Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
พระโพธิ์แก้ว : เสน่ห์ วงษ์กำแหง PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
จันทร์, 02 พฤษภาคม 2011

พระพุทธเมตตา  बोधगया Gaya Bihar

พระโพธิ์แก้ว

ดนตรีบรรเลงพระโพธิ์แก้ว

ภูเก็จแก้วแสวงบุญ  ๕ - ๑๖ เมษายน ๒๕๕๔  INDIA-NEPAL

 

๑.                                                                          เป็นบุญญามาพบพระโพธิ์แก้ว     

วิมุติธรรมปรมัตถ์พระตรัสแล้ว                  ศาสน์ผ่องแผ้วนำชนพ้นทุกข์ภัย

๒. โพธิ์กำเนิดปัญญามหาบุรุษ                 กำเนิดพุทธพ้นเหตุกิเลสใหญ่
บัวสี่เหล่ารูปนามชี้ความนัย                      โพธิ์แห่งชัยถ่องทิพย์ถิ่นนิพพาน
                                                            ภาพใต้ร่มโพธิพุทธคยา
๓. ไปอินเดียทำบุญเพิ่มทุนจิต                  ทุนชีวิตคำเก่าเขาเล่าขาน
พุทธประวัตินิมิตจิตวิญญาณ                   คือสถานพุทธองค์ทรงพากเพียร


ฝากรูป


๔. คือแหล่งหนึ่งสังเวชนียสถาน

ล่วงเลยกาลผ่านไปไม่ผันเปลี่ยน

คือโพธิคุณค่ากล้ารู้เรียน                

ลักถ่องเทียนพิสุทธิ์พุทธคยา   

๕. วัดไทยพุทธคยาค่าสูงส่ง

ได้กลับฟื้นคืนคงพระศาสนา

ฟื้นพระพุทธพระธรรมนำศรัทธา

พุทธกาลเพลาล่วงมาไกล                                                                    เสน่ห์  วงษ์กำแหง : ประพันธ์

 

๖. ฟื้นพระสงฆ์ยืนยงให้คงอยู่                   ได้เป็นผู้สืบศาสน์กาลสมัย

อุโบสถจัตุรมุขแบบทรงไทย                       ชาวชนได้มีที่ปฏิบัติธรรม

                           

๗. เป็นมนุษย์ดีสุดพบพุทธะ                     สรณะยินเสียงเพียงมนต์ร่ำ
อิติปิโสสรรเสริญอัญเชิญคำ                     พลบต่อค่ำกราบก้มบรมโพธิ์


๘. พระตรัสแล้วธรรมนั้นคงสัจจะ              ทุกขณะตระหนักจิตอักโข
สมาธิภวนาพระพุทโธ                              ตั้งนะโมนรฦกตรึกจิตใน 

๙. กว่าสองพันปีล่วงห่วงโพธิ์ร่ม                ฝนแดดลมทุกข์รานผ่านมาได้
มาจากเหตุเอกอุสมุทัย                             กองตัณหายิ่งใหญ่ให้รู้ทัน

๑๐. ทางเดินมีทางนี้อริยมรรค                   คือแก่นหลักตรัสรู้อยู่ที่นั่น
พุทธคยาโพธิ์ใหญ่ร่มใบบรรณ                   นิโรธพลันภูมิภพสงบแดน
 

ฝากรูป 

ยอดพระเจดีย์พุทธคยา ผ่านพระศรีมหาโพธิรัตนวัชรบัลลังก์  Gaya Bihar India

 

๑๑. นาลันทาแลถิ่นแผ่นดินเก่า                 แผ่นดินเศร้าดาลโศกวิโยคแสน

ต่างศาสน์รุกศึกรุมเข้ากุมแทน                   เหิมหยามแคลนยุทธคลั่งยังทำลาย 

๑๒. เหลือแต่ซากตรากโทรมระทมทรุด       แทบสิ้นพุทธสุดเพรียกเพียงความหมาย

สองพันปีอนิจจังยังเสียดาย                      แปลงเรื่องคลายร้ายพบสงบเย็น 

                                                ภาพมหาวิทยาลันาลันทาหลือจากถูกเผา

๑๓. เราเดินทางกายใจใฝ่ศึกษา                ด้วยพลังศรัทธามาพบเห็น

ถึงตำบลพุทธองค์ทรงบำเพ็ญ                   เคารพเป็นถิ่นธรรมที่สำคัญ
                                                            ยอดเขาคิชฌกูฏ ราชคฤห์
๑๔. เวสาลีสังเวชนียสถาน                       เป็นทางผ่านก่อนพระองค์ทรงดับขันธ์
ทรงพิจารณาสังขารไม่นานวัน                   มุ่งเมืองนั้นไปสู่กุสินารา
                                                            ภาพสถานปลงพระชนมายุสังขาร
๑๕. คงสถูปเจดีย์มีลานกว้าง                    รอบเวิ้งว้างว่างเว้นให้เห็นค่า

สังขารเอยไม่เที่ยงธรรมดา                        อนิจจาอนิจจังละวางไว้ 

                                                ภาพวัดป่มหาวัน เวสาลี

๑๖. พุทธประวัติดำรงอยู่หน้า                   ประจักษ์ตาทอดช่วงล่วงสมัย
อธิษฐานตรึกธรรมสัมผัสใจ                      ปีติได้สมสั่งทุกครั้งครัน

 

๑๗. คือเรื่องราวสืบสานขานบอกโลก         เสาอโศกน้อมนึกจารึกนั่น
เป็นภาษาสารสู่รู้เรียนกัน                          ล่วงคืนวันค่าล้ำคำบรรยาย
 

๑๘. อนุสรณ์เจดีย์ใหญ่ในทุ่งท่าม              เกศะปุตตะคามมีความหมาย
กาลามสูตรน้อมนำธรรมเบื้องปลาย           ย่านสุดท้ายมุ่งสู่กุสินารา

ฝากรูป  
                                                            ภาพสถานกำเนิดกาลามสูตร  ณ เกสรียา
๑๙. ทอดพระพักตร์ผันดั่งช้างเหลียวหลัง    ชาวบ้านยังร่ำไห้อาลัยหา
ใกล้นิพพานเนื่องนับไม่กลับมา                  เกสรียานามหนึ่งพึงจดจำ
 

๒๐. ณ  แดนนั้นถิ่นนี้ถึงที่สุด                    วันที่หยุดหัวใจโลกไห้ร่ำ
พระนิพพานแทนองค์คงพระธรรม             น้อมนบนำวิสุทธิ์พุทธคุณ

๒๑. มากราบไหว้สังเวชนียะ -                    สถานละกิเลสเหตุโลกย์กรุ่น
มุ่งนิพพานจำเริญเดินทางบุญ                   ละโลกวุ่นไว้ที่กุสินารา
 

๒๒. ตรงแดดบ่ายใต้ฟ้าสาละคู่                 พระนิพพานคงอยู่พระศาสนา
ดับขันธ์กายคงนามศาสดา                       เกริกไกรกล้าสัจจะชนะมาร

ฝากรูป 

                                                            พระบรมศพพระสัมมา กุสิารา
                                                            สถานถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า
๒๓. คงพระธาตุสถูปรูปเคารพ                  คงคำสอนคนนบจบแคว้นย่าน
ธรรมนิมิตชีวิตจิตวิญญาณ                       ธรรมเพรงกาลประจักษ์เป็นหลักแกน


๒๔. ลุมพินีแดนธรรมแม่กำเนิด                บุรุษเลิศยังโลกล้างโศกแสน
สิทธัตถะนามสู่คู่ดินแดน                          ชมพูแคว้นประทีปทวีปไกล

๒๕. เป็นพลังประเสริฐพิสูจน์พิสุทธิ์           พลังพุทธโลกยังครั้งยิ่งใหญ่
บัวเจ็ดก้าวพลังแจ้งกลางใจ                      พลังในภพภูมิลุมพินี

๒๖. ตรงชายแดนผันผ่อนก่อนเคลื่อนข้าม  ไทยมีความศรัทธามาถึงที่
วัดสงฆ์ไทยท่านสร้างบารมี                       มิตรไมตรีรับรองพ้องแบบไทย

๒๗. หกเก้าศูนย์จุดพักสำนักวัด                 อาหารจัดพร้อมสรรพสำรับให้
อนามัยห้องน้ำจำเริญใจ                           สะดวกไปแดนทั้งสิ้นถิ่นเนปาล
 

                                                            ภาพวัดไทยนวราช ๙๖๐

๒๘. มุ่งหน้าสู่มรรคาพาราณสี                  หนึ่งคืนที่เชตวันนั้นทางผ่าน

อนาถบิณฑิกเศรษฐีมีบุญทาน                   ประวัติองคุลิมาลสะท้านใจ 

ฝากรูป 

                                                             ภาพคฤหาสน์อนาถบิณฑิกเศรษฐี

                                                            ภาพโยคีชีพราหมณ์พาราณสี

๒๙. ล้านล้านหยาดวารีรี่เลาะผา               เป็นมหาคงคามาล่องไหล

จากหมู่เทพหิมพานต์สถานไกล                 หัตถ์เชื่อมให้ชีวินต่อวิญญาณ 

                                                ภาพฝั่คงคาหานัทธี

๓๐. ไปสู่ฟ้าสวรรค์อมตะภพ                     ฟืนไฟศพสืบส่งวัฏสงสาร

สี่พันปีไฟเริงเพลงเพลิงกาล                      ปลุกพาราณสีมีพลัง 

ฝากรูป 

ลอยกระทงคงคาพาราณสีนำด้วยจิตไมตรีพระมหาลาโภ   (คู่ธรรมบุญร่วมลอยกระทง)

๓๑. ในข้อเขียนจดจำเฝ้ารำลึก                  พุทธคุณตรองตรึกน้อมนึกนั่ง
ดั่งดอกบัวน้ำปริ่มริมใบบัง                        บุญทานทั้งปฎิบัติถือสัตย์จริง (รับรสศิลปธรรม คลิ้กที่นี่)

ฝากรูป  

 ขบวนรถม้าแกลบ ชวนกันไปไหว้พระองค์ดำ มหาวิทยาลัยนาลันทา Rajgir Bihar

๓๒. เหลียวดูชนชาวพุทธสุดเฉลี่ย             ในอินเดียถึงกับนับน้อยยิ่ง
มีวัดไทยเป็นหลักแหล่งพักพิง                   พร้อมกับสิ่งอำนวยอยู่ด้วยดี


๓๓. อินเดียนั้นมีชั้นและวรรณะ                เหมือนรัฐจะดูดายคล้ายใช่ที่
คนขอทานมากกลุ้มรุมมากมี                     คอยท่วงทีพอเพียงเลี่ยงสบตา

๓๔. เรื่องอาหารกินอยู่รู้ข้อเว้น                   เรื่องน้ำเย็นจำไว้ไม่เรียกหา
พกน้ำร้อนกระติกกติกา                            เผื่อไว้ว่ารู้รอดปลอดโรคภัย

๓๕. แมลงวันมันเยอะเขลอะเข้ากลุ้ม         มันตอมรุมอาหารจานรุกไล่
กินข้าววัดเรียกหาอาหารไทย                     ร้อนเข้าไว้มั่นเหมาะไม่เสาะท้อง

๓๖. กลัวพลาดพลั้งเตรียมยาพวกฆ่าเชื้อ    อีกผงเกลือแร่ไว้หยิบใช้คล่อง
แผ่นทิชชู่ชนิดเปียกเรียกคิดลอง                 หากจำต้องพึ่งคงตรงข้างทาง

๓๗. เขาไม่ถือแบบไทยเรียกไปทุ่ง               ตามปั๊มมุ่งเกินกะระยะห่าง
ความจำเป็นเสียท่าต้องหน้าบาง                หญิงลงข้างขวาชายซ้ายย้ายยก
 

๓๘. มีร่มหรือผ้าถุงกันยุ่งยาก                    บางทีหากต้องใช้ใช่วิตก
ภูมิประเทศทางไกลไร้ป่ารก                       ไว้ปิดปกบังตาคราทนทุกข์

๓๙. ชนอินเดียชาวบ้านคร้านเห็นพบ          เขาไม่หลบแลไปใช่เข็ญขุก
ลิบทุ่งข้าวสาลีมีรวงชุก                             ตื่นตาปลุกทุ่งถัดทัศน์ชัดนัก

๔๐. อนามัยแบบไทยอยู่ในวัด                   ห้องแยกจัดหญิงชายได้ประจักษ์
น้ำท่าคล่องเสื่อหมอนเข้าผ่อนพัก              ได้เป็นหลักคนไทยวัดใกล้ชิด

๔๑. ผ้าป่าบังสุกุลทุนทรัพย์                      ปัจจัยนับศรัทธาคราเกลาจิต
โมทนาสาธุน้อมอุทิศ                               แด่ชีวิตบรรพ์ปวงที่ล่วงลับ
 

๔๒. ภารกิจนักกลอนตอนขึ้นรถ                 ถูกกำหนดให้เขียนเพียรลำดับ
อ่านให้ญาติโยมฟังแกมบังคับ                   สลับกับพระบรรยายหลายอรรถรส

๔๓. อินเดียสิบสองวันหมั่นคิดฝึก              น้อมใจลึกสวดมนต์ตนกำหนด
ด้วยปัญญาศรัทธาสัจจพจน์                     ธรรมทุกบทงามง่ายแยบคายนัก

 

๔๔. คือลำนำทำนองธรรมท่องเที่ยว           ลัดเลาะเลี้ยวตะลอนกลอนตระหนัก

คือแบบบทเขียนไว้ด้วยใจรัก                      หลายวันวรรคขัดติดต้องคิดนึก

 

๔๕. เป็นห่วงแต่อ่านไปไม่สนุก                   หลายบทฉุกแก้เปลี่ยนเพียรตรองตรึก                  

เครื่องคอมแห้งแฮงค์งานไม่หาญฮึก           จนดื่นดึกตัดต่อพอได้นับ

 

๔๖. อาจเป็นกลอนเนื้อหามุ่งสาระ              เชิงธรรมะถูกถ้วนล้วนสรรศัพท์ 

ข้อเท็จจริงทำนองมารองรับ                        แบบฉบับเพลงยาวเล่าลัดเลาะ

 

๔๗. ความยาวกลอนต่อกลอนยังอ่อนหัด    เคยถนัดกำหนดสองบทเหมาะ           

ใครอ่านดูมั่นหมายให้ไพเราะ                    ไม่พร้องเพราะไฉนใช่เรื่องรัก

 

๔๘. ทำนองกลอนท้ายหากจักสั้นกุด          ถ้ารีบรุดอ่านจะตะกุกตะกัก 

ใช่ทดสอบนิ่งนึกให้ทึกทัก                         ยังตระหนักใดพร่องลองแก้เคล็ด

 

๔๙. โอ้ว่าดึกแล้วหนอก็ว่าดึก                    คนคิดนึกกวีศรีภูเก็จ   

พร่ำร้อยเรียงคิดค้นกลเม็ด                        ใกล้เบ็ดเสร็จเพลงยาวเท่าทวนทบ

 

๕๐. เขียนฝากไว้สาราห้าสิบบท                 กลอนเกลาจดเติมแต่งแจ้งบทจบ                            

บุญอินเดียทางไกลได้ไปพบ                      น้อมเคารพพระพุทธวิสุทธิ์เอย 

              

...............................................................................................

                                                                 อ.เสน่ห์   วงษ์กำแหง

                                                                  ๒๘  เมษายน ๒๕๕๔

ภาพในสารนาถ เมืองพาราณสี

ภาพธัมเมกขสถูป สารนาถ เมืองพาราณสี

ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  สารนาถ เมืองพาราณสี

 

ฝากรูป  

ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์  และ กวีเสน่ห์ วงษ์กำแหง

ช่างภาพกิตติมศักดิ์  ของคณะภูเก็จแก้ว

ลงทุนกันขนาดนี้นะขอรับ จึงมีภาพงาม ๆ มาอวดกัน 

 

***

หมายเหตุภูเก็จ

สารานุกรม มทศ.

วัฒนธรรม 2 วัฒน์   วรรณกรรม แถว1
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พฤหัสบดี, 19 พฤษภาคม 2011 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1926
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1874
mod_vvisit_counterทั้งหมด10696212