Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Gallery arrow จดหมายเหตุ มทศ.arrow เรืองผัวอำแดงบุนยืมเงิน มทศ.จห.๔ ศวภ๔
View picture เรืองผัวอำแดงบุนยืมเงิน มทศ.จห.๔ ศวภ๔
เรืองผัวอำแดงบุนยืมเงิน มทศ.จห.๔ ศวภ๔
ภาพนี้มีขนาด 2070 * 1356 pixels และ 954 KB ขนาดใหญ่. คลิก ที่นี่ เพื่อดูภาพจากต้นฉบับ.

เรืองผัวอำแดงบุนยืมเงิน มทศ.จห.๔ ศวภ๔

นายเรืองผู้ผัวอำแดงบุนเมีย แกงไดเมื่อวันจันทร์เดือน ๗ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีกุน ยืมเงินกัปตันลิเมา เงิน 6 แผ่นพุกัน  ได้เงินเมื่อใดจะส่งให้เมื่อนั้น

 

มทศ.จห.๔

ศวภ๔

 

จดหมายเหตุเมืองถลางและหัวเมืองปักษ์ใต้
ต้นฉบับของศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต (ศวภ.)
ประสิทธิ  ชิณการณ์ : อ่านและวิเคราะห์

 

ฉบับ  มทศ.จห.๔  (เดิมคือศวภ ๔) 


คำอ่าน ๐ วันจันทร์ เดือนเจ็ด ขึ้นเก้าค่ำ ปีกุน เอกศก ข้าพเจ้านายเรืองและอำแดงบุนเมีย ขอทำสารกรมธรรม์เป็นคำนับตรามารับเอาเงินตราของเจ้าสำเภากปิตันลิเม้า เป็นเงินหกแผ่นภุกัน และข้าพเจ้าเอาอำแดงบุนผู้เมียมาขายสุหร้า ไว้ให้ท่านใช้การงานค่าเงินของท่านพลางก่อน แต่ก่อนข้าพเจ้าจะคืบมาหาได้ถ้าได้เมื่อใดจะส่งให้เมื่อนั้น ถ้าอำแดงบุนหลบหนีหายตายนายกออกไปไซร้ ให้ท่านเกาะเอาข้าพเจ้าผู้ยื่นสารนี้เถิดและข้าพเจ้ามีแกงไดให้ไว้ภาษาไทยเป็นสำคัญ 
วิเคราะห์ ๐ ปีกุนเอกศก คือจุลศักราช ๑๑๒๑ พ.ศ. ๒๓๒๒ เมืองถลางยังไม่เกิดสงครามกับพม่า มีเรื่องน่าวิเคราะห์ว่า เพราะเหตุใด นายเรืองจึงตกลงใจเอาง่ายดายในการที่จะ ขายสุหร้า คือการนำภรรยาของตนไปขัดดอกไว้กับเจ้าของเงินจำนวน หกภุกัน ซึ่งจะเป็นเงินเท่าใดนั้น คนสมัยนี้คงจะทราบได้ยาก เจ้าของเงินชื่อกปิตัน ลิเม้า คงจะเป็นพ่อค้าชาวอังกฤษ แต่เรียกชื่อเพี้ยนอีกตามเคย คำว่า "คำนับตรา" นั้นเป็นสำนวนที่แปลว่า ให้ยึดถือไว้เป็นหลักฐานสำคัญ 


 คำว่า ขานสุหร้า - สุหร้า เป็นคำมลายู คนภ็เก็จสมัยโบราณเคยใช้ในการจำนองที่นา ที่สวนโดยให้เจ้าของเงินทำผลประโยชนืจากที่ดินแทนดอกเบี้ย จนกว่าจะนำเงินต้นมาไถ่ถอน และคนรุ่นหลังคงคาดไม่ถึงว่า คนเมืองถลางเมื่อ ๒๐๐ ปีก่อน สามารถ "จำนอง" ภรรยาของตนได้ด้วย


 เราไม่อาจวิเคราะห์ได้ว่า นายเรือง มีความจำเป็นอย่างไรในการกระทำครั้งนี้ แต่มีเรื่องเล่าขานกันต่อๆกันมาว่า เมืองถลางสมัยนั้นพวกพ่อค้าฝรั่งมักจะชอบไถ่ทาสซึ่งเป็นผู้หญิงไปเป็นภรรยาของตน ดังนี้บางทีอำแดงบุนอาจถูกนายเรืองผู้สามีขายให้ไปกับกปิตันลิเม้าเพื่อไปเป็นภรรยาของผู้ซื้อก็อาจเป็นไปได้ เนื่องจากสมัยนั้น สิทธิสตรียังถูกกดขี่จากสังคมไทยอยู่มาก สามีจึงมีสิทธิที่จะขายภรรยาของตนให้แก่ใครๆ ก็ได้ โดยภรรยาไม่มีสิทธิคัดค้าน ซึ่งเรื่องนี้ควรจะได้ศึกษาต่อไป


 เอกสารฉบับนี้ลงท้ายด้วยการทำเครื่องหมาย "แกงได" ตามประเพณีโบราณ

< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้2203
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1243
mod_vvisit_counterทั้งหมด10647350