Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
นามสถานในภูเก็ต PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
จันทร์, 28 มกราคม 2008

บทที่ ๓


ผลการศึกษาค้นคว้า

  การศึกษานามสถานในจังหวัดภูเก็ต เป็นการศึกษาจากนามสถานที่เป็นชื่อบ้านจำนวน ๒๐๐ ชื่อ จากผู้ให้ข้อมูลจำนวน ๑๐๐ คนของทุกตำบลในจังหวัดภูเก็ต  แต่ละชื่อ ระบุที่ตั้ง ความหมายของชื่อ  สภาพทั่วไปของชื่อบ้าน  และจำแนกชื่อตามกลุ่ม ๗ กลุ่ม

นามสถานในจังหวัดภูเก็ต

  คำที่เป็นนามสถานมีครอบคลุมถึงชื่อทุกชื่อที่ใช้เรียกสถานที่ เช่นใช้เรียกแหลม อ่าว เกาะ คลองบาง ควน ชื่อบ้าน ชื่อตำบล ชื่ออำเภอและชื่อจังหวัด  ในการศึกษานามสถานในจังหวัดภูเก็ตได้กำหนดศึกษาเฉพาะชื่อที่มีคำบ้านนำหน้าเท่านั้น  ซึ่งมีจำนวนประมาณ ๒๐๐ ชื่อ  แต่ละชื่อจะมีสถานที่ตั้ง ความหมาย สภาพทางภูมิศาสตร์  การนับถือศาสนา ภาษาที่ใช้สื่อสาร  ดังต่อไปนี้

บ้านเหนือ หมู่ ๒ ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต  ทิศเหนือ ทิศตะวันออกและทิศใต้มีควน ทิศตะวันตกติดบ้านกลาง ภูมิประเทศเป็นสวนยาง ภูเขา ป่า ปัจจุบันเป็นที่พักอาศัย และสวนยาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและทำสวนยางพารา นับถือศาสนาอิสลาม ใช้ไทยถิ่นใต้(ขจี เป็นสุข ให้ข้อมูลเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงบ้านที่อยู่ด้านทิศเหนือของบ้านกมลา(สกุล ณ นคร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๖)


  บ้านหัวควน หมู่ ๕ ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต  ทิศเหนือมีภูเก็ตแฟนตาซี ทิศตะวันออกและใต้เป็นควนเขากมลา ทิศตะวันตกติดบ้านบางหวาน ภูมิประเทศในอดีตเป็นทุ่งนา เนินเขา สวนทุเรียนและสวนยางพารา ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัยและทุ่งนาร้าง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและทำสวนยางพารา นับถือศาสนาอิสลาม ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ มีมัสยิดบ้านหัวควน(เรียม ปาหนัน ให้ข้อมูลเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2546 และโอซามา ปาหนัน ให้ข้อมูลเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2546) บ้านหัวควน หมู่ ๕ ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  หัวควน เนื่องจากเส้นทางที่เดินทางมายังหมู่บ้านเป็นที่เชื่อมโยงระหว่างบ้านบางคูกับบ้านหัวควน จะต้องขึ้นเนินสูงมีลักษณะเป็นควนชั้นมาก จึงเรียกว่า บ้านหัวควน  มีต้นยางใหญ่ อยู่ตรงหัวควน จึงเรียกว่า ควนต้นยาง  และคนกลุ่มแรกที่เข้ามา คือ โต๊ะกอหมาด เป็นชาวไทยมุสลิม เดิมอาศัยที่เกาะปีนังอพยพครอบครัวมาอยู่ที่ภูเก็ต ทิศเหนือติดหมู่ 5 บ้านเกาะแก้ว ทิศใต้ติดบ้านบางคู ทิศตะวันออกจดทะเลอันดามัน ทิศตะวันตกติดภูเขาเจะตา ภูมิประเทศเป็นสวนยาง ในปัจจุบันกลายเป็นถนนหนทางและที่พักอาศัย  ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบรับจ้าง ทำสวน นับถือนับถือศาสนาอิสลาม ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีหน่วยงานบำรุงทางแขวงการทางภูเก็ต โรงเรียนมุสลิมวิทยา (เจ๊ะตีน เหมเหล็ก ให้ข้อมูลเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงพื้นที่ที่เป็นเนินสูงสุด(เกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๑๔)
  บ้านนาคาเล หมู่ ๖ ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต  ทิศเหนือและทิศตะวันออกเป็นควนเขากมลา ทิศใต้เป็นควนเขานาคา ทิศตะวันตกจดอ่าวกมลา ประวัติชุมชนเมื่อ ๕๐ ปีก่อนมีบ้านประมาณ ๑๐ หลัง ส่วนใหญ่ย้ายมาจากมาเลเซีย ภูมิประเทศเป็นป่าควนเขา มีงู ปัจจุบันเป็นที่พักอาศัยและสวนยางพารา ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างกรีดยางและธุรกิจการท่องเที่ยว นับถือศาสนาอิสลาม มีนับถือศาสนาพุทธประมาณร้อยละ ๑๐ ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ มีมัสยิด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาคา(เรียม ปาหนัน ให้ข้อมูลเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2546 และโอซามา ปาหนัน  ให้ข้อมูลเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านเก็ตโฮ่ หมู่ ๑ ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต  คือเกียดโห ซึ่งแปลว่า ความสามัคคี ต่อมาได้เพี้ยนเป็น "เก็ตโฮ่" ทิศเหนือติดบ้านตากแดด ทิศใต้มีควน ทิศตะวันออกติดควนลิ่มซ่าน ทิศตะวันตกติดบ้านทุ่งทอง มีเชื้อสายจีน ภูมิประเทศเป็นแหล่งแร่ดีบุกที่อุดมสมบูรณ์ ปัจจุบันกลายเป็นบ้านจัดสรร แหล่งน้ำ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย ธุรกิจด้านเสริมสวยและธุรกิจบ้านเช่า  นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  วัดอนุภาษกฤษฎาราม โรงเรียนเก็ตโฮ่ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต (อุดม ยอดกุล ให้ข้อมูลเมื่อ  24 ธันวาคม 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงเขามะม่วง จากคำบูเก๊ะปาโฮะ(ประสิทธิ ชิณการณ์ ให้ข้อมูลเมื่อ ๘ กันยายน ๒๕๔๖)
  บ้านกะทู้ หมู่ ๒ ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต  กะทู้ มาจากในทูว  เพี้ยนจากนายตู เป็นผู้เฝ้าประตูเมืองตามความเชื่อของคนสมัยโบราณ พิธีตั้งเครื่องสังเวยนายประตูในปัจจุบันก็ยังมีอยู่ที่บ้านที่เรือนที่มีความเชื่อผูกพันมาแต่อดีต เช่น การแต่งงาน เมื่อเจ้าบ่าวมาบ้านเจ้าสาวก็ทำพิธี  นายตูมีไก่ต้ม 1 ตัว เหล้า 1 ขวด เทียน มาตั้งบูชาขออนุญาตจากท้าวนนทรีผู้เฝ้าประตู ขอเข้าไปบ้านเจ้าสาว ท้าวนนทรีก็อนุญาตให้เข้าไป พิธีตั้งสังเวยนายประตูนั้น ไม่ใช่เฉพาะงานแต่งงานอย่างเดียว ยังมีพิธีเปิดประตูของพวกเพลง "บอก" ด้วย เพื่อมาบอกศักราชให้ชาวบ้านทราบเรื่องดิน ฟ้า อากาศว่าได้ผลหรือเสียผลในการทำไร่ทำนานั้นมากน้อยเท่าใด ยามดี ยามร้าย มหาโชค มหาไชย ในการปลูกบ้านเรือนอาศัยเจ็บไข้ได้ป่วยทุกประการ  คำว่า ในทูวมาจาก นายตู เพราะในทูว เป็นที่ราบอยู่ในหุบเขาล้อมรอบ ภาษาต่างประเทศเรียก กราบาตู คือเขาหินล้อมเป็นวงกลม แล้วเพี้ยนมาเป็น กะทู และกะทู้ (เกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๗๐) รัชกาลที่ 6 ทรงชมความงามของเมืองเก็ตโฮ่เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๒ ว่า "เมื่อเข้าในแดนอำเภอกะทู้แล้วได้สักหน่อย ถนนผ่าไปในเขา พอโผล่ออกไปราวกับเปิดฉากละคร" (เกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๗๐)  ทิศเหนือติดบ้านกะทู้ หมู่ ๓  ทิศใต้ติดสี่แยกชายอุ่น สี่แยกคูหลองและสี่แยกกอจิ่ม ทิศตะวันออกจดไอแลนด์วิว ทิศตะวันตกติดบ้านสี่กอ  ภูมิประเทศเป็นป่า ปัจจุบันเป็นป่าควน คลอง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาไทย จีนฮกเกี้ยน และไทยถิ่นใต้ มีศูนย์วัฒนธรรมมรดกท้องถิ่น เทศบาลตำบลกะทู้ และโรงเรียนบ้านกะทู้ (สมคิด ฉั่วสกุล ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงนายประตู และอีกนัยหนึ่งหมายถึงอ่าวหิน(เกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๗๐)
  บ้านกะทู้ หมู่ ๓ ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต  บ้านกะทู้ ทิศเหนือเป็นควน ทิศใต้และทิศตะวันออกติดหมู่ ๒ ตำบลกะทู้ ติดตะวันตกติด หมู่ ๔  มีเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน ภูมิประเทศเป็นทุ่งนา แหล่งน้ำ  ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ธุรกิจส่วนตัว นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ (เต่ว ใจหาญ  ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546) บ้านกะทู้ หมู่ ๔ ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต  ในทู ที่มาเพี้ยนมาจาก คำว่า นายตู ภาษาต่างประเทศเรียกว่า กราบาตู คืออ่าวที่มีหิน ทิศเหนือติดเหมืองแร่เก่า ควนเขา ทิศใต้จดโรงเรียนบ้านกะทู้ ม.๒ กับหมู่ ๖ สี่กอ ทิศตะวันออก ติด หมู่ ๓ บ้านกะทู้ ทิศตะวันตกติด หมู่ ๕ ไม้เรียบ กับหมู่ 6 สี่กอ ภูมิประเทศในอดีต มีลักษณะเป็นป่า ทุ่งและมีหนองน้ำ หรือห้วย ทำเหมืองแร่ ทุ่งนา ปัจจุบันเป็นป่า  ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบบ้านจัดสรร รับราชการ ทำงานบริษัท โรงแรม นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทย ภาษาจีนฮกเกี้ยน และภาษาถิ่นภูเก็ต มีวัฒนธรรมสถาน ศาลเจ้าบรรพบุรุษ(ต่องย่องสู)  วัดกะทู้ พระพุทธบาทจำลอง (ภูหว้า) ศาลเจ้ากะทู้ (สำเริง คุณสนอง  ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงอ่าวหิน(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านไม้เรียบ หมู่ ๖ ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต  บ้านไม้เรียบบริเวณนี้มีช้างอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากเพราะมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งน้ำมีน้ำไหลผ่านอยู่เสมอ ประชาชนจึงตัดไม้เรียบมาต่อ ๆ กันเป็นพื้นทางเดิน ทิศเหนือติดควนเขา และชื่อเดิมบ้านเหนือ มีการสร้างโรงเรียนจึงเปลี่ยนตามชื่อของ โรงเรียนบ้านไม้เรียบ  ทิศใต้ติดถนนวิชิตสงคราม ทิศตะวันออกติดป่า ควนเขา ทิศตะวันตกติดเขาหว้า(พระธาตุภูหว้า) ภูมิประเทศในอดีตเป็น ป่า แหล่งน้ำ ควนเขา ทุ่งนา เหมืองแร่เก่า  ปัจจุบัน เป็นป่า แหล่งน้ำ ควนเขา  นับถือศาสนาพุทธ  ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ทำสวนผลไม้ ภาษาที่ใช้เป็นไทยถิ่นใต้  มีโรงเรียนบ้านไม้เรียบ (สมบูรณ์ ก้าวเร็ว ให้ข้อมูลเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงการเอาไม้มาวางบนพื้นเรียงต่อกัน และหมายถึงชื่อพืชชนิดหนึ่งกลุ่มเดียวต้นไทร ใบคล้ายใบโพ ชาวบ้านเรียกว่าโพเลียบ(เกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๗๒)
  บ้านสี่กอ หมู่ ๖ ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต บ้านสี่กอ บ้านบางเจี้ยม เชื่อว่าสมัยก่อนมีกอไผ่ ๔ ก่อ ทิศเหนือ จดน้ำตกกะทู้ ทิศใต้จดสำนักงานประถมศึกษา ทิศตะวันตกติดท้ายเหมืองแร่เก่า ทิศตะวันตกจดศาลเจ้าแป๊ะก๋อง ควนป่าตอง  ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่ารกป่าทึบ ปัจจุบันกลายเป็นที่อยู่อาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบค้าขาย  รับจ้างทั่วไป ธุรกิจส่วนตัว นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้  มีวัฒนธรรมสถานคือ ศาลเจ้าหงวนฮกเก้ง ที่ว่าการอำเภอกะทู้ สถานีตำรวจภูธรทุ่งทอง สหกรณ์การเกษตร (เรวัฒน์ รักชาติ ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)(นิตยา รักชาติ อายุ 42 ปี เกิด พ.ศ. 2500 ห้วยยอด จังหวัดตรัง ที่อยู่ 31/1 หมู่ 6 ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ 83120 ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านกะรน หมู่ ๑ ตำบลกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  บ้านรน บ้านกะรน ทิศเหนือติด ป่าตอง อำเภอกะทู้ ทิศใต้ติดบ้านบางลา ทิศตะวันออกติดตำบลฉลอง ทิศตะวันตกจดทะเลอันดามัน ภูมิประเทศในอดีตเป็นชายทะเลสามารถทำนาได้ มีป่าควนเขา ที่ราบเป็นทุ่งนา ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยว บังกะโล ร้านอาหารภัตตาคาร ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบค้าขาย ธุรกิจการท่องเที่ยว และธุรกิจบ้านเช่า นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาถิ่นภูเก็ต  มีวัฒนธรรมสถาน วัดสุวรรณคีรีเขต โรงเรียนวัดสุวรรณคีรีเขตและสำนักสงฆ์ (วิชิต เฟืองมุสิก  ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546) ชื่อบ้านหมายถึง อ่าวที่มีเรือน(เกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๑๒)
  บ้านในหาน หมู่ ๑ ตำบลกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  บ้านในหาน เป็นบึงขนาดใหญ่ เป็นแอ่งน้ำ เป็นส่วนหนึ่งของหมู่ ๑ อยู่ทางทิศเหนือ  ทิศเหนือติดสันเขากะรนน้อย(บริเวณโรงแรมเมอริเดียน) ทิศใต้ติดหมู่ ๑ บ้านกะรน ทิศตะวันออกจดเขาเกิด ทิศตะวันตกจดทะเลอันดามัน ภูมิประเทศในอดีตเป็นทุ่งนา ป่า หนองน้ำ ปัจจุบันได้กลายเป็นที่อยู่อาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจส่วน และรับจ้าง นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้จะเป็นภาษาไทยถิ่นใต้(วิชิต เฟืองมุสิก  ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านกะตะ  หมู่ ๒ ตำบลกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  บริเวณกะตะ กะรนมีผู้ศักดิ์สิทธิ์เรียกว่า "พ่อตายมดึงส์"  มีช้าง ๒ เชือกแต่สร้างบ้านเรือน (รน) ในหุบเขาแห่งหนึ่ง เรียนว่า "กะรน" นอกจากมีช้างแล้วท่านได้ทำนาทำไร่และเอาข้าวมาตาก(ตะ) บริเวณที่ราบ เชิงชายเขาอีกแห่งหนึ่ง เรียกกะตะ  ครั้งหนึ่งช้างได้ขาดหนีไป ท่านก็ลากหอกตามช้างไปทางแหลมพันวา ลากหอกผ่านเขาจนเขาขาด กลายเป็นช่องเขาขาด เพราะอิทธิฤทธิ์ของการลากหอกตามช้างของท่าน ทิศเหนือติดบ้านคอกช้าง ทิศใต้จดตำบลราไวย์ และทะเลอันดามัน ทิศตะวันออกติดตำบลฉลอง ทิศตะวันตกจดทะเลอันดามัน ภูมิประเทศในอดีต เป็นทุ่งนา ทุ่งหญ้า ป่า ภูเขา ปัจจุบันเป็นควนป่าเขา ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ธุรกิจส่วนตัว ค้าขาย นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยใต้ วัฒนธรรมสถานมี วัดกิตติสังฆาราม ชื่อบ้านนี้หมายถึงตากข้าวหรือทำนาข้าว (ประสิทธิ์ พาดอน  ให้ข้อมูลเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2546) ) สุนัย ราชภัณฑารักษ์ (๒๕๒๗:๑๙๕)ได้ค้นคว้าพบว่า กะตะมาจาก กราตะ แปลว่า อ่าวข้าว
  บ้านโคกโหนด หมู่ ๒ ตำบลกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  บ้านโคกโหนด ซึ่งบริเวณที่มีต้นตาลมาก ทิศเหนือติดทุ่งนา ทิศใต้ติดขอบเนินเขา ระหว่าง กะตะน้อยกับกะตะใหญ่ ทิศตะวันออกติดควนหลาน้ำ ทิศตะวันตกจดทะเล  ภูมิประเทศในอดีตเป็นต้นตาล ทุ่งนา ทุ่งหญ้า ปัจจุบันเป็นสถานประกอบการ ที่อยู่อาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง และค้าขาย นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้จะใช้ภาษาไทยถิ่นใต้  (ประสิทธิ์ พาดอน อายุ 57 ปี เกิด พ.ศ.2489 บ้านคอกช้าง  ที่อยู่10 หมู่ 4 ตำบลกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83100 ให้ข้อมูลเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2546)  บ้านโคกโตนด หมู่ ๘, ๙ ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  โคกโหนด ลักษณะเป็นเนิน เรียกโคก บริเวณบ้านมีต้นตาลโตนดเป็นจำนวนมาก อาณาเขตทิศเหนือติดบนสวน ป่าหล่าย ทิศใต้ติดบ้านห้าแยก ทิศตะวันออกติดชายทะเล ทิศตะวันตกติดถนนเจ้าฟ้าตะวันตก ภูมิประเทศในอดีตเป็น แร่ ทุ่งนา ต้นตาล ปัจจุบันฟาร์มเลี้ยงกุ้ง คลอง นับถือศาสนาพุทธและอิสลาม ใช้ภาษาใต้และภาษากลาง มีกรมสรรพากร (วิรัช  จริวัฒนวิจิตร ให้ข้อมูลเมื่อ 25 มกราคม 2547)  บ้านโคกโตนด หมู่ ๖ ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต   โคกโตนด (โคก - ชั้นจากนาจะเรียกว่าโคก  เนิน - มีต้นโหนดมาก เป็นพันมีทุ่งนากว้าง) และเมื่อ พ.ศ. 2499 ประมาณ 95 ปี มียายชีพวง ตาเขียว ประทีป ณ ถลาง ยาวเซียน ยายเขลิม ได้เข้ามาบุกเบิกป่าบนโคกอยู่เพียง 4 ครัวเรือน และขยายออกมาจากที่เดิม เนื่องจากต้องการขยายที่ทำกิน และขยายครอบครัว ทิศเหนือติดกับบ้านดอน ทิศใต้จดทะเลอันดามัน ทิศตะวันออกติดหมู่บ้านในทอน ทิศตะวันตกติดกับหมู่บ้านป่าสัก ตำบลเชิงทะเล ภูมิประเทศเป็นทรัพยากรธรรมชาติขึ้นเองตามธรรมชาติ พืชผัก และมีสัตว์ป่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง 126 ครอบครัว ทำสวน 20 ครอบครัวและค้าขาย 9 ครอบครัว นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้  (เพียร วัยวุฒิ ให้ข้อมูลเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2546) ชื่อบ้านหมายถึงบ้านที่อยู่บนเนินและมีต้นตาลโตนด (เกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๔๕)
  บ้านในพรุ หมู่ ๓ ตำบลกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  บ้านในพรุ "พรุ" เป็นที่ที่มีน้ำขัง น้ำตื้น บริเวณนั้นมีบ้านอยู่ใกล้กับพรุ เรียกบ้านในพรุ ทิศเหนือติดหมู่ ๑ บ้านกะรน ทิศใต้ติดสันเขาระหว่าง หมู่ ๓ กับบ้านในพรุ ทิศตะวันออกติดเขาเกิด ทิศตะวันตกจดโรงแรมบาร์เบียร์ ภูมิประเทศในอดีต เป็นแหล่งน้ำ ป่า ทุ่งหญ้า ปัจจุบันเป็นบ้านพักอาศัย และสถานประกอบการ  ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง และค้าขาย นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นไทยถิ่นใต้ (ประสิทธิ์ พาดอน ให้ข้อมูลเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงบึงน้ำชายฝั่งทะเล(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านคอกช้าง หมู่ ๔ ตำบลกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  บ้านคอกช้าง(ประสิทธิ์ พาดอน อายุ 57 ปี เกิด พ.ศ.2489 บ้านคอกช้าง  บ้านเลขที่ 10 หมู่ 4 ตำบลกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83100 ให้ข้อมูลเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงคอกให้ช้างอยู่(เกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๑๓)
  บ้านท้ายนา  หมู่ ๔ ตำบลกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต บ้านท้ายนา ทิศเหนือติดบ้านบางลา ทิศใต้จดโรงแรม ร้านค้า บาร์เบียร์ ทิศตะวันออกติดหมู่ ๔ ทิศตะวันตกจดทะเล ภูมิประเทศในอดีต เป็นทุ่งนา ทุ่งหญ้า แหล่งน้ำ ปัจจุบันเป็นนาร้าง ที่พักอาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง และค้าขาย นับถือศาสนาพุทธ  ภาษาที่ใช้เป็นไทยถิ่นใต้ ชื่อบ้านนี้หมายถึงส่วนหลังสุดของทุ่งนา (ประสิทธิ์ พาดอน  ให้ข้อมูลเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านสะปำ  หมู่ ๑ ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  บ้านตากปำ ตะปำ คนจีนเรียก ซิตัม เดิมมีการประกอบชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบประมงชายฝั่ง แปรรูปผลิตผลจากทะเล โดยทำเคยกะปิ ชาวบ้านจะนำกุ้งเคย มาตากแดด กันตลอดข้างทาง เรียกว่า บ้านตากปำ และเพี้ยนมาเป็น ตะปำ และ สะปำ ปี พ.ศ.๒๓๔๕ คนกลุ่มแรก คือชาวไทย ชาวเลโอรังลาโอด และไทยเชื้อสายจีน ทิศเหนือติดบ้านบางคู ทิศใต้ติดบ้านควนดินแดง ทิศตะวันออกจดอ่าวสะปำ ทิศตะวันตกติดเขาพันธุรัตน์  ภูมิประเทศในอดีตเป็น ป่า ควนเขา ทะเล ปัจจุบันได้ติดชายทะเล  ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบจะรับจ้าง ค้าขาย รับราชการ  นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยกลาง ไทยถิ่นใต้ วัฒนธรรมสถานมี โรงเรียนบ้านมงคลวิทยา สำนักสงฆ์สะปำ ศาลเจ้าสะปำ (ส่วนลุ่ย ธีรภาพพงษ์ อายุ 68 ปี เกิด พ.ศ.2478 เดิมอยู่ บ้านแสนสุข ที่อยู่ 107/2 หมู่ 1 ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83200 ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546) บ้านสะปำ หมู่ ๓ ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต   ทิศเหนือติดบ้านเกาะแก้ว ทิศใต้ติดชุมชนป่ามะพร้าว ทิศตะวันออกติดอ่าวสะปำ ทิศตะวันตกติดชุมชนป่ามะพร้าว ภูมิประเทศเป็นทะเล ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบการประมง และรับจ้างทั่วไป นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้พูดเป็นภาษาไทยถิ่นใต้ ภาษาโอรังลาโอด(ภาษายาวี) (แดง ประโมงกิจ  ให้ข้อมูลเมื่อ  11 พฤศจิกายน 2546) ) สุนัย ราชภัณฑารักษ์ (๒๕๒๗:๑๙๔)ได้ค้นคว้าพบว่า สะปำมาจาก กราลำปำ แปลว่า ฝั่งน้ำ  สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ( ๒๕๒๓:๕๑) ได้ค้นคว้าพบว่าคำสะปำ เป็นภาษาทมิฬ แปลว่าฝั่งน้ำ
  บ้านควนดินแดง  ชาวภูเก็ตเรียกเนินเขาว่า ควน และบริเวณแห่งนี้มีดินแดง ทั้งเนินเขาจึงเรียกว่า บ้านควนดินแดง อดีตเคยเรียกว่า ควนขมำ เวลาเดินมันจะลื่นไปหลัง จึงขมำหน้าสู่พื้นดิน ทิศเหนือติดบ้านสะปำ ทิศใต้ติดบ้านบางชีเหล้า ทิศตะวันออกติดเนินเขา ทิศตะวันตกติดเขาพันธุรัตน์  ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่า เนินเขา ปัจจุบันเป็นเนินเขา บ้านเรือน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบค้าขาย และธุรกิจส่วนตัว  นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ (ส่วนลุ่ย ธีรภาพพงษ์  ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546) บ้านควนดินแดง หมู่ ๑๑ ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บ้านควนภูมิลำเนาเดิมที่จากสภาพภูมิศาสตร์ที่ตั้ง ซึ่งอยู่บนเนินความสูงใกล้ทิวเขาพระแทว ในอุทยานน้ำตกโตนไทร  และบ้านควนได้แยกหมู่บ้านมาจากหมู่บ้านแขนน ตามกฎหมายปกครองท้องที่จากหมู่ที่ 2 มาเป็นหมู่ที่ 11 ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยก่อตั้งในหมู่บ้านในปี พ.ศ. 2529 ประมาณ 16 ปีมาแล้ว ทิศเหนือจดบ้านนาใน ทิศใต้จดอุทยานน้ำตกโตนไทร ทิศตะวันออกติดทิวเขาพระแทว ทิศตะวันตกจดบ้านแขนน ภูมิประเทศในอดีตเป็นเนินสูงสลับที่ราบทุ่งนา ปัจจุบันเป็นป่าคลองน้ำ (คลองบางใหญ่) และสวนยางพารา ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวน รับจ้าง นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีศาลเจ้าตาทวดดึงและตาทวดไก่  ชื่อบ้านนี้หมายถึงเนินเขาที่มีดินสีแดง(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านพะเกติ๋ว อยู่ที่บ้านเกาะแก้ว หมู่ ๒ ถนนเทพกระษัตรี ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชื่อบ้านหมายถึง บ่อนชนไก่(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านบางคู หมู่ ๒ ถนนเทพกระษัตรี ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ด้านตะวันตกเป็นภูเขา มีการทำเหมืองแร่ แล้วไหลลงสู่ที่ราบขาวปนจึงขุดคู ขาวมาจนถึงทิศตะวันออก ลงสู่ทะเล จึงเรียกว่า บ้านบางคู  ทิศเหนือจดโรงเรียนนานาชาติดาลิต ทิศใต้ติดสามแยกถนนทุ่งคาเนียงแตก ทิศตะวันออกจดทะเลอันดามันและโบ๊ทลากูน ทิศตะวันตกติดภูเขานางพันธุ์รัตน์ ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่ายาง เหมืองแร่ ปัจจุบันเป็น เหมืองแร่เก่า และที่อยู่อาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป และธุรกิจส่วนตัว นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้  มีสถานีอนามัยเกาะแก้ว กุโบร์มุสลิม(ของบ้านเกาะแก้ว) โบ๊ทลากูน และโรงเรียนบ้านบางคู (สมพงศ์ จันทร์หอย และโหย้ ชโลธร ให้ข้อมูลเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านบางเหนียว หมู่ ๓ ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบคือประมง คำว่า บางเหนียว ภาษาจีน แปลว่า แหหรืออวน ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ปี ๒๔๗๕ ชาวบางเหนียวเดิมตั้งรกรากอยู่ก่อนแล้ว และมีชาวทุ่งคา ชาวจีน ชาวประมง ทยอยมาตั้งถิ่นฐาน  ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าโกงกาง ป่าชายเลน ป่าพังกา ปัจจุบันเป็นป่าชายเลน และป่าโกงกาง  ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ประมง และรับราชการ นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสะปำ ศาลเจ้ากวนเต้กุน) (แดง ประโมงกิจ ให้ข้อมูลเมื่อ  11 พฤศจิกายน 2546) บ้านบางเหนียว ตำบลตลาดใหญ่ในเขตเทศบาลนครภูเก็ต อยู่ทางทิศใต้ของเทศบาลนครภูเก็ต เป็นท่าเรือของภูเก็ตในอดีตติดต่อกับต่างจังหวัดและเมืองปีนัง ชื่อบ้านหมายถึงสถานที่ตากแหอวน(เกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๒๒)
  บ้านเกาะแก้ว หมู่ ๔ ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  บ้านเกาะแก้ว  ทิศเหนือติดเขต อำเภอถลาง ทิศใต้ติดหมู่ ๕ บ้านเกาะแก้ว ทิศตะวันออกจดทะเลอันดามัน ทิศตะวันตกติดภูเขาเจาะตาและภูเขาควน ภูมิประเทศในอดีตเป็นเกาะ ป่ายาง ทุ่งนา และหนองน้ำ ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัย และร้านค้า ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ประมง นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ของภูเก็ต มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเกาะแก้ว มัสยิดบ้านตาใน บาหลาย(สถานที่เรียนหนังสือแขก) (เจ๊ะตีน เหมาเหล็ก  ให้ข้อมูลเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2546) บ้านเกาะแก้ว หมู่ ๕ ถนนเทพกระษัตรี ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต   บ้านเกาะแก้ว ทิศเหนือติดหมู่ ๔ ตำบลเกาะแก้ว ทิศใต้ติดบ้านบางคู ทิศตะวันออกจดทะเลอันดามัน ทิศตะวันตกติดภูเขาควน และภูเขาเจ๊ะตา ภูมิประเทศเป็นป่า ป่ายาง ปัจจุบันกลายที่พักอาศัย และร้านค้า ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง และประมง นับถือนับถือศาสนาอิสลาม ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีมัสยิดยาบรรณนูร (แอ คุ้มบ้าน  ให้ข้อมูลเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2546)  ชื่อบ้านนี้หมายถึงเกาะที่มีแก้ว(เกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๑๔)
  บ้านเกาะมะพร้าว เกาะมะพร้าวในอดีตมีมะพร้าวเป็นจำนวนมาก ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตกจดทะเลอันดามัน ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นทะเล สวนยางและสวนมะพร้าว ปัจจุบันเป็นทะเล สวนยางและสวนมะพร้าว ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการประมง การเกษตร และสวนยาง นับถือนับถือศาสนาอิสลาม ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีมัสยิดบ้านเกาะมะพร้าว โรงเรียนบ้านเกาะมะพร้าว อนามัยบ้านเกาะมะพร้าว (ลี่ อุ่นเรือน  ให้ข้อมูลเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึง*เกาะที่มีมะพร้าว(เกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๑๔)
  บ้านแหลมหิน หมู่ ๗ ถนนเทพกระษัตรี ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  บ้านแหลมหิน เมื่อก่อนบริเวณนี้เป็นหิน หินมีจำนวนมาก ที่แหลมก็เป็นหิน จึงเรียกที่นี่ว่า แหลมหิน  ทิศเหนือจดทะเล ทิศใต้ติดบ้านบางชีเหล้า ทิศตะวันออกจดทะเล ทิศวันตกติดถนนเทพกระษัตรี ภูมิประเทศในอดีตเป็นที่นา ป่าเบญจพรรณ ปัจจุบันเป็นที่พักอาศัย และฟาร์มกุ้ง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร (ประมง) รับจ้างทั่วไป  นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 70 และนับถือศาสนาพุทธ 30 เปอร์เซ็นต์ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีมัสยิดกามากียะห์ กุโบร์บ้านแหลมหินและท่าเทียบเรือประมง (ลี่ อุ่นเรือน ให้ข้อมูลเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงบริเวณแหลมที่มีหิน(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านเขาน้อย หมู่ ๑ ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  กลุ่มที่อพยพเข้ามาอยู่ คือคนจีน ซึ่งขึ้นเรือที่จังหวัดภูเก็ต มาตั้งรกรากที่นี่ร่วมกับคนกลุ่มเดิมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิม ทิศเหนือจดโรงเรียนบ้านนาบอน ทิศใต้จดบ้านนาใหญ่ ทิศตะวันออกติดถนนเจ้าฟ้าตะวันออก ทิศตะวันตกจดองค์การโทรศัพท์สาขา 2 ภูเก็ต ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่า สวนยาง และทุ่งนา  ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้าง  บริการ ทำสวน นับถือศาสนาพุทธ มีศาลเจ้าตาเอียด ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ (สมหมาย ทองงาม ให้ข้อมูลเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงพื้นที่มีเนินเขาขนาดย่อม(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านบนสวน หมู่ ๒ ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  บ้านบนสวน ชาวจีนล่องเรือมาขึ้นฝั่ง ณ บ้านป่าหล่าย เห็นความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่บนสวนปัจจุบัน จึงเข้ามาอยู่อาศัยทำการเกษตรทำไร่ สวนผักต่าง ๆ  ซึ่งเรียกว่า บ้านบนสวน ทิศเหนือจดบ้านนาบอน ทิศใต้ติดหมู่บ้านชุมทอง ทิศตะวันออกติดบ้านป่าหล่าย ทิศตะวันตกติดบ้านสุวิทย์ ว่องไว ภูมิประเทศในอดีตเป็นทุ่งนาร้าง สวนผัก ในปัจจุบันเป็นสวนผัก ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขายและทำสวน นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ (วิชิต บุญช่วย ให้ข้อมูลเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2546 และสมหมาย ทองงาม ให้ข้อมูลเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านฉลอง ในตำบลฉลอง อำเภอเมืองภูเก็ต ชื่อบ้านมาจากกระลาแล กราลาแลง กราลาลาง หดลงเป็นกะลาง แล้วเป็น ฉลอง คำเดิมหมายถึง อ่าวหญ้าคา (สุนัย ราชภัณฑารักษ์ ๒๕๒๗:๑๙๔)
  บ้านนาใหญ่ หมู่ ๔ ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  บ้านนาใน เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่นา ทิศเหนือติดตลาดนั่งยอง ทิศใต้จดวัดไชยธาราราม(วัดฉลอง) บ้านแลนแอนด์เฮ้าท์ ทิศตะวันออกติดบ้านเขาน้อย ทิศตะวันตกติดขุมเหมืองร้าง ภูมิประเทศเป็นที่ราบ ทุ่งนา ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวน รับจ้างและค้าขาย นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ (สมหมาย ทองงาม  ให้ข้อมูลเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านนากก หมู่ ๕ ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  บ้านนากก เป็นที่นาที่มีต้นกกเป็นจำนวนมาก ทิศเหนือติดเขานาคเกิด ทิศใต้ติดบ้านนาใหญ่ ทิศตะวันออกจดโรงไฟฟ้า ทิศตะวันตกติดขุมเหมืองร้าง และวัดหลวงปู่สุภา ภูมิประเทศในอดีตเป็นพื้นที่นาและสวน ปัจจุบันได้กลายมาเป็นบ้านเรือน เกษตรกร และสวนยาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบค้าขาย รับจ้าง ทำสวนและรับราชการ นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้  มีวัดไชยธาราราม ไอแลนด์ซาฟารี (สมหมาย ทองงาม  ให้ข้อมูลเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงทุ่งนาที่มีต้นกก(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านกลาง หมู่ ๗ ถนนเจ้าฟ้า ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  บ้านกลาง เนื่องจากเมื่อก่อนเป็นจุดศูนย์กลาง วัดฉลองเป็นจุดศูนย์รวมในการประกอบพิธีกรรมและบริเวณนี้ก็เคยเป็นพื้นที่กว้าง จึงเหมาะสมกับการรวมคนที่จะทำพิธีกรรมต่าง ๆ ทิศเหนือติดบ้านต้นวัดและบ้านฉลอง ทิศใต้ติดบ้านบางแร่ ทิศตะวันออกติดบ้านโคกทราย ทิศตะวันตกติดเขานาคเกิด ภูมิประเทศในอดีตเป็นสวนผัก ทุ่งนาและแหล่งน้ำ ปัจจุบันเป็นที่พักอาศัย และการทำสวน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและธุรกิจส่วนตัว นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ (สมหมาย ทองงาม  ให้ข้อมูลเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านวัดใหม่ หมู่ ๗ ถนนเจ้าฟ้า ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  บ้านเกิด ซึ่งในอดีตเป็นเขาเกิด แล้วสร้างวัดขึ้นใหม่ รื้อวัดอยู่บริเวณวัดจึง ตั้งชื่อใหม่ว่า บ้านวัดใหม่ ทิศเหนือติดสวนยาง ทิศใต้ติดสวนยาง ทิศตะวันออกติดยอดเสน่ห์ ทิศตะวันตกติดเขาเกิด ภูมิประเทศเป็นป่า ภูเขาและสวนยาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยาง นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีพระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี (สุขศรี เรืองรัตน์ ให้ข้อมูลเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านโคกทราย หมู่ ๘ ตำบลฉลอง อำเภอเมือง  บ้านโคกทราย ซึ่งบริเวณหมู่บ้าน ทิศเหนือจดบ้านกลาง ทิศใต้จดวงเวียนห้าแยก ทิศตะวันออกติดเจ้าฟ้านอก ทิศตะวันตกติดยอดเสน่ห์ ภูมิประเทศในอดีตเป็นหนองน้ำ เหมืองแร่และป่าไม้ ปัจจุบันกลายเป็นที่พักอาศัย บ้านเช่า และสถานบริการ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้าง นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีวัดลัฎฐิวนาราม (เสาวนีย์ เผือกเพชร  ให้ข้อมูลเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงบริเวณเนินที่มีทราย(เกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๑๘)
  บ้านยอดเสน่ห์ หมู่ ๑๐ ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  ยอดเสน่ห์ ในอดีตเขานาคเกิด ที่มีนาอยู่เขาจึงเรียกต่อ ๆ กันมาว่า ยอดเสน่ห์ ทิศเหนือจดคลองบางแร่ ทิศใต้ติดถนนทางไปกะตะ ทิศตะวันออกติดถนนเจ้าฟ้า ทิศตะวันตกติดเขานาคเกิด  ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่า ภูเขาและบึง ปัจจุบันเป็นสวนยางพารา ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวน ค้าขาย และรับจ้าง ภาษาเป็นภาษาไทยถิ่นใต้ของชาวภูเก็ต มีพระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี (เลี่ยม มวลสกุล ให้ข้อมูลเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงหมู่บ้านที่นิยมทำเสน่ห์ยาแฝด(เกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๑๘)
  บ้านบางแร่ หมู่ ๑๐ ถนนเจ้าฟ้า ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  บ้านบางแร่ ซึ่งเมื่อก่อนบริเวณนี้เป็นบางที่มีแร่อยู่ คนหาแร่หาได้วันละก้อนแต่หาได้ไม่ทุกวัน  ทิศเหนือติดบ้านกลาง ทิศใต้ติดบ้านยอดเสน่ห์ ทิศตะวันออกติดถนนเจ้าฟ้า ทิศตะวันตกติดเขาเกิด ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าและสวนยาง ในปัจจุบันกลายเป็นที่อยู่อาศัยและสวนยาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวน และรับจ้าง นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ (สมหมาย เทียนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงบริเวณที่มีแร่ดีบุกมาก(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านแขนน หมู่ ๒ ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บ้านแหนน  ซึ่ง แขนนไม่มีคำแปล ตัวแหนงหน่าย ภูมิลำเนาเดิมที่ความเบื่อหน่าย อาบน้ำต้ม แล้วจะคลายความแหนง จีนขึ้นมาทำไม้ด้ามจอบ จะมาทำแร่ใกล้เขาที่น้ำตกโตนไทร เนื่องจากหมู่บ้านตั้งอยู่หน้าเขาพระแทวและมีแม่น้ำผ่านหลายสาย จึงเรียก บางแนน ทิศเหนือติดป่าครองชีพ ทิศใต้ติดบ้านหินรุ่ย ทิศตะวันออกติดเขาพระแทว ทิศตะวันตกติดบ้านบ่อกรวด ภูมิประเทศในอดีต เป็นทุ่งนา คลอง แม่น้ำและเหมืองแร่ ปัจจุบันกลายเป็นบ้าน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบเกษตร สวนยาง ประมง นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นไทยถิ่นใต้ มีโรงเรียนวัดโคกวัดใหม่ (เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านดอน หมู่ ๔ ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บ้านดอน ซึ่งเดิมลักษณะของหมู่บ้านเป็นที่ดอน มีต้นไม้มากและน้ำล้อมรอบ ซึ่งเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่ตั้งมา ๒๐๐ กว่าปี เป็นที่ตั้งของบ้านพระยาถลางจอมเฒ่า ลุงของท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร   ภูมิประเทศเป็นทุ่งนาและแม่น้ำ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ทำสวน เกษตรกร ค้าขาย เลี้ยงสัตว์ ตัดเย็บ และรับเหมา มีวัดร้างเดิมชื่อวัดประดู่และวัดต้นโด) (เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านป่าคลอก หมู่ ๒ ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บ้านป่าคลอก ได้จากเหตุการณ์เมื่อพม่ายกทัพมาตีบ้านป่าคลอก จับเด็กคนแก่มาขัง เอาไฟเผาครอกทั้งเป็นจึงเรียกว่า บ้านป่าคลอก  และสมัยพระยาถลางมีช้างมาก ฝึกช้างล้อมคอกไปขายอินเดีย ทิศเหนือจดบ้านบางโรง หมู่ 3 ทิศใต้จดบ้านผักฉีด หมู่ 1 ตำบลป่าคลอก ทิศตะวันออกจดหาดท่าหลา หมู่ 2 ทิศตะวันตกจดอุทยานแห่งชาติเขาพระแทว ตำบลป่าคลอก ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าไม้ ป่าชายเลน ประมง ปัจจุบันมีการเลี้ยงสัตว์ ทำสวน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอุตสาหกรรมท่องเที่ยว   ค้าขาย ประมงและรับจ้าง นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีโรงเรียนวีรสตรีอนุสรณ์ ศูนย์ศึกษานอกโรงเรียน ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล วัดโสภณวนาราม(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านหมากปรก หมู่ ๑ ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  คนแก่นิยมกินหมากกับพลูและปูนแดง ชาวบ้านเรียกบ้านหม้าปรก มีต้นหมากใบดก ก่อตั้งปี 2480 ผู้ที่มาตั้งรกราก เดิมมี 4 ครอบครัว คือตระกูลพาที แต่คนที่พัฒนาบ้านหมากปรกคือนายแอ มานะจิตต์ ชาวกระบี่ เป็นนายด่านตรวจคนเข้าเมืองที่สะพานหิน ภรรยาท่านมาอาศัยกับนายเพ็ง พาที ท่านจึงลาออกจากนายด่านแล้วมาทำกิน ณ ที่แห่งนี้ ทิศเหนือจดคลองหมากปรก ทิศใต้จดบ้านเมืองใหม่ ทิศตะวันออกจดป่าโกงกาง ทิศตะวันตกติดบ้านทุ่งคาและบ้านบ่อสอม ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าโกงกางและสวนยางสวนยาง ปัจจุบันเป็นป่าไม้เบญจพรรณ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำเกษตรกรรม และรับจ้าง นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีโรงเรียนบ้านหมากปรก (ร่อ เก็บทรัพย์  ให้ข้อมูลเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านคอเอน หมู่ ๒ ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  ค้อเอน อดีตมีต้นค้อ และต้นค้อเอน จึงเรียกบ้านนี้ว่า บ้านค้อเอน หรือเป็นชื่อของพันธุ์ไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง คือต้นค้อมีลักษณะเอน ทิศเหนือจดทะเลอันดามัน ทิศใต้ติดบ้านหมากปรก ทิศตะวันออกอ่าวโต๊ะขุน ทิศตะวันตกติดอ่าวด่านหยิด ป่า สวนยาง ภูมิประเทศในอดีต เป็นป่า ทะเล ป่ายาง ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัยและสวนผลไม้ สวนยาง นากุ้ง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง และค้าขาย  นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีมัสยิดอัลอิสลาห์หียาะร์ กุโบร์ โรงเรียนบ้านคอเอน สถานีอนามัยไม้ขาว ท่าเทียบเรือยอร์ทเฮเว่น ศูนย์อบรมจริยธรรม (สุพรรณ ปาทาน ให้ข้อมูลเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงต้นค้อขนาดใหญ่เอนใกล้ล้ม(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านสวนมะพร้าว   หมู่ ๓ ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  สวนพร้าว สวนฝรั่ง มีชาวต่างชาติเป็นฝรั่งคือนายสก๊อต เข้ามาตั้งรกรากแล้วแต่งงานกับสาวไทยแล้ว ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบทำสวนมะพร้าว จึงได้ชื่อหมู่บ้านว่าสวนฝรั่ง ต่อมาปลูกมะพร้าวเพิ่มขึ้น นำผลผลิตในการทำอุตสาหกรรมผลิตสบู่ นำมันมะพร้าว และได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านสวนมะพร้าว ซึ่งต้นตระกูลหงษ์หยกบำรุง คือหลวงอนุภาษ เป็นเจ้าของที่ได้ปลูกต้นมะพร้าวกว่าพันไร่ในบริเวณนั้น จึงเป็นที่มาของบ้านสวนมะพร้าว แล้วลูกสาวได้แต่งงานกับชาวต่างชาติชื่อ สก็อต ทิศเหนือติดหาดทรายแก้ว ทิศใต้ติดบ้านไม้ขาว ทิศตะวันออกติดบ้านด่านหยิด ทิศตะวันตกจดทะเล ภูมิประเทศในอดีต เป็นป่าพรุสวนมะพร้าว และแหล่งน้ำ ปัจจุบันเป็นที่ราบลุ่ม ป่าพรุ สวนยาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบการเกษตร รับจ้างทั่วไป นับถือศาสนาอิสลามและนับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีโรงเรียนหงษ์หยกบำรุง ศาลาพักสงฆ์บ้านสวนมะพร้าว (เฉลิมศักดิ์ ทองภักดี ให้ข้อมูลเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านไม้ขาว หมู่ ๔ ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บ้านไม้ขาว ซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าไว้ว่าที่กลางหมู่บ้าน (บริเวณทุ่งนาปัจจุบัน) มีต้นไม้ใหญ่สีขาวอยู่ ๒ ต้นคู่กัน  ไม้ส่วนมากเป็นไม้เสม็ดมีต้นสีขาว ทิศเหนือติดบ้านสวนมะพร้าว  ทิศใต้จดท่าอากาศยานภูเก็ต (สนามบิน) ทิศตะวันออกติดบ้านหมากปรก ทิศตะวันตกจดทะเล  ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าดงดิบ และสวนมะพร้าว ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบทำสวน และเลี้ยงสัตว์ นับถือศาสนาพุทธและอิสลาม ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีโรงสี (เฉลิมศักดิ์ ทองภักดี ให้ข้อมูลเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงไม้ต้นสีขาว คือต้นเสม็ดเปลือกขาว(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านบางชีเหล้า หมู่ 2 ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  ชาวบ้านต่างถิ่นมาตั้งรกราก ปลูกเรือนทำการเกษตร ปลูกผักสวนครัว แล้วทำผักชีมาดองกับเหล้าขาว เพื่อใช้ในการรักษาโรคและบาดแผล ทำให้ชาวบ้านละแวกนั้น เรียกว่า บ้านชีเหล้า เพี้ยนมาเป็น บ้านบางชีเหล้า  และแต่เดิมเป็นแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ เมื่อปี พ.ศ.2494 ชาวบ้านมาจับจองที่ดิน 6-7 ครัวเรือน ต่อมาชาวมุสลิมที่ย้ายถิ่นฐานจาก จังหวัดพังงา กระบี่ และชาวก่อไผ่ เข้ามาอาศัยอยู่เพิ่มขึ้น ทิศเหนือติดหมู่บ้านเกียรติสินธ์ ทิศใต้ติดสวนยางและเนินเขา ทิศตะวันจดสวนยางและทะเลอันดามัน ทิศตะวันตกติดสวนยางและถนนเทพกระษัตรี ภูมิประเทศในอดีตเป็นลุ่มน้ำ แหล่งน้ำและสวนยางพารา ปัจจุบันเป็นที่ราบ ที่พักอาศัย บ้านจัดสรรและอาคารพาณิชย์  ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง และทำสวน นับถือศาสนาอิสลามและนับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีมัสยิดลิวาอู้ลอิสลาม (นิยม เกิดลาภ ให้ข้อมูลเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านกู้กู หมู่ 3 ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  ท่าจีน อดีตเป็นท่าเรือ ชาวจีนมาแวะพัก ซึ่งชาวบ้านสมัยก่อนมีฐานะยากจน บางคนก็เป็นทาส แต่มีความขยัน อดทน ทำมาหากินจนมีฐานะที่ดีขึ้นสามารถไถ่ถอนตัวเองจากความยากจน หรือทาสได้ขึ้นเป็นที่มาของหมู่บ้านกู้กู" ซึ่ง 150 ปีก่อน ชาวส่วนใหญ่เป็นคนนครศรีธรรมราชอพยพมาตั้งถิ่นฐาน เนื่องจากบริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์ แต่ชาวบ้านสมัยก่อนมีความยากจนมาก ทิศเหนือติดถนนเทพกระษัตรี ทิศใต้ติดซอยกิ่งแก้ว ทิศตะวันออกติดคลองท่าจีน ทิศตะวันตกติดเขาโต๊ะแซะ ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าโกงกาง แหล่งน้ำและป่าชายเลน ปัจจุบันเป็นแหล่งน้ำ ป่า สวนยางและทุ่งหญ้า หนองน้ำ ป่าชายเลน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบที่ทำมี รับจ้าง ค้าขาย ทำสวน ประมง เลี้ยงสัตว์และรับราชการ นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีโรงเรียนบ้านกู้กู โรงเรียนอนุบาลบุษบง และโรงเรียนเทพอำนวยวิทยา (สุพัตรา มณีโชติ  ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงการคืนสู่อิสรภาพด้วยตนเอง(เกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๒๕)
  บ้านลักกงษี หมู่ 6 ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  ลักกงษี ซึ่งมีชาวจีน 6 คน มาทำเหมืองแร่ สร้างบ้านพักหรือโรงเก็บสัมภาระไว้คนละหลัง ลัก=6, กงษี =หนำ หรือบ้านพัก ที่อยู่รวม (จ้าง 6 คน- ลักกงษี - 6 หุ้นส่วน)  และเริ่มก่อตั้งเมื่อ 300-400 ปี กลุ่มแรกเป็นชาวจีนที่ยากจนมาก อพยพจากเมืองจีนมาตั้งรากฐานที่แห่งนี้ ริเริ่มสร้างบ่อน้ำใช้ ขุดคูคลอง ถางป่า ทำไร่ คิดค้นยาสมุนไพรต่าง ๆ ทิศเหนือจดเหมืองแร่เก่าและสวนยาง ทิศใต้จดสถาบันราชภัฎภูเก็ต ทิศตะวันออกติดถนนเทพกระษัตรี ทิศตะวันตกจดบ้านศรีสุชาติ  ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าผสมทุ่งหญ้า แม่น้ำลำคลองไหลผ่าน คลองลักกงษีและสวนยางเหมืองแร่ ปัจจุบันกลายเป็นที่พักอาศัย สวนยางและคลองเล็ก ๆ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบที่มีจะเป็นชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขายและรับราชการ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โรงงานแทนทาลั่ม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตและอ๊าม (หุ้ย สีมา ให้ข้อมูลเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงชาวจีนกลุ่มที่หก(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านโคกยาง หมู่ 1 ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  โคกยาง ซึ่งมีต้นยางมาก (โคก-สูง) ทิศเหนือจดบ้านไสยวน ทิศใต้จดบ้านหัวพรุ ทิศตะวันออกจดบ้านหลังวัด ทิศตะวันตกติดถนน  ภูมิประเทศในอดีตเป็นสวนยางและที่นา ปัจจุบันเป็นที่พักอาศัยและสวนผัก ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบทำสวน และรับจ้างทั่วไป นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ (ข้าม ตามชู ให้ข้อมูลเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านในหาน หมู่ 1 ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  บ้านไทรโหรน (โหลน, โกร๋น) เพราะมีต้นไทรจำนวนมากแต่มีใบน้อย และหนองหาน เพราะเป็นที่มีน้ำ หรือชาวบ้านกลุ่มแรกที่อพยพมาจาก อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา เรียกชื่อหมู่บ้านเป็นทางการตามชื่อของหนองน้ำและชื่อสำนักสงฆ์ว่า "บ้านในหาน"  ทิศเหนือจดบ้านไสยวน ทิศใต้ติดภูเขาแดง ทิศตะวันออกจดบ้านหัวพรุ ทิศตะวันตกจดทะเลอันดามัน  ภูมิประเทศในอดีตเป็นสวนมะพร้าวและป่า ปัจจุบันกลายเป็นที่พักอาศัย ร้านค้าและบ้านเช่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบที่ทำมีรับจ้างทั่วไปและธุรกิจส่วนตัว นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีสำนักสงฆ์ในหาน (ราชรถ จิตประสาน ให้ข้อมูลเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงบ้านอยู่ใกล้บึงหนองน้ำ(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านหัวพรุ หมู่ 1 ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  หัวพรุ อดีต เป็นเกาะทุ่งนาล้อมรอบมีพรุมากหลาย เลยเรียกว่า บ้านหัวพรุ ทิศเหนือและทิศใต้ติดถนน ทิศตะวันออกติดท้องนาร้าง ทิศตะวันตกติดสวนยาง ภูมิประเทศในอดีตเป็นทุ่งนา ปัจจุบันเป็นทุ่งนาร้าง ที่อยู่อาศัยและสวนยาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบที่ทำมี รับจ้างทั่วไปและทำสวนยาง นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ (ข้าม ตามชู ให้ข้อมูลเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงส่วนต้นของบึงน้ำใกล้ชายทะเล(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านไทยใหม่ หมู่ 2 ถนนวิเศษ ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83130  บ้านชาวเล บ้านนอกเล ชาวเล หาดเบ็ด บ้นราไวย์ เป็นชนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ มีภาษาพูดเป็นเอกลักษณ์ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบประมงเป็นหลัก ซึ่งชาวเลที่มาอาศัยอยู่มีไม่ต่ำกว่า 100 ปีมาแล้ว มี 2 พวกคือ โอรังลาโอ๊ด 40 หลังคาเรือนและ มอแกล้น(มาซิงหรือมอแกน) 10 หลังคาเรือน  ทิศเหนือจดแหลมกา ทิศใต้จดหาดราไวย์ ทิศตะวันออกจดเขาแหลมกา ทิศตะวันตกติดถนนวิเศษ ทางขึ้นไปแหลมพรหมเทพ  เชื้อชาติโอรังลาโอ้ด และมอแกล้น(มาซิง) ภูมิประเทศเป็นป่า เนินเขา ชายหาด แหล่งปลาชุกชุมและที่นา ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัย นาร้างและเนินเขา ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบทำประมง ค้าขายและรับจ้าง นับถือศาสนาพุทธและคริสต์ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ และโอรังลาโอ้ด มอแกล้น มีศูนย์กระจายข่าว (นันท์ บางจาก ให้ข้อมูลเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงชาวเลที่มีสัญชาติเป็นชาวไทยกลุ่มใหม่(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านราไวย์ หมู่ 2 ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  ชื่อบ้านมาจาก ราไว้ อดีตเป็นทะเลไปทางไหนไม่ได้แล้วจึงราไว้ เพี้ยนมาเป็น ราไวย์ หรือ เมื่อก่อนเป็นที่ที่ทำอะไรก็ไม่ได้จึงเรียกว่า ราไว คือปล่อยไว้ก่อน และ นาไว คือนาของเขาเอาไปจำนอง เรียกนาไว้ เพี้ยนมาเป็นราไวย์  ซึ่งกำนันคนแรกของราไวย์ คือนายล้อม วงศ์จันทร์ เป็นคนจังหวัดนครศรีธรรมราช แต่งงานอาศัยอยู่ริมหาดราไวย์เป็นคนดีมีชื่อเสียง ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นนายพันแล้วตั้งเป็นกำนัน นามว่า กำนันพันล้อม ทิศเหนือติดควน ทิศใต้จดหาดราไวย์ ทิศตะวันออกจดบ้านโคกยาง ทิศตะวันตกจดทะเล ภูมิประเทศในอดีตเป็นสวนมะพร้าว ปัจจุบันเป็นที่ราบสูง ที่พักอาศัย มีทะเล ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบที่ทำกันมี รับจ้าง รับราชการและประมง นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ วัดสว่างอารมณ์ (กัลยา อารีรอบ  ให้ข้อมูลเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านบางคณที หมู่ 4 หมู่ 5 ถนนวิเศษ ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง  บางคนที อดีตมีคนมากหน้าหลายตามาเยี่ยมเยือน ผ่านมาคนโน้นพูดที คนนี้พูดที่ ต่างพูดกันคนละเรื่อง ทิศเหนือจดบ้านห้าแยก ทิศใต้จดบ้านไสยวน ทิศตะวันออกจดทะเลอันดามัน ทิศตะวันตกติดภูเขาบางคนที ภูมิประเทศในอดีต เป็นป่า สวนยาง สวนมะพร้าว ปัจจุบันเป็นที่พักอาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบที่ทำกันรับจ้างทั่วไป ค้าขาย นับถือศาสนาอิสลาม นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีมัสยิดเอ้าจาล้อฮีดายะ  มัสยิดนูรดูดนียะ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบางคนที กุโบร์บางคนที 2 ที่อยู่บริเวณใกล้มัสยิดทั้ง 2 (ร่อ เก็บทรัพย์  ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงบ้านที่ม้คนที(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านแหลมพรหมเทพ  บ้านแหลมเจ้า แหลมเกาะเจ้า แหลมคอเจ้า ซึ่งสมัยก่อนเรียก คอเจ้า เด็ก 2 คนพี่น้องโจรสลัดตัดคอพระเจ้าแผ่นดินมาฝังกับทองไว้ ซึ่งเมื่อก่อนเจ้าแผ่นดินเสด็จมา เมื่อก่อนเป็นป่าสงวน ทิศเหนือติด ถนนวิเศษ ทิศใต้จดทะเลอันดามัน ทิศตะวันออกติดบ้านปากบาง ทิศตะวันตกจดทะเลอันดามัน ภูมิประเทศเป็นสวนมะพร้าว ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบที่ทำจะเป็นการประมง การท่องเที่ยวและรับจ้าง นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีสำนักสงฆ์แหลมพรหมเทพ ประภาคารกาญจนาภิเษก (หงาน ชำนาญนา  ให้ข้อมูลเมื่อ 3 ตุลาคม 246)
  บ้านไสยวน หมู่ 7 ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  ไสยวน (ป่าไส - ป่ารก / ยวน - ผึ้งยวน ) ในอดีตมีการทำไร่ข้าว ไร่ข้าวโพด ไร่สับปะรด ปลูกผัก ป่าหลังฤดูเก็บเกี่ยว เรียก "ป่าไส" และมีผึ้งตัวเล็ก มาอาศัยทำรังตามพุ่มไม้ เรียก ผึ้งยวน ชาวบ้านจึงตั้งชื่อบ้านตามสภาพแวดล้อม ว่าบ้านไสยวน  และเดิมเป็นป่าหญ้าและมีไม้พุ่มปะปนอยู่ คนกลุ่มแรกเป็นช่างตีเหล็ก อพยพมาจากไหนไม่ทราบ และเป็นตนตระกูลช่างเหล็กในปัจจุบัน มีตระกูลยุคลนิร กาวิเศษ ขวดแก้ว ช่วยกันก่อตั้งหมู่บ้าน ทิศเหนือจดบ้านบางคนที ทิศใต้จดบ้านราไวย์ ทิศตะวันออกติดถนนวิเศษ ทิศตะวันตกติดภูเขา ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่า และสวนยาง ปัจจุบันกลายเป็นที่อยู่อาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบเป็นค้าขายและรับจ้างทั่วไป นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาที่ใช้เป็นไทยถิ่นใต้และภาษายาวี  มีโรงเรียนสอนนับถือศาสนา มัสยิดนูรนอาบาดะห์ (นิตยา คหาปนะ ให้ข้อมูลเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2546 และร่อ เก็บทรัพย์ ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงบริเวณที่ผึ้งมาทำรัง(เกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๒๙)
  บ้านบ่อแร่ หมู่ 6 ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  ลูกแหร่ อดีตเมื่อชาวบ้านขุดหน้าดิน ลึกประมาณ 1-2 ม. เมื่อขุดบ่อลึกลงไปพบก้อนหินเล็ก ๆ จำนวนมาก เรียน "ลูกแหร่" เรียกบริเวณนี้ว่าบ่อแหร่ เปลี่ยนมาเป็น บ่อแร่ และเมื่อ 130 ปีก่อน มีผู้อพยพจากหมู่บ้านอื่นมาตั้งถิ่นฐานเป็นกลุ่มแรกคือ ตระกูลสมบูรณ์ โชคเกื้อ เชี่ยงโสม และแซ่ฮ๋อง มาทำสวนยางพาราและได้ชักชวนญาติพี่น้อง ทิศเหนือติดบ้านท่าแครงบน ทิศใต้และทิศตะวันออกจดทะเล ทิศตะวันตกติดคลองบูดา ภูมิประเทศในอดีตเป็น ป่าไม้ ภูเขา ชายทะเล ป่าชายเล ปัจจุบันเป็นไร่สับปะรด สวนยางพารา (ขาขาด) (คลองมุดา) (ท่าเรือน้ำลึก) ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง รับราชการ ประมงและทำสวน นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีมัสยิดกียามุตดีน (เสริมศรี ควรกล้า ให้ข้อมูลเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านอ่าวมะขาม หมู่ 7 ถนนศักดิเดช ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  อ่าวขาม ซึ่งบริเวณอ่าวมีต้นมะขามมาก มีคนเก็บมะขามขาย ทิศเหนือจดบ้านบ่อแร่ ทิศใต้ติดควนอ่าวทางเข็น บ้านแหลมพันวา ทิศตะวันออกจดอ่าวมะขาม ทิศตะวันตกติดควน/เนินเขา ภูมิประเทศในอดีตเป็น ที่นา ติดทะเลอันดามัน ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบทำประมงและรับจ้าง นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มี สุสานมุสลิมอ่าวมะขาม (กุโบร์) มัสยิดอิซซ่าตัลอิสลาม อ่าวมะขาม บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทยจำกัด  ท่าเทียบเรือน้ำลึกภูเก็ต (หนาบ กอบโกย ให้ข้อมูลเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านอ่าวน้ำบ่อ หมู่ 7 ถนนศักดิเดช ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  อ่าวน้ำบ่อ ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันมานานแล้ว ทิศเหนือจดบ้านบ่อแร่ ทิศใต้จดอ่าวขาม ทิศตะวันออกจดป่าโกงกาง ทิศตะวันตกจดภูเขา ภูมิประเทศในอดีตเป็นทุ่งนา ป่าโกงกาง ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัยและป่าโกงกาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและธุรกิจท่องเที่ยว นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีโรงเรียนอ่าวน้ำบ่อ (ศิริพร มะลิวัลย์ เกิด  ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านแหลมพันวา หมู่ 8 ถนนศักดิเดช ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  แหลมพันวา ซึ่งวัดเส้นทางจาก 3 แยก จากกรมประมงถึงพิพิธภัณฑ์ได้ 1,000 วา เท่ากับ 3 กิโลเมตร เรียกว่า แหลมพันวา ทิศเหนือจดอ่าวมะขาม ทิศใต้ ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกจดทะเล ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าติดแหลม เขา ควน ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัย เขา ควน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและธุรกิจโรงแรม นับถือศาสนาอิสลาม มีโรงเรียนแหลมพันวา ศูนย์ชีววิทยาทางทะเล กองเรือภาคที่ 3 กองเรือยุทธการ โรงเรียนอิสลามพัฒนา ประภาคาร (การีม หาทรัพย์ ให้ข้อมูลเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านเชิงทะเล หมู่ 1 ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บ้านตีนเล ซึ่งลักษณะของหมู่บ้านอยู่ติดกับทะเล บ้านตีนเล เป็นเชิงทะเล ทิศเหนือติดบ้านป่าสัก ทิศใต้ติดภูเขา ทิศตะวันออกติดบ้านม่าหนิก ทิศตะวันตกติดบ้านบางเทา ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่า ปัจจุบันเป็นสวนยาง ป่า และที่อยู่อาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง นับถือศาสนาพุทธ ภาษาไทยที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มี สถานีอนามัย ตำบลเชิงทะเล วัดเชิงทะเล(วัดพัฒนาตัวอย่าง) สถานีตำรวจภูธร ตำบลเชิงทะเล โรงเรียนบ้านเชิงทะเล(ตันติวิท) สำนักงานเทศบาลตำบลเชิงทะเล ศาลเจ้าสามอ๋องหู้เชิงทะเล ตำบลเชิงทะเล (เพียร วัยวุฒิ  ให้ข้อมูลเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2546)
บ้านลิพอนเขาล้าน  หมู่ 6 ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  ลิพอนเขาล้าน เมื่อก่อนเป็นภูเขาติดควน มีต้นไม้น้อยก็เลยเรียกว่า เขาล้าน เป็นบริเวณของบ้านพอน ของคุณจินหงวน เมื่อก่อนเป็นสวนเงาะหรือ มีภูเขา 1 ลูกไม่มีต้นไม้ขึ้นเลยเรียกหัวล้าน หรือเมื่อโต๊ะล้านเสียชีวิต ได้เปลี่ยนเป็นบ้านลิพอนเขาล้าน และลิพอนบักหลัก ได้มีชาวบ้านมานั่งพักแล้วนำหลักมาปักไว้หน้าโรงเรียนเมื่อมาปักหลักแล้วก็เดินทางต่อไป  ในส่วนของชุมชนได้มีกำนันลพ บัวสวรรค์ได้บุกเบิกและได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนอภิบาลลิพอนราษฎร์พร้อมกับหนังพร้อมไกรเลิศ และมีนายแรมนิติบาล ได้เข้ามาจับจองที่ดินและได้แบ่งที่ดินให้กับชาวบ้านกันมาจนถึงปัจจุบัน ทิศเหนือติดเขาพระแทว ทิศใต้จดโรงพยาบาลถลาง ทิศตะวันออกจดบ้านพอนบางกอก ทิศตะวันตกติดสี่แยกเทพกระษัตรี ภูมิประเทศในอดีตเป็นลำคลอง หนองน้ำและนา ปัจจุบันเป็นสวนยาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขายและปลูกผัก นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ (ลำนึก ทาทิพย์  ให้ข้อมูลเมื่อ 11 พฤศจิกายน และสมฤทธิ์ ไตรรัตน์  ให้ข้อมูลเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านบางเทา หมู่ 2 ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บ้านบางเทา อดีตเคยเป็นบางมีต้นเทาอยู่เป็นจำนวนมาก นำเรือออกต้นเทาก็ขึ้นเต็มข้างคลอง ทิศเหนือจดทะล ทิศใต้จดเทือกเขากมลา ทิศตะวันออกจดบ้านเชิงทะล ทิศตะวันตกจดบ้านหาดสุรินทร์  ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่า แหล่งน้ำและทุ่งนา ปัจจุบันเป็นป่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขายและทำสวนผลไม้ นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้และภาษายาวี มีมัสยิดมุกาโรมบางเทา (โอซามา ปะหนัน  ให้ข้อมูลเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านบางเทาเหนือ หมู่ 2 ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บ้านบางเทาเหนือ อดีตบ้านบางเทามีจุดศูนย์กลางอยู่ที่บางเทากลาง มัสยิดใหญ่ของจังหวัดภูเก็ต อยู่ด้านเหนือของบางเทากลางจึงเรียกว่า บางเทาเหนือ ทิศเหนือติดบางเทากลาง ทิศใต้จดเทือกเขากมลา ทิศตะวันออกติดบางกลาง ทิศตะวันตกติดบ้านลุ่มเฟือง ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่า ทุ่งนา ปัจจุบันเป็นทุ่งนาร้าง ทำสวนผลไม้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ทำสวน นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีมัสยิดเก่ามุการ่อม กุโบร์บางเทาเหนือ (โอซามา ปะหนัน ให้ข้อมูลเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านบางเทาใต้ หมู่ 2 ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บางเทาใต้  ทิศเหนือติดบ้านลายัน ทิศใต้ติดบ้านลุ่มเมือง ทิศตะวันออกติดบ้านบางเทา ทิศตะวันตกจดหาดสุรินทร์ ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าและทุ่งนา ปัจจุบันเป็นทุ่งนาร้าง ป่า และสวนผลไม้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและทำสวน นับถือศาสนา อิสลามและนับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีมัสยิดอูอ้นซอริซซุนนะฮ์ วัดอนามัยเกษม โรงเรียนบ้านบางเทา (โอซามา ปะหนัน  ให้ข้อมูลเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านลิพอนบางกอก หมู่ 2 ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บ้านบังเกาะ เนื่องจากมีสภาพเป็นเกาะบาบิดหมู่บ้านไว้จาก "บ้านบังเกาะ"  เป็นบางกอก ทิศเหนือจดเขาพระแทว ทิศใต้ติด ถนนเทพกระษัตรี ทิศตะวันออกจดบ้านพอนใต้ บ้านท่าเรือ ทิศตะวันตกจดทุ่งนา ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าดิบ สัตว์ป่า นา ไร่ ลำคลอง ปัจจุบันเป็นตึกรางบ้านช่อง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบปลูกยางพารา สวนผลไม้ นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นไทยถิ่นใต้ (เป็นภาษาเฉพาะของบ้านลิพอนบางกอก) (ประเภท ทาทิพย์  ให้ข้อมูลเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านท่าเรือ หมู่ 3 ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บ้านท่าเรือหรือพอนท่าเรือ ซึ่งในอดีตเมื่อ 50 ปีที่แล้ว มีเรือสำเภามาจอด เรือทุกไม้ เรือ 3 หลัก ทิศเหนือติดหมู่บ้านลิพอนใต้ ทิศใต้ติดตำบลป่าคลอก ทิศตะวันออกติดหมู่บ้านม่าหนิก ทิศตะวันตกติดตำบลเกาะแก้ว  ภูมิประเทศในอดีตเป็นทุ่งนา ป่า หนองน้ำและเหมืองแร่ดีบุก ปัจจุบันเป็นสวนยางพารา  ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบทำการเกษตร และค้าขาย นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร ศาลเจ้าท่าเรือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ศาลเจ้าแม่หลักเมือง (ประเภท ทาทิพย์  ให้ข้อมูลเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านส้มเฟือง หมู่ 3 ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  ส้มเฟือง  มีต้นมะเฟืองมาก เป็นที่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทิศเหนือจดหาดบางเทา ทิศใต้จดหาดสุรินทร์ ทิศตะวันออกติดบ้านบางเทา ทิศตะวันตกจดทะเล ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าชายเล ปัจจุบันเป็นป่าชายเลพัฒนา ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ทำสวน นับถือศาสนา อิสลาม ภาษาที่ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ (ประเภท ทาทิพย์  ให้ข้อมูลเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านหาดสุรินทร์  หมู่ 3 ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  หาดสุรินทร์ อดีตพระสุรินทร์ราชา เป็นเจ้าเมืองภูเก็ตไปตั้งพลับพลาอยู่บริเวณหาดสุรินทร์จีงเรียกว่า บ้านหาดสุรินทร์ ทิศเหนือติดบ้านลุ่มเฟือง ทิศใต้ติดเทือกเขากมลา ทิศตะวันออกติดบ้านบางเทา ทิศตะวันตกจดหาดสุรินทร์ ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่า ภูเขา หาดทราย ปัจจุบันเป็นหาดทราย สถานที่ค้าขาย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย นับถือศาสนาอิสลาม นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ (ประเภท ทาทิพย์  ให้ข้อมูลเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านบางโจ หมู่ 4 ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บางโจ มีฝนตกลงมาอย่างหนักไหลลงมาจากภูเขามีเสียงดังโจ้ง ๆ จึงให้ชื่อว่า บ้านบางโจ หรือบางโจมีโอใต้น้ำ เรือทองล่องข้าม แก้วช้ำเมียตบ น้ำคลอง ปลูกต้นไม้มาก สวยงาม มีคนนอกเข้าไปลักขโมยกิน เลยต้องแขวนโจ ทำแผงโยเสกคาถา กินเข้าไปพงพอง ไม่หุบ ต้องมีการแก้เคล็ดถึงจะหา เมื่อก่อนมีเป็นกบฝังสมบัติไว้บริเวณนั้น มีลายแทงบอกไว้เป็นปริศนา ทิศเหนือติดสวนยางและบ้านเขาล้าน ทิศใต้ติดถนนศรีสุนทร ทิศตะวันออกเป็นสวนยาง ทิศตะวันตกเป็นสวนยาง  ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่า สวนยาง สวนพร้าว ปัจจุบันเป็นที่ราบลุ่ม ป่าดิบ สวนยางพารา ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบเป็นสวนยาง นับถือศาสนา อิสลามและนับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีมัสยิดบ้านบางโจ กุโบร์บ้านบางโจ (อาหมาด ทักษิณ  ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านลายัน หมู่ 4 ถนนศรีสุนทร ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บ้านลายัน เป็นอ่าว คนมาเลเป็นคนทั้งชื่อมาแต่ครั้งอดีต เรียกว่า บัตลายัง เพี้ยนมาเป็นบ้านลายัน ทิศเหนือติดเชิงทะเล ทิศใต้ติดบางเทา ทิศตะวันออกติดเชิงทะเล ทิศตะวันตกจดอ่าว ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าชายเลน ปัจจุบันเป็นป่าชายเลและโรงแรม ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจส่วนตัวและค้าขาย นับถือศาสนาพุทธและอิสลาม ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ (โอซามา ปะหนัน ให้ข้อมูลเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านบางเทานอก  หมู่ 5 ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บางเทานอก ตั้งชื่อตามแม่บ้านเดิมที่แยกตัวมาจาก กม.2 คือบ้านบางเทาใน และคนกลุ่มแรกที่เริ่มก่อตั้ง อพยพมาจากบ้านบางเทาใน ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง โดยมีผู้นำคือผู้ใหญ่มานิตย์ พันธุ์ฉลาด เป็นผู้ใหญ่บ้านถนนแรกของ หมู่ 5 ทิศเหนือจดบ้านเชิงทะเล ทิศใต้จดเทือกเขากมลา ทิศตะวันออกจดบ้านเชิงทะเล ทิศตะวันตกจดบ้านบางเทากลาง ภูมิประเทศในอดีตเป็นที่ราบ ภูเขา เชิงเขา ปัจจุบันเป็นที่ราบ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ทำสวน นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีมัสยิดดารุลเอียะซาน(เกษม ทาทิพย์  และบุญเลิศ ทาทิพย์  ให้ข้อมูลเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านลิพอนใต้ หมู่ ๕ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต   พอนใต้ และหลีกพ้น ซึ่งลิพอนมาจากหลีกพ้น พม่ายกทัพตีถลางผ่านบ้านลิพอน แต่พม่ามองไม่เห็นหมู่บ้าน เพราะภูมิประเทศเป็นเกาะ มีภูเขาบังอยู่ ทำให้บ้านลิพอนพ้นจากการโจมตีของทหารพม่าได้ และชนกลุ่มแรกที่เข้ามาอยู่ เป็นตระกูล สกุลชิต ชูศรี ประเสริฐสุรินทร์ มุกกระพันธ์ สำเนียง ธาทิพย์ เมื่อ พ.ศ. 2499  ทิศเหนือติดเขาลุ่มบอน ทิศใต้ติดถนนเทพกระษัตรี ทิศตะวันออกติดทุ่งนา ป่ายาง ทิศตะวันตกติดพอนบางกอก ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่ายาง สวนมะพร้าวและสวนผลไม้ ปัจจุบันกลายเป็นป่ารก ทุ่งหญ้าและคลอง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นเป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีวัดศรีสุนทร โรงเรียนมิตรภาพ อนามัยบ้านลิพอนใต้ (เกษม ทาทิพย์  และบุญเลิศ ทาทิพย์  ให้ข้อมูลเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านพอนบ้านใหญ่   พอนบ้านใหญ่ เมื่อสมัยก่อนเริ่มใช้บ้านเลขที่เป็นบ้านแรกแล้วเรียงหลังลงมาเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีคนอยู่อาศัยหลาย ๆ ครัวเรือน จัดเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ทิศเหนือติดพอนใต้ ทิศใต้ติด ถนนทางไปเชิงทะเล ทิศตะวันออกจดวัดศรีสุนทร ทิศตะวันตกติดพอนหัวหาน ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าและสวนยาง ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัยและสวนยาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบเป็นชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ (ประยูร ทาทิพย์ ให้ข้อมูลเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2546)
 บ้านม่าหนิก หมู่ ๗ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  ม่าหนิก เป็นภาษาทมิฬ มานิกเป็นอยู่ของพวกทมิฬ ม่าหนิก เดิมเป็นที่พำนักของม้าที่ส่งสาส์น และเป็นที่หยุดพักของคนเดินทาง และชมกลุ่มแรกที่เข้ามาอาศัยอยู่ คือนายปอด เครือสนิท นายเตียวกี่ แช่หลิม (ซึ่งต่อมาลูกหลานได้เปลี่ยนมาเป็นนามสกุลจินดาเชื้อ) นายหลิมมาช้วน แซ่หลิม (ซึ่งในภายหลังลูกหลานได้เปลี่ยนมาเป็นเครือเสน่ห์) นายโถ นายฮีด ชูศักดิ์ นายฉ้อย (ไม่ทราบนามสกุล) ทิศเหนือติดสวนยาง ทิศใต้ติดเขาแป๊ะอ่าว ทิศตะวันออกติดบ้านท่าเรือ ติดตะวันตกติดบ้านเชิงทะเล ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าดงดิบ ภูเขาสูงชัน คลอง สวนยางและการเลี้ยงสัตว์ ปัจจุบันเป็นสวนยางและขุมเหมือง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบทำการเกษตร นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีวัดเทพวนารามหรือ(วัดม่าหนิก) โรงเรียนม่าหนิก  (เพียร วัยวุฒิ  ให้ข้อมูลเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงนครแก้วจากศัพท์ภาษาทมิฬว่า มณิครัม(สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์  ๒๕๒๓:๕๑)
  บ้านบางเหนียวดำ หมู่ ๗ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บางเหนียวดำ เป็นดินเหนียวเป็นสีดำ  บาง ภูเก็ตหมายถึงคลอง ทิศเหนือติดบ้านม่าหนิก ทิศใต้ติดภูเขาแป๊ะอ่าว ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกติดบ้านม่าหนิก ภูมิประเทศอดีตเป็นป่า ปัจจุบันเป็นสวนยาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบการเกษตร นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ (เพียร วัยวุฒิ  ให้ข้อมูลเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านพอนบ่อแร่ หมู่ ๘ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  พอนบ่อแร่ เมื่อก่อนมีลายแทงคนแก้โดยมีเด็ก พูดว่าบ่อคัน แล้วผู้ชายก็ฟันคอเด็ก เลือดหยดลงบ่อ แล้วบ่อน้ำก็แห้ง ขุดพบมีทรัพย์สมบัติ(เกษม ทาทิพย์  ให้ข้อมูลเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2546 และบุญเลิศ ทาทิพย์  ให้ข้อมูลเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2546) 
  บ้านลิพอนหัวหาน หมู่ ๘ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  หมู่บ้านหลีกพ้น หมู่บ้านที่แบ่งแยกออกมานี้มีลักษณะสภาพภูมิศาสตร์เป็นหนองน้ำเป็นส่วนใหญ่ซึ่งในสมัยก่อนคนในท้องถิ่นเรียกหนองน้ำว่าหนองหาน จึงได้เรียกชื่อว่า หมู่บ้านลิพอนหัวหาน และเมื่อประมาณปี ๒๕๒๕ คนจังหวัดพัทลุง ชื่อตาบุญ กับตาชุม เข้ามาทำงานเป็นคนเลี้ยงช้างให้กับนายสมัยก่อน ซึ่งชื่อตาบุญกับตาชุม ได้เป็นตระกูลดั้งเดิมสืบทอดลูกหลานจนถึงปัจจุบันนี้  ทิศเหนือติดถนนเทพกระษัตรี ทิศใต้ติดบ้านบางโจ ทิศตะวันออกติดพอนบ้านใหญ่ ทิศตะวันตกติด ถนนศรีสุนทร ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่า มีสัตว์ป่าหลายชนิดและมีหนองน้ำจำนวนมาก และที่ทุ่งนา ปัจจุบันมีเพียงหนองน้ำ อาคารบ้านเรือน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบค้าขาย รับจ้างทำสวน และรับราชการ นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีสุเหร่าชื่อลูวลูล กูอบ์ (เกษม ทาทิพย์ และบุญเลิศ ทาทิพย์  ให้ข้อมูลเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2546)
  บ้านป่าตอง อยู่ในตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ ชื่อหมายถึง อ่าวกำแพง มาจากคำ กะ หมายถึงอ่าว ตอง มาจากกระตอ คือกำแพง(สุนัย ราชภัณฑารักษ์ ๒๕๒๗:๑๙๔)
 บ้านนาใน หมู่ ๔ ถนนนาใน ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ ๘๓๑๕๐  นาใน เมื่อก่อนเป็นนา อยู่ลึกเข้าใน จึงเรียกว่าบ้านนาใน อดีตเป็นบ้านนาใน ทำนาเป็นชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบหลัก ทิศเหนือจดบ้านไสน้ำเย็น ทิศใต้และทิศตะวันออกติดภูเขา ทิศตะวันตกจดทะเลอันดามัน ภูมิประเทศในอดีตเป็นนา ทุ่งหญ้า ลำคลอง ป่าโกงกาง ปัจจุบันเป็นที่พักอาศัย ที่ราบติดภูเขา ป่า ทุ่งหญ้า ลำคลอง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจส่วนตัว ค้าขาย นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ (ทิพย์ เถื่อนถิ่น ให้ข้อมูลเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2546 และโกวิทย์ เถื่อนถิ่น ให้ข้อมูลเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2546)  บ้านนาใน หมู่ ๔ ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ๘๓๒๐๐  บ้านนาใน เมื่อก่อนเป็นที่นากว้าง มีบ้านคนอาศัยอยู่บริเวณด้านในลึกเข้าไปจึง เรียกว่า บ้านนาใน ทิศเหนือติดคลองน้ำวูวู จดเขต อำเภอถลาง ทิศใต้จดบ้านเกาะแก้ว หมู่ ๔ ทิศตะวันออกจด ถนนเทพกระษัตรี ทิศตะวันตกจดเขาเจาะตา ภูมิประเทศเป็นแหล่งน้ำ ที่นา ปัจจุบันได้กลายเป็นที่พักอาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบจะเป็นชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาที่ใช้เป็นไทยถิ่นใต้ มีองค์การโทรศัพท์ (เจ๊ะตีน เหมเหล็ก ให้ข้อมูลเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2546) บ้านนาใน หมู่ ๗ ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  บ้านนาใน จากบ้านเคียนเป็นที่ราบแปลงใหญ่ มีการบุกเบิกการทำนา เป็นที่นาไกลเข้าไปอยู่ใกล้เขาพระแทว อาณาเขตทางทิศเหนือติดบ้านป่าครองชีพ ทิศใต้ติดบ้านแขนน เคียน ทิศตะวันออกติดบ้านแขนน ควน  ทิศตะวันตกติดบ้านเคียน ภูมิประเทศในอดีตเป็นทุ่งนา ที่ราบ  ปัจจุบันคลอง หนอง ประมง  ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง กรีดยาง นับถือศาสนาอิสลาม มีมัสยิดดารุลอามาล วัดพระทอง (บัญญัติ จริยเลอร์พงศ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 25 มกราคม 2547)  ชื่อบ้านนี้หมายถึงนาที่อยู่ด้านใน(เกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๗๘)
  ชุมชนสะพานร่วมพูลผล ตำบลตลาดใหญ่ เทศบาลนครภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  เมื่อก่อนการตั้งเป็นชุมชน มีสภาพเป็นป่าชายเลน ไม่มีคนอาศัยอยู่ แต่เดิมเป็นที่ของราชการหลังปี ๒๕๒๐ มีการลมที่จัดให้เป็นที่อยู่อาศัย ในความรับผิดชอบของที่ราชพัสดุ ปัจจุบันเทศบาลให้ชาวบ้านเช่าปีละ 360 บาทต่อหลัง ทิศเหนือติด ถนนศรีสุทัศน์ ทิศใต้ ถนนศรีเสนา ทิศตะวันออกติดชุมชนสะพานร่วมพูลผล ๒ ทิศตะวันตกติดชุมชนร่วมน้ำใจ ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าชายเลน คลองไหลลงสู่ทะเล ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัย ชุมชนแออัด ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบค้าขาย รับจ้างทั่งไป นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาที่ใช้เป็นภาษาท้องถิ่น ภาษายาวี   มีมัสยิดมะดีนะห์ (ประสิทธิ ชิณการณ์ ให้ข้อมูลเมื่อ ๘ กันยายน ๒๕๔๖)
  ชุมชนถนนสุทัศน์  ซ.๒ ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  เมื่อ ๑๕๐ ปี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดินของคุณสมหวัง (คนจีน) ต่อมาแบ่งขายให้กับตระกูลพิทักษ์ธรรม ต่อมาก็แบ่งขายที่ดินกันอีกมีประชากรมาอาศัยกันมากขึ้นทิศเหนือติด ถนนดำรง ทิศใต้และทิศตะวันออกติดคลองบางใหญ่ ทิศตะวันตกติด ถนนสุทัศน์ ภูมิประเทศเป็นที่อาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบเย็บผ้า บ้านเช่าและร้านเสริมสวย นับถือศาสนาซิกซ์ นับถือศาสนาฮินดู มีสมาคมแซ่เฮี้ยบ โรงแรมสุขสบาย ชื่อบ้านเป็นชื่อสกุลของนายพลโทพระยาสุรินทราชา(ม.ร.ว.สิทธิ์ สุทัศน์) อดีตสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖–๒๔๖๓ และพระศรีสุทัศน์(หม่อมหลวงอนุจิตร สุทัศน์) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พ.ศ.๒๔๗๑–๒๔๗๒ (ประสิทธิ ชิณการณ์ ให้ข้อมูลเมื่อ ๘ กันยายน ๒๕๔๖)
  บ้านบางหวาน หมู่ ๑ ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ชื่อเดิมและชื่อถิ่นมีบางหวาน ซึ่งมีต้นผักหวาน อยู่บริเวณนี้เป็นจำนวนมากหรือมีน้ำใส เขาปลูกอ้อยเอาไว้หวานดี  ที่ตั้งทางทิศเหนือติดภูเขา ทิศใต้ติดเขาป่าตอง ทิศตะวันออกจดเทือกเขากมลาและทิศตะวันตกติดที่นาร้าง  ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่ารกร้าง สวนยาง และสวนทุเรียน ในปัจจุบันกลายเป็นบ้านเช่า บ้านฝรั่งและที่นาร้าง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป  นับถือศาสนาอิสลาม (สงบ สาโหต และสุปราณี สาโหต ให้ข้อมูลเมื่อ 6 มกราคม 2547)
  บ้านกมลานอกเล  หมู่ ๑ ถนนริมหาด ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต คือบ้านหมา อาณาเขตทิศเหนือติดป่า ทิศใต้ติดภูเขาเยื้อ ทิศตะวันออกติดถนนกมลาและทิศตะวันตกจดทะเล ภูมิประเทศในอดีตเป็นสวนมะพร้าว ทะเลและป่า ปัจจุบันกลายเป็นร้านค้า ร้านอาหารและบาร์เบียร์ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง และธุรกิจส่วนตัว ชาวบ้านจะนับถือศาสนาพุทธ อิสลามและคริสต์ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีโรงเรียนบ้านกมลาและสำนักสงฆ์เจริญธรรมกมลา  (ลามา แสงทอง ให้ข้อมูลเมื่อ 6 มกราคม 2547)
  บ้านนานอก หมู่ ๓ ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ชื่อเดิมและชื่อถิ่น นานอก เนื่องจากเป็นที่นาที่อยู่ไกลสุด ไกลจากนาของคนอื่น ๆ  ที่ตั้งทิศเหนือติดเขาสะฮาม ทิศใต้ติดป่าและบ้านนอกเล ทิศตะวันออกติดโคกเคียนและทิศตะวันตกติดกุโปบ้านกมลา ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่า ที่นา ภูเขาและทะเล ปัจจุบันเป็นป่า ที่นาร้างและแฟนตาซี ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ธุรกิจส่วนตัวและค้าขาย นับถือศาสนาพุทธและอิสลาม ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีสถานที่สำคัญคือกุโบร์กมลา (ปาน ตาม่าน ให้ข้อมูลเมื่อ 6 มกราคม 2547 และ 22 มกราคม 2547) ชื่อบ้านนี้หมายถึงทุ่งนาที่อยู่ด้านนอก(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านโคกเคียน หมู่ ๓ ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ชื่อเดิมและชื่อถิ่น มีต้นตะเคียนมากตรงบริเวณโคกปัจจุบันไม่มีใครรู้จักโคกเคียนแล้ว ส่วนคนละแวกบ้านจะเรียกรวมเป็นบ้านนา(ลามา แสงทอง ให้ข้อมูลเมื่อ 22 มกราคม 2547 และ ปาน ตาบ่าน ให้ข้อมูลเมื่อ 6 มกราคม 2547) ชื่อบ้านนี้หมายถึงเนินที่มีต้นตะเคียน(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านโคกยาง หมู่ ๓ หมู่ ๔ ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ชื่อเดิมและชื่อถิ่น โคกยาง มีเจ้านายมาประชุมกันที่หลาเคยมีพระเจ้ามาอาศัยอยู่ ณ บริเวณนี้และมีต้นยางใหญ่ 2 ต้น อยู่ตรงโคก  ที่ตั้งทางทิศเหนือติดบ้านนอกเล ทิศใต้ติดบ้านนาคา ทิศตะวันออกติดบ้านควน และทิศตะวันตกติดถนนกมลา ภูมิประเทศในอดีตเป็นทุ่งนาและมะพร้าว ปัจจุบันเป็นที่นาร้าง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและธุรกิจส่วนตัว นับถือศาสนาอิสลามและภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ (ลำเลี้ย โหมดไหม  ให้ข้อมูลเมื่อ 6 มกราคม 2547 และ 22 มกราคม 2547) ชื่อบ้านนี้หมายถึงเนินที่มีต้นยาง(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านวัดร้าง หมู่ 5 ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ชื่อเดิมและชื่อถิ่น วัดร้าง ที่ตั้งทิศเหนือจดภูเขา ทิศใต้ติดที่เหมืองเก่า ทิศตะวันออกติดเซ็นจูรีและทิศตะวันตกจดชุมสายโทรศัพท์กะทู้ มีเชื้อชาติจีนฮกเกี้ยนเป็นส่วนใหญ่ ภูมิประเทศในอดีตเป็นเหมืองดีบุก และแหล่งน้ำ ปัจจุบันกลายเป็นสนามกอล์ฟและป่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง พูดภาษาไทยถิ่นใต้ (จู้เส้ง ตันติวิทย์ ให้ข้อมูลเมื่อ 27 ธันวาคม 2546)  บ้านทุ่งทอง หมู่ ๗ ถนนวิชิตสงคราม ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต  ผู้เฒ่าเคยเล่าว่า น้ำที่ไหลมาจากบางทองที่มีเศษทองที่ล้างกันไหลมาถึงบริเวณท่องทอง หรือบ้านทุ่งทองนั่นเอง  ที่ตั้งทิศเหนือติดบ้านกะทู้ ทิศใต้ติดภูเขา ทิศตะวันออกจดร้านอาหารทุ่งทอง(ไก่โต้ง)และทิศตะวันตกจดบ้านบางทอง(โรงน้ำแข็ง) ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่า ทุ่งนาและแหล่งน้ำ ปัจจุบันกลายเป็นสนามกอล์ฟ ที่พักอาศัย ร้านค้า ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและธุรกิจส่วนตัว นับถือศาสนาพุทธใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ มีสถานที่สำคัญสนามกอล์ฟภูเก็ตคันทรีคลับ เขื่อนบางวาด ศาลเจ้าทุ่งทอง โรงเรียนบ้านบางทอง  (บำรุง เกตุสุวรรณ บันทึกเมื่อ 22 มกราคม 2547 และบุญชู โสภา  ให้ข้อมูลเมื่อ 27 ธันวาคม 2546)
  บ้านบางทอง หมู่ ๗ ถนนวิชิตสงคราม ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต  บางทอง มีผู้ชายหลงเข้าไปในหมู่บ้านลับแล ตอนขากลับให้ขมิ้นมาคนละถุงยิ่งเดินก็ยิ่งหนัก เลยทิ้งขมิ้นออกที่ละนิด เดินมาจนถึงบ้านจึงนำขมิ้นนั้นมาขัดตัวในขณะที่อาบน้ำ ล้างน้ำแล้วขมิ้นกลายเป็นทอง จึงนึกเสียดายกลับไปเก็บขมิ้นก็หาไม่เจอ ที่ตั้งทิศเหนือติดบ้านสี่กอ ทิศใต้จดภูเขา ทิศตะวันออกติดบ้านทุ่งทองและทิศตะวันตกจดภูเขา ภูมิประเทศในอดีตเป็นแหล่งน้ำ ป่า ภูเขา ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง และธุรกิจส่วนตัวใช้ภาษาพูดกันเป็นภาษาไทยถิ่นใต้ นับถือศาสนาพุทธ ( บุญชู โสภา ให้ข้อมูลเมื่อ 27 ธันวาคม 2546)
  บ้านนาบอน หมู่ ๑ ถนนเจ้าฟ้าในตะวันออก ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  นาบอน เรียกมาตั้งแต่สมัยดั้งเดิมมาแล้ว ซึ่งเมื่อก่อนบริเวณนี้เป็นที่นา และที่นาแห่งนี้ก็มีต้นบอนขึ้นเป็นจำนวนมากมองไปทางไหนก็เห็นแต่บอนจึงเรียกว่า นาบอน ที่ตั้งทางทิศเหนือติดถนนวิชิต ทิศใต้ติดบ้านป่าหล่าย ทิศตะวันออกติดป่าโกงกางและทิศตะวันตกติดบ้านตีนเขา ภูมิประเทศในอดีตเป็นสวนมะพร้าว ที่นาและป่าเสม็ด ปัจจุบันเป็นป่า และบ้านจัดสรร ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ สถานที่สำคัญ ศาลเจ้ากวนอู (กิติพัฒน์ แซ่ลิ่ม  อำพร รักษาทรัพย์ และ สิ่วกิ๋ว ชัชเวช ให้ข้อมูลเมื่อ 26 ธันวาคม 2547) ชื่อบ้านนี้หมายถึงบริเวณนาที่มีบอน(เกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๑๖)
  บ้านตะเคียน หมู่ 1 ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บ้านเคียน ซึ่งเป็นไม้ชนิดหนึ่ง ที่อยู่ข้างคลองนอกจากไม้ทองหลางแล้วยังมีไม้ตะเคียนเป็นจำนวนมากที่นำไปทำเรือ ที่ตั้งทางทิศเหนือติดวัดม่วงโกมารภัจจ์ ทิศใต้ติดทุ่งนา ทิศตะวันออกติดถนนบางเหรียงและทิศใต้ติดถนนจอมเฒ่า ภูมิประเทศในอดีตเป็นคลอง ทุ่งนา ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัยและทุ่งนา ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ทำสวนยางและธุรกิจส่วนตัว นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ (เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 17 มกราคม 2547)
  บ้านพรุจำปา หมู่ 3 ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต   บ้านพรุจำปา เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นพรุ บริเวณนี้เคยมีต้นจำปาเป็นจำนวนมากจึงเรียกว่า พรุจำปา ที่ตั้งทิศเหนือติดเขากล้วย ทิศใต้ติดบ้านดอน ทิศตะวันออก  ทิศตะวันตกติดสวนยาง ภูเขา ภูมิประเทศในอดีตเป็นพรุ ภูเขา ต้นจำปา ปัจจุบันเป็นสวนยาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง นับถือศาสนาพุทธและอิสลาม (วิรัตน์ ศรีเมือง ให้ข้อมูลเมื่อ 17 มกราคม 2547)
  บ้านเมืองใหม่ หมู่ ๕ ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บ้านเมืองใหม่ เมื่อก่อนบริเวณนี้เป็นหลักเมือง เชื่อกันว่าถ้าหาหญิงมีครรภ์ที่มีชื่อเป็นสิริมงคล เพื่อมาบรวงสรวงฝังทั้งเป็นจะทำให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข จึงเรียกบริเวณนี้ว่า บ้านเมืองใหม่ ที่ตั้งทิศเหนือติดบ้านหยุ่น ทิศใต้ติดบ้านป่าครองชีพ ทิศตะวันออกติดบ้านท่ามะพร้าวและทิศตะวันตกติดในยาง  ซึ่งภูมิประเทศในอดีตเป็นที่นา สวนผลไม้ เหมืองแร่ เลี้ยงสัตว์ ปัจจุบันเป็นสวนยาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง รับราชการ ค้าขาย ทำสวนและเลี้ยงสัตว์ นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีสถานที่สำคัญคือโรงเรียนวัดเมืองใหม่ ศาลเจ้าแม่หลักเมืองและวัดเมืองใหม่ (ทองชัย ใจใหม่ ให้ข้อมูลเมื่อ 17 มกราคม 2547) สุนัย ราชภัณฑารักษ์ (๒๕๒๗:๗๕) พบว่า เมืองถลางใหม่ที่บ้านเมืองใหม่สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๘ สมัยรัชกาลที่ ๓ หลังจากถลางแตกเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๒ ชาวถลางได้อพยพไปอยู่ที่กราภูงา แล้วย้ายกลับมาสร้างเมืองถลางใหม่เป็นบ้านเมืองใหม่
  บ้านแหลมทราย หมู่ ๖ ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  แหลมทราย เนื่องจากลักษณะของภูมิประเทศเป็นแหลมยื่นออกไปจากเกาะ เรียกว่า แหลมทราย ที่ตั้งทางทิศเหนือจดทะเล ทิศใต้ติดบ้านท่ามะพร้าว ทิศตะวันออกและตกจดทะเล ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่า สวนยาง ควน แหล่งน้ำ ภูเขาและทะเล ปัจจุบันเป็นทะเล สวนยาง ป่า ภูเขา ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและทำสวน จะนับถือศาสนาอิสลามและพุทธ มีโรงเรียนบ้านแหลมทราย มัสยิดอีดายาตุ้ลยันนะฮ์ และศูนย์พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งภูเก็ต (ทองสา เบิดสี ให้ข้อมูลเมื่อ 17 มกราคม 2547) ชื่อบ้านนี้หมายถึงแหลมที่มีทราย(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านพรุสมภาร หมู่ ๘ ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บ้านในไร่ อดีตมีพระธุดงค์เป็นหลวงพ่อที่มีเวทย์มนต์คาถาได้ปักกรดปักอยู่ใกล้กับพรุอยู่ จึงเรียกว่า พรุสมภาร ที่ตั้งทางทิศเหนือติด หมู่ ๕ บ้านเมืองใหม่ ทิศใต้ติด หมู่ ๓ บ้านพรุจำปา ทิศตะวันออกติดถนนเทพกระษัตรีและทิศตะวันตกติดตำบลสาคู ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าไม้ แหล่งน้ำและพรุ ปัจจุบันกลายเป็นสวนยาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง(กรีดยาง) และการเกษตร นับถือศาสนาอิสลามและพุทธ ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ มีโรงเรียนบ้านพรุจำปา มัสยิดดะวาตุ้ลอิสลามมีย่ะและโบสถ์คริสต์ (ผสม เริงสมุทร ให้ข้อมูลเมื่อ 17 มกราคม 2547)
  บ้านป่าครองชีพ หมู่ ๙ ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บ้านป่าครองชีพ คือหมู่บ้านที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ ซึ่งรัฐมอบที่ดินให้ชาวบ้านประมาณ ๒๕ ไร่เพื่อเป็นที่ดินสำหรับครองชีพ ทิศเหนือติดหมู่ ๕ เมืองใหม่ ทิศใต้ติดหมู่ ๗ บ้านนาใน ทิศตะวันออกจดเขาพระแทวและทิศตะวันตกติดถนนเทพกระษัตรี ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าไม้ใหญ่ ป่ายาง ดงเสือ เขาพระแทว ปัจจุบันเป็นสวนยาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและกรีดยาง นับถือศาสนาพุทธและอิสลาม ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ มีสวนทดลองยางพารา โรงเรียนบ้านป่าครองชีพและเตาเผาถ่าน(นิราช  ตะเคียงทอง ให้ข้อมูลเมื่อ 17 มกราคม 2547)
  บ้านท่ามะพร้าว หมู่ ๑๐ ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  ท่าพร้าว เป็นท่าเรือที่มีมะพร้าวอยู่บริเวณนั้นมาก ที่ตั้งทางทิศเหนือติดคลองท่าพร้าว ทิศใต้ติดถนนแหลมทรายเมืองใหม่ ทิศตะวันออกติดบ้านแหลมทรายและทิศตะวันตกติดป่ายาง ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าโกงกาง ปัจจุบันเป็นสวนยาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ มีกองทุนหมู่บ้านท่ามะพร้าว (หวด แซ่สุ่น ให้ข้อมูลเมื่อ 11 มกราคม 2547)
  บ้านผักฉีด หมู่ ๑ ถนนท่าเรือเมืองใหม่ ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บ้านผักเฉด ในอดีตคนในหมู่บ้านประกอบการทำสวนยาง หมดฤดูทำนาก็จะมีผักกะเฉดคนส่วนใหญ่จึงนิยมปลูกผักกะเฉด แต่มุสลิมส่วนใหญ่เรียก ผักเฉด ที่ตั้งทางทิศเหนือติดป่าคลอก ทิศใต้ติดบ้านบางลา ทิศตะวันออกจดชายทะเลบ้านบางทรายและบ้านยามู ทิศตะวันตกติดเขาเหมียงและเทือกเขาพระแทว ภูมิประเทศในอดีตเป็นทุ่งนา สวนยาง ปัจจุบันเป็นบ่อปลา นากุ้ง ที่อยู่อาศัยและสวนยาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบทำสวนยาง รับจ้าง นับถือศาสนาอิสลาม ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ มีสถานีอนามัย โรงเรียนสิทธิ์สุนทรบำรุงและมัสยิดบ้านผักฉีด (ประพันธ์ ถิ่นเกาะยาว ให้ข้อมูลเมื่อ 20 ธันวาคม 2547)
  บ้านบางแป หมู่ ๓ ตำบลป่าคลอก อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  บ้านบางแป ที่ตั้งทางทิศเหนือติดบ้านบางโรง ทิศใต้ติดบ้านป่าคลอก ทิศตะวันออกจดทะเลและทิศตะวันตกติดเขาพระแทว ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่า สวนยางและที่นา ปัจจุบันเป็นที่นาร้าง นากุ้ง สวนยาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบการเกษตร นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ยาวี มีมัสยิดบ้านบางแป (เจริญศรี  ศรีสวัสดิ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 20 ธันวาคม 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงชื่อส่วนหนึ่งของเรือน (เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านบางโรง หมู่ ๓ ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต   อดีตบริเวณนี้เคยเป็นเมืองเก่าสถานที่ของบริเวณเมือง จะเรียกต่างกัน บางแหล่ง บ้านท่องวัด ทุ่งวัด บ่างล่อง  สมัยต่อมาความเจริญเข้ามามากมีการสร้างโรงขี้ตะกรันในบริเวณจึงทำให้ต้องเปลี่ยนชื่อเป็นบ้านบางโรง ที่ตั้งทางทิศเหนือติดบ้านชุมเพลาะ ทิศใต้ติดบ้านบางแป ทิศตะวันออกติดคลองโพละพลีและทิศใต้ติดเขาพระแทว ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าทึบ มีหนองน้ำ สภาพกันดารเป็นเกาะ  ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบทางการเกษตร ค้าขาย รับจ้างทั่วไป นับถือศาสนา อิสลาม ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้  มีสถานที่สำคัญ เช่น ศูนย์สาธารณมูลฐานชุมชน ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน สนามกีฬาประจำหมู่บ้าน หอกระจายข่าว สถานีตำรวจภูธร ท่าเทียบเรือบางโรง สนามกีฬาประจำหมู่บ้าน มัสยิดนูรุลญันพะฮ์ (จีระศักดิ์ ท่อทิพย์  ดล คงนาม และเชิด  เกิดทรัพย์ ให้ข้อมูลเมื่อ 20 ธันวาคม 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงส่วนหนึ่งของเรือนที่อยู่เหนือระเบียงบ้านแบบถลาง(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านพารา หมู่ ๔ ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  พารา ซึ่งชางบ้านนิยมปลูกยางกันมาก ลำต้นมีขนาดใหญ่ มีน้ำยางมาก และในอดีตเคยเป็นของท้าวสามล จึงเรียกว่า บ้านพารา ที่ตั้งทางทิศเหนือติดท่ามะพร้าว ทิศใต้ติดบ้านบางโรง ทิศตะวันออกติดป่าชายเดนและทิศตะวันตกจดเขาพรแทว ภูมิประเทศในอดีตเป็น ภูเขา ป่าดิน ที่นา และปัจจุบันเป็นป่าสงวน นากุ้งกุลาดำ สวนยาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบทำสวน รับจ้าง นับถือศาสนาอิสลาม พูดภาษาไทยใหม่ มีสถานที่สำคัญ เช่น โรงเรียนบ้านพารา มัสยิดดารุลอิสตีกอม๊ะฮ์ (สะอาด พันธุ์ทิพย์ ให้ข้อมูลเมื่อ 20 ธันวาคม 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงบาลา แปลว่าอ่าวลึก(สุนัย ราชภัณฑารักษ์ ๒๕๒๗:)
  บ้านเกาะนาคา  มีบ้านเกาะใหญ่ หมู่ ๕  ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  นาคา เดิมมีความแห้งแล้ง มีหญ้าคาปกคลุมอยู่ทั่วไปทุกบริเวณ จึงเรียกเกาะหญ้าคาและเพี้ยนมาเป็นเกาะนาคา ที่ตั้งทางทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกจดทะเลอันดามัน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ มุสลิม ภูมิประเทศ สวนมะพร้าว สวนยาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบประมง นับถือศาสนาอิสลาม มีมัสยิดเกาะนาคาใหญ่ (อำไพ การะนาม ให้ข้อมูลเมื่อ 21 ธันวาคม 2546) บ้านเกาะนาคาเล็ก หมู่ ๕ ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  นาคา หรือ หญ้าคาเดิมมีความแห้งแล้ง มีหญ้าคาปกคลุมอยู่ทั่วไปทุกบริเวณ จึงเรียกเกาะหญ้าคาและเป็นเกาะนาคาเล็ก เพราะมีขนาดเล็กกว่าเกาะนาคาใหญ่  ที่ตั้งทางทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกจดทะเลอันดามัน ภูมิประเทศในอดีตเป็นสวนมะพร้าว ปัจจุบันเป็นที่ราบ ภูเขา และทะเลล้อมรอบ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบประมง ค้าขายและรับจ้าง นับถือศาสนาอิสลาม พูดภาษาไทยถิ่นใต้ มีบริษัทเกี่ยวกับการท่องเที่ยว และบริษัทผลิตมุก (ชอบ การะนาม  ให้ข้อมูลเมื่อ 21 ธันวาคม 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงเกาะที่มีหญ้าคา (เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านอ่าวปอ หมู่ ๖ ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  อ่าวปอ เพราะข้างริมทะเลมีต้นปออยู่เป็นจำนวนมาก นำต้นมาทำเป็นเชือกล่ามควาย ที่ตั้งทางทิศเหนือและทิศใต้จดภูเขา ทิศตะวันออกจดทะเล และทิศตะวันตกจดภูเขาและสวนยาง ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่า ที่นาปัจจุบันมีสวนยาง และที่นากุ้ง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบทำประมง ทำสวน นับถือศาสนาอิสลาม พูดภาษาไทยถิ่นใต้ มีมัสยิดบ้านอ่าวปอ (เราว์ฎอตุลมุตตากีน) โรงเรียนบ้านอ่าวปอ กุโบร์บ้านอ่าวปอ (ชอบ การะนาม ให้ข้อมูลเมื่อ 21 ธันวาคม 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงอ่าวที่มีบ่อน้ำ(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านแหลมหลง หมู่ ๖ ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  แหลมหลง คนที่มาจากต่างถิ่นมาบริเวณนี้มักจะหลงทางหลงทิศอยู่เสมอ ที่ตั้งทางทิศเหนือจดแหลมยาวและฟาร์มกุ้ง ทิศใต้ติดควน ทิศตะวันออกจดทะเลและทิศตะวันตกจดเขาแหลมหลง ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่า ภูเขา ทะเล ป่าพรุ ปัจจุบันเป็น ฟาร์มกุ้ง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบทำประมง สวนยาง นับถือศาสนาอิสลาม พูดภาษาไทยถิ่นใต้  (รีย๊ะ รอบคิด  ให้ข้อมูลเมื่อ 20 ธันวาคม 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงแหลมที่คนหลงทาง(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านยามู หมู่ ๗ ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  ยามูวัน เป็นภาษามลายู ที่ตั้งทางทิศเหนือติดสวนยาง บ้านป่าคลอก ทิศใต้จดทะเล ทิศตะวันออกติดสวนยางและทะเล ทิศตะวันตกติดบ้านผักฉีด ภูมิประเทศในอดีต ป่า สวนยาง แหล่งน้ำ ปัจจุบัน เป็นสวนยาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบทำสวนยาง  ประมง รับจ้าง นับถือศาสนาอิสลาม ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ มีมัสยิดดารุลมุตตากีน (ดนัย  สำเภารัตน์  ให้ข้อมูลเมื่อ 20 ธันวาคม 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงชมพู่ฝรั่งชนิดหนึ่งที่ชาวภูเก็ตเรียกยาหมู(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
 บ้านบางลา หมู่ ๘ ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บ้านบางลา อดีตบริเวณนี้จะมีพ่อค้าจากอินเดียมาขายผ้าเป็นจำนวนมาก เรียกว่า พวกกุลาเทศ หรือ กะลา ประกอบกับบริเวณนี้มีคลองเล็ก ๆ ที่มีน้ำเข้าถึง เรียกว่า บาง เป็น บ้านบางลา ที่ตั้งทางทิศเหนือติดควน สวนยาง ทิศใต้ติดคลองท่าเรือ ทิศตะวันออกติดบ้านผักฉีดและทิศตะวันตกติดบ้านท่าเรือ ภูมิประเทศในอดีตเป็น ป่าทึบ มีคลองน้ำไหลผ่าน ทุ่งนา ปัจจุบันเป็นตึก บ้าน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบทำการเกษตร รับจ้าง นับถือศาสนา อิสลามและพุทธ ใช้ภาษาถิ่นภูเก็ตมัสยิดเลาฎอตุลสชอลีฮีน และโรงเรียนนูรุดดีนอิสลามบ้านบางลา ( อำไพ การะนาม  ให้ข้อมูลเมื่อ 21 ธันวาคม 2546) บ้านบางลา  หมู่ ๓ ถนนปฏัก ตำบลกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  คลองบางลา  บาง - น้ำไหลเข้าออก เคยมีเรือของอินเดียเข้ามาจอดภูมิลำเนาเดิมที่อับปางลง ชาวอินเดีย คนภูเก็ตเรียก กะลา ปรากฏหลักฐาน บริเวณนั้นเจอ ลูกปัดสีเขียว อาณาเขตทางทิศเหนือจดโรงแรมถาวรปาล์มบีช ทิศใต้ติดคลองระบายน้ำ ทิศตะวันออกจดอนามัยกะรน ทิศตะวันตกจดทะเล  ภูมิประเทศในอดีตเป็นแหล่งน้ำ ป่า ทุ่งหญ้า ปัจจุบัน สถานประกอบการ บ้านพักอาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาใต้ในการพูด (ชวนพิศ  การเกตุ ให้ข้อมูลเมื่อ 22 มกราคม 2547)   ชื่อบ้านนี้หมายถึงหมู่บ้านที่มีชาวต่างชาติคือแขกอินเดียอาศัย(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านบางกา หมู่ ๘ ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บางกา อดีตบริเวณนี้เป็นป่าพังกา เรียกสั้น ๆ ว่า บ้านบางกา บาง สถานที่ที่มีน้ำเข้าถึงคล้ายกับคลอง  ที่ตั้งทางทิศเหนือติดถนนท่าเรือ ทิศใต้จดป่า ทิศตะวันออกจดทะเล และทิศตะวันตกติดบ้านท่าเรือ ภูมิประเทศในอดีตเป็น ป่าพังกา แหล่งน้ำ ป่า ปัจจุบัน ป่ายาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ทำสวน นับถือศาสนาอิสลาม พูดภาษาไทยถิ่นใต้  ( อำไพ การะนาม  ให้ข้อมูลเมื่อ 21 ธันวาคม 2546)
  บ้านอ่าวกุ้ง  หมู่ ๙ ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  อ่าวกุ้ง สมัยก่อนบริเวณอ่าวกุ้งมีทะเลเป็นอ่าวเว้าแหว่งเข้ามาก ทุกปีจะมีกุ้งเข้ามาบริเวณอ่าวเป็นจำนวนมาก คนส่วนใหญ่จะใช้แหทอดกุ้งเป็นอาชีพหลัก ที่ตั้งทางทิศเหนือจดทะเล ทิศใต้ติดสวนยางและบางโรง ทิศตะวันออกจดเขา ทิศตะวันตกติดคลอง ภูมิประเทศเป็นภูเขา สวนผลไม้ สวนยางพารา ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบทำสวน ประมง รับจ้าง พูดภาษาไทยถิ่นใต้ มีโรงเรียนบ้านอ่าวกุ้ง  (ศิติ  รอบรู้  ให้ข้อมูลเมื่อ 21 ธันวาคม 2546)
  บ้านบ่อสวม หมู่ ๔ ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บ่อสอม มีต้นสอม (ใบใหญ่ เป็นสมุนไพร ใช้เคี้ยวแก้โรคซาง)  ทิศเหนือติดบ้านหยิด ทิศใต้จดสนามบิน ทิศตะวันออกติดเขาไม้แก้ว(เขาบางดุก) ทิศตะวันตกจดทะเล ภูมิประเทศในอดีตเป็นที่นา ป่า ภูเขา แหล่งน้ำ สวนยาง ปัจจุบัน ที่พักอาศัย ที่นาร้าง ภูเขา ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ทำสวน ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ นับถือศาสนาอิสลาม มีมัสยิดนูรุลอิสลามบ้านบ่อสอม กุโบร์บ้านบ่อสอม (อุหมาก จารึก ให้ข้อมูลเมื่อ 21 ธันวาคม 2546)
  บ้านแหลมหลา หมู่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  แหลมหลา  เป็นที่พักของชาวเลตรงบริเวณแหลมพวกชาวเลได้สร้างหลาไว้บูชา คนบริเวณนั้นจึงเรียก ว่าแหลมหลา และในอดีตมีต้นไม้ปกคลุมทั่วไปโดยเฉพาะป่าชายเลนเป็นแนวยาว และสมัยก่อนมีการก่อสร้างท่าเทียบเรือระหว่างจังหวัดพังงา - ภูเก็ต มีแพขนานยนต์เข้ามาใช้ข้ามฝั่งเพื่อรับเสด็จ ร.7 อาณาเขตทางทิศเหนือจดทะเล ทิศใต้ติดสวนมะพร้าว ทิศตะวันออกและตกจดทะเล ภูมิประเทศในอดีตมีต้นไม้ปกคลุม ป่าชายเลน ปัจจุบันกลายเป็นถนน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบทำการเกษตร ประมง ค้าขาย นับถือศาสนาพุทธ จะใช้ภาษาไทยถิ่นใต้และชาวเลใช้ภาษามาซิง สถานที่สำคัญวัดท่าฉัตรไชย สะพานสารสิน โรงเรียนท่าฉัตรชัย (วารินทร์ วงษ์เพ็ญ ให้ข้อมูลเมื่อ 11 มกราคม 2547) ชื่อบ้านนี้หมายถึงแหลมที่ศาลพระภูมิ(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านบ่อไทร หมู่ 6 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บ้านไทร อาณาเขตทางด้านทิศเหนือติด ถนนสนามบินนานาชาติภูเก็ต ทิศใต้ติดบ้านในยาง ทิศตะวันออกติดที่นาและทิศตะวันตกจดทะเลและสนามบิน ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าและที่ราบ ปัจจุบันเป็นท่าอากาศยาน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ท่องเที่ยว นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ สถานที่สำคัญ มีสนามบินนานาชาติ กรมอุตุวิทยา องค์การโทรศัพท์ (วารินทร์ วงษ์เพ็ญ ให้ข้อมูลเมื่อ 11 มกราคม 2547) ชื่อบ้านนี้หมายถึงหมู่บ้านที่มีทั้งต้นไทรและบ่อน้ำ(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านหยิด หมู่ 7 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บ้านหยิด  ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าไม้เบญจพรรณ ป่าโกงกาง ปัจจุบันที่พักอาศัย สวนยาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบทำสวนยาง นับถือศาสนาอิสลามและพุทธ พูดภาษาไทยถิ่นใต้ มีมัสยิดนูรุลอามันบ้านหยิด (สมหมาย มีศักดิ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 11 มกราคม 2547) ชื่อบ้านนี้หมายถึงที่หยุดพักระหว่างทาง(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านทุ่งคาพะเนียงแตก หมู่ 5 ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ท่อง ซึ่งเมื่อก่อนที่ร่อนแร่ เรียกว่า เลียง แล้วมันแตก เปลี่ยนเสียงไปเป็นพะเนียงแตก มีทุ่งหญ้าคา เขานางพันธุ์มีหญ้าคามาจนถึงบริเวณนี่เรียกว่า ท่องคา แล้วเรียกรวมเป็น ทุ่งคาพะเนียงแตก อาณาเขตทิศเหนือจดขุมเมืองเก่า ทิศใต้ติดถนนสามกอง ทิศตะวันออกจดขุมเหมือง (แหล่งน้ำ) และทิศตะวันตกติดถนนโรงเรียนทุ่งคา ภูมิประเทศในอดีตเป็นหญ้าคา เหมืองเก่า ป่า แหล่งน้ำ ปัจจุบันเป็นที่พักอาศัย บ้านเช่า แหล่งน้ำ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบค้าขายและรับจ้าง นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ในการสื่อสาร (แดง สุขะเจริญศิริ (แซ่ตัน) ให้ข้อมูลเมื่อ 22 ธันวาคม 2546 และบูส้าย สุขะเจริญศิริ ให้ข้อมูลเมื่อ 22 ธันวาคม 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงทุ่งหญ้าที่มีหญ้าคา(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านแหลมชั่น หมู 2 ถนนเจ้าฟ้าใน ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  โป้ช่านและ แหลมชั่น อาณาเขตทิศใต้ติดถนนขวาง ทิศตะวันออกติดถนนเจ้าฟ้าใน ทิศตะวันตกติดถนนเจ้าฟ้านอก ภูมิประเทศในอดีต เป็นที่นา สวนยาง ป่า เหมืองแร่เก่า ปัจจุบันสวนยาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ในการสื่อสาร (ปัญญา อเนกธรรมพินิจ  ให้ข้อมูลเมื่อ 27 ธันวาคม 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงนามีหล่ม(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านตีนเขา หมายถึง บริเวณเชิงเขา อยู่ในตำบลฉลอง อำเภอเมืองภูเก็ต(เกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๓๑) 
  บ้านชิดเชี่ยว หมู่ 5 ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  ชิดเชี่ยวเนี่ยวหม้า ชิดเชี่ยว- ดาว 7 ดวง เหนียว - นางฟ้า หญิง  หม้า คือ หญิงผู้อาวุโสรวม นางฟ้าทั้ง 7  อาณาเขตทิศเหนือติดป่า ทิศใต้ติดเขาฉิ่งฮ้อ ทิศตะวันออกจดสนามสุระกุลและทิศตะวันตกจดคลองช้างผันหลัง ภูมิประเทศในอดีตเป็นขุมเหมืองเก่า ป่า แหล่งน้ำ ปัจจุบัน ป่าและที่พักอาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้  (ช่อย หลิ่มพิทักษ์วงศ์ และหลาน นาวารักษ์  ให้ข้อมูลเมื่อ 27 ธันวาคม 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงนางฟ้าจำนวน ๗ องค์(ไชยยุทธ ปิ่นประดับ ให้ข้อมูลเมื่อ ๙ กันยายน ๒๕๔๖)
  บ้านท่าเรือ หมู่ 3 ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  พอนท่าเรือ เมื่อ 30 ปีก่อนในอดีตมีเรือสำเภามาจอด เรือบรรทุกไม้ เรือ 3 หลัก อาณาเขตทิศเหนือติดหมู่บ้านลิพอนใต้ ทิศใต้ตำบลป่าคลอก ทิศตะวันออกติดหมู่บ้านม่าหนิก ทิศตะวันตกติดตำบลเกาะแก้ว ภูมิประเทศในอดีตเป็น ทุ่งนา ป่า หนองน้ำ เหมืองแร่ดีบุก ปัจจุบันเป็นสวนยางพารา ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบทำการเกษตร และค้าขาย นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ มีอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร ศาลเจ้าท่าเรือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ศาลเจ้าแม่หลักเมืองถลางท่าเรือ (เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านส้มเฟือง หมู่ 3 ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  ส้มเฟือง อาณาเขตทางทิศเหนือจดหาดบางเทา ทิศใต้จดหาดสุรินทร์ ทิศตะวันออกติดบ้านบางเทา ทิศตะวันตกจดทะเล ภูมิประเทศเป็นป่าชายเลน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ทำสวน นับถือศาสนาอิสลาม ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้  ชื่อบ้านหมายถึงบ้านที่มีส้มมะเฟือง(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านหาดสุรินทร์ หมู่ 3 ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  หาดสุรินทร์ อาณาเขตทิศเหนือติดบ้านส้มเฟือง ทิศใต้ติดเทือกเขากมลา ทิศตะวันออกติดบ้านบางเทาและทิศตะวันตกจดหาดสุรินทร์ ภูมิประเทศเป็น หาดทราย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย นับถือศาสนาอิสลาม ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ ชื่อสุรินทร์ได้ตามบรรดาศักดิ์พระยาสุรินทร์ เจ้าเมืองถลางในอดีตและเจ้าคุณเทศามณฑลภูเก็ต ชื่อหาดนี้ได้ชื่อตามพระยาสุรินทราชา(นกยูง วิเศษกุล) สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านป่าสัก หมู่ 4 ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บ้านป่าสัก อาณาเขตทิศเหนือติดโคกโหนด ทิศใต้ติดหัวสะพานนาบอน ทิศตะวันออกติดสวนยาง ทิศตะวันตกจดพื้นที่ลากูน่า ภูมิประเทศ สวนยาง สวนมะพร้าว ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง สวนยาง นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ มีศาลเจ้าเต้กุ่น (ยวน  ลายเสือ อายุ 75 ปี เกิด พ.ศ. 2471 ภูมิลำเนาเดิมที่บ้านเชิงทะเล 12 หมู่ 4 ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ให้ข้อมูลเมื่อ 26 ธันวาคม 2547) ชื่อบ้านนี้หมายถึงป่าที่มีต้นสักหิน(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านยา หมู่ 6 ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บ้านยา อดีตเคยเป็นที่อาศัยของพระยา ซึ่งท่านพระยาถลางนำเมียน้อยมาซ่อนไว้ที่แห่งนี้ อาณาเขตทิศเหนือติดสะพานบ้านดอน ทิศใต้ติดบ้านบางโจ ทิศตะวันออกและตะวันตกติดสวนยาง ภูมิประเทศในอดีตเป็น ที่นา หนอง คลอง บึง ป่าไม้นานาพันธุ์ ปัจจุบัน สวนยางพารา อาคารบ้านเรือน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง สวนยาง นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ (หยอย จันทวงศ์  ให้ข้อมูลเมื่อ 26 ธันวาคม 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงบ้านพระยาเจ้าเมืองถลาง(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านในยาง หมู่ 1 ตำบลสาคู อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บ้านในยันต์  ในยัง ซึ่งในอดีตเป็นบ้านในยัง แต่เรียกเพี้ยนเป็นในยาง  อีกนัยหนึ่งเนื่องจากมีต้นยางจำนวนมากเป็นป่ายาง คนไปอาศัยอยู่ในป่ายางจึงได้เรียกว่าในยาง อาณาเขตทิศเหนือจดสนามบิน ทิศใต้ติดบ้านม่าเหล่า ทิศตะวันออกติดป่า ทิศตะวันตกจดทะเล ภูมิประเทศในอดีตเป็น ป่าไม้ ปัจจุบัน แหล่งน้ำ คลอง ทะเล ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบทำสวนยาง รับจ้าง ประมง นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ มีท่าอากาศยานภูเก็ต วัดมงคลวราราม (เอียบ  ลิ่มประดิษฐ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 28 ธันวาคม 2546) (นิพล ลิ่มประดิษฐ์  ให้ข้อมูลเมื่อ 28 ธันวาคม 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงบ้านที่อยู่ในดงต้นยาง(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านตรอกม่วง หมู่ 2 ตำบลสาคู อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  กรอกม่วง อาณาเขตทิศเหนือจดภูเขาและทะเล ทิศใต้จดภูเขาเมือง (ในทอนเรียกหลักเมือง) ทิศตะวันออกติดที่นาร้าง ทิศตะวันตกติดควนเขาลวก ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าทุเรียน ต้นมะม่วง ภูเขา ป่า ที่นา แหล่งป่า ปัจจุบัน ท่านาร้าง ป่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบทำสวนและรับจ้าง นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ (ด้วง ตามชู  และข้อง ปัญญาไว  ให้ข้อมูลเมื่อ 18 มกราคม 2547) ชื่อบ้านนี้หมายถึงช่องแคบที่มีต้นมะม่วง(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านสาคู       หมู่ 3  ถนน สาคู - ลายัน ตำบลสาคู อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  สาคู  ซึ่งเมื่อก่อนมีต้นสาคูจำนวนมาก อาณาเขตทางทิศเหนือติดตรอกม่วง ทิศใต้ติดภูเขาเมือง ทิศตะวันออกติดพรุจำปา ทิศตะวันตกติดภูเขาบ้านสาคู  ภูมิประเทศในอดีตเป็น ที่นา ภูเขา แหล่งน้ำ ป่าสาคู ปัจจุบัน ที่นาร้าง สวนผัก สวนยาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบทำสวนผัก นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ มีโรงเรียนบ้านสาคู  องค์การบริหารส่วนตำบลสาคู (ถนอม รักสนิท และนิพล ลิ่มประดิษฐ์  ให้ข้อมูลเมื่อ 18 มกราคม 2547) ชื่อบ้านนี้หมายถึงสระที่มีโค หรือบ้านที่มีต้นสาคู(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านในทอน หมู่ 4 ถนน ในทอน ตำบลสาคู อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  ในทอน อาณาเขตทิศเหนือติดภูเขาหลักเมือง ทิศใต้ติดภูเขาหัวนอน ทิศตะวันออกติดภูเขาทวดเมฆและทิศตะวันตกจดทะเล ภูมิประเทศในอดีตเป็น ป่า ที่นา ภูเขา แหล่งน้ำ ปัจจุบัน ที่พักอาศัย  ที่นาร้าง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ประมง นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ มีโรงเรียนบ้านในทอน (วรรณา แซ่ต๋อง ให้ข้อมูลเมื่อ 18 มกราคม 2547)
  บ้านบางม่าเหลา หมู่ 5 ตำบลสาคู อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บ้านบางม่าหลง มาจากพวกพม่าพลัดหลงมาเหลาไม้พองทำอาวุธ เพื่อทำสงคราม อาณาเขตทางทิศเหนือติดบ้านในยาง ทิศใต้ติดบ้านสาคู ทิศตะวันออกติดภูเขา ทิศตะวันตกจดทะเล ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าทึบ ลำคลอง หนองน้ำ ปัจจุบัน สวนยางพารา สวนผลไม้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบทำการเกษตร รับจ้าง ประมง นับถือศาสนาอิสลาม ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ มีมัสยิดดารุลอาบีดีน  (ข้อง ปัญญาไว ให้ข้อมูลเมื่อ 18 มกราคม 2547) ชื่อบ้านนี้หมายถึงบริเวณที่พม่ามาหลงทาง(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
  บ้านชายวัด หมู่ 1 ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต  ชายวัด ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ใกล้กับวัด หรือติดกับวัดสุวรรณคีรีวงก์ อาณาเขตทิศเหนือติดภูเขา ทิศใต้ติดบ้านมอญ ทิศตะวันออกติดภูเขา วัด ทิศตะวันตกติดบ้านโคกขาม ภูมิประเทศ ที่พักอาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบค้าขาย รับจ้าง ธุรกิจการท่องเที่ยว นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ มีวัดสุวรรณคีรีวงก์ (บุญเลิศ คุรุ ให้ข้อมูลเมื่อ 22 ธันวาคม 2546)
 บ้านโคกขาม หมู่ 1 ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต  บ้านโคกขาม เมื่อก่อนมีต้นมะขามใหญ่เป็นจำนวนมาก อาณาเขตทิศเหนือติดภูเขา ทิศใต้ติดบ้านชายวัด ทิศตะวันออกติดบ้านชายวัด ทิศตะวันตกติดบ้านเพชร ภูมิประเทศในอดีตเป็นนา ภูเขา แหล่งน้ำ ป่ามะขาม ปัจจุบันเป็นนาร้าง ที่พักอาศัย ภูเขา ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบค้าขาย รับจ้าง นับถือศาสนาพุทธและอิสลาม คริสต์ ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ มีมัสยิดบ้านโคกขาม (บุญเลิศ คุรุ อายุ 48 ปี เกิด พ.ศ. 2498 ภูมิลำเนาเดิมที่บ้านเพชร  240 หมู่ 1 ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ให้ข้อมูลเมื่อ 22 ธันวาคม 2546) บ้านโคกขาม หมู่ ๑, ๒ ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต โคกขาม อาณาเขตทางทิศเหนือบ้านโคกยาง ทิศใต้ติดบ้านหัวพรุ ทิศตะวันออกติดหลังวัดสว่างอารมณ์ ทิศตะวันตกติดถนน(ทางไปในหาน)  ภูมิประเทศในอดีตต้นมะขาม ป่า แหล่งน้ำ ที่นา ปัจจุบันสวนผัก ที่นาร้าง ที่พักอาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างปลูกผัก นับถือศาสนาพุทธ  ใช้ภาษาใต้ในการพูด (ลิขิต ประจันทบุตร ให้ข้อมูลเมื่อ 22 มกราคม 2547)
  บ้านกะหลิม หมู่ 5 ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต  กะหลิม อาณาเขตติดเหนือและทิศตะวันออกจดภูเขา ทิศใต้และทิศตะวันตกจดทะเล ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าดิบ ภูเขา ปัจจุบันเป็นโรงแรม ร้านค้า ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว นับถือศาสนาอิสลาม ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ (หลิม  คุรุ ให้ข้อมูลเมื่อ 22 ธันวาคม 2546
  บ้านแหลมเพชร หมู่ 1 ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต  บ้านแหลมเพชร บริเวณนี้เป็นแหลม คนสมัยก่อนเชื่อว่าเคยเจอเพชรใกล้บริเวณหัวแหลม อาณาเขตทางทิศเหนือติดโคกขาม ทิศใต้จดทะเล ทิศตะวันออกติดภูเขา ทิศตะวันตกติดวัดแหลมเพชร ภูมิประเทศในอดีตเป็น ป่าดิบ ภูเขา ที่นา สวนผัก ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัย และร้านค้า ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง และค้าขาย นับถือศาสนาพุทธและอิสลาม ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ (หลิม  คุรุ ให้ข้อมูลเมื่อ 22 ธันวาคม 2546)
บ้านกะรน หมู่ ๑ ตำบลกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  บ้านกะรน มีการสร้างบ้านเรือนกันมาก คนภูเก็ตเรียกบ้านว่า รน ส่วน กะ หมายถึง อ่าว  อาณาเขตทางทิศเหนือ   ทิศใต้  ทิศตะวันออก   ทิศตะวันตก  ภูมิประเทศในอดีตเป็นทุ่งนา แหล่งน้ำ ป่า ปัจจุบันที่อยู่อาศัย ป่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ธุรกิจส่วนตัว นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาไทยใต้ มีวัดสุวรรณคีรีเขต (ประสิทธิ์  นาดอน ให้ข้อมูลเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2546) ชื่อบ้านนี้หมายถึงอ่าวเรือน(สุนัย ราชภัณฑารักษ์ ๒๕๒๗:๑๙๔)
บ้านหนองหาน หมู่ ๑ ตำบลกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  บ้านในหาน เป็นแหล่งน้ำ หนองน้ำขนาดใหญ่ ที่คนใช้สอยกันในละแวกนั้น แต่สภาพพื้นที่ปัจจุบัน รอบ ๆ ของในหานเป็นโรงแรม ร้านอาหาร บาร์เบียร์ ธุรกิจท่องเที่ยว บ้านเช่า (ประสิทธิ์  นาดอน ให้ข้อมูลเมื่อ 22 มกราคม 2547) ชื่อบ้านนี้หมายถึงบึงหนองน้ำ(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
 บ้านบนสวน หมู่ ๑ ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  บ้านบนสวน  ป่าหล่าย ปลูกผัก ทำสวน ทำผัก ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบประมง ท่อนบนของมันบริเวณป่าหล่ายจึงเรียกว่า บนสวน  ภูมิประเทศในอดีต ปลูกผัก สวนมะพร้าว ปัจจุบันที่อยู่อาศัย ร้านค้า ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ธุรกิจให้เช่าที่ดิน นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาใต้ในการพูด (จรูญ  แซ่ตัน ให้ข้อมูลเมื่อ 22 มกราคม 2547) ชื่อบ้านนี้หมายถึงสวนที่อยู่เหนือชุมชนใกล้เคียง(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
บ้านป่าหล่าย หมู่ ๓ ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ป่าหล่าย เนื่องจากเป็นป่าที่ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ เป็นเพราะน้ำท่วมดินเค็ม อาณาเขตทางทิศเหนือติดบ้านนาบอน ทิศใต้ติดบ้านโคกโหนด ทิศตะวันออกจดทะเล ทิศตะวันตกติดบ้านบนสวน ชาติพันธุ์จีน ภูมิประเทศอดีตเป็นสวนมะพร้าว ป่าโกงกาง ปัจจุบันร้านอาหาร ที่นาร้าง นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาใต้ในการพูด ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ธุรกิจให้เช่าที่ดิน มีสวนสัตว์ภูเก็ต (บุญธรรม ปัญญาดี  และวิลัย  เครืออินทร์ ให้ข้อมูลเมื่อ 21 มกราคม 2547) ชื่อบ้านนี้หมายถึงบริเวณป่าที่มีดินใช้ประโยชน์มิได้(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
บ้านตีนวัด หมู่ ๖ ถนนเจ้าฟ้าใน ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  ตีนวัด ใช้วัดเป็นเกณฑ์ หันหัวนอนไปทางไหนบริเวณนี่ก็เป็นตีนของวัด อาณาเขตทางทิศเหนือติดบ้านนากก ทิศใต้จดวัดฉลอง ทิศตะวันออกติดหมู่ ๔ บ้านนาเขาใหญ่ ทิศตะวันตก ติด หมู่๖ บ้านตกวัด ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่า ปัจจุบัน ที่พักอาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ทำสวน ธุรกิจส่วนตัว นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาไทยใต้ มีวัดไชยธาราราม (ทอน ลูกจันทร์ ให้ข้อมูลเมื่อ 21 มกราคม 2547)
บ้านแขนน หมู่ ๒ ตำบล เทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  บ้านแหนน มาจากบางแน่น มีคลองเยอะ เป็นสายน้ำเล็ก ๆ ไหลมารวมกัน แขนน มาจากคนจีนที่มาตัดไม้แล้วพูดไม่ชัดเป็นบางแน่ง อาณาเขตทางทิศเหนือติดบ้านควน  ทิศใต้ติดบ้านพอน ทิศตะวันออกติดเขาพระแทว บ้านควน ทิศตะวันตกติดบ้านเคียน  ภูมิประเทศในอดีตเป็นแหล่งน้ำ คลอง ป่า ภูเขา ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง การเกษตร  นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาใต้ในการพูด มีอุทยานแห่งชาติเขาพระแทว  หมู่บ้านวัฒนธรรมถลาง วัดแขนน โรงเรียนโคกวัดใหม่(บัญญัติ  จริยเลอพงษ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 25 มกราคม 2547)
บ้านควน  หมู่ ๑๑ ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  บ้านควน หน้าเขาพระแทว มองจากบ้านเคียน บ้านแขนน เป็นแนนหน้าเขาเป็นควน เนินหน้าเขาพระแทว อาณาเขตทางทิศเหนือติดบ้านนาใน ทิศใต้ติดบ้านแหนน  ทิศตะวันออกติดเขาพระแทว ทิศตะวันตกติดบ้านแขนน  ภูมิประเทศในอดีตเนิน ป่า  ปัจจุบันสวนยาง สวนผลไม้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ทำสวนยาง นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาไทยใต้ในการพูด (บัญญัติ จริยเลอพงศ์  ให้ข้อมูลเมื่อ 25 มกราคม 2547) ชื่อบ้านนี้หมายถึงเนินเชิงเขา(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)   
บ้านชุมเพลาะ  หมู่ ๙ ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ชุมเพลาะ  อาณาเขตทางทิศเหนือจิดทะเลและภูเขา ทิศใต้ติดบ้านบางโรง ทิศตะวันออกติดอ่าวปอ  ทิศตะวันตกจดภูเขา สวนยาง ภูมิประเทศในอดีตเป็นที่นา สวนยาง ภูเขา  ปัจจุบันที่นาร้าง ภูเขา สวนยาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทำสวน  นับถือศาสนาอิสลาม ใช้ภาษาไทยใต้ในการสื่อพูด (มาหยาม สาราย้า ให้ข้อมูลเมื่อ 20 มกราคม 2547)
 บ้านแหลมไม้ไผ่ หมู่ ๑ ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต แหลมไม้ไผ่ ตรงบริเวณแหลมไม้ไผ่ ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ จะอาศัยอยู่ที่บริเวณอ่าว ส่วนใหญ่เป็นคนที่ย้ายถิ่นฐานมาจากต่างถิ่น  อาณาเขตทางทิศเหนือติดเส้นทางเลียบภูเขา  ทิศใต้ติดสวนยาง ทิศตะวันออกจดทะเล ทิศตะวันตกติดภูเขาเกาะสิเหร่  ภูมิประเทศในอดีตแหลมป่า ภูเขา อ่าว ปัจจุบันบ้านพักอาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง  นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาไทยใต้ในการพูด (ระวิ มะลิแก้ว ให้ข้อมูลเมื่อ 23 มกราคม 2547)
 บ้านแหลมหงา หมู่ ๑ ตำบลรัษฏา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  บ้านแหลมหงา  อาณาเขตทางทิศเหนือจดทะเล  ทิศใต้ติดวัดเกาะสิเหร่ โรงเรียนเกาะสิเหร่ ทิศตะวันออกติดสวนยาง  ทิศตะวันตกจดทะเล ภูมิประเทศในอดีตเป็น ป่า ภูเขา แหลม ปัจจุบันสวนยาง ภูเขา ที่อยู่อาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย ประมง นับถือศาสนาอิสลาม พุทธ ใช้ภาษาไทยใต้ (ไข่ สมภัก ให้ข้อมูลเมื่อ 23 มกราคม 2547)
บ้านหน้าหิน หมู่ ๓ ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต หน้าหินมีอาณาเขตทางทิศเหนือติดภูเขา ทิศใต้ติดถนน ทิศตะวันออกติดภูเขา ทิศตะวันตกจดเขาโต๊ะแซะ  ภูมิประเทศในอดีตภูเขา ป่า ปัจจุบันภูเขา ป่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบก่อสร้าง รับจ้าง นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาไทยใต้ในการพูด (ปรีชา จตุอาภรณ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 23 มกราคม 2547) ชื่อบ้านนี้หมายถึงบ้านที่อยู่ใกล้เพิงผาหินที่ผู้รับเหมาระเบิดหินไว้ก่อสร้าง (เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
บ้านแหลมกลาง หมู่ ๔ ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต แหลมกลาง ซึ่งเป็นเกาะกลาง  อาณาเขตทางทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกจดทะเล ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่า ภูเขา ทะเล ปัจจุบันโรงงานเอเชียสาตนั่ม นับถือศาสนาพุทธ  ใช้ภาษาใต้ในการพูด (หยกฉุ้น วงศ์สวนนท์ ให้ข้อมูลเมื่อ 26 มกราคม 2547)
 บ้านแหลมตุ๊กแก หมู่ ๔ ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต อาณาเขตทางทิศเหนือและทิศใต้จดทะเล ทิศตะวันออกติดบ้านเกาะสิเหร่ ทิศตะวันตกจดทะเล ภูมิประเทศเป็นป่าโกงกาง ป่า เขา ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบนับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาไทยใต้และภาษาโอรังลาโอด มีที่อ่านหนังสือกลางหมู่บ้าน (จิ้ว ประโมงกิจ ให้ข้อมูลเมื่อ 26 มกราคม 2547)  บ้านแหลมตุ๊กแก หมายถึง แหลมที่มีตุ๊กแก(เกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๒๖)
บ้านท่าเรือใหม่ หมู่ ๗ ถนนศรีเสนา ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต บ้านหน้าแพ อาณาเขตทางทิศเหนือติดคลอง ทิศใต้ ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกจดทะเล ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าโกงกาง ปัจจุบันท่าเรือ ที่อยู่อาศัย สถานที่เช่าอบจังหวัด ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาใต้ในการพูด มีกรมเจ้าท่า ศูนย์พัฒนาเด็กบ้านท่าเรือใหม่ (ชาญชัย ตัณฑวชิระพันธ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 26 มกราคม 2547)
บ้านโคกสั้น หมู่ ๒, ๖ ถนนวิเศษ ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต โคกสั้น  อาณาเขตทางทิศเหนือที่นาร้าง ภูเก็ตซีเชลล์ ทิศใต้ถนนวัดสว่างอารมณ์ ทิศตะวันออกถนนวิเศษ ทิศตะวันตกวัดสว่างอารมณ์ ภูมิประเทศในที่นา ป่า ป่ามะพร้าวและบ้านพักอาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาใต้ในการพูด (ลิขิต ประจันทบุตร ให้ข้อมูลเมื่อ 22 มกราคม 2547) ชื่อบ้านนี้หมายถึงบริเวณเนินดินที่ระยะทางไม่ยาวมากนัก(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546) 
 บ้านเกาะโหลน หมู่ ๓ ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เกาะโหลน อาณาเขตทางทิศเหนือจดทะเล ทิศใต้ติดภูเขา ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกจดทะเล ภูมิประเทศเกาะ ป่า ภูเขา และสวนยาง สวนมะพร้าว  ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบทำสวน ธุรกิจท่องเที่ยว นับถือศาสนาอิสลาม ใช้ภาษาใต้ในการพูด มี โรงเรียนบ้านเกาะโหลน สถานีอนามัย มัสยิด ท่าเทียบเรือ (วิรัช จิรวัฒนวิจิตร ให้ข้อมูลเมื่อ 25 มกราคม 2547)
บ้านห้าแยก หมู่ ๔, ๕ ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต บ้านห้าแยก อยู่บริเวณวงเวียน ประกอบด้วย ๕ หมู่ด้วยกัน  อาณาเขตทางทิศเหนือติดบ้านโคกโหนด ทิศใต้บ้านบางคนที ทิศตะวันออกจดทะเล ทิศตะวันตกติดเขานาคเกิด  ภูมิประเทศในอดีตเแป็นสวนมะพร้าว ปัจจุบันกลายเป็นที่พักอาศัย  ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ธุรกิจด้านการท่องเที่ยว นับถือศาสนาพุทธ ใช้ไทยถิ่นใต้ มีกรมสรรพากรอำเภอ ท่าเทียบเรืออ่าวฉลอง โรงเรียนเมืองภูเก็ต สถานีตำรวจภูธรตำบลฉลอง ไปรษณีย์ราไวย์ (วิรัช จิรวัฒนวิจิตร  ให้ข้อมูลเมื่อ 25 มกราคม 2547) ชื่อบ้านนี้หมายถึงจำนวนทางแยกมี ๕ แยก(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
บ้านนาบอนใต้ หมู่ ๑ ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต บ้านนาบอนใต้ อาณาเขตทางทิศเหนือเทศบาลเมืองภูเก็ต ทิศใต้ติดตำบลฉลอง ทิศตะวันออกติดตำบลรัษฎา ทิศตะวันตกติดบ้านแหลมชั่น  ภูมิประเทศแหล่งน้ำ ภูเขา สวนยาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ค้าขาย นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาใต้ในการพูด (วิรัช จิรวัฒนวิจิตร ให้ข้อมูลเมื่อ 25 มกราคม 2547)  บ้านนาบอนใต้ หมู่ 1 ถนนศักดิเดช ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต บ้านนาบอนใต้ อาณาเขตทางทิศเหนือจดเทศบาลเมืองภูเก็ต ทิศใต้ติด ตำบลฉลอง ทิศตะวันออกติด ตำบลรัษฎา ทิศตะวันตกติดบ้านแหลมชั่น ภูมิประเทศเป็นป่า แหล่งน้ำ ภูเขา สวนยาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ค้าขาย นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาใต้ในการสื่อสาร (ภิรมย์ พวงปราง อายุ 99 ปี เกิด พ.ศ.  ให้ข้อมูลเมื่อ 26 มกราคม 2547)
บ้านระเงง หมู่ 4 ถนนเจ้าฟ้าตะวันตก ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต บ้านระแงง  อาณาเขตทางทิศเหนือติดหมู่ 5 ตำบลวิชิต ทิศใต้ติดหมู่ 2 ตำบลวิชิต ทิศตะวันออกติดสวนหลวง ทิศตะวันตกติดภูเขา ภูมิประเทศเหมืองเก่า ทุ่งนา ปัจจุบันที่พักอาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย นับถือศาสนาพุทธ และอิสลาม ใช้ภาษาใต้ในการสื่อสาร (ชูศักดิ์ อายุพงศ์ ให้ข้อมูลเมื่อ 25 มกราคม 2547)
บ้านท่าแครงบน หมู่ 9 ถนนศักดิเดช ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต อาณาเขตทางทิศเหนือจดเทศบาลนครภูเก็ต ทิศใต้ติดหมู่ 6 บ้านบ่อแร่ ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกติดหมู่ 1 นาบอนใต้   ภูมิประเทศน้ำเข้าถึง ป่าโกงกาง ปัจจุบันที่พักอาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาใต้ในการสื่อสาร มีสุสานกวางตุ้ง (สุเมธ จิตซื่อ   ให้ข้อมูลเมื่อ 26 มกราคม 2547) ชื่อบ้านนี้หมายถึงท่าเรือที่มีหอยแครง(เกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๒๓)
บ้านนาในสุด หมู่ 4 ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต   เป็นที่นาที่ลึกเข้าไปและเป็นที่นาผืนสุดท้ายที่ไม่สามารถขยายได้อีก เพราะติดกับภูเขาอาณาเขตทางทิศเหนือติดเขาบางทอง ทิศใต้จดทะเล ทิศตะวันออกติดภูเขา ทิศตะวันตกติดหมู่ 3 บ้านไสน้ำเย็น ภูมิประเทศเป็นป่า ภูเขา ที่นาและที่พักอาศัย  ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว  นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาใต้ในการสื่อสาร (สุกัญญา ทิศทอง  ให้ข้อมูลเมื่อ 20 มกราคม 2547) ชื่อบ้านนี้หมายถึงทุ่งนาที่อยู่ด้านในมากกว่าที่อื่น(เลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลเมื่อ 24 ธันวาคม 2546)
บ้านไสน้ำเย็น หมู่ 2 ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต  ไสน้ำเย็น มีสายน้ำเย็น มีสภาพป่าไม้รกทึบบวกกับมีแม่น้ำลำธารไหลตลอดใครมาจุดนี้รู้สึกเย็นสดชื่น ชาวบ้านจึงเรียกว่า สายน้ำเย็น  อาณาเขตทางทิศเหนือติดถนนพิสิฏฐกรณีย์  ทิศใต้ติดถนนทวีวงศ์ ทิศตะวันออกติดบ้านมอญ  ทิศตะวันตกติดถนนพระบารมี ภูมิประเทศในอดีตอุดมด้วยพืชผลธัญญาหาร ป่าไม้ ธารน้ำ ปัจจุบันกลายเป็นตึก บ้าน ที่พักอาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบค้าขาย นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาใต้ในการสื่อสาร มีโรงเรียนบ้านไสน้ำเย็น (สุกัญญา ทิศทอง ให้ข้อมูลเมื่อ 20 มกราคม 2547)
บ้านมอญ หมู่ 2 ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต  เดิมเป็นชุมชนที่อยู่ของชนชาติมอญ ที่อพยพหนีพม่ามาอยู่บริเวณนี้ โดยไม่ทราบสาเหตุ ภายหลังชาวจีนได้เข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุก และได้ตั้งรกรากมาจนถึงปัจจุบันนี้ นับแต่นั้นมาจึงได้เรียกว่าบ้านมอญ  อาณาเขตทางทิศเหนือติดบ้านชายวัด ทิศใต้ติดบ้านไสน้ำเย็น ทิศตะวันออกติดภูเขา ทิศตะวันตกติดบ้านโคกทราย ภูมิประเทศในอดีตเป็นป่าไม้ ลำธาร ภูเขา ปัจจุบันกลายเป็นถนนคอนกรีต ที่พักอาศัย บ้านเช่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบบริการ เช่น ค้าขาย บริการตัดผม นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาไทยใต้ในการสื่อสาร มีราชปาทานนุสรณ์ 2502  (ปานอม สิ้มจุ้ย ให้ข้อมูลเมื่อ 20 มกราคม 2547)
 บ้านบางงั่ว      หมายถึงมะงั่ว ชาวภูเก็ตเรียกลูกงั่ว อยู่ในตำบลตลาดใหญ่ เทศบาลนครภูเก็ต (เกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๒๑)
 บ้านสะพานหิน   หมายถึงบ้านที่มีสะพานสร้างด้วยหิน อยู่ที่ตำบลตลาดใหญ่ต่อจากบ้านบางเหนียว เทศบาลนครภูเก็ต (เกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๒๒)
บ้านจุ้ยตุ่ย    หมายถึง บริเวณที่มีน้ำสองสายมาสมทบกัน ตั้งอยู่ในตำบลตลาดเหนือ เทศบาลนครภูเก็ต(เกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๒๓)
 บ้านอ่าวเก้    หมายถึงอ่าวที่ขนถ่ายสินค้า อยู่ในเทศบาลนครภูเก็ต(เกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๒๓)
 บ้านเกาะสิเหร่  หมายถึงใบพลู บ้านนี้อยู่บนเกาะสิเหร่ ตำบยลรัษฎา อำเภอเมืองภูเก็ต(สุนัย ราชภัณฑารักษ์ ๒๕๒๗:  และเกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๒๕)
 บ้านพรุตอก   หมายถึง พรุน้ำ ในพรุมีป่าเสม็ด เมื่อเสม็ดมีลูกจะขาวโพลนดูเหมือนข้าวตอก อยู่ที่หมู่ 1 ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต (เกตุนภา มุกดาสกุลภิบาล ๒๕๔๓:๒๘)

การจำแนกนามสถานในจังหวัดภูเก็ต

  จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดการจำแนกนามสถานเป็น ๘ กลุ่ม คือ
๑. ตั้งชื่อตามสภาพภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะเด่น
๒. ตั้งชื่อโดยอาศัยสภาพธรรมชาติที่มีโดดเด่น
๓. ตั้งชื่อตามกิจกรรมหรือวัฒนธรรมชุมชน
๔. ตั้งชื่อเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแก่เหตุการณ์และบุคคลสำคัญ 
๕. ตั้งชื่อโดยอาศัยจินตภาพของผู้เรียก
๖. ตั้งชื่อเพื่อความเป็นสิริมงคล 
๗. ตั้งชื่อโดยอาศัยนิทานหรือตำนาน
๘. ไม่ทราบความหมายของชื่อ

การศึกษานามสถานในจังหวัดภูเก็ตแต่ละชื่อ พบว่ามีชื่อตั้งแต่ ๒ พยางค์ ถึง ๕ พยางค์ แต่ละพยางค์ของบางชื่อมีความหมายมากกว่า ๑ ความหมาย  หากพยางค์ใดของชื่อตรงกับคำในกลุ่มใด จะจัดนามสถานนั้นไว้ทุกกลุ่มคำ  นามสถาน ๑ ชื่อ จึงอยู่ในหลายกลุ่มคำได้  เช่น กะทู้ เป็นคำ ๒ พยางค์ พยางค์แรก คือ กะ หมายถึง อ่าว และพยางค์หลังหมายถึงหิน  ได้จัดให้กะทู้อยู่ในกลุ่มการตั้งชื่อตามสภาพภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะเด่น  อีกความหมายหนึ่งเชื่อว่ามาจาก นายประตู จึงจัดไว้ในกลุ่มตั้งชื่อตามกิจกรรมหรือวัฒนธรรมชุมชน จากชื่อบ้านที่เป็นนามสถานในการศึกษาครั้งนี้จำนวนประมาณ ๒๐๐ ชื่อ จำแนกเป็นกลุ่มการตั้งชื่อจากมากไปน้อยตามลำดับได้ดังนี้
ลำดับมากที่สุด คือตั้งชื่อตามสภาพภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะเด่น
ลำดับที่ ๒ คือ ตั้งชื่อโดยอาศัยสภาพธรรมชาติที่มีโดดเด่น
ลำดับที่ ๓ คือ ตั้งชื่อตามกิจกรรมหรือวัฒนธรรมชุมชน
ลำดับที่ ๔ คือ ไม่ทราบความหมายของชื่อ
ลำดับที่ ๕ ตั้งชื่อเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแก่เหตุการณ์และบุคคลสำคัญ 
ลำดับที่ ๖ ตั้งชื่อโดยอาศัยนิทานหรือตำนาน
ลำดับที่ ๗ ตั้งชื่อโดยอาศัยจินตภาพของผู้เรียก
และลำดับที่ ๘ ตั้งชื่อเพื่อความเป็นสิริมงคล

 ลำดับที่ ๑ ตั้งชื่อตามสภาพภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะเด่น
      การศึกษานามสถานที่เป็นชื่อบ้าน มีการตั้งชื่อตามสภาพภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะเด่น จำพวกคำ อ่าว แหลม  เกาะ ดอน ควน โคก เขา หาน บาง พรุ  การพิจารณาชื่อในกลุ่มนี้ ได้พิจารณาบางส่วนของชื่อ ปรากฏชื่อจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งที่สอดคล้องกับชื่อในกลุ่มนี้ เช่น บ้านกมลานอกเล    บ้านกลาง  บ้านเกาะแก้ว  บ้านเกาะนาคาเล็ก  บ้านเกาะมะพร้าว  บ้านเกาะใหญ่  บ้านเขาน้อย  บ้านแขนน  บ้านควน  บ้านควนดินแดง  บ้านโคกขาม  บ้านโคกเคียน  บ้านโคกโตนด  บ้านโคกทราย  บ้านโคกมะขาม  บ้านโคกยาง บ้านโคกสั้น  บ้านชายวัด  บ้านเชิงทะเล  บ้านดอน  บ้านตรอกม่วง  บ้านตีนเขา  บ้านตีนวัด  บ้านท่าแครงบน  บ้านท่ามะพร้าว  บ้านท้ายนา  บ้านทุ่งทอง  บ้านนานอก  บ้านนาใน  บ้านนาบอนใต้  บ้านนาใหญ่  บ้านในพรุ  บ้านในยาง  บ้านบนสวน  บ้านบางคณที  บ้านบางคู  บ้านบางโจ  บ้านบางชีเหล้า  บ้านบางทอง  บ้านบางเทา  บ้านบางเทาใต้  บ้านบางเทานอก   บ้านบางเทาเหนือ  บ้านบางแป  บ้านบางม่าเหลา  บ้านบางแร่  บ้านบางโรง   บ้านบางลา  บ้านบางหวาน  บ้านบางเหนียวดำ  บ้านป่าตอง  บ้านพรุจำปา  บ้านพรุสมภาร  บ้านพอน  บ้านใหญ่  บ้านพารา  บ้านมอญ  บ้านสะปำ   บ้านไสน้ำเย็น  บ้านไสยวน  บ้านหนองหาน  บ้านหน้าหิน  บ้านหัวควน  บ้านหัวควน  บ้านหัวพรุ  บ้านเหนือ  บ้านแหลมกลาง  บ้านแหลมชั่น  บ้านแหลมทราย  บ้านแหลมพรหมเทพ  บ้านแหลมพันวา  บ้านแหลมเพชร  บ้านแหลมไม้ไผ่  บ้านแหลมหลง  บ้านแหลมหลา  บ้านแหลมหิน  บ้านอ่าวกุ้ง  บ้านอ่าวน้ำบ่อ  บ้านอ่าวปอ   บ้านอ่าวมะขาม

ลำดับที่ ๒  ตั้งชื่อโดยอาศัยสภาพธรรมชาติที่มีโดดเด่น
  คือ บ้านกมลานอกเล  บ้านกะทู้  บ้านเก็ตโฮ่  บ้านเกาะนาคาเล็ก  บ้านเกาะมะพร้าว  บ้านเกาะใหญ่  บ้านควนดินแดง  บ้านคอเอน  บ้านโคกขาม  บ้านโคกเคียน  บ้านโคกโตนด  บ้านโคกสั้น  บ้านตรอกม่วง  บ้านตะเคียน  บ้านท่าแครงบน  บ้านทุ่งคาพะเนียงแตก  บ้านนากก  บ้านนาคาเล  บ้านนาบอน  บ้านนาบอนใต้  บ้านในพรุ  บ้านในยาง  บ้านในหาน  บ้านบ่อไทร  บ้านบ่อแร่  บ้านบ่อสวม  บ้านบางกา  บ้านบางทอง  บ้านบางเทา  บ้านบางเทาใต้  บ้านบางเทานอก   บ้านบางเทาเหนือ  บ้านบางแร่  บ้านบางหวาน  บ้านป่าสัก  บ้านป่าหล่าย  บ้านผักฉีด  บ้านพรุจำปา  บ้านพอนบ่อแร่  บ้านพอน  บ้านใหญ่  บ้านไม้ขาว  บ้านไม้เรียบ  บ้านยามู  บ้านลิพอนเขาล้าน  บ้านลิพอนใต้  บ้านลิพอนบางกอก  บ้านลิพอนบางกอก  บ้านลิพอนหัวหาร  บ้านส้มเฟือง  บ้านสาคู  บ้านหมากปรก  บ้านแหลมทราย  บ้านแหลมไม้ไผ่  บ้านแหลมหิน  บ้านอ่าวกุ้ง  บ้านอ่าวปอ  บ้านอ่าวมะขาม

ลำดับที่ ๓ ตั้งชื่อตามกิจกรรมหรือวัฒนธรรมชุมชน
คือ บ้านคอกช้าง  บ้านท่าแครงบน  บ้านท่ามะพร้าว  บ้านท้ายนา  บ้านท่าเรือ  บ้านท่าเรือใหม่  บ้านไทยใหม่  บ้านนากก  บ้านนานอก  บ้านนาใน  บ้านนาบอน  บ้านนาบอนใต้  บ้านนาใหญ่  บ้านบนสวน  บ้านบ่อไทร  บ้านบ่อแร่  บ้านบ่อสวม  บ้านบางแป  บ้านบางโรง  บ้านบางลา  บ้านบางเหนียว  บ้านป่าครองชีพ  บ้านป่าคลอก  บ้านพรุสมภาร  บ้านยอดเสน่ห์  บ้านยา  บ้านราไวย์  บ้านลักกงษี  บ้านวัดร้าง  บ้านสวนมะพร้าว  บ้านหยิด  บ้านแหลมหลา  บ้านอ่าวน้ำบ่อ

ลำดับที่ ๔  ตั้งชื่อเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแก่เหตุการณ์และบุคคลสำคัญ
พบนามสถานดังนี้ ชุมชนถนนสุทัศน์ บัานวัดใหม่ บ้านบางโจ  บ้านบางม่าเหลา  บ้านม่าหนิก  บ้านเมืองใหม่  บ้านหาดสุรินทร์  บ้านแหลมหลง

ลำดับที่ ๕  ไม่ทราบความหมายของชื่อ 
คือ บ้านกะหลิม  บ้านเกาะโหลน  บ้านแขนน  บ้านชุมเพลาะ  บ้านในทอน  บ้านระเงง  บ้านลายัน  บ้านสี่กอ  บ้านแหลมหงา

ลำดับที่ ๖ ตั้งชื่อโดยอาศัยนิทานหรือตำนาน
คือ  บ้านกะตะ   บ้านกะรน   บ้านชิดเชี่ยว

ลำดับที่ ๗ ตั้งชื่อโดยอาศัยจินตภาพของผู้เรียก
คือ  บ้านเกาะแก้ว   บ้านแหลมพรหมเทพ

ลำดับที่ ๘  ตั้งชื่อเพื่อความเป็นสิริมงคล 
คือ  บ้านกู้กู

 

---------------------

ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์

---------------------

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อังคาร, 29 มกราคม 2008 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1522
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1243
mod_vvisit_counterทั้งหมด10646669