Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
สัทสัญลักษณ์ภาษาถิ่นภูเก็จ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อังคาร, 10 พฤษภาคม 2011

อักขระแทนเสียงภาษาถิ่นภูเก็จ

อักขระแทนเสียงภาษาถิ่นภูเก็ต

สัทอักษรภาษาถิ่นภูเก็จภูเก็ต

ปรับปรุงจากภาษาถิ่นภูเก็ต : สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์

สัทสัญลักษณ์ในพจนานุกรมภาษาถิ่นภูเก็จ   
  
 

ปฐมเหตุ


ด้วยเหตุที่ภูเก็จเป็นเมืองท่ามาแต่อดีต หลายชาติที่ผ่านมาติดต่อค้าขาย ได้ทิ้งร่องรอยทางภาษาไว้ให้ชาวภูเก็จใช้   และภูเก็จยังมีชนกลุ่มน้อยที่เรียกว่าชาวเล อีก ๒ กลุ่มภาษา แม้ไม่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาของชาวภูเก็จ  แต่ก็เป็นภาษาที่ควรให้ความสนใจ
 ชาวภูเก็จใช้ภาษาถิ่นใต้ ที่นักภาษาศาสตร์ได้ศึกษาไว้ว่า เป็นภาษากลุ่มนครศรีธรรมราชสายไชยา(ฉันทัส  ทองช่วย ๒๕๒๕ :๒๖๕๑ อ้างจาก J. Marvin Brown 1965 : 69)
 ผู้ที่เคยศึกษาภาษาถิ่นในภูเก็จ เช่น ไสว  เรืองวิเศษ (๒๕๒๐ : ๒๐ - ๒๑)ได้ศึกษาระบบหน่วยเสียงในภาษาถิ่น ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐ ได้ใช้สัทอักษรแทนหน่วยเสียงพยัญชนะคือ /p   ph   b   t   th   d   k   kh   ?   c   ch  f  s  h  m  n  n    l  r  w  y/  ส่วนเสียงสระ ได้ใช้สัญลักษณ์  / i  i:   i  i:   u  u:   e  e: ε  ε:  o  o:    :  a  a:    : /  และใช้ตัวเลข / 1 2 3 4 5 6 7 /แทนหน่วยเสียงวรรณยุกต์ จากการศึกษาระบบหน่วยเสียงพบว่า มีหน่วยเสียงพยัญชนะเดี่ยว ๒๒ หน่วย เสียง(ไสว เรืองวิเศษ ๒๕๒๐ : ๒๔) หน่วยเสียงพยัญชนะผสม ๑๒ หน่วยเสียง คือ /pl pr phl phr kl kr kw khl khr khw ml mr/ (ไสว เรืองวิเศษ ๒๕๒๐ : ๕๖)  หน่วยเสียงสระ มี /i i: i i: u u: e e: ε ε: o o: : a a: : /(ไสว เรืองวิเศษ ๒๕๒๐ : ๖๖-๖๗) พบหน่วยเสียงสระผสม คือ /i:a i:a ia ia ua u:a/ (ไสว เรืองวิเศษ ๒๕๒๐ : ๙๘)  และพบว่ามีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ ๗ หน่วยเสียง คือ หน่วยเสียงต่ำ-ระดับ  หน่วยเสียงต่ำ-ขึ้น  หน่วยเสียงกลาง หน่วยเสียงกลาง-ระดับ  หน่วยเสียงกลาง-ขึ้น  หน่วยเสียงสูง-ตก  หน่วยเสียงสูง-ระดับ และหน่วยเสียงสูง-ขึ้น(ไสว เรืองวิเศษ ๒๕๒๐ : ๑๑๕)


 ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ มีงานวิจัยเรื่องภาษาไทยถิ่นที่ใช้ในปัจจุบัน จังหวัดภูเก็ต ในการศึกษาระบบเสียงวรรณยุกต์ พยัญชนะและสระ พบว่ามีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ ๗ หน่วยเสียง คือ / 1 2 3 4 5 6 7 / (คำนวณ นวลสนอง และคนอื่นๆ ๒๕๒๗ : ๔๐, ๔๕, ๕๐) มีหน่วยเสียงพยัญชนะที่ใช้ในอำเภอเมือง อำเภอถลางและอำเภอกะทู้ตรงกัน ๒๑ หน่วยเสียง คือ /p  ph  b  t  th  d  k  kh  ?  c  ch  f  s  h  m  n    l  w  j/ (คำนวณ นวลสนอง และคนอื่น ๆ ๒๕๒๗ : ๕๘, ๕๙, ๖๒)  มีแตกต่างระหว่างอำเภอบ้างเฉพาะหน่วยเสียง /n/ มีพบในอำเภอเมือง   ส่วน /r/ ไม่พบในอำเภอกะทู้ (คำนวณ นวลสนอง และคนอื่น ๆ ๒๕๒๗ : ๕๙, ๖๒)  พยัญชนะประสมพบหน่วยเสียงตรงกันทั้ง ๓ อำเภอ คือ / pl pr phl phr kl kr kw khl khr khw /(คำนวณ นวลสนอง และคนอื่น ๆ ๒๕๒๗ : ๕๙, ๖๒, ๖๔)  พบเฉพาะอำเภอเมืองและอำเภอถลางคือหน่วยเสียง / ml mr /(คำนวณ นวลสนอง และคนอื่น ๆ ๒๕๒๗ : ๖๕, ๖๗)
 นพดล กิตติกุล( ๒๕๓๔ ) ได้ศึกษาคำยืมภาษาจีนฮกเกี้ยนที่ใช้ในภาษาไทยถิ่นจังหวัดภูเก็ตเพื่อเสนอปริญญานิพนธ์ตามหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตสาขาภาษาไทย จากมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๔   และได้เลือกคำจากปริญญานิพนธ์นำไปเพิ่มคำไทยภาษาถิ่น จัดพิมพ์คำจีนคำไทยในภูเก็ต(นพดล  กิตติกุล ๒๕๓๗)  เช่น
พร้าวหนังหมู [phra:w๒na๑mu:๑] 
 น.  มะพร้าวอ่อนที่เนื้อกำลังจะแข็งเหนียว
พ้อต่อ [p:๒ t:๗]   
 น. สารทจีน
พ้อถ้อง [p:๒ th:๒]   
 น. รถสองแถว; โป้ถ้อง ก็เรียก
พองขน [p:๕ khn๑]  
 ก.  ขนลุก
พะกู๋น [pha?๓ ku:n๖]   
 ก. ต่อยมวย
พะฉิ้ว [pha?๓chiw๒]   
 ก. ตบมือ(นพดล  กิตติกุล ๒๕๓๗ : ๕๓)

 การใช้สัทสัญลักษณ์ของผู้ศึกษาแต่ละคน จะใช้แตกต่างกันบางสัญลักษณ์  เช่นเสียง ย มีใช้เป็น /y/ หรือ /j/      สระประสมเสียงยาว ใช้ ๒ รูปแบบ เช่น เอีย มีใช้เป็น/i:a/ หรือ /ia:/

 

ด้วยเหตุดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องกำหนดสัทสัญลักษณ์ไว้ เป็น สัทสัญลักษณ์ร่วมกัน และใช้เป็นสัทสัญลักษณ์ในพจนานุกรมภาษาถิ่นภูเก็จ ดังนี้


พยัญชนะเดี่ยวในตำแหน่งต้นพยางค์ 
 /p/   แทนเสียง  ป
 /ph/  แทนเสียง พ
 /b/  แทนเสียง บ
 /t/  แทนเสียง ต
 /th/  แทนเสียง ท
 /d/  แทนเสียง ด
 /k/  แทนเสียง ก
 /kh/  แทนเสียง ค
 /?/  แทนเสียง อ
 /c/  แทนเสียง จ
 /ch/  แทนเสียง ช
 /s/  แทนเสียง ซ
 /h/  แทนเสียง ฮ
 /m/  แทนเสียง ม
 /n/  แทนเสียง น
 /~n/  แทนเสียง ย ซึ่งออกเป็นเสียงนาสิก


/g/  แทนเสียง ง (ในชุดเดิมปรากฏปัญหาคือ //  แทนเสียง -ง

 

 /r/  แทนเสียง ร
 /l/  แทนเสียง ล
 /w/  แทนเสียง ว
 /y/  แทนเสียง ย


พยัญชนะประสม


 /pr/  แทนเสียง ปร
 /pl/  แทนเสียง ปล
 /phr/ แทนเสียง พร
 /phl/ แทนเสียง พล
 /br/  แทนเสียง บร
 /tr/  แทนเสียง ตร
 /kr/  แทนเสียง กร
 /kl/  แทนเสียง กล
 /kw/  แทนเสียง กว
 /khr/ แทนเสียง คร
 /khl/  แทนเสียง คล
 /khw/ แทนเสียง คว
 /mr/  แทนเสียง มร
 /ml/  แทนเสียง มล


พยัญชนะสะกด


 /-g/  แทนเสียง -ง (ในชุดเดิมปรากฏปัญหาคือ /-/  แทนเสียง -ง )

หากมี ŋ ให้ใช้สัญลักษณ์นี้เป็น / ง /


 /-n/  แทนเสียง -น
 /-m/  แทนเสียง -ม
 /-y/  แทนเสียง -ย
 /-w/  แทนเสียง -ว
 /-k/  แทนเสียง -ก
 /-t/  แทนเสียง -ต
 /-p/  แทนเสียง -ป
 /-?/  แทนเสียง -อ


การใช้สัทสัญลักษณ์ในการออกเสียงสระ  เพื่อแทนเสียงสระเดี่ยว และสระประสม ใช้สัทอักษรเสียงสั้นเหมือนเดิม ปรับปรุงสัทอักษรเสียงยาวจากเครื่องหมาย : เป็นการซ้ำอักษรหน้าที่มี : ของเดิม คือ
 สระเดี่ยว
 /i/  แทนเสียง อิ
 /ii/  แทนเสียง อี
 /e/  แทนเสียง เอะ
 /e:/  แทนเสียง เอ
 /ε/  แทนเสียง แอะ
 /ε:/  แทนเสียง แอ
 /i/  แทนเสียง อึ
 /i/  แทนเสียง อื
 /)/  แทนเสียง เออะ
 /):/  แทนเสียง เออ
 /a/  แทนเสียง อะ
 /a:/  แทนเสียง อา
 /u/  แทนเสียง อุ
 /u:/  แทนเสียง อู
 /o/  แทนเสียง โอะ
 /o:/  แทนเสียง โอ
 /)/  แทนเสียง เอาะ
 /):/  แทนเสียง ออ
 สระประสม
 /ia/  แทนเสียง เอียะ
 /iia/  แทนเสียง เอีย
 /ia/  แทนเสียง เอือะ
 /iia/  แทนเสียง เอือ
 /ua/  แทนเสียง อัวะ
 /uua/ แทนเสียง อัว
 
หน่วยเสียงวรรณยุกต์
 /1/ แทนเสียง สูง-ขึ้น-ตก[453] และ สูง-ขึ้น[45] และกำหนดให้แทนเสียงโท
 /2/ แทนเสียง สูงระดับ(ตกตอนท้าย)[44] และกำหนดให้แทนเสียงตรี
 /3/ แทนเสียง กลาง-ขึ้น-ตก[343] และ กลาง-ขึ้น[34]
 /4/ แทนเสียง กลาง-ระดับ[33]
 /5/ แทนเสียง ต่ำ-ขึ้น-ตก[232]
 /6/ แทนเสียง ต่ำ-ขึ้น[24]  และกำหนดให้แทนเสียงจัตวา
 /7/ แทนเสียง ต่ำ-ตก[21] และกำหนดให้แทนเสียงเอก
 /0/  แทนเสียงสามัญของภาษากลาง

 ด้วยเหตุที่ภาษาถิ่นใต้ ได้จำแนกเสียงพยัญชนะซึ่งมีเสียงวรรณยุกต์กำกับ เป็นอักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ  การใช้พยัญชนะเพื่อแทนเสียงคำหรือพยางค์ จึงมีแบบไว้เป็นหลักว่า  เสียงที่คนใต้ออกเสียงในระดับสูง  จะใช้รูปอักษรสูง  หากออกเสียงต่ำ จะใช้รูปอักษรต่ำ  เช่น ม้า/ma:2/, ค้า/kha:2/ ชาวใต้ออกเสียงตรงกับ หม่า/ma:7/, ข่า/kha:7/ เป็นเสียงเอก เสียงอยู่ในระดับต่ำ  ชาวใต้จึงใช้รูปศัพท์ ม้า,ค้า เพราะ ม และ ค เป็นอักษรต่ำ   หรือรูปศัพท์ หมา /ma:6 /, ขา/kha:6/ ชาวใต้ออกเสียงตรงกับ ม่า/ma:1/, ข้า/kha:1/ เป็น เสียงโท จัดเป็นเสียงในระดับสูง  ชาวใต้จึงใช้ หฺม ซึ่งเป็นเสียงเทียบเท่าอักษรสูงและ ข ซึ่งมีเสียงระดับสูงและเป็นอักษรสูง  การออกเสียงของชาวใต้ที่อยู่ในระดับสูง  จึงใช้รูปอักษรสูง ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส และ ห แทนเสียงระดับสูง  ศัพท์ที่ชาวภูเก็จออกเสียงสูงจะใช้รูปอักษรสูงสอดคล้องกับภาษาถิ่นใต้

รูปศัพท์ที่เป็นคำยืมจากภาษาจีนฮกเกี้ยน หรือศัพท์ของชาติอื่นที่ผ่านมาจากชาวจีนฮกเกี้ยน  จะใช้รูปศัพท์ที่เทียบเสียงใกล้เคียงกัน  ไม่เป็นไปตามหลักของภาษาถิ่นใต้  เช่น  พ้อต่อ[ph))2 -t))7/],  เกี่ยมฉ่าย[ki:am7-cha:y7]  แม้ว่าชาวภูเก็จจะออกเสียงพ้อในระดับสูง แต่เขียนรูปศัพท์ด้วยพยัญชนะอักษรต่ำ หรือออกเสียงฉ่าย ในระดับต่ำ แต่เขียนรูปศัพท์เป็น ฉ ซึ่งเป็นอักษรสูง

 

พยัญชนะเดี่ยวในตำแหน่งต้นพยางค์ 

/p/ แทนเสียง ป

เปิดถ่าวผาง [p))t4-thaaw7-phaag6]
 สำ. เคลื่อนไปโดยเร็ว  หนีไป.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
เปี่ย [piia7]
 ว. ๑. เร่งรีบ; พะเปี่ย ก็ใช้.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
  ๒. พยายาม, ขยัน.

/ph/ แทนเสียง ผ พ
ผักแกล็ด [phak1-klεt3]
 น. ผักไว้จิ้ม, ผักเคียง, ผักแนม; ผักแก็ด, ผักเหนาะ, ผักจิ้ม, ผักจุ้ม ก็ใช้.
ผักฉายโบ้ย [phak1-chaay1-booy1]
 น. ผักจับฉ่าย, ผักหลายชนิดมารวมไว้เพื่อผัด.
พรง [phr)g5]
 น.  พง, ป่า เช่น ในพรงดงเย็น จะเห็นหน้าใคร.{หาเหตุ}; พรงพรี ก็ใช้.
พรงพรี [phr)g5-phri:y5]
 น.  ป่า เช่น เสือเหลืองแลเสือครอง เดินเที่ยวท่องในพรงพรี.{มหาเวสสันดร}.


/b/ แทนเสียง บ
บ่างเฮี้ยว [ba:7hi:aw2]
 น. ยากันยุง.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
บาบ๋า [ba:4ba:6]
 น. ลูกครึ่งจีนกับแขกหรือจีนกับไทย.


/t/ แทนเสียง ฏ ต
ตู่โก้ [tu:7ko:6][tu:7ko:4]
        น.  ๑. พ่อหมู.
          ๒. กรงสำหรับใส่หมู ขังหมูหรือจับหมูไปขาย; โก๋ ก็ใช้.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
 สำ.  คนอ้วนมาก ผู้ชายเจ้าชู้ไม่เลือกว่าใครเป็นใคร.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
ตู่ต่อ [tu:7t7]
        น.  ๑. กระเพาะหมู.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
๒. มอเตอร์ขนาดใหญ่มีใบพัดหมุนคล้ายกระเพาะหมูใช้สำหรับ ดูดน้ำและดินขึ้นจาก
  เหมืองฉีด.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).

/th/ แทนเสียง ฐ ถ ท ธ
ถัวะ  [thua?7]
        น.  ลิ้นชัก.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
ถ้างอ่า [tha:1?a:7]*ถลาง.
        น.  ช่องหน้าต่าง.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
ทวยมัน [thu:ay5man5]
 น. แมลงป่องขนาดเล็ก ตัวสีขาว.
ทอก [th?6]
        ก.  กระทุ้ง.
ธุ [thu:?6]
        ก.  ไหว,้ สาธุ, กิริยาสั่งเด็กให้ไหว้ เช่น ธุพระเสียลูก.

/d/ แทนเสียง ฎ ด
ดีปลี [diy3pli:y3]
        น.  พริก; ชาพลู๑ ดีปลี๑ พริกไทย๑.{สมุดข่อย ศวภ.๑๙๖}.
  ดีปลีหยวก น. พริกหยวก.
ดุน [dun3]
        ก.  ดัน เช่น หมูดุนรั้ว=หมูดันรั้ว.
ดุหยง [du4yo]
 น.  พะยูน.
เดินตีนช้าง [d:n3ti:n3cha:7]
 น. ชื่อการละเล่นของเด็กอย่างหนึ่งด้วยการเดินแข่งขันบนกะลามะพร้าวที่ผูกเชือก
    ให้ง่ามนิ้วเท้าหนีบกันหลุด.
เดินเต่า [d:n3taw3]
        สำ. เฝ้าคอยดูเต่าทะเลขึ้นวางไข่.
เดินบัตร [d:n3bat3]
        ก.  เก็บตั๋วรำวงหรือภาพยนตร์.
โด้ [do:1]
        ว. โน่น.

/k/ แทนเสียง ก
กกกก [kk3kk3]
        ว.  มาก  ยิ่งกว่า; ขกขก ก็ใช้.
ก็กแก็ก [kk3kεk3]
        ว.  เล็ก ๆ น้อย ๆ  เหลาะแหละ.
กง [k3]
        น.  ๑. ไม้รูปโค้งที่ตั้งเป็นโครงเรือ.
            ๒. กงล้อ.
 ว.  โก่ง, ค่อม เช่น พี่จะยิงหลังกงของอีค่อม.{รามเกียรติ์}.
กระสัตรี [kra4sat1triy3]
        น.  หญิง เช่น ถ้าว่ากระสัตรี จงเสงี่ยมเจียมตัว.{จันทโครบ}.
กระหลากา [kra4la:1ka:3]
        ว.  เลวทราม ต่ำช้า เช่น ผ่าช่องอี กระหลากา อีรามาไม่รู้อาย.{มหาเวสสันดร}; ฉลากา ก็ใช้.
กระหว่า [kra4wa:1]
        ว. กว่า เช่น ดีกระหว่าจะถึง  ให้ร้อนไปทั้งกาย.{ รามเกียรติ์}.
กรั้ง [kra4]
        น.  ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง คล้ายปลาช่อนแต่ตัวเล็กกว่า สีคล้ำ.
กร้าง [kra:4]
        น.  ชื่อตัวตลกในหนังตะลุง รูปร่างผอม.
ก่อ [k:7][k:1]
        น.  กลอง.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
        ก.  เฝ้าดูแล.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
ก้อ [k:4]
        น.  พี่สาวหรือน้องสาวของพ่อ.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
กินผัก [kin3phak1]
        น.  ชื่อประเพณีกินเจ; กินแจ, เจี๊ยะฉ่าย ก็ใช้.

/kh/ แทนเสียง ข ฃ ค ฅ ฆ
เคย [kh:y5]
        น.  กะปิ.
            เคยเค็ม น. อาหารทำจากกุ้งหมัก.
            เคยอึก น. อาหารนึ่งที่ทำจากกุ้งหมักผสมไข่.
เคยเค็ม [kh:y5khεm5]
        น.  กุ้งฝอยหมักคล้ายปลาเจ่ามีรสเปรี้ยวเค็ม.
เคี้ยบสี่ [khi:ap2si:7]
        ว.  ไม่สวย.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
เค็ว [khew5]
        ก.  เก็บ.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
แคะหลาง [khε?2la:6]
 น. ชื่อจีนพวกหนึ่งอยู่ทางตะวันออกและตะวันตกจากมณฑลฮกเกี้ยนไปจนถึงกวางสีและ
  ทางตอนเหนือของมณฑลกวางตุ้ง, จีนแคะ. (แคะ น่าจะเป็นต้นศัพท์แขกที่หมายถึงผู้มาเยี่ยมเยือน สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์
โคกสูน [kho:?6su:n1]
 น. ชื่อไม้เลื้อย ผลเป็นหนาม ทำยาได้ มักขึ้นอยู่ชายทะเล; ลูกสูน ก็ใช้;ชาวเลมาซิงเรียก
    รามสูน.
ขว้างโพล้ [khwa6phlo:2]
 น. ชื่อการละเล่นซ่อนหาของเด็กอย่างหนึ่ง ใช้กระป๋องปาให้ไกล เพื่อให้ผู้เล่นอื่นมีเวลาไป
  ซ่อนตัว; ขว้างป้อง, ขว้างโพล้ ก็ใช้.
ขว้างยัด [khwa6yat7]
น. ชื่อการละเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง ใช้ลูกบอลขนาดเล็กหรือลูกเทนนิสขว้างปาให้ถูกผู้เล่น
  อื่น.
ขวางหวัน [khwa1wan1]
        ว.  ขวางตะวัน เป็นการปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างยาวไปทิศเหนือและใต้.
        สำ. ขัดคอ ขวางโลก.
ขวิด [khwit1]
        น.  ต้นมะขวิด.
        ก.  หกคะเมน ตีลังกา; ขวิดตุง ก็ใช้.
        ว.  ๑. กระดกชี้ขึ้นตรง ชี้โด่; ขวิดจ้อง ก็ใช้.
            ๒. เชิดขึ้น เช่น ปากขวิด=ริมฝีปากเชิด.

/?/ แทนเสียง อ
อาอี๋ [?a:3?i:6][?a:7?i:6]
 น.  น้าสาว บางครั้งก็ใช้เรียกแทนคำว่าแม่ด้วย, อาอี๊.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
อิดเอื้อน [?it3?i:an4]
 ว.  พูดอ้อมแอ้ม, ไม่ตรงไปตรงมา.
อิ้มสี่ [?im4si:7]
 น.  ถั่วดำดองใช้ทำซีอิ้วดำ.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
อิ่วเก้ง [?iw7ke:4][?iw1ke:4]
 น.  พระจีนที่เข้าประทับทรงออกแห่ในเมืองเพื่อโปรดประชาชน.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
 
อิ่วส้าย [?iw7sa:y1]
 น.  น้ำมันโซล่าหรือน้ำมันที่ใช้แล้ว.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).

/c/ แทนเสียง จ
จกแจ็ก [ck3cεk3]
        ว.  ฟังไม่ได้ศัพท์,เสียงพูดของคนมาก ๆ เช่น เสียงจกแจ็ก.
จง [c3]
        น.  กระจง(สัตว์).
จนจบ [cn5cp3]
 ว.    ทั่ว เช่น บังคับคนเที่ยวไถนาไปจนจบ.{รามเกียรติ์}.
จบ [cp3]
        ก.  พนมมือยกขึ้นวางบนศีรษะ.
        
/ch/ แทนเสียง ช ฉ
ฉาด [cha:t2]
 ว. หมด, เกลี้ยง.
ฉ้ายกั้ว[cha:y1ku:a4]
 น.  ผักกาดเค็มแห้ง.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
ฉ้ายตึ๋ง [cha:y1ti 6]
        น.  โรงเจ. สถานที่ประกอบพิธีกินเจ.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
ฉ้ายถาว [cha:y1tha:w7]
        น.  หัวผักกาด.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
ฉ้ายถ่าวโก้ย [cha:y1tha:w6ko:y1]
        น.  ขนมที่ทำด้วยไชเท้าไสหรือบดละเอียดแล้วทอด เวลารับประทานใช้จิ้มกับ
   น้ำตาลทรายขาว.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
ชวก [chu:a?6]
        ว.  โชก ทั่ว มาก เช่น เปียกชวก=เปียกโชก, ถูกเบอร์กันชวก=ถูกหวยกันทั่วไป.
ชอก [ch:?6]
        ก.  ๑. ขัดยอก เคล็ด.
            ๒. ผูกปม เช่น ชกเงื่อนตาย=ผูกเงื่อนตาย.

/s/ แทนเสียง ซ ศ ษ ส
โซ้สี [so:2si:6]
        น.  ดอกกุญแจ.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
โซะ [so:?6]
        ว.  ซูบ ผอม.
ไซ่ [say6]
        ว.  ทำไม เหตุไร เพราะอะไร เพื่ออะไร เช่น ทำกูไซ่=ทำกูทำไม  ไซ่ไม่ไป=เพราะอะไรจึงไม่ไป.

/h/ แทนเสียง ห  ฮ
หาญ [ha:n1]
 ว.  กล้า เช่น จะถามความก็ไม่หาญเข้าไปถาม. {รามเกียรติ์}.
หาญตาย [ha:n1ta:y3]
 ว.  อวดดี, บ้าบิ่น.
ห่ามเหล็ง [ha:m7le6]
 น.  แม่แรง. 
หายหู [ha:y1huw1]
 ว.  ไกลจนไม้ได้ยินเสียง, ไกลสุดกู่,นานมาก; หายหูด ก็ใช้.
หายหูดตูดบ้อง [ha:y1hu:t2tu:t4b:4]
 ว.  อยู่ท้ายแถว, ที่โหล่; หายหูดตูดแลน, หล้าวหลูดตูดแลน ก็ใช้.
ห้าวหลาม [ha:w1la:m6]
 น. ลูกหลานที่ใกล้ชิดที่สุดของผู้ตายร้องไห้หน้าศพหรือผู้ที่ได้รับจ้างให้ร้องไห้.(คำยืมจีน
  ฮกเกี้ยน).
 ก.  ร้องไห้.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
หาไม่ [ha:1ma:y2]
 ว.  ไม่มี.
หาไม่ออก [ha:1ma:y2?:?3]
 ว.  หายาก, ไม่ค่อยปรากฏ เช่นเด็กด้นแล้วให้นั่งแน่งนาน ๆ แลท่า หาไม่ออก= เด็กซน
   ให้นั่งนิ่ง ๆ นาน ๆ คงหายาก.
เหมลย [ml:y1]
 น.  การบนบานศาลกล่าว; เหมรย ก็ใช้.
 เหมลยปาก=การบนบานตกลงด้วยวาจา.
 เหมลยหอ=การบนบานโดยมีห่อเครื่องสังเวย แล้วอธิษฐานผูกพันไว้เมื่อสำเร็จตามคำบน
   บานนั้นก็จะแก้หรือตัดห่อนั้นตามพิธีกรรม.
เหมือด [mi:at2]
 น.  ๑. ผักกินแนม.
  ๒. ผักที่ปรุงรวมอยู่ในแกงเผ็ด; หมวด ก็ใช้.
 ว.  แกล้ม.

/m/ แทนเสียง ม
มราย [mra:y5]
 น.  ไม้ชนิดหนึ่ง ใช้เมล็ดใส่กระบอกไม้ไผ่เล่นฉะโขละ.
มล้าง [mla:7]
        ก.  ล้างผลาญ เช่น เมียตนจักมล้างชีวันบรรลัย.{จันทโครบ}, ขอสอง
   กุมารมามล้างหมัน.{รามเกียรติ์}.
มลืน [mli:n5]
 ก.  ลืมตา เช่น ฝ่ายกไลโกฏิก็มลืนตาขึ้นมาเห็น.{รามเกียรติ์}.
มอถืง [m5thi:6]
        น.  ทอฟฟี่.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน); น้ำผึ้งแท่ง ก็ใช้.
มะ [ma:?6]
        น. ชื่อที่ไทยมุสลิมเรียกแม่.
มะ [ma:?7]
        น.  ชื่อที่ชาวจีนในภูเก็ตเรียกแม่; อะมะ ก็ใช้.
มะหยัง [ma2ya1]
        ก.  ละหมาด.

/n/ แทนเสียง น ณ
นุ่ง [nu6]
 น. นุ่ง.
  นุ่งถุ้ง สำ. ยากจน, อนาถาไม่มีผ้าจะนุ่ง.
นุ้ย [nuy7]
 น. ชื่อตัวตลกหนังตะลุงตัวหนึ่ง หน้าคล้ายวัว อุปนิสัยขี้ขลาด; หนูนุ้ย ก็ใช้.
 สรรพ. ใช้เป็นบุรุษที่หนึ่งและสอง.
 ว.  เล็ก.
นูด [nu:t6]
 น. ไม้เถาชนิดหนึ่ง เปลือกหอม ใช้ทำยาหรือปรุงเครื่องหอม.
เน็ด [nεt7]
 น. เม็ด, เมล็ด.
เนียง [ni:a5]
น. พันธุ์ไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง(Pittecolabium Jirinaga)ในวงศ์ Leguminosae  คล้ายต้นเงาะผล
  กลมกึ่งแบนเนื้อในใช้จิ้มน้ำพริก มีสองชนิดคือ เนียงนกกับ เนียงดาน.

/n/ แทนเสียง ย
 ซึ่งออกเป็นเสียงนาสิก
 ไสว เรืองวิเศษ ( ๒๕๒๐ : ๔๘ ) ได้ศึกษาภาษาตำบลเทพกระษัตรี เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐ พบคำบางคำออกเสียง /n/ เช่น  ยี[ni:y5](ขยี้), เย้[ne:5](เฉ),แหย็ง[n:](แยกเขี้ยว)  แต่ปัจจุบันไม่มีคนออกเสียงในลักษณะนี้
// แทนเสียง ง
ง้อเฮี้ยง [:2hi:a2]
        น.  ผงพะโล้.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
งะ [a:?6]
        ว.  อ้า ถ่าง เช่น นั่งงะขา=นั่งถ่างขา.
งับ [ap7]
        น.  ต้นไมยราบ; หนามงับ หญ้างับ ก็ใช้.
        ก.  ๑. กัด หนีบ เช่น หมางับน่อง, มีดแกะงับมือ.
            ๒. ปิด เช่น งับตู=ปิดประตู; ยับ หับ หิบ ก็ใช้.  

/r/ แทนเสียง ร
รน [rn5]
 น.  เรือน, บ้าน; เริน ก็ใช้.
รบ [rp7]
        ก.  ๑. สู้รบ.
  ๒. ทะเลาะ เช่น ฝากแก้วแววตา สองราอย่าร้องรบกัน.{หาเหตุ}.
รวด [ru:at6]
        น.  หนองที่เป็นก้อนแข็งอยู่ในเนื้อ เป็นกับแผลเรื้อรัง.
รอก [r:?6]
        น.  ๑. กระรอก, คำเฉลยปริศนาคำทายที่ว่า อ้ายดำบ้อหวอ ขุดบ่อ ปลายไม้, สี่ตีนกินน้ำบ่อ
   สูง.
  ๒. กระดึงแขวนคอวัวหรือควาย.
  ๓. ลูกรอก.
/l/ แทนเสียง ล
ล้องจู้ [l:2cu:4]
        น.  ผู้จัดการ  หลงจู๊; หลอจู้ ก็ใช้.  (คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
ล้อบะ [l:2ba?7]
 น.  หัวหมูเครื่องในหมูพะโล้และจิ้มด้วยน้ำจิ้มซึ่งทำเฉพาะ.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
ลอยอ้า [l:y5?a:4]
        น.  ทนาย(คำยืมอังกฤษ-Lawyer).
ละ  [la?2]
        น.  ขี้ผึ้ง.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
ละไม [la7may5]
        น.  ผลไม้ชนิดหนึ่ง ผลคล้ายมะไฟเปลือกหนากว่า ก้นผลแหลม.

/w/ แทนเสียง ว
วดวด [wt7 wt7]
 ว. อ่อน, อ่อนปวกเปียก, ยืด เช่น น้ำลายวดวด=น้ำลายยืดเปียก.
วันทูโส้ม [wan5thu:5so:m1]
 ก.  กระทำให้แบ่งเป็นฝ่ายด้วยการทำมือเป็นสัญลักษณ์เปรียบเทียบกัน
   ในการตกลงก่อนการละเล่นของเด็ก. (เทียบอังกฤษ one-two?).
วาแยบ [wa:6yε:p6]
 ก.  พูดกระทบกระเทียบ.

/y/ แทนเสียง ย
ยูหนี [yu:6ni:y1]
        น.  กระสอบป่าน; กูหนี, มูหนี ก็ใช้.
เยาะ [y :?6]
        ก.  โขลก.
เยียะ [yia?6]
        ก.  เรียก.
แยะ [yε:?6]
        ก.  กระแทกลง เช่น ทางเป็นหลุมเป็นบ่อรถแยะเจ็บพุงแหละ.
ใย [yay5]
        ก.  ล้อเลียน.

พยัญชนะประสม
/pr/ แทนเสียง ปร
ปรอย [pr))y3]
 ว. ตกแต่เพียงเบา ๆ ใช้กับฝน; โปรย ก็ใช้.
ปริบ [prip3]
 ก. ขยิบตา.
ปรีด [priit4] 
 ว. แรง.

/pl/ แทนเสียง ปล
ปละ [pla?4]
 น. ข้าง, ฝ่าย; ประ ก็ใช้.
ปละตีน [plaa?tiin3]
 น. ปลายตีน, ทิศเหนือ.
ปลาถ้าม [plaa3thaam2]
 น. ปลากระป๋อง.

/phr/ แทนเสียง พร
ผรั่ง [phrag1]
 น. ฝรั่ง(คน).
 สำ. ขนาดใหญ่ เช่น เท่าผรั่งกะหมืง=ขนาดใหญ่เท่าชาวยุโรปกระมัง.
ผรา [phraa1]
 น. ส่วนหนึ่งของฝาบ้านที่สร้างไว้เก็บของ; ผลา ก็ใช้.
/phl/ แทนเสียง พล
ผลก [phl)k1]
 ว. ๑. พอดี.
  ๒. เสียงดังเช่นนั้น.
ผละ [phla?1]
 น. แผ่นเนื้อที่ขึ้นเป็นมัด ๆ เพราะความสมบูรณ์.
 ก.  ละทิ้ง.
 ว.  มาก, ยิ่ง.
ผลามผลาม [phlaam1phlaam1]
 ว. ลวก ๆ, ผลีผลาม.
ผลุด [phlut1]
 ก. ๑. หลุด, ลุ่ย.
  ๒. พลั้งเผลอ.
 สำ.  ผลุบ ๆ โผล่ ๆ.
  ผลุดผลัด ว. ประเดี๋ยวประด๋าว.
ผลูด [phlu:t2]
 ว. มาก, ยิ่ง, ทันทีทันใด; ผรูด ก็ใช้.

/br/ แทนเสียง บร
 ไม่ปรากฏเสียงนี้.

/bhr/ แทนเสียง บร ซึ่ง บ เป็นเสียงธนิต
 ควบกล้ำด้วย ร ไม่ปรากฏเสียงนี้.

/tr/ แทนเสียง ตร
ขี้เตรย [khii2tr))y3]
        น.  หญ้าเจ้าชู้; หญ้าเกรย, หญ้าเตรย ก็ใช้.
ตรุด [trut3]
        ก.  ผูกเบ็ดด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ด. 

/kr/ แทนเสียง กร
หญ้าเกรย [yaa2-kr))y3]
 น. หญ้าเจ้าชู้; ขี้เตรย หญ้าเตรย ก็ใช้.
หย้องเกราะ [y))ŋ2-kr)?3]
 น.  ชื่อตัวตลกของหลังตะลุง นุ่งใบไม้. 

/kl/ แทนเสียง กล
เกลือเคย [kliia3-kh))y5]
        น.  น้ำปลาหวานใส่กะปิ.

/kw/ แทนเสียง กว
กว้าน [kwaan4]
        ก.  คว้าน.
        น.  บ้านที่ไม่มีใต้ถุน.
กวำ [kwam3]
        ว. โดนเต็มที่  อย่างจัง.
เกว้ [kwe:4]
        ก.  เหวี่ยง  เลื่อนของหนักโดยใช้วิธีเหวี่ยง.
        ว.  เห  เฉ  ไปข้าง.

/khr/ แทนเสียง คร
ไขขรวน [khay1-khru:an1]
        น.  ปูเสฉวน.
คราก [khra?6]
        ก.  แยกออก ห่างออก.
ครุนเครง [khrun5-khre:ŋ5]
        ก.  ครื้นเครง เช่น ข้าวของเงินทองใช้ จะหาได้มาครุนเครง.{สัจจา}.
ครึบ [khrip7]
        ว.  ๑. พอเหมาะพอดี.
            ๒. เสียงดังเช่นนั้น.

/khl/ แทนเสียง คล
เคลียว [khliiaw5]
        ก.  บิดพันเป็นเกลียว เช่น เคลียวผ้าเช็ดหน้า.
เคลื่อม [khliiam6]
        ว.  ๑. เป็นมันเลื่อม.
            ๒. เฉื่อยชา เซื่องซึม เช่น นั่งเคลื่อม.
            ๓. จวนจะเสียสติ.
แคล่น [khlε:n7]
 ก. พันแล้วบิด เช่น จับพระยานาคไป แคล่นเข้ากับยอดเขา.{รามเกียรติ์}.
แคละ [khε?6]
        ก.  กระเดียด.
           แคละเตียว ก. อุ้มด้านข้างโดยให้ขาทั้งสองโอบสะเอวไว้;กอดแคละ อุ้มเตียว เดียด ก็ใช้.
ขลิก [khlik1]
        น.  ๑. อวัยวะเพศผู้.
            ๒. สิ่งของที่แกะสลักเป็นรูปอวัยวะ
   เพศผู้ ใช้เป็นเครื่องราง; ไอ้ขลิก หลัดขลิก, ขิก, ไอ้ขิก, หลัดขิก ก็ใช้.
        ว.  เห็นเด่นชัด เช่น ตั้งขลิก=วางโทนโท่.

/khw/ แทนเสียง คว
 ไสว เรืองวิเศษ ( ๒๕๒๐ : ๔๑-๔๒ ) ได้ศึกษาภาษาตำบลเทพกระษัตรี เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐ พบคำบางคำออกเสียง /f/ สับกับ [khw]  คำ ฟ ในภาษากลาง ชาวภูเก็จปัจจุบันออกเป็น คฺว[khw] เช่น
กาฝาก [ka:3-khwa?1] [ka:3-fa?1]
        น. ๑. กาฝาก.
  ๒. คำเฉลยปริศนาคำทายที่ว่า กา ก่ารั่ยแค่ไม่มีรัง.
  ๓. นกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ชอบกินกาฝาก.
แกล็ดฟ้า [klεt3-khwaa7][klεt3-faa7]
        ว.  ลักษณะของผมที่ตัดไม่เรียบ.
หยาวขี้ควาย [ya:w6-khi:2-khwa:y5]
 น.  นกกระเด้าลม.
แคว็ก [khwεk7]
        ก. ควัก เช่น แคว็กดิน แคว็กขี้หมูก.
แคว็ด [khwεt7][fεt7]
        ก.  ๑. คด ไม่ตรง เอียงไปข้างหนึ่ง เช่น ไข่แคว็ด=องคชาติเอียง.
            ๒. ผลิใบ เช่นไม้แคว็ดยอดแล้ว.

/mr/ แทนเสียง มร
ตำหมรวด [tam3-mruuat6]
        น.  ตำรวจ.
หมรวน [mru:an1]
 ก.  แท้ง.
หมราน [mra:n1]
 ว.  เนียงหรือสะตอระยะที่กำลังเป็นแตกหน่ออ่อน. 
หมรุย [mruy1]
 น.  ไม้ยืนต้นพันธุ์หนึ่ง มีสองชนิด ชนิดที่มียอดขมเจือหอมใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก
   ได้เรียกหมรุยหอม ชนิดที่มีรสขมเรียก หมรุยขม; หมุย ก็ใช้.
 ก.  อักเสบ.
 ว.  กรุ่น ๆ.

/ml/ แทนเสียง มล
กำไหมล [kam3mlay1]
        น. กำไล เช่น ทองคำกำไหมล เจ้ายังได้ไว้.{ปลาบู่ทอง}; กำไหมร ก็ใช้.
ตำมลึง [tam3mliŋ5]
        น.  ตำลึง เช่น ตัวหมันไสรจักอับประรา ให้ไถยชตาตำมลึงทอง.{สัจจา}.
พยัญชนะสะกด
/-ŋ/ แทนเสียง -ง
กิ๊ดเล้งเตี๋ยว [kit2le:ŋ2ti:aw6]
        น.  ไอศกรีมเป็นแท่ง; กิดเล่ง, แก็ดเล้งเตี๋ยว, กิ๊ดเล่ง, กิ๊ดเล้งเตี๋ยว.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).

/-n/ แทนเสียง -น
บันซ้าน [ban3sa:n2]
 น. ตลาดสด.(เทียบภาษาเปอร์เชีย-Barza).
บินปู๋น [bin3pu:n6]
 น. กะละมัง; มินปู๋น, ผูน ก็ใช้.

/-m/ แทนเสียง -ม
บอเหรียม [b:4ri:am1]
 น. ชื่อปืนใหญ่ชนิดหนึ่ง.
ส้ำสาม [sam2sa:m1]
        ว.  ไม่คอยเต็มเต็ง, คุ้มดีคุ้มร้าย, ทะลึ่ง.

/-y/ แทนเสียง -ย
ทือ [thiy5]
 น. กะทือ; กระทือ เป็นพืชตระกูลข่า.
ทุย [thuy5]
. กิริยาร้องขอเพื่อยกเลิกที่ตนเอง ทำผิดกติกาในการเล่นของเด็กเพื่อผู้เล่นคนเดิมจะได้
  สิทธิ์เล่นต่อไป.

/-w/ แทนเสียง -ว
เตี่ยว [ti:aw7]
 น. ลุง, ลุงเขย.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
        ก.  แขวนของไว้.
ถิ้ว [thiw2]
        น.  ไม้ระแนง.
 ก.  เก็บค่าต๋ง.

/-k/ แทนเสียง -ก
แซ็กแซ็ก [sεk7sεk7]
        ว.  มาก; แตร็กแตร็ก ก็ใช้.
ดกแด็ก [dk3dεk3]
        ว.  ๑. ไม่จริงจัง.
            ๒. ไม่แข็งแรง; โดกเดก ก็ใช้.
สิก [sik1]
 ก. ๑. ลาสิกขาบท.
  ๒. ละลายน้ำตาลแดงใส่หม้อดินใหม่ ตั้งไฟเคี่ยวจนไหม้ เป็นการเคลือบภายในหม้อก่อนการใช้งาน.

/-t/ แทนเสียง -ต
เชียด [chi:at6]
        ก. เชือด เช่น เชียดคอไก=เชือดคอไก่ ไก่ทองร้องว่า เชียดข้าทำไม
   ไว้เชียดคอไก่ ขันไม่ทันหว่าง.{เพลงเปล:ไก่ขันแจ้ว}.
ซัด [sat7]
        ก.  ขว้าง ปา ทิ้ง; ลิว ก็ใช้.

/-p/ แทนเสียง -ป
จำปิด [cam3pit3]
        น.  พืชตระกูลขนุนชนิดหนึ่ง กลิ่นหอมแรง; จำปา, จำดะ, จำปิด ก็ใช้.
ชับ [chap7]
        ว.  ๑. แข็งแรง ล่ำสัน สันทัด มั่นคง เช่น ทำให้ชับ=ทำให้แข็งแรง; ชับชึก,ชับชวน ก็ใช้.
            ๒. ถนัด คล่อง เช่น ชับซ้าย=ถนัดซ้าย.

/-?/ แทนเสียง -อ
เขลอะ [khl:?2]
        ว.  ๑. เลอะ ยุ่ง ปนกันยุ่ง ทำยุ่งเหยิง.
            ๒. สัปดน.
ครอกแครก [khr:?6khr:?6]
        ก.  คลื่นไส้.

 การใช้สัทสัญลักษณ์ในการออกเสียงสระ  เพื่อแทนเสียงสระเดี่ยว และสระประสม คือ
สระเดี่ยว
/i/ แทนเสียง อิ
ขลิง [khliŋ1]
        น.  หวายชนิดหนึ่ง.

/i:/ แทนเสียง อี
ขี้พร้า [khi:2phra:7]
        น.  ๑. ฟักเขียว.
            ๒. หมูพันธุ์ตัวเล็กชนิดหนึ่ง.
ขี้ไฟ [khi:1khway5]
         น.  เตา.
ขี้มอด [khi:2m:t6]
        น.  ขนมแห้งชนิดหนึ่ง มีมะพร้าว น้ำตาลทราย, ขนมทราย.
ขี้หนอน [khi:2n:n1]
        น.  ๑. กินนร; กินนรี.
            ๒. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง.
            ๓. ผงคล้ายขี้เลื่อย ซึ่งออกมาจากรูที่หนอนกินต้นไม้.
            ๔. ของเค็มที่ขึ้นราหรือมีคราบของหนอน.

/e/ แทนเสียง เอะ
เกะ [ke:?4]
        น.  ๑. ลิ้นชัก.
            ๒. หีบมีลิ้นชักใช้เก็บเงินในร้านค้า.
        ว.  ไม่เป็นระเบียบ.
ก่อเอ็ว [k:7?ew2][k:7?ew3]
        น.  ขี้ผึ้งปิดแผลชนิดหนึ่งแบบจีน, กอเอี๊ยะ.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
เละ  [le?1]
        น.  หมวก.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
หู่เต็ว [hu:7tew3]
 น.  เบ็ดตกปลา.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).

/e:/ แทนเสียง เอ
เผ้ง [phe:ŋ2]
 ว. ตรง, พอดี.
เล้ง [le:ŋ2]
        น.  นม.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
เล้งถาว [le:ŋ2tha:w6]
        น.  หัวนมยาง; เหล่งถาว ก็ใช้.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).

/:/ แทนเสียง แอะ
แบะ [b:?4]
 น. ข้าวโอ๊ตกระป๋อง.
 ก. ๑. แยกออกจากกัน ฉีก.
  ๒. บาน, แตกอ้า.
  ๓. แผ่ราบ.
 ลัก. ใช้กับพลูหนึ่งกำมีสี่แบะ.
เล็ดล่อ [lt7 l 6]
        น. มะม่วง หิมพานต์; กาหยี ก็ใช้.

/:/ แทนเสียง แอ
แท่ง [thε:ŋ6]
        ก.  กระทบ, ปะทะ; ทบ ก็ใช้.
แป้ว [pε:w4]
 ว. แหว่ง, เว้า.
แผ้ง [phε:ŋ 2]
 ก. ส่องไฟ ใช้กับไฟฉาย.
 ว.  จ้า, แรง, จัด.

/i/ แทนเสียง อึ
ตรึก [trik3]
        ว.  ๑. มาก เหลือล้น.
  ๒. ตรึกตรอง.
ทึก [thik7]
        ก.  กระชาก, ดึง, ทึ้ง; ทก ก็ใช้.
  ทึกดังปึด สำ. ขี้เหนียว.
 ว.  เสียงดังเช่นนั้น.

/i:/ แทนเสียง อื
ซื้ง [si: ŋ2]
        น.  น้ำแข็ง.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
ซื้งปั่ว [si:ŋ1pu:a6][si:n2pu:a7]
        น.  ลูกคิด. (คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
// แทนเสียง เออะ
เริน [rn5]
        น.  บ้านเรือน; รน ก็ใช้.
  เรินงาน น. เรือนหอ.

/:/ แทนเสียง เออ
เมล่อ [ml6]
        ก.  ทะลึ่ง, เสือก, ทะเล้น, ไม่ได้เรื่องได้ราว,ไม่เข้าท่า; เมร่อ ก็ใช้.
เมลิน [mln5]
        ก.  ลืมตา.

/a/ แทนเสียง อะ
ตำมรับ [tam3mrap7]
        น.  ตำรา เช่น อาภัพเท่าวันตาย ตำมรับทาย อย่าหมายคิด.{รามเกียรติ์}.
ตำมรา [tam3mra:5]
        น.  ตำรา เช่น ตำมราห้ามไว้ ดังที่กล่าวมา.{จันทโครบ}.

/a:/ แทนเสียง อา
ต้า [ta:4]
        ว.  ซิ เถอะ เช่น ไปต้า=ไปเถอะ, นอนต้า=นอนซิ.
ตาล่อ [ta:3l 6]
        ก.  อยากได้, ละโมภ.
ต้าห่าน [ta:4ha:n7][ta:7ha:n7]*ถลาง.
        ก.  โบกให้รถหยุด.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).

/u/ แทนเสียง อุ
ดันพุง [dan3phuŋ5]
        ก.  ท้องขึ้น อืดท้อง.
ดับสุ้ย [dap3suy1]
           ก.  ตาย.

/u:/ แทนเสียง อู
ตัวปุ๋ย [tu:a3puy6]
        น.  คนลงพุง พุงพลุ้ย คนอ้วน.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
ตัวโพ้ [tu:a3pho:2]
        น.  ตลาดใหญ่.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).

/o:/ แทนเสียง โอ
โปะโนรา [po:?4no:5ra:5]
 น. ปลาโนรา.

// แทนเสียง เอาะ
ชก [chk7]
        น.  ๑. ชอล์ค.
            ๒. ปาล์มชนิดหนึ่ง ใบคล้ายมะพร้าว ท้องใบขาว  ผลเท่าหมากย่อม ช่อผลคล้ายเต่าร้าง 
   ก้านช่อดอกสีดำน้ำตาล ขึ้นตามป่าเขาที่เป็นหินปูน ช่อดอกปาดให้น้ำตาลไหลออก
   ใช้เป็นน้ำตาล รกชกใช้ทำเสื้อฝนชาวเหมืองแร่และใช้ทำแปรงถูพื้น; เหนา ก็ใช้.
        ก.  ต่อยมวย, ชก.
ชง [chŋ5]
        ก.  ๑. งง.
            ๒. ตกประหม่า.

/:/ แทนเสียง ออ
เกาะ [k:?4]
        น.  ๑. เกาะ.
            ๒. พุ่มไม้หรือเนินสูงในที่ราบ.
        ก.  ๑. ยึดเป็นตัวประกัน.
            ๒. จับ  กุม  ยึด  ถือ  เหนี่ยวรั้ง เช่น พญาธรรมไตรโลกให้เกาะเอาตัวตูข้า
   ลงไปไว้ ณ ปากพระ.{จดหมายเหตุเมืองถลาง}.
            ๓. การดูดหนองออกจากร่างกายหรือดูดนม ออกจากเต้านมโดยวิธีสุญญากาศ.
ฉอก [ch:?2]
        ก.  ๑. ถอก.
            ๒. กระฉอก.
        ว.  เถิก เว้า เช่น หัวฉอก; ถอก ก็ใช้.
ฉอดแฉด [ch:t2chε:t2]
        ว.  ช่างพูด (มักใช้กับเด็ก).
ฉ่อ [ch:7]
        น.  ๑. น้ำส้ม.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
  ๒. เครื่องปรุงประเภทน้ำจิ้ม.
ฉ้อ [ch:2]
        น.  หก(ลำดับที่, จำนวน) เช่น ฉ้อทาน=ฉทาน,ฉ้อกษัตริย์= ฉกษัตริย์.
        ก.  ๑. ฉ้อโกง.
            ๒. ยกขึ้น ชักขึ้น ชักรอก ใช้ข้อสับแล้วดึง.
ฉ็อง [ch:ŋ1]
        น.  ๑. แมลงชนิดหนึ่งมีกลิ่นฉุน.
            ๒. โพรงในดินสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์บางชนิด มีเม่น เป็นต้น.
        ก.  ๑. แพ้ตบะ.
            ๒. สับสน งง.
        ว.  กลิ่นรุนแรง ฉุน เช่น เหม็นฉ็องเยี่ยว=เหม็นกลิ่นปัสสาวะ.
ฉ่อจั้ว [ch:7cu:a4]
        น.  กระดาษทราย กระดาษฟาง.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
พอน [ph:n5]
 น.  ส่วนหนึ่งของปีกไม้บริเวณโคนลำต้น.

สระประสม
/ia/ แทนเสียง เอียะ
เหลียะ [lia?1]
 น.  ๑. เครื่องมือดักปลา.
  ๒. กระแต.
  ๓. เชือกสนตะพาย; เหลียก ก็ใช้.
 ก.  ปาดปลายไม้.

/i:a/ แทนเสียง เอีย
เปรียม [pri:am3]
 ก. เตรียม เช่น ท้าวทศรถก็สั่งเสนาให้เปรียมโยธาม้ารถเสร็จ.{รามเกียรติ์}.
โปะเปี้ย [po?7pi:a1][po?3pi:a1]
 น.  อาหารจีนชนิดหนึ่งเอาแป้งสาลีทำเป็นแผ่นบาง ๆ ห่อถั่วงอก เต้าหู้ มันแกว ปู มีน้ำจิ้มข้น
   รสหวานไว้จิ้มเวลารับประทาน, ปอเปี๊ยะ.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).

/ia/ แทนเสียง  เอือะ
เมลือก [mlia?6]
        น.  น้ำเมือก.
 ก.  ค้อนควัก; เหลือก ก็ใช้.
เมอ [m5]
        ก.  ละเมอ.
เมี่ง [mŋ7]
        ก.  มึน งง.

/i:a/ แทนเสียง เอือ
เหลือก [li:a?1]
 น.  ตัวเหลือบ; เหลือะ ก็ใช้.
 ก.  ๑. เหลือกตา.
  ๒. ค้อน.
เปลือน [pli:an3]
 ก. ๑. สับเปลี่ยน, แลก.
  ๒. เปลี่ยนแปลง.
  ๓. เปลี่ยน.

/ua/ แทนเสียง อัวะ
ปรัวะ [prua?4]
 ว. ๑. คล่อง, เร็ว, พูดคล่อง.
  ๒. เสียงดังเช่นนั้น.
ปัวะต้าว [pua?3ta:w1]
 น. ถัง หรือภาชนะตักน้ำ; เป๊ะต้าว ก็ใช้.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
ปัวะโป้ย [pua?3po:y4]
 น. การถามหมายเลขที่เสี่ยงเซียมซีได้ว่าใช่หรือไม่ใช่ ๆ โดยใช้อุปกรณ์ที่ทำจากไม้ ๒
   อันมีลักษณะกลมรีเหมือนรูปไต ยกขึ้นประกบกันแล้วอธิษฐานว่าถ้าใช่ก็ให้ขึ้นคว่ำ
   อันหงายอัน เสร็จแล้วก็ปล่อยไม้หรือโยนไม้ที่ประกบอยู่ลงกับพื้น.(คำยืมจีน
   ฮกเกี้ยน).

/u:a/ แทนเสียง อัว
ตั๊วห่า [tu:a2ha:7]
        น.  ลูกหลานและญาติพี่น้องไว้ทุกข์ให้กับผู้ตาย.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
ดัว,ดั่ว [du:a3],[du:a7]
        น.  ครั้งที่ ๓ในแต่ละท่าของการเล่นอาหว้าย.
ซื้งอ๋วน [si:ŋ2?u:an6]
        น.  น้ำแข็งไสปั้นเป็นก้อนกลม ๆ แล้วราดด้วยน้ำเชื่อม.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
หน่วยเสียงวรรณยุกต์
/1/ แทนเสียงสูง-ขึ้น-ตก[453] และสูง-ขึ้น[45] และกำหนดให้แทนเสียงตรี
ผง [phŋ1]
 น. ๑. สิ่งละเอียด, ละออง.
  ๒. ยาเสน่ห์.
 ว.  ป่น, แหลก
 สำ.  ยับเยิน, เสียหาย, ชำรุด ไม่เป็นระเบียบ  เช่น โรงพิทธีก็ผงพังทำมลายไปด้วยฤทธิ์
    {รามเกียรติ์}.; ผงผาย ก็ใช้.

/2/ แทนเสียงสูงระดับ(ตกตอนท้าย) [44] และกำหนดให้แทนเสียงโท
ช้าย [cha:y2]
        ก.  บอกใบ้ เช่น ช้ายเบอร์ คือ บอกใบ้หวย.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
ถ้อ [th2]
        ก.  ประชันเสียงกัน ประสานเสียงกัน เช่น เช้า ๆ ไก่มันขันถ้อกันเทือน.

/3/ แทนเสียงกลาง-ขึ้น-ตก[343] และ กลาง-ขึ้น[34]
บุก [buk3]
 น. ๑. พืชจำพวกบอน ขึ้นอยู่ตามป่ายางเป็นพิษมีหลายชนิด เช่น บุกคัน,บุกเกลียง,
   บุกคางคก, บุกงูเหลือม.
  ๒. นกชนิดหนึ่ง ตัวเท่านกหัวขวาน.
  ๓. งูกะปะชนิดหนึ่ง; ปากบุก ก็ใช้.
 สำ.  เรียกคนปากคัน ว่า “ปากบุก”.
บุบ [bup3]
 ว. ยุบ.
/4/ แทนเสียงกลาง-ระดับ[33]
บุ้ง [buŋ4]
 น. เครื่องมือไว้ใช้ขัดถูตกแต่ง ทำด้วย หนังปลากระเบนหรือเหล็ก.
บูด [bu:t4]
 ก. รสเสีย, บูดเน่า.
 ว.  บึ้งตึง.
ปิ้ง [piŋ4]
 น. จะปิ้ง.
 ก.  ปิ้ง.
ปิ้นตั้ง [pin4ta4]
 น. เครื่องประดับของสตรีใช้แขวนกับสร้อยคอ มีลักษณะคล้ายจี้เป็นรูปดาว อาจมี
   เหรียญ(กิ่มตู้น)อยู่กลางจี้.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).

/5/ แทนเสียงต่ำ-ขึ้น-ตก[232]
โน [no:5]
        ว.  นูน, ปูดโปน.
โนรา [no:5ra:5]
        น.  การละเล่นพื้นเมืองภาคใต้ชนิดหนึ่ง มีการรำและขับร้องเป็นบทกลอน.
ในไฟ [nay5khway5]
        น.  ครัว; ขี้ไฟ ก็ใช้.

/6/ แทนเสียงต่ำ-ขึ้น[24]  และกำหนดให้แทนเสียงจัตวา
พะ [pha:?6]
 ก.  ๑. ท่วม, น้ำท่วมว่า “น้ำพะ”.
  ๒. ปะทะ, ชน.
  ๓. พบ.
 สำ. พึ่งพิงคนอื่น.

/7/ แทนเสียง ต่ำ-ตก[21] และกำหนดให้แทนเสียงเอก
ช้าย [cha:y7]
        ว.  บ่าย เช่น หวันช้าย=ตะวันบ่าย,
    ครั้นเวลาตะวันช้าย ก็ออกหัดแผลงศร.{รามเกียรติ์}.
ต่าวหู่ [ta:w7hu:7]
        น.  เต้าหู้ขาว.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
ต่าวสี่ [ta:w7si:7]
        น.  ถั่วดำดองใช้ปรุงอาหาร.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
ปิ่นตั่ว [pin7tu:a7]
 ว. ขี้เกียจ เกียจคร้าน.(คำยืมจีนฮกเกี้ยน).
มัด [mat7]
        ลัก.  จำนวนใบจากจำนวน ๒๕ พง.
 ก.  มัด, จับกุม.
ยุบยุบ [yup7yup7]
        ว.  ยั้วเยี้ย, มากมาย.
โย้เย้ [yo:7ye:7]
        ว.  ๑. เอียง, โย้.
  ๒. โอ้เอ้.

 

หมายเหตุ

สัญลักษณ์หลายเสียงใน [  ] ไม่ปรากฏตามที่พิมพ์  โปรดใช้อ้างอิงด้วยความระมัดระวัง

 

***

หมายเหตุภูเก็จ

สารานุกรม มทศ.

พจนสารอันดามัน

พจนานุกรมภาษาถิ่นภูเก็จ

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( จันทร์, 03 ตุลาคม 2011 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้874
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1309
mod_vvisit_counterทั้งหมด10730482