Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Gallery arrow ระบบสุริยะarrow พลูโตเคราะห์แคระ
View picture พลูโตเคราะห์แคระ
พลูโตเคราะห์แคระ
ภาพนี้มีขนาด 398 * 599 pixels และ 23 KB ขนาดใหญ่. คลิก ที่นี่ เพื่อดูภาพจากต้นฉบับ.

พลูโตเคราะห์แคระ

PLUTO ดาวพลูโต ดาวเคราะห์ชนิดแคระ เป็นดาวเคราะห์แคระ ถูกถอดออกจากดาวนพเคราะห์เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๙

 

เคราะห์แคระ

นักดาราศาสตร์ไทยเห็นด้วยมติไอเอยู ปรับ ?พลูโต? ออกจาก ?ดาวเคราะห์ดวงที่ 9? กลายเป็นเพียง ?ดาวเคราะห์แคระ? แต่ติดใจนิยาม ?ดาวเคราะห์? ยังไม่ชัด พร้อมให้ความเห็นจะคืนสถานะต้องใช้เวลาอีกนาน แต่เปลี่ยนแล้วก็ควรเปลี่ยนเลยเพราะคนจะสับสน


มติของที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล หรือไอเอยู (International Astronomical Union: IAU) ครั้งที่ 26 เมื่อวันที่ 24 ส.ค.ที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ได้โหวตให้ ?ดาวพลูโต? (Pluto) ลดสถานะจาก ?ดาวเคราะห์? (Planet) ดวงที่ 9 ของระบบสุริยะ กลายเป็นเพียง ?ดาวเคราะห์แคระ? (Dwarf Planet) แทน ซึ่งมติดังกล่าวสะเทือนต่อองค์ความรู้ของมนุษยชาติไม่น้อย

ในความเห็นของ รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(สวดช.) และเป็นนักดาราศาสตร์ของไทยที่ได้เข้าร่วมประชุมครั้งสำคัญนี้ รวมถึงได้ร่วมโหวตตัดสินสถานะของพลูโตด้วย กล่าวว่ายอมรับในมติของที่ประชุม โดยชี้แจงว่าปัจจุบันเรามีวิทยาการและเทคโนโลยีที่สูงมาก ไม่ว่าจะเป็นกล้องดูดาวทั้งในอวกาศและภาคพื้นดิน เราจึงค้นพบดาวมากขึ้น แต่ก็ทำให้นักดาราศาสตร์ไม่มั่นใจว่าดาวเคราะห์ในระบบสุริยะนั้นมีกี่ดวงกันแน่

?นิยามดาวเคราะห์ ซึ่งลงมติในที่ประชุมมี 3 ข้อ คือ
1. ต้องโคจรรอบดาวฤกษ์
2. มีความเสถียร คือมีรูปร่างทรงกลม ไม่บูดเบี้ยว
3. เป็นวัตถุที่ไม่มีอะไรอยู่ใกล้ ถ้ามีดาวเคราะห์นั้นต้องเป็นหลัก เช่น ดาวพฤหัส มีดวงจันทร์เป็นบริวาร แต่พลูโตไม่ชัดเจนว่าเป็นวัตถุที่เป็นหลัก
เมื่อพิจารณานิยามดาวเคราะห์แล้วไม่ใช่ พลูโตจึงกลายเป็นดาวเคราะห์แคระ ซึ่ง ?ซีเรส? ที่เป็นดาวเคราะห์น้อยก็ถูกเปลี่ยนไปเป็นดาวเคราะห์แคระเช่นกัน  แต่ถ้าพิจารณาตามเดิม เราก็จะมีดาวเคราะห์เพิ่มขึ้น อาจจะมีถึง 12 ดวง หรือเพิ่มขึ้นอีกเป็นสิบๆ ดวง ซีเรส(Seres) ชารอน(Charon) ซีนา(Xena) ก็จะเป็นดาวเคราะห์ด้วย? รศ.บุญรักษากล่าว

?การพัฒนาเทคโนโลยีทำให้องค์ความรู้ต้องปรับเปลี่ยน ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของวงการวิทยาศาสตร์ และเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องใหญ่ของวงการดาราศาสตร์?
   อย่างไรก็ดีแม้จะยอมรับในมติของที่ประชุมไอเอยู แต่ รศ.บุญรักษาก็เพิ่มเติมในเรื่องการกำหนดนิยามดาวเคราะห์นั้นควรชัดเจนมากกว่านี้ พร้อมทั้งกล่าวว่าในที่ประชุมซึ่งมีนักดาราศาสตร์ประมาณ 400 คนโหวตสถานะของดาวพลูโตนั้น ก็มีทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และคนที่เห็นด้วยก็มากกว่าคนไม่เห็นด้วยจำนวนไม่มากนัก ซึ่งทางสหรัฐอเมริกาก็กำลังประท้วงเรื่องนี้ด้วยเห็นว่านักดาราศาสตร์มีเป็นหมื่นคนแต่โหวตกันแค่ไม่กี่ร้อยคน

สอดคล้องกับความเห็นของ วรเชษฐ์ บุญปลอด กรรมการสมาคมดาราศาสตร์ไทย ที่เห็นด้วยกับมติที่ประชุมไอเอยู พร้อมทั้งให้ความเห็นว่า
   หากเราเพิ่งค้นพบดาวพลูโตในช่วงนี้ เราก็คงไม่คิดว่าพลูโตเป็นดาวเคราะห์ เพราะมีการค้นพบวัตถุในแถบไคเปอร์ (Keipur Belt) จำนวนมาก รวมทั้งขนาดของพลูโตที่เล็กมากด้วย แต่ในช่วงที่ค้นพบพลูโตนั้นเรายังไม่เคยพบวัตถุอื่นที่อยู่ไกลขนาดนั้นจึงคิดว่าเป็นดาวเคราะห์

?ผมว่า...ได้ยินเรื่องนี้มานาน โดยส่วนก็เห็นด้วย ประเด็นหนึ่งคือ ถ้าสมมุติเพิ่งมีการค้นพบดาวพลูโตในตอนนี้ เราจะคิดว่าเป็นดาวเคราะห์ไหม เขาคงไม่คิดว่าเป็นดาวเคราะห์ แต่ช่วงแรกไม่เคยพบวัตถุที่ไกลขนาดนี้มาก่อน เมื่อพบก็เลยคิดว่าเป็นดาวเคราะห์
   สำหรับนิยามดาวเคราะห์ ผมคิดว่ายังไม่ชัดเจน โดยเฉพาะข้อสุดท้ายที่เขาวิพากษ์วิจารณ์กัน ควรจะต้องชัดเจนมากกว่านี้?

ส่วนกรณีการเรียกร้องคืนสถานะให้กับดาวพลูโต วรเชษฐ์ให้ความเห็นว่าคงเป็นเรื่องยุ่ง และต้องคุยกันอีกยาว เช่นเดียวกับการปรับให้พลูโตไม่เป็นดาวเคราะห์ก็ใช้เวลานานเช่นกัน ทั้งนี้อาจจะมีเหตุผลในแง่ความรู้สึกหรือความคุ้นเคยที่อยากจะให้พลูโตกลับเป็นดาวเคราะห์ แต่โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าเปลี่ยนให้พลูโตเป็นดาวเคราะห์แคระแล้วก็ไม่ควรเปลี่ยนกลับมาเป็นดาวเคราะห์อีก เพราะจะทำให้คนสับสน

?ไม่เห็นด้วยได้ไง? ความเห็นจากทางด้าน ศ.ดร.ระวี ภาวิไล นักดาราศาสตร์อาวุโสของเมืองไทย ซึ่งกล่าวว่าการประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมใหญ่ของนักดาราศาสตร์จากทั่วโลก และต้องมีหลักฐานมากพอที่จะตัดสิน รวมทั้งต้องค้นคว้าและตรวจสอบมาเป็นขั้นๆ เป็นระยะเวลานาน ไม่ใช่มาตกลงกันง่ายๆ พร้อมกับชี้แจงว่าเขานั้นไม่ได้ศึกษาเรื่องนี้มานานแล้ว และไม่ได้ศึกษาเรื่องดาวเคราะห์ของดวงอาทิตย์โดยตรง แต่เคยติดตามเกี่ยวกับเรื่องนี้ซึ่งก็มีการศึกษามาเป็นขั้นๆ

?แต่เดิมเป็นไง ดวงอาทิตย์มีดาวเคราะห์กี่ดวง ก็มีดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ถัดไปก็เป็นแถบที่มีดาวเคราะห์น้อย อุกกาบาต แล้วก็เป็นดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ซึ่งก็รู้กันแต่โบราณว่ามีเท่านี้
   ต่อมายุคใหม่ก็ค้นพบยูเรนัส เนปจูน และต่อมาปี 1930 ก็ได้ค้นพบดาวถัดจากเนปจูนที่เรียกว่า ?พลูโต? ซึ่งก็คิดว่าเป็นดาวเคราะห์อีกดวง แต่ก็ประหลาดกว่าดาวที่อยู่ใกล้ๆ คือเล็กมาก แล้วค้นคว้าระยะต่อมาพบว่า แม้จะเป็นดาวที่เล็กแต่อัดแน่น เป็นก้อนแข็งคล้ายโลก ทั้งที่อยู่ไกลโลกมาก ขณะที่ดาวพฤหัส เสาร์ และยูเรนัส ล้วนเป็นดาวที่เป็นแก๊สเย็น?

ศ.ดร.ระวีให้ข้อมูลต่อว่า มีการค้นพบอีกขั้นว่าพลูโตมีลักษณะคล้ายเป็นดาวคู่แฝด ซึ่งมีดาวแฝดที่ว่า ?ชารอน? (ขณะที่บางข้อมูลชี้ว่าเป็นดวงจันทร์ของพลูโต) ซึ่งมีขนาดไล่เลี่ยกันและมีลักษณะหมุนวนรอบกันเหมือนเป็นดาวแฝด ซึ่งหอดูดาวหลายแห่งก็อาจจะมีข้อมูลที่สอดคล้องกันว่าพลูโตกับชารอนอาจจะเป็นบริวารแฝดของดาวเนปจูนก็ได้ และยานอวกาศ ?นิว โฮไรซอนส์? (New Horizons) ของ องค์การบริหารการบินและอวกาศสหรัฐ (นาซา) ซึ่งส่งไปสำรวจพลูโตนั้นก็อาจจะส่งข้อมูลกลับมาให้วิเคราะห์ได้มากขึ้นก็ได้

ส่วนทางด้าน ดร.บุรินทร์ กำจัดภัย อาจารย์นักทฤษฎีจักรวาลของสถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์สำหรับฟิสิกส์ทฤษฎีและจักรวาลวิทยา ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีความเห็นต่อเรื่องนี้ว่าโดยส่วนตัวแล้ว ?ไม่เห็นด้วย? เพราะเราเรียนกันมานานแล้วว่าพลูโตเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 และพลูโตก็ไม่ได้มีประพฤติกรรมต่างไปจากเดิม จึงน่าจะยกเว้นด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ แม้โดยเหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์จะบอกว่าหากไม่ตัดพลูโตออกจากการเป็นดาวเคราะห์ ในระบบสุริยะก็จะมีวัตถุที่เข้าข่ายถือเป็นดาวเคราะห์ได้อีกหลายสิบดวงและบางดวงก็ไม่มีความสำคัญมากมายอะไรที่น่าสนใจ

พร้อมกันนี้ ดร.บุรินทร์ได้ให้ความเห็นว่า เหตุผลที่มีโหวตพลูโตออกจากการเป็นดาวเคราะห์เหตุผลหนึ่งน่าจะเป็นเพราะปัญหาเรื่องระนาบการหมุนของพลูโตซึ่งเกือบจะตั้งฉากกับระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ต่างไปจากดาวเคราะห์อื่นในระบบสุริยะ
   อีกทั้งชารอนซึ่งเป็นบริวารของพลูโตนั้นมีขนาดไม่เล็กกว่าพลูโตมากนัก ดังนั้นมันจึงไม่ประพฤติตัวเป็นเหมือนดวงจันทร์บริวารของดาวพลูโต ดังนั้นมันทั้งสองจึงดูคล้ายเป็นระบบดาวเคราะห์คู่
    อย่างไรก็ดีสำหรับพลูโตแล้ว ควรจะเป็นข้อยกเว้นเชิงประวัติศาสตร์ว่าครั้งหนึ่งคนทั้งโลกเคยได้ถือว่าพลูโตเป็นดาวเคราะห์
(aksorn.com/article/article_detail.php?content_id=95)

< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1064
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1111
mod_vvisit_counterทั้งหมด10681168