Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
รนท้าวเทพกระษัตรี PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
เสาร์, 26 กุมภาพันธ์ 2011

ฝากรูป 

รนท้าวเทพกระษัตรี

Thep Krasattri House

 

ภาพบริเวณรนท้าวเทพกระษัตรี

เกาะบ้านเคียน ในเขตเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี

อ.ถลาง จ.ภูเก็ต

 
ท้าวเทพกระษัตรี  (ท่านผู้หญิงจัน)
พญาถลางเทียน  (พญาเพชรคีรีศรีพิไชยสงครามรามคำแหง) เมืองภูเก็จ พญาทุกรราชเทียน (จดหมายพญาเทียน)
 

รนจำลองของท่านย่าจัน(ท้าวเทพกระษัตรี)

สาระ : -

บ้านท้าวเทพกระษัตรี

ภาพบริเวณรนท้าวเทพกระษัตรี

ฝากรูป   

ท้าวเทพกระษัตรีถือกำเนิดเป็นบุตรีคนโตในครอบครัวท่านจอมร้างบ้านเคียน ผู้เป็นเจ้าเมืองถลางประมาณปลายกรุงศรีอยุธยา  พระยาพิมลอัยาขันผู้เป็นสามีได้เป็นเจ้าเมืองถลางในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งเมืองอยู่ที่เกาะบ้านเคียน

 

การค้นหาตำแหน่งบ้านเรือนท้าวเทพกระษัตรี
 ๑. จดหมายเหตุเมืองถลางได้ระบุไว้ว่า     "ครั้นพม่ายกมาตีปากพระได้  กลับแล่นหนีมา ณ บ้าน แลคนซึ่งให้รักษาบ้านเรือนอยู่นั้นแล่นทุ่มบ้านเรือนเสีย  ข้าวของทั้งปวงเป็นอันตราย มีคนเก็บริบเอาไปสิ้น" (ประสิทธิ  ชิณการณ์และสมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ๒๕๒๕:๑๓) เป็นข้อความในจดหมายของท่านผู้หญิงจันมีไปถึงพระยาราชกปิตันที่เมืองปีนัง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๙ (หลังเสร็จศึกถลาง พ.ศ.๒๓๒๘ แล้ว) เหตุการณ์ในช่วงที่ท่านผู้หญิงจันกลับคืนมาถึงบ้านในครั้งนั้น  ท่านผู้หญิงจันเล่าว่าผู้คนหนีภัยพม่าไปเกือบสิ้น  ท่านผู้หญิงจันจึงได้รวบรวมผู้คนมาเสริมค่าย ณ บ้านตะเคียนไว้ต้านศึกพม่า (นรภัยพิจารณ์,ขุน ๒๕๑๐:๑๑๖) ความสอดคล้องต้องกันดังนี้ ตำแหน่งที่บ้านท้าวเทพกระษัตรีจึงควรอยู่ที่บ้านตะเคียน (ชาวบ้านเรียกบ้านเคียน)
 ๒. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เสด็จถึงเมืองถลางตอนปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๕๒ ทรงบันทึกไว้ว่า "บ้านท้าวเทพกระษัตรี ยังชี้ได้ อยู่ริมวัดพระนางสร้าง" (มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ ๒๖๐๖:๙๓) ซึ่งนายคล้อย  ทองเจริญ ผู้เคยเห็นเหตุการณ์ในวันนั้น ยืนยันว่าเมื่อก่อนบริเวณวัดพระนางสร้าง มีอาณาเขตกว้างออกไปทางทิศเหนือถึงริมคลองบางใหญ่ (สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์ ๒๕๒๖:๒๔๒) บ้านท้าวเทพกระษัตรีจึงควรอยู่ด้านทิศเหนือของบริเวณวัดพระนางสร้างและควรอยู่ใกล้กับคลองบางใหญ่

 

 ข้อความในแผ่นป้ายบ้านท้าวเทพกระษัตรี  ตามฉบับร่างของนายสมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์  ซึ่งกลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ  มีมติให้ความเห็นชอบแล้ว มีดังนี้


 "หน้ารนแม่หม้า  มีขามคอม้า  มีหว้ากาจับ  มีต้นม่วงคล้า  มีสระหน้ารน  มีคูโดยรอบ  มีขอบค่ายไผ่"  คำเชิญตายายผีถลางที่บ่งบอกบริเวณรนท้าวเทพกระษัตรี (จัน)


 สถานที่นี้ เดิมเป็นจวนของจอมร้างบ้านเคียน  ผู้รั้งเมืองถลางในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  ตกมาเป็นมรดกของบุตรสาวคือท่านผู้หญิงจัน(ท้าวเทพกระษัตรี)   ท่านผู้หญิงจันได้สร้างค่ายไม้ตะเคียนไว้ต้านศึกพม่าจนพม่าแตกพ่ายไปเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๓๒๘


 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๖ เคยเสด็จทอดพระเนตรเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๕๒ (ร.ศ.๑๒๘)

Click at the image to view full size
ฝากรูป

บรรณานุกรม

ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จกรมพระยา  ไทยรบพม่า พิมพ์ครั้งที่ ๕ ศิลปาบรรณาคาร ๒๕๑๔, ๘๐๗ หน้า


นรภัยพิจารณ์,ขุน "ประวัติท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร" อนุสรณ์ท้าวเทพกระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร หน้า ๑๑๖ โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น
๒๕๑๐ 

ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๒ คุรุสภา ๒๕๐๖,๓๓๖ หน้า


ประสิทธิ  ชิณการณ์ และสมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์  จดหมายเหตุเมืองถลาง  ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต ๒๕๒๕, ๒๗ หน้าอัดสำเนา


พระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.๑๒๘  ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ ๒๕๐๖,
๒๙๐ หน้า


ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต แผนที่ (เพิ่มแผนที่และภาพ)บ้านในค่าย หอวัฒนธรรมภูเก็จ ๑ เมษายน ๒๕๑๐, ๑ หน้า


สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์ เสริมรู้เมืองภูเก็จ ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต ๒๕๒๖, ๒๙๐ หน้า

 

 

****

มห.ภูเก็จ

สารานุกรม มทศ.

Thanit Prathip2 Na2 Thalang

ประวัติศาสตร์ 9 ประวัติศาสตร์ 803

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อังคาร, 13 กุมภาพันธ์ 2018 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1176
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1659
mod_vvisit_counterทั้งหมด10720435