Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
วัดม่วงโกมารภัจจ์ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
จันทร์, 31 มกราคม 2011

ฝากรูป   

อนุสาวรีย์ย่าจันย่ามุก

สถานภาพวัดม่วง

วัดม่วงโกมารภัจจ์

บ้านเหรียง เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี ถลาง ภูเก็ต 83110

มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร(มทศ.)บูรณะปฏิสังขรณ์

คำเชิญผีหลาง "หน้ารน(เรือน)แม่หม้า  มีขามคอม้า  มีหว้ากาจับ  มีต้นม่วงคล้า  มีสระหน้าบ้าน  มีคูโดยรอบ  มีขอบค่ายไผ่"  คำเชิญตายายผีถลางที่บ่งบอกบริเวณรนท้าวเทพกระษัตรี (จัน) เกาะบ้านเคียน

เซียมซีวัดม่วงโกมารภัจจ์ บทประพันธ์ เลียบ ชนะศึก

เสียงอัญเชิญไหว้ผีถลาง

ไหว้ผีหลาง ไหว้ผีถลาง เซ่นไหว้ บวงสรวง ไหว้บรรพชนตายายผีถลาง ไหว้ตายายผีหลาง

.

 

  ๒๕๖๑  ไหว้ตายายผีถลาง

 

ฝากรูป   

 

ประเพณีไหว้ผีหลาง ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๕  ๒๕๔๖  ๒๕๔๗  ๒๕๔๘  ๒๕๔๙  ๒๕๕๐  ๒๕๕๑  ๒๕๕๒  ๒๕๕๓  ๒๕๕๔

ระบุ พ.ศ.มิได้ รอพิสูจน์ปี พ.ศ. รอชุดที่ ๑,  รอชุดที่ ๒, รอชุดที่ ๓

 

มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร(มทศ.)ดำเนินการทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อซ่อมหลังคาศาลาจตุรมุข ในวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๔ เวลาก่อนเพล 

 

วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ บริษัทเอกชนได้นำเสนอแผนแม่บทสังเขปให้คณะกรรมการมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทรพิจารณาสนับสนุน

ฝากรูป 

ประวัติความเป็นมาและกำหนดการ

ของมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร

การบวงสรวงปู่ย่า ตายายและบรรพชนผู้กล้าเมืองถลาง

 

กรทิชาต์ วัฒนพันธุ์

เลขานุการ มทศ.

 

อดีต ปัจจุบัน อนาคต

ประเพณีไหว้ผีหลางหรือปัจจุบันเรียกว่าประเพณีบวงสรวงปู่ย่า ตายาย บรรพชนผู้กล้าเมืองถลาง  ซึ่งเป็นประเพณีที่ปฎิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ  แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเกิดขึ้นในสมัยใด  ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการจัดเป็นงานประจำปีของจังหวัด  โดยกำหนดให้วันที่  12  มีนาคม  ของทุกปีเป็นวันที่ให้อนุชนรุ่นหลังได้ระลึกถึงและแสดงความกตัญญูต่อบรรพชนผู้เสียสละเลือดเนื้อเพื่อปกป้องบ้านเมือง  ประเพณีไหว้ตายายผีหลางเป็นประเพณีที่แสดงออกถึงความกตัญญูของลูกหลานที่มีต่อบรรพบุรุษ  ซึ่งยังเป็นโอกาสที่ญาติพี่น้องได้มาพบปะกันอย่างกว้างขวางได้แสดงความรักความห่วงใยซึ่งกันและกัน  และยังเป็นผลสืบเนื่องให้เกิดความรัก  ความสามัคคีและความสัมพันธ์อันดีของชุมชนสืบไป  ปัจจุบันประเพณีไหว้ตายายผีหลาง  อาจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง  ก็เพื่อปรับให้เกิดความเหมาะสม  เพื่อให้ประเพณีนี้ได้รับใช้สังคมและชุมชน     สถานที่จัด  ในอดีตจะจัดกันบริเวณบ้านเจ้าเมืองถลาง  หรือบ้านลูกหลาน  เช่น  บ้านลิพอน  บ้านสาคู  บ้านเหรียง  เป็นต้น  ปัจจุบันจัดรวมกัน  ณ  บริเวณวัดม่วงโกมารภัจจ์  บ้านเหรียง  ตำบลเทพกระษัตรี   อำเภอถลาง

 

ประวัติวัดม่วงโกมารภัจจ์


วัดม่วงโกมารภัจจ์ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเหรียง ตำบลเทพกระษัตรี ในเขตอำเภอถลาง เป็นวัดร้างอยู่ในความดูแลของวัดพระนางสร้าง มีพระพุทธรูปปูนปั้นครึ่งท่อนเศียรชำรุด ชาวบ้านเชื่อว่าวิญญาณของพระภิกษุ สมัยราชกาลที่ 5 ซึ่งมามรณะภาพที่วัดแห่งนี้ยังคงสถิตคอยดูแลปกป้องวัด และมีวิญญาณของหลวงปู่ทอง สถิตอยู่ที่พระพุทธรูปครึ่งองค์ ใกล้พระพุทธรูปเคยมีต้นทึงและต้นทัง ซึ่งลายแทงวัดม่วงโกมารภัจจ์กล่าวถึงมีความว่า “ระหว่างต้นทึงต้นทัง เป็นที่ฝังสมบัติ”


 ชาวบ้านยังเชื่ออีกว่า วัดม่วงโกมารภัจจ์เคยเป็นวัดก่อนสมัยท้าวเทพกระษัตรี (ท่านผู้หญิงจัน) และท้าวศรีสุนทร (คุณมุก) ก่อนสงครามศึกถลาง พ.ศ. 2328 เจ้าเมืองถลางได้ใช้ลานวัดม่วงโกมารภัจจ์ เป็นสถานที่ฝึกซ้อมทหาร ฝึกการเคี่ยวน้ำมัน ลงยันต์ทหาร ฝึกซ้อมรำกริช ฝึกผสมดินปืน มีบ่อน้ำ 2 บ่อ บ่อหนึ่งแช่ว่านยาสมุนไพรให้ทหารอาบน้ำเพื่อการอยู่ยงคงกระพัน วัดม่วงโกมารภัจจ์จึงถือเป็นวัดที่มีความสำคัญและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดภูเก็ต

 

วัตถุประสงค์


๑. เพื่อสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมโบราณ
๒. เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ระลึกและแสดงความกตัญญูต่อบรรพชนผู้เสียสละรักษาแผ่นดิน
๓. เพื่อสร้างความรักความสามัคคีในชุมชนที่ต้องมาร่วมกระทำกิจกรรมพิธีบวงสรวง
๔. เพื่อสร้างชนรุ่นหลังให้เรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น การทำอาหาร ขนม
๕. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นนอกห้องเรียน

 

กลุ่มเป้าหมาย


๑. ประชาชนทั่วทั้งจังหวัดโดยเฉพาะผู้พักอาศัยในบริเวณที่มีพิธีกรรมจำนวนมากกว่า ๑,๐๐๐ คน
๒. ชาวบ้านในชุมชนใกล้เคียงได้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจกรรม
๓. นักเรียน นักศึกษาที่พักอาศัยในบริเวณใกล้เคียงเข้าร่วมเป็นผู้จัดกิจกรรม
๔. ญาติในสายตระกูลของเจ้าเมืองและขุนศึก

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ


๑. ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้และเห็นความสำคัญของการแสดงออกซึ่งความกตัญญูต่อบรรพชน
๒. ชนรุ่นหลังคงรักษาไว้ซึ่งประเพณีอันดีงาม
๓. ความรักความสามัคคีในชุมชนที่มาร่วมแรงร่วมใจกันจัดงาน
๔. สถานที่จัดงานพิธีสามารถพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน

 

รายชื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


๑. เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี
๒. สำนักงานพุทธศาสนาจังหวัดภูเก็ต
๓. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต
๔. สภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
๕. โรงเรียนในเขตอำเภอถลาง
๖. ชาวบ้านในเขตชุมชนเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี และใกล้เคียง
๗. องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นทุกแห่งร่วมพิธีสักการะ
๘. ประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต
๙. สถานีตำรวจภูธรถลาง

 

แนวทางปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน 
เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี
๑. นัดประชุมผู้นำชุมชนในเขตเทศบาลตำบล
๒. จัดเตรียมสถานที่ ทำความสะอาด,  จัดโต๊ะ เก้าอี้ เครื่องเสียง ไฟฟ้า
                        ๓. จัดบุคลากรดูแลความเรียบร้อยในบริเวณ
                        ๔. จัดสถานที่จอดรถ พร้อมป้ายแสดงทางเข้าออก และจุดบริการต่าง ๆ
                        ๕. ประสานผู้นำชุมชนในนำกำลังชาวบ้านเข้าร่วมงานและทำขนมบวงสรวง
  ๖.  จัดกำลังเจ้าหน้าที่ อปพร. จำนวนไม่ต่ำกว่า  10 นาย  เพื่อ
   ๖.๑  จัดการจราจรและระเบียบในสถานที่จอดรถ
   ๖.๒  ดูแลความสงบเรียบร้อยในบริเวณงาน
สำนักงานพุทธศาสนาจังหวัดภูเก็ต
                        ๑. ทำหนังสือนิมนต์คณะสงฆ์ เพื่อเทศน์ และรับฉันเพล จำนวนประมาณ ๑๐๙ รูป
                        ๒. ดูแลความเรียบร้อย การจัดโต๊ะหมู่ และพิธีกรรมทางศาสนาในช่วงเช้า
                        ๓. ประสานกับมูลนิธิฯเรื่องการจัดรถรับส่งพระแต่ละแห่ง
           สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต
                        ๑. เป็นฝ่ายสนับสนุน และต้อนรับบุคคลสำคัญของจังหวัด
                        ๒. ประสานงานกับองค์การปกครองท้องถิ่นให้เข้าร่วมขบวนแห่และพิธีสักการะ
                        ๓. ลงทะเบียนอบท.ที่เข้าร่วมขบวนแจ้งแก่ฝ่ายพิธีกรเพื่อประกาศเชิญตามลำดับ

           สภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
                      ๑. เป็นผู้นำชาวบ้านทำขนมโบราณเพื่อเข้าร่วมพิธีบวงสรวง ในวันที่ ๑๑ มีนาคม บริเวณสวนพระพุทธศาสนาวัดม่วงฯ
                     ๒. เป็นผู้ถ่ายทอดและรักษาขนบธรรมเนียมพิธีบวงสรวงบรรพชน
                     ๓. เป็นผู้ดูแลความถูกต้องของการเตรียมการสถานที่และพิธีบวงสรวง

           โรงเรียนในเขตอำเภอถลาง
                    ๑. นำนักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในขั้นตอนพิธีกรรมต่าง ๆ ร่วมขบวนแห่ และบริการน้ำดื่มแก่ประชาชนผู้มาร่วมงาน
                   ๒. คณะคุณครูช่วยเป็นฝ่ายรับบริจาคและจำหน่ายธูปเทียน เครื่องเซ่นไหว้
                   ๓. คณะครูเป็นผู้แจกคืนเครื่องเซ่นไหว้หลังเสร็จสิ้นพิธีการ

          ชาวบ้านในเขตชุมชนเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี และใกล้เคียง
                  ๑. เป็นผู้ทำขนมและอาหารมาเข้าร่วมพิธีทั้งช่วงเช้าตักบาตรและพิธีบวงสรวง
                  ๒. เป็นผู้เข้าร่วมขบวนแห่เครื่องของบวงสรวง

          องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นทุกแห่งร่วมพิธีสักการะ
                  ๑. ส่งตัวแทนเข้าร่วมขบวนแห่เครื่องของบวงสรวง โดยนำบายศรีมาเข้าพิธีสักการะ
                 ๒.ทำการประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนในเขตพื้นที่ให้ทราบถึงการจัดงานพิธีบวงสรวงบรรพชน
                  ๓.อาจจัดให้มีรถรับส่งบริการประชาชนในเขตชุมชนของตน เพื่อร่วมประหยัดพลังงาน

            ประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต
                  ๑. ขอความร่วมมือสถานีวิทยุเพื่อให้คณะทำงาน (มูลนิธิฯ)ได้มีโอกาสประชาสัมพันธ์งาน
                 ๒. ทำสื่อประชาสัมพันธ์งานในรูปแบบต่าง ๆ

 สถานีตำรวจภูธรถลาง
  ๑. จัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลการจราจรในช่วงปล่อยขบวนแห่จากอำเภอถลางเข้าสู่วัดม่วงฯ
  ๒. จัดกำลังเจ้าหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในงานพิธีและการจราจรในบริเวณที่จอดรถ

 

การเตรียมงานของมูลนิธิฯ

 

ธันวาคม    ทำการประชาสัมพันธ์  ผ่านทางตัววิ่งของหน่วยงานราชการ
สั่งพิมพ์ซองบวงสรวง
 
มกราคม    ประชุมคณะทำงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนจัดเตรียมงานและ  
                มอบหมายหน้าที่
    ออกหนังสือขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    แจกซองบวงสรวง เพื่อการรับบริจาคและการประชาสัมพันธ์
    ประชาสัมพันธ์ต่อเนื่อง  ผ่านหนังสือพิมพ์  สื่อวิทยุต่าง ๆ
กุมภาพันธ์   ประชุมเพื่อติดตามงาน และประสานงานเตรียมความพร้อม กับทต.เทพกระษัตรี และชาวบ้าน
มีนาคม   จัดเตรียมตกแต่งสถานที่ และบายศรี
11 มีนาคม ชาวบ้านร่วมทำขนมในบริเวณโรงครัวชั่วคราว สวนพระพุทธศาสนาวัดม่วงฯ   จัดสถานที่พิธีกรรม
12  มีนาคม   ทำพิธีบวงสรวง ณ  บริเวณสวนพระพุทธศาสนาวัดม่วงโกมารภัจจ์ 

 

กำหนดการ


พิธีทำบุญบวงสรวง ปู่ ย่า ตา ยาย บรรพชน ผู้กล้าเมืองถลาง
ณ  สวนพระพุทธศาสนาวัดม่วงโกมารภัจจ์  อ.ถลาง  จ.ภูเก็ต
  
วันที่  12  มีนาคม 
08.30 น.  ผู้มีจิตศรัทธาพร้อมกันในบริเวณพิธี
09.00 น.  ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตถึงบริเวณพิธี และสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพื้นที่
09.20 น.  ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
09.30 น.  พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
10.00 น.  พิธีตักบาตร  ถวายสังฆทาน ทอดผ้าป่า
11.00 น.  ถวายภัตตาหารเพล
พิธีการช่วงเย็น เริ่ม
16.00 น.  กำนัน-ผู้ใหญ่บ้านและผู้ร่วมขบวนพร้อมกันที่หน้าอำเภอถลาง
   พี่น้องประชาชนพร้อมกัน ณ บริเวณพิธีวัดม่วงฯ
16.30 น.  ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตเดินทางถึงบริเวณพิธีบวงสรวง
   พิธีศาสนาซิกข์ ร่วมบรรเลง
16.45 น. ขบวนอัญเชิญพานเจ้าเมืองและเครื่องบวงสรวงเคลื่อนขบวนออกจากลานหน้าอำเภอถลาง
   
17.30 น.  ขบวนอัญเชิญพานเจ้าเมืองและเครื่องบวงสรวง เข้าสู่บริเวณพิธี
   ตัวแทนองค์กรปกครองท้องถิ่นและองค์กรเอกชนถวายพานบายศรี
นายอำเภอถลางและกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ขึ้นกล่าวคำถวายตัว
ประธานจัดงาน(รองประธานมูลนิธิฯ) กล่าวรายงานต่อประธานในพิธี (ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต)
   ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตลั่นฆ้องชัย
18.30 น. ผู้ว่าราชการฯจุดเทียนบายศรี(ใหญ่) บนศาลาจตุรมุข ร่วมกับแขกผู้มีเกียรติ
นักศึกษาเชิญพานเจ้าเมือง 26 พาน มอบแขกผู้มีเกียรติตัวแทนเจ้าเมืองและบรรพบุรุษ
   ตัวแทนกล่าวคำบอกกล่าวดวงจิตบรรพชน (ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์-อำนวย คุ้มบ้าน)    ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวนำคำบวงสรวง
   พิธีบวงสรวง(พิธีไหว้ตายายผีหลาง)  โดยนายชวน ผสมทรัพย์
   รำถวาย
   ร่วมรับแจกของไหว้  
20.00 น.  เสร็จพิธี 

 

การประเมินผลการปฏิบัติงาน


โดยคณะทำงานของมูลนิธิฯ ประเด็นที่ควรนำมาประเมิน ได้แก่
๑. ความสวยงามและความถูกต้องของพิธีกรรม
๒. ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมชมงาน
๓. ความพึงพอใจของผู้เข้ามามีส่วนร่วม(ทำงาน)ในพิธีกรรมตั้งแต่ชุดทำขนม ขบวนแห่ ฯลฯ
๔. สิ่งที่มูลนิธิฯควรทำเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้อยู่ในชุมชน

 

โอกาสในการพัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบในอนาคต

กรณีที่ ๑ พื้นที่ได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์ใหม่ การจัดวางเต็นท์หรือการพื้นที่ประกอบพิธีกรรมอาจ     มีการปรับเปลี่ยน
 กรณีที่ ๒ มูลนิธิฯมีเงินซื้อพื้นที่บริเวณใกล้เคียง
 กรณีที่ ๓ ผู้ประกอบพิธีกรรมหลัก ชราภาพไม่มีผู้สืบทอดวิชาได้
 กรณีที่ ๔ เป็นพิธีกรรมที่สำคัญเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดภูเก็ต

 

กลุ่มภาพวัดม่วงโกมารภัจจ์ ถ่ายวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๕

 

***

มห.ภูเก็จ

สารานุกรม มทศ.ภูเก็ต

มนุษยศาสตร์ 772 ประวัติศาสตร์3

Sommai @Usa Rahas Mai

Thao Thep Si Sunthon

Nok Panitsara Khun Note

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อาทิตย์, 25 มีนาคม 2018 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้74
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1589
mod_vvisit_counterทั้งหมด10712673