บรรพชีวินปะการัง |
บรรพชีวินปะการัง ในหินดินดานที่แหลมประทับ อ.ขนอมจ.นครศรีธรรมราช เป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ กะทู้ : สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ถ่ายภาพเมื่อ ๗ กันยายน ๒๕๕๑
ข้อคิดเห็นของครูนก
ตัวอย่างภาพที่ให้มา ตามภาพในกรอบสี่เหลี่ยมนั้น เป็นลักษณะที่ผิดฟอร์มของฟอสซิลที่พบโดยทั่วไป เพราะปะการังจะเจริญออกจากโครงสร้างหินปูนขึ้นไปในแต่ละตัว แม้จะอยู่เป็นกลุ่ม (Colony) ภาพตัวอย่างที่ให้มาจะเห็นการเชื่อมต่อกันเช่นนี้ แต่เหตุการณ์หลายร้อยล้านปีของอนุทวีปฉานไทย ที่เป็นที่ตั้งของภาคใต้ไปจนถึงถึงภาคเหนือของไทย อะไรก็เป็นไปได้ ต้องเผื่อใจให้กับกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปบ้าง(ไม่พบ-อาจมี) ผมได้แนบไฟล์ฟอสซิลปะการังที่ผมพบในถิ่นมาประกอบด้วยแล้วนะครับ การจำแนกลักษณะปะการังเบื้องต้น(เท่าที่ทราบ) ผมได้ซูมภาพ ไปดูภาพตัดตามขวางตามที่ได้วงกลมไว้ เสียดายว่า เห็นไม่ชัด คำถามว่า ผมให้น้ำหนักไปทางรูหนอนชอนไช ขอให้พิจารณาเทียบไปถึงกลุ่มไส้เดือนทะเล หนอนดอกไม้ ที่เราพบได้ทั่วไปในดงปะการังหรือชายหาดเลนในยุคปัจจุบัน อีกประเด็นนึงที่ตัดไม่ได้คือ และยังอาจจะเป็นส่วนค้ำจุนยึดพื้น(ราก)ของสัตว์ในกลุ่มพลับพลึงทะเล(Chinoidea) แนวทางคีย์กว้างๆก็ต้องไปสืบค้นว่า มาจากหินในชั้นใด แต่ก็ไม่แน่ว่าจะเป็นหินปูนมหายุคมีโซโสอิก ที่แทรกอยู้บ้างในภาคใต้ครับ ครูนก |
< ก่อนหน้า | ถัดไป > |
---|