Skip to content

Phuketdata

default color
Home
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต (๒) PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
ศุกร์, 05 พฤศจิกายน 2010
Click at the image to view full size
ฝากรูป

  

อาคารอังมอเหลา "ตึกนายหัวเหมือง" ในพิพิธภัณฑ์หมืองแร่ภูเก็ต

Click at the image to view full size
ฝากรูป

 

นสพ.เสียงใต้ หน้า ๑๓ ฉบับวันเสาร์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต

ตอนที่ ๑ ฉบับวันศุกร์ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

ตอนที่ ๒ ฉบับวันเสาร์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

ตอนที่ ๓ ฉบับวันอาทิตย์ที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

 

กลุ่มภาพอ้างอิง ๓๐ วัน  ๖๐ วัน  ๙๐ วัน

Click at the image to view full size
ฝากรูป

Click at the image to view full size
ฝากรูป  

v ส่วนท้ายรางเหมืองของเทศบาลเมืองกะทู้ V  

Click at the image to view full size
ฝากรูป

ภูเก็จ หรือ ภูเก็ต

  

จังหวัด“ภูเก็ต”หรือ“ภูเก็จ” ชื่อนั้นสำคัญไฉน?

6/9/2553 20:26:00


 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์12 ตุลาคม 2552 16:06 น.
 
เครื่องบินประจำมณฑลภูเก็จ หลักฐานยืนยันว่าแต่ก่อนเมืองไข่มุกอันดามันเคยใช้ชื่อ”ภูเก็จ”มาก่อน
       มีใครเคยสงสัยหรือสับสนบ้างว่า ทำไมชื่อสถานที่บางแห่งถึงมีการเขียนสะกดไม่ตรงกัน อย่างเช่น บางลำภู-บางลำพู หรือสาธร-สาทร
       
       เรื่องนี้มีคำตอบว่า มาจากการตีความในรากเหง้าของชื่อสถานที่ที่แตกต่างกัน หรือไม่ก็มาจากการเพี้ยนของคำหรือการสะกดผิดอย่างต่อเนื่องช้านานจนกลายเป็นสะกดถูกไปในที่สุด
       
       ดังกรณีของชื่อ(ย่าน)บางลำพู เดิมใช้คำสะกดว่าบางลำภู มาช้านาน จนกระทั่งเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว อ.สมปอง ดวงไสว(ร.ร.วัดสังเวช) ได้ค้นคว้าหารากเหง้าดั้งเดิมของชื่อบางลำพู ว่ามาจากการที่ย่านนี้ สมัยก่อนมีต้นลำพูขึ้นอยู่เยอะมาก พร้อมๆกับมีหลักฐานสำคัญยืนยัน คือ ต้นลำพูต้นสุดท้าย(ในสมัยนั้น) ซึ่งท้ายที่สุด อ.สมปอง และนักวิชาการที่ค้นคว้าในชื่อนี้ก็สามารถผลักดันให้มีการเปลี่ยนชื่อจาก“บางลำภู” มาเป็น “บางลำพู” จนถึงวันนี้

ป้ายบอกทางภูเก็จ สะกดแบบดั้งเดิม
       ส่วนชื่อ(เขต)สาทรนั้น ก็มักมีการสับสนไม่รู้จะเขียนว่าสาทร หรือ สาธร ดี เพราะช่วงหนึ่งมีการเขียนทั้ง 2 แบบ ซึ่งตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 23 เมษายน 2542 ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อ "สาธร" ที่เขียนผิดกันอยู่เป็น "สาทร” ตามที่มาที่ไปของชื่อเขตสาทรดั้งเดิม ที่เรียกชื่อตามบรรดาศักดิ์ของหลวงสาทรราชายุกต์ หรือเจ๊สัวยม บุตรพระยาพิศาลสมบัติบริบูรณ์(เจ๊สัวยิ้ม) ที่ได้อุทิศที่ดินของตนของให้ขุดเป็นคลองและนำดินที่ขุดคลองมาทำถนนนั้นเอง
       
       อีกกรณีหนึ่งที่แม้จะไม่ได้มีการพูดถึงในวงกว้าง แต่ก็มีการผลักดันของนักวิชาการท้องถิ่นอยู่พอสมควร เพื่อให้ชื่อนั้นสะกดอยากถูกต้องตามรากเหง้าของท้องถิ่นตัวเอง นั่นก็คือจังหวัด “ภูเก็ต” ที่วันนี้มีคนกลุ่มหนึ่งแย้งว่าน่าจะเป็น “ภูเก็จ” มากกว่า

ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ในตึกนายหัวเหมือง
       สำหรับคำว่า“ภูเก็ต”นั้นเชื่อว่าเพี้ยนมาจากภาษามลายูคือ“บูกิ๊ต” ซึ่งแปลว่าภูเขา(ข้อมูลจาก เว็บไซต์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) และใช้ต่อเนื่องสืบต่อกันมาช้านาน ในขณะที่คำว่า“ภูเก็จ” นั้นหมายถึง“เมืองแก้ว” ตรงกับความหมายเดิมที่ชาวทมิฬเรียก มณีคราม(ข้อมูลจากวิกิพีเดีย)
       
       ในเรื่องนี้ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ประธานกลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ และเป็นหนึ่งในผู้ผลักดันให้มีการกลับมาใช้ชื่อภูเก็จอีกครั้ง อธิบายว่า
       
       “คำว่า “ภูเก็จ” ที่ใช้ จ.จานสะกด แปลว่าภูเขาแก้ว แผ่นดินแก้ว หรือแผ่นดินเพชร หรืออะไรก็ได้ที่เป็นอัญมณี ที่ความหมายเป็นอย่างนั้นเพราะ ภู แปลว่าภูเขาหรือแผ่นดิน ส่วน เก็จ แปลว่าแก้วหรืออัญมณี ความหมายมันแปลได้อยู่สองนัย นัยแรก หมายถึงแผ่นดินที่มีเพชร อีกความหมาย หมายถึง แผ่นดินที่มีค่า แล้วถามว่าเพชรมีจริงไหม ก็มีจริงในประเทศไทยมีเพชรอยู่ 2 จังหวัด คือเพชรที่พังงาและที่ภูเก็ต
       
       “แต่ยุคอย่างพวกเราเราจะเห็นภูเก็ต สะกดด้วย ต.เต่าเสมอ เมื่อเห็นคำว่า ภูเก็ต ต.เต่า ก็เข้าใจว่า ภูเก็ต ต.เต่าเป็นสิ่งที่เราใช้มาตลอด จนวันหนึ่งเราไปค้นหนังสือเอกสารทุกชิ้นของภูเก็ตสมัยก่อนรัชกาลที่ 5 มาใช้ภูเก็จ สะกดด้วย จ.จานทั้งสิ้น เราก็กล่าวหาคนโบราณว่าทำไมไม่มีโรงเรียนหรือไงเขียนผิดกันจัง แต่ในที่สุดเราก็ทราบว่าเขาใช้ จ.จาน สะกดมาโดยตลอด”

ร้านภูเก็จโภชนา ที่นำเสนอร้านในรูปแบบย้อนยุค(ภาพ: ilovefino.multiply.com)
       อ.สมหมาย เล่าต่อว่า คำว่า ภูเก็จ จ.จาน สะกด ปรากฏหลักฐานครั้งแรกเมื่อประมาณ 225 ปีก่อน น่าจะปรากฏชัดเจนในปี พ.ศ.2328 เราได้เห็นคำว่า “ภูเก็จ” ในจดหมายของท่านผู้หญิงจันหรือท้าวเทพกระษัตรี ที่เขียนไปถึงกัปตันฟรานซิส ไล้ท์ (พระยาราชกปิตัน) กล่าวถึงเรื่องคุณเทียน ประทีป ณ ถลาง (บุตรท้าวเทพกระษัตรี) ได้รับพระราชทานตำแหน่ง พระยาเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามคำแหง อันแปลว่า ผู้ครองเมืองภูเขาแก้ว
       
       นอกจากนี้ยังมีหลักฐานอื่นๆอีก เช่น พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งดำรงพระยศพระบรมโอรสาธิราช กราบบังคมทูลรายงานกิจการเหมืองแร่ในมณฑลภูเก็จ ครั้งเสด็จหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.128, หนังสือราชการเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการเขียนถึงพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลภูเก็จ, ตราประทับของกระทรวงมหาดไทยประจำมณฑลภูเก็จ(มีจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ กะทู้), เครื่องบินประจำมณฑลภูเก็จ และภาพแผนที่ระวาง เขียนโดยกรมแผนที่ทหารก็ใช้คำว่า “ภูเก็จ” จ.จานสะกด

เสื้อยืดฝีมือคนรุ่นใหม่ที่ชื่อภูเก็จ
       “เดิมคำว่า “ภูเก็จ” จ.จาน ใช้มาตลอด แต่ในช่วงเวลาประมาณต้นรัชกาลที่ 6 คำว่า “ภูเก็ต” ต.เต่าเริ่มเข้ามา ภูเก็จ จ.จาน ซึ่งแปลว่าแผ่นดินแก้วแผ่นดินอัญมณี ก็หายไปกลายเป็นภูเก็ต ต.เต่า โดยไม่ทราบสาเหตุ เพียงแต่เราสมมติฐานกันเอาไว้ว่าน่าจะมาจากการที่เราไปเขียนติดต่อกับชาวต่างชาติเป็นภาษาอังกฤษก่อนว่า Phuket เมื่อเขียนไปแบบนั้นเมื่อต้องการสื่อสารกันในประเทศไทยเราไปแปลผิดกลายเป็น ตัว ต.เต่า ก็เลยใช้ตัว ภูเก็ต ต.เต่าสะกดมาโดยตลอด
       
       “ผู้รู้ที่สามารถในภาษามาลายู ติดต่อกับมาลายูได้ เขาก็ได้ศึกษาภาษาซึ่งกันและกัน ในภาษามาลายูเขาใช้คำว่า “บูเก๊ะ”(หรือที่รู้จักกันดีว่าบูกิ๊ต) แปลว่า ภูเขา เมื่อแปลว่าภูเขา เลยเข้าใจว่าบูเก๊ะ กับคำว่า ภูเก็ต คือคำเดียวกัน เราจึงแปลคำว่าภูเก็ตแปลว่าภูเขาเฉยๆ กลายเป็นว่าเมื่อเรารู้ว่า ภูเก็จ ตัวเดิมที่ใช้ จ.จานสะกด เราถือว่าวันนี้เราใช้ภาษามาลายู ภูเก็ต เลยเป็นอาณานิคมทางภาษาให้มาลายูมาเกือบ 100 ปี ในการเสียเอกราชทางภาษาให้มาลายู เพียงแต่การเปลี่ยนแปลงมันไม่ชัดเจนไม่ได้มีการประกาศไว้ เพียงแต่ค่อยๆเปลี่ยนไป
       
       “จนปัจจุบันราชการใช้คำว่า “ภูเก็ต” ต.เต่าสะกดหมด ดังนั้นผู้ที่ศึกษาเรื่องพวกนี้จึงมีโอกาสได้เห็นเท่านั้น ถ้านักเรียนเขียน “ภูเก็จ” ด้วยตัว จ.จานสะกด เพราะไปเห็นของจริงที่เขียนไว้ด้วย จ.จานสะกด มาส่งคุณครู ก็ต้องถูกเรียกมาตีมือเพราะในปัจจุบันถือว่าเขียนผิด” ผศ.สมหมายเล่าแบบหยิกแกมหยอก

เสื้อยืดฝีมือคนรุ่นใหม่ที่ชื่อภูเก็จ 2
       หลังจากมีการค้นคว้าหาหลักฐานเรื่องชื่อ ภูเก็จ-ภูเก็ต เรื่อยมา ในปัจจุบันจึงมีกลุ่มคนบางกลุ่มที่มีความประสงค์จะอนุรักษ์ชื่อจังหวัด “ภูเก็จ” ดั่งเดิมไว้ โดยเสนอว่าการกลับไปใช้ “ภูเก็จ” ที่มีอักษร จ. สะกด เป็นการนำอดีตมาเชิดชู รำลึกถึงมรดกตกทอดที่บรรพชนสร้างไว้ให้ดีแล้วนั้นสืบต่อไป ทั้งยังเป็นคำที่มีความหมายอันประเสริฐ และเป็นความหมายที่สอดคล้องกับประวัติศาสตร์โบราณคดีของเมืองนี้ยิ่งกว่าคำ “ภูเก็ต” ที่มีอักษร ต.สะกด หลายประการ
       
       นอกจากนี้ยังมีการนำเอาคำว่า "ภูเก็จ" ที่ใช้ จ.จานสะกดมาเพ้นท์ลงบนเสื้อยืดเพื่อสร้างเอกลักษณ์ของจังหวัดภูเก็ต และมีการนำมาตั้งเป็นชื่อร้านอาหารด้วย เช่น "ร้านภูเก็จโภชนา" หนึ่งในร้านอาหารขึ้นชื่อของภูเก็ตที่ขายอาหารจำพวกขนมจีบ ติ่มซำ ซาลาเปา กาแฟ บั๊กกุ๊ดเต๋
       
       โดย ชาญยุทธ์ ปาเวียง ผู้ดูแลร้านภูเก็จโภชนา เล่าว่า “ก่อนจะตั้งร้านทางหุ้นส่วนของร้านอยากจะทำร้านอาหารที่มันย้อนยุค ทุกอย่างในร้านรวมถึงชื่อร้านมีที่มาที่ไป ด้วยความที่ต้องการทำร้านแบบย้อนยุคและมีกลิ่นอายเก่าๆของเมืองภูเก็ต เมื่อค้นข้อมูลของภูเก็ตทั้งทางอินเตอร์เน็ตและทางผู้รู้ก็ได้รู้มาว่า แต่ก่อนสมัย รัชกาลที่ 5 เรียกภูเก็ตว่ามณฑลภูเก็จ สะกดด้วย จ.จาน แต่แล้วเมื่ออารยธรรมตะวันตกเข้ามาจึงมีการเพี้ยนทางสำนวนเขียนและสำเนียงการพูด สะกดเพี้ยนมาเป็นตัว T เมื่อภาษาอังกฤษสะกดตัว T จึงแปลเพี้ยนมาเป็นตัว ต.เต่า”
       
       ภูเก็จ จ.จานนี้เขามีความหมายอยู่ในตัวคือแปลว่าเกาะแก้ว จึงเลือกที่จะตั้งชื่อร้านเป็น “ภูเก็จโภชนา” โดยใช้ “ภูเก็จ” จ.จานสะกด เพื่อให้เข้ากับแนวทางของร้าน

ตราประทับมณฑลภูเก็จ ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ กะทู้
       ชาญยุทธ์ เล่าอีกว่า “เมื่อลูกค้ามาที่ร้านก็มีถามถึงชื่อร้านตลอดที่ใช้ภูเก็จ จ.จานสะกด ทางร้านก็ชี้แจงในเบื้องต้นให้ฟัง ลูกค้าเขาก็เข้าใจ มีคุณครูพาเด็กนักเรียนอนุบาล-ประถมมา เราก็ให้ความรู้เข้าไป ซึ่งเยาวชนรุ่นใหม่รู้กันน้อยว่าแต่ก่อนชื่อจังหวัดภูเก็ต เคยสะกดชื่อภูเก็จด้วยจ.จาน”
       
       “แต่ถ้าจะถามว่าควรใช้ชื่อไหน ผมก็เกิดมาในยุคที่ใช้ภูเก็ต ต.เต่าสะกดแล้ว ก็ต้องบอกว่าภาษาไทยตอนนี้ก็คงต้องใช้ตัวภูเก็ต ต.เต่าสะกดตามที่ทางการใช้ต่อไป” ชาญยุทธ์กล่าว
       
       อย่างไรก็ตาม เรื่องชื่อของจังหวัด"ภูเก็ต"หรือ"ภูเก็จ"นั้นสำคัญไฉน เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน แต่หากทางภาครัฐใส่ใจให้ความสำคัญ ทำการสืบค้นถึงรากเหง้ากันอย่างจริงจัง มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการกันอย่างกว้างขวาง และเปิดใจรับฟังความเห็นที่แตกต่าง บางทีประเทศไทยอาจได้ชื่อที่ถูกต้องแท้จริงตรงตามรากเหง้าของเมืองไข่มุกแห่งอันดามันนี้ก็เป็นได้

 

***

มห.ภูเก็จ
News ข่าว Latest News
กลุ่มภาพอ้างอิง ๓๐ วัน  ๖๐ วัน  ๙๐ วัน
Kraitat Sommai Kraitat Samarin
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อาทิตย์, 13 กุมภาพันธ์ 2011 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Polls

ชื่อใด (หรือคำใด) สื่อได้ชัดคม รู้เป้าหมายได้มากกว่า
 

Who's Online

ขณะนี้มี 2 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้500
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1111
mod_vvisit_counterทั้งหมด10731219