Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow Latest arrow พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต(๑)
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต(๑) PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พฤหัสบดี, 04 พฤศจิกายน 2010
Click at the image to view full size
ฝากรูป

น.ส.พ.เสียงใต้ หน้า ๑๓ ฉบับวันศุกร์ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓  

กลุ่มภาพอ้างอิง ๓๐ วัน  ๖๐ วัน  ๙๐ วัน

พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต

ผมเคยคิดและเคยฝันหลังจากผมไปดูพิพิธภัณฑ์เหมืองทองคำและ

เหมืองอะไรอีกอย่างจำไม่ได้แล้วที่เยอรมนี เมื่อนับสิบปีก่อนและที่

เม็กซิโก ทำให้ผมอดที่จะฝันว่า สักวันหนึ่งภูเก็ตน่าจะต้องมีพิพิธภัณฑ์

เหล่านี้ขึ้นมา


วันหนึ่ง มีคนบอกกับผมว่า ภูเก็ตมีพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ พร้อมกับบอก

ว่า อยู่ตรงไหน ผมขับรถจากเส้นทางเกาะแก้วตัดเข้าไปทางโรงเรียน

ดัลลิชเดิมและขับไปเรื่อย ๆ เพื่อที่จะหาพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ แต่หาไม่

เจอจนไปทะลุถึงสนามกอล์ฟด้านกะทู้ และผมออกมาถนนใหญ่แล้ว

เลี้ยวกลับเข้าไปใหม่ เพื่อจะหาให้มันเจอ แต่มันไม่เจอ ท้ายสุดผม

ต้องจอดรถถามชาวบ้านแถบนั้น มีทั้งชาวบ้านที่ไม่รู้และชาวบ้านที่รู้

แต่กว่าจะหาชาวบ้านที่รู้ ผมแทบจะหมดเรี่ยวและหมดแรงในการ

ติดตามและหา


ในที่สุด ผมก็หามันเจอจนได้ ประตูด้านนอกทำเสียใหญ่โต

เหมือนคฤหาสน์นายเหมือง แต่มีรั้วเหล็กกั้นทางเอาไว้


ถนนคอนกรีตที่ทำขึ้นมา กว้างและยาวพอประมาณ และที่บริเวณตัว

อาคารที่ผมเห็น แม้นว่าหลายส่วนจะมีรอยร้าวและรอยทรุดไปบ้าง แต่

นั่นเพราะการทรุดตัวของดินไม่เท่ากัน จึงเกิดอาการอย่างนี้ขึ้น

พอจะอะลุ่มอล่วยกันได้ พอจะให้อภัยกันได้

 

วันแรกของการเข้าไปพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ผมตื่นตา ตื่นใจและตก

ตะลึง ไม่คิดว่า ภูเก็ตบ้านเกิดของผม จะมีสิ่งยังงี้ได้ และเป็นสิ่งที่ผม

เคยคิดและเคยฝันมานานแสนนานว่า อยากจะเห็น อยากจะให้มันเกิด

และอยากจะให้มันมี


ผมพาเพื่อนร่วมรุ่นที่เป็นคณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

เชียงใหม่พร้อมคณะของเขาไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ผมเป็นคน

เดินเร็ว สำรวจเร็ว และใช้ความพยายามในการดูและแลอะไรต่าง ๆ

เพื่อเก็บข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้


ผมเห็นอาจารย์สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ คอยเดินบรรยายตามห้องต่าง ๆ

ด้วยลีลาและความช่ำชองในการอธิบายทั้งที่ไม่ใช่ลูกไม่ใช่หลานและ

ไม่มีญาติเป็นนายเหมืองแล้ว ผมเกิดความประทับใจยิ่งนัก

ทุกคนที่เดินทางไป แต่ละคนไม่ละสายตาจากอาจารย์สมหมายและสิ่ง

ที่อาจารย์สมหมายชี้ ผมเองสุดแสนจะดีใจมาก ๆ ที่อย่างน้อยที่สุด

ผมได้อวดประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของจังหวัดภูเก็ตผ่านคนอื่นที่บรรยายได้

ก่อนที่จะเข้าไป ผมสอบถามใครต่อใคร ทุกคนบอกว่า พิพิธภัณฑ์

เหมืองแร่ยังไม่เปิดให้บริการ คุณเอี่ยม ถาวรว่องวงศ์ นั่นแหละที่บอก

กับผมว่า หากยังไม่เปิด ก็โทรไปบอกคุณชัยอนันท์ สุทธิกุลให้เปิด

ผมเป็นคนซื่อ พอเสนอมายังงั้น ผมก็ควานหาเบอร์มือถือและเบอร์

ห้องทำงานจากคนที่ผมพอจะขอได้ทันทีและได้เสียด้วย
ผมติดต่อ

เลขานุการคุณชัยอนันท์ สุทธิกุล นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองกะทู้

ท่านก็มีเมตตาให้การติดต่อกลับมา ถามผมว่า จะต้องไปต้อนรับไหม

 ผมตอบว่า ไม่ต้อง หาคนมาเปิดให้ดูและหาคนอธิบายก็พอ


เห็นไหม ท่านเป็นคนใจถึง ใจนักเลง และคนประเภทนี้ ผมชอบ

เพราะพูดง่าย และเข้าใจง่าย ผมยังชื่นชมท่านนายกเทศมนตรี

เทศบาลเมืองกะทู้ชัยอนันท์ สุทธิกุลมาจนเดี๋ยวนี้เลย


ครั้งกระนั้น ใช้เงินงบประมาณในการก่อสร้างอาคารทั้งสิ้น 51 ล้านบาท

หากถามผมว่า เงินจำนวน 51 ล้านบาทมากไหม

ถ้าผมยืนมองตัวอาคารทั้งหมดที่วันนั้นผมเดินดูแล้ว ผมจะตอบว่า มาก และแพง

แต่เมื่อได้เข้าไปข้างในแล้ว ผมตอบกับตัวเองว่า แม้นจะงบประมาณมาก

แต่เมื่อก่อสร้างแล้ว ประโยชน์ใช้สอยคุ้มค่า และ ณ ที่แห่งนี้น่าจะเป็น

ขุมทรัพย์ทางความรู้ ขุมทองทางความคิด และมรดกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

ของภูเก็ตที่คนกลุ่มหนึ่งกำลังย่อส่วน


เพื่อย้อนรอยกลับไปหาอดีตที่เราเคยเป็นและเราเคยมีกันมาก่อน

 

เมื่อสมัยตอนผมเป็นเด็ก ผมเห็น ผมเคยยืนดูเขาฉีดน้ำ ผมยืนดูเขาร่อนแร่

ผมยืนดูรถขุดไปขุดดินใต้ดินหลังบ้านของผม ที่วันนี้คือตลาดสดเกษตร

ที่วันนี้คือห้างสรรพสินค้าโรบินสันและที่วันนี้คือศูนย์การค้าในตัวเมือง

แต่วันนั้นคือขุมเหมือง ที่ผมยังไปชะโงกคอดูทุกวันหลังจากกลับโรงเรียน

และทุกครั้งแม่ของผมจะบอกว่า

มึงอย่าลงไปน่ะ

 

ผมเคยคุยกับลูกชายของผม ลูกชายของผมยังบอกว่า

พ่อพาไปดูหน่อยซิ

วันนั้นผมเข้าไปดู ผมไม่เสนอตัวและเสนอหน้าว่าผมคือใครและใครคือผม

นอกจากติดไปกับขบวนและผมพยายามเดินหน้าบ้าง รั้งท้ายบ้าง

เพื่อชะโงกหน้าดูโน่น ดูนี่และดูนั่นตามประสาคนที่ตาอยู่ไม่สุข

หรือที่ชาวบ้านมักจะเรียกขานกันว่า เสือก

ผมชื่นชมกับการจัดวางแม้นจะไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยก็ตาม

แม้นว่าตัวอาคารจะค่อนข้างแพงถึง 51 ล้านบาท แต่หากหลับตา

มองอนาคตแล้ว มันน่าจะคุ้มค่าและเกินกว่าราคาที่มีได้

ผมไม่คิดในประเด็นนี้และไม่มองในประเด็นนี้

ผมเองค่อนข้างจะงุนงงกับงบประมาณการออกแบบด้านในของส่วนนิทรรศการ

ที่ต้องใช้เงินงบประมาณในการออกแบบอย่างเดียวถึง 7 ล้านบาท

โดยใช้งบประมาณของเทศบาลตำบลกะทู้ ที่ผมเองยังมองว่า

มันน่าจะสูงเกินไป สำหรับงบประมาณในการออกแบบอย่างเดียว

 

(ฉบับ พมร.(๑) ฉบับวันศุกร์ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

(อ่านต่อ พมร.(๒) ฉบับวันเสาร์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓)

(อ่านต่อ พมร.(๓) ฉบับวันอาทิตย์ที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓)

 

ปัญญา ไกรทัศน์

๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

อ้างอิง

http://www.siangtai.com/column2day/The-pen/thepen.htm
Click at the image to view full size
ฝากรูป

มหา’ลัยชีวิต พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(ภูเก็ต)

6/9/2553 20:35:00

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์3 สิงหาคม 2552 17:29 น.
 

รถโปท้อง รถสองแถว ตัวถังที่โดยสารสร้างด้วยไม้

ยุคเหมืองแร่หนึ่งในยุคทองของภูเก็ต(ในภาพคือหุ่นจำลองการทำเหมืองหาบ

 

 

 

       “ภูเก็ต” วันนี้มีฐานะเป็นเมืองท่องเที่ยวชื่อดังติดอันดับโลก เป็น

“ไข่มุกแห่งอันดามัน”ที่นักท่องเที่ยวถวิลหา แต่ก่อนที่จะมีวันนี้ ภูเก็ตได้ผ่านยุคสมัย

แห่งความรุ่งโรจน์ของการเหมืองแร่มายาวนาน ดังที่ปรากฏในเอกสาร พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ว่า
       
       ...ภูเก็ตเป็นเมืองที่เติบโตมาจากการทำเหมืองแร่ดีบุก ซึ่งต้องใช้ดีบุกเคลือบโลหะกันสนิม

และผสมทองแดงเป็นสำริดมากว่า 500 ปี จึงทำให้ชาวยุโรป(โปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส

และอังกฤษ) และชาวจีนฮกเกี้ยน(ทั้งที่ผ่านมาจากสิงคโปร์และปีนังหรือมาจากจีนโดยตรง)

หลั่งไหลเข้ามาทำเหมืองและตั้งหลักแหล่งในภูเก็ต มีวัฒนธรรมผสมผสานไทย ยุโรป

และจีน ทำให้มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น อาทิ สถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส อาหารพื้นเมือง

ภาษา การบูชาเทพเจ้า การแต่งกาย การแต่งงาน รวมไปถึงน้ำทะเลใสสีคราม หาดทราย

สะอาดและแดดเมืองร้อน จนกลายเป็นมนต์เสน่ห์ ไข่มุกแห่งอันดามันเมืองท่องเที่ยวที่มี

ชื่อเสียงก้องโลก...

อาคารอังมอเหลา(ชิโน-โปรตุกีส) ในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต
 

       นับได้ว่ายุคเหมืองแร่เป็นอีกหนึ่งยุคทองของภูเก็ตที่ก่อให้เกิดการพัฒนาเมือง

ในหลากหลายมิติ ทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
       
       มาวันนี้แม้ภูเก็ตจะเปลี่ยนผ่านจากยุคเหมืองแร่เข้าสู่เมืองท่องเที่ยว แต่ประวัติศาสตร์

แห่งความเป็นเมืองเหมืองยังไม่ตายและยังอยู่ในความทรงจำของใครหลายๆคน

เป็นประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าให้อนุชนคนรุ่นหลังได้เรียนรู้ศึกษาในรากเหง้าของตัวเอง
       
       ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้เห็นความสำคัญ โดยนายประเสริฐ ขาวกิจไพศาล อดีตนายกเทศมนตรี

เมืองกะทู้ในสมัยที่ดำรงตำแหน่ง ได้เสนอให้มีการจัดตั้ง“พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่”ขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2542

จนหลังเหตุการณ์สึนามิ ทางจังหวัดภูเก็ตได้มอบหมายให้เทศบาลตำบลกะทู้ ดำเนินการ

จัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ ในปี พ.ศ.2549 บนพื้นที่เหมืองแร่ดีบุกเดิม (เลิกทำเหมือง

เมื่อ พ.ศ.2500) บริเวณเหมืองท่อสูง ต.กะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต

       อาคารพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่สร้างตามแบบของนางปัญจภัทร(ตูน) ชูราช

โดยมี ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ เป็นผู้ออกแบบวางแนวคิดการจัดแสดงให้พิพิธภัณฑ์

ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ที่สามารถเรียนรู้ สัมผัส จับต้อง และร่วมลงมือปฏิบัติการด้วย

ตัวเองได้ในบางจุด ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จไปประมาณ 80 %
       
       อาคารหลังนี้สร้างในสไตล์ชิโน-โปรตุกีส ซึ่ง ผศ.สมหมาย ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์

ศิลปวัฒนธรรมของภูเก็ตและเป็นผู้นำชมพิพิธภัณฑ์ในครั้งนี้ กล่าวว่า คนภูเก็ตเรียกอาคาร

ลักษณะนี้ว่า “อังมอเหลา” ที่หมายถึงบ้านเรือนแบบฝรั่งของบรรดาเศรษฐีหรือนายเหมืองในอดีต

       สำหรับการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ จัดแสดงในแนวคิด

“เปิดลับแลม่านฟ้า เกาะพญามังกรทอง”

โดย แบ่งส่วนจัดแสดงหลักออกเป็นภายนอกและภายใน
       
       ภายนอก มีพันธุ์ไม้พื้นเมืองหลายชนิดให้ชม อาทิ ราชินีเหลือง หม้อข้าวหม้อแกงลิง

เฟินสามร้อยยอด ผักหวาน และยังหลงเหลือร่องรอยของการทำเหมืองเก่าไว้ให้ชมบ้าง

ซึ่งในอนาคตจะทำเป็นเหมืองแร่จำลอง มีเรือ ขุด รางแร่ ฯลฯ มาจัดแสดงให้ชม
       
       ภายใน แบ่งเป็นส่วนต่าง ๆ มีส่วนจัดแสดงที่สำคัญๆคือ
       
       โปท้องหง่อก่ากี่ แสดงภาพ(วาด)ลักษณะเด่นของอาคารชิโน-โปรตุกีส เช่น

หัวเสากรีก-โรมัน ลวดลายประตู หน้าต่าง มีรถสองแถวสร้างด้วยไม้หรือ “โปท้อง”

ตั้งไว้โดดเด่นกลางห้อง โดย ผศ.สมหมาย ให้ข้อมูลว่า ภูเก็ตเป็นหัวเมืองที่มีรถยนต์

เป็นอันดับแรกของเมืองไทย และเป็นเมืองที่มีรถยนต์เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยรองจากกรุงเทพฯ

 

สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมาจากเหมืองแร่
 

       ชินวิถี มีประตูทางเข้า หน้าต่างและช่องลม เป็นเสมือนปาก ตาและคิ้วพญามังกร

เมื่อเดินเข้าไป เป็นส่วนรับแขกของคนจีนผู้มีอันจะกิน ตกแต่งอย่างหรูหรา มีโต๊ะมุกเป็นที่

นั่งรับน้ำชาจากเจ้าของบ้าน มีฉากลวดลายต้นและดอกโบตั๋นอันสวยงามประดับ
       
       อัญมณีนายหัวเหมือง จัดแสดงวัตถุโบราณของสะสมสิ่งละอันพันละน้อย อาทิ

แสตมป์ดวงแรกของไทย เงินโบราณ จากเงิน(หอย)เบี้ย เงินพดด้วง เงินปึก มาถึงเหรียญ

 ธนบัตร ซากฟอสซิล หินโบราณ งาช้างตราประทับ"มณฑลภูเก็จ" ซึ่ง ผศ.สมหมาย

บอกว่านี่คือ 1 ใน หลักฐานสำคัญที่บ่งชี้ว่าในอดีตชื่อของภูเก็ตน่าจะใช้“ภูเก็จ”ที่หมายถึง

 ภูเขาแก้ว นอกจากนี้ยังมีวัตถุ สิ่งของ ข้าวของสะสมของนายหัวเหมืองอีกมากมาย ที่ล้วน

ต่างมามีต้นกำเนิดมาจากห้องถัดไป

 

 

นักท่องเที่ยว(เสื้อลาย)ร่วมทำการร่อนแร่(จริง ๆ )ในอาคารอังมอเหลา พิพิธภัณฑ์ เหมืองแร่

 

 

 

 

       เรืองดารากร ส่วนนี้จัดแสดงกำเนิดระบบสุริยะจักรวาล กำเนิดโลก โยงมาถึงการกำเนิด

ของมนุษย์ การเกิดหิน เกิดแร่ วิวัฒนาการของมนุษย์ในยุคโบราณพร้อมหุ่นจำลองมนุษย์

ยุคโบราณ ที่เริ่มรู้จักนำหิน นำแร่ อย่างเหล็ก สำริด มาใช้ในชีวิต ก่อนจะรู้จักการขุดค้นแร่

และการทำเหมืองแร่ที่ปรากฏในห้องต่อไป
       
       สายแร่แห่งชีวิต คือห้องสำคัญ จัดแสดงการทำเหมืองแร่ในรูปแบบต่างๆ ประกอบด้วย

เหมืองแล่น เหมืองรู(เหมืองปล่อง) เหมืองหาบ เหมืองฉีด เหมืองสูบ เหมืองเรือขุดแล้ว

 โดยพื้นที่ให้อาสาสมัครลงไปทดลองร่อนแร่ของจริงชนิดเปียกจริงได้ผงแร่ออกมาจริงๆ

ให้จับต้องกัน จัดแสดงกระบวนการในการผลิตแร่ตั้งแต่ยุคแรกที่ใช้แรงงานคน มาจนถึง

ยุคการใช้เครื่องจักร โดยมี "ลูกเชอ" เป็นภาชนะตักแร่ที่สำคัญ

 

 

นักท่องเที่ยวยืนชมหุ่นจำลองวิถีการทำเหมือง

       และด้วยการเข้ามาของการทำเหมือง อันเป็นยุครุ่งเรืองเฟื่องฟูของการทำเหมือง

ในภูเก็ตนี่เอง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวภูเก็ตครั้งสำคัญ

โดยเมื่อราว 150 ปีที่แล้ว แรงงานเหมืองซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีนฮกเกี้ยนได้อพยพ

มาเป็นกุลีในเหมืองหาบแล้วแต่งงานกับคนไทย คนท้องถิ่น ให้กำเนิดลูกหลานมีการผสมผสาน

ทางวัฒนธรรม เกิดเป็นวิถีวัฒนธรรมอันมีลักษณะเฉพาะตัวที่น่าสนใจขึ้นมากหลายใน

ภูเก็ต ดังปรากฏในส่วนแสดงถัด ๆ ไป

 
เรือกอจ๊าน

       สำหรับส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิตวัฒนธรรมภูเก็ตมีเรื่องราวน่าสนใจชวนชม อาทิ

เรือกอจ๊านที่ใช้ในสมัยก่อน เรื่องราวการหลงผิดไปเสพฝิ่นของแรงงานสมัยก่อน

บรรยากาศร้านรวง ศาลเจ้า ย่านพบปะของภูเก็ตในอดีต โรงงิ้ว โรงหนังตะลุง ร้านโกปี๊

วัฒนธรรมการแต่งงานแบบบาบ๋าเป็นต้น
       
       และนั่นก็เป็นส่วนใหญ่ของการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ อีกหนึ่งแหล่งรวม

เรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญ ดุจดังแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีองค์

ความรู้อันหลากหลายให้ค้นหา ซึ่งไม่เฉพาะแค่ชาวภูเก็ตเท่านั่นแต่ยังเป็นแหล่งเรียนรู้

สำคัญของชาวไทยอีกด้วย

       *****************************************
       
       พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 5 ถนนสายกะทู้-นาเกาะ ต.กะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต

พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต เคยเปิดวันเวลาราชการ 8.30-16.30 น. วันนี้หากประสงค์

จะเข้าชมต้องมีหนังสือถึงนายกเทศมนตรีเมืองกะทู้ ต.กะทู้ อ.กะทู้ ภูเก็ต 83100

หรือโทร.แจ้ง 08 1958 1097 ไม่เก็บค่าเข้าชมแต่ประการใด

 

***

มห.ภูเก็จ
News ข่าว Latest News
กลุ่มภาพอ้างอิง ๓๐ วัน  ๖๐ วัน  ๙๐ วัน
Kraitat Sommai Kraitat Samarin

 

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พฤหัสบดี, 14 พฤษภาคม 2020 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้832
mod_vvisit_counterเมื่อวาน2221
mod_vvisit_counterทั้งหมด10648200