Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
สภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พุธ, 12 มกราคม 2011

โครงการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมตำบลเขตอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
ประจำปี ๒๕๕๒

 

แผนงบประมาณ 


โครงการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรเครือข่ายทางวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๒ (งวดที่ ๒)

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

 

หลักการและเหตุผล


  ด้วยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ดำเนินการตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (นายธีระ สลักเพชร) ในการเสริมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย เน้นกระบวนการสร้างเวทีประชาธิปไตยในการสร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมกับชุมชน โดยจัดตั้งสภาวัฒนธรรมตำบล และขยายไปสู่การจัดตั้งสภาวัฒนธรรมหมู่บ้าน โดยมีองค์ประกอบของการเปิดเวทีประชาคม ประกอบด้วยผู้นำ ๔ เสาหลัก คือ ผู้นำศาสนา ผู้นำธรรมชาติ (ปราชญ์ชาวบ้าน) ผู้นำท้องที่ (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) ผู้นำท้องถิ่น (นายก อบต. เทศบาล) และอาสาสมัคร ประกอบกับตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๖๖ กำหนดให้บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ


เพื่อเป็นการสนองนโยบาย และสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานวัฒนธรรมของภาคประชาชนและชุมชนท้องถิ่น โดยการประสานเชื่อมโยงการดำเนินงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถรองรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลก เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ทางวัฒนธรรมในลักษณะของเครือข่ายการดำเนินงานที่มีพลัง เป็นองค์รวมและมีการบูรณาการอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่มีความสมดุลยั่งยืน โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของท้องถิ่นเป็นสำคัญ จึงเห็นควรจัดตั้งสภาวัฒนธรรมตำบลในเขตอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต


วัตถุประสงค์


  ๑. เพื่อจัดตั้งสภาวัฒนธรรมให้ทำหน้าที่เป็นเวทีกลางขององค์กรเครือข่ายเครือข่ายวัฒนธรรมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการดำเนินงานโดยใช้มิติวัฒนธรรม
  ๒. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับองค์กรเครือข่ายเครือญาติวัฒนธรรม และนโยบายการเสริมสร้างองค์กรชุมชนให้เข้มแข็ง
  ๓. เพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรเครือข่ายเครือญาติวัฒนธรรมด้วยกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง  


เป้าหมาย


  ด้านปริมาณ 


- จัดสัมมนาผู้แทนเบญจภาคีทุกตำบล ๆ ละ ๑ ครั้ง ๆ ละประมาณ ๕๐ คน (รวม ๖ ครั้ง)

 

  ด้านคุณภาพ 


  - ผู้บริหารเครือข่ายเครือญาติทางวัฒนธรรมมีศักยภาพในการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นสภาวัฒนธรรมตำบลได้ ๖ ตำบล
  - ผู้นำชุมชนเกิดความสำนึกและความคิดสร้างสรรค์นำไปสู่ความร่วมมือระหว่างองค์กรเครือข่ายเครือญาติทางวัฒนธรรมในการกำหนดแนวทางพัฒนาวัฒนธรรมของท้องถิ่นต่อไป


วิธีดำเนินการ


  ๑. จัดทำโครงการเสนอที่ประชุมสภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง
  ๒. ประชุมคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง เพื่อมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละตำบลกำหนดวันลงพื้นที่เพื่อจัดตั้งสภาวัฒนธรรมตำบล
  ๓. จัดเตรียมหนังสือ เอกสาร ประสานสถานที่ บุคคลผู้เกี่ยวข้องเพื่อจัดประชุมตามกำหนดการ
  ๔. จัดประชุมตามกำหนดการ


  ๕. สรุป และรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
ระยะเวลาและสถานที่ในการดำเนินโครงการ
  ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ๒๕๕๒

งบประมาณ


งบจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ๑๕,๐๐๐ บาท

ผู้รับผิดชอบ
สภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง ร่วมกับนักวิชาการวัฒนธรรมประจำอำเภอถลาง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทุกแห่ง


ผลที่คาดว่าจะได้รับ


  ๑. มีสภาวัฒนธรรมท้องถิ่นทำหน้าที่เป็นเวทีกลางแลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับการดำเนินงานส่งเสริม อนุรักษ์ และพัฒนาวัฒนธรรม
  ๒. ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับองค์กรเครือข่ายเครือญาติทางวัฒนธรรมที่เป็นสมาชิกสภาวัฒนธรรมท้องถิ่น

(ลงชื่อ)
(นางพวงผกา  เชาวน์ไวย)
นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ
นักวิชาการวัฒนธรรมผู้ประสานงานวัฒนธรรมประจำอำเภอถลาง


(ลงชี่อ)
(นายอำพน  สกุลจันทร์)
ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง

 

ผลการดำเนินงาน
โครงการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมตำบลเขตอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
ประจำปี ๒๕๕๒

แผนงบประมาณ


โครงการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรเครือข่ายทางวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๒ (งวดที่ ๒) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ


หลักการและเหตุผล


  ด้วยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ดำเนินการตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (นายธีระ สลักเพชร) ในการเสริมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย เน้นกระบวนการสร้างเวทีประชาธิปไตยในการสร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมกับชุมชน โดยจัดตั้งสภาวัฒนธรรมตำบล และขยายไปสู่การจัดตั้งสภาวัฒนธรรมหมู่บ้าน โดยมีองค์ประกอบของการเปิดเวทีประชาคม ประกอบด้วยผู้นำ ๔ เสาหลัก คือ ผู้นำศาสนา ผู้นำธรรมชาติ (ปราชญ์ชาวบ้าน) ผู้นำท้องที่ (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) ผู้นำท้องถิ่น (นายก อบต. เทศบาล) และอาสาสมัคร ประกอบกับตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๖๖ กำหนดให้บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ


เพื่อเป็นการสนองนโยบาย และสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานวัฒนธรรมของภาคประชาชนและชุมชนท้องถิ่น โดยการประสานเชื่อมโยงการดำเนินงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถรองรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลก เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ทางวัฒนธรรมในลักษณะของเครือข่ายการดำเนินงานที่มีพลัง เป็นองค์รวมและมีการบูรณาการอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่มีความสมดุลยั่งยืน โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของท้องถิ่นเป็นสำคัญ จึงเห็นควรจัดตั้งสภาวัฒนธรรมตำบลในเขตอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต


วัตถุประสงค์


  ๑. เพื่อจัดตั้งสภาวัฒนธรรมให้ทำหน้าที่เป็นเวทีกลางขององค์กรเครือข่ายเครือข่ายวัฒนธรรมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการดำเนินงานโดยใช้มิติวัฒนธรรม
  ๒. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับองค์กรเครือข่ายเครือญาติวัฒนธรรม และนโยบายการเสริมสร้างองค์กรชุมชนให้เข้มแข็ง
  ๓. เพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรเครือข่ายเครือญาติวัฒนธรรมด้วยกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 


ผลการดำเนินงาน


  ด้านปริมาณ  จัดประชุมผู้แทนเบญจภาคีทุกตำบล ๆ ละ ๑ ครั้ง โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุม ดังนี้
   - ตำบลเทพกระษัตรี จำนวน ๕๙ คน วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๒
   - ตำบลศรีสุนทร  จำนวน ๕๒ คน วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๒
   - ตำบลเชิงทะเล  จำนวน ๕๕ คน วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๒
   - ตำบลสาคู  จำนวน ๖๒ คน วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๒
   - ตำบลป่าคลอก  จำนวน ๔๕ คน วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๒
   - ตำบลไม้ขาว  จำนวน ๘๘ คน วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๒
           รวมทั้งสิ้น ๓๖๑ คน

 

  ด้านคุณภาพ 


  - ผู้บริหารเครือข่ายเครือญาติทางวัฒนธรรมมีศักยภาพในการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นสภาวัฒนธรรมตำบลได้ ๖ ตำบล โดยใช้วิธีการเลือกตั้ง สรรหา การตกลงกัน และการแต่งตั้งโดยตำแหน่งในการจัดตั้ง และสรรหาที่ปรึกษาและคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมตำบลแต่ละแห่ง ดังนี้
ที่ ตำบล จำนวนที่ปรึกษา จำนวนคณะกรรมการ รวม
๑ เทพกระษัตรี ๒๔ ๓๔  ๕๘
๒ ศรีสุนทร ๑๘ ๒๗ ๔๕
๓ เชิงทะเล ๒๑ ๓๐ ๕๑
๔ สาคู ๒๗ ๒๙ ๕๖
๕ ป่าคลอก ๓๓ ๒๖ ๕๙
๖ ไม้ขาว ๒๖ ๓๐ ๕๖
 รวมทั้งสิ้น ๑๔๙ ๑๗๖ ๓๒๕

  - ผู้นำชุมชนเกิดความสำนึกและความคิดสร้างสรรค์นำไปสู่ความร่วมมือระหว่างองค์กรเครือข่ายเครือญาติทางวัฒนธรรมในการกำหนดแนวทางพัฒนาวัฒนธรรมของท้องถิ่นต่อไป
  - มีสภาวัฒนธรรมท้องถิ่นทำหน้าที่เป็นเวทีกลางแลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับการดำเนินงานส่งเสริม อนุรักษ์ และพัฒนาวัฒนธรรม
  - ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับองค์กรเครือข่ายเครือญาติทางวัฒนธรรมที่เป็นสมาชิกสภาวัฒนธรรมท้องถิ่น

งบประมาณ
งบจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ๑๕,๐๐๐ บาท

 

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน


๑. ที่ปรึกษาและคณะกรรมการบางท่านมิได้เข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่งอาจทำให้ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสภาวัฒนธรรม และวัฒนธรรมที่ดีพอ
๒. การกรอกใบสมัครเป็นสมาชิกสภาวัฒนธรรมตำบลอาจไม่ถูกต้องสมบูรณ์ หรือไม่ครบถ้วน เนื่องจากใช้วิธีการสรรหา หรือแต่งตั้งโดยตำแหน่ง และบางท่านมิได้เข้าร่วมประชุม

 

(ลงชื่อ) (นางพวงผกา  เชาวน์ไวย)          
นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ       
นักวิชาการวัฒนธรรมผู้ประสานงานวัฒนธรรมประจำอำเภอถลาง


(ลงชี่อ)
(นายอำพน  สกุลจันทร์)
ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง

 

ภาพการเลือกตั้งสภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง 

 

การประชุม

ประชุมเลือกตั้งสภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง 

ครั้งที่ ๑ / ๒๕๕๒

ครั้งที่ ๒ / ๒๕๕๒

ครั้งที่ ๑ / ๒๕๕๓

ครั้งที่ ๑ / ๒๕๕๔

 

ผลงาน

 

งานท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร

เสวนาจดหมายเหตุสึนามิ

อาหารเป็นยา

ข้าวหลามหินรุ่ย

ว่ายน้ำข้ามช่องแคบปากพระ

ไหว้ผีถลาง

ทัศนศึกษแหล่งประวัติศาสตร์ถลาง

อนุสรณ์เมืองถลาง อัญเชิญธงถลาง มทศ.มอบทุนการศึกษา ตอบคำถามประวัติศาสตร์ EQ0015 ละครอิงประวัติศาสตร์ Light & Sound

อนุสรณ์สถานถลางชนะศึก  ย่าจันย่ามุกป้าย  อัญเชิญธงถลางชนะศึก ทอดผ้าป่าทรายสร้างอนุสรณ์

อุทยานแห่งการเรียนรู้ที่ ก ร ท อ ง  เกตุแก้วกาแฟ บ้านลิพอน ศรีสุนทร อำเภอถลาง ภูเก็ต สนับสนุน EQ0015 ยอดนารีศรีถลางละคร Light&Sound

อำลาอาลัย ผอ.ทวิชาติ อินทรฤทธิ์ ย้ายไปกระบี่

ภูเก็ตพังงาวัฒนธรรมสัมพันธ์ สงกรานต์ปี ๒๕๕๔ ณ สะพานท้าวเทพกระษัตรี ช่องปากพระ อบต.ไม้ขาว-อบต.ท่านุ่น ด้วยการสนับสนุนของอบจ.ภูเก็ต-อบจ.พังงา

มุทิตาจิตผู้สูงวัย สว.วัฒนธรรม

 

เครือข่ายสภาวัฒนธรรมตำบล

สภาวัฒนธรรมตำบลเชิงทะเล

สภาวัฒนธรรมตำบลเทพกระษัตรี

สภาวัฒนธรรมตำบลไม้ขาว

สภาวัฒนธรรมตำบลสาคู

สภาวัฒนธรรมตำบลศรีสุนทร

สภาวัฒนธรรมตำบลป่าคลอก

 

-- -- --

มห.ภูเก็จ

พวงผกา (เฮี้ยง) เชาวน์ไวย

เฮี้ยง พวงผกา เชาวน์ไวย วัฒนธรรมกรถลาง : สภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง : อำพน สกุลจันทร์ ประธาน
ปัทมา รุจีวงศ์ : วัฒนธรรมกรเมืองภูเก็ตประสานสภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองภูเก็ตสภาวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต : สุพจน์ สงวนกิตติพันธุ์ ประธาน
เล็ก พูนสุข วัฒนธรรมกรกะทู้ : สภาวัฒนธรรมอำเภอกะทู้ : สุชัย วิเชียร ประธาน
Sommai 1974 Pinphutsin 01
Shtyle.fm  Sommai USAcom
Spha Kathu Lex 12-56
Sapha Thalang Hiang 01-3
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พฤหัสบดี, 03 กุมภาพันธ์ 2011 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้2473
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1589
mod_vvisit_counterทั้งหมด10715072