เฃ้าเย็นเหนือ

คำอ่าน 

                                ข้าว เย็น เหนือ [kha:w2 jen 5 ni-a1]       

ชนิดของคำ         

                                คำนาม (ชื่อพืชสมุนไพร)  Smylax peghana

                ความหมาย

ข้าวเย็นเหนือ เป็นไม้เถาลงหัว เถามีหนาม ใบรูปหัวใจ โตเหมือนใบกลอย หัวเนื้อสีน้ำตาลแดง เนื้อค่อนข้างแข็ง เกิดอยู่ตามป่าเขา

รูปแบบการใช้   

                                เฃ้าเย็นเหนือ

      เฃ้าเย็นใต้ +๑๕

  (ฉ 16)   

ส่วนประกอบของขนานยา

                                แก้เหน็บชา

                    ข้อมูลเพิ่มเติม

            ข้าวเหย็นเหนือ มีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น ข้าวเย็นโคกแดง  ยาหัวข้อ  ค้อนกระแต หัวยาจีนปักษ์เหนือ เสี้ยมไถ่ฮก 

            ข้าวเย็นเหนือ ใช้เป็นส่วนประกอบของยาได้หลายขนาน เช่น คุดทะราด แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เส้นเอ็นพิการ ฝีแผลเน่า เม็ดผื่นคัน ดับพิษในกระดูก แก้ปัสสาวะผิดปรกติ เป็นต้น

Nq6qR6.jpg [299x256px] ฝากรูป

 


ย่าหนัด

คำอ่าน 

                                ย่า นัด  [ja:6 nat 7]

ชนิดของคำ         

                                คำนาม (ชื่อพืชสมุนไพร) Ananas somosus Merr.

ความหมาย

                                สับปะรด

รูปแบบการใช้   

                                ย้านัด ๑  (ฉ 1)

ส่วนประกอบของขนานยา

                                แก้เสลด

                    ข้อมูลเพิ่มเติม

                                ย่าหนัด เป็นคำที่ใช้เรียกสับปะรดของชาวใต้ โดยมีรายละเอียดการเรียกที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น สับปะรดที่มีขนาดไม่โตมากนัก ตอนกลางใบมีแถบสีแดงที่ กลีบดอกสีม่วงอ่อน ผลเล็กเปลือกหนา เนื้อสีเหลืองเข้ม หวานกรอบ นิยมปลูกใน ภาคใต้ เป็นที่รู้จักและเรียกกันว่า สับปะรดพันธุ์ภูเก็ต หรือสับปะรดภูเก็ต เพราะมีที่มาจากจังหวัดภูเก็ต ชาวใต้ทั่วไปจะเรียกว่า ย่าหนัด ส่วนสับปะรดที่มีขนาดโตกว่าสับปะรดภูเก็ต  ฉ่ำน้ำ เนื้อสีเหลืองอ่อน ในภาคใต้นิยมปลูกที่จังหวัดพัทลุง ชาวใต้บางพื้นที่ เรียกว่า มะลิ  ขณะที่ชาวภูเก็ต พังงา เรียกว่า ย่าหนัดลังกา 

สับปะรดพันธุ์ภูเก็ต   

    

สับปะรดที่นิยมปลูกในจังหวัดพัทลุง


 

 

 

 *********
คติชนวิทยา  คติชนวิทยา

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อาทิตย์, 16 ตุลาคม 2016 )