Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
บุคคลสำคัญในภูเก็ต ๖ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
จันทร์, 28 มกราคม 2008

หลวงพิทักษ์ทวีป

เกษม สุทธางกูร

นะหุษ รักแต่งาม

ประจวบ ไมพานิช

เจ็ว แซ่ตัน

คุณหญิงกาญจนา ณ ระนอง

ติลด ถาวรว่องวงศ์

บัณฑิต คันฉ่อง

บันลือ ตันติวิท

ครรชิต ตัมพานุวัตร

ไมตรี บุญสูง

อาทร ต้องวัฒนา

ราชัน กาญจนะวณิชย์

วิจิตร  ณ ระนอง

ครูดีเด่น

เกียรติ วงศ์กสิกิจ

สมจิตร ช่อผล

อุทัย สุขศิริสัมพันธ์

 

๖. ประวัติและผลงานของนายกเทศมนตรีเมืองภูเก็ตบางท่าน
    ๖.๑  ประวัติหลวงพิทักษ์ทวีป    
          (สว่าง  มาลกานนท์)
เกิดเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ.๒๔๒๙ เกิดที่ ต.ฉลอง อ.เมือง จ.ภูเก็ต
นามบิดา หลวงธรรมปรีดา นามมารดา กลีบ  นามภรรยา เหม
ประวัติการศึกษา
เรียนหนังสือไทยในสำนักโรงเรียนวัดมงคลนิมิตรเมืองภูเก็ตเรียนอยู่ ๗ ปี
ประวัติการทำงาน
ปี พ.ศ.๒๔๔๒-๒๔๔๓ เป็นเสมียนสามัญกองมหาดไทยมณฑลภูเก็จ
ปี พ.ศ.๒๔๔๔ -๒๔๔๖ เป็นเสมียนตรีกองมหาดไทยมณฑลภูเก็จ
ปี พ.ศ.๒๔๔๘-๒๔๕๒ จ่าเมืองภูเก็จ
ปี พ.ศ.๒๔๕๕-๒๔๕๗ เลขานุการ
ปี พ.ศ.๒๔๕๗-๒๔๗๙นายอำเภอเมืองภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๔๕๙-๒๔๕๙นายอำเภอเมืองถลาง
ปี พ.ศ.๒๔๕๙-๒๔๗๒ นายอำเภอทุ่งคา
บรรดาศักดิ์ที่ได้รับ
ปี พ.ศ.๒๔๕๗ หลวงพิทักษ์ทวีป
ปี พ.ศ.๒๔๕๗ รองอำมาตย์ตรี
ปี พ.ศ.๒๔๖๒ รองอำมาตย์โท
ปี พ.ศ.๒๔๖๓ รองอำมาตย์เอก
ปี พ.ศ.๒๔๗๒ อำมาตย์ตรี
เกียรติคุณที่ได้รับ
พ.ศ.๒๔๖๐ เข็มข้าหลวงเดิม
พ.ศ.๒๔๖๕ ตราเบญจมาภรณ์มงกุฎสยาม
พ.ศ.๒๔๖๙ ได้รับพระราชทานเหรียญบรมราชาภิเศก
พ.ศ.๒๔๗๑ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ.๒๔๗๔ จัตตุถาภรณ์ช้างเผือก

๖.๒  ประวัติและผลงาน
       นายเกษม สุทธางกูร

ประวัติส่วนตัว
ชื่อนายเกษม  สุทธางกูร 
เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม  ๒๔๘๗
สถานที่เกิด ถ.ดีบุก อ.เมือง จ.ภูเก็ต
ที่อยู่ปัจจุบัน ๒๔๖ ถ.เยาวราช ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต
บิดาชื่อ นายผุด(อดีตพระครูศิลพงษ์) มารดาชื่อนางเลี่ยนกิ้น(บิดาและมารดาเสียชีวิตแล้ว) มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๕ คนเป็นชาย ๔ คน หญิง ๑ คน
นายเกษม สุทธางกูรเป็นบุตรชายคนที่ ๔
สมรสกับนางสมจิตต์   (สุริยะพานิชย์) สุทธางกูร (ผู้อำนวยวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต)เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖
ประวัติการศึกษา
โรงเรียนประทีปวิทยา ถ.ดีบุกอ.เมือง จ.ภูเก็ต
จบชั้นประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย   สอบเทียบเตรียมอุดมศึกษา
จบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับปริญญาตรีนิติศาสตร์ บัณฑิต(เกียรตินิยม) จบเนติบัณฑิต เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒
ประวัติการทำงาน
ฝึกวิชาว่าความที่สำนักงาน นายประยูร  พูนบำเพ็ญ ตั้งสำนักงานทนายความที่จังหวัดภูเก็ตชื่อ "เอี่ยมศักดิ์เกษม" ถ.กระบี่ ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนวิทยาลัยครูภูเก็ต
เป็นอาจารย์สอนวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
เป็นอาจารย์สอนวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
เป็นกรรมการ วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
เป็นกรรมการสภาสถาบันราชภัฏภูเก็ต
ผลงานที่โดดเด่น
ได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกให้ดำรงตำแหน่งจากนายกเทศมนตรีเมืองภูเก็ต       ๒ สมัย จนถึงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๒๘ รวม ๑๐ ปี
ได้ทำโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเมืองภูเก็ต จนได้รับความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ โดยได้รับความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่ายและในที่สุดได้รับงบประมาณอุดหนุน จากส่วนกลาง    อนุมัติให้ซื่อเรือขุดดินจากประเทศญี่ปุ่นมาเพื่อขุดคลองระบายน้ำ และถมพื้นที่บริเวณสะพานหิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต ซึ่งใช้สร้างศูนย์กีฬา ให้กับชาวภูเก็ตจนถึงปัจจุบัน 
จัดทำโครงการย้ายสำนักงานเทศบาลเมืองภูเก็ตไปสร้างที่แห่งใหม่ เยื้องบริเวณศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
ในการทำงานต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นได้รับความร่วมมือจากผู้มีความรู้ในอาชีพต่าง ๆ ให้การแนะนำช่วยเหลือ ในการใช้เครื่องจักรกล มีจำนวนหลายคนด้วยกันขอกล่าวชื่อไว้ดังต่อไปนี้คือ โก้ล้ก โก้จุ้น โก้บุ่น โก้ห้อ โก้ก้าง โก้ถ่าย โก้เกี๋ยง และคนอื่น ๆ ได้ช่วยกันคิดช่วยกันทำเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาน้ำท่วมเมืองภูเก็ตซึ่งเป็นภาคภูมิใจที่มีประชาชนกลุ่มหนึ่งที่ได้เข้ามาช่วยเหลืองานในการแก้ไขปัญหาของเทศบาลต่าง ๆ จากการเสียสละในการทำงานของนายเกษม สุทธางกูร และคณะทีมงานทุกคนที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีจนเป็นที่ยอมรับ      ของเพื่อนร่วมงานและบุคคลโดยทั่วไปว่า    
นายเกษม สุทธางกูร เป็นนักพัฒนาที่มีผลงานดีเด่นคนหนึ่ง
 


๗. ครู "ปูชนียบุคคลของภูเก็ตที่ได้นามพระราชทาน
จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๖)

ประวัติและผลงานครูนะหุษ รักแต่งาม
ประวัติส่วนตัว
ชื่อนายนะหุษ รักแต่งาม(นามเดิมเซ้ง แซ่แต่)
เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๗
สถานที่เกิดตลาดหลวง อ.เมือง จ.อ่างทอง
บิดาชื่อนายบ้วน  แซ่แต่ มารดาชื่อนางฮวย  แซ่แต่ มีพี่น้องร่วมบิดามารดารวม ๔ คน
สมรสกับนางหยอง  รักแต่งาม มีบุตร-ธิดารวม ๖ คน
ประวัติการศึกษา
เริ่มเรียนหนังสือไทยกับพระที่วัดในจังหวัดอ่างทองพออ่านได้เขียนได้ และเมื่อครอบครัวย้ายเข้ากรุงเทพฯ ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนวัดสามจีน(ปัจจุบันวัดไตรมิตร) จนจบชั้นประถมศึกษา
เรียนชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนวัดตะเคียน(ปัจจุบันคือวัดมหาพฤฒาราม)
เรียนวิชาครูที่โรงเรียนบพิตรพิมุขและโรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ประวัติการทำงานราชการ
ปี พ.ศ.๒๔๕๙ เป็นครูน้อยโรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์
ปี พ.ศ.๒๔๖๐ เป็นครูน้อยโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย
ปี พ.ศ.๒๔๖๔ เป็นครูใหญ่โรงเรียนปลูกปัญญา
ปี พ.ศ.๒๔๖๖ เป็นว่าที่ศึกษาธิการจังหวัดพังงา
ปี พ.ศ.๒๔๖๗ เป็นว่าที่ศึกษาธิการจังหวัดตะกั่วป่า
ปี พ.ศ.๒๔๖๘ เป็นศึกษาธิการจังหวัดตะกั่วป่า
ปี พ.ศ.๒๔๗๐ เป็นศึกษาธิการจังหวัดภูเก็ต
เกียรติประวัติที่ได้รับ
สำหรับชื่อ "นะหุษ" ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รัชกาลที่๖)เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๖๑ ส่วนนามสกุล "รักแต่งาม" ได้รับพระราชทานจาก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ      (เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนารถ)  เมื่อวันที่  ๑๑  กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๗
การเปลี่ยนชื่อและนามสกุล
ระหว่างที่เรียนอยู่ที่โรงเรียนข้าราชการพลเรือน ได้ขอเปลี่ยนนามสกุล และได้รับการขนานนามสกุลใหม่จากสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ(เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนารถ) เป็น "รักแต่งาม" เมื่อวันที่  ๑๑  กุมภาพันธ์   ๒๔๕๗    สำหรับชื่อ "นะหุษ" ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว   เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๖๑ ความเป็นมาที่ได้รับพระราชทานชื่อ "นะหุษ" คือนักเรียนโรงเรียนข้าราชการพลเรือนที่เรียนอยู่ที่วังสระปทุมขณะนั้นจะต้องเป็นเสือป่าทุกคน และเสือป่าจะมีการพักแรมและซ้อมรบเป็นประจำทุกปีที่ค่ายเสือป่า กองม้าหลวง พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ในการพักแรมของเสือป่าปี หนึ่งมีการแข่งขันฟุตบอลหน้าพระที่นั่งระหว่างคณะเสือป่ากับคณะชาวต่างประเทศที่ทำงานอยู่ในเมืองไทย ระหว่างการแข่งขัน, ราชเลขานุการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้นำรายชื่อนักฟุตบอลของคณะเสือป่าถวายทอดพระเนตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเปลี่ยนชื่อนักฟุตบอล ๓ คน จากชื่อเดิมเป็นชื่อใหม่ คือ ผู้เล่นตำแหน่งเซ็นเตอร์ฮาล์ฟ ชื่อ เซ้ง เป็น นะหุษ ผู้เล่นตำแหน่งปีกซ้าย ชื่อ เส็ง เป็น วิเศษ ผู้เล่นตำแหน่งฟูลแบ็ค ชื่อ เก๊า เป็น กระบิล    นับแต่นั้นจึงได้ใช้ชื่อ "นะหุษ" ตลอดมา
มรณะเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๕ 

๘. พ่อพ่อตัวอย่าง

     ประวัติและผลงานนายประจวบ  ไมพานิช 

ชื่อ นายประจวบ  ไมพานิช อายุ ๖๗ ปี อาชีพข้าราชการบำนาญ
ที่อยู่บ้านเลขที่ ๖๓/๑ ถนนป่าคลอก-เมืองใหม่ ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จังหวัดภูเก็ต รหัสไปรษณีย์ ๘๓๑๑๐ โทร.(๐๗๖) ๒๗๒๕๕๙
ภรรยา นางจินดา  นามสกุลไมพานิช  อายุ ๖๗ ปี อาชีพแม่บ้าน บุตร-ธิดา รวม ๔ คน คือ
๑. นายพิชัย  ไมพานิช  อายุ ๓๘ ปี     การศึกษาประกาศนียบัตรพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ สถานที่ทำงาน บริษัท ป.เคมีอุปกรณ์ จำกัด กทม. โทร.(๐๒) ๒๒๔๗๒๘๖ 
๒. นายวิกรม  ไมพานิช อายุ ๓๖ ปี การศึกษา ปวส. ไฟฟ้ากำลัง สถานที่ทำงาน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดภูเก็ต โทร.(๐๗๖) ๒๑๐๔๒๗
๓.นางสาวนวลพรรณ  ไมพานิช อายุ ๓๔ ปี การศึกษาประกาศนียบัตรวิชาพยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์ชั้นสูง(เทียบเท่าปริญญาตรี) สถานที่ทำงาน โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต โทร.(๐๗๖) ๒๑๑๑๑๔
๔. นายจตุพุฒิ ไมพานิช อายุ ๓๓ ปี การศึกษารัฐศษสตร์สาขาบริหารรัฐกิจ สถานที่ทำงาน บริษัท เอวิส สาขาภูเก็ต
เกียรติคุณที่ได้รับ
ได้รับพระราชทานเกียรติบัตรพ่อตัวอย่างประจำปี ๒๕๓๗ จากผู้แทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ประวัติพ่อตัวอย่าง
ชื่อ นายเอ่งต้อง  นามสกุล  สุวรรณรัฐภูมิ อายุ ๖๗ ปี ภรรยาชื่อ นางนุ้ย นามสกุล  สุวรรณรัฐภูมิ  อายุ  ๖๗ ปี ที่อยู่บ้านเลขที่ ๑๒๔ ถนนกระ ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จังหวัดภูเก็ต รหัสไปรษณีย์ ๘๓๐๐๐ โทร.(๐๗๖) ๒๕๖๐๗๘ บุตร-ธิดารวม ๔ คน ดังนี้คือ
๑. ชื่อ นายวินัย  สุวรรณรัฐภูมิ  อายุ  ๒๘ ปี การศึกษา สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ สถานที่ทำงานบริษัททักษิณคอนกรีฑ จำกัด โทร.(๐๒) ๕๒๓๗๑๓๑
๒. ชื่อ นายวินิจ สุวรรณรัฐภูมิ  อายุ ๒๗ ปี การศึกษา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถานที่ทำงานโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ม.อ. โทร.(๐๗๔) ๒๑๒๐๗๐ ต่อ ๓๕๓๒
๓. ชื่อ นายวิรุณ สุวรรณรัฐภูมิ  อายุ ๒๕ ปี การศึกษา คณะวิศวะกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถานที่ทำงานบริษัทไทยเทเลโฟนเทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด   โทร.(๐๒) ๕๓๒๗๑๓๑ 
๔. ชื่อนายพูนเพิ่ม สุวรรณรัฐภูมิ  อายุ ๒๑ ปี การศึกษา กำลังศึกษาอยู่ที่เทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง
เกียรติคุณที่ได้รับ
ได้รับพระราชทานเกียรติบัตรพ่อตัวอย่างประจำปี ๒๕๓๗ จากผู้แทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

๙. แม่ตัวอย่าง
ประวัติแม่ตัวอย่าง

ชื่อ นางเจ็ว นามสกุล แซ่ตัน(ตันสัตยาเลิศ)
สัญชาติ ไทย ศาสนาพุทธ อายุ ๘๕ ปี
ที่อยู่บ้านเลขที่ ๒๗๙ ถนนภูเก็ต  ตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต รหัสไปรษณีย์ ๘๓๐๐๐
ประวัติการศึกษา
จบชั้นประถมปีที่  ๔  โรงเรียนประถมศึกษาสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ อาชีพ แม่บ้าน
ชื่อสามีนายหง่องก้าวนามสกุล ตันสัตยาเลิศ อายุ ๘๙ ปี  การศึกษา มัธยมศึกษาอาชีพ  ข้าราชการเกษียณ จำนวนบุตร ๑๑ คน ชาย ๖ คน หญิง ๕ คน
เกียรติประวัติที่ได้รับ
จังหวัดภูเก็ตได้เสนอชื่อให้เป็นแม่ดีเด่นในระดับจังหวัด ขณะอายุ ได้ ๗๘ ปี ประเภทแม่ผู้เสียสละและมีความขยันหมั่นเพียร ประจำปี ๒๕๓๕ คนแรกของจังหวัดภูเก็ต
 
๑๐. บุคคลผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์“ชั้นคุณหญิง” คนแรกของจังหวัดภูเก็ต

ชื่อ คุณหญิงกาญจนา  นามสกุล ณ ระนอง ศาสนา พุทธ เกิดวันที่ ๑๖ เดือน ตุลาคม พ.ศ.๒๔๖๕ ณ  บ้านเลขที่   ๕๖  ถนนถลาง  อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เป็นบุตรีคนเดียวของขุนเลิศโภคารักษ์(เคหลิม ตันบุญ) และนางโห้ย ตันบุญ
ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ ๕๖ ถนนถลาง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ๘๓๐๐๐ โทรศัพท์ ภูเก็ต ๐๗๖ - ๒๑๒๐๗๑
ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ บ้านเลขที่ ๕๖ ถนนถลาง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต รหัสไปรษณีย์ ๘๓๐๐๐
โทรศัพท์ ๐๗๖–๒๑๒๐๗๑
คุณหญิงกาญจนา ณ ระนอง ศึกษาในระบบโรงเรียนจนจบประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนภูเก็ตไทยหัว เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๑ หลังจากนั้นได้ศึกษาด้วยตนเองตลอดมา และเมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ เข้ารับพระราชปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต(ศศ.บ.การพัฒนาชุมชน)ของสภาการฝึกหัดครู
ประวัติการทำงาน
พ.ศ.๒๕๒๘ สนามบินนานาชาติภูเก็ต ผู้จัดการร้านจิตรลดาร้านที่ ๘ สาขาจำหน่วยสินค้าศิลปาชีพในสมเด็จฯ พระบรมราชินีนาถ
พ.ศ.๒๕๒๗ โรงแรมเพิร์ล ผู้จัดการร้านจิตรลดาร้านที่   ๘   จำหน่ายสินค้าศิลปาชีพในสมเด็จฯ พระบรมราชินีนาถ
พ.ศ.๒๕๒๕ บ้านเลขที่ ๕๖ ถนนถลาง ประธานบริษัทเพิร์ลวิลเลจ จำกัด
ธุรกิจทางการท่องเที่ยว
พ.ศ.๒๕๒๖ บ้านเลขที่ ๕๖ ถนนถลาง ประธานบริษัท โตโยต้าเพิร์ล จำกัด
พ.ศ.๒๕๒๕ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดภูเก็ต คณะกรรมการผู้ทรงคุณธรรมในคณะกรรมการยุวกาชาดจังหวัดภูเก็ต
พ.ศ.๒๕๒๕– ๒๕๒๗ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต อนุกรรมการวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต
พ.ศ.๒๕๑๖  บ้านเลขที่ ๕๖ ถนนถลาง บริหารงานธุรกิจจำหน่ายรถยนต์
พ.ศ.๒๕๑๕ บ้านเลขที่ ๕๖ ถนนถลาง ประธานบริษัท เพิร์ล จำกัด บริหารงานธุรกิจทางการโรงแรมภัตตาคาร คอฟฟี่ช็อป โบว์ลิง ศูนย์การค้าเลิศโภคารักษ์ โรงภาพยนตร์เพิร์ล
พ.ศ.๒๕๑๔ บ้านเลขที่ ๕๖ ประธานบริษัท โฮ่ยเซี้ยง จำกัด บริหารธุรกิจเหมืองแร่และยางพารา
พ.ศ.๒๕๑๐ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต กรรมการสมาคมสตรีภูเก็ต
พ.ศ.๒๕๐๖ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กรรมการที่ปรึกษาของ พอสว. จังหวัดภูเก็ต
พ.ศ.๒๕๐๖ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต กรรมการบริหารเหล่ากาชาดจังหวัดภูเก็ตประวัติครอบครัว
คุณหญิงกาญจนา ณ ระนอง สมรสกับ นายอุ่น ณ ระนอง บุตรของพระศรีโลหภูมิ พิทักษ์(คออยู่บิ๋ว ณ ระนอง) มีบุตรธิดารวม ๔ คน เป็นชาย ๒ คน และหญิง ๒ คน คุณหญิงกาญจนา ณ ระนอง เป็นผู้ที่เห็นความสำคัญของการศึกษาจึงได้สนับสนุนและส่งเสริมให้บุตรธิดาทุกคนเข้ารับการศึกษาตามความสามารถจนจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีในประเทศและปริญญาโทจากต่างประเทศ                             คุณหญิงกาญจนา ณ ระนอง ทำหน้าที่เป็นแม่บ้านของนายอุ่น ณ ระนอง ผู้สามี เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๔ เลี้ยงดูบุตรทั้ง ๔ คนด้วยตนเอง จากการให้สัมภาษณ์ปรากฏตีพิมพ์ใน สกุลไทย รายสัปดาห์ ปีที่ ๓๔ ฉบับที่ ๑๗๖๖ วันอังคารที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๓๑ ความว่า ดิฉันเลี้ยงลูกไม่ค่อยตี ตอนเล็ก ๆ เวลาเขาดื้อ จะไม่ตีทันที รอให้เขาหายดื้อ แล้วเรียกมาสอนว่า ผิด ให้เหตุผลกับเขาว่าทำไมถึงผิด พอโตขึ้นก็สอนเขาเสมอว่า มีอะไรให้พูดกันอย่างเปิดอก ไม่ต้องกลัวว่าแม่จะตำหนิ เมื่อมีอะไรก็มาช่วยกันแก้ปัญหา แล้วความสัมพันธ์ของพ่อแม่ลูกก็จะไม่มีช่องว่าง
 ๑. ดร.วิจิตร ณ ระนอง(อดีตวุฒิสมาชิก) อายุ ๕๒ ปี จบปริญญาตรี  เศรษฐศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบปริญญาโทด้านรัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเซ้าเทิร์น แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ทางด้านบริหารธุรกิจ(การโรงแรมและการท่องเที่ยว) จากมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์  สมรสกับนางทัศนีย์ สวนรัตน์
 ๒. นางวิมลวรรณ บรรเลิงจิตร อายุ ๕๐ ปี จบปริญญาตรีด้านรัฐศาสตร์ การคลังจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบวิชาเลขานุการจากมหาวิทยาลัยบอสตัน สหรัฐอเมริกา สมรสกับนายไพรัตน์ บรรเลิงจิต อาชีพค้าขาย
 ๓.นางวิภาพรรณ์ คูสุวรรณ อายุ ๔๖ ปี จบปริญญาตรีด้านพาณิชยศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจบปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยเท็กซ์สวูแมนสหรัฐอเมริกา สมรสกับผู้ช่วยศาสตราจารย์สมศักดิ์ คูสุวรรณ อาชีพค้าขาย
 ๔. นายวิบูลชัย ณ ระนอง อายุ ๔๔ ปี จบปริญญาตรีด้านศิลปศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจบหลักสูตร การบริหารโรงแรมจากสถาบันCenter International De Glien, Switzerland  สมรสกับนางอ๊อตวา วัชรโรทยาน   อาชีพค้าขายคุณหญิงกาญจนา ณ ระนอง เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง แก่บุคคลทั่วไป และผลแห่งการกระทำความดีนั้นทำให้คุณหญิงกาญจนา ณ ระนอง ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นต่างๆ ตามลำดับต่อไปนี้  คือ พ.ศ.๒๕๑๗ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จตุรถาภรณ์ ช้างเผือกชั้นที่ ๔ พ.ศ.๒๕๒๗ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตริตาภรณ์ มงกุฎไทยชั้นที่ ๓ พ.ศ.๒๕๒๗ ได้รับพระราชทานเหรียญกาชาด ชั้นที่ ๑ พ.ศ.๒๕๓๓ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จตุตถจุลจอมเกล้า พ.ศ.๒๕๓๓ ได้รับโล่เกียรติคุณประจำปี ๒๕๓๓ จากสำนักงานคณะ                              กรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ เพื่อยกย่องให้เป็นบุคคลดีเด่นในฐานะที่ให้การสนับสนุนการศึกษาอย่างดียิ่ง

๑๑. บุคคลผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “ชั้นสายสะพาย” คนแรกของจังหวัดภูเก็ต และภาคใต้

ประวัติและผลงาน
นายติลก ถาวรว่องวงศ์

ประวัติส่วนตัว 
นายติลก  ถาวรว่องวงศ์ อายุ  ๗๑ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๐
ภรรยาชื่อ นางเพ็ญศรี ถาวรว่องวงศ์
บุตร–ธิดา รวม  ๘ คน ชาย ๒ คน หญิง  ๖ คนจบการศึกษาระดับปริญญาจากต่างประเทศทุกคน 
ประวัติการทำงาน
ปี พ.ศ.๒๔๙๑ ได้เริ่มพัฒนาเหมืองแร่ ขนาด ๑๒ นิ้ว ไปทั่วไปจังหวัดภาคใต้
ปี พ.ศ.๒๕๐๔ ได้พัฒนาจังหวัดภูเก็ตให้เป็นเมืองท่องเที่ยวนานาชาติ โดยริเริ่ม  ตั้งโรงแรมชั้นหนึ่ง ขนาด ๒๐๐ ห้อง คือโรงแรมถาวรที่ถนนรัษฎาขึ้นเป็นแห่งแรก โดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนเป็นแห่งแรกของภาคใต้(B.O.I.) จาก BOARD OF INVESTMENT กรุงเทพมหานครฯ
ปี พ.ศ.๒๕๐๙ พัฒนาเนื้อที่กว่า ๔๐๐ ไร่ ชื่อ TILOK TIME SQUARE เป็นเมืองใหม่ของภูเก็ต ให้เป็นแหล่งช้อปปิ้งของนักท่องเที่ยวจนถึงขณะนี้ เป็นการชักนำศูนย์การค้ามาตราฐาน
ปี พ.ศ.๒๕๒๘ - ๒๕๒๙ เริ่มพัฒนาโรงแรม RESORT ขนาด ๕ ดาวขึ้น ๒ แห่งพร้อมกันด้วยเนื้อที่กว่า ๒๕๐ ไร่ คือ โรงแรมถาวรปาล์มบีช และโรงแรมถาวรเบย์รีสอร์ท   
ปี พ.ศ.๒๕๓๙ - ๒๕๔๑ พัฒนารีสอร์ทชื่อ โรงแรมถาวรบีชวิลเลจขึ้น จุดประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมไทยแบบเจาะลึก และเพื่อนำมาตราฐานของ THAVORN HOTEL & RESORT GROUP เข้าสู่มาตราฐานของโรงแรม CHAIN สากล เพื่อเป็นความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของชาวไทย
งานด้านสังคม
ในปี พ.ศ.๒๕๐๙ แจกจ่ายที่ดินในจังหวัดตรังหลายพันไร่หลังจากทำเหมืองแร่ให้กับผู้ยากไร้ในจังหวัดตรัง 
บริจาคที่ดินสร้างวัดถาวรคุณาราม
บริจาคที่ดินเพื่อพัฒนาการขนส่งท่องเที่ยว
บริจาคถนนกว้าง  ๑๘  เมตร  ในตัวเมืองภูเก็ตกว่า ๕๐ ไร่  บริจาคที่ดินสร้างตลาดสดเทศบาล ๒ เมื่อตัวเมืองภูเก็ตเกิดอุทกภัย น้ำท่วม ได้บริจาคคลองส่งน้ำออกสู่ทะเลยาว ๒ กิโลเมตร กว่า ๒๐ ไร่ปี พ.ศ.๒๕๓๗ ได้รับพระราชทานแหวนกาชาดชั้นหนึ่งจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามมกุฎราชกุมารี
เคยดำรงตำแหน่งประธานวัดฉลอง ๘ ปีซ้อน และประธานวัดพระทอง
ใน พ.ศ.๒๕๔๐ ได้รับตำแหน่งที่ปรึกษากองทัพภาคที่ ๔ ด้วยการช่วยเหลือและบริจาคทรัพย์ต่อทางราชการ  เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๖   ได้รับพระราชทานสายสะพายชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย    คนแรกของภาคใต้ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช


๑๒. บัณฑิตกิตติมศักดิ์จากสถาบันราชภัฏภูเก็ต

ปี พ.ศ.๒๕๓๔
๑. คุณหญิงกาญจนา ณ ระนอง (ประวัติได้กล่าวไว้ในตอนอื่นแล้ว)
   โปรแกรมวิชาพัฒนาชุมชน

ปี พ.ศ.๒๕๓๗

๑. นายบัณฑิต  คันฉ่อง 
    โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

ประวัติส่วนตัว
ชื่อนายบัณฑิต  คันฉ่อง เกิดเมื่อวันที่ ๑ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๒ ณ บ้านเลขที่ ๑๒๘ หมู่ที่  ๑ ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เป็นบุตรคนที่หนึ่งในจำนวนพี่น้อง ๕ คน บิดาชื่อนายเคี่ยม คันฉ่องมารดาชื่อนางอัมภา  คันฉ่อง สมรสกับนางสุนันทา คันฉ่อง มีบุตรชายหญิง ๒ คน คือ นายชาญกิจ  คันฉ่อง และนางสาวศินี  คันฉ่อง
ประวัติการศึกษา
พ.ศ.๒๔๙๖ สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ โรงเรียนวัดพระนางสร้าง พ.ศ.๒๕๐๐สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๐๓ประกาศนียบัตรวิชาชีพ พณิชยการพระนคร
พ.ศ.๒๕๑๗ ฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านรุ่น ๗๐๖ พ.ศ.๒๕๑๘ วุฒิบัตรการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือ ชั้นวูดแบดจ์ พ.ศ.๒๕๒๒ ฝึกอบรมบรรเทาสาธารณะภัยดับเพลิง พ.ศ.๒๕๒๔ วุฒิบัตรการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ
ประวัติการทำงาน
นายบัณฑิตคัน ฉ่อง ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร โดยการทำสวนยางพารา   ทำสวนกล้วยเล็บมือนาง และเลี้ยงสัตว์ เช่น วัวพันธุ์ผสมและแพะระหว่างนั้นได้รับการคัดเลือกเป็นกำนันตำบลเทพกระษัตรีจนถึงปัจจุบัน และได้รับเกียรติเป็นกรรมการ กรรมการที่ปรึกษา และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแก่หน่วยงานและสถาบันต่าง ๆ ดังนี้
พ.ศ.๒๕๑๐ กรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิ
พ.ศ.๒๕๑๕ กำนันตำบลเทพกระษัตรี
พ.ศ.๒๕๑๖กรรมการสุขาภิบาลเทพกระษัตรี
พ.ศ.๒๕๒๓ กรรมการชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน จังหวัดภูเก็ต
พ.ศ.๒๕๒๗ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของการประถมศึกษาจังหวัดภูเก็ต
พ.ศ.๒๕๓๒ กรรมการที่ปรึกษาประจำวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
พ.ศ.๒๕๓๔ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของวิทยาลัยครูภูเก็ตด้านศาสนาและวัฒนธรรม   นายบัณฑิต  คันฉ่อง เป็นบุคคลที่ส่งเสริมและสนับสนุนศาสนาและวัฒนธรรมโดยได้ร่วมมือกับผู้ใหญ่บ้าน กรรมการสภาตำบลและราษฎรจัดหาเงินและปัจจัยในการสร้างถาวรวัตถุทางศาสนา สร้างอุโบสถและพิพิธภัณฑ์ในวัดเพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ศาสนา ทางด้านวัฒนธรรมได้ฟื้นฟูประเพณี เช่น วันสงกรานต์เพื่อให้ราษฎรได้ร่วมทำบุญตักบาตร จัดวันลอยกระทง เพื่อให้ราษฎรเข้าใจประเพณีที่ถูกต้อง
ทางด้านการศึกษา นายบัณฑิต  คันฉ่อง ให้การสนับสนุนการศึกษามาตลอด โดยประสานงานกับบริษัทห้างร้านในท้องถิ่นขอรับบริจาคอุปกรณ์การเรียนหรือเงินเพื่อใช้เป็นทุนการศึกษาของนักเรียนที่ขาดแคลนทุนการศึกษาของนักเรียนที่ขาดแคลนทุนการศึกษา และยังได้มอบทุนการศึกษาแก่โรงเรียนในอำเภอถลางทุกโรงเรียนโดยใช้เงินที่ได้จากประชุม รวมทั้งเงินประจำตำแหน่งทั้งหมดได้มอบให้เป็นทุนการศึกษาแก่เด็กยากจนมาตลอด นอกจากนั้นยังให้ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาโดยเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของการประถมศึกษาจังหวัดภูเก็ต กรรมการที่ปรึกษาประจำวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของวิทยาลัยครูภูเก็ต ประกอบกับนายบัณฑิต คันฉ่อง เป็นทั้งนักคิดและนักเขียนที่มีความสามารถ จึงได้เขียนบทความจากประสบการณ์ วิเคราะห์สถานะการณ์เสนอแนะแนวความคิดทางการเกษตรเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรและการพัฒนาท้องถิ่นลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเป็นประจำ เช่น หนังสือพิมพ์ข่าวเศรษฐกิจธุรกิจ       ทั้งยังเป็นผู้จัดทำวารสาร "ข่าวสารกำนันผู้ใหญ่บ้าน" รายเดือน เพื่อให้ความรู้และข่าวสารในด้านต่าง ๆ วารสารนี้แจกจ่ายเผยแพร่ทุกเดือน โดยใช้เงินงบประมาณของนายบัณฑิต  คันฉ่อง เองทั้งสิ้น
เกียรติคุณที่ได้รับ
ได้รับรางวัลกำนันยอดเยี่ยม ๕ สมัย และรางวัลสิงห์ทอง จากกระทรวงมหาดไทย ดังนี้
พ.ศ.๒๕๑๗  กำนันยอดเยี่ยมของกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ.๒๕๒๓ กำนันยอดเยี่ยมของกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ.๒๕๒๔ กำนันยอดเยี่ยมของกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ.๒๕๒๙ กำนันยอดเยี่ยมของกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ.๒๕๓๓ กำนันยอดเยี่ยมของกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ.๒๕๓๔ รางวัลสิงห์ทองจากกระทรวงมหาดไทย
ด้านการเกษตร
พ.ศ.๒๕๓๓ รางวัลนักพัฒนาเกษตรกรรมดีเด่น จากสมาคมผู้สื่อขาวหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย
พ.ศ.๒๕๓๓ เกษตรกรเลี้ยงสัตว์ดีเด่นประจำจังหวัดภูเก็ตได้รับรางวัลพระราชทานจาก
              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในงานพระราชพิธีพืชมงคล
จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
พ.ศ.๒๕๓๔ รางวัลผู้นำอาชีพก้าวหน้า จากกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ.๒๕๓๗ ได้รับพระราชทานปริญญากิตติมศักดิ์
สาขาเกษตรศาสตร์ โปรแกรมเทคโนโลยีการเกษตร

๒. นายสกุล  ณ  นคร 
    โปรแกรมวิชาวัฒนธรรมศึกษา    (ประวัติได้กล่าวไว้ในตอนอื่นแล้ว)

ปี พ.ศ.๒๕๓๘ 
๑. นายประสิทธิ  ชิณการณ์  
    โปรแกรมวิชาวัฒนธรรมศึกษา   (ประวัติได้กล่าวไว้ในตอนอื่นแล้ว)
๓. พระคีรีรัฐธรรมคณี (เจ้าคณะจังหวัดภูเก็ต)
   โปรแกรมวิชาพัฒนาชุมชน

ประวัติครอบครัว
มีนามเดิมว่า เหลือบ นามสกุล สันติพิทักษ์
เกิดเมื่อวันที่ ๒ ฯ ๓ ค่ำ ปี ระกา วันที่ ๗ มีนาคม ๒๔๕๒ ณ บ้านเลขที่ ๓๒ ตำบลนาเหนือ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๕ คน และต่างมารดาอีก ๒ คน     บรรพชา        ได้ตัดสินใจเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัตรด้วยความยินดีของบิดา มารดาวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๐ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ ได้บรรพชา ณ วัดนาเหนือ อำเภออ่าวลึก พระอุปัชฌาย์ คือ พระครูพินิตยติการ วัดเขาต่อ ตำบลเขาต่อ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
อุปสมบท วันเสาร์ที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๗๒  ขึ้น  ๑๓  ค่ำ  ปีมะเส็ง  ได้อุปสมบท ณ วัดศรัทธาราม ตำบลมะรุ่ย อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา พระอุปัชฌาย์ คือ พระครูกัลยาวัฒนวิจารย์ วัดโคกสวยวิหาร ตำบลโคกเจริญ อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา

ประวัติการศึกษา
วัยเด็กได้รับการศึกษาตามลำดับจนสำเร็จประถมศึกษาบริบูรณ์ในสมัยนั้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๗ ที่โรงเรียนประชาบาล ตำบลนาเหนือ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
หลังจากอุปสมบทแล้วได้ศึกษาและสอบได้นักธรรมชั้นตรี จนถึงขั้นนักธรรมชั้นเอกเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗ ณ สำนักเรียนวัดมงคลนิมิตร จังหวัดภูเก็ตการศึกษาด้วยตนเอง ได้ค้นคว้าศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์วรรณคดีท้องถิ่น ภาษาไทยด้วยตนเองจนมีความรอบรู้เป็นพิเศษ และได้ใช้สอนนักเรียนในโรงเรียนมาตลอด จนถึงปัจจุบัน
ประวัติการทำงาน
พ.ศ.๒๕๐๐-๒๕๒๖ เป็นครูสอนวิชาสังคมศึกษา, วรรณคดีไทย วิชาหน้าที่พลเมืองศีลธรรม อบรมจริยธรรม เป็นครูปกครองประจำโรงเรียนพุทธมงคลนิมิตร ซึ่งเป็นโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา
พ.ศ.๒๔๘๖ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมงคลนิมิตร ซี่งเป็นพระอารามหลวง พ.ศ.๒๕๑๗ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดมงคลนิมิตร
พ.ศ.๒๕๒๔ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดมงคลนิมิตร พ.ศ.๒๕๒๖ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองภูเก็ต พ.ศ.๒๕๒๙ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัฌาย์ พ.ศ.๒๕๓๔ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดภูเก็ต พ.ศ.๒๕๓๕ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดมงคลนิมิตรงานส่งเสริมการศึกษา
งานด้านการศึกษา มีการอบรมกุลบุตรกุลธิดาให้เกิดความเชื่อ ความเลื่อมใสศรัทธาในหลักศีลธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรม ให้มีความรักการเรียน ขยันหมั่นเพียรเอาใจใส่ต่อการเรียนและใช้ความใคร่ครวญในหลักวิชานั้น ๆ จนเป็นผลสำเร็จในที่สุด และได้จัดตั้งรางวัลเป็นกำลังใจแก่นักเรียนที่เรียนดี สอบไล่ได้คะแนนยอดเยี่ยม พ.ศ.๒๕๒๓ จัดตั้งห้องสมุดให้โรงเรียนพุทธมงคลนิมิตร พ.ศ.๒๕๒๓-๒๕๒๖ ได้มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน ที่เข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยครูภูเก็ต จำนวน ๒ ทุน เป็น เงิน ๖,๐๘๐.- บาท พ.ศ.๒๕๓๗ จัดตั้งมูลนิธิการศึกษา "กิตติคุณสันติพิทักษ์" เพื่อส่งเสริมการศึกษาของนักเรียนโดยมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ถึงระดับอุดมศึกษา
งานด้านสังคมสงเคราะห์ 
ตั้งมูลนิธิ-มอบทุนการศึกษา ซึ่งตลอดชีวิตของพระเดชพระคุณพระคีรีรัฐธรรมคณี ท่านได้เสียสละเพื่อการสงเคราะห์ช่วยเหลือสังคม พัฒนาเยาวชนมาตลอด พ.ศ.๒๕๒๗ ได้จัดตั้งมูลนิธิการศึกษากิตติคุณสันติพิทักษ์ เพื่อเป็นกองทุนถาวรนำดอกผลมามอบให้เป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในจังหวัดภูเก็ต ประจำปีโดยมอบทุนในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปี ในขณะนี้มียอดเงิน ๒๐๐,๐๐๐.- บาท และยังได้มอบทุนพิเศษให้แก่นักเรียน ครู ระดับอาชีวจำนวน ๕ คนจบหลักสูตรชั้นสูงสุด
งานอบรมจริยธรรม
เป็นวิทยากรอบรมครู นักเรียน โดยเน้นให้เกิดความเชื่อ        ความเลื่อมใสในหลัก จริยธรรม วัฒนธรรม ให้มีความรัก ความขยัน อดออม เอาใจใส่ ใช้ความใคร่ครวญในหลักวิชาการนั้น  ๆ โดยใช้หลักธรรมของพระพุทธศาสนา เน้นเรื่องการประพฤตินำไปปฏิบัติ การสอนศาสนพิธีแก่นักเรียน ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติจริง นำไปใช้ได้ถูกต้อง

งานเผยแพร่ศาสนา
ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสงฆ์อำเภอเมืองภูเก็ต มีหน้าที่เป็นองค์การเผยแผ่ระดับอำเภอ         โดยจัดพิธีวิสาขบูชา มาฆบูชา อาสาฬหบูชาร่วมกับพระภิกษุสามเณรเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้มีการอบรมพระภิกษุ สามเณรและพระนวภิกษุเป็นประจำ หลักจากทำวัตร สวดมนต์ จบแล้ว และแสดงธรรมเทศนาแก่ผู้มารักษาศีลฟังธรรมตลอดปีกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเผยแพร่ ได้แก่ มีการอบรมให้เกิดความเชื่อ ความเลื่อมใสศรัทธาในหลักศีลธรรม       จริยธรรม วัฒนธรรม    และศาสนพิธี    ส่วนในการบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ เช่น  ขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญวันเกิด พิธีบวชนาค สงกรานต์ เข้าพรรษา ออกพรรษา มาฆบูชา   วิสาขบูชา อาสาฬหบูชา เป็นต้น ก็จะเทศนาอบรมสั่งสอนเป็นประจำโดยร่วมมือกับคณะสงฆ์และทางราชการทั้งที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยตนเองและส่งพระธรรมทูตไปเผยแผ่ตามวัด และสถานที่อื่น ๆ

ผลงานดีเด่นสมควรได้รับการยกย่อง
ด้านเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมมีความซื่อสัตย์ พระคีรีรัฐธรรมคณี ได้บรรพชาเป็นพระภิกษุสงฆ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๒ นับถึงปัจจุบันได้ ๖๓ พรรษา ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่ปฏิบัติตามธรรม วินัยโดยเคร่งครัด เป็นที่ประจักษ์ ชัดทั้งฝ่ายศาสนจักรและฝ่ายอาณาจักร ปัจจุบันพระคีรีรัฐธรรมคณี ดำรงตำแหน่งผู้บริหารในศาสนจักรเป็นเจ้าอาวาสวัดมงคลนิมิตรและเป็นเจ้าคณะจังหวัดภูเก็ตคุณธรรมและความซื่อสัตย์อันเป็นข้อวัตรปฏิบัติตามพระวินัย จึงเป็นวัตรปกติที่ท่านประพฤติอยู่อย่างหมดจดตามแบบฉบับของผู้ถือ "เพศพรหมจรรย์" คือพระสงฆ์ในพระบวรพุทธศาสนาด้านการกุศลและการบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม
งานสาธารณูปการในวัดมงคลนิมิตร
พระคีรีรัฐธรรมคณี ได้เป็นผู้มีส่วนร่วม สร้างสรรค์วัดมงคลนิมิต มาตั้งแต่ปี ๒๔๗๘ และได้พัฒนาวัดนี้ตลอดมาทั้งในการสร้างอุโบสถ ศาลาอเนกประสงค์ หอระฆัง เสนาสนะ สำหรับพระสงฆ์ ห้องน้ำ ห้องสุขา สำหรับบริการญาติโยม ทำป้ายประชาสัมพันธ์ ป้ายชื่อวัด คูน้ำ ทางออกจากวัดและทางขึ้นโบสถ์ รวมทั้งปฏิสังขรณ์และซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เหล่านี้ ให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรงอยู่เสมอ จนทำให้วัดได้รับการยกย่องเป็นวัดหลักที่สำคัญ ๑ ใน ๓ วัดของจังหวัดภูเก็ต
มีการบำเพ็ญประโยชน์หรืองานพัฒนาทั่วไปนอกเหนือจากงานของวัดนั้น พระคีรีรัฐธรรมคณีได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดมา เต็มกำลังสติปัญญาและความสามารถ เช่น การช่วยเหลือและสงเคราะห์ผู้ประสบภัยจากธรรมชาติ โดยการขอความร่วมมือจากเจ้าคณะภาค คณะสงฆ์ และประชาชนชาวจังหวัดภูเก็ต นำข้าวสาร อาหารแห้งไปแจก และช่วยเหลือซ่อมแซมวัดและสำนักสงฆ์ที่เสียหายหลายแห่ง นอกจากนี้ท่านยังนำอุบาสกอุบาสิการ่วมทอดผ้าป่า ช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรมจากภัยพิบัติอย่างสม่ำเสมอ
ความดีความชอบที่ได้รับตำแหน่งและสมณศักดิ์
พ.ศ.๒๔๘๓  ได้รับแต่งตั้งเป็นพระวินัยธร ฐานานุกรมในตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดภูเก็ต
พ.ศ.๒๔๘๙ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูสังฆรักษ์ ฐานานุกรมในตำแหน่งพระราชคณะชั้นราชเจ้าคณะจังหวัดภูเก็ต
พ.ศ.๒๔๙๕ ได้รับการแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตร-พัดยศที่ พระครูพิพัฒนานสมาจารย์
พ.ศ.๒๕๐๑  ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูพิเศษ ในนามเดิม พัดยศ จ.ป.ร.
พ.ศ.๒๕๑๖ ได้รับการแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์ วิสามัญ
พ.ศ.๒๕๑๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนเป็นพระครูชั้นเอกในนามเดิม
พ.ศ.๒๕๓๒ ได้รับเลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ "พระคีรีรัฐธรรมคณี" เจ้าคณะจังหวัดภูเก็ต

ตำแหน่งงานบริหารและงานปกครอง
พ.ศ.๒๔๘๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมงคลนิมิตร พระอารามหลวงจังหวัดภูเก็ต
พ.ศ.๒๕๑๗ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดมงคลนิมิตรพระอารามหลวงจังหวัดภูเก็ต
พ.ศ.๒๕๒๔ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดมงคลนิมิตรพระอารามหลวง
พ.ศ.๒๕๒๖ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองภูเก็ต
พ.ศ.๒๕๒๙ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.๒๕๓๔ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดภูเก็ต
พ.ศ.๒๕๓๖ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดมงคลนิมิตร พระอารามหลวงจังหวัดภูเก็ต ซึ่งปัจจุบันมีพระภิกษุ ๑๗ รูป สามเณร-รูป ศิษย์วัด ๘ คน อารามิกชน ๒ คน ท่านได้จัดระเบียบการปกครองวัด โดยพระภิกษุสามเณรที่เข้ามาอยู่ใหม่ ต้องมีผู้ปกครองรับรองเป็นกิจลักษณะ ต้องย้ายหนังสือสุทธิมาให้ถูกต้องตามระเบียบ ส่วนพระภิกษุที่เรียนจบนักธรรมชั้นเอกแล้ว ต้องท่องจำพระปาฏิโมกข์ด้วยมีการทำอุโบสถกรรม(สวดปาฏิโมกข์) ตลอด มีพระภิกษุสวดพระปาฏิโมกข์ได้ ๒ รูป มีการทำวัตรสวดมนต์เช้า-เย็น เป็นประจำตลอดปี


ปี พ.ศ.๒๕๓๙
๑. นายบันลือ  ตันติวิท     
    โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นายบันลือ  ตันติวิท(อายุ๖๗ ปี)
เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๗๔ ที่ตำบลกะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต บิดาชื่อ นายบรรจบ(จิ้นหลาย) ตันติวิท   มารดาชื่อ นางจิ้น ตันติวิท ภรรยาชื่อนางปิยาภรณ์  ตันติวิท
มีบุตร ธิดารวม ๓ คน คือ
๑. นางอรุณรัตน์ สวัสดิ์ทอง อายุ ๓๖ ปี สมรสกับนายวัฒนา สวัสดิ์ทอง ตำแหน่งอัยการประจำกรม
๒. นายธนิต  ตันติวิท อายุ ๓๒ ปี
๓. นางสาวฐิติมา  ตันติวิท  อายุ ๒๘ ปี
ประวัติการศึกษา
พ.ศ.๒๔๙๑ สำเร็จการศึกษา จากโรงเรียนบ้านกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
พ.ศ.๒๔๙๗ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา   จากโรงเรียนจงเหล็งไฮส  กูล ปีนัง มาเลเซีย
พ.ศ.๒๕๐๒ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเครื่องกล จากมหาวิทยาลัยจอร์เจีย อินสตีติวส์ออฟเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา
ประวัติการทำงาน  
ปี พ.ศ.๒๕๐๓ ช่วยกิจการของครอบครัว ในโรงกลึงหลองหงวน และบริษัทเหมืองแร่ภูเก็ต ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ
ปี พ.ศ.๒๕๐๕ ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัทเหมืองแร่ภูเก็ต จำกัด และบริษัทฯ ในเครือ
ปี พ.ศ.๒๕๒๐ เป็นนายกผู้ก่อตั้งสโมสรโรตารี่ ภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๒๗ ประกอบธุรกิจประเภทธุรกิจโรงแรม ชื่อ โรงแรมป่าตองรีสอร์ท
ปี พ.ศ.๒๕๓๒ ได้ก่อตั้งบริษัทป่าตองทาวเวอร์ จำกัด เป็นธุรกิจประเภทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อพัฒนาที่ดินที่ว่างเปล่าให้ได้รับประโยชน์สูงสุด
ปี พ.ศ.๒๕๓๓ ได้ก่อตั้งบริษัท ภูเก็ตกอล์ฟวิว จำกัด เป็นธุรกิจประเภทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจสนามกอล์ฟ
ปี พ.ศ.๒๕๒๖ เป็นหนึ่งในคณะผู้จัดตั้งชมรมธุรกิจหาดป่าตอง เป็นองค์กรภาคเอกชนที่มีบทบาทในการอนุรักษ์ธรรมชาติ เพื่อการท่องเที่ยวในทิศทางที่ยั่งยืน
ปี พ.ศ.๒๕๒๖– ๒๕๒๘ ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาชมรมธุรกิจหาดป่าตอง
ปี พ.ศ.๒๕๒๘ - ๒๕๔๐ ได้รับเลือกเป็นประธานชมรมธุรกิจหาดป่าตอง
ปี พ.ศ.๒๕๒๒ - ๒๕๒๓ เป็นกรรมการกิตติมศักดิ์เหล่ากาชาดจังหวัดภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๒๓ - ๒๕๓๘  เป็นประธานสภาจังหวัดภูเก็ต ติดต่อกัน  ๕  สมัย
ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๒๘   เป็นกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดภูเก็ต 
ปี พ.ศ.๒๕๒๓ เป็นประธานการอบรมหลักสูตรความมั่นคงภายในระดับผู้บริหาร กอรมน.
จังหวัดภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๓๘ เป็นประธานสภาจังหวัดภูเก็ต
เกียรติคุณที่ได้รับ
ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณเป็นผู้ให้ความอนุเคราะห์และสนับสนุนกิจกรรมของสมาคมกรีฑา เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๒๔
ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณเป็นผู้ให้ความร่วมมือและสนับสนุนกิจการ ของกรมตำรวจ เมื่อ ปีพ.ศ.๒๕๓๒ จากกองบังคับการตำรวจภูธร ๑๐ และเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘ จากสถานีตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต
ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณพ่อตัวอย่าง ประจำปี พ.ศ.๒๕๓๔
ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ เป็นผู้ให้การสนับสนุนกิจการห้องสมุด จากสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕
ได้รับรางวัล ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการศึกษา จากกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๕ 
ได้รับรางวัล นักธุรกิจดีเด่นภาคใต้ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์     เมื่อ  ปี พ.ศ.๒๕๓๕
ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ เป็นผู้อุทิศตนเพื่องานของภาคโรตารี  ๓,๓๓๐ จากสโมสรโรตารีสากล เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๓๗
ได้รับรางวัลโล่เกียรติยศ จากโรงพยาบาลกะทู้ ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๓๘
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานมีดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตริตราภรณ์มงกุฎไทย(ต.ม.) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๔
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย(ท.ม.) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๓๓

ปี พ.ศ.๒๕๔๐
๑. พระครูสุนทรปริยัติธาดา (เจ้าอาวาสวัดท่าเรือ)
   โปรแกรมวิชาพัฒนาชุมชน
ประวัติครอบครอบ
พระครูสุนทรปริยัติธาดา ฉายา ชินปิตโต นามเดิม คือ สมใจ  รักสม เกิด เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๓ เป็นบุตรคนที่ ๑ ในจำนวน ๕ คน ของนายเพียรกับนางจำเป็น รักสม บ้านหมู่ที่ ๗ ตำบลนาชุมเห็ด อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ปัจจุบันอายุ ๔๙ ปี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าเรือ อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ตบรรพชาเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๘ วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๐ ณ วัดปากคลอง อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง พระอุปัชฌาย์ คือ พระครูปริยัติสุนทร วัดปากคลอง ตำบลในควน อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรังอุปสมบทเมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๗ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๘ ณวัดแก้วโกรวาราม ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง  จังหวัดกระบี่ พระอุปัชฌาย์ คือ พระราชสุตกวี วัดแก้วโกรวาราม อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
ประวัติการศึกษา
พ.ศ.๒๕๐๕ สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนวัดทอนพลา อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
พ.ศ.๒๕๑๐ สอบได้นักธรรมชั้นตรี ในสำนักเรียน วัดกะช่องเปี่ยมราษฎร์ อำเภอเมือง ตรัง
พ.ศ.๒๕๑๑  สอบได้นักธรรมชั้นโท ในสำนักเรียน วัดกะพังสุรินทร์  อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
พ.ศ.๒๕๑๒ สอบได้นักธรรมชั้นเอก ในสำนักเรียน วัดมหาธาตุวรวิหาร อำเภอเมืองเพชรบุรี
พ.ศ.๒๕๑๖ สอบได้เปรียญธรรมประโยค ๑-๒ ในสำนักเรียนวัดกะพังสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
พ.ศ.๒๕๑๗  สอบได้เปรียญธรรมประโยค๓ ในสำนักเรียนวัดประยูรวงศาวาส กรุงเทพมหานคร
พ.ศ.๒๕๑๙ สอบได้เปรียญธรรมประโยค๔ในสำนักเรียน วัดวิชิตสังฆารามอำเภอเมืองภูเก็ต
พ.ศ.๒๕๒๓ สอบได้เปรียญธรรมประโยค ๕ ในสำนักเรียน วัดวิชิตสังฆาราม อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
พ.ศ.๒๕๓๔    ได้เข้าอบรมโครงการพระสังฆาธิการ เพื่อพัฒนาชุมชนของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ.๒๕๓๔  ได้รับประกาศนียบัตรพระสังฆานุรักษ์สิ่งแวดล้อม จากกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน
ประวัติการทำงาน
พ.ศ.๒๕๑๒ สอบได้นักธรรมชั้นเอก หลังจากนั้นได้เป็นครูสอนปริยัติธรรม แผนกธรรมจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ.๒๕๒๓ สอบได้เปรียญธรรมประโยค ๕ หลังจากนั้นได้เป็นครูสอนปริยัติธรรมแผนกบาลีจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ.๒๕๒๓ เป็นวิทยากรบรรยายธรรมในสถานศึกษาต่าง ๆ ในจังหวัดภูเก็ต และร่วมกับวิทยาลัยครูภูเก็ต จัดโครงการอบรมจริยธรรมแก่นักศึกษามาโดยตลอด ในปัจจุบันได้จัดทำโครงการนำครู นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป ที่สนใจธรรมเข้าค่ายอบรมปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมากทุกปี จึงได้สร้างศาลาเอนก
ประสงค์ขึ้น ๑ หลัง สำหรับเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม และอาคารที่พักของผู้เข้ารับ
การอบรมอีก ๒ หลัง รวมราคาประมาณ ห้าล้านบาท
พ.ศ.๒๕๓๑ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าเรือ
พ.ศ.๒๕๓๔ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการเจ้าคณะอำเภอถลาง ครั้งที่ ๑
พ.ศ.๒๕๓๕ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการเจ้าคณะอำเภอถลาง ครั้งที่ ๒
พ.ศ.๒๕๓๕ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสนามหลวง แผนกธรรม
พ.ศ.๒๕๓๖ ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกที่ พระครูสุนทรปริยัติธาดา
พ.ศ.๒๕๓๗ ได้รับแต่งตั้งให้เป็น พระเปรียญบัณฑิตอาสาพัฒนา
พ.ศ.๒๕๓๗  ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระธรรมทูต เขตอำเภอถลาง
ความดี ความชอบที่ได้รับพัด เกียรติบัตร และประกาศนียบัตร
พ.ศ.๒๕๓๑ ได้รับตราตั้งเจ้าอาวาส เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าเรือ
พ.ศ.๒๕๓๔ ได้รับตราตั้ง เป็นเลขานุการเจ้าคณะอำเภอถลาง
พ.ศ.๒๕๓๔  ได้รับประกาศนียบัตรการถวายความรู้   ตามโครงการประชุมพระสังฆาธิการ เพื่อ
พัฒนาชุมชนของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ  
พ.ศ.๒๕๓๔ ได้รับประกาศนียบัตรพระสังฆานุรักษ์สิ่งแวดล้อม ของสำนักงานคณะกรรมการ
สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน
พ.ศ.๒๕๓๕ ได้รับประกาศนียบัตรเป็นกรรมการสนามหลวงแผนกธรรมจากสมเด็จ
พระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก
พ.ศ.๒๕๓๖ ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกที่พระครูสุนทรปริยัติธาดา
พ.ศ.๒๕๓๗  ได้รับตราตั้งเป็นพระธรรมทูต เขตอำเภอถลางจังหวัดภูเก็ต ได้อบรมนักเรียน นักศึกษา ประชาชน ตามที่ได้รับมอบหมาย
พ.ศ.๒๕๓๗    ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระเปรียญบัณฑิตพัฒนาอาสาจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ

๓.นายครรชิต   ตัมพานุวัตร 
   โปรแกรมวิชาการจัดการทั่วไป

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นายครรชิต  ตัมพานุวัตร
เกิดเมื่อวันที่ ๕ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๘๑  ณ หมู่ที่ ๓ ตำบลปากน้ำประแส อำเภอแกลง จังหวัดระยองบิดาชื่อ นายไป๋  แซ่อั๋ง มารดาชื่อนางกิมหลวน  แซ่อั๋ง(ปัจจุบันบิดาและมารดาเสียชีวิตแล้ว)
มีพี่น้องร่วมบิดา–มารดาเดียวกัน ๗ คน โดยนายครรชิต ตัมพานุวัตร เป็นบุตรคนที่ ๓(เป็นบุตรชายคนแรกของครอบครัว) มีพี่สาว ๒ คน น้องสาว ๒ คน และน้องชาย ๒ คน ชีวิตครอบครัวสมรสกับ นางสาวเบญจวรรณ เอื้อกาญจนวิไลชาวกรุงเทพฯ เมื่อพ.ศ.๒๕๒๐ มีบุตรธิดารวม ๒ คน เป็นผู้ชาย ๑ คน และ ผู้หญิง ๑ คน คือ
๑. นายภัณฑิล  ตัมพานุวัตร กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์การเงินและ
บริหาร ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
๒. น.ส. นฤมนต์  ตัมพานุวัตร อายุ ๑๕ ปี กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร
ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ ๒/๖ ถนนศรีสุทัศน์ ตำบลรัษฏา อำเภอเมือง จังหวัดหวัดภูเก็ต


ประวัติการศึกษา
จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนวัดดอนมะกอกลาง ต.ปากน้ำประแส อ.แกลง จ.ระยอง
จบมัธยมศึกษาปีที่ ๖  จากโรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” อ.แกลง จ.ระยอง
พ.ศ.๒๕๐๑ เข้าศึกษาในคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งขณะนั้นเป็นมหาวิทยาลัย
เปิด แต่ไม่สามารถเรียนจนจบได้ด้วยครอบครัวประสบปัญหาด้านการเงิน
ประวัติการทำงาน
นายครรชิต  ตัมพานุวัตร เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลในด้านการจัดการด้านธุรกิจ การพัฒนาท้องถิ่นให้มีสาธารณูปโภคที่ดีขึ้น มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น พร้อมกับมีคุณภาพการศึกษาที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต ในทิศทางที่ยั่งยืน เพื่อความเจริญของท้องถิ่นและนำรายได้สู่ประเทศชาติ     ด้วยเหตุนี้     นายครรชิต
 ตัมพานุวัตร จึงได้เข้ามามีบทบาทในการจัดตั้งองค์กรต่าง ๆ และสนับสนุนการดำเนินงานต่าง ๆ ขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในระดับจังหวัด ระดับประเทศ และระดับชาติ กล่าวคือ
นายครรชิต  ตัมพานุวัตร ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต ๒ สมัยติดต่อกัน คือในปี พ.ศ.๒๕๓๖ และ พ.ศ.๒๕๓๘  มีภาระหน้าที่ในการวางแผนและอำนวยการ เพื่อให้การดำเนินกิจการของหอการค้าเป็นไปตามข้อบังคับและระเบียบในการปฏิบัติงานของหอการค้า สนับสนุนและช่วยเหลือสมาชิกแก้ไขปัญหาเพื่อประโยชน์ในการประกอบการค้า และเป็นผู้แทนของหอการค้าในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก และเป็นประธานในที่ประชุมของคณะกรรมการของหอการค้าตลอดจนในที่ประชุมใหญ่สมาชิก ระหว่างที่อยู่ในตำแหน่งประธานหอการค้าตลอดจนในที่ประชุมใหญ่สมาชิก ระหว่างที่อยู่ในตำแหน่งประธานหอการค้านายครรชิต ตัมพานุวัตร ได้เป็นผู้บุกเบิกและผลักดันให้เกิดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐิกิจสร้างคุณค่าชีวิตและอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ มีส่วนผลักดันให้เกิดโครงการหลายอย่างและส่งเสริมสนับสนุนให้หลาย ๆ โครงการสำเร็จด้วยดี ส่วนใหญ่เป็นโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต และทั่วประเทศ มีส่วนผลักดันให้เกิดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติมากมาย จึงได้รับการยกย่องแต่งตั้งให้เป็นประธานหอการค้า เขต ๑๖ คน
เกียรติคุณที่ได้รับ
ผลงานที่เป็นเกียรติประวัติที่ดีงาม และได้รับการยกย่องจากองค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนดังต่อไปนี้
ได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ ๓ เมื่อ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๒ 
ได้รับเกียรติบัตรเป็น ท.ส.ป.ช. ในทะเลดีเด่น ปี ๒๕๓๖ จากศูนย์ ท.ส.ป.ช. ในทะเล เขต ๔ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานไทยอาสาป้องกันชาติ ได้ให้ความร่วมมือกับกองทัพเรือจัดอบรมชาวประมงให้รู้จักการใช้เครื่องมือการประมง เครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัย รู้จักกฎหมายประมงทะเล เป็นแนวทางป้องกันการรุกล้ำน่านน้ำประเทศเพื่อบ้านและช่วยสอดส่องดูแลการกระทำผิดกฎหมาย และช่วยกู้ภัยในทะเล และก่อให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มชาวประมงทั่วประเทศ
ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันราชภัฏภูเก็ตติดต่อกัน ๒ สมัย
กองทัพเรือ ได้มอบประกาศนียบัตรที่แสดงว่านายครรชิต ตัมพานุวัตรเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีศักดิ์และสิทธิในการประดับเครื่องหมายความสามารถนักทำลายใต้น้ำจู่โจมกิตติมศักดิ์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๗
ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ ๕  ชื่อ เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙
นายครรชิต  ตัมพานุวัตร เป็นนักธุรกิจ นักสังคม นักวิชาการที่มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ในการทำงานเพื่อตนเองและเพื่อสังคมมากมาย มีเทคนิควิธีในการจัดการหรือบริหารทั่วไปจนนับได้ว่าเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างงดงาม มีผลงานดีเด่นในหลาย ๆ ด้านเป็นที่ยอมรับทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลตัวอย่างที่ควรแก่การยกย่องสรรเสริญยิ่ง เป็นบุคคลที่มีความกตัญญูรู้คุณ มีความเสียสละ มีความซื่อสัตย์สุจริต มานะ บากบั่น ทั้งยังมีบทบาทต่อสาธารณชนในการสร้างสรรค์สังคม ส่งเสริมการท่องเที่ยวและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม


๑๓. บัณฑิตกิตติมศักดิ์จากสถาบันอื่น
       ๑๓.๑ ประวัติและผลงาน      
       นายไมตรี  บุญสูง

ประวัติส่วนตัว
นายไมตรี  บุญสูง(อายุ ๖๑ ปี)
บิดา – มารดา นายจุติ  และ นางบัวคลี่ บุญสูง ๗๔ ถนนศรีตะกั่วป่า อำเภอตะกั่วป่า 
จังหวัดพังงา ๘๒๑๑๐ วัน เดือน ปี ที่เกิดวันอาทิตย์ ที่ ๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๙ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๔ ปีชวด ศาสนาที่นับถือ
ศาสนาพุทธ ที่อยู่ปัจจุบัน ๒๐๒ หมู่ ๑ ถนนเยาวราช ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต รหัสไปรษณีย์ ๘๓๐๐๐ โทร.(๐๗๖) ๒๑๑๕๙๐
สภาพครอบครัว สมรส กับ นางรัตน์  บุญสูง
บุตร – ธิดา ชาย ๒ คน คือ
 ๑. นายประคัลภ์ บุญสูงสมรสกับ      นางสาวสดศรี  มณีศรี(สะใภ้)
 ๒. นายธนชาติ  บุญสูงสมรสกับ นางสาวนุชนาถ  ศรีภิรมย์(สะใภ้)
หญิง ๒ คน คือ
 ๑. นางสาวประภารัตน์  บุญสูง สมรสกับนายสมชัยเจริญสุขวัฒนะ(บุตรเขย)
 ๒. นางสาวดุลยลัคน์  บุญสูง สมรสกับนาวาโทปรีชาญ จามเจริญ(บุตรเขย)
ประวัติการศึกษา
 ระดับประถมศึกษา ณ โรงเรียนเทศบาล บ้านตะกั่วป่า อำเภอตะกั่วป่า  จังหวัดพังงา
ระดับมัธยมศึกษา ณ Mcthodist Afternoon School(M.A.S.)
ระดับปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ สถาบันกอร์ดอนอินสติติ้ว ออฟเทคโนโลยี,  ยีลอง วิคตอเลีย     
 ประเทศออสเตรเลีย
เกียรติประวัติด้านการศึกษา
ได้รับเกียรติจากสภามหาวิทยาลัยมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ในประเทศ ปริญญาบัตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์(พัฒนาสังคม) ปี พ.ศ.๒๕๒๙ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ต่างประเทศ       ปริญญาบัตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเคลย์ตั้น สหรัฐอเมริกา
สถานที่ทำงาน บริษัท เรือขุดแร่จุติ จำกัด และบริษัทเรือขุดแร่บุญสูง จำกัด ๖๐ ถนนพังงา ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ๘๓๐๐๐ โทร.(๐๗๖)๒๑๑๘๘๐
บริษัท จุติพาณิชย์ จำกัด ๕๖   ถนนพังงา ตำบลตลาดใหญ่  อำเภอเมือง   จังหวัดภูเก็ต  รหัสไปรษณีย์ ๘๓๐๐๐ โทร.(๐๗๖) ๒๑๑๔๔๘ 
ประวัติการทำงาน 
ประธานกรรมการ และ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เรือขุดแร่จุติ จำกัด
ประธานกรรมการ บริษัท เจ.บี โฮเต็ล(หาดใหญ่) จำกัด
กรรมการผู้จัดการ บริษัท เรือขุดแร่บุญสูง จำกัด
กรรมการรองผู้จัดการ บริษัท จุติพาณิชย์ จำกัด และบริษัท เจ.บี. จำกัด
กรรมการ สมาคมอุตสาหกรรมเหมืองแร่
ตำแหน่งทางสังคม
นายกเทศมนตรีเมืองภูเก็ต ดำรงตำแหน่ง ๒ สมัย สมัยที่ ๑ เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๑๑ ถึง ๒๒ ธันวาคม ๒๕๑๕ สมัยที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๑๕ ถึง ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗ นายกสมาคมพ่อค้าจังหวัดภูเก็ต“PHUKET TRADERS ASSOCIATION” เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ - พ.ศ.๒๕๑๔
อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ภูเก็ต เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐ - พ.ศ.๒๕๒๕
ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐  - ๒๕๒๖ ประธานจัดการแข่งขันวอลเล่ย์บอล
กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๖ ภูเก็ต
อุปนายกสโมสรสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
สาขาภาคใต้ เขตภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ ถึงปัจจุบัน 
สมาชิกกิตติมศักดิ์ของสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยฯ ตลอดชีพ  เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๒๗
กรรมการที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดภูเก็ต เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖ ถึงปัจจุบัน
กรรมการสมาคมอุตสาหกรรมเหมืองแร่จังหวัดภูเก็ต เริ่มเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ ถึงปัจจุบัน 
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประจำโครงการวิทยาลัยชุมชนภูเก็ตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อปี
พ.ศ.  ๒๕๒๕ ถึงปัจจุบัน
กรรมการส่งเสริมกิจกรรม มหาวิทยาลัย ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา เมื่อปี
พ.ศ.๒๕๒๕ ถึงปัจจุบัน
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาการลูกเสื่อแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕ ถึง ปัจจุบัน
ผู้ตรวจการลูกเสือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ประธานโครงการให้มีการ
ฝึกอบรมลูกเสือวิสามัญ จังหวัดภูเก็ต เมื่อปี   ๒๕๒๕
สมาชิกตลอดชีพ คณะลูกเสือแห่งชาติประธานสมทบ อส.รด. จังหวัดภูเก็ตเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐ ถึงปัจจุบัน ประธานที่ปรึกษาชมรมลูกเสือชาวบ้าน จังหวัดภูเก็ต เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙ ประธานบรรเทาสาธารณะภัย จังหวัดภูเก็ต รุ่นที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐ กรรมการมูลนิธิราช  ประชานุเคราะห์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐  กรรมการมูลนิธิใต้ร่มเย็น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๔ กรรมการเหล่ากาชาด จังหวัดภูเก็ตเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐  กรรมการผู้ก่อตั้งสโมสรไลออนส์เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๔กรรมการรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดภูเก็ต เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐ กรรมการที่ปรึกษาในการจัดสร้างพระพุทธรูป พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์(พระองค์เจ้าระพีพัฒน์ศักดิ์) “พระบิดาแห่ง กฎหมายไทย” ของศาลจังหวัดภูเก็ตและ ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายทั้งปวง เมื่อปี ๒๕๒๘  อาสาสมัครในกิจการแพทย์อาสา “สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราช ชนนี” เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๒ รองประธานชมรมวอลเล่ย์บอล เขต ๘ จังหวัดภูเก็ต เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖  ผู้จัดการทีมกีฬาวอลเล่ย์บอล เขต ๘ จังหวัดภูเก็ต เมื่อปี พ.ศ.  ๒๕๒๖   ประธาน  หรือผู้รักษาขนบ  ณ  สถานสักการะกรรมพิธีมงคล“ท่านปโยธรเวส” ที่ ๔๘ จังหวัดภูเก็ต เขตภาคใต้(ในทางวิชาการพรหมศาสตร์) ประธานคณะกรรมการ และนายกมูลนิธิ สัตยาไส จังหวัดภูเก็ต ที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการสมาคมพ่อค้าภูเก็ต ผู้อุปการะโรงเรียนประจำจังหวัดภูเก็ต จำนวน ๑ ใน ๕ ผู้อุปการะ  โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย โรงเรียนสตรีภูเก็ต ผู้ช่วยผู้ให้การฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือของคณะลูกเสือแห่งประเทศไทย “Assistant Leader Trainer(A.L.T.)”
ที่ปรึกษากรรมการส่งเสริมกิจการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ตำแหน่งด้านการเมืองในประเทศ
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย(มท.๑) ในรัฐบาล ฯพณฯ ท่านนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖
ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี  ฯพณฯ  พลเอก  ชวลิต ยงใจยุทธ ทางด้านสังคมและการบริหาร เมื่อวันที่ ๑๓    สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๐
เกียรติประวัติที่ได้รับ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม(ชั้นสายสะพาย) ประถมาภรณ์มงกุฎไทย ชั้น ๑ ป.ม. เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙
รามกีรติลูกเสือสดุดี ชั้นพิเศษ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๔
ทุติยดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น ๒ ท.ภ. เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘
ประถมาภรณ์ช้างเผือก ชั้น ๑ ป.ช. เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙ เครื่องหมายและวุฒิบัตรจากมูลนิธิ “B.P. Fellowship” จากพระหัตถ์พระเจ้ากุสตาฟ ที่    ๑๖      กษัตริย์แห่งประเทศสวีเดน เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ปี พ.ศ.๒๕๓๖ ณ เกาะกรีต ประเทศกรีซ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โปรดเกล้าฯ  พระราชทานเข็มสมนาคุณซึ่งทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลสมทบทุนมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ปี พ.ศ.๒๕๐๘ ณ สถานีวิทยุ อ.ส. เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ ๑ เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๑ จากพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ โล่ เกียรติยศแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน จากพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  ณ  พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน  ครั้งที่ ๕ เครื่องหมายนักทำลายใต้น้ำจู่โจม กิตติมศักดิ์ของกองทัพเรือ เครื่องหมายปีกนักบินกิตติมศักดิ์ของกองทัพเรือ โล่แสดงความขอบคุณจาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เนื่อง จากเป็นผู้บริจาคทรัพย์ตกแต่งห้องประชุม “ไมตรี  บุญสูง” ของอาคารวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต โล่เกียรติคุณจากแม่ทัพ กองทัพภาคที่ ๔ ในการช่วยเหลือกิจ การของทางราชการทหาร   โล่ลูกเสือสมนาคุณจากคณะลูกเสือแห่งชาติในการที่ได้ให้ความช่วยเหลือจัดการงานประชุมสภาลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๑ ได้รับเข็มการฝึกราชการสนามของกรมการรักษาดินแดน
ใบประกาศเกียติคุณ กระทรวงมหาดไทย ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการแก่เทศบาลเมืองภูเก็ตอย่างดียิ่ง ให้บังเกิดความเจริญก้าวหน้าแก่ท้องถิ่นจนครบวาระ ๒ สมัย ใบประกาศเกียรติคุณ จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐที่ได้ช่วยเหลือสนับสนุนในกิจการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และสื่อสารมวลชนทำคุณประโยชน์ต่อสาธารณะชน และประเทศชาติด้วยดีตลอดมา  ประกาศเกียรติบัตรได้ผ่านการทดสอบกำลังใจด้วยการกระโดดหอสูง ๓๔ ฟุต รุ่นที่ ๑๑๕ จากศูนย์สงครามพิเศษกองทัพบก  ใบประกาศเกียรติคุณได้ผ่านการทดสอบกำลังใจ ด้วยการกระโดดหอสูง ๓๔ ฟุต สมาชิกพลร่มสัมพันธ์ รุ่น “กิตติมศักดิ์” จากศูนย์สงครามพิเศษกองทัพบก   ใบประกาศเกียรติคุณได้ผ่านการอบรมหลักสูตรการเมือง    (เร่งรัด) รุ่นที่ ๑๐/๒๕๒๒ จากกองทัพภาคที่ ๔ และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เขต ๔  ใบประกาศเกียรติคุณที่ได้สำเร็จการศึกษาหลักสูตร การรักษาความมั่นคงของชาติ  รุ่นที่ ธ.๓    จากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน กอ.รมน.  ใบประกาศเกียรติคุณยกย่องให้เป็นนักกระโดดร่มกิตติมศักดิ์ ชั้นที่ ๑ จากราชการตำรวจตระเวนชายแดน กรมตำรวจ  ใบประกาศเกียรติคุณจากชมรม ฟุตบอล จังหวัดภูเก็ต  ประกาศเกียรติบัตรขอบคุณในความร่วมมือต่อทางราชการเป็นอย่างดีจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต  “นายมานิต  วัลยเพ็ชร” ณ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต  ใบประกาศเกียรติคุณบัตรจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต “นายสนอง  รอดโพธิ์ทอง” เนื่องจากได้บริจาคเงินสร้างแท่นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปบูชา  “ตรีมุข” ให้เป็นสมบัติของโรงเรียนสตรีภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
ได้รับพระราชทานกรุณาโปรดเกล้าฯ จากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ให้เป็นอาสาสมัครในกิจการแพทย์อาสา ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อปฏิบัติการรักษาประชาชนในถิ่นทุรกันดาร และเพื่อมนุษยธรรม โดยไม่จำกัดชาติศาสนา
วุฒิบัตรจากกองบังคับการตำรวจดับเพลิง กรมตำรวจให้เป็นผู้สำเร็จการฝึกอบรมตามหลักสูตรบรรเทาสาธารณะภัยและดับเพลิง
วุฒิบัตรการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ ชั้นวูดแบดจ์ ลูกเสือ    สำรองจากคณะลูกเสือแห่งชาติ  โดยความร่วมมือของศูนย์ฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือนานาชาติกิลเวลล์ปาร์ค
เกียรติบัตรการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ลูกเสือ ในตำแหน่งผู้ตรวจการลูกเสือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ จากคณะลูกเสือแห่งชาติ โดยนายสิปปนนท์ เกตุทัต รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
ประกาศนียบัตรในการเข้ารับการฝึกอบรมลูกเสือ ชั้นผู้ช่วยผู้ให้การฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ รุ่นที่ ๓๐ “Assistant Leader Trainers Course” ณ ค่ายลูกเสือจังหวัดภูเก็ต จากคณะลูกเสือแห่งชาติ
เกียรติบัตรการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้ให้การฝึกอบรมวิชา ผู้กำกับลูกเสือ “Assistant Leader Trainer(A.L.T.)” ของคณะลูกเสือแห่งประเทศไทย

๑๓.๒ ประวัติและผลงาน
        นายอาทร  ต้องวัฒนา

ประวัติส่วนตัว
ชื่อนายอาทร  ต้องวัฒนา อายุ ๖๓ ปี
ที่อยู่บ้านเลขที่ ๘ ถนนเชิงคีรี หมู่ ๔ ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
รหัสไปรษณีย์ ๘๓๐๐๐ โทร.(๐๗๖) ๒๑๑๒๒๗
ภรรยา นางรจิตร  ต้องวัฒนา(บุญสูง)
มีบุตร ๒ คน อภิรักษ์ ต้องวัฒนา สำเร็จการศึกษา ณ North Eastern University Boston  Electrical Engineering Technology(เกียรตินิยม)
อภิชาต ต้องวัฒนา สำเร็จการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยโตไก ประเทศญี่ปุ่น
ในภาควิชา Information Sociology(Mass Communications) ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ประวัติการทำงาน
ปัจจุบัน
ประธานกรรมการ    
บริษัท เชิงทะเลพัฒนา จำกัด
บริษัท ภูเก็ตโบ๊ตลากูน จำกัด 
ประธานกรรมการและผู้จัดการ
บริษัท อภิวัฒนาทร จำกัด
บริษัท พี.เอ.พ.โฮลดิ้งส์ จำกัด
บริษัท เจ.เอส.บี. จำกัด
อดีต
ประธานกรรมการ
บริษัท เจ.บี. จำกัด
บริษัท บริดสโตน ที.เอส.เค. จำกัด
กรรมการผู้จัดการ
บริษัท จุติพาณิชย์ จำกัด
บริษัท เจ.บี.โฮเต็ล(หาดใหญ่) จำกัด
กรรมการและเลขานุการ
บริษัท เรือขุดแร่จุติ4 จำกัด
บริษัท เรือขุดแร่บุญสูง จำกัด
ผลงานที่โดดเด่น
ได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
 ๑. สาขาบริหารอุตสาหกรรม(Doctor of Industrial Management) – D.I.M(Hon.) จากมหาวิทยาลัย Kensington University – สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๑๙๘๗
 ๒. สาขาบริหารธุรกิจ(Doctor of Business Administration) – D.B.A.(Hon) จากสถาบัน Marquis Giuseppe Scicluna(๑๘๕๕–๑๙๐๗) International University Foundation(Foundation ๑๙๗๓) สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๑๖(ค.ศ. ๑๙๘๘)
๓. สาขาทางด้านกฎหมาย(Doctor of laws) – LL.D.(Hon.) จากสถาบัน Albert Einstein International Academy Foundation(Founded  ๑๙๖๕) เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๓๖(ค.ศ. ๑๙๙๓)
๔. สาขาบริหารธุรกิจ(Docter of Buisiness Administration) – D.B.A.(Hon.) จากคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๓๖
ผลงานที่โดดเด่น
เป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองภูเก็ตมาแล้ว
๖ สมัย ดังนี้
- ปี พ.ศ.๒๕๐๔ - ๒๕๒๘
- เป็นประธานอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยรุ่นที่ ๒ ภูเก็ต
- เป็นกรรมการบริหาร พอ.สว. จังหวัดภูเก็ต
- เป็นนายกสมาคมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ พ.ศ.๒๕๒๒
- เป็นนักธุรกิจชั้นนำแห่งปี ๑๙๘๙
        ฯลฯ
 เกียรติคุณที่ได้รับ
 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
 ๑. เบ็ญจมาภรณ์มงกุฎไทย(บ.ม.)
 ๒. ตริตาภรณ์ มงกุฎไทย    (ต.ม.)
 ๓. ตริตาภรณ์มงกุฎไทย     (ต.ช.)
 ๔. ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย   (ท.ม.)
 ๕. ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก     (ท.ช.)
 ๖. เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้น ๑,๒ และ ๓
 ๗. เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ ๑ และ ๒
 
 ๑๓.๓ นายราชัน  กาญจนะวณิชย์
 
 ประวัติส่วนตัว 
 เกิดเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๔๖๔
 บิดามหาอำมาตย์โท พระยาประกิตกลศาสตร์ มารดาคุณหญิงเล็กประกิตกลศาสตร์ ภรรยานางยงลาภ  กาญจนะวณิชย์
 สำนักงาน บริษัททุ่งคาฮาเบอร์(มหาชน) จำกัด ๑๒ ซอยสะพานหิน ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต โทร.(๐๗๖)  ๒๑๑๔๘๕ โทรสาร.(๐๗๖) ๒๑๑๒๑๔
 ประวัติการศึกษา
 ปี พ.ศ.๒๔๗๕ - ๒๔๘๒ โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์  ม.๘
 ปี พ.ศ.๒๔๘๒ - ๒๔๘๖ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกาปริญญาตรี(วิศวกรรมศาสตร์)
 ปี พ.ศ.๒๔๘๘ - ๒๔๙๐   มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด  สหรัฐอเมริกาปริญญาโท(วิศวกรรมเหมืองแร่)
 ปี พ.ศ.๒๕๒๗ อบรมการจัดการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ร่วมกับมูลนิธิเพื่อสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย
 เกียรติคุณคุณวุฒิ 
 ปี พ.ศ.๒๔๘๓ มหาวิทยาลัยไมแอมมี สหรัฐอเมริกาไฟ.อีดา.ซิกมา
 ปี พ.ศ.๒๕๒๑ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตมศักดิ์    ราชการสงคราม 
 ปี พ.ศ.๒๔๙๐ - ๒๔๙๔ สถาบันฮูเวอร์ แสตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา
 ปี พ.ศ.๒๔๘๖ - ๒๔๘๘ U.S. OFFICE OF WAR INFORMATION ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา
 ปี พ.ศ.๒๔๙๑ - ๒๔๙๔ ก.พ.ท.(ไทย-บริติช)
 ประวัติการทำงาน
 ปี พ.ศ.๒๔๙๐ - ๒๕๙๔ วิศวกรเหมืองแร่ – หัวหน้าแผนก กรมโลหกิจ
 ปี พ.ศ.๒๔๙๔ - ๒๕๒๑ วิศวกรเหมืองแร่ – ผู้อำนวยการเขต บริษัทเหมืองแร่ เครือลอนดอนทินคอร์ปอเรชั่น
 ปี พ.ศ.๒๕๒๑ - ๒๕๓๖ กรรมการผู้จัดการ บริษัทการแร่และสากลกิจบริหาร จำกัด
 ปี พ.ศ.๒๕๓๖ - ๒๕๓๘ ประธานกรรมการบริหาร บริษัททุ่งคาฮาเบอร์(มหาชน) จำกัด บริษัท อ่าวขามไทย(มหาชน) จำกัด
 ตำแหน่งทางสังคม
 อดีตเทศมนตรีเมืองภูเก็ต
 อดีตประธานสภาจังหวัดภูเก็ต
 อดีตนายกสโมสรกอล์ฟภูเก็ต ปี พ.ศ.๒๕๐๘ - ๒๕๑๘
 อดีตนายกสมาคมเหมืองแร่อังกฤษ
 อดีตประธานสภาการเหมืองแร่
 อดีตนายกสโมสรเรือใบภูเก็ต ปี พ.ศ.๒๕๑๕ - ๒๕๓๙
 นายกสมาคมเหมืองแร่สยามนานาชาติ
 สมาชิกกิตติมศักดิ์  สโมสรกอล์ฟดุสิต
 สมาชิกสามัญราชกรีฑาสโมสร
 นายกก่อตั้งสโมสรไลออนส์ภูเก็ต ๒๕๑๔
 อดีตประธานเขต
 อดีตรองผู้ว่าการภาค ๓๑๐ บี
 อดีตประธานฝ่าย
 
 ๑๓.๔ ประวัติและผลงาน
         นายวิจิตร ณ ระนอง
 
 ประวัติส่วนตัว
 ชื่อนายวิจิตร ณ ระนอง เกิดเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๘๖ อายุ  ๕๕ ปี
 ประวัติการศึกษา
 บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (การโรงแรมและการท่องเที่ยว)ม.สงขลานครินทร์ปี   ๒๕๓๔
 Master of  Public Administration, University Of Southern California, U.S.A.
 เศรษฐศาสตรบัณฑิต  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 Certificate, American Democracy, University Of   Southern California, U.S.A.
 Certificate, Training the Trainer, American Hotel & Motel Association
 ประวัติการทำงาน
  ธุรกิจด้านเหมืองแร่ดีบุก สวนยางพารา วัสดุก่อสร้าง บันเทิง ศูนย์การค้า รถยนต์ โรงแรม บริษัทนำเที่ยว และกิจการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ครัวการบิน
 ตำแหน่งงาน
 กรรมการผู้จัดการกลุ่ม  - บริษัท เพิร์ล จำกัด
 ประธานกรรมการ  - บริษัท หมู่บ้านไทยภูเก็ต จำกัด
 - บริษัทครัวการบินภูเก็ต จำกัด
 ตำแหน่งทางสังคม
- วุฒิสมาชิก
- รองประธานคณะกรรมมาธิการการท่องเที่ยวและการกีฬา วุฒิสภา
- ประธานสถาบันอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
- ประธานก่อตั้งสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย
- ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมโรงแรมไทย
- ประธานกรรมการสาขาโรงแรมและการท่องเที่ยว หอการค้าไทย
- กงสุลกิตติมศักดิ์ราชอาณาจักรสวีเดน ประจำจังหวัดภูเก็ต
- นายกสมาคมโรงแรมไทย(พ.ศ.๒๕๓๗-๒๕๓๙)
 ฯลฯ
 เกียรติคุณที่ได้รับ
- รางวัลนิสิตเก่าดีเด่น สมาคมเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รางวัลผู้บำเพ็ญประโยชน์ทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว สำนักนายกรัฐมนตรี
- นักธุรกิจดีเด่นภาคใต้
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ตติยดิเรกคุณาภรณ์
      ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก
       ประถมาภรณ์มงกุฎไทย

๑๔. ครูดีเด่น
๑๔.๑ ครูดีเด่นระดับประถมศึกษา
ครูภาษาไทยดีเด่นของคุรุสภา
ปี พ.ศ.๒๕๓๑ นางวนิดา  ผดุงชม   โรงเรียนบ้านท่าเรือ
ปี พ.ศ.๒๕๓๒ นางสมจิตต์  จิตเสรี  โรงเรียนบ้านเก็ตโฮ่
ปี พ.ศ.๒๕๓๓ นายสมบัติ  จิตวารินทร์ โรงเรียนวัดเทพกระษัตรี
ปี พ.ศ.๒๕๓๕ นางนภาพร  กล่อมเกล้า โรงเรียนบ้านพรุจำปำ
ปี พ.ศ.๒๕๓๖ นางอุ่นจิตร  พิมานพรหม โรงเรียนบ้านไม้ขาว
ปี พ.ศ.๒๕๓๗  นางสาวสมสวย กุลมงคล โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๓๘ นางยุพดี  ชุมรักษ์ โรงเรียนบ้านป่าคลอก
ปี พ.ศ.๒๕๓๙ นางสุดา  โกยวิวัฒน์ตระกูล โรงเรียนเมืองภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๔๐ นายสมบัติ  จิตวารินทร์   โรงเรียนวัดเทพกระษัตรี
นางกาญจนา  นิรัติศัย  โรงเรียนบ้านท่าเรือ
ปี พ.ศ.๒๕๔๑ นางอาภรณ์  แซ่อุ่น โรงเรียนวัดเมืองใหม่
ครูคณิตศาสตร์ดีเด่นของคุรุสภา
ปี พ.ศ.๒๕๓๑ นายชัชชัย  รักเหย้า         โรงเรียนวัดสุวรรณคีรีวงศ์
ปี พ.ศ.๒๕๓๒ นางดวงจันทร์ วิกรมธีวานันท์   โรงเรียนวัดเมืองใหม่
ปี พ.ศ.๒๕๓๓  นางวิมล  แซ่อึ้ง           โรงเรียนบ้านไสน้ำเย็น
ปี พ.ศ.๒๕๓๔ นางสุกัญญา  มุสิแก้ว          โรงเรียนไทยรัฐวิทยา
ปี พ.ศ.๒๕๓๕ นายมนตรี  ประทุม           โรงเรียนบ้านม่าหนิก
ปี พ.ศ.๒๕๓๖ นางดวงจันทร์ วิกรมธีวานันท์   โรงเรียนวัดเมืองใหม่
ปี พ.ศ.๒๕๓๗ นางสุดา  สิทธิวรกุล                   โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๓๘ นางวัชรา  จันทร์ศักดิ์สูง           โรงเรียนเกาะสิเหร่
ปี พ.ศ.๒๕๓๙ นางสุพัตรา  คุ้มเดช                    โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๔๐ นางสาวดารณี  วาจาสัตย์  โรงเรียนวัดสุวรรณคีรีวงศ์
ปี พ.ศ.๒๕๔๑ นางประวร  วงศ์เมือง        โรงเรียนวัดมงคลวราราม
ครูกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตดีเด่นของคุรุสภา 
ปี พ.ศ.๒๕๓๑ นายบุญชู  มานะเสรี            โรงเรียนบ้านท่าเรือ
ปี พ.ศ.๒๕๓๒ นางทัศนา  ประดิษฐเสรี    โรงเรียนบ้านกะทู้
ปี พ.ศ.๒๕๓๓ นายปรีชา  เพื่อนรักษ์     โรงเรียนบ้านกมลา
ปี พ.ศ.๒๕๓๔ นายสมนึก  ลีลากิจกำธร     โรงเรียนป่าคลอก
ปี พ.ศ.๒๕๓๕ นายจำเนียร  พลสวัสดิ์     โรงเรียนบ้านไม้เรียบ
ปี พ.ศ.๒๕๓๖ นายบุญชู  มานะเสรี     โรงเรียนบ้านท่าเรือ
ปี พ.ศ.๒๕๓๗ นางผุสดี  สุนธารักษ์     โรงเรียนบ้านหัวควน
ปี พ.ศ.๒๕๓๘ นางสาวกรรณิกา เสียงบุตร  โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๓๙ นางสาวจินตนา  จิตต์เที่ยง    โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๔๐ นางสาวเฉลา  เสียมเหล็ก    โรงเรียนวัดเทพกระษัตรี
ปี พ.ศ.๒๕๔๑ นายพิมล  ปานภักดี     โรงเรียนบ้านบางเทา
ครูกลุ่มการพื้นฐานอาชีพดีเด่นของคุรุสภา  
ปี พ.ศ.๒๕๓๑ นางจาริณี  รัตนาภรณ์    โรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ
ปี พ.ศ.๒๕๓๒ นางดวงจันทร์  เพื่อนรักษ์   โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์
ปี พ.ศ.๒๕๓๓  นางสาวรัตนา  ทั่วรอบ    โรงเรียนไทยรัฐ ๒๙(กะทู้)
ปี พ.ศ.๒๕๓๔ นายประสิทธิ์  ชโลธร    โรงเรียนบ้านป่าคลอก
ปี พ.ศ.๒๕๓๕ นางจงจิต  บุญรัตน์    โรงเรียนบ้านกะทู้
ปี พ.ศ.๒๕๓๖ นางพลูศรี  ตันสกุล  โรงเรียนวัดศรีสุนทร(มิตรภาพ ๑๕)
ปี พ.ศ.๒๕๓๗ นางผ่องศรี  ตันติวิท  โรงเรียนบ้านไม้เรียบ
ปี พ.ศ.๒๕๓๘ นางวรรณา  ระตะ  โรงเรียนบ้านกะทู้
ปี พ.ศ.๒๕๓๙ นางโรจนา  นุกูลรัตน์  โรงเรียนถลางพระนางสร้าง
ปี พ.ศ.๒๕๔๐ นายสมศักดิ์  วาจาสัตย์  โรงเรียนบ้านโคกวัดใหม่
ปี พ.ศ.๒๕๔๑ นายไพศาล  นาขวัญ   โรงเรียนบ้านบางเทา
ครูสอนกายบริหารแม่ไม้มวยไทยดีเด่นของคุรุสภา
ปี พ.ศ.๒๕๓๑ นายเดชา  ศรีสุพรรณ     โรงเรียนบ้านสะปำ “มงคลวิทยา”
ปี พ.ศ.๒๕๓๒ นายธัญรัตน์  อินทร์กลับ   โรงเรียนเกาะสิเหร่
ปี พ.ศ.๒๕๓๓ นายมานะ  วงศ์เสรี   โรงเรียนบ้านบางเทา
ปี พ.ศ.๒๕๓๔–๒๕๓๘ นายบุญเสริม  สุวรรณรัฐภูมิ  โรงเรียนบ้านนาบอน
ครูสอนดนตรีไทย และฟังดนตรีไทยดีเด่นของคุรุสภา
ปี พ.ศ.๒๕๓๑ นายจักร  เชื่อนาคา      โรงเรียนถลางพระนางสร้าง
ปี พ.ศ.๒๕๓๒ นางสาวฐิติรัตน์  ชิณการณ์    โรงเรียนบ้านไสน้ำเย็น
ปี พ.ศ.๒๕๓๓ นางทัศนีย์  เศรษฐบุปผา      โรงเรียนแหลมพันวา
ปี พ.ศ.๒๕๓๔ นายจักร เชื้อนาคา      โรงเรียนวัดพระนางสร้าง
ปี พ.ศ.๒๕๓๕ นายอารมณ์  สุขจริญ     โรงเรียนวัดสุวรรณคีรีวงก์
ปี พ.ศ.๒๕๓๖ นายเดชา  ศรีสุพรรณ            โรงเรียนบ้านตลาดเหนือ  (วันครู ๒๕๐๒)
ปี พ.ศ.๒๕๓๗ นายอารมณ์  สุขเจริญ    โรงเรียนวัดสุวรรณคีรีวงก์
ปี พ.ศ.๒๕๓๘ นางเตือนจิตต์  จันทวงศ์    โรงเรียนถลางพระนางสร้าง
ปี พ.ศ.๒๕๓๙ นายเดชา  ศรีสุพรรณ      โรงเรียนบ้านตลาดเหนือ
ปี พ.ศ.๒๕๔๐ นายอารมณ์  สุขเจริญ    โรงเรียนวัดสุวรรณคีริวงก์
ปี พ.ศ.๒๕๔๑ นางจีระภา  รัตตกุล    โรงเรียนวิชิตสงคราม
ครูฝึกสอนการฝึกวินัยนักเรียนดีเด่นของคุรุสภา
ปี พ.ศ.๒๕๓๑ คณะครูโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๒๙
ปี พ.ศ.๒๕๓๒ นายนิเวศน์  เดชเจริญ  โรงเรียนบ้านท่าเรือ
ปี พ.ศ.๒๕๓๓ นายอินทรศักดิ์ อินทรเสาวภาคย์     โรงเรียนวัดมงคลวราราม
ปี พ.ศ.๒๕๓๔ นางวไลพร  ภักดีวิโรจน์  โรงเรียนบ้านพรุจำปา
ปี พ.ศ.๒๕๓๕ นางกรรณิการ์  ทรงเกียรติ   โรงเรียนบ้านลิพอน
ปี พ.ศ.๒๕๓๖ น.ส. สมถวิล  จิตต์เที่ยง    โรงเรียนบ้านบางคู
ปี พ.ศ.๒๕๓๗   นางสาวขนิษฐา  ฐานวิเศษ  โรงเรียนบ้านกะตะ “ตรีทศยุทธอุปถัมป์”
ปี พ.ศ.๒๕๓๘ นางวไลพร  ภักดีวิโรจน์   โรงเรียนบ้านพรุจำปา
ศึกษานิเทศก์ดีเด่นของคุรุสภา 
ปี พ.ศ.๒๕๓๒นายอาจินต์ ประทีป ณ ถลาง

๑๔.๒ ครูระดับก่อนประถมศึกษาดีเด่น  
ครูสอนชั้นเด็กเล็กและอนุบาลดีเด่นของคุรุสภา
ปี พ.ศ.๒๕๓๒ นางธนารัตน์  ไข่มุกด์  โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์
ปี พ.ศ.๒๕๓๓ นางสุรีย์  เพชรล่อเหลียน  โรงเรียนบ้านสะปำ
ปี พ.ศ.๒๕๓๔ นางจรูญรัตน์ เรืองไกรกลกิจ  โรงเรียนบ้านกู้กู
ปี พ.ศ.๒๕๓๕ นางสมจิตต์  ลีลากิจกำธร โรงเรียนบ้านป่าคลอก
ปี พ.ศ.๒๕๓๖ นางสุรีย์พร  หงษ์บุตร  โรงเรียนบ้านบางคู
ปี พ.ศ.๒๕๓๗ นางสุปาณี  เดชรักษา  โรงเรียนบ้านหัวควน
ปีพ.ศ.๒๕๓๘นางสาวเตือนใจ นวกุลฤทธิไกร   โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๓๙ นางศรีเพ็ญ  รอบคอบ         โรงเรียนวัดเทพกระษัตรี
ปี พ.ศ.๒๕๔๐ นางสุจินต์  ไกรทัศน์       โรงเรียนหงษ์หยกบำรุง
ปี พ.ศ.๒๕๔๑ นางอุทัยวรรณ  สุจริตธรรม    โรงเรียนบ้านทุ่งคา “บุณยขจรประชาอาสา”
ครูภาษาอังกฤษดีเด่นของคุรุสภา
ปี พ.ศ.๒๕๓๓นางสาวกมลรัตน์ ประเสริฐศิริ โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๓๔ นายชวลิต  บัวซ้อน  โรงเรียนวัดสุวรรณคีรีวงก์
ปี พ.ศ.๒๕๓๕ นายบุญช่วย  วงศ์ชัย  โรงเรียนบ้านม่าหนิก
ปี พ.ศ.๒๕๓๖ นายบุญจัด  ภักดีวิโรจน์  โรงเรียนบ้านป่าครองชีพ
ปี พ.ศ.๒๕๓๗นางสาวสุนทรี เอกวุฒิพงศ์ชัย โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต
ปีพ.ศ.๒๕๓๘นางสาวเสาวณิก ถิรวิริยาภรณ์ โรงเรียนบ้านท่าเรือ
ปี พ.ศ.๒๕๓๙ นางสมบัติ  ยกเชื้อ   โรงเรียนบ้านสาคู
ปี พ.ศ.๒๕๔๐ นางสุจินต์  จันทวงศ์     โรงเรียนบ้านหมากปรก
ปี พ.ศ.๒๕๔๑ นางทัศนา  ประดิษฐ์เสรี      โรงเรียนบ้านกะทู้
ครูนาฎศิลป์ดีเด่นของคุรุสภา
ปี พ.ศ.๒๕๓๙ นางสาวฐิติรัตน์  ชินการณ์    โรงเรียนเมืองภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๔๐ นางฉวีวรรณ  เพ็ชรพังงา      โรงเรียนวัดเมืองใหม่
ปี พ.ศ.๒๕๔๑ นางดรุณี  ธนะรัตน์      โรงเรียนบ้านบางเทา
ครูสอนจริยศึกษาดีเด่นระดับประถมศึกษาของคุรุสภา 
ปี พ.ศ.๒๕๓๙ นางจรรยา  โกยกิจเจริญ    โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๔๐ นางสาวเย็นตา  ขวัญนาค   โรงเรียนบ้านกะทู้
ปี พ.ศ.๒๕๔๑ นางสาวสุนา  ชิตดู    โรงเรียนบ้านเชิงทะเล(ตันติวิท)
ครูผู้สอนแนะแนวดีเด่นของคุรุสภา 
ปี พ.ศ.๒๕๓๙ นางสุรีย์  ฤกษ์ดี     โรงเรียนเมืองภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๔๐ นายจรูญ  คาหะปะนะ   โรงเรียนบ้านบางเทา
ปี พ.ศ.๒๕๔๑ นางสินี  โพธิกิจ             โรงเรียนบ้านตลาดเหนือ
ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ดีเด่นของคุรุสภา
ปี พ.ศ.๒๕๓๙ นางกัลยา  ต่อศักดิ์  โรงเรียนบ้านตลาดเหนือ
ปี พ.ศ.๒๕๔๐ นางลำดวน  พรมแดน  โรงเรียนวัดมงคลวราราม
ครูพลานามัยดีเด่นของคุรุสภา
ปี พ.ศ.๒๕๓๙ นายมานะ  วงศ์เสรี  โรงเรียนบ้านบางเทา
ปี พ.ศ.๒๕๔๐ นายสุวัชร์  โกยสมบูรณ์  โรงเรียนบ้านพรุจำปา
ครูสอนศิลปศึกษาดีเด่นของคุรุสภา
ปี พ.ศ.๒๕๓๙ นายมานิต  เตชะสิพันธุ์          โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๔๐นายรุ่งโรจน์ พฤกษ์วัฒนวงศ์   โรงเรียนบ้านบางเทา

๑๔.๓ ครูดีเด่นระดับมัธยมศึกษา
ครูภาษาไทยดีเด่นของคุรุสภา
ปี พ.ศ.๒๕๓๐ นางสาววนิดา  พูลสวัสดิ์  โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ครูภาษาไทยดีเด่นของกระทรวงศึกษาธิการ
ปี พ.ศ.๒๕๓๑ นายนพดล  กิตติกุล  โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๓๒ นางสาวมัลลิกา  พูลสวัสดิ์  โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ครูภาษาไทยดีเด่นของเขตการศึกษา ๔
ปี พ.ศ.๒๕๓๓  นางกิตติมา  ภาษี   โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๓๓ นายจำเนียร  กัณสุทธิ์    โรงเรียนเมืองถลาง
ปี พ.ศ.๒๕๓๗ นางกิตติมา  ภาษี   โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๓๗ นางชวนพิศ  ชัยศรี   โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ครูภาษาไทยดีเด่นของจังหวัดภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๓๗ นางสาววนิดา พูลสวัสดิ์     โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ครูผู้ได้รับการคัดเลือกให้สาธิตการสอน โดยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม
ณ โรงเรียนไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์
ปี พ.ศ.๒๕๓๙  นายปรีชา  คุ้มวงษ์  โรงเรียนกะทู้วิทยา
ครูผู้ส่งเสริมและพัฒนาการใช้ภาษาไทยดีเด่นของกรมวิชาการ
ปี พ.ศ.๒๕๓๙ นายถนอมเกียรติ  งานสกุล  โรงเรียนเมืองถลาง
ครูภาษาไทยดีเด่นของคุรุสภา
ปี พ.ศ.๒๕๓๙ นางวิไลภรณ์  ภูสกุล      โรงเรียนกะทู้วิทยา
ครูภาษาไทยดีเด่นของเขตการศึกษา ๔
ปี พ.ศ.๒๕๔๑ นางสุคนธ์  ขจรเดชกุล  โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย
ครูภาษาไทยดีเด่นของคุรุสภา
ปี พ.ศ.๒๕๔๑ นายทฤษฎา  ชาญยนตร์  โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย
ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่นของคุรุสภา
ปี พ.ศ.๒๕๒๔   นายศิริ  ประกอบกิจ             โรงเรียนสตรีภูเก็ต

ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่นของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
ปี พ.ศ.๒๕๒๖ นายศิริ   ประกอบกิจ  โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่นของกระทรวงวิทยาศาสตร์
ปี พ.ศ.๒๕๓๖ นายทวีศักดิ์  หาญสมุทร  โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่นของสภาผู้ปกครองและครูแห่งประเทศไทย
ปี พ.ศ.๒๕๓๙ นางละม้าย  กิจอำไพพงศ์ โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่นของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ปีพ.ศ.๒๕๔๐ว่าทีร.ต.อภิชติ อริยพิทยาภรณ์       โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย
ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น  ของเขตการศึกษา ๔
ปี พ.ศ.๒๕๔๑ นางสาววรรณา  เฟื่องฟู          โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย 
ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่นของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ปี พ.ศ.๒๕๔๐   นายสุวิทย์  เอกศิรินิมิตร   โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ครูสังคมศึกษาดีเด่นของเขตการศึกษา ๔
ปี พ.ศ.๒๕๓๓ นายสโรซิน  นรบาล  โรงเรียนเมืองถลาง
ปี พ.ศ.๒๕๓๗   นายพิทักษ์  สวนอักษร  โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ครูสังคมศึกษาดีเด่นของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ปี พ.ศ.๒๕๔๐ นายบุญเกียรติ  หลิมสกุล โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย
ครูสังคมศึกษาดีเด่นของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ปี พ.ศ.๒๕๔๑ นางอภิญญา วงศ์เสรี  โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย
ครูสังคมศึกษาดีเด่นของเขตการศึกษา ๔
ปี พ.ศ.๒๕๔๑ นายพิทักษ์  สวนอักษร  โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ครูคณิตศาสตร์ดีเด่น ของเขตการศึกษา ๔
ปี พ.ศ.๒๕๔๐ นางสาวอารมณ์  เตียงทอง โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย
ปี พ.ศ.๒๕๔๑ นางสุมาลี  สังขะไชย  โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๔๑นางสาวธนัญญา  เนียมชูชื่น โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ครูภาษาฝรั่งเศสดีเด่นของกระทรวงศึกษาธิการ
ปี พ.ศ.๒๕๓๓ นางขวัญตา  ตันติพิริยะกิจ  โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ครูภาษาอังกฤษดีเด่นของกระทรวงศึกษาธิการ
ปี พ.ศ.๒๕๓๓นางจันทร์ศรี ตันสุธัญญลักณ์  โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ครูภาษาฝรั่งเศสดีเด่นของเขตการศึกษา ๔ และกรมสามัญศึกษา
ปี พ.ศ.๒๕๓๔นางสาวเทียมจันทร์ หลีสกุล  โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย
ปี พ.ศ.๒๕๓๖    นางสาวพิศมัย  ต่อทีฆะ    โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ครูภาษาต่างประเทศที่ ๒ ดีเด่นของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 
ปี พ.ศ.๒๕๔๑ นางสาวอรรัตน์ เสริมกิจเสรี          โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ครูยุวกาชาดดีเด่นของกองยุวกาชาด กรมพลศึกษา
ปี พ.ศ.๒๕๒๔ นางอำพัน  บุญล้อม  โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๒๕   นางสาวประทิน เชาวน์ไวย โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ครูยุวกาชาดดีเด่นของเขตการศึกษา ๔
ปี พ.ศ.๒๕๓๓นางสาวสุธี รัตนดิลก ณ ภูเก็ต โรงเรียนเมืองถลาง
ปี พ.ศ.๒๕๓๖   นางสาวอุษากุล  กรุณา    โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๓๙ นางดิลกา  แจ้งเอี่ยม  โรงเรียนกะทู้วิทยา
ครูยุวกาชาดดีเด่นของกองยุวกาชาด กรมพลศึกษา
ปี พ.ศ.๒๕๒๗ นางปรียากุล  สงวนนาม  โรงเรียนเมืองถลาง
ครูเกษตรกรรมดีเด่น   ของเขตการศึกษา ๔
ปี พ.ศ.๒๕๒๕ นายทรงยศ  ตันตระกูล  โรงเรียนเมืองถลาง
ครูเกษตรกรรมดีเด่นของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ปี พ.ศ.๒๕๒๕ นางสาวบุญศรี  เทพบำรุง  โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๒๖ นางสาวจริยา  จักรปาณิรักษ์ โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๓๐  นายพูลสวัสดิ์  ยินดี  โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๓๒ นางมธุรส  ทองตัน  โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๔๐  นายทินทร  สุขศิริสัมพันธ์  โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ครูแนะแนวดีเด่นของเขตการศึกษา ๔ 
ปี พ.ศ.๒๕๓๓ นางสุวรรณา  จันทร์สร้าง  โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ครูแนะแนวดีเด่นของหม่อมงามจิตต์  บุรฉัตรอนุสรณ์
ปี พ.ศ.๒๕๓๔ นางปิ่นทิพย์ กรณี  โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๓๖ นางสาวสุมณฑา  เจริญกิจ โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ครูแนะแนวดีเด่นของสมาคมผู้ปกครองเขตการศึกษา ๔ 
ปี พ.ศ.๒๕๓๗ นางสาวยุพิน  คาหะปะนะ โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ครูจริยธรรมดีเด่นของสมาคมศาสนสัมพันธ์แห่งประเทศไทย
ปี พ.ศ.๒๕๒๖ นางสรียา  จินดาพล  โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ครูจริยธรรมดีเด่นของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ปี พ.ศ.๒๕๒๖ นายสริยา  จินดาพล  โรงเรียนเมืองถลาง
ครูจริยธรรมดีเด่นของสมาคมกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ นางจันทร์เพ็ญ  เอกบุตร  โรงเรียนกะทู้วิทยา
ครูจริยธรรมดีเด่น   "เข็มคุรุสดุดี" ของคุรุสภา 
ปี พ.ศ.๒๕๔๐ นางจันทร์เพ็ญ เอกบุตร  โรงเรียนกะทู้วิทยา
ครูผู้มีจรรยามรรยาทดีเด่น "เข็มคุรุสดุดี" ของคุรุสภา
ปี พ.ศ.๒๕๔๑ นางอรุณี  ระย้าแก้ว  โรงเรียนกะทู้วิทยา
ครูกลุ่มการพื้นฐานอาชีพดีเด่นของเขตการศึกษา ๔ 
ปี พ.ศ.๒๕๓๕  นางสาวสุริภรณ์  ทั่วรอบ  โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๓๕ นางคนึงนิจ  ภักดีวงศ์  โรงเรียนเมืองถลาง
ครูพลานามัยดีเด่นของการกีฬาแห่งประเทศไทย
ปี พ.ศ ๒๕๓๖ นางสาวสุวรรณี  อยู่สนิท  โรงเรียนสตรีภูเก็ต

๑๔.๔ ครูดีเด่นระดับอุดมศึกษา
ครูผู้มีจรรยามารยาทดีเด่น “เข็มคุรุสดุดี” ของคุรุสภา
ปี พ.ศ.๒๕๔๐ นางสาวสุรางค์   เจริญกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
ปีพ.ศ.๒๕๔๑นางสาวสุรัสวดี กีรติวิริยาภรณ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
ผู้บริหารดีเด่นของกรมอาชีวศึกษา ประเภทช่างอุตสาหกรรม
ปี พ.ศ.๒๕๓๗ นายจิต  เอียดสังข์  วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
ครูที่ปรึกษาโครงการวิทยาศาสตร์ รองชนะเลิศอันดับ ๒ ระดับประเทศ
ปี พ.ศ.๒๕๔๐ นายสามารถ หอประสิทธิ์กุล วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
รางวัลสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ของกรมอาชีวศึกษา
ปี พ.ศ.๒๕๓๗ นายเจริญ  หวังนิรันดร์  วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
รางวัลสิ่งประดิษฐ์จากขวดนม รางวัลชมเชย ๒ รางวัล
ปี พ.ศ.๒๕๔๐  นางกิติยา  สวนะคุณานนท์ วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
รางวัลสื่อการเรียนการสอนช่างอุตสาหกรรมของคุรุสภารางวัลชมเชย
ปีพ.ศ.๒๕๒๗นางสาวประภา  โลมะพิเศษย์ วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
รางวัลผลงานสิ่งประดิษฐ์รองชนะเลิศระดับภาคและระดับชาติ
ปี พ.ศ.๒๕๓๕  นายรุ่งจรัสแสง  พิรุณรัตน์ วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
รางวัลประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่รางวัลที่ ๑ ระดับภาคใต้และระดับชาติ
ปี พ.ศ.๒๕๓๕  นายกิตติ  บัณฑิตเลิศรักษ์  วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
รางวัลประกวดสิ่งประดิษฐ์เครื่องย่อยใบไม้
ปี พ.ศ.๒๕๓๕ นายธรรมนูญ  เอียบสกุล  วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
ข้าราชการพลเรือนดีเด่น และข้าราชการจรรยามรรยาทดีเด่น
ปี พ.ศ.๒๕๓๔ นายผ่อง  พรหมภักดี  วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
บรรณารักษ์ดีเด่นประเภทอาชีวศึกษาของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
ปี พ.ศ.๒๕๒๙   นางประเสริฐสุข   เขียวสังข์ วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
ข้าราชการพลเรือนดีเด่นของกลุ่มข้าราชการระดับ ๔-๖ ของจังหวัดภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๓๒ นางประเสริฐสุข  เขียวสังข์ วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
รางวัลผลงานและกรรมการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ระดับชาติ
ปี พ.ศ.๒๕๓๔ นางประเสริฐสุข  เขียวสังข์ วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
รางวัลสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ระดับชาติรางวัลชมเชย อันดับ ๓
ปี พ.ศ.๒๕๓๕-๒๕๓๖ นายวิทยา  บุญยง วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
ข้าราชการพลเรือนดีเด่น
ปี พ.ศ.๒๕๓๐ นางจริยา  เอียบสกุล  วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
รางวัลการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่รางวัลที่ ๑ ระดับชาติ
ปี พ.ศ.๒๕๓๕ นายพานิช  ชัยฤกษ์  วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
รางวัลประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษา ระดับภาครางวัลที่ ๓
ปี พ.ศ.๒๕๓๖   นายบุญเลิศ  ชลช่วยชีพ  วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
รางวัลประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษารางวัลชนะเลิศระดับภาค
ปี พ.ศ.๒๕๔๑ นายบุญเลิศ  ชลช่วยชีพ  วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
ครูภาษาไทยดีเด่นของคุรุสภา
ปี พ.ศ.๒๕๒๘  ผศ. อวยชัย   ผกามาศ  สถาบันราชภัฏภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๓๔  นายสมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์ สถาบันราชภัฏภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๓๕ ผศ. เจือจันทร์  ไหวพริบ  สถาบันราชภัฏภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๓๖ ผศ. พูลสุข  ญาณไพศาล  สถาบันราชภัฏภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๓๙ นายประเทือง  อัฐพร  สถาบันราชภัฏภูเก็ต

๑๕. คนไทยตัวอย่าง
     ประวัติและผลงาน
     นายเกียติ วงศ์กสิกิจ

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นายเกียรติ  วงศ์กสิกิจ(อายุ ๗๓ ปี)
เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๘ ที่อยู่บ้านเลขที่ ๙๘ หมู่ที่ ๒ ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต รหัสไปรษณีย์ ๘๓๑๑๐ โทร.(๐๗๖) ๒๗๒๖๗๑
ประวัติการศึกษา
จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
ประวัติการทำงาน
ทำสวนยางพารา เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๒ ต. ป่าคลอก อ.ถลาง จ. ภูเก็ต เป็นผู้นำด้านการเกษตรฯ ในการรวมกลุ่มเกษตรกรดำเนินการแก้ไขปัญหา ต่อ     รองราคาผลผลิตกับพ่อค้าคนกลาง พัฒนาอาชีพรองให้แก่เกษตรกรจนเป็นผลสำเร็จ เช่น การพัฒนาการเลี้ยงไก่ไข่ การปลูกทุเรียนพันธุ์ดี การเลี้ยงสุกร และการปลูกสับปะรดพันธุ์ดีในสวนยาง โดยลงมือทำเองเป็นตัวอย่าง พัฒนาชนบทด้านอื่น ๆ เช่น จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มเกษตรกร กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มแม่บ้านสตรี กลุ่มยุวเกษตรกร กลุ่มพัฒนาอาชีพปลูกผัก กลุ่มพัฒนาอาชีพเลี้ยงสุกร กลุ่มพัฒนาอาชีพการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ โรงสีข้าวของกลุ่ม กลุ่มขายยาง กลุ่มพัฒนาปรับปรุงคุณภาพยางแผ่น เป็นต้น
เกียรติคุณที่ได้รับ
ได้รับพระราชทานรางวัลของมูลนิธิธารน้ำใจ และโล่ประกาศเกียรติคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา    สยามบรมราชกุมารี        เป็นคนไทยตัวอย่าง  ประจำปี ๒๕๒๔

๑๖.  ผู้สูงอายุดีเด่น ของ
      จังหวัดภูเก็ต
      ประวัติและผลงาน
      นางสมจิตร  ช่อผล

ประวัติส่วนตัว
ชื่อนางสมจิตร นามสกุล ช่อผล
เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ เดือน สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๖ อายุ ๗๕ ปี ศาสนาพุทธ
ภูมิลำเนา ๗๓/๑ ถ.วิชิตสงคราม ต.ตลาดเหนือ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ที่อยู่ปัจจุบัน ๗๓/๑ ถ.วิชิตสงคราม ต.ตลาดเหนือ อ.เมือง จ.ภูเก็ต โทรศัพท์ ๐๗๖ - ๒๑๒๒๐๙

ประวัติการศึกษา
วุฒิการศึกษา ม.๓ พ.(ครูพิเศษประถม) พ.ศ.๒๔๘๒ เกษียณเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖ อาชีพ รับราชการครู
อาชีพปัจจุบัน ข้าราชการบำนาญ บัตรประชาชนเลขที่ ๓๘๓๙๙ ๐๐๒๙๖ ๔๕๙
เกียรติประวัติ
ได้รับการคัดเลือกจากจังหวัดภูเก็ตให้เป็นผู้สูงอายุดีเด่นปี ๒๕๔๑

๑๗. บุคคลสู้ชีวิตตัวอย่าง
      ประวัติและผลงาน
      นายอุทัย  สุขศิริสัมพันธ์

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นายอุทัย   สุขศิริสัมพันธ์ อายุ ๔๙ ปี
วันเดือนปีที่เกิด ๒๕กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๒
สถานที่เกิด หมู่ที่ ๓ ต. กระโสม อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา ศาสนาพุทธ บิดาชื่อ  นายสุจินต์  สุขศิริสัมพันธ์           มารดาชื่อนางปันหยี สุขศิริสัมพันธ์(ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)
ภรรยาชื่อนางนิศานาถ  สุขศิริสัมพันธ์ บุตร-ธิดา จำนวน ๔ คน เป็นชาย ๒ คน หญิง ๒ คน
ประวัติการศึกษา
ระดับประถม   โรงเรียนบ้านกระโสมผดุงนิคมวิทยา
ระดับมัธยมศึกษา       โรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน
ระดับอุดมศึกษา วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ(สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล)
ประวัติการทำงาน
รับราชการ, โรงงานผลิตอิฐมอญ, ค้าขายวัสดุก่อสร้าง, รับเหมาก่อสร้าง, รับจ้าง 
ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้างอาคารทุกชนิด, ซื้อ-ขายตะกรันดีบุก ส่งจำหน่ายไปต่างประเทศ เป็นผู้ริเริ่มนำตะกรันดีบุก ซึ่งใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่มา ทำให้มีราคา และทำให้ประชาชน เกิดมีรายได้จากการขายตะกรันดีบุกทำให้ ตระกรันดีบุกมีราคาสูง ขึ้นสวนยางพารา และซื้อขายอสังหาริมทรัพย์  บ้านจัดสรร
ตำแหน่งทางสังคม
รับราชการ ตำแหน่งช่างตรี สำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง กำนันตำบลกระโสม อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา ปี พ.ศ.๒๕๒๐ - ๒๕๒๙
ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรี ๒ กระทรวง ๓ สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๓ -  ๒๕๒๙
ผู้ก่อตั้งชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านจังหวัดพังงา ปี พ.ศ.๒๕๒๘
ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ต.กระโสม
สมาชิกสโมสรไลออนส์ภูเก็ต ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๓ ถึงปัจจุบัน
สมาชิกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๓ ถึงปัจจุบัน
สมาชิกหอการค้าจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๓ ถึงปัจจุบัน
สมาชิกสมาคมจีนฮกเกี้ยนจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๒๓ ถึงปัจจุบัน
ปฏิบัติงานในตำแหน่งอุปนายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ปีพ.ศ.๒๕๒๔ ถึง พ.ศ. ๒๕๒๕
ปฏิบัติงานในตำแหน่งประธานชมรมกีฬาฟุตบอลจังหวัดภูเก็ตตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๒๔ ถึง  พ.ศ.๒๕๒๘
ปฏิบัติงานในตำแหน่งประธานชมรมกีฬาโบว์ลิ่งจังหวัดภูเก็ตปี พ.ศ.๒๕๓๐- ๒๕๓๑
ปฏิบัติงานในตำแหน่งนายกสโมสรไลออนส์ภูเก็ตปีบริหารพ.ศ.๒๕๒๘- ๒๕๒๙
ปฏิบัติงานในตำแหน่งกรรมการบริหารสโมสรไลออนส์สากล ภาค ๓๑๐ บี ปลายปีบริหาร จนถึงปัจจุบัน
ได้รับโล่และประกาศเกียรติคุณในการบริหารงานสโมสรไลออนส์หลายครั้ง
รองประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต ปี พ.ศ.๒๕๓๖
เลขาธิการสโมสรไลออนส์สากลภาค ๓๑๐ บี ปีบริหาร ปี พ.ศ.๒๕๓๖ - ๒๕๓๗
ประธานภูมิภาคที่ ๓ สโมสรไลออนส์สากล ปี พ.ศ.๒๕๓๗ - ๒๕๓๘
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาประจำสถาบันราชภัฏภูเก็ต
เป็นประธานสหพันธ์เกษตรกรจังหวัดภูเก็ต
ปี พ.ศ.๒๕๒๕ ปฏิบัติงานในตำแหน่งรองผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์งานกีฬาเขตแห่งชาติ
ครั้งที่ ๑๖ จังหวัดภูเก็ตเป็นเจ้าภาพ
ปี พ.ศ.๒๕๒๗ ปฏิบัติงานในตำแหน่งประธานจัดงานฟุตบอลมหากุศล และฟุตบอล โค้กคัพภาคใต้
ปี พ.ศ.๒๕๓๓ วันที่ ๒๕ - ๓๑ มีนาคม  ปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้อำนวยการกอง  ประชาสัมพันธ์  และผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ จังหวัดภูเก็ตเป็นเจ้าภาพ(ปฏิบัติงานตั้งแต่เริ่มต้นจนงานแล้วเสร็จ ใช้เวลาประมาณ ๓๐๐ วัน)
ปี พ.ศ.๒๕๓๕ วันที่ ๒๔ - ๒๖ เมษายน ปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานจัดการประชุมใหญ่สโมสรไลออนส์สากลภาครวม ๓๑๐(ประเทศไทย) ครั้งที่ ๒๖ สโมสรไลออนส์ภูเก็ต, สโมสรไลออนส์อันดามันซี, สโมสรไลออนส์สตรีอันดามันซี ร่วมเป็นเจ้าภาพ(เวลาปฏิบัติงานตั้งแต่เริ่มต้นจนงานแล้วเสร็จใช้เวลา ๗๕ วัน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ชั้นที่ ๔ จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙ 
ตำแหน่งทางธุรกิจ
ประธานกรรมการและกรรมการจัดการบริษัท พันเทพบ้านและที่ดิน จำกัดประธานกรรมการบริษัท
เซเว่นบิลเลี่ย จำกัด
ประธานกรรมการบริษัท โกลด์ บิลเลี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้89
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1874
mod_vvisit_counterทั้งหมด10694375