Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Gallery
View image galleries

คลิกเพื่อเลือกดูภาพ จากหมวดย่อย ด้านล่าง:

อาคารพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้ พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต กะทู้

ประเสริฐ ขาวกิจไพศาล นายกเทศมนตรีตำบลกะทู้ บริจาคที่ดินกว่า ๔๐๐ ไร่ บริเวณเหมืองท่อสูง สร้างพิพิธภัณฑ์เหมือแร่ PHUKET MINING MUSEUM ด้วยงบประมาณ ๕๐.๗ ล้านจากโครงการผู้ว่าซีอีโอในปี พ.ศ.๒๕๔๙  ปัญจภัทร(ตูน) ชูราช เป็นผู้ออกแบบอาคารตามแบบสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส ที่โดดเด่นในเขตเทศบาลนครภูเก็ตมากว่า ๑๕๐ ปี  บริษัท SEA รับวางแผนสร้างห้องนิทรรศการตามแนวคิด(STORY BOARD)พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต(LIFE MUSEUM)ของ ผศ.สมหมาย ปิ่พุทธศิลป์ ในเดือนเมษายน-สิงหาคม ๒๕๕๐ ในวงเงิน ๗ ล้านบาท และให้บริษัทหลายบริษัทร่วมกันจัดแบ่งห้องนิทรรศการในอาคาร"อังมอเหลา" ในวงเงิน ๑๔ ล้านเศษ ระหว่าง พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๑ และสร้างรางเหมืองแร่ที่หน้าผารางเหมือง และปรับภูมิทัศน์ พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๕๓ ในวงเงิน ๔๘ ล้านบาท คาดว่าจะเปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการได้ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔  ผู้ประสงค์เข้าเยี่ยมชมก่อนกำหนดเปิดโปรดโทร.08 1958 1097

TOURIST 100 Baht  ผู้ใหญ่ ๕๐.- นักศึกษา ๒๐.- นักเรียน ๑๐.- (อัตราค่าเข้าชมปลายปี ๒๕๕๓)


ดูภาพในหมวดนี้

ครูบาอาจารย์ภาษาไทย เยี่ยมชม พมร.

พมร. คืออักษรย่อของ "พิพิธภัณฑ์เหมืองร่ภูเก็ต" อ.กะทู้  พมร.ภูเก็ตเริ่มสร้างเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๔๙ หลัคลื่นยักษ์สึนามิ ๒๖ ธันวคม ๒๕๔๗ สร้างยังไม่ทันเสร็จ ก็มีผู้ฅนเข้ามาเยี่ยมชมทุกสัดาห์ แล้วท่านละขอรับ มาชม พมร.ภูเก็ต กี่ครั้งแล้วขอรับครับกระผม  ผู้ประสงค์เข้าเยี่ยมชมก่อนกำหนดเปิดโปรดโทร.08 1958 1097

TOURIST 100 Baht  ผู้ใหญ่ ๕๐.- นักศึกษา ๒๐.- นักเรียน ๑๐.- (อัตราค่าเข้าชมกลางปี ๒๕๕๔)


ดูภาพในหมวดนี้

เรือขุดแร่ดีบุก เหมืองเรือขุดแร่ดีบุก
เหมืองเรือขุดแร่ดีบุกขุดแร่ในอ่าวภูเก็ตเป็นครั้งแรกของโลกเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๒ กัปตันเอ็ดเวิร์ด โทมัส ไมล์ ชาวออสเตรเลียได้ดัดแปลงเรือขุดร่องน้ำมาเป็นเรือขุดแร่ดีบุก มีลูกเชอ(Bucket)เป็นที่ตักแร่; เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๒ นายหัวเหมืองได้สร้างเรือแพดูดแร่ขึ้นแทนเรือขุดที่เคยใช้มาแต่เดิม ขุดแร่ที่บ้านน้ำเค็ม อำเภอตะกั่วป่า จ.พังงา
ดูภาพในหมวดนี้

เหมืองฉีด เหมืองฉีด
พัฒนาการเครื่องยนต์ช่วยเปลี่ยนเหมืองหาบที่ใช้กุลีจำนวนมาก มาใช้เครื่องสูบน้ำในโรงหัด  และสูบน้ำส่งไปหัวฉีด(จุ๊ยปีด)เป็นเหมืองฉีด  คนฉีดเหมืองสวมชุดจั่งซุ้ย(เสื้อกันฝนชาวเหมืองทำด้วยใยปาล์มชก)
ดูภาพในหมวดนี้

กุลีในเหมืองหาบ เหมืองหาบ
เหมืองที่ใช้กุลีมากคือเหมืองหาบ แต่ละเหมืองจะมีกุลีมากกว่า ๑๐๐ คน ช่วยขุด ช่วยขน ช่วยหาบ ลำเลียงน้ำเข้า ลำเลียงน้ำออก ขนหิน ขนดิน ขนแร่ ขนทราย ให้นายหัวเหมือง
ดูภาพในหมวดนี้

เหมืองรูที่บ้านบางคู เหมืองรูหรืออุโมงค์
เหมืองรูเป็นการขุดลงไปเป็นบ่อและ/หรือขุดลึกเข้าไปในหน้าผา เป็นช่องพอที่จะคลานเข้าไปได้ มีไม้ค้ำยันดินรอบข้าง บนปากบ่อที่ลึกมักใช้ก้าถาวช่วยกว้านถังแร่ขึ้นลง (พมร.แสดงไว้ที่ห้องสายแร่แห่งชีวิต นายหัวประชา ตัณฑวณิช หมุนก้าถาวอยู่ปากบ่อ) ส่วนเหมืองอุโมงค์เป็นเหมืองรูที่ขุดรูเป็นช่องขนาดใหญ่ สามารถเดินได้ในช่องอุโมงค์ (พมร.แสดงไว้ที่ห้องสายแร่แห่งชีวิต ติดกับเหมืองรู)
ดูภาพในหมวดนี้

อุกกาบาต อุกกาบาต
อุกกาบาต เป็นวัตถุทางดาราศาสตร์ที่มาจากนอกโลก พุ่งเข้าสู่บรรยากาศโลก เสียดสีจนเห็นเป็นแสงสว่าง เรียกว่า ผีพุ่งไต้  หรือ ดาวตก  ส่วนที่เสียดสีแล้วสลายตัวไม่หมดจึงตกลงบนโลก เรียกว่า อุกกาบาต  พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ (พมร.กะทู้)ต้องการจัดแสดงไว้ในห้องกำเนิดโลก ขอเชิญผู้ครอบครองผู้ใจบุญ เมตตาบริจาคอุกกาบาตไว้จัดแสดงในห้องกำเนิดโลกให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ ขอได้โปรดแจ้งผ่าน 083 1025 606 หรือ museum@kathutin.com

ดูภาพในหมวดนี้

พระจีนกำลังพิธี จตุคามรามเทพ
ประเสริฐ ขาวกิจไพศาล นายกเทศมนตรีตำบลกะทู้ ปรารถนาจะสร้างโรงครัวและซุ้มประตูให้อ๊ามในทู และสร้างสื่อให้เยาวชนที่พิพิธภัณฑ์หมือแร่ จึงได้จัดสร้างจตุคามรามเทพ รุ่นเศรษฐีเหมืองแร่ อัญเชิญเทพเจ้าพราหมณ์ เทพเจ้าจีนและพระภิกษุสงฆ์ ร่วมด้วยช่วนกันสมโภชมงคลวัตถุในหลายสถานที่ เช่นวัดมหาธาตุวรมหาวิหารนครศรีธรรมราช ศาลเจ้ากะทู้(อ๊ามในทูเต้าบูเก๊ง)  และสถานที่ที่ตั้งมวลสารมงคล เช่นธูปบูชาพ่อท่านสมเด็จเจ้าวัดฉลองพ่อท่านแช่ม  อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ศาลเจ้าในจังหวัดภูเก็ต เหมืองแร่ในจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.๒๕๕๐ สมโภชเมื่อ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๐
ดูภาพในหมวดนี้

โลหะดีบุก ดีบุก
๕๐๐ กว่าปีในแผ่นดินภูเก็ตภูเก็จถลาง มีการขุดแร่ดีบุกส่งขายโปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศสและอังกฤษ จากแร่เป็นผงใช้ความร้อนแยกแร่ดีบุกออกจากเพื่อนแร่ได้โลหะดีบุกสีเงิน  มนุษย์รู้จักใช้ดีบุกผสมกับ ทอแดง เป็นสัมฤทธิ์ สำริดหรือบรอนซ์ มากว่า ๕,๐๐๐ ปี  ดีบุก (Sn)ในตารางธาตุ มีโปรตอน ๕๐ ตัว
ดูภาพในหมวดนี้

เพชรภูเก็จ เพชรภูเก็จ
เหมืองเรือขุดแร่ดีบุกในอ่าวภูเก็ตได้ส่งแร่ดีบุกไปแยกออกจากเพื่อนแร่  นายสมบูรณ์ อัยรักษ์ ได้เพชรภูเก็จที่ปนอยู่กับผงแร่ดีบุกในขบวนการคัดแยกแร่ มอบให้นางบุญกอบ อัยรักษ์ จัดทำเป็นหัวแหวนโดยไม่ได้เจียระนัย สวมใส่ประจำตัวมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๕ เมื่อทราบว่าพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ (พมร.กะทู้) ประสงค์จะได้เพชรภูเก็จ จึงได้มอบให้นายประเสริฐ ขาวกิจไพศาล นายกเทศมนตรีตำบลกะทู้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๐ พมร.ได้ลงทะเบียนไว้ที่หมายเลข พมร.OB ๖๙๐ จัดแสดงไว้ ณ ห้องอัญมณีนายหัวเหมืองของอังมอเหลา พมร.ภูเก็ต
ดูภาพในหมวดนี้

เพชรอันดามัน ๐.๓๗ กะรัต เพชรอันดามัน
ทะเลอันดามันมีดีบุกทั่วท้องทะเล  ก่อน พ.ศ.๒๕๒๐ รัฐเปิดโอกาสให้ชาวบ้านขุดแร่ในทะเลอันดามัน ตั้งแต่หาดท้ายเหมือง หาดเขาหลัก หาดบางเนียง แหลมปะการัง น้ำเค็ม เรือขุดของชาวบ้านเรียกว่าแพดูดบ้าง แพดันบ้าง เมื่อได้แร่ดีบุก จักต้องทำความสะอาดแร่ดีบุกออกจากเพื่อนแร่ ระยะแรก ชาวบ้านไม่ทราบว่าเพื่อนแร่ที่เป็นก้อนคือเพชร จนพ่อค้าเพชรพ่อค้าร้านทองบอก ชาวบ้านจึงเลือกไปขาย เม็ดงามเม็ดโตก็ส่งไปเจียระนัย เพชรดิบขนาดใหญ่สุดที่พบคือขนาด ๕๐ กะรัต
ดูภาพในหมวดนี้

Coelacanth ปลาดึกดำบรรพ์
นักชีววิทยาสัตว์โบราณได้พบซากฟอสซิลของปลาดึกดำบรรพ์ coelacanth (ซีลาแคนท์) เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๒ รูปร่างขอครีบที่ปรากฏมีความละม้ายคล้ายคลึงกับกระดูกแขนและขาขอสัตว์บก
ดูภาพในหมวดนี้

หอย ๔๐ ล้านปี พดหอย ๔๐ ล้านปี
นางวันทนีย์ มีใจ จากศูนย์พระเครื่องสมเกียรติ บ้านสามกอง ได้ฟอสซิลหอย ๒ ฝา ขนาด ๑๐ กรัมจากท้องทะเลอันดามันในแหล่งลานแร่ดีบุก ใช้เป็นเครื่องลางของขลังประจำตัว ได้มอบให้นายประเสริฐ ขาวกิจไพศาล นายกเทศมนตรีตำบลกะทู้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๐ ไว้เป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ หมายเลข พมร.OB ๖๙๓
ดูภาพในหมวดนี้

เหมืองพลอยที่อบต.เขาวัว ท่าใหม่ จันทบุรี เหมืองพลอย
พลอย เป็นอัญมณีเกิดในหินลาวาภูเขาไฟ  ในประเทศไทยมี พลอย ที่จังหวัดจันทบุรีและกาญจนบุรี พมร.แสดงพลอยดิบที่มีแม่เหล็กในพลอยและพลอยปรกติในห้องนิรมิตเล่นแร่แปรธาตุ

ดูภาพในหมวดนี้

ไดโนเสาร์ ไดโนเสาร์
ไดโนเสาร์ที่ค้นพบในไทย พบที่ภูเวียง ขอนแก่นและภูกุ้มข้าว สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ได้ชื่อ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่, สยามโมซอรัส สุธีธรนิ ทั้งขอนแก่นและกาฬสินธ์ได้จัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งการเรียนรู้ธรณีวิทยา ธรณีกาล บรรพชีวินและวิทยาศ่าสตร์
ดูภาพในหมวดนี้

ปลาพญานาคเกยตื้น ปลาพญานาค
ลิขสิทธิ์ผู้ใดก็ไม่รู้  ส่งมาทางอีเมล์ เห็นว่าเป็นภาพปลาหายาก เขาเรียกว่า ปลาพญานาค จึงได้บันทึกไว้ตั้งคำถาม มีจริงหรือ มีอยู่ส่วนไหนของโลก เหตุใดอควาเรี่ยมจึงไม่นำไปเสนอไว้  เพาะพันธุ์ไว้ดูเล่นได้ไหม ทำไมจึงเพาะพันธุ์ไม่ได้ไม่ได้  โปรดถามไปเถอะ ถามเองก็ตอบเองนะเจ้า
ดูภาพในหมวดนี้

ค้างคาวกิตติ ค้างคาวกิตติ

กิตติ ทองลงยา ค้นพบค้างคาวกิตติเมื่อปี ๒๕๑๖ และได้รับการประกาศว่า เป็นค้างคาวชนิดใหม่ของโลก ไม่อาจจัดไว้ในวงศ์ใดได้ จึงต้องตั้งวงศ์ให้ใหม่โดยมี ค้างคาวกิตติอยู่ตัวเดียวเท่านั้นในวงศ์นี้ จนถึงการศึกษา ครั้งล่าสุดซึ่งเกิดขึ้น ในช่วงเวลาที่ห่างกันนานเกือบ ๓๐ ปี ความลี้ลับและ ปริศนาว่าด้วยการดำรงอยู่ของ ค้างคาวกิตติแทบ จะยังไม่ได้รับการคลี่คลาย

ชาวฮกเกี้ยนภูเก็จเรียกค้างคาวว่า หุงเปียนฝู (โชคดี โชคลาภ)

ดูภาพในหมวดนี้

บริเวณที่ตั้ง พธม.กะทู้ แผนที่ที่ตั้ง พมร.กะทู้
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ (พมร.กะทู้) ตั้งอยู่ในเหมืองท่อสูง ระหว่างตลาดในทู อำเภอกะทู้กับบ้านบางคูเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๙ อยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขาเก็ตหนี อยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเขานางพันธุรัต มีเนื้อที่ประมาณ ๔๐๐ ไร่ เปิดให้เข้าชมในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๑
ดูภาพในหมวดนี้

ผารางเหมือง ผาCLIFFพมร.กะทู้
ในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ (พมร.กะทู้) ซึ่งสร้างอังมอเหลา(ตึกเศรษฐีนายหัวเหมืองเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ภายใน)ไว้เป็นสง่ากลางลานทรายเหมืองแร่ เมื่อกลางปี พ.ศ.๒๕๔๙ รอบอังมอเหลามีหน้าผาจากการทำเหมืองแร่ดีบุกของเหมืองท่อสูง เลิกร้างไปตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๐ ทิ้งผาเหมืองแร่ไว้ คือ ผาเหมืองท่อสูง ผารางเหมือง ผาปล่องภูเขาไฟ ผาดีบุก ผาแม่พระธรณี ผาฐานธรณินท์ ผาขาวกิจไพศาล ผาพระพักตร์นพคีตนาฏราชิน
ดูภาพในหมวดนี้

ร่อนแร่ด้วยเลียง ร่อนแร่ดีบุกด้วยเลียง
ชาวเหมืองใช้ภาชนะไม้ทรงกลมคล้ายถาดท้องลึกเหมือนจานในการร่อนแร่ดีบุก ภาชนะนี้เรียกว่า เลียง
ดูภาพในหมวดนี้

แผนที่ที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวสึนามิ แผนที่
แผนที่  ทั้งแผนผัง ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม โลกในอดีต
ดูภาพในหมวดนี้

ตราพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ตรา
ตรา เป็นภาพลายเส้นเป็นผลจากการสังเคราะห์วิเคราะห์ภาระงานของเจ้าของหน่วยองค์กรนั้น เช่นตรากลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ออกแบบให้มีรูปภูเขา ๒ เส้นคือ ภูเก็จ และถลาง มีเพชรเพราะภูเก็จหมายถึงภูเขาแก้ว เพชรคือแก้วชนิดหนึ่งที่พบในอ่าวภูเก็ต; ตราศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต; ตรามูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร
ดูภาพในหมวดนี้

ไม้กลายเป็นหิน บรรพชีวินพืช
แหล่งไม้กลายเป็นหิน(ซากบรรพชีวิพืช)ที่พบมากที่สุดในประเทศไทย พบที่บ้านโกรกเดือนห้า จังหวัดนครราชสีมา  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาจึงได้ดำเนินการขอความร่วมมือจากหลายหน่วยงานหลายองค์กรจัดสร้างเป็นสถาบันวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน  นำไม้กลายเป็นหินจากทุกแหล่งในประเทศไทยมาจัดแสดง เป็นพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินที่ใหญ่สุดในเอเซีย ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ ผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล เป็นผู้อำนวยการ
ดูภาพในหมวดนี้

ไม้กลายเป็นหิน ไม้กลายเป็นหิน
แหล่งไม้กลายเป็นหินที่พบในประเทศไทย มีอายุประมาณ ๘ แสนปี พบที่โกรกเดือนห้า นครราชสีมา  อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ, จังหวัดขอนแก่น, จังหวัดตาก
ดูภาพในหมวดนี้

บ้านทรงจีน บ้านจีน
บ้านเรือนแบบจีน สร้างด้วยดิน เรียกว่า ตึกดิน หรือกว้านดิน เนื่องจากวัสดุ
ที่ใช้ก่อสร้างทำด้วยดิน หรือดินเผา  ดินที่ใช้ในการสร้างบ้านเรือนแบบนี้นัยว่าเป็นดินที่ผสม
ด้วยวัสดุบางอย่าง เพื่อให้มีคุณสมบัติเกาะยึดติดแน่นไม่เปราะและไม่ผุพังง่าย ชาวจีนใช้ดิน
ผสมนี้อัดกระทุ้งให้เรียบสนิท เสริมสูงขึ้นจากพื้นจนเป็นรูปกำแพง และใช้เป็นฝาผนังบ้านทั้ง
สี่ด้าน มีประตู หน้าต่าง ใช้ไม้แก่นเนื้อแข็งเป็นวงกบประตู หน้าต่าง และบานประตู  หาก
เป็นบ้านสองชั้นจะใช้ไม้เป็นคาน รอดและปูพื้น ส่วนหลังคาจะวางขื่อ แป และจันทัน  ด้วย
ไม้โกงกางหรือไม้แสม หลังคาจะมุงกระเบื้องรางซึ่งมีลักษณะเป็นครึ่งวงกลมทำด้วยดินเผา
บ้านเรือนแบบนี้ส่วนมากเป็นเรือนชั้นเดียว ถ้าสูงกว่านี้ก็เป็นเรือนสองชั้นเท่านั้น   เพราะ
เสี่ยงต่อการพังทลายได้ง่าย บ้านแบบนี้หาดูได้จาก บ้านห้องแถวบริเวณแถวน้ำ   ห้องแถว
บริเวณบางเหนียว (ถนนภูเก็ต) และตึกแถวในตลาดอำเภอกะทู้
ดูภาพในหมวดนี้

บ้านกุลวดี ตัณฑวณิช ชิโนโปรตุกีสสไตล์
ลักษณะบ้านแบบชิโนโปรตุกีส  เป็นแบบผสมระหว่างสถาปัตยกรรมจีน  กับสถาปัตยกรรมโปรตุเกส คือแปลนอาคารแบ่งออกเป็นช่วง ๆ  แต่ละช่วงจะมีช่องสำหรับให้แสงสว่างตามธรรมชาติส่องลงมาได้ ช่วยให้มีอากาศหมุนเวียนภายในอาคาร   โครงสร้างเป็นตึกก่ออิฐหรือเทคอนกรีตแบบยุโรป มีหน้าต่างหรือเฉลียงยื่นออกมาจากตัวบ้าน  กรุบานหน้าต่างหรือประตูกระจกสี ตกแต่งลวดลายตามขอบประตูและหน้าต่าง    หัวเสามีลักษณะเป็นเสาแบบยุโรป คือลักษณะเสาแบบดอริค (Doric) ไอโอนิค (Ionic) และโครินเธียน  (Corinthian) ระหว่างเสาจะมีลักษณะเป็นประตูโค้งแบบโรมัน ด้านหน้าจะประดับด้วยลายปูนปั้นแบบจีน กระเบื้องปูพื้นจะเป็นกระเบื้องปูแบบฝรั่ง แต่หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา  แบบ
ทรงกระบอกผ่าซีก
ดูภาพในหมวดนี้

รนขุนมรดกกลอน วัลยเพ็ชร รนภูเก็จ
ชาวภูเก็จรียบ้านเรือนที่พักอาศัยว่า เริน รูปแบบคำใช้ รน ในคำกะรน(อ่าวเรือน) มีใต้ถุน บันไดขั้นคี่ เช่น สาม ห้า เจ็ด เสาบันไดพาดนอกชาน ตรงประตูเข้าไปบนเบียง ตรงข้ามเบียงเป็น บนโรง ยาวไปถึงห้องครัว  ระดับบนโรงสูงสุด เบียงลดต่ำลง ครัวและชานระดับพอ ๆ กัน
ดูภาพในหมวดนี้

จดหมายเหตุท้าวเทพ จดหมายเหตุ
ท่านผู้หญิงจัน(ท้าวเทพกระษัตรี) เขียนจดหมายติดต่องานราชการแผ่นดินและติดต่อแลกซื้อดีบุกกับกัปตันฟรานซิส ไล้ท์(พระยาราชกปิตัน) ขณะนี้ ต้นฉบับอยู่ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน  อดีตผู้ว่าราชการอ้วน สุระกุล ได้ขอสำเนากลับจังหวัดภูเก็ต รวม ๖ ฉบับ เป็นจดหมายท้าวเทพกระษัตรี ๒ ฉบับ
ดูภาพในหมวดนี้

พ่อท่านแช่มในกุฏิ พ่อท่านแช่ม
เมื่อภูเก็จเกิดจราจลอั้งยี่(วุ่นจีน) เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๙ ต้นรัชกาลที่ ๕  อั้งยี่ถูกศิษย์วัดฉลองตีแตกพ่าย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ ทรงนิมนต์พ่อท่านวัดฉลองเข้ารับพระราชทานเป็น พระครูวิสุทธิวงษาจาริย์ญาณมุนี สังฆปาโมกข์เมืองภูเก็จ ชาวภูเก็จรุ่นนั้นและถัดมาเรียกขานพ่อท่านแช่มหรือพ่อท่านวัดฉลองว่า พ่อท่านสมเด็จเจ้า  ผู้ศรัทธาได้สร้างหุ่นจำลองประดิษฐานไว้ในมณฑปจตุรมุข และสร้างหุ่นขี้ผึ้งประดิษฐานไว้บนกุฏิจำลอง
ดูภาพในหมวดนี้

เสด็จฯปี ๒๕๐๒ ร.๙ เสด็จภูเก็ต
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จฯเยี่ยมจังหวัดภูเก็ต เมื่อ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๒ - ๑๒ มีนาคม ๒๕๐๒ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ตามเสด็จฯ, เสด็จฯครั้งที่ ๒ วันอังคารที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๑๐ ทรงเปิดอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร  สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ตามเสด็จฯ, เสด็จฯครั้งที่ ๓ เมื่อ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๑๑ เสด็จฯ พระราชทานพระพุทธนวราชบพิตร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร ตามเสด็จฯ และเสด็จฯ ครั้งที่ ๔ เมื่อ ๑๖ เมษายน ๒๕๑๖ เสด็จฯเยี่ยมราษฎรเกาะนาคาน้อย  สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ตามเสด็จฯ
ดูภาพในหมวดนี้

ขุนเลิศโภคารักษ์ นายหัวเหมือง
หัวหน้าในการประกอบกิจการส่วนตัว ชาวภูเก็จใช้ "นายหัว" นายหัวไปทำสวนยางพาราก็เรียกว่า นายหัวสวนยาง  ทำการประมงก็เรียกว่านายหัวแพปลา ในส่วนนี้ เมื่อนายหัวไปทำเหมืองแร่ ชาวภูเก็จก็เรียกว่า นายหัวเหมือง  มีหลักฐานการทำเหมืองแร่มาไม่น้อยกว่า ๕๐๐ ปี  เจ้าเมืองหรือผู้ปกครองเมืองจะเป็นนายหัวเหมืองมาโดยตลอด  แม้ท้าวเทพกระษัตรี ก็เคยมีปรากฏในจดหมายว่ามาทำแร่ดีบุกที่บ้านสะปำ  เมืองภูเก็จเทียนก็มาทำแร่ที่บ้านบางคู  พญาภูเก็จแก้วไปทำแร่ที่บ้านเก็ตโฮ่ พญาวิชิตสงครามก็มาทำแร่ที่เมืองภูเก็จทุ่งคา  เมื่อเอกชนเริ่มทำเหมืองในรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา ชื่อนายหัวเหมืองก็ปรากฏมนเอกสารมากหน้าหลายตา เช่น พระพิทักษ์ชินประชา, พระอร่ามสาครเขตร, พระพิไสยสรรพกิจ, หลวงอำนาจนรารักษ์, หลวงอนุภาษภูเก็ตการ, ขุนชนานิเทศ, หลวงชนาทรนิเทศ, นายฮั่นก๋วน อุปัติศฤงค์, ขุนเลิศโภคารักษ์, ขุนวิเศษนุกูลกิจ เป็นต้น
ดูภาพในหมวดนี้

อนุสรณ์สถานถลางชนะศึก ถลางภูเก็จภูเก็ต
แผนที่การเดินเรือของคลอดิอุส ปโตเลมี เมื่อ พ.ศ.๗๐๐ ได้ระบุตำแหน่งเกาะภูเก็ต ไว้ในนาม JUNK CEYLON พระภิกษุจีนเรียก SILAN ชาวไทยเรียกว่า สิลัน,  สลาง,  ฉลาง  และ ถลาง  พม่าตีเมืองถลางแตกเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๒  เมืองภูเก็จจึงได้เจริญเติบโตเป็นเมืองใหญ่ เป็นชื่อจังหวัดภูเก็ตแบ่งการปกครองเป็น ๓ อำเภอคืออำเภอทุ่งคา(อำเภอเมืองภูเก็ต) อำเภอถลางและอำเภอกะทู้  มีประวัติศาสตร์ที่ชาวไทยรับทราบคือศึกถลาง พ.ศ.๒๓๒๘ เป็นเหตุให้เกิดวีรสตรี ๒ ท่าน คือท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร
ดูภาพในหมวดนี้

เก๋งจีนและโดมซุ้มประตู กะทู้ทุ่งคาภูเก็จ
แผนที่การเดินเรือของคลอดิอุส ปโตเลมี เมื่อ พ.ศ.๗๐๐ ได้ระบุตำแหน่งเกาะภูเก็ต ไว้ในนาม JUNK CEYLON หลังพม่าตีเมืองถลางแตกเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๒  เมืองภูเก็จจึงได้เจริญเติบโตเป็นเมืองใหญ่ เป็นชื่อจังหวัดภูเก็ตแบ่งการปกครองเป็น ๓ อำเภอคืออำเภอทุ่งคา(อำเภอเมืองภูเก็ต) อำเภอถลางและอำเภอกะทู้ พระยารัษฎาฯ ได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ(ร.๖) เสด็จเปิดถนนวิชิตสงครามและเสด็จฯไปน้ำตกกะทู้เมื่อ ๒๘ เมษายน ๒๔๕๒ รัชกาลที่ ๙ เสด็จฯไปป่าตองเมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๐๒ เป็นเหตุให้เกิดราชปาทานุสรณ์
ดูภาพในหมวดนี้

หยก อัญมณี
เพชรดีมณีแดง เขียวใสแสงมรกต เหลืองใสสดบุษราคัม แดงแก่ก่ำโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาฬ มุกดาหารหมอกมัว แดงสลัวเพทาย สังวาลสายไพฑูรย์ นี่คือนพรัตน์ อันเป็นส่วนหนึ่งของอัญมณี
ดูภาพในหมวดนี้

หลังคาอ๊ามในทู ศาลเจ้า
ชาวภูเก็จเรียกศาลเจ้าจีนหรือโรงพระว่า อ๊าม เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของวงศตระกูล  เมื่อเป็นที่เลื่อมใสของคนทั่วไป ก็กลายเป็นศาสนสถานสาธารณะ แต่มีกรรมการจากวงศ์ตระกูลเป็นกรรมการหลัก ในภูเก็ตมีอ๊ามหลายอ๊าม เช่น อ๊ามกะทู้ อ๊ามจุ้ยตุ่ย อ๊ามบางเหนียว อ๊ามสามกอง อ๊ามท่าเรือ อ๊ามสะปำ อ๊ามหล่อโรง อ๊ามปุดจ้อ อ๊ามเชิงทะเล
ดูภาพในหมวดนี้

หอย๗๕.jpg บรรพชีวินสัตว์
ภาคใต้มีแหล่งบรรพชีวินที่มีชื่อเป็นที่รู้จักทั่วไปคือสุสานหอย ๗๕ ล้านปี อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราและหมู่เกาะพีพี ที่จังหวัดกระบี่ เป็นฟอสซิลหอยน้ำจืด อายุประมาณ ๔๕ ล้านปี  อีกที่หนึ่ง อาจารย์เบญจรงค์ ทองตัน อดีตอาจารย์วิทยาลัยครูภูเก็ต ได้แจ้งให้ทราบว่าที่หาดอ่าวนางมีหินก้อนโตขนาดรถเก๋ง หล่นจากหน้าผาสูงลงสู่ปากคลองเล็ก ๆ น่าจะมีฟอสซิล  ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ได้ตรวจสอบหินด้วยกล้องจุลทรรศน์พบว่ามีร่องรอยสิ่งมีชีวิตอาจเป็ปะการังหรือพืชประเภทสาหร่ายปรากฏอยู่ในหินนั้น คงรอนักชีววิทยาให้ร่วมด้วช่วยกัน  ที่บ้านพรุดินนามีหอยฝาเดียวอยู่ที่ข้างเนินเขาหินปูน ยังไม่ทราบอายุ  ภาคอีสานพบไดโนเสาร์ที่ภูเวียง(เวียงเก่า)ประเภทกินเนื้อ นอกนั้นมีที่ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้สร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์สิรินธร  ส่วนที่บ้านโกรกเดือนห้า ต.สุรนารี อ.เมืองนครราชสีมา พบซากไดโนเสาร์ ช้าง เต่า สัตว์อื่น ๆ และไม้เป็นหินจำนวนมาก ได้สร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน
ดูภาพในหมวดนี้

เกาะตะเภาใหญ่ เกาะบริวารภูเก็ต
เกาะภูเก็ตเป็นเกาะใหญ่สุดของไทย  มีเกาะบริวารรอบเกาะภูเก็ต ๓๖ เกาะ เช่น เกาะเฮ เกาะนาคาใหญ่ เกาะนาคาน้อย เกาะแรด เกาะรัง(พรั่ง)ใหญ่ เกาะรังน้อย เกาะดอกไม้ เกาะ(มะ)พร้าว เกาะสิเหร่ เกาะไม้ท่อน เกาะโหลน เกาะทะนาน๑-๒ เกาะบอน เกาะแก้วน้อย เกาะแก้วใหญ่ เกาะรายา(ราชา)ใหญ่ เกาะรายาน้อย(นุ้ย) เกาะปู เกาะตายมดึง เกาะทะ
ดูภาพในหมวดนี้

แหลมสิงห์ภูเก็ต แหลมในภูเก็ต
เกาะภูเก็ตมีแหลมที่มีชื่อเสียงคือแหลมพรหมเทพ แหลมกา แหลมสิงห์ (อยู่ระหว่างหาดสุรินทร์กับหาดกมลา)  ทุกสองข้างอ่าวในภูเก็ตจะเป็นแหลม  ทุกสองข้างอ่าวบนเกาะบริวารจะเป็นแหลม ภูเก็ตจึงมีแหลมจำนวนมาก เช่น แหลมพันวา แหลมตุ๊กแก แหลมตายมดิง แหลมเพชร แหลมหลา แหลมหิน
ดูภาพในหมวดนี้

สนธยาหาดเลพัง หาดในภูเก็ต
หาดมีทรายหลายขนาด มีสีขาวสีน้ำตาล(แต่ภูเก็ตไม่มีหาดทรายสีดำเหมือนตรัง) ๕ หาดมีซิลิกอนสูง คือ หาดทรายแก้ว หาดในทอน หาดอู่ตะเภา หาดกะรนน้อยและหาดกะรน(สมญานามคือหาดร้องเพลง)  หาดทรายเป็นทรัพยากรทางการท่องเที่ยว SAND sea sun หลายหาดมีแร่ดีบุกและเพื่อนแร่ เช่น หาดกะรน หาดเลพัง หาดบางเทา หาดสุรินทร์
ดูภาพในหมวดนี้

จารึกภษาจีนในศาลเจ้าปุดจ้อ หลักฐานจีนในภูเก็ต
หลักฐานใด ๆ ที่เป็นภาษาจีน บ่งบอกถึงความเป็นจีน ในจังหวัดภูเก็ต
ดูภาพในหมวดนี้

พระแสงราชศัตราวุธ โบราณวัตถุ
วัตถุมีค่าต้องเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน
ดูภาพในหมวดนี้

จิตรกรรมสีน้ำมันใต้ทะเล ทรัพย์สินมีค่า
ของมีค่าในแผ่นดินภูเก็ต
ดูภาพในหมวดนี้

จินตหรา สุขพัฒน์ สะพานรักสารสิน
ความรักของหนุ่มรถโปท้องกับสาวแม่พิมพ์ เรื่องจริงที่จะกลายเป็นตำนาน ให้เล่าขานถึงรักไม่สมหวัง จนสะเทือนใจมาตราบกาลบัดนี้
ดูภาพในหมวดนี้

สะพานสารสิน 2527 สะพานสารสิน
พจน์ สารสิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการได้ลงนามสร้างสะพานสารสิน เชื่อมแผ่นดินใหญ่ปากใต้กับเกาะภูเก็ตที่ช่องปากพระ  แรกเริ่มสร้างทางฝั่งท่านุ่น ถัดมาบริษัทญี่ปุ่นถมหินจากฝั่งท่าฉัตรไชย  เมื่อถมหินไม่สำเร็จ  จึงได้สร้างเป็นสะพานคอนกรีต ความยาว ๖๖๐ เมตร
ดูภาพในหมวดนี้

สะพานท้าวเทพกระษัตรี สะพานท้าวเทพกระษัตรี
กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จเป็นแกนนำดำเนินการเสนอให้รัฐเรียกชื่อสะพานที่สร้างคู่ขนานกับสะพานสารสินว่า เทพกระษัตรี ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่นเพื่อเป็นเกียรติแด่วีรสตรี เพราะท่านผู้หญิงจันตีฝ่าวงล้อมพม่าจากค่ายปากพระกลับเมืองถลาง รวบพลต้านต่อตีทัพญี่หวุ่นแตกพ่ายไปเมื่อ ๑๓ มีนาคม ๒๓๒๘
ดูภาพในหมวดนี้

รถโปท้อง รถโปท้อง
ชาวภูเก็จใช้และอาศัยรถปท้อง(รถสองแถว) เป็นยานพาหนะมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก่อนหน้านั้นเรียกว่ามอเตอร์ก้า การสตาร์ทใช้เหล็กต่อกับเครื่องสตาร์ทด้านหน้ารถ หมุนหลายรอบเพื่อจุดสตาร์ท พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ (พมร.กะทู้) แสดงรถโปถ้องไว้ที่ห้อง"โปท้องหง่อก่ากี่" ใน Story Board "เปิดลับแลม่านฟ้าเกาะพญามังกร"
ดูภาพในหมวดนี้

อุปรากรจีน งิ้ว ชาวในทูดูงิ้ว

ประเสริฐ ขาวกิจไพศาล นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลกะทู้และวินัย เรืองจารุวัฒนา ผู้จัดการบริษัทซันไชน์ นำคณะชาวอ๊ามในทูเต๊าบูเก๊งเชื่อมสัมพันธ์ชาวอ๊ามสิงคโปร์ เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๐


ดูภาพในหมวดนี้

เลาเอี๋ยเจ้าอ๊าม พระจีนประติมากรรม

ดูภาพในหมวดนี้

ปะการัง(กรัง)รังผึ้ง สิ่งมีชีวิตในกรัง
ปะการัง กัลปังหา กุ้ง หอย ปู ปลา กั้ง สาหร่าย ฟองน้ำ
ดูภาพในหมวดนี้

เม้าท์เซนต์เฮเลนส์ ภูเขาไฟ

ภูเขาไฟ เป็นธรณีสัณฐาน (โดยทั่วไป คือ ภูเขา) ที่หินหนืด (หินภายในโลกที่ถูกหลอมเหลวด้วยความดันและอุณหภูมิสูง) ปะทุผ่านขึ้นมายังพื้นผิวของดาวเคราะห์ แม้ว่าเราจะสามารถพบภูเขาไฟได้หลายแห่งบนดาวเคราะห์หินและดาวบริวารในระบบสุริยะ แต่บนโลก ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นใกล้กับแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก กับเนื้อโลกชั้นนอก  ในประเทศไทยมีภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วที่จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดลำปาง  มีหินภูเขาไฟที่สลายตัวจากลาวาไปเป็นหินตะกอน ที่อำเภอบ่อพลอยจังหวัดกาญจนบุรีเป็นหินบะซอลต์ปนนิล


ดูภาพในหมวดนี้

เสนอหอคัมภีร์อัลกุรอ่าน เสวนา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากรจัดเสวนาแผนแม่บทอุทยานประวัติศาสตร์ถลาง ณ ห้องจามจุรี โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
ดูภาพในหมวดนี้

สภา ทต.ทม.กะทู้
สภาเทศบาลตำบลหรือเทศบาลเมือง เป็นตำแหน่งทางการเมืองขององค์กรท้องถิ่นมีหน้าที่ตรากฎระเบียบให้เป็นตามธรรมาภิบาลอันยังความสุขให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่นั้น มีประธานสภาเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ
ดูภาพในหมวดนี้

วุฒิ สายะพันธ์ ผู้บริหาร ทม.กะทู้
เทศบาลกะทู้จะก้าวไปเป็นเทศบาลเมืองกะทู้ปลายปี พ.ศ.๒๕๕๑ ความเจริญก้าวหน้าขององค์ขึ้นอยู่กับบุคลากรหลายส่วน นายกเทศมนตรีเป็นประธานฝ่ายบริหารและผู้อำนวยการกองมีส่วนช่วยขับเคลื่อนให้ ทม.มีศักยภาพเต็มหน้าที่
ดูภาพในหมวดนี้

ประเสริฐ ขาวกิจไพศาล ประเสริฐ ขาวกิจไพศาล
"หักดิบของเสพไม่พึงประสงค์ได้ด้วยลูกสาว" เป็นจิตของผู้มีพลังเท่านั้น ไม่ก้าวไปแต่ตัว แต่ช่วยให้ฅนอื่นในหน้าที่ก้าวพัฒนาไปด้วยอย่างเต็มศักยภาพ มุ่งมั่นที่จะตอบแทนคุณบรรพบุรุษผู้สร้างบ้านแปงเมืองในทูอันเป็นรากเหง้าแท้ของกะทู้สู่ภูเก็จให้สำแดงประจักษ์ในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้) พ.ศ.๒๕๔๙ พมร.จึงมีจึงก้าวด้วยแรงผลักของประเสริฐ ขาวกิจไพศาล นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลกะทู้
ดูภาพในหมวดนี้

เซี่ยงไฮ้ฮ่อ สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์
ประสบการณ์การสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ก็ดี  กุฏิจำลองพ่อท่านสมเด็จเจ้าแช่มก็ดี  พิพิธภัณฑ์ไทยจีนภูเก็ตไทยหัวก็ดี อนุสรณ์สถานถลางชนะศึกก็ตาม เป็นพลังขับเคลื่อนให้สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ มาวาดฝันให้เป็นจริงในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ (พมร.)กะทู้ แหล่งเรียนรู้บูรณาการทางวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมาสตร์ กระทรวงวัฒนธรรมมอบโล่วัฒนธรรมให้ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๓
ดูภาพในหมวดนี้

ศิษย์สมหมายช่วยวัฒน์
ลูกศิษย์ของ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๙ เป็นต้นมา ทั้งศิษยานุศิษย์โดยตรงและครูพักลักจำ ได้เป็นโซ่เฟืองทองขับเคลื่อนสาธารณะประโยชน์แผ่แพร่ทั่วแผ่นพื้นปฐพี
ดูภาพในหมวดนี้

นี่นะ ฅน เริ่มแรก ชีวิตฅนพัฒน์
ปฏิสนธิชีวิตมนุษย์เริ่มแรกเมื่อ ๔,๓๐๐ ล้านปี(โลกมีอายุล่วงแล้ว ๔,๕๖๐ ล้านปี) ชีวิตแรกอันเป็นบรรพชนมนุษยชาติพัฒนาเพิ่มเซล ต่อสู้กับภัยรอบข้าง เป็นสัตว์คล้ายปลาในทะเลก็ตกเป็นเหยื่อปลาใหญ่ หนีภัยไปน้ำจืด ขาดออกซิเจนจึงต้องพัฒนาให้มีปอด น้ำจืดแห้งเหือดหายจึงได้สร้างตีนขึ้นคลานสี่ขาชายฝั่ง  หนีไดโนเสาร์เข้าอยู่รูโพรง ภัยไฟบรรลัยกัลป์ไหม้ผิวโลก ไดโนเสาร์รับเคราะห์ไปหมดโลก เอ้า ต้องผจญภัยกับนกยักษ์อีก จำต้องหนีเข้าป่า โอย... กว่าเป็น ฅน นี่แหละมนุษย์ :สารคดีวิทยาศาสตร์ของ HONDA
ดูภาพในหมวดนี้

ต้นส้มควาย พืชพันธุ์ไม้
จุลชีพพัฒนาขนาดใหญ่ขึ้น จนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า พัฒนาต่อเนื่องจนจำแนกออกจากสัตว์ ในวิกิพีเดียให้ อาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์  ลักษณะพิเศษที่ต่างไปจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นก็คือการสังเคราะห์แสง แต่มีพืชจำพวกปรสิตประมาณ 300 สปีชี่ส์ที่ไม่สังเคราะห์แสงเอง แต่เกาะดูดอาหารจากพืชชนิดอื่น
ดูภาพในหมวดนี้

ตูเป็นสัตว์นะจ้ะ อาณาจักรสัตว์
วิกิพีเดียให้สัตว์ เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด จัดอยู่ใน อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) เป็นสิ่งมีชีวิตพวกที่นิวเคลียสมีผนังห่อหุ้ม ประกอบด้วย หลายเซลล์มีการแบ่งหน้าที่ของแต่ละเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่างแบบถาวร ไม่มีคลอโรฟิลล์ สร้างอาหารเองไม่ได้ ดำรงชีวิตได้หลายลักษณะทั้งบนบกในน้ำ และบางชนิดเป็นปรสิต อาณาจักรนี้ได้แก่สัตว์ทุกชนิด ตั้งแต่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจนถึงสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ พยาธิใบไม้ กบ ลิง กระต่าย ดาวทะเล แมงดาทะเล พลานาเรีย หอยสองฝา แมลงสาบ ในทางชีววิทยา มนุษย์ ก็จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ โดยคำว่าสัตว์ กลายความหมายมาจากคำว่า "สตฺตฺว" ในภาษาสันสกฤตซึ่งแปลว่าสิ่งมีชีวิต[1]
ประเภทของสัตว์ สัตว์ในโลกนี้มีมากมายหลายชนิด นักวิทยาศาสตร์ได้จัดแบ่งสัตว์เป็นกลุ่ม โดยถือรูปร่างลักษณะที่เหมือนกัน หรือต่างกันเป็นสำคัญ อริสโตเติล นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีก ใช้กระดูกสันหลังเป็นเกณฑ์ในการแบ่งสัตว์ได้เป็น 2 พวก คือสัตว์มีกระดูกสันหลัง  สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

ดูภาพในหมวดนี้

สมุนไพร
จากวิกิพีเดียารานุกรมเสรี ให้สมุนไพรคือ พืช ผัก ผลไม้ ที่มีสรรพคุณทางยา เพื่อรักษาโรค โดยพืชสมุนไพรสามารถใช้ส่วนต่าง ๆ เช่น ใบ ราก เปลือก ดอก ผล นำไปรับประทาน หรือ แปรรูปเป็นยาได้ พิพิธภัณฑ์เหมืองร่(พมร.กะทู้) มีตัวอย่างสมุนไพรใน "เป๊ะอ๊านต๋อง" ตรงข้ามร้านของชำ "ตันขวด"

ดูภาพในหมวดนี้

แร่เหล็กที่เขาเหล็ก แร่เหล็กเขาเหล็ก

แร่เหล็กที่เขาเหล็ก อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช; อาจารย์อรุณรัตน์ สรรเพ็ชรและจิรชัย อนุสัตย์ ได้เลือกแร่เหล็กนำมาแสดงที่พิพิภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้)ในห้องกำเนิดแร่ : ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ถ่ายภาพเมื่อ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๑


ดูภาพในหมวดนี้

ผาหินอ่อนสีชมพู หินอ่อนสีชมพู
พมร.กะทู้ได้รับหินอ่อนสีชมพูจากบริษัทยะลา ด้วยความอนุเคราะห์ประสานงานของผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคยะลา  นายสวัสดิ์ บริษัท ได้มอบหมายให้ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ อาจารย์อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร และจิรชัย อนุสัตย์ ไปรับหินอ่อนสีชมพูที่จังหวัดยะลาเมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๑
ดูภาพในหมวดนี้

รับรางวัล ๒๕๕๐ ขอรับเงินหมื่นด้วยครับ

กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ ได้สร้างคำถามประวัติศาสตร์ถลางภูเก็จภูเก็ต เพื่อให้ผู้สนใจประลองภูมิ  หากท่านตอบ EQ0015 ได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง  มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร จะมอบรางวัลให้ท่านในวันถลางชนะศึก ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๓ ณ อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ลองแลหน่อยต้ะ


ดูภาพในหมวดนี้

ปลากะรัง(เก๋า) ปลาศิลาประติมากรรม
กิตติ สินอุดม ชาวเพชรบุรี เคยเป็นผู้จัดการแพปลาสินอุดมที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ.๒๕๓๓ ได้แกะสลักหินอ่อนเป็นรูปปลา สรรค์สร้างปลาศิลาประติมากรรมมากกว่าพันตัว จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ปลาหิน(Rock Fish Museum) ไว้ที่บ้านวังหิน อ.ดอนสัก จ.สุราษฏร์ธานี ได้มอบประติมากรรมปลา(กะรัง=เก๋า)หินอ่อนบ้านน้ำฉา ไว้ในห้องกำเนิดชีวิต พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้) เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๑

ดูภาพในหมวดนี้

สมหมายเสนองาน พมร. สมหมายเสนองาน พมร.
ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ รับคำเชิญ ทต.กะทู้ ให้เสนอแนวคิดการบริหารงานและการจัดนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ เสนอคณะกรรมการบริหารระดับสูงของ ทต.กะทู้ เมื่อช่วงเทศกาลกินผัก ๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๙ ณ ห้องนายกเทศมนตรี ทต.กะทู้

ดูภาพในหมวดนี้

สมหมายดูแบบแปลน พมร. สมหมายรับฟังงาน พมร.
ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ รับคำเชิญจาก ทต.กะทู้ เข้าร่วมดำเนินการในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้ ประเสริฐ ขาวกิจไพศาล นายกเทศมนตรีตำบลกะทู้ ให้ดูแบบแปลน พมร.กะทู้ เมื่อ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ณ ห้องนายกเทศมนตรี ทต.กะทู้ และพาไปสถานที่ก่อสร้าง  ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ขอเชิญนายกฯ และคณะผู้บริหารไปชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ในวันเดียวกัน

ดูภาพในหมวดนี้

กานตพันธุ์ พิศาลสุขสกุล สมหมายรับเชิญจากSEA
นายกานตพันธุ์ พิศาลสุขสกุล ผู้จัดการโครงการจัดแสดงนิทรรศการภายใน พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ของ Southeast Asia Management Co.Ltd.(SEA) บริษัทเซาท์อีสท์ เอเชีย แมเนจเม้นท์ จำกัด เข้าปรึกษาการบริหารโครงการการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้) กับ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ เมื่อเช้าวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๐ และส่งฅนเข้ารับทำฐานข้อมูลใน www.kathutin.com ในช่วงบ่าย

ดูภาพในหมวดนี้

ประสิทธิ ชิณการณ์ ประสิทธิ ชิณการณ์
ประสิทธิ ชิณการณ์ ชาวตำบลฉลอง อ.เมืองภูเก็ต ศิษย์เก่าภูเก็ตวิทยาลัย เลขานุการของขุนเลิศโภคารักษ์ ที่บริษัทโฮ่ยเซี้ยง ผู้ประพันธ์เพลง"ยอดนารีรีถลาง" นักเขียนในหนังสือพิมพ์ปักษ์ใต้ ถวายข้อมูลภูเก็ตเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถเสด็จฯภูเก็ต พ.ศ.๒๕๐๒ มัคคุเทศก์ถวายแด่พระราชอาคันตุกะ นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรี ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมสาขามนุษยศาสตร์ บัณฑิตกิตติมศักดิ์ ศศ.บ.(วัฒนธรรมศึกษา) ของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต คนดีศรีภูเก็จของ อบจ.ภูเก็ต สมญานาม"ขุมทรัพย์วัฒนธรรมเมืองภูเก็จ"

ดูภาพในหมวดนี้

ลูกปัดหลากสี แหล่งลูกปัด
ภาคใต้มีแหล่งลูกปัดอยู่ที่ควนลูกปัด จ.กระบี่, อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี, ภูเขาทอง จ.ระนอง, เหมืองทอง เกาะคอเขา จ.พังงา.  ลูกปัดสีเดียว ลูกปัด ๒ สี ลูกปัดหลากสี; ลูกปัดหน้าอินเดียนแดง; พิพิธภัณฑ์ที่เก็บรักษาลูกไว้จำนวนมากมีใน พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา จ.สงขลา, พิพิธภัณฑ์วัดคลองท่อม จ.กระบี่, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
ดูภาพในหมวดนี้

บางปันต้นบางใหญ่ สำรวจบางปัน
บางปันเกิดจากควนปันในเทือกเขาพันธุรัตน์ในเขตอำเภอกะทู้ ไหลไปรวมกับบางอื่นใจกลางพื้นที่กะทู้เกิดเป็น(คลอง)บางใหญ่ไหลไปสามกอง โรงเรียนสตรีภูเก็ต ผ่านทุ่งคาไปออกปาก(คลอง)บางใหญ่ อ่าวภูเก็ต คณะสำรวจมีอาจารย์ฤดี ภูมิภูถาวร อาจารย์เอมอร นาคหลง อาจารย์อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ และนักเรียนโรงเรียนสตรีภูเก็ต เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
ดูภาพในหมวดนี้

รถสามล้อที่ถนนรัษฎา รถสามล้อถีบ
เมื่อหล่างเชี้ยหรือรถลากหายไป  ภูเก็ตก็มีรถสามล้อถีบชนิดพ่วงข้าง  ถึงปี พ.ศ.๒๕๕๐ มีไม่ถึง ๒๐ คัน มีไว้รับส่งคนครัวไปซื้อกับข้าวและบรรทุกวัตถุดิบไปทำอาหารเป็นส่วนใหญ่  บริษัทการท่องเที่ยวพยายามจะจัดให้มีสามล้อ ได้ออกแบบให้ใช้เหล็กเป็นส่วนประกอบที่นั่งผู้โดยสารเพื่อความแข็งแรง แต่รถก็หนักมาก  การจัดการยังไม่ได้มาตรฐาน
ดูภาพในหมวดนี้

แต่งงานบาบ๋า ภาพเก่าฉากร้านถ่ายรูป
ภูเก็ตมีร้านถ่ายรูปจำนวนหลายร้าน เช่น นายสว่าง(Nai Sawang) มาสเตอร์ สุภาพ เลี่ยงอิ้ว ฉายาลักษณ์ เจริญศิลป์  และมีช่างภาพแป๊ะเสงจ๋าน(นายแสงจันทร์)ที่ฝากภาพไว้เป็นมรดกภูเก็จ ภาพเหล่านั้นเป็นลิขสิทธิของนายสมชาย บำรุงวงศ์ ทายาทหงวนซุนต๋อง
ดูภาพในหมวดนี้

สุนัย ราชภัณฑารักษ์ หัวหน้าส่วนงานราช
ข้าราชการชั้นผู้บริหาร  ท่านเจ้าคุณเทศาภิบาล  ท่านเจ้าเมือง  ผู้ว่าราชการจังหวัด  หัวส่วนราชการ ข้าราชการสำคัญ
ดูภาพในหมวดนี้

น้ำพุสมบัติลายแทง สวนเด็กสนุกน้ำ
ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ เสนอให้มีสวนเด็กสนุกน้ำ พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถเข้าร่วมเล่นได้  ให้เด็กเล่นตามลำพังก็ได้ ให้ปลอดภัยทุกเมื่อ กิจกรรมเช่น พ่นน้ำเป็นรุ้ง เป่าลูกโป่งฟองสบู่  ทดลองการใช้พลังน้ำ  กาลักน้ำ  ดนตรีพลังน้ำ  น้ำพุ  ท่อน้ำเทน้ำ  กระดานลื่น  ขอนไม้ลอยน้ำ  เดินบนลูกทรงกลมที่ลอยในน้ำ  จึงมีภาพตัวอย่างไว้ในนี้
ดูภาพในหมวดนี้

ประท้วงแทนทาลั่ม ๒๕๒๙ แทนทาลั่มประท้วง
พ.ศ.๒๕๒๙ ชาวภูเก็ตประท้วงการตั้งโรงงานแทนทาลั่มที่บ้านลักกงษี ตำบลรัษฎา อ.เมืองภูเก็ต บริเวณติดกับมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต รัฐบาลอ้างว่ามีป่าไม้กันโรงงานกับชุมชนไว้แล้ว  โรงงานไม่มีพิษภัย ชาวภูเก็ตจึงไปรอรับฟัง รมต.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่ศาลาประชาคม แต่ รมต.ไม่ไป ชาวภูเก็ตบางคนจึงเผารถหน้าโรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน ขอให้ รมต.ออกพบประชาชน เมื่อไร้ผล การประท้วงก็ลุกลามออกไปถึงขั้นเผาโรงงานแทนทาลั่ม รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉิน
ดูภาพในหมวดนี้

ดาวเคราะห์ชนกัน กำเนิดโลก
ก่อน ๔,๕๖๐ ล้านปี  โลกเป็นกลุ่มก๊าซหมุนรอบดวงอาทิตย์ เย็นตัวลงบ้างแล้วก็ถูกอุกกาบาต(หรือดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาล)ขนาดเดียวกับโลก ชนถึง ๙ ครั้ง แรงปะทะของแต่ละครั้งทำให้โลกกลายเป็นดวงไฟ การชนครั้งสุดท้ายมีกลุ่มก๊าซกระจัดกระจายหมุนวนรอบโลก เมื่อเย็นตัวลงก็ถูกอุกกาบาตชนทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้นกลายเป็นดวงจันทร์ในวงโคจรของโลก  โลกมีขนาดใหญ่พอเหมาะที่มีแรงดึงดูดให้น้ำอยู่ผิวโลกกลายเป็นมหาสมุทร ส่วนที่เป็นผิวพื้นแข็งก็กลายเป็นทวีป  ภายในโลกร้อน ทำให้หินหนืดเคลื่อนตัวเกิดแผ่นดินไหวภูเขาไฟระเบิด กลายเป็นหิน(มีแร่ตั้งแต่ ๑ ชนิดรวมอยู่เป็นก้อน)แกรนิต หินภูเขาไฟเช่นบะซอลล์  แปรไปเป็นหินตะกอน(เช่นหินปูน)และ/หรือหินแปร(เช่นหินอ่อน) HONDA เสนอ
ดูภาพในหมวดนี้

HONDAเสนอสารคดี MiraclePlanet

วิวัฒนาการโลกและชีวิต  กลุ่มบริษัทฮอนด้าในประเทศไทย ได้จัดงานเปิดตัวรายการ "Miracle Planet : เปิดบันทึกโลกหัศจรรย์...กับฮอนด้า" สารคดีวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับวิวัฒนาการของโลกและสิ่งมีชีวิต จัดรอบปฐมฤกษ์ฉายรายการเป็นครั้งแรกในไทย พร้อมเปิดตัวพิธีกรดำเนินรายการ - นิรุตติ์ ศิริจรรยา ผู้ที่จะนำทางทุกคนไปสู่โลกแห่งอดีตกาล นอกจากนี้ยังมีการเสวนาพูดคุยกับนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล และ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ในหัวข้อ"ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอันน่ามหัศจรรย์ที่มีผลกระทบต่อโลกและมนุษยชาติ" อาทิ เรื่องอุกกาบาตหรือดาวหางพุ่งชนโลก ภูเขาไฟประทุและเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ส่งผลให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ เป็นต้น โดยมีคุณอดิศักดิ์ โรหิตะศุนรองประธานกรรมการบริหารอาวุโส บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด และคุณมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นเกียรติในงาน


ดูภาพในหมวดนี้

รอยเท้าไดโนเสาร์ที่ภูแฝก รอยเท้าไดโนเสาร์

เด็กหญิง ๒ คน พบรอยเท้าไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ชนิดกินเนื้อ ลำตัวเจ้าของรอยเท้ายาว ๗-๘ เมตร อายุ ๑๔๐ ล้านปี พบที่ภูแฝก จังหวัดกาฬสินธ์

พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียงได้จำลองรอยเท้าไดโนเสาร์ภูแฝกมอบให้พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้)จัดแสดงไว้ที่ห้องไดโนเสาร์


ดูภาพในหมวดนี้

GPS OPERATION มูลนิธิทรัพยากรเอเชีย
มูลนิธิทรัพยากรเอเชีย(ARF) มีความมุ่งมั่นที่จะแบ่งปันทรัพยากรและเสริมสร้างศักยภาพสู่ความเข้มแข็งของเอเชีย Sharing Resources and Building Capacity Towards an Empowered Asia สำนักงานที่ 1562/113 หมู่บ้านพิบูลย์ ซอย ๑/๑ ถนนประชาราษฎร์ แขวงและเขตบางซื่อ กทม.๑๐๘๐๐; สาขาระนอง อยู่ที่ ๕๐/๒ หมู่ ๑ ต.กะเปอร์ ถนนเพชรเกษม อ.เมืองระนอง ๘๕๑๒๐ โทรศัพท์และโทรสาร ๐๗๗/๘๔๓๑๑๐; สาขาปัตตานี อยู่ที่อำเภอเมืองปัตตานี; สาขาภูเก็ต อยู่ที่ ๒๔/๒๐ ซอยอุดมสุข หมู่ ๑ ตำบลวิชิต ถนนศักดิเดชน์ อ.เมืองภูเก็ต ๘๓๐๐๐ โทรศัพท์และโทรสาร ๐๗๖-๓๙๓๐๔๖ กิขกรรมเช่น การเลี้ยงแพะและโคของผู้ด้อยโอกาส การเฝ้าระวังภัย เตรียมพร้อมต้านภัยพิบัติธรรมชาติ อบรมการใช้ GPS
ดูภาพในหมวดนี้

ซียิปซีเผ่าอูรักลาโวย กลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมภาคใต้

กลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมทางภาคใต้ ยอมรับกันว่ามี ๔ กลุ่ม คือ กาฮาซี(สูญพันธุ์) เซมัง(สูญพันธุ์) ซาไก(SENOI อาศัยที่จังหวัดยะลา นาทวีสงขลา และจังหวัดสตูล) และซียิปซี(SEA GYPSY)

ซียิปซีมี ๒ เผ่า คือ มอแกน(มาซิง, สิง) และอูรักลาโว้ย(อูรังลาโอด) สถานที่อูรักลาโว้ยอาศัยถึงปี พ.ศ.๒๕๕๑ คือ จังหวัดสตูลที่เกาะหลีเป๊ะ, จังหวัดกระบี่ที่เกาะลันตา(สังกาอู้และศาลาด่าน) เกาะจำ เกาะพีพี(แหลมตง) จังหวัดภูเก็ตที่บ้านสะปำ แหลมตุ๊กแกเกาะสิเหร่ บ้านราไวย์  จังหวัดที่อาศัยของมอแกนคือจังหวัดพังงา และเกาะหลาว จังหวัดระนอง


ดูภาพในหมวดนี้

หมู่บ้านมอแกนเกาะหลาวเหลา มอแกนเกาะเหลาระนอง

กลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมทางภาคใต้ มี ๔ กลุ่ม คือ กาฮาซี เซมัง ซาไก(SENOI) และซียิปซี(SEA GYPSY)

ซียิปซีเผ่ามอแกน(มาซิง, สิง) อาศัยที่บ้านแหลมหลาภูเก็ต จังหวัดพังงาในอำเภอท้ายเหมือง ตะกั่วป่า และคุระบุรี และเกาะหลาว อำเภอเมือง จังหวัดระนอง  ใช้ภาษามาซิงเฉพาะกลุ่มตน เช่น กะบาง=เรือ ยำจ๊อน=กินข้าว (ซียิปซีเผ่าอูรักลาโว้ยเรียกเรือว่าปะราฮู กินข้าว=มากันนาซิ)


ดูภาพในหมวดนี้

ใบเทพทาโร เทพทาโรไม้หอม จวง
ชาวภูเก็จเรียกไม้เทพทาโรว่า จวง เป็นไม้หอมใช้เผาให้ควันหอมในเทศกาลกินผัก  ประติมากร(เช่นนายเฉ่ง เลิศกิจสมบูรณ์)แกะสลักรูปเทพเจ้าจีน(เช่นเทพกวนอู, เจ้าแม่กวนอิม(ปุดจ้อ), เลาเอี๋ยเจ้าอ๊าม, หลี้โลเชี้ย, บกเชี้ย, เจงอ๋อง) และรูปเหมือนพ่อท่านสมเด็จเจ้า(พ่อท่านแช่ม) ด้วยไม้เทพทาโร  ในปี พ.ศ.๒๕๔๙-๒๕๕๐ ช่วงปลายในการสร้างจตุคามรามเทพ หลายองค์กรได้ใชไม้จวงเป็นมวลสารมงคล ต้นเทพทาโรในภูเก็ตที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่วัดอนุภาษกฤษฎาราม(วัดเก็ตโฮ่) อำเภอกะทู้ เทศบาลตำบลกะทู้ให้ไม้เทพทาโรเป็นไม้ประจำตำบลกะทู้ ในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้) ปลูกไว้ใกล้หน้าผาปล่องภูเขาไฟ
ดูภาพในหมวดนี้

ดอกกล้วยไม้ราชินีเหมือง ราชินีเหมือง กล้วยไม้ดินเหมือง
กล้วยไม้บนดินเหมืองแร่เป็นกอ ประกอบด้วยต้นขนาดนิ้วก้อยมากกว่า ๑๐ ต้น สูงราว ๒ เมตร กลีบดอกด้านนอกเป็นสีขาว กลีบในใกล้เกสรเป็นสีม่วง มีดอกตลอดปี พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ (พมร.กะทู้) ให้สมญากล้วยไม้ดินเหมืองแร่ว่า ราชินีเหมือง
ดูภาพในหมวดนี้

ตีนเป็ด พืชพันธุ์ไม้ใน พมร.กะทู้
บริเวณรอบอังมอเหลานายหัวเหมืองมีพื้นที่ประมาณ ๔๐๐ ไร่ เป็นพื้นที่เคยทำเหมืองแร่เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ บนเนินหน้าผาขาวกิจไพศาลมีพืชที่มีหนาม เช่นขี้แรด หนามทัน เตย แต้ว ส้าน หน้าผารางเหมืองมีเฟิร์นสามร้อยยอด(ตีนตุ๊กแก) หม้อข้าวหม้อแกงลิง ผักหวานป่า กล้วยไม้ดินราชินีเหมือง เนินควนเขามีไม้ขนาดใหญ่เป็นป่าเขตร้อนชื้น มีไม้ตีนเป็ด กล้วยเถื่อน มราย นน
ดูภาพในหมวดนี้

จักรพัณน์ป่องนิตยาหยิน ทายาทปิ่นพุทธศิลป์
ทายาท "ปิ่นพุทธศิลป์" มีส่วนร่วมด้วยช่วยคิดสร้าง ให้งานของ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ดำเนินการไปได้ จึงต้องกล่าวถึงบุตรทั้ง ๓ คน คือนายสุพรหมินทร์(เอ๋), นายจักรพัณน์(ป่อง) และ(นาง)นันทพร(หญิง) พุทธเสน  บุตรแต่ละคนมีทายาทสืบต่อก็เป็นหลานไว้ช่วยงานสังคมแห่งสติปัญญาต่อไป
ดูภาพในหมวดนี้

กุ้ง เป็นสัตว์
กุ้ง เป็นสัตว์น้ำ ส่วนหัวมีกรีเป็นอาวุธป้องกันตัว ตามีกระบอกตาโผล่พ้นหัวได้
ดูภาพในหมวดนี้

ฟอสซิลหอยภูเวียง หอย

หอยเป็นสัตว์ทั้งในน้ำ(เค็มและจืด)และบนบก มี ๒ ฝา และฝาเดียว  หอยฝาเดียวจะมีทับตรงส่วนปาก ก้นหอยหมุนวนขวา เชื่อว่าเป็นมงคล(ทักษิณาวัฏ)  แต่มีบางตัวหมุนวนซ้าย(เชื่อว่า)เป็นอวมงคลก็จริง แต่ราคาแพงมาก เพราะเป็นหอยผิดปรกติ


ดูภาพในหมวดนี้

เรือบาติก ฮาลาลฟู้ดฮิลาลทาวน์
อบจ.ภูเก็ต จัดงานฮาลาลฟู้ด ฮิลาลทาวน์ ปี พ.ศ.๒๕๔๘ ที่ตำบลกมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต ปี พ.ศ.๒๕๔๙ จัดที่อนุสรณ์ถลางชนะศึก  ช่างออกแบบใช้ผ้าบาติกเป็นฉากได้อย่างอลังการ
ดูภาพในหมวดนี้

12GO ARCHIVE Archive 12GO Phuket
ARCHIVE FROM 1 2 GO AIRLINE went to PHUKET in 2007 at International Airport
ดูภาพในหมวดนี้

ไฟผรกบ้านเกาะแก้ว ไฟ FIRE

ไฟเกิดขึ้นพร้อมโลก เมื่อ ๔,๕๖๐ ล้านปีที่แล้ว (4,560 Million Years Ago= 4,560 Mya.) ปฐมจุลชีพเกิดขึ้นเมื่อ ๔,๓๐๐ Mya. ฅนผู้เป็นบรรพชนมนุษย์ก็พัฒนามาตั้งแต่นั้น พัฒนาไปเป็นปลา ปลามีปอด ปลามีมือมีขา คลานขึ้นบก พัฒนาเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, เป็นลูซี่, Homo Habilis รู้จักใช้เครื่องมือหิน, H. Erectus เมื่อ ๒ Mya. และรู้จักนำไฟมาใช้เมื่อ ๗๙๐,๐๐๐ ปีที่แล้ว(0.79 Mya.) กว่า H. Sapient จะรู้จักหลอมดีบุกและทองแดงเป็นสัมฤทธิ์เมื่อ ๕,๐๐๐ ปีที่แล้ว


ดูภาพในหมวดนี้

ธงถลางชนะศึกเหินเวหา ธงถลางชนะศึก
นักศึกษาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต ไม่มีพื้นที่ที่แสดงความกตัญญูต่อวีรชนวีรสตรีท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทรในวันวางพวงมาลาสักการะท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทรในวันถลางชนะศึก ๑๓ มีนาคม ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ จึงเสนอให้นักศึกษาเชิญธงถลางชนะศึกในบริเวณสมรภูมิศึกถลาง พ.ศ.๒๓๒๘ ให้นักศึกษาปักเสาธงไว้ จะนำธงสีแดง(เสมือนธงชาติสมัยรัชกาลที่ ๒)ไปให้ นักศึกษาใช้ไม้ไผ่เป็นเสาปักไว้ข้างคลองบางใหญ่ในทุ่งนาระหว่างบ้านดอนบ้านเคียนบ้านเหรียง ซึ่งปัจจุบันคืออนุสรณ์สถานถลางชนะศึก และร่วมเชิญธงถลางชนะศึกขึ้นสู่ยอดเสาธงชัยเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๒ ปีถัดไปได้เพิ่มภาพวีรชนไว้กลางธงแดง
ดูภาพในหมวดนี้

นราวุฒิอุปสมบท การอุปสมบท
ชายพุทธที่มีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จะเข้าพิธีอุปสมบท(บวช) ถือเป็นมงคลแก่ผู้บวช พ่อแม่ และเครือญาติ  รวมไปถึงสาธุชนก็พร้อมที่จะอนุโมทนา  ชายไทยที่บวชเรียนแล้วถือว่าเป็นคนสุก  เป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่จะเป็นผู้นำครอบครัวได้  มาระยะหลัง ๆ ประเพณีอุปสมบทเป็นเพียงประเพณีที่พึงกระทำ แต่ลดแก่นสารลง คือบวชแล้วไม่ต้องเรียนไม่ต้องศึกษา ลาสิกขาแล้วก็อ้างว่าบวชแล้ว  หลายวัดจึงได้รื้อฟื้นให้พิธีอุปสมบทมีความหมายที่เป็นสาระของชีวิต รณรงค์ส่งเสริมให้อุปสมบทตั้งแต่ช่วงเยาววัย เช่นอุปสมบทหมู่ภาคฤดูร้อน; อุปสมบทเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล; อย่างไรก็ตาม การอุปสมบทก็ถือได้ว่าเป็นการสืบพระพุทธศาสนาได้แนวทางหนึ่ง
ดูภาพในหมวดนี้

เชิญธงถลางชนะศึก มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร


เพลงยอดนารีศรีถลาง
 
ท้าวเทพกระษัตรีศรีสุนทร นามกรยอดนารีศรีถลาง
เป็นเทวีที่ควรเทิดน้ำใจนาง และตัวอย่างกุลสตรีนารีสมัย
คิดสู้ศัตรูผู้ย่ำยี สองน้องพี่มิได้พรั่นหวาดหวั่นไหว
รุกรานรบไม่สยบให้กับใคร เพื่อวีรชนชาติไทยยิ่งใหญ่กล้าหาญ
เด็ดเดี่ยวเชี่ยวชาญต้านทานศึกไว้ มิยอมให้ใครหยามหมิ่นถิ่นสยาม

จู่โจมปัจจาสู้จนกว่าสิ้นลมปราณ เพื่อลูกหลานไทยได้มีสิทธิเสรี

เด็ดเดี่ยวดังชายไม่ระคายครั่นคร้าม คิดทำสงครามปรามศึกไม่นึกหนี
เหล่าหมู่อมิตรจิตเกรงขามนามนารี วีรสตรีศรีประเทศเขตไทย
(ญ.) ดอกเอ๋ยดอกจันทน์กะพ้อ กิ่งก้านบานช่องามลออช่อไสว
ส่งกลิ่นหอมดอมเยือกเย็นเด่นไฉไล ประชาไทยได้มีสิทธิ์สมปอง
(ช.) มุกเอยมุกดาวดี ไร้ฝ้าราคีมีสง่าค่ามิหมอง
ไม่มีสองรองเรืองในเมืองทอง ชนม์ชีพลอยล่องชื่อยังก้องแผ่นดินไทย
 
ร่วมกิจกรรมตอบคำถามชิงรางวัลเงินหมื่น กับมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร


ดูภาพในหมวดนี้

ง้าวบนศาลากลางภูเก็ต อาวุธบนศาลากลาง
ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ได้คัดเลือกอาวุธที่จะใช้บนอนุสาวรีย์ถลางชนะศึก เคยเห็นบนศาลากลางจังหวัดภูเก็ต เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗  จึงติดต่อขอถ่ายภาพศาสตราวุธ เลือกง้าว(มีปลายคมหลายรูปแบบ) ใช้เป็นง้าวของพญาถลางทองพูนและใช้เป็นด้ามธงชาติไทยสีแดง สมัยรัชกาลที่ ๑ คราศึกถลาง ๒๓๒๘ ให้พญาถลางทองพูน ณ ถลาง และพญาถลาง(ภูเก็จ)เทียน ประทีป ณ ถลาง ร่วมกันชูด้ามธงแสดงชัยชนะ
ดูภาพในหมวดนี้

ดวงอาทิตย์ ระบบสุริยะ
จักรวาล มีหลุมดำ แกแล็กซี่ สุริยจักรวาลในดาราจักทางช้างเผือกมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ ๘ ดวงหมุนรอบดวงอาทิตย์ จากใกล้ดวงอาทิตย์แล้วไกลออกไปตามลำดับ คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน เดิมมีอีกดวง คือ ดาวพลูโต ปัจจุบันนี้ (พ.ศ.๒๕๕๑) ให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ในระบบสุริยะมีสะเก็ดดาว ดาวเคราะห์น้อย ดวงจันทร์ ดาวหาง
ดูภาพในหมวดนี้

เทพีวีนัส-คิวปิด เทพเจ้าในระบบสุริยะ
ฅนเชื่อว่าสถานที่ที่ฅนหรือมนุษย์เดินทางไปไม่ถึงเป็นสถานที่ที่มีความสุขสัมบูรณ์ จึงกำหนดเป็นถิ่นที่สถิตของเทพเจ้า เทวดา เทวา เทวะ เทพ เทพี พระ เจ้า พระเจ้า GOD พระผู้เป็นเจ้า ส่วนสถานที่สถิตก็เป็นสถานที่อุดมด้วยสุข คือสวรรค์ ฟ้า กิ่งฟ้า ปราสาท มณเฑียร วิมาน พิมาน; อิทธิพลจากรามายณะ(รามเกียรติ์)ก่อให้มีพระศิวะ(อิศวร)บนยอดเขาไกรลาส เขาพระสุเมรุ; พระพรหมบนเวหาดาราดาว; พระนารายณ์(วิษณุ)ในเกษียรสมุทร และมีพระอาทิตย์(สุริยเทพ-APOLLO เทพแห่งแสงสว่าง) พระพุธ(MERCURYเทพแห่งการสื่อสาร) พระศุกร์(VENUSเทพีแห่งรัก) พระจันทร์(DIANAเทพีแห่งจินตนาการ) พระอังคาร(MARSเทพเจ้าแห่งสงคราม) พระพฤหัสบดี(JUPITERเทพบดีแห่งครู) พระเสาร์(SATURNเทพเจ้าแห่งการเกษตรกรรม)
ดูภาพในหมวดนี้

ฮาบิลีสใช้หินครั้งแรก เครื่องมือหิน
สมองมนุษย์เพิ่มมากขึ้นหลังยุคมนุษย์วานรลูซี่(3.9-2.9 Mya.)ผ่านไป ๑ ล้านปี, มนุษย์โฮโมฮาบิลีสก็อุบัติขึ้น รู้จักใช้หินเป็นเครื่องมือในการดำรงชีพ เมื่อ 2.2-1.6 Mya., โฮโมเออแกสเตอร์(1.9 Mya.) ใช้เขี้ยวสัตว์บ่งบอกความสามารถและเริ่มภาษาพูด,โฮโมอีเรคตัส(2 Mya.) รู้จักใช้ไฟ(0.79 Mya.), มนุษย์นีแอนเดอร์ธัล(0.35-0.03 Mya.) เชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือหินเฉือดเฉือนแต่งเครื่องนุ่งห่มหนังสัตว์ได้ด้วยความประณีต; โฮโมซาเปี้ยน พัฒนามาเป็นเรา ใช้ดีบุกหลอมกับทองแดงเป็นสัมฤทธิ์เมื่อ ๕ พันปีที่แล้ว และหลอมเหล็กได้เมื่อ ๔ พันปีที่แล้ว
ดูภาพในหมวดนี้

ห้องน้ำภัตตาคารแฟนตาซี แดนสุขาวดีดิน
หมดทุกข์ ที่ไม่ต้องโศกเศร้าโสกาอาลัย ไม่ต้องใส่ใจเมื่อปล่อยทุกข์  ไม่ต้องสนุกเก็บฉลากไว้ชิงโชค ปล่อยไปเถอะ  สิ้นสุดแล้วก็มีแต่สบายไร้กังวล จึงได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งสุขา(ที่ยังไม่มีสร้อยว่า วดี )
ดูภาพในหมวดนี้

ท้าวเทพศรีสุนทร.jpg หอจดหมายเหตุ ถลาง
ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ได้เสนอแนวคิดสร้างหอจดหมายเหตุในภูเก็ตเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๔ ให้กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ ดำเนินการตั้งแต่สมัยอาจารย์ประสิทธิ ชิณการณ์ เป็นประธานกลุ่มฯ พิมพ์จดหมายเหตุมืองถลาง เผยแพร่เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๕ นายมานิต วัลยะเพ็ชร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ดำเนินการด้วยการตั้งคณะกรรมการจัดงานฉลอง ๒๐๐ ปีวีรสตรีเมืองถลาง จัดสัมมนาประวัติศาสตร์ถลางเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๗ และฉลอง ๒๐๐ ปีฯ เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๘ เมื่อ ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี ผวจ.ภูเก็ตก่อตั้งมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร จึงเป็นเครือข่ายผลักดันให้มีหอจดหมายเหตุในอนุสรณ์สถานถลางชนะศึก อวยพร สกุลตัน ผอ.กองการศึกษา อบจ.ภูเก็ต อนุญาตให้ใช้หอสมุดเฉลิมพระเกียรติฯ ถลาง เป็นสถานที่ดำเนินการหอจดหมายเหตุ ถลาง เมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ผศ.สมหมาย ออกแบบตราฯ เมื่อเมษายน ๒๕๕๑

ดูภาพในหมวดนี้

อนุสาวรีย์ถลางชนะศึก อนุสาวรีย์ถลางชนะศึก
กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จมอบหมายให้อ.สิรินพัณ พันธุเสวี ออกแบบอนุสาวรีย์เป็นรูปหอกเมืองถลางจากหอกบ้านนางชม วุฒิมงคล(ฤกษ์ถลาง)เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๔ มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทรผลักดันให้เกิดอนุสรณ์สถานถลางชนะศึก เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙ อบจ.ภูเก็ต สมัย น.พ.ประสิทธิ์ โกยศิริพงศ์ จัดทำแผนแม่บท กลุ่มฯภูเก็จย้ำให้มีอนุสาวรีย์ถลางชนะศึก สนง.โบราณคดีภูเก็ตประมาณทุนสร้าง ๑๗ ล้านตามที่ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ เสนอแบบให้มีวีรชนถลางชนะศึก ๒๓๒๘ จำนวน ๙ คนและบริจาค ๙ บาทเป็นฤกษ์ระดมทุน
ดูภาพในหมวดนี้

PHUKET 2006 BABA PERANAKAN

BABA PERANAKAN CONVENTION;

8th. in Singapor 2005

9th. in PHUKET 2006

10th. in Penang 2007

11th. in Malacka ... 2008

ภูเก็ตใช้บาบ๋า ทั้งชายและหญิง, ประเทศเพื่อนบ้านใช้ PERANAKAN เป็นคำรวม แยกชายเป็น Baba และหญิงเป็น Nyonya (เสียงนาสิกทั้งสองพยางค์) ภูเก็ตเอ่ยชื่อว่า ยอหยา ยะหยา หมายถึงชุดการแต่งกายของสตรีที่สวมเสื้อลูกไม้ชายแหลมและนุ่งผ้าปาเต๊ะ


ดูภาพในหมวดนี้

ตรวจรับงานนิทรรศการ พมร.กะทู้ประชุม
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้) จัดการประชุมในหลายระดับ เช่น ผู้บริหารเทศบาลตำบลกะทู้ ประชุมคณะกรรมการตรวจการจ้าง(สร้าง พมร., ออกแบบนิทรรศการ, จัดนิทรรศการ) คณะกรรมการดำเนินการพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ พนักงานพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ มาตั้งแต่เดือนสิงหาคม ๒๕๔๙
ดูภาพในหมวดนี้

ลายลักษณ์หมายเหตุ
พมร.กะทู้ กำหนดให้มีหอจดหมายเหตุพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ เป็นงานส่วนสำคัญหนึ่งใน พมร.กะทู้ เพื่อเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้และการวิจัย แบ่งเป็นจดหมายเหตุภาพ(รหัส pic) จดหมายเหตุแผนที่(รหัส map) จดหมายเหตุลายลักษณ์(รหัส ar) ต้นฉบับเก็บรักษาไว้ที่ห้อง "วรรณวิเศษปัญญภูมิ" (Data Archive)
ดูภาพในหมวดนี้

สิบสามไร่ ขายที่ดิน
บริการประกาศขายที่ดิน(อาจมีสิ่งก่อสร้างก็ได้) แสดงภาพบริเวณพื้นที่ หลักฐานการครอบครองของเจ้าของเดิมผู้ประสงค์พึงขาย ติดต่อสื่อสารตามที่ระบุไว้ในข้อความประกอบภาพนั้น  ต้องการให้ช่องทางนี้รับบริการจากท่าน โปรดส่งข้อความแนบ File ภาพและหลักฐาน ผ่าน museum@kathutin.com หรือ sommai@usa.com
ดูภาพในหมวดนี้

กล้องสูบฝิ่นกระดูกช้าง ช่วยซื้อให้ พมร.กะทู้
เจ้าของทรัพย์สินประสงค์จะขายให้ผู้ใจบุญในราคามิตรภาพเพื่อมอบให้พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้) แสดงในห้องเปิดลับแลม่านฟ้าพญามังกรทอง โปท้องหง่อก่ากี่ อัญมณีนายหัวเหมือง เรืองดากร สายแร่แห่งชีวิต เนรมิตเล่นแร่แปรธาตุ ฉลาดนาวาชีวิต ลิขิตปรัชญ์สืบสาน บันซ้านบางเหนียว เก่วเกี้ยวในทู หลงผิดเสพ เทพาภรณ์ คฤหปตนินท์ บาบ๋าสินสมรส ฉายาบทนฤมิต ภาพกิจปฐมเหตุ หรือวรรณวิเศษปัญญภูมิ
ดูภาพในหมวดนี้

ลีลาวดีหน้าโขดหิน แต้มแต่งวาดฝัน
อบจ.ภูเก็ต จัดงาน "แต่งแต้มไข่มุกอันดามัน วาดฝันเมืองภูเก็ต" เมื่อ ๘ เมษายน ๒๕๔๘ เชิญ ฯพณฯ ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี ๒ สมัย มาเป็นประธานเปิดงาน ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลภูเก็ต จิตรกรรมของเหล่าจิตรกรจึงฉายแสงแย้มยิ้มพริ้มเพราพรายส่งประกายมาแต่กาลนั้น
ดูภาพในหมวดนี้

ตึกพระพิทักษ์ชินประชา อังมอเหลา

อังมอเหลา คือ ตึกของเศรษฐี จากความหมายและนัยของศัพท์คำยืมจีนฮกเกี้ยน; อัง=สีแดง สีแห่งความเป็นมงคล; มอ=ผม hair; อังมอ=ผมสีแดง หมายถึงฝรั่ง  ปอร์ตุเกส เป็นชาติแรกที่เข้าสู่ถลางภูเก็จในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ตามด้วยฮอลันดา ฝรั่งเศสและอังกฤษ; เหลา=อาคาร, ตึก, ที่อยู่อาศัย; อังมอเหลา ขนาดใหญ่ เช่นตึกพระอร่ามสาครเขตร ตึกพระพิทักษ์ชินประชา ตึกกุลวดีแซ่ตัน


ดูภาพในหมวดนี้

ยินดีมโนสุนทรมอบปาเต๊ะ มอบสมบัติเข้าคลังเหมือง พมร.
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้) ได้จัดทำทะเบียนวัตถุที่มีผู้นำสมบัติมามอบให้เข้าคลังเหมือง เริ่มทะบียน พมร. OB ๐๐๑ เป็นแท่งโลหะดีบุก น้ำหนัก ๒๗ กก. นายประเสริฐ ขาวกิจไพศาล นายกเทศมนตรีตำบลกะทู้ มอบเมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๐ พมร.จัดแสดงไว้ที่ห้องนิรมิตเล่นแร่แปรธาตุ; สมเกียรติ วงศ์สิทธิสิริเดช มอบเพชรอันดามัน ๔ เม็ด บุตรสาว(ด.ญ.วิไลวรรณ) มอบ ๓ เม็ด เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๐  โดยมีนายสมคิด ชูสวัสดิ์ รองนายกเทศมนตรีตำบลกะทู้ รับมอบ ลงทะเบียนไว้ที่ พมร. OB ๖๘๖ - OB ๖๙๒; อาจารย์บุญกอบ อัยรักษ์ มอบเพชรภูเก็จ ๒ เม็ด พมร.แสดงไว้ที่ห้องอัญมณีนายหัวเหมือง
ดูภาพในหมวดนี้

มอบหนังสือเข้าคลังเหมือง พมร.
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้) ได้จัดทำทะเบียนหนังสือที่มีผู้นำมามอบให้เข้าคลังเหมือง "วรรณวิเศษปัญญภูมิ" เริ่มทะเบียน พมร. BK ๐๐๑
ดูภาพในหมวดนี้

จห 1247 มอบจดหมายเหตุเข้าคลัง พมร.
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้) ได้จัดทำทะเบียนจดหมายเหตุที่มีผู้นำมามอบให้เข้าคลัง "วรรณวิเศษปัญญภูมิ" เริ่มทะบียน พมร. AR ๐๐๑
ดูภาพในหมวดนี้

มอบภาพเข้าคลังเหมือง พมร.
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้) ได้จัดทำทะเบียนรูปภาพที่มีผู้นำมามอบให้เข้าคลังเหมือง "ภาพกิจปฐมเหตุ" เริ่มทะเบียน พมร. PIC ๐๐๑
ดูภาพในหมวดนี้

มอบแผนที่เข้าคลังเหมือง พมร.
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้) ได้จัดทำทะเบียนแผนที่ที่มีผู้นำมามอบให้เข้าคลังเหมือง "วัฒน์พรหมเพ็ญ" เริ่มทะบียน พมร. MAP ๐๐๑ แผนที่เหมืองในทู ระเงง
ดูภาพในหมวดนี้

พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ แผ่นพับประชาสัมพันธ์
กว่าจะเป็นแผ่นพับ ผู้จัดทำต้องคิด ต้องพบปัญหา ต้องแก้ปัญหา  แสวงหาข้อมูล คัดสรรค์ข้อมูลทั้งภาพ แผนที่และเนื้อความที่อาจจะมีมากชิ้นหรือสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ต้องใช้ปัญญาประเมินค่าวินิจฉัย  ต้องใช้ผู้จัดทำที่มีศิลปะจึงจะวางรูปแบบให้เร้าใจผู้บริโภคให้พึงใจพึงสนใจ ติดตามและบริโภคแผ่นพับ
ดูภาพในหมวดนี้

ปูจำลองป้ายร้านสิงคโปร์ ปู เป็นสัตว์ขาปล้อง

ปู เป็นสัตว์พวกเท้าปล้อง (อยู่ในไฟลัมอาโทรโพดา) ชนิดหนึ่ง มีลักษณะแปดขา มีหลายหลายชนิดที่อยู่ทั้งปูน้ำจืด(เช่น ปูราชินี ปูนา)และปูทะเล(เช่นปูมะพร้าว(เป็นปูบกอยู่ชายทะเลมากกว่าในป่าดิบ) ปูม้า ปูดำ ปูเสฉวน)

ปูในแนวปะการังมีหลายกลุ่มหลายรูปร่าง โดยสัมพันธ์กับพฤติกรรม ปูหลายชนิดอาศัยตามพื้นทราย จะมีขาว่ายน้ำหรือกรรเชียงคล้ายปูม้า บางชนิดตัวใหญ่ มีกระดองแข็งคล้ายปูทะเล มีขาสั้น และแข็งแรง เพื่อเกาะยึดกับหิน เช่น ปูใบ้ก้ามดำ(WIKIPEDIA); ปูในทะเลลึก เช่น ปูจักจั่นหรือปูโบราณ


ดูภาพในหมวดนี้

เต่า เป็นสัตว์เลือดเย็น

เต่า (Turtle) คือ สัตว์จำพวกหนึ่งในอันดับ (Order) Chelonia จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น และเป็นสัตว์เลื้อยคลานด้วย ซึ่งเต่านั้นถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยเต่าจะมีกระดูกที่แข็งคลุมบริเวณหลังที่เรียกว่า "กระดอง" ซึ่งประกอบด้วยแคลเซี่ยมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะสามารถหดหัว ขา และหางเข้าในกระดองเพื่อป้องกันตัวได้ แต่เต่าบางชนิดก็ไม่อาจจะทำได้

โดยมากแล้ว เต่า เป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ได้ช้า อาศัยและใช้ช่วงชีวิตหนึ่งอยู่ในน้ำ ซึ่งมีอาศัยทั้งน้ำจืด และทะเล แต่เต่าบางชนิดก็ไม่ต้องอาศัยน้ำเลย เรียกว่า "เต่าบก" ซึ่งเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่ายักษ์อัลดาบร้า (Geochelone gigantica) ที่อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะในทวีปแอฟริกา ในขณะที่เต่าน้ำ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่าอัลลิเกเตอร์ (Macrochelys temminckii) อาศัยอยู่ตามหนองน้ำในทวีปอเมริกาเหนือ(WIKIPEDIA)
เต่าทะเลเป็นเต่าจำพวกหนึ่งที่ทั้งชีวิตอาศัยอยู่แต่ในทะเลเพียงอย่างเดียว จะขึ้นมาบนบกก็เพียงแค่วางไข่เท่านั้น โดยที่เท้าทั้งสี่ข้างพัฒนาให้เป็นอวัยวะคล้ายครีบ ซึ่งเต่าทะเลทั่วโลกปัจจุบันมีทั้งหมด 8 ชนิด (Species) ใน 2 วงศ์ (Family) 5 สกุล (Genus) ได้แก่ เต่ากระ (Eretmochelys imbricata), เต่าตนุ (Chelonia mydas), เต่าตนุหลังแบน (Natator depressus), เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea) , เต่าหัวค้อน (Caretta caretta), เต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea), เต่าหญ้าแอตแลนติก (Lepidochelys kempii) โดยที่เต่ามะเฟืองเป็นเต่าทะเลและเป็นเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก(WIKIPEDIA)

ดูภาพในหมวดนี้

สำเภาจีน เรือสำเภา
"ภ สำเภา กางใบ" แล่นเข้าสู่ภูเก็จ เท่าที่มีหลักฐานเป็นภาพที่อ่าวภูเก็จเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐  แต่หลักฐานจากเอกสารลายลักษณ์เป็นสำเภาโปรตุเกส พ.ศ.๒๐๕๔ ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒  กระทั่งถึงสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในปี พ.ศ.๒๑๕๐ มีชาวฮอลันดาเข้ามาเป็นชาติที่ ๒ และในปี พ.ศ.๒๒๒๘ มีการซื้อขายแร่ดีบุกอย่างเป็นล่ำเป็นสันในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีชาวฝรั่งเศสมาตั้งห้างรับซื้อแร่ดีบุกเป็นการผูกขาดแต่เพียงผู้เดียวในจังหวัดภูเก็ต
ดูภาพในหมวดนี้

เรือกอจ๊านในคลองบางใหญ่ เรือกอจ๊าน
เรือกอจ๊าน คือเรือประมงชายฝั่ง ท้ายเรือเป็นเรือท้ายตัด มีปีกทั้งสองข้างโค้งเชิดขึ้นด้วยความอ่อนช้อย หัวเรือเป็นแกนไม้เชิดสูงขึ้นเล็กน้อย (ถ้าสูงมากเป็นหัวเรือหัวโทง) หลายลำมักทำเป็นดวงตา บางลำทาสีดวงตาให้เห็นเด่นชัด  แคมเรือโค้งหวานจากท้ายเรือไปแกนหัวเรือ ปี พ.ศ.๒๕๕๑ มี ๖ ลำ พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ซื้อมาเก็บไว้ ๑ ลำ ลำเลียงเข้า พมร.เมื่อ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๑
ดูภาพในหมวดนี้

ประสูติสถาน ลุมพินีสังเวชนียสถาน
พระนางสิริมหามายาเสด็จฯ ถึงพรมแดนกรุงบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะสวนลุมพินี(อยู่ในประเทศเนปาล)(๑/๔สังเวชนียสถาน) เหนี่ยวกิ่งสาละระสูติเจ้าชายสิทธัตถะในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ก่อน พ.ศ.๘๐ ปี, ช่วง พ.ศ.๒๗๔-๓๑๔ พระเจ้าอโศกมหาราชได้สร้างเสาหลักแสดงไว้เป็นเครื่องหมาย, จัสคาราน ซิงห์ นายทหารอินเดียตามล่าสัตว์เข้าเขตเนปาล พบเสาอโศกโดยบังเอิญเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๖ เป็นการฟื้นฟูพุทธสังเวชนียสถาน
ดูภาพในหมวดนี้

พุทธคยาเจดีย์ พุทธคยาสังเวชนียสถาน
เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จฯออกบรรพชาเมื่อพระชนมายุ ๒๙ พรรษา ศึกษาตามแนวอุปนิษัทของพราหมณ์จากอุทกดาบสและอาฬารดาบส และบำเพ็ญทุกรกิริยาที่ภูเขาดงคสิริ มีปัญวัคคีย์ผู้เชื่อในทางตบะช่วยอุปัฏฐากย์ และปัญจวัคคีย์หลีกทางไปป่าอิสิตนะมฤคทายวัน พระพุทธเจ้าทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา และทรงรับหญ้ากุสะจากโสตถิยพราหมณ์ ปูลาดใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เข้าสู่สมาธิตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในคืนวิสาขบูชาวันเพ็ญเดือน ๖ ที่พุทธคยา เมื่อพระชนมายุ ๓๖ พรรษา, เซอร์อะเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม พบหลักฐานเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๙
ดูภาพในหมวดนี้

ธรรเมกขสถูป ธรรเมกขสถูปสังเวชนียสถาน

พระพุทธเจ้าเสด็จฯ มาโปรดปัญจวัคคีย์เมื่อวันเพ็ญเดือน ๘ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราสี ประกาศพุทธศาสน์"ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร" ได้พระสงฆ์รูปแรกคือพระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นวันอาสาฬหบูชา เป็นวันครบองค์สาม "พระรัตนตรัย" พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์  มีหลักฐานทางโบราณคดีของพระเจ้าอโศกมหาราช


ดูภาพในหมวดนี้

พระปรินิพพานที่เมืองกุสินารา กุสินาราสังเวชนียสถาน
พระพุทธเจ้าทรงเผยแผ่พุทธธรรมเป็นเวลา ๔๕ พรรษา ทรงปลงอายุสังขารที่เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ก่อนดับขันธปรินิพพาน ๓ เดือน เสด็จฯ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ณ ใต้ต้นสาละคู่เป็นรัตนบัลลังก์มหาปรินิพพาน ในวันเพ็ญเดือน ๖ พระมหากัสสปพระเถระมาเป็นประธานถวายพระเพลิง ณ มกุฏพันธเจดีย์ เป็นพุทธสังเวชนียสถาน
ดูภาพในหมวดนี้

ถนนภูเก็จภูเก็ต ถนนในภูเก็ต
ชื่อถนนในจังหวัดภูเก็ตในอดีตเป็นชื่อเมือง(บัดนี้เป็นชื่อจังหวัดหรืออำเภอ)หรือสถานที่ที่อยู่ในมณฑลภูเก็จ เช่น พังงา กระบี่ ตรัง ปะเหลียน สตูล ระนอง และชื่อบุคคลเช่นเดียวกับชื่อถนนในเขตเทศบาลตำบลเทพกระษัตรีเป็นชื่อบุคคลในประวัติศาสตร์ เช่นจอมร้าง ดอนจอมเฒ่า เพชรคีรี  หลายพื้นที่ได้พัฒนาชื่อเพื่อยกย่องบุคคลในประวัติศาสตร์และเพื่อรักษาศัพท์คำเดิมไว้ก็มี เช่นถนนเหมืองท่อสูง ถนนวัดพระทอง ถนนวิชิตสงคราม ถนนเทพกระษัตรี ถนนศักดิเดชน์ ถนนดำรง ถนนนริศร ถนนสุทัศน์
ดูภาพในหมวดนี้

นามสถาน
ชื่อบ้านนามเมืองเฉพาะที่เป็นชื่อ"บ้าน" ในภูเก็ต ๒๐๐ ชื่อ จำแนกเป็นกลุ่มการตั้งชื่อจากมากไปน้อยตามลำดับได้ดังนี้
ลำดับมากที่สุด คือตั้งชื่อตามสภาพภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะเด่น เช่นบ้านหัวควน ไสน้ำเย็น
ลำดับที่ ๒ คือ ตั้งชื่อโดยอาศัยสภาพธรรมชาติที่มีโดดเด่น เช่น แหลมหิน ในยาง
ลำดับที่ ๓ คือ ตั้งชื่อตามกิจกรรมหรือวัฒนธรรมชุมชน เช่นบางเหนียว
ลำดับที่ ๔ คือ (ยัง)ไม่ทราบความหมายของชื่อ เช่นกะหลิม แขนน
ลำดับที่ ๕ ตั้งชื่อเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแก่เหตุการณ์และบุคคลสำคัญ เช่น สุรินทร์ บางโจ
ลำดับที่ ๖ ตั้งชื่อโดยอาศัยนิทานหรือตำนาน เช่น กะตะ กะรน
ลำดับที่ ๗ ตั้งชื่อโดยอาศัยจินตภาพของผู้เรียก เช่น เกาะแก้ว พรหมเทพ
และลำดับที่ ๘ ตั้งชื่อเพื่อความเป็นสิริมงคล เช่น กู้กู
ดูภาพในหมวดนี้

เครื่องบินภูเก็จ ๒ หลักฐานภูเก็จ
ภูเก็จมีหลักฐานจากเอกสารชัดเจนในจดหมายของท่านผู้หญิงจัน(ท้าวเทพกระษัตรี)เขียนที่เมืองถลางบ้านเคียนไปถึงกัปตันฟรานซิส ไลท์ ซึ่งจอดเรือสินค้าอยู่ที่บ้านท่าเรือกล่าวถึง เมืองภูเก็จ คือ พญาเทียน ต้นสกุล ประทีป ณ ถลาง ถึง ๒ ครั้ง แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ทางตอนใต้ของเกาะถลางเป็นเมืองภูเก็จ มีเส้นแบ่งเขตที่บางคูคด คำภูเก็จ แปลว่า ทรัพย์อันมีค่าจำนวนมากขนาดเท่าภูเขา(พระสุเมรุ)หรือมีค่ามากเท่าแผ่นพื้นปฐพี
ดูภาพในหมวดนี้

หญ้ากุสะ หญ้ากุสะและหญ้าคา
ในพุทธประวัติตอนที่พระพุทธเจ้าละบำเพ็ญทุกรกิริยาจากภูเขาดงคสิริ เสด็จฯไปประทับอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา หลังเสวยข้าวมธุปายาสที่รับถวายจากนางสุชาดาแล้ว ทรงรับหญ้าคา(ชุดคำแปลเดิม)จากโสตถิยพราหมณ์จำนวน ๘ กำ ปูลาดเป็นอาสนะใต้โพธิบัลลังก์ และตรัสรู้ในวันเพ็ญกลางเดือน ๖ นั้น ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ เดินทางถึงพุทธคยาเมื่อวันที่ ๑ - ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ตามหาต้นหญ้าคา แต่ไปเจอต้นกุสะคล้ายหญ้าแฝก  เจอหญ้าคาขนาดเล็กที่กรุงกบิลพัสดุ์(ใหม่) และมีหญ้าคารอบบริเวณอาคารสิริมหามายาเทวีที่ลุมพินีวัน
ดูภาพในหมวดนี้

ท่าน้ำเมืองพาราณสี ฝั่งคงคาพาราณสี
ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ เดินทางไปเมืองพาราณสีเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ตั้งใจจะสัมผัสบรรยากาศวิญญาณแห่งคงคาท่าน้ำเมืองพาราณสี น้ำคงคาไหลเชี่ยวกราก จึงได้แต่ยืนมองอยู่ริมฝั่งที่ท่าอัศวเมศวร์ ส่วนการเผาศพได้ไปดูที่ท่าเมืองคยา
ดูภาพในหมวดนี้

แต่งตาเด็กอินเดีย เด็กอินเดีย
นักจิตวิทยาให้เด็กเป็นเสมือนผ้าขาวบริสุทธิ์  สังคมป้ายสีใดให้ เขาก็จักเป็นสีนั้น  ประเทศอินเดียเคลื่อนที่จากโลกตอนใต้ผ่านขึ้นไปชนกับธิเบตหลังคาโลก รอยต่อสูงขึ้นเป็นเทือกเขาหิมาลัย  อินเดียตอนเหนืออยู่ในเขตอบอุ่น  ผิวสีของฅนน่าจะผิวขาว  แต่อินเดียไม่เป็นดั่งนั้น  เพียงดวงตาเขา ไร้เดียงสาตามประสาอินเดีย
ดูภาพในหมวดนี้

บำเพ็ญทุกรกิริยา ทุกรกิริยา
ณ เขาดงคสิริ เมืองคยาอินเดีย พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา(อาการที่กระทำได้ด้วยความยาก)เพื่อให้หลุดพ้นจากการเกิด แก่ เจ็บและตาย ตามแนวทางตบะในอุปนิษัทของพราหมณ์ ซึ่งเป็นแนวทางที่ปัญวัคคีย์เชื่อ จึงคอยถวายอุปัฏฐากเป็นวัตรปฏิบัติ  แต่ทางสายนี้ ไม่สามารถหลุดพ้นได้ดั่งที่คิดเชื่อ  พระพุทธองค์จึงทรงเปลี่ยนไปเป็นแนวโยคะ ใช้จิตเป็นแนวทางเข้าสู่การตรัสรู้ที่โพธิคยาฝั่งเนรัญชรา ปราศจากปัญวัคคีย์ในคืนเพ็ญเดือน ๖
ดูภาพในหมวดนี้

ประสูติที่ลุมพินีวัน เกิด
ปฏิสนธิฟูมฟักพักตัวอ่อนฅนในครรภ์ถ้วนครบทศมาส จึงเคลื่อนออกจากครรภ์เรียกว่าคลอด เกิด ประสูติ เป็นพัฒนาการของเหล่าสัตว์เลี้ยงลูด้วยนมมาตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ครองโลก
ดูภาพในหมวดนี้

แป๊ะหล่ายเส็ง แก่เฒ่าชรามีค่ายิ่ง
ฅนแก่ ฅนเฒ่า ฅนชรา หากเป็นผู้มีสติปัญญาก็พ้นจาก เฒ่าลอกอ  รักษากายด้วยสุขอนามัยเป็นเหตุให้เซลล์สดชื่น มีกิจกรรม(เช่นทำจิตให้ผ่องใส บริหารร่างกายพอประมาณ)แกล้งเซลล์ให้หมั่นทำงาน  ธรรมชาติก็จักรักษาชีวิตไว้ให้ยาวยืนนาน การทำตนให้หงอยเหงา เป็นการวิ่งเข้าสู่วัยชราที่ไร้ประโยชน์
ดูภาพในหมวดนี้

เจ็บป่วยมีโรคาพยาธิ
การทำตนให้หงอยเหงา เป็นการวิ่งเข้าสู่วัยชรา(เป็นฅนแก่ฅนเฒ่า)ที่ไร้ประโยชน์(เฒ่าลอกอ) ธรรมชาติเตรียมรับชีวิตคืนกลับโลก เซลล์ไม่ปรกติสุข  โรคาพยาธิมาเยี่ยมเยือน  จิตหม่นหมองจิตเครียด  พาลกายเจ็บปวดทรมาน  เซลล์ชงัก  ฅนที่พ้นทุกขกรรมนี้ จักเป็นอโรคยา ปรมลาภา สมบูรณ์แบบ
ดูภาพในหมวดนี้

ศพริมฝั่งคงคา ตายอย่างมีเกียรติ
การวิ่งเข้าสู่วัยชราอย่างฅนแก่ฅนเฒ่าลอกอ ธรรมชาติก็จักรับชีวิตคืนกลับโลก เซลล์หยุดทำงาน วิญญาณออกจากร่าง สิ้นสุดชีวิต พรหมก็ไม่ลิขิต ชีวิตอนิจจัง สลายไปดั่งอนัตตาให้เรียกว่า มรณังสังขาร ถึงแก่อนิจกรรมมรณภาพ ตาย วายชีวัน สวรรคต ม้วยมรณ์ปลดปลิดชีพ หากละสังขารด้วยความสงบเย็นก็เป็นนิพพาน
ดูภาพในหมวดนี้

พระเจ้าพิมพิสาร ราชคฤห์แคว้นมคธ
กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ของพระเจ้าพิมพิสารและพระเจ้าอชาติศัตรูเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ก่อนพุทธศาสนาจะประดิษฐานมั่นคงแข็งแรงในกรุงราชคฤห์  มีนักบวชพราหมณ์มากลัทธิต่างมีสานุศิษย์เต็มเมือง พระพุทธองค์ทรงเป็นพระบรมครูที่สอนชาวราชคฤห์ให้เปลี่ยนศาสนามาเป็นพุทธได้อย่างมั่นคง ได้ใช้ภาษาบาลีภาษามคธแผ่พระศาสนามาตั้งแต่นั้น พระเจ้าพิมพิสารสร้างวัดเวฬุวนารามถวายเป็นวัดแรก เป็นวัดสร้างครู ๑,๒๕๐ รูปในวันเพ็ญเดือนมาฆบูชา
ดูภาพในหมวดนี้

นักเรียนอินเดีย นักเรียนนักศึกษา
สร้างเสริมสติปัญญาให้มีความรู้(Knowledge) ทักษะ(Skill) และเจตคติ(Attitude)ที่ดี เมื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีได้ ก็ได้สมชื่อสมนามว่านักเรียนนักศึกษา ที่ไม่มืด ไม่บอด ไม่โง่ ไม่เขลา ไม่เบาปัญญา
ดูภาพในหมวดนี้

ลากตอกหมาก การละเล่นของเด็ก
เล่นนางชี เรือบิน อีฉุด มิดลอ จิ้ว หมากเก็บ หมากหน่วย หมากห้าหน่วย ดาวเด้อ อาหว้าย บินเลียด ขว้างโพล้ ขว้างราว ทอยราว เป่ากบ โดดเชือก ฯลฯ บางรายการมีเพลงประกอบ เช่น ตดฉีดตดฉ้าด ท้อนท้อนไม่หวาน หนึ่งปล่อยเป็ดสองปล่อยไก่ เด็กขี้ร้องจับใส่ป้อง
ดูภาพในหมวดนี้

ตรากลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ

กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ

มีวัตถุประสงค์ คือ

๑. ศึกษาและค้นคว้าประวัติศาสตร์เกี่ยวกับความเป็นมาของเมืองภูเก็จ

๒. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จแก่บุคคลที่สนใจ

๓. ส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุของจังหวัดให้อยู่ในสภาพที่ดีเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาและส่งเสริมการท่องเที่ยว

๔. สร้างความสัมพันธ์และร่วมมือกับหน่วยงานอื่น

เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ.๒๕๒๔ มีประสิทธิ ชิณการณ์ เป็นประธานกลุ่มฯคนแรก สกุล ณ นคร เป็นประธานคนที่ ๒ ร.ต.ณรงค์ แสงสุริยงค์ เป็นประธานคนที่ ๓ และสมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ เป็นประธานคนที่ ๔ ฤดี ภูมิภูถาวร เป็นเลขานุการ


ดูภาพในหมวดนี้

หินดินดานเขาน้อย แหล่งหิน
หินอัคนีและหินแปรสึกกร่อนผุพังสลายกลายเป็นหินตะกอน หินตะกอนแปรไปเป็นหินแปร หินเหล่านี้มีทุกภูมิภาค แต่ละพื้นที่จะมีสีสัน ความหนาแน่น และชนิดแตกต่างกันไป หินชุดตะรุเตาเป็นหินที่เก่าแก่ที่สุดในภาคใต้ หินตะกอนหลายแหล่งมีบรรพชีวิน(Fossil) เช่นที่กระบี่(สุสานหอยและพรุดินนา) สตูล(อำเภอละงู)หรือนครศรีธรรมราช(อำเภอขนอม)
ดูภาพในหมวดนี้

ลวดลายราชินีเหมืองแร่ ชัยบาติกภูเก็ต
ชัยบาติก "สิริชัย จันทร์ส่องแสง" ได้วาดภาพจิตรกรรมไว้บนผืนผ้าอย่างหลากหลายรูปแบบและสีสัน  ชัยบาติกพัฒนาการบาติกจาก ผชช.อ.ชูชาติ ระวืจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
ดูภาพในหมวดนี้

หาดป่าตอง แผ่นดินไหวภัยสึนามิ
26 ธันวาคม 2547 เกิดแผ่นดินไหวกว่า 7 ริกเตอร์ที่ปลายแหลมสุมาตรา ส่งผลให้เกิดสึนามิ Tsunami แผ่วงกว้างไปทั่วชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ในประเทศไทยกระทบชายฝั่งอันดามัน ๖ จังหวัดประสบภัยสึนามิคือระนอง พังงา(เขาหลัก หนักที่สุด) ภูเก็ต(กะรน ป่าตอง กมลา เกาะราชา หนักกว่าสถานที่อื่น) กระบี่(เกาะพีพีดอน หนักที่สุด) ตรัง และสตูล
ดูภาพในหมวดนี้

ปกสมุดบันทึกรักการอ่าน ภาพจากหอจดหมายเหตุถลาง

หอจดหมายเหตุถลางได้ลงทะเบียนภาพเรียงตามลำดับหมายเลขทะเบียน ตั้งแต่ pic001 pic002 pic003 ...  หากประสงค์จะใช้ภาพใดที่ยังไม่ได้บันทึกลงทะเบียน ได้โปรดโทรศัพท์แจ้ง "หมายเหตุรักษ์" ของห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ ๕๐ พรรษา ประจำอำเภอถลาง(หน้าโรงเรียนถลางพระนางสร้าง) หมายเลข 076-311322; 076-311323


ดูภาพในหมวดนี้

109 ถนนถลาง เตี่ยมฉู่ทุ่งคาถนนถลาง
ตลาดทุ่งคามีศูนย์กลางอยู่ที่ถนนถลาง  มีตึกแถวเป็นอาคารพาณิชย์ที่ชาวบาบ๋าเรียกว่า เตี่ยมฉู่ มีอาคารติดต่อกันมากกว่า ๒๗๐ คูหา ทั้งสองฟากถนนบริเวณด้านหน้าประตูเตี่ยมฉู่เป็นที่โล่งยาว ๕ กากี เรียกว่า หง่อก่ากี่(อาเขด) เป็นสินน้ำใจของชาวทุ่งคาที่เว้นไว้ให้สาธารณชนใช้ในเมืองฝนแปดแดดสี่ มาไม่น้อยกว่า ๑๕๐ ปีมาแล้ว อาคารแต่ละหลังเป็นสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส ที่มีอัตลักษณ์แตกต่างกันหลากหลาย ผศ.ดร.ยงธนิศร พิมลเสถียร นำศิษย์เทคโนโลยี่พระจอมเกล้าช่วยกันถอดแบบหน้าบ้านออกมาเป็นภาพลายเส้น
ดูภาพในหมวดนี้

ฟิสิกส์เคมี

ฟิสิกส์ อะตอม โปรตอน Protons อีเลคตรอน นิวตรอน Quarks Leptons งานไฟฟ้า กลศาสตร์ สารคมี Quantum

 


ดูภาพในหมวดนี้

มัคคุเทศก์ พมร. GUIDE

พิพิธภัณฑ์หมืองแร่ภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชีวิต (LIFE MUSEUM) จึงมีมัคคุเทศก์เป็นผู้ชี้แนะนำแนวทางปัญญาและนันทนาการให้กับแขกด้วยมิตรไมตรีดุจดั่งญาติสหายธรรม  นายหัวเหมืองเชิญแขกร่วมดื่มชา  ช่วยกันร่อนแร่  รำลึกถึงความหลังเมื่อแร่มีค่าเมื่อ ๕๐ - ๔๕๐ ปีที่ผ่านมา  การเคลื่อนย้ายถิ่นของจีนบาบ๋าจากมณฑลฮกเกี้ยน(ฝูเจี้ยน)เข้าสู่พระบรมโพธิสมภาร ร่วมด้วยช่วยกันสร้างบ้านแปงเมืองให้เรืองรุ่งสืบลูกปลูกใจหลานผสานรักแผ่นดินไทย

พมร.ภูเก็ตจึงภูมิใจที่ได้มีไกด์เสมอคุณเทิดทุนปัญญาเผื่อแผ่กุศลสุข  แบ่งปันมุขขำขันบันเทิงรื่นเริงภารกิจ  เชิญชวนให้เกียรติงานผ่างเต๋  ร่วมถ่ายรูปเป็นที่รำลึกก่อนอำลาอาลัย  อย่าลืมมาเยี่ยมเยียน พมร.อีกหลาย ๆ คราครั้งนะขอรับครับกระผม 


ดูภาพในหมวดนี้

จ.ม.ท้าวเทพกระษัตรีขอผ่อนผันดีบุกค่าผ้า จดหมายเหตุ มทศ.
กรทิชาต์ วัฒนพันธุ์ เลขานุการมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทรมีเอกสารลายลักษณ์จำนวนมากได้เสนอที่ประชุม มทศ.ให้จัดทำจดหมายเหตุของมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์อาสาเป็นผู้อำนวยการหมายเหตุรักษ์ มทศ. มอบหมายให้ปาณิศรา(นก) ชูผลเป็นผู้ช่วยหมายเหตุรักษ์ ร่วมด้วยช่วยกันให้มีจดหมายเหตุลายลักษณ์ไว้เป็นเอกสารอ้างอิงในการดำเนินงานของ มทศ. และเป็นประโยชน์แก่นักวิจัย นักเรียนนักศึกษาและผู้สนใจงานทางด้านนี้ ปี พ.ศ.๒๕๕๓ มทศ.มุ่งเป้าไปสู่จดหมายเหตุที่ช่วยงานอนุสรณ์สถานเมืองถลาง และด้วยเหตุที่เมืองถลางมีประวัติยาวนานจาก พ.ศ.๗๐๐ ที่ปรากฏ JUNK CEYLON ในแผนที่การเดินเรือของคลอดิอุส ปโตเลมี เปลี่ยนมาเป็น SILAN ตามคำเรียกของพระภิกษุจีนอี้จิง และเปลี่ยนเป็นสลาง ฉลาง จนคนทั่วไปรู้จักถลาง  มีประวัติวีรสตรีท้าวเทพกระษัตรี(ท่านผู้หญิงจัน) ท้าวศรีสุนทร(คุณมุก) แม่ปราง พญาถลางเทียน ประทีป ณ ถลาง(อดีตเจ้าเมืองภูเก็จ) และเหล่าวีรชนเมืองถลางแห่งศึกเมืองถลางที่เป็น ๑ ในศึก ๙ ทัพต้นกรุงรัตนโกสินทร์  จนชาวภูเก็จภูเก็ตมีวันถลางชนะศึกในวันที่ ๑๓ มีนาคมของทุกปี
ดูภาพในหมวดนี้

วัฒนธรรม2วัฒน์
พจนานุกรมภาษาถิ่นภูเก็จ
ดูภาพในหมวดนี้

นันทนาการ
การร้องรำทำเพลง มหรสพ งานรื่นเริง
ดูภาพในหมวดนี้

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้906
mod_vvisit_counterเมื่อวาน3024
mod_vvisit_counterทั้งหมด11190735