Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow PHUKETDATA arrow มทศ.จห.26
มทศ.จห.26 PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์   
พฤหัสบดี, 30 ธันวาคม 2010

จดหมายเหตุเมืองถลางและหัวเมืองปักษ์ใต้
ต้นฉบับของศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต (ศวภ.)
ประสิทธิ  ชิณการณ์ : อ่านและวิเคราะห์

Click at the image to view full size
ฝากรูป

เข้มขาบ คลิ้กดู เข้มขาบ  

***
แก้ไขใน ประวัติศาสตร์ phuketdata
*** 

มทศ.จห.๒๖ (ใช้หมายเลขตรงกับ ฉบับ ศวภ ๒๖ ) 


คำอ่าน ๐ หนังสือข้าพเจ้า ท่านผู้หญิงปรานีบัติมายังโตกพระยาท่าน ด้วย ณ เดือนแปดข้างแรมนี้ข้าพเจ้าจะเข้าไปกรุงเป็นแน่แต่จะมา ณ ทางตรังถ้าข้าพเจ้ามาเถิงเกาะตะลิโบงแล้ว จะให้พระยาทุกรราชกับพ่อจุ้ยมากราบเท้าพระยานายท่านจะขอพึ่งชื่อของท่านสักสามสิบสี่สิบภารา จะได้เอาเข้าไปแก้ไข ณ กรุง ให้พ้นกรมการ ณ เมืองถลางเบียดเสียดว่ากล่าวแล้วถ้าสมความคิดข้าพเจ้าไปครั้งนี้ การดีบุก ณ เมืองถลางก็อยู่ในพระยานายท่าน ได้ใช้ไม่ให้ขัดสน ข้าพเจ้าหามีผู้ใดเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่แล้ว ยังเห็นหน้าแต่ท่านแห่งเดียวและให้โตกพระยานายท่านช่วยจัดปืนสุตันสัก ๕๐ บอก ผ้าขาวก้านแย่งลายเครือ ผ้าขาวอุเหม้าเนื้อดี ผ้าขาวกาษาหน้าทองและหน้าจั่ว ผ้าลายดอกต่างกัน ผ้าเข้มขาบ โหมดตาด ผ้าดำเนื้อดี แพรดาไหรยสีต่างกัน น้ำมันจัน น้ำกุหลาบ และของต้องการใน...(ข้อความลบเลือนอ่านไม่ได้) แจ้งอยู่แล้ว ๆ ให้พระยานายท่านได้เห็นดูอนุเคราะห์จัดคนซึ่งท่านไว้ใจให้คุมมาพบกับข้าพเจ้า ณ เกาะตะลิโบง ณ เดือนเก้า ข้างขึ้น ๙ ค่ำ ๑๐ ค่ำ จะได้เอาบุญพระยานายท่านเป็นที่พึ่งต่อไปและข้าพเจ้าไปครั้งนี้โดยขัดสนหนักแล้วเมืองข้าพเจ้าไปเถิงเกาะตะลิโบง จะให้พระยาทุกรราชกับพ่อจุ้ย ไปกราบเท้าท่านให้พบกันเอง แต่ข้าพเจ้าพ้นเข้าไปบางเกาะ ครั้นข้าพเจ้าจะอยู่เคร่าให้พระยาทุกรราชกลับมา แต่ไปกราบเท้าโตกพระยาท่านนั้น จะจวนมรสุมช้าไปนัก ถ้าพระยานายท่านเห็นดูข้าพเจ้าแล้ว ให้คนที่ไว้ใจของท่าน คุมของมา ร เกาะตะลิโบง แต่ ณ เดือนเก้าข้างขึ้นเถิด ข้าพเจ้าไปเถิงจะพ้นไปทีเดียว จะได้กลับมาทันมรสุม แต่การบ้านเมืองถลางซึ่งลูกค้าไปมาค้าขายค้างเกินอยู่ทั้งนั้น แล้วราชพลเมืองขัดสนได้ทำดีบุกแต่ต้นมรสุมประการใด ข้าพเจ้าจะว่ากล่าวคิดอ่านออกมา ให้พระยาทุกรราชาทำการ ณ เมืองถลางดูสักครั้ง แต่จะเอาบุญพระยานายท่านปกเป็นที่พึ่งด้วย หนังสือปรานีบัติมา ณ วันพุธ เดือนแปดแรมสี่ค่ำ ปีมะแมนพศก 


วิเคราะห์ ๐ ได้วิเคราะห์มาแต่เอกสารฉบับต้น ๆ แล้วว่าหลังสงครามพม่าสิ้นสุดลงเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ ย่างขึ้นปี พ.ศ. ๒๓๒๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรินทราชา (จัน จันทโรจวงศ์) เดินทางจากกรุงเทพมหานคร มารับตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ หัวเมืองฝั่งตะวันตก และถือสารตรา รับสั่งมายังเมืองถลาง โปรดเกล้าฯ ให้พระยาทุกรราช (ทองพูน ณ ถลาง) ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองถลาง ในช่วงสงคราม เลื่อนขึ้นเป็น "พระยาณรงค์เรืองฤทธิ์" มีเจียดทองประกอบเครื่องยศพระราชทาน และแต่งตั้งท่านผู้หญิงจันเป็นท้าวเทพกระษัตรี คุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทรและเลื่อนยศ "เมืองภูเก็จ" ขึ้นเป็นที่ "พระยาทุกรราช" ตำแหน่งปลัดเมืองถลาง แล้วปูนบำเหน็จความชอบแก่ขุนนางทะแกล้วทหารอื่น ๆ ตามสมควร 


 การแต่งตั้งและเลื่อนยศตำแหน่งครั้งนี้ ไม่เป็นที่พอใจของท้าวเทพกระษัตรีและพระยาทุกรราช หากแต่ไม่อาจขัดขืนพระบรมราชโองการ ทำได้แต่เพียงอพยพผู้คนบริวารจากเมืองถลางเคลื่อนลงมาตั้งมั่นอยู่ ณ บ้านสะปำในเขตเมืองภูเก็จ คุมเชิงแข็งข้อต่อพระยาณรงค์เรืองฤทธิ์เจ้าพระยาถลางเพื่อหาโอกาสแย่งอำนาจขึ้นเป็นใหญ่ในเมืองถลางตามความมุ่งหมายแต่ต้นต่อไป


 ล่วงมาถึง พ.ศ. ๒๓๓๐ ปีมะแมนพศก หลังสงครามพม่าประมาณ ปีเศษ เมื่อท้าวเทพกระษัตรีทราบว่าพระยาราชกปิตันได้เกาะปีนังไว้ในครอบครองแล้วและยินดีทำการค้ากับเมือง  ถลางอยู่ ก็เป็นโอกาสอันเหมาะในการจะขอความร่วมมือจากเพื่อนเก่าผู้นี้เพื่อทำการปิดล้อมเจ้าพระยาถลางในขณะนั้นด้วยการกีดกัน มิให้เจ้าพระยาถลางทำการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าดีบุกกับสินค้าต่างประเทศได้สะดวก โดยเมืองภูเก็จเข้าทำการค้าขายแย่งเอาตลาดมาไว้ในมือ ทำให้เมืองถลาง ซึ่งมีความวิกฤติหลังสงครามอยู่แล้วเพิ่มความวิกฤติมากขึ้น "...ราชพลเมืองขัดสนมิได้ทำดีบุกแต่ต้นมรสุกแต่ประการใด..." ซึ่งภาวะ การเช่นนี้ เป็นเหตุให้เจ้าพระยาถลาง ไม่อาจนำส่งภาษีดีบุกต่อมท้องพระคลังได้ตามข้อกำหนด ตรงกันข้ามท้าวเทพกระษัตรีและพระยาทุกรราชกลับมีดีบุกแลกเปลี่ยนสินค้าได้อย่างพอเพียง มีอำนาจการซื้อสินค้าต่างประเทศสูง สามารถส่งเครื่องบรรณาการ แก่พระมหากษัตริย์และขุนนางที่เกี่ยวข้องด้วยของมีค่ามีราคาและหาได้ยากอยู่เสมอ
 พระยาถลางขณะนั้น หาทางออก ด้วยการเร่งรัดและทวงค่าภาษีเก่า ๆ ที่เจ้าคุณสามีของเท้าเทพกระษัตรีเคยติดค้างบ้านเมืองอยู่ ท้าวเทพกระษัตรีจึงแก้ไขด้วยการจัดส่งสิ่งของมีค่าเข้าไปยังกรุงเทพฯ เพื่อ "..ให้พ้นจากกรมการ ณ เมืองถลางเบียดเสียดว่ากล่าว.." สิ่งของเหล่านั้นเป็นของมีราคาสูงและหาได้ยากจึงกำชับให้พระยาราชกปิตัน "...เห็นดูอนุเคราะห์จัดคนซึ่งท่านไว้ใจให้คุมมา.."
 การเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ของท้าวเทพกระษัตรีครั้งนี้ ไปทางเรือ แวะพักที่เกาะตะลิโบง หน้าจังหวัดตรัง เพื่อรับสินค้าของพระยาราชกปิตัน แล้วจะแล่นเรือลัดเข้าทางฝั่งจังหวัดตรัง ซึ่งสมัยนั้นมีลำคลองใหญ่ตัดผ่านแหลมมลายูจากฝั่งตรังไปออกฝั่งตะวันออกที่สงขลา แล้วแล่นเรือออกทะเลใหญ่ เข้าอ่าวไทยสู่กรุงเทพฯ ได้ โดยต้องขนของขึ้นบกบางช่วง ที่เป็นสันเขาปันน้ำเช่นเดียวกับการเดินทางข้าเขาศกผ่านตะกั่วป่า - สุราษฎร์ธานี
 พ่อจุ้ย ที่จดหมายเอ่ยนาม คือบุตรชายท้าวเทพกระษัตรีซึ่งเกิดกับพระยาถลางพิมลขัน ลำดับญาติเป็นน้องชายของคุณเทียน (พระยาทุกรราช) ท้าวเทพกระษัตรีได้มอบหมายให้พระยาทุกรราชและพ่อจุ้ยไปพบพระยาราชกปิตันโดยตรงน่าจะมีเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งอย่างใด นำไปปรึกษา ซึ่งควรที่ผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จจะติดตามต่อไป
 อนึ่ง อาจารย์สมหมาย

 

ปาณิศรา(นก) ชูผล : บันทึก

ผช.หมายเหตุรักษ์ มทศ.

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( จันทร์, 18 มิถุนายน 2018 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1185
mod_vvisit_counterเมื่อวาน2580
mod_vvisit_counterทั้งหมด10705930