Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Gallery arrow อนุสาวรีย์ถลางชนะศึกarrow อนุสาวรีย์ถลางชนะศึก
View picture อนุสาวรีย์ถลางชนะศึก
อนุสาวรีย์ถลางชนะศึก
ภาพนี้มีขนาด 1280 * 960 pixels และ 464 KB ขนาดใหญ่. คลิก ที่นี่ เพื่อดูภาพจากต้นฉบับ.

อนุสาวรีย์ถลางชนะศึก

อาจารย์สิรินพัณ พันธุเสวี รับมอบหมายจากกลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๔ ใช้หอกบ้านนางชม วุฒิมงคล(ฤกษ์ถลาง)เป็นต้นแบบออกแบบอนุสาวรีย์ เมื่อมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ประสานการใช้งานอนุสรณ์สถานถลางชนะศึกตามแผนแม่บทของ อบจ.ภูเก็ต
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี คณะกรรมการพิจารณาการเรียกชื่อสถานที่ทางประวัติศาสตร์พิจารณาเรียกอนุสาวรีย์ถลางชนะศึก ตามรูปแบบที่ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ เสนอให้มีบุคคลบนแท่นอนุสาวรีย์ถลางชนะศึก จำนวน ๙ ฅน คือ ท้าวเทพกระษัตรี(ท่านผู้หญิงจัน) ท้าวศรีสุนทร(คุณมุก) พระยาเพชรคีรีศรีพิไชยสงครามรามคำแหง(เมืองภูเก็จเทียน ประทีป ณ ถลาง) พระยาถลางทองพูน(ณ ถลาง) แม่ปรางบุตรีท้าวเทพกระษัตรี วีรชนบรรพชนถลางชนะศึก ๒ คน เช่น ต้นสกุลแก่นตะเคียน ไกรเลิศ จันทวงศ์ จันทโรจน์วงศ์  จินดาพล ตะเคียนทอง ฤกษ์ถลาง สกุลจันทร์


 
อนุสาวรีย์ถลางชนะศึก

 

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ โทร. 083 1025 606

 

ท่านผู้หญิงจัน(ท้าวเทพกระษัตรี) ยืนสง่างาม สุขุม ใบหน้าแสดงความเปี่ยมปิติที่ได้รับชัยชนะ มือขวาถือดาบปลายแหลมยกสูงขึ้นแสดงชัยชนะ มือซ้ายยกไปแตะที่แขนซ้ายคุณมุก “พอแล้วน้อง ไม่ต้องตามล่าไปถึงพม่าหรอก เพียงแค่นี้ ยี่หวุ่นก็ไม่กล้าหวนกลับมาอีกแล้ว”

 

คุณมุก(ท้าวศรีสุนทร) ยืนสง่างาม มุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวจริงจังที่จะตามติดพิชิตยี่หวุ่นให้ถึงพม่า มือซ้ายถือดาบปลายแหลมชูขึ้นสุดแขนแสดงความมีชัย “ข้าฯจะตามล้างยี่หวุ่นให้ถึงที่ซุกหัวนอน”
ประวัติศาสตร์ : ท่านผู้หญิงจัน(ผู้พี่)และคุณมุก(น้องสาว) บุตรีของจอมร้างเจ้าเมืองถลางบ้านเคียน กับนางหม้าเสี้ย(บุตรีเจ้าเมืองไทรบุรี) คุณมุก(ท้าวศรีสุนทร)ไม่มีทายาทสืบสายสกุล  ท่านผู้หญิงจันถูก กองทัพไทยเกาะกุมตัวไปจำขังแทนสามีที่ถึงแก่กรรม ที่ค่ายปากพระ  ยี่หวุ่นพาทหารพม่า ๓,๐๐๐ คน เข้าปล้นค่ายปากพระ  ท่านผู้หญิงจันจึงตีฝ่าวงล้อมพม่าคืนกลับเมืองถลางบ้านเคียน ระดมพลจัดเป็น กองทัพเมืองถลางต่อสู้กับกองทหารยี่หวุ่นเป็นเวลาเดือนเศษ กองทัพถลางใช้ยุทธวิธีพระพิรุณสังหาร มีแม่นางกลางเมืองเป็นปืนหลัก ทหารพม่าเจ็บป่วยล้มตาย ๓๐๐-๔๐๐ คน พม่าแตกพ่ายไปเมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีมะเส็ง สัปตศก ตรงกับวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๓๒๘ เป็นวันถลางชนะศึก

 

พญาถลางทองพูน ณ ถลาง  (ลงจากหลังช้าง)ใช้ของ้าวเป็นด้ามธง ยืนจับด้ามธง  มือขวาจับ ด้ามธงผลักให้สูงขึ้น มือซ้ายคว่ำลงจับด้ามธงกดลง  หน้าตาดวงตามุ่งมั่นที่จะได้รับการโปรดเกล้าฯ ขึ้นครองเมืองถลางต่อไป

 

พญาถลางเทียน ประทีป ณ ถลาง หันหลังให้ด้ามธง มือซ้ายคว่ำลงแตะที่ด้ามธง(อยู่ระหว่าง มือซ้ายและขวาของพญาถลางทองพูน) “ชัยชนะพม่าครานี้ จะส่งผลให้กรมพระราชวังบวรมหา สุรสิงหนาทโปรดข้าฯ ขึ้นเป็นเจ้าเมืองถลางได้ด้วยความมั่นใจ” มือขวาจับปืนยาวยกชูขึ้น “นี่คือชัยชนะ ของชาวถลาง”

ประวัติศาสตร์ : พญาถลางทองพูน บุตรจอมเฒ่าเจ้าเมืองถลางบ้านดอน ได้ขึ้นครองเมืองถลางบ้านดอน หลังพญาพิมลอัยาขัน สามีท่านผู้หญิงจันถึงแก่กรรม มีศักดิ์เป็นลูกผู้พี่ของท่านผู้หญิงจัน มีศักดิ์เป็นลุงของ พญาถลางเทียน เป็นต้นสกุล ณ ถลาง

พญาถลางเทียน เป็นบุตรคนที่สองของท่านผู้หญิงจัน เคยเป็นเจ้าเมืองภูเก็จ พบแหล่งแร่ดีบุกที่บ้านสะปำ ติดต่อกับพ่อค้าชาวยุโรป สั่งซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ส่งไปเมืองหลวงตามเส้นทางตะโกลาเขาศก หลังเสร็จศึก ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นพญาทุกรราช รองเจ้าเมืองถลาง ช่วยปกครองแปดหัวเมือง(ถลาง ภูเก็จ ภูงา ตะโกลา (ตะกั่วป่า) คุระ คุรอด ก็รา กระโสม(ตะกั่วทุ่ง))ฝั่งอันดามัน และได้ขึ้นครองเมืองถลางเมื่อได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นพญาเพชรคีรีศรีพิไชยสงครามรามคำแหง ต้นสกุล ประทีป ณ ถลาง

 

ทหาร๑ มือซ้ายถือคันธนูยกสูงขึ้น สะพายกระบอกธนู มือขวาดึงมีดสั้นที่เหน็บที่สะเอวออกมา พอให้เห็นว่าเป็นมีด “เข้ามาประชิด ข้าฯต้องเสียบมีดปักอกเอ็ง”

 

ทหาร๒ มือซ้ายหงายจับด้ามหอกยาวยกขึ้น  มือซ้ายคว่ำจับด้ามหอกกดลง กระชับมั่นอยู่ในมือ ทั้งสองพร้อมที่จะพุ่งทะลวงเข้าเสียบอกศัตรู  เหน็บกริชที่สะเอว กระบอกกริชถูกอาวุธศัตรูกระทบ จนแตกออกเห็นคมกริช กริชเป็นสัญลักษณ์หมายถึงความหลากหลายความเชื่อแต่มาร่วมหนึ่งน้ำใจเดียว สู้ศึกด้วยกัน


ประวัติศาสตร์ : ชาวถลางผู้ร่วมศึกถลาง พ.ศ.๒๓๒๘ เคียงบ่าเคียงไหล่พลีชีพในกองทัพของท่าน ผู้หญิงจัน(ท้าวเทพกระษัตรี) คุณมุก(ท้าวศรีสุนทร) สืบสกุลมาเป็นสกุลจันทร์ จันทโรจวงศ์ จันทวงศ์ ชนะศึก ฤกษ์ถลาง ไกรเลิศ แก่นตะเคียน ตะเคียนทอง ถิ่นถลาง (ช่วยเสนอเพิ่ม) ฯลฯ

 

แม่ปราง บุตรสาวหัวปีของท่านผู้หญิงจัน ยืนถือธนู สะพายกระบอกเก็บลูกธนู หันตัวไปด้าน ทิศตะวันออกสู่เมืองถลางบ้านเคียน และเอียงหน้าไปที่บ้าน(อยู่ที่บ้านสะปำ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของอนุสาวรีย์) เพราะเป็นห่วงแร่ดีบุกที่จะเป็นทุนซื้อเสบียงมาเลี้ยงกองทัพถลาง.

แม่และเด็กชาย
แม่คือสตรีที่คอยปกป้องภยันตรายทั้งปวง
ลูกคือเหล่าอนุชน  หมายถึงตัวเรา
—————

จากข้อเสนอของคุณสกุล ณ นคร ให้ทายาทยืนแสดงท่าดังความข้างต้นนี้  ผมจะนำไปเป็น กิจกรรมเสริมให้ทายาทแต่ละสกุลที่ร่วมศึก  แสดงท่าบนแท่นฐานอนุสาวรีย์ (ยกเป็นเวทีกลม สูงขึ้นสัก ๑ เมตร) ประทีป ณ ถลาง  เป็น พญาถลางเทียน,  ณ ถลาง เป็น พญาถลางทองพูน

ส่วนสายสกุลอื่น(สกุลจันทร์ จันทโรจวงศ์ จันทวงศ์ ชนะศึก ฤกษ์ถลาง ไกรเลิศ แก่นตะเคียน ตะเคียนทอง ฯลฯ)ที่มีใจเข้าร่วมประชุม คัดเลือก ๗ คน แสดงเป็น ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร แม่ปราง ทหาร ทหาร แม่และเด็ก

และมีแท่นฐานขนาด ๑-๒ คน ไว้แสดงเป็นคู่ ๆ  พญาถลางเทียนกับพญาถลางทองพูน ท้าวเทพ กระษัตรีกับท้าวศรีสุนทร  ทหาร ๒ คน  แม่ปรางกับทหารถือหอก

เมื่อคิดเอง เออเอง ก็คิดว่า  เราต้องหาเครื่องแต่งกายให้ใกล้เคียงไว้ให้ยืม  ต้องหาอาวุธเท่าที่ เสนอไว้  จะจ้างใครทำอาวุธจำลองให้ ยังไม่รู้ เสียเงินอีกเท่าไหร่ก็ไม่รู้  ใครจะมาแต่งหน้าแต่งตาพอให้ เข้ากล้องได้ ก็ยังไม่รู้  ใครจะช่วยสร้างแท่นฐานให้ ก็ยังไม่รู้  ห้องกำบังเปลี่ยนผ้า แขวนผ้า  ใครจะดูแลการถ่ายรูปตลอดงาน ก็ยัง...ไม่...รู้...

ท่านว่ายังไงเจ้าขา?

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์
พธม. กะทู้
๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
-----------------------


 
(คำจารึกที่ฐานอนุสาวรีย์ถลางชนะศึก)

 

ศึกถลาง พ.ศ.๒๓๒๘


 
ปฐมกษัตริยาธิราชจักรีวงศ์ขึ้นครองราชย์เพียง ๓ ปี พระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่าก็บัญชาการ ให้กองกำลังเข้าโจมตีสยามประเทศตั้งแต่เหนือจรดใต้เป็นสงคราม ๙ ทัพ ยี่หวุ่นแม่ทัพเรือ คุมพล ๓,๐๐๐ คนตีเมืองชายฝั่งทะเลอันดามันของไทย


ท่านผู้หญิงจันทราบข่าวศึกจากจดหมายของพญาราชกปิตัน ในขณะที่พญาพิมลอัยาขัน สามีกำลังป่วยหนัก จึงให้เมืองภูเก็จบุตรชายนำจดหมายไปเจรจาขอกำลังช่วยเหลือจากพญาราชกปิตัน ๆ อ้างว่ามีกิจธุระไม่สามารถอยู่ช่วยได้ จึงนำเรือออกจากเมืองถลางไปเกาะปีนัง


เมื่อสามีท่านผู้หญิงถึงแก่อนิจกรรม แม่ทัพจากค่ายปากพระก็อ้างเหตุการไม่ชำระภาษีเข้า เกาะตัวท่านผู้หญิงจันไปจำขังไว้ ณ ค่ายปากพระ พม่าเข้าโจมตีค่ายปากพระ พญาธรรมไตรโลกแม่ทัพเสียที ข้าศึกถูกฆ่าตาย พญาพิพิธโภคัยหนีไปตั้งด่านอยู่ที่เมืองพังงา ท่านผู้หญิงจันจึงได้โอกาสตีฝ่าวงล้อมพม่า กลับคืนสู่เคหสถานที่เกาะบ้านเคียน ก่อนถูกเกาะกุมตัว ท่านผู้หญิงจันได้ให้คนช่วยดูแลบ้านเรือน แต่เมื่อ กลับถึงบ้านครานี้ “บ้านถูกรื้อ คนที่เฝ้าบ้านก็แล่นทุ่มบ้านเรือนเสีย ข้าวของทั้งปวงถูกเก็บริบไปสิ้น”


ตลอดระยะเวลาเพียงไม่นานที่ท่านผู้หญิงจันต้องทนทุกข์ทรมาน นับตั้งแต่สามีป่วยหนัก๑ สามพญาจากกรุงเทพฯตามมาจับสามี๑ ได้ข่าวพม่ายกกองทัพจะเข้าตีเมืองถลาง๑ ขอให้พญาราชกปิตันช่วย แต่ก็ไม่ได้ช่วย๑ สามีถึงแก่อนิจกรรม๑ สามพญาตามมาเกาะกุมตัวไปขังที่ค่ายปากพระ๑ กลับถึงบ้าน บ้านถูกรื้อ ข้าวของถูกเก็บริบไปสิ้น๑ เหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องบั่นทอนจิตอย่างแสนสาหัสให้สตรีคนหนึ่งเมื่อ ๒๒๒ ปีที่ผ่านมาต้องทุกข์ทรมาน ฤๅจะหมดเคราะห์ ณ ครานี้


สงครามเป็นตัวทำลายความสงบสุขให้แก่ทุกดินแดน ประชาชนพลเมืองมิอาจต้านการ ทำลายล้างได้ จึงได้หนีไปหลบภัยบนเขาพระแทว ชายฉกรรจ์ถูกเกณฑ์เข้าศึกสงคราม หากเสียทีก็ตายใน สนามรบ เด็กและสตรีอยู่เฝ้าบ้านรอภัยสงคราม ยามบ้านแตกสาแหรกขาด ไม่มีผู้นำ เพราะเจ้าเมืองถลาง เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม ยังไม่ผู้ใดได้รับโปรดเกล้าฯขึ้นครองเมืองถลาง ก็ถึงกาลสงครามที่ขาดผู้นำ ท่านผู้หญิงจัน และคุณมุกน้องสาวมิอาจเห็นหายภัยถล่มทลายล้างเมืองถลางบ้านเกิดเมืองนอนให้ย่อยยับไปต่อหน้าต่อตา ได้โดยง่าย แม้จะแสนทุกข์ทบเท่าทวีคูณมาตั้งแต่ต้น ควรที่จะหลบลี้หนีภัยให้ใจได้คลายทุกข์ ก็ไม่มีข้อครหา แต่ประการใด แต่สองพี่น้องมิได้เลือกทางนั้น เหตุการณ์ใดของโลก ที่อิสตรีรวบรวมกำลังพลที่มีเด็ก สตรี และคนชราเข้าเป็นกองทัพต่อกรกับชายฉกรรจ์ ๓,๐๐๐ คนของยี่หวุ่นที่เคยชนะเมืองตะกั่วป่า ชนะเมือง ตะกั่วทุ่ง และยึดครองค่ายปากพระไปจากสามพญาของไทย กำลังเคลื่อนกองกำลังเข้ายึดที่ดอนในทุ่งนาเป็น ที่ตั้งค่ายพม่า ห่างจากวัดพระนางสร้างเพียงพันเมตร โคกพม่าอยู่ปลายคลองบางใหญ่ ต้นน้ำอยู่ที่เขาพระแทว ไหลผ่านวัดพระทอง บ้านในค่ายชายวัดพระนางสร้าง ไหลไปใกล้โคกพม่าที่อยู่ในทุ่งนา ผ่านออกไปอู่ตะเภา ที่เลพังเกาะทะ

 

พม่าใช้เรือเล็กเข้ามาตั้งค่ายประชิดเมืองถลางเป็นการได้เปรียบในการศึก ปิดทางออกทะเล ของชาวถลางโดยสิ้นเชิง แม้พม่าจะได้เปรียบทั้งการเดินทางด้วยเรือ การปิดกั้นชาวถลางมิให้ออกทะเล แต่ ลืมนึกไปกระมังว่า เรือต้องอาศัยน้ำ ด้วยสติปัญญาประดุจเทพ ท่านผู้หญิงจันก็ระดมปิดกั้นน้ำที่นบนางดัก เรือพม่าก็หมดฤทธิ์เดช ขย่มข่มขวัญด้วยการปลอมตัวเป็นกองทัพเข้าสมทบค่ายบ้านเคียนอยู่เป็นประจำ สร้างค่ายหลอกออกจากค่ายหลัก เพื่อสำแดงให้พม่าเห็นว่า ในค่ายเต็มแล้ว ต้องทะลักออกมานอกค่าย เขย่าขวัญอย่างนี้ทุกวัน ยิงแม่นางกลางเมืองผสม ใช้ธนูลำเลียงดินประสิวไปทิ้งลงในค่ายโคกพม่า ยิงธนูไฟ เข้าไปสมทบ นี่คือแผนยุทธวิธีพระพิรุณสังหาร ค่ายพม่ามีฟางแห้งเพราะอยู่ในทุ่งนา ท่านผู้หญิงจันสั่งส่ง ดินประสิวเข้าค่ายพม่า ส่งธนูไฟเข้าไปจุดประกาย ค่ายพม่าขาดน้ำเพราะนบนางดักกั้นเป็นเขื่อนขวางไว้ แดดในเดือนมีนาคมก็ร้อนแห้งได้สมกาล พม่าก็แหลกลาญ ที่เหลือก็เผ่นหนีไปอู่ตะเภาเกาะทะ ชาวถลางได้ รบพุ่งต้านต่อกับพม่า รั้งรากันอยู่เดือนเศษ ฝ่ายพม่าเจ็บป่วยล้มตาย ๓๐๐ - ๔๐๐ คน แล้วแตกทัพกลับไป เมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีมะเส็ง สัปตศก ตรงกับวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๓๒๘ “วันถลางชนะศึก”

 

ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ จึงได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ท่านผู้หญิงจันและคุณมุก ดำรงอิสริยยศเป็นท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร วีรสตรี ๒ ใน ๔ ในดวงจิตของอนุชนชาวสยามภาคภูมิใจในวีรกรรมสืบมา


ในปี พ.ศ.๒๕๐๕ นายอ้วน สุระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตในช่วงนั้นได้เดินทางประเทศ อังกฤษ ได้นำจดหมายของเมืองถลางในยุคศึกถลางกลับมา ๖ ฉบับ เป็นแรงกระตุ้นให้สร้างอนุสาวรีย์ท้าวเทพ กระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๙ กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมสมเด็จพระ บรมราชินีนาถ เสด็จฯ เปิดอนุสาวรีย์ในปี พ.ศ.๒๕๑๐


แต่เหล่าอนุชนผู้กตัญญูกตเวทิตาคุณแด่บรรพชนชาวเมืองถลาง ยังไม่จุใจที่จะสนองคุณ ความดีเทิดเกียรติวีรชนชาวถลางผู้กล้า จึงได้ร่วมกันรณรงค์หาทุนสมทบสร้างอนุสาวรีย์ถลางชนะศึก ไว้ในอนุสรณ์สถานถลางชนะศึก ณ สนามสมรภูมิรบของวีรบรรพชนถลางให้ปรากฏสมเกียรติสืบไป.

 

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์
โทร. 081-326-2549
๗ มีนาคม ๒๕๕๐

ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1952
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1243
mod_vvisit_counterทั้งหมด10647099