Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow มนุษยศาสตร์ arrow สภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง
สภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พุธ, 12 มกราคม 2011

โครงการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมตำบลเขตอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
ประจำปี ๒๕๕๒

 

แผนงบประมาณ 


โครงการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรเครือข่ายทางวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๒ (งวดที่ ๒)

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

 

หลักการและเหตุผล


  ด้วยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ดำเนินการตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (นายธีระ สลักเพชร) ในการเสริมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย เน้นกระบวนการสร้างเวทีประชาธิปไตยในการสร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมกับชุมชน โดยจัดตั้งสภาวัฒนธรรมตำบล และขยายไปสู่การจัดตั้งสภาวัฒนธรรมหมู่บ้าน โดยมีองค์ประกอบของการเปิดเวทีประชาคม ประกอบด้วยผู้นำ ๔ เสาหลัก คือ ผู้นำศาสนา ผู้นำธรรมชาติ (ปราชญ์ชาวบ้าน) ผู้นำท้องที่ (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) ผู้นำท้องถิ่น (นายก อบต. เทศบาล) และอาสาสมัคร ประกอบกับตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๖๖ กำหนดให้บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ


เพื่อเป็นการสนองนโยบาย และสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานวัฒนธรรมของภาคประชาชนและชุมชนท้องถิ่น โดยการประสานเชื่อมโยงการดำเนินงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถรองรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลก เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ทางวัฒนธรรมในลักษณะของเครือข่ายการดำเนินงานที่มีพลัง เป็นองค์รวมและมีการบูรณาการอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่มีความสมดุลยั่งยืน โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของท้องถิ่นเป็นสำคัญ จึงเห็นควรจัดตั้งสภาวัฒนธรรมตำบลในเขตอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต


วัตถุประสงค์


  ๑. เพื่อจัดตั้งสภาวัฒนธรรมให้ทำหน้าที่เป็นเวทีกลางขององค์กรเครือข่ายเครือข่ายวัฒนธรรมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการดำเนินงานโดยใช้มิติวัฒนธรรม
  ๒. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับองค์กรเครือข่ายเครือญาติวัฒนธรรม และนโยบายการเสริมสร้างองค์กรชุมชนให้เข้มแข็ง
  ๓. เพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรเครือข่ายเครือญาติวัฒนธรรมด้วยกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง  


เป้าหมาย


  ด้านปริมาณ 


- จัดสัมมนาผู้แทนเบญจภาคีทุกตำบล ๆ ละ ๑ ครั้ง ๆ ละประมาณ ๕๐ คน (รวม ๖ ครั้ง)

 

  ด้านคุณภาพ 


  - ผู้บริหารเครือข่ายเครือญาติทางวัฒนธรรมมีศักยภาพในการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นสภาวัฒนธรรมตำบลได้ ๖ ตำบล
  - ผู้นำชุมชนเกิดความสำนึกและความคิดสร้างสรรค์นำไปสู่ความร่วมมือระหว่างองค์กรเครือข่ายเครือญาติทางวัฒนธรรมในการกำหนดแนวทางพัฒนาวัฒนธรรมของท้องถิ่นต่อไป


วิธีดำเนินการ


  ๑. จัดทำโครงการเสนอที่ประชุมสภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง
  ๒. ประชุมคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง เพื่อมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละตำบลกำหนดวันลงพื้นที่เพื่อจัดตั้งสภาวัฒนธรรมตำบล
  ๓. จัดเตรียมหนังสือ เอกสาร ประสานสถานที่ บุคคลผู้เกี่ยวข้องเพื่อจัดประชุมตามกำหนดการ
  ๔. จัดประชุมตามกำหนดการ


  ๕. สรุป และรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
ระยะเวลาและสถานที่ในการดำเนินโครงการ
  ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ๒๕๕๒

งบประมาณ


งบจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ๑๕,๐๐๐ บาท

ผู้รับผิดชอบ
สภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง ร่วมกับนักวิชาการวัฒนธรรมประจำอำเภอถลาง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทุกแห่ง


ผลที่คาดว่าจะได้รับ


  ๑. มีสภาวัฒนธรรมท้องถิ่นทำหน้าที่เป็นเวทีกลางแลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับการดำเนินงานส่งเสริม อนุรักษ์ และพัฒนาวัฒนธรรม
  ๒. ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับองค์กรเครือข่ายเครือญาติทางวัฒนธรรมที่เป็นสมาชิกสภาวัฒนธรรมท้องถิ่น

(ลงชื่อ)
(นางพวงผกา  เชาวน์ไวย)
นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ
นักวิชาการวัฒนธรรมผู้ประสานงานวัฒนธรรมประจำอำเภอถลาง


(ลงชี่อ)
(นายอำพน  สกุลจันทร์)
ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง

 

ผลการดำเนินงาน
โครงการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมตำบลเขตอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
ประจำปี ๒๕๕๒

แผนงบประมาณ


โครงการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรเครือข่ายทางวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๒ (งวดที่ ๒) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ


หลักการและเหตุผล


  ด้วยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ดำเนินการตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (นายธีระ สลักเพชร) ในการเสริมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย เน้นกระบวนการสร้างเวทีประชาธิปไตยในการสร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมกับชุมชน โดยจัดตั้งสภาวัฒนธรรมตำบล และขยายไปสู่การจัดตั้งสภาวัฒนธรรมหมู่บ้าน โดยมีองค์ประกอบของการเปิดเวทีประชาคม ประกอบด้วยผู้นำ ๔ เสาหลัก คือ ผู้นำศาสนา ผู้นำธรรมชาติ (ปราชญ์ชาวบ้าน) ผู้นำท้องที่ (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) ผู้นำท้องถิ่น (นายก อบต. เทศบาล) และอาสาสมัคร ประกอบกับตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๖๖ กำหนดให้บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ


เพื่อเป็นการสนองนโยบาย และสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานวัฒนธรรมของภาคประชาชนและชุมชนท้องถิ่น โดยการประสานเชื่อมโยงการดำเนินงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถรองรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลก เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ทางวัฒนธรรมในลักษณะของเครือข่ายการดำเนินงานที่มีพลัง เป็นองค์รวมและมีการบูรณาการอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่มีความสมดุลยั่งยืน โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของท้องถิ่นเป็นสำคัญ จึงเห็นควรจัดตั้งสภาวัฒนธรรมตำบลในเขตอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต


วัตถุประสงค์


  ๑. เพื่อจัดตั้งสภาวัฒนธรรมให้ทำหน้าที่เป็นเวทีกลางขององค์กรเครือข่ายเครือข่ายวัฒนธรรมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการดำเนินงานโดยใช้มิติวัฒนธรรม
  ๒. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับองค์กรเครือข่ายเครือญาติวัฒนธรรม และนโยบายการเสริมสร้างองค์กรชุมชนให้เข้มแข็ง
  ๓. เพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรเครือข่ายเครือญาติวัฒนธรรมด้วยกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 


ผลการดำเนินงาน


  ด้านปริมาณ  จัดประชุมผู้แทนเบญจภาคีทุกตำบล ๆ ละ ๑ ครั้ง โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุม ดังนี้
   - ตำบลเทพกระษัตรี จำนวน ๕๙ คน วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๒
   - ตำบลศรีสุนทร  จำนวน ๕๒ คน วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๒
   - ตำบลเชิงทะเล  จำนวน ๕๕ คน วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๒
   - ตำบลสาคู  จำนวน ๖๒ คน วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๒
   - ตำบลป่าคลอก  จำนวน ๔๕ คน วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๒
   - ตำบลไม้ขาว  จำนวน ๘๘ คน วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๒
           รวมทั้งสิ้น ๓๖๑ คน

 

  ด้านคุณภาพ 


  - ผู้บริหารเครือข่ายเครือญาติทางวัฒนธรรมมีศักยภาพในการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นสภาวัฒนธรรมตำบลได้ ๖ ตำบล โดยใช้วิธีการเลือกตั้ง สรรหา การตกลงกัน และการแต่งตั้งโดยตำแหน่งในการจัดตั้ง และสรรหาที่ปรึกษาและคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมตำบลแต่ละแห่ง ดังนี้
ที่ ตำบล จำนวนที่ปรึกษา จำนวนคณะกรรมการ รวม
๑ เทพกระษัตรี ๒๔ ๓๔  ๕๘
๒ ศรีสุนทร ๑๘ ๒๗ ๔๕
๓ เชิงทะเล ๒๑ ๓๐ ๕๑
๔ สาคู ๒๗ ๒๙ ๕๖
๕ ป่าคลอก ๓๓ ๒๖ ๕๙
๖ ไม้ขาว ๒๖ ๓๐ ๕๖
 รวมทั้งสิ้น ๑๔๙ ๑๗๖ ๓๒๕

  - ผู้นำชุมชนเกิดความสำนึกและความคิดสร้างสรรค์นำไปสู่ความร่วมมือระหว่างองค์กรเครือข่ายเครือญาติทางวัฒนธรรมในการกำหนดแนวทางพัฒนาวัฒนธรรมของท้องถิ่นต่อไป
  - มีสภาวัฒนธรรมท้องถิ่นทำหน้าที่เป็นเวทีกลางแลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับการดำเนินงานส่งเสริม อนุรักษ์ และพัฒนาวัฒนธรรม
  - ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับองค์กรเครือข่ายเครือญาติทางวัฒนธรรมที่เป็นสมาชิกสภาวัฒนธรรมท้องถิ่น

งบประมาณ
งบจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ๑๕,๐๐๐ บาท

 

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน


๑. ที่ปรึกษาและคณะกรรมการบางท่านมิได้เข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่งอาจทำให้ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสภาวัฒนธรรม และวัฒนธรรมที่ดีพอ
๒. การกรอกใบสมัครเป็นสมาชิกสภาวัฒนธรรมตำบลอาจไม่ถูกต้องสมบูรณ์ หรือไม่ครบถ้วน เนื่องจากใช้วิธีการสรรหา หรือแต่งตั้งโดยตำแหน่ง และบางท่านมิได้เข้าร่วมประชุม

 

(ลงชื่อ) (นางพวงผกา  เชาวน์ไวย)          
นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ       
นักวิชาการวัฒนธรรมผู้ประสานงานวัฒนธรรมประจำอำเภอถลาง


(ลงชี่อ)
(นายอำพน  สกุลจันทร์)
ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง

 

ภาพการเลือกตั้งสภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง 

 

การประชุม

ประชุมเลือกตั้งสภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง 

ครั้งที่ ๑ / ๒๕๕๒

ครั้งที่ ๒ / ๒๕๕๒

ครั้งที่ ๑ / ๒๕๕๓

ครั้งที่ ๑ / ๒๕๕๔

 

ผลงาน

 

งานท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร

เสวนาจดหมายเหตุสึนามิ

อาหารเป็นยา

ข้าวหลามหินรุ่ย

ว่ายน้ำข้ามช่องแคบปากพระ

ไหว้ผีถลาง

ทัศนศึกษแหล่งประวัติศาสตร์ถลาง

อนุสรณ์เมืองถลาง อัญเชิญธงถลาง มทศ.มอบทุนการศึกษา ตอบคำถามประวัติศาสตร์ EQ0015 ละครอิงประวัติศาสตร์ Light & Sound

อนุสรณ์สถานถลางชนะศึก  ย่าจันย่ามุกป้าย  อัญเชิญธงถลางชนะศึก ทอดผ้าป่าทรายสร้างอนุสรณ์

อุทยานแห่งการเรียนรู้ที่ ก ร ท อ ง  เกตุแก้วกาแฟ บ้านลิพอน ศรีสุนทร อำเภอถลาง ภูเก็ต สนับสนุน EQ0015 ยอดนารีศรีถลางละคร Light&Sound

อำลาอาลัย ผอ.ทวิชาติ อินทรฤทธิ์ ย้ายไปกระบี่

ภูเก็ตพังงาวัฒนธรรมสัมพันธ์ สงกรานต์ปี ๒๕๕๔ ณ สะพานท้าวเทพกระษัตรี ช่องปากพระ อบต.ไม้ขาว-อบต.ท่านุ่น ด้วยการสนับสนุนของอบจ.ภูเก็ต-อบจ.พังงา

มุทิตาจิตผู้สูงวัย สว.วัฒนธรรม

 

เครือข่ายสภาวัฒนธรรมตำบล

สภาวัฒนธรรมตำบลเชิงทะเล

สภาวัฒนธรรมตำบลเทพกระษัตรี

สภาวัฒนธรรมตำบลไม้ขาว

สภาวัฒนธรรมตำบลสาคู

สภาวัฒนธรรมตำบลศรีสุนทร

สภาวัฒนธรรมตำบลป่าคลอก

 

-- -- --

มห.ภูเก็จ

พวงผกา (เฮี้ยง) เชาวน์ไวย

เฮี้ยง พวงผกา เชาวน์ไวย วัฒนธรรมกรถลาง : สภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง : อำพน สกุลจันทร์ ประธาน
ปัทมา รุจีวงศ์ : วัฒนธรรมกรเมืองภูเก็ตประสานสภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองภูเก็ตสภาวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต : สุพจน์ สงวนกิตติพันธุ์ ประธาน
เล็ก พูนสุข วัฒนธรรมกรกะทู้ : สภาวัฒนธรรมอำเภอกะทู้ : สุชัย วิเชียร ประธาน
Sommai 1974 Pinphutsin 01
Shtyle.fm  Sommai USAcom
Spha Kathu Lex 12-56
Sapha Thalang Hiang 01-3
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พฤหัสบดี, 03 กุมภาพันธ์ 2011 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1380
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1659
mod_vvisit_counterทั้งหมด10720639