Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow มนุษยศาสตร์ arrow กระบวนการเรียนรู้ Learning
กระบวนการเรียนรู้ Learning PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อังคาร, 04 มกราคม 2011

การเรียนรู้ เป็น กระบวนารเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนรู้ให้รู้เรียน

เริ่มด้วยความพร้อม-->ประสบการณ์-->การรับรู้-->มโนภาพ-->มโนคติ-->ก่อให้เกิดพฤติกรรม ๓ อย่างคือ ๑.ความรู้ (ความจำ  ความเข้าใจ  การนำไปใช้  การวิเคราะห์  การสังเคราะห์  และประเมินค่า) ๒.ทักษะ  และ ๓.เจตคติ 

 

Start LEARNING -->Readiness-->Experience-->Perception-->Conception-->Ideal :-

1. Knowledge

2. Skill

3. Attitude

Click at the image to view full size
ฝากรูป

โปรดพยายามทำความเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ให้สัมพันธ์กับกระบวนการสื่อสาร

Click at the image to view full size
ฝากรูป

 

***

มห.ภูเก็จ

มนุษยศาสตร์ คุณธรรมจริยธรรม

- - - - -

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ เป็นห่วงงานคุณภาพทางการศึกษา

จึงเสนองานไว้ใน FaceBook FB เมื่อปลายเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ จากเหตุที่ ดร.ปราชญา กล้าผจัญ เสนอข้อความเป็นเชื้อไว้ว่า

นักการศึกษาเชื่อว่า พฤติกรรมมนุษย์เปลี่ยนแปลงได้

นี่คือที่มาของความเป็นห่วงเพราะ

๑. ครูไม่สามารถนำพานักเรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้

๒. ครูไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปเป็นความรู้ได้

๓. นักเรียนไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปเป็นความรู้ได้ด้วยตนเอง

 

สมหมายจึงถามว่าจะให้ใครช่วยแก้ปัญหานี้

ข้อมูลใน FB มีดังนี้ :-

ระบบการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสัตว์(รวมถึงมนุษย์)เริ่มจาก
ความพร้อม(Readiness)ของอารมณ์ สังคม สติปัญญา
และร่างกาย(อายตนะ๖:ตาหูจมูกลิ้นกายใจ)->ประสบการณ์
(อินทรีย์(อายตนะ๖)กับข้อมูล(Data)มวลแวดล้อม)->การรับรู้
(Perception)->มโนภาพ(Conception)->มโนคติ(Ideal)->
อินทรีย์จะเปลี่ยนข้อมูล(Data)ไปสู่ Goal อันก่อให้เกิด

 

๑.ความรู้
(Knowledge)[๑.ความจำ ๒.ความเข้าใจ ๓.การนำไปใช้
๔.การวิเคราะห์ ๕.การสังเคราะห์ และ ๖.การประเมินค่า]

๒.ทักษะ(Skill)

และ ๓.เจตคติ(Attitude)

 

งานวิจัยหลายฉบับแสดงชัดว่าครูไทยจัดกระบวนการเปลี่ยน
แปลงพฤติกรรมของฅน(นักเรียนนิสิตนักศึกษา)ไปถึง
เพียง Perception  แล้วไม่ได้สร้างทักษะการปรับเปลี่ยน
ข้อมูล(Data)ให้ผู้รับสาร(นักเรียนนิสิตนักศึกษา)
ในระยะ Perception ดำเนินการต่อได้ด้วยตนเอง กระบวน
การเปลี่ยนแปลงจึงไปไม่ถึงมโนภาพ(Conception) ส่วน
มโนคติ(Ideal)ยิ่งไกลห่างจากเด็กไทย(รวมถึงนิสิตนักศึกษา
ด้วย) ความล้มเหลวจึงเกิดขึ้น คือสถาบันการศึกษาไม่สามารถ
จัดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนให้ถึงเป้าหมาย
(Goal) เด็กไทยจึงไม่มีความรู้ ไม่มีทักษะ และไม่มีเจตคติ
ต่อสาระดีดีในแผ่นดินตนเอง

 

บุคคลใดเป็นผู้ดูแลระบบหรือกระบวนการเรียนรู้(Learning Process) ของไทย ได้โปรดแสดงตนให้ประจักษ์

 

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อังคาร, 03 พฤษภาคม 2011 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้2645
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1738
mod_vvisit_counterทั้งหมด10709128