Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Gallery arrow ไดโนเสาร์arrow ไดโนเสาร์บ้านห้วยยาง
View picture ไดโนเสาร์บ้านห้วยยาง
ไดโนเสาร์บ้านห้วยยาง
ภาพนี้มีขนาด 1600 * 1200 pixels และ 626 KB ขนาดใหญ่. คลิก ที่นี่ เพื่อดูภาพจากต้นฉบับ.

ไดโนเสาร์บ้านห้วยยาง

ไดโนเสาร์บ้านห้วยยาง 

ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ตามหาแหล่งไดโนเสาร์ที่ภาคอีสาน ตรวจค้นหาร่องรอยใกล้บริเวณหลุมขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านห้วยยาง หมู่ ๔ ตำบลโคกสูง อ.เมืองชัยภูมิ เมื่อ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๐

 

ชัยภูมิ
อิสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ
(Isanosaurus attavipachi : Buffetaut et.al.,2000)
ยุค : ไทรแอสซิก ตอนปลาย ประมาณ 210 ล้านปีมาแล้ว
อันดับ : ซอริสเชีย
อันดับย่อย : ซอโรโพโดมอร์ฟา
วงศ์ : ยังไม่ทราบ
สถานที่พบ : จังหวัดชัยภูมิ
ความยาว : 12 - 16 เมตร
อิสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ เป็นไดโนเสาร์ซอโรพอดที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยมีหลักฐานมาก่อน ค้นพบในชั้นหินหมวดน้ำพองที่ จ.ชัยภูมิ ในช่วงเวลาปลายยุคไทรแอสซิกประมาณ 210 ล้านปีมาแล้ว ชิ้นส่วนกระดูกต้นขา และอื่นๆ แสดงลักษณะของไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ เดิน 4 ขา คอยาว หางยาว ลำตัวน่าจะมีความยาวถึง 16 เมตร เป็นไดโนเสาร์สกุลใหม่ชนิดใหม่ ซึ่งยังไม่เคยพบที่ไหนมาก่อน
การค้นพบครั้งนี้เป็นหลักฐานนับได้ว่าไดโนเสาร์ซอโรพอดเกิดก่อนยุคจูแรสซิก และสอดคล้องกับหลักฐานการพบรอยเท้าของไดโนเสาร์พวกนี้ในยุคไทรแอสซิก ที่เก่าแก่ไปมากกว่า 209 ล้านปีมาแล้ว ยืนยันว่าผืนแผ่นดินไทยเชื่อมต่อกับแผ่นทวีปเอเชียมาก่อนหน้านี้แล้ว
และยังพบไดโนเสาร์ในชั้นหินหมวดโคกกรวด 100 ล้านปี เป็นไดโนเสาร์ที่จัดอยู่ในกลุ่มออร์นิธิสเชียน หรือพวกที่มีกระดูกเชิงกรานแบบนก ที่ จ.ชัยภูมิ พบว่าเป็นไดโนเสาร์ปากนกแก้ว ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็กในวงศ์ชิตตะโกซอริเด ไดโนเสาร์วงศ์นี้มีต้นกำเนิดอยู่ในเอเชียตอนกลาง และตอนเหนือ แถบภาคเหนือของจีน มองโกเลีย และไซบีเลีย เท่านั้น มีชื่อว่า"ชิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กี"

 

< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้2048
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1243
mod_vvisit_counterทั้งหมด10647195