Skip to content

Phuketdata

default color
Home
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พุธ, 06 ตุลาคม 2010

เนื้อหาในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต

1 สถานที่ตั้ง
2 ประวัติ
3 ลักษณะการจัดนิทรรศการ
4 กลุ่มนิทรรศการภายในอาคาร
4.1 ห้อง โปท้องหง่อก่ากี่
4.2 ห้อง ชินวิถี
4.3 ห้อง อัญมณีนายหัวเหมือง
4.4 ห้อง เรืองดารากร
4.5 ห้อง สายแร่แห่งชีวิต
4.6 ห้อง นิรมิตเล่นแร่แปรธาตุ
4.7 ห้อง ฉลาดนาวาชีวิต
4.8 ห้อง ลิขิตปรัชญ์สืบสาน
4.9 ห้อง บันซ้านบางเหนียว
4.10 ห้อง เก่วเกี้ยวในทู
4.11 ห้อง หลงผิดเสพ
4.12 ห้อง เทพาภรณ์
4.13 ห้อง คฤหปตนินท์
4.14 ห้อง บาบ๋าสินสมรส
4.15 ห้อง ฉายาบทนฤมิต
4.16 ห้อง ภาพกิจปฐมเหตุ
4.17 ห้อง วรรณวิเศษปัญญภูมิ
5 อ้างอิง 

สถานที่ตั้ง

พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้ [1](KATHU MINING MUSEUM) เปลี่ยนชื่อเป็น พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต (PHUKET MINING MUSEUM) [2] เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๑ ตั้งอยู่ที่ถนนเหมืองท่อสูง ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต 83120 จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นทรัพยากรทางการท่องเที่ยวและเป็นแหล่งการเรียนรู้ เปิดให้เข้าชมในวันเปิดราชการ เวลา ๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.

ประวัติ

หลังภาคใต้ประสบภัยสึนามิ จังหวัดภูเก็ตได้มอบหมายให้เทศบาลตำบลกะทู้[3]ดำเนินการจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ตามแบบของนางปัญจภัทร(ตูน) ชูราช บนพื้นที่การทำเหมืองแร่ดีบุก(เลิกทำเหมืองแล้วเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐) บริเวณเหมืองท่อสูง ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต เป็นเขตแดนตำบลกะทู้กับบ้านเกาะแก้ว ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

ดร.ประเสริฐ ขาวกิจไพศาล นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลกะทู้ได้จัดสรรงบประมาณจัดนิทรรศการภายในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๑

ลักษณะการจัดนิทรรศการ

กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ มีความประสงค์ที่จะสนับสนุนการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ จึงได้มอบหมายให้ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ เป็นผู้ออกแบบการจัดพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ดำเนินการจัดนิทรรศการเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มภายนอก(Outdoor)อาคาร(ต่อไปจะมีเรือขุดแร่ในขุมเหมืองด้านทางเข้าพิพิภัณฑ์ พ.ศ.๒๕๕๓ มีเหมืองฉีด เครื่องจักรกลในการทำเหมืองแร่ รางเหมือง โรงหัด) และกลุ่มภายใน(Indoor)อาคาร"อังมอเหลา"

กลุ่มนิทรรศการภายในอาคาร

พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.)ภูเก็ตจัดนิทรรศการภายในโดยใช้ชื่อ เปิดลับแลม่านฟ้าเกาะพญามังกรทอง มีห้องแสดงนิทรรศการใน "อังมอเหลา" (ตึกนายหัวเหมืองหรือบ้านเศรษฐี)ไปตามลำดับ คือ โปท้องหง่อก่ากี่ ชินวิถี อัญมณีนายหัวเหมือง เรืองดารากร(กำเนิดโลก กำเนิดแร่ธาตุ กำเนิดชีวิต กำเนิดคน คนใช้ไฟ คนใช้แร่ คนแสวงหาแร่) สายแร่แห่งชีวิต(เหมืองแล่น เหมืองครา เหมืองปล่อง เหมืองรู เหมืองอุโมงค์ เหมืองหาบ เหมืองสูบ เหมืองฉีด เหมืองเรือขุด) นิรมิตเล่นแร่แปรธาตุ ฉลาดนาวาชีวิต ลิขิตปรัชญ์สืบสาน บันซ้านบางเหนียว(ร้านขนมจีน ร้านขายของชำ ร้านโกปีเตี๊ยม ร้านแป๊ะอ๊านต๋อง(ร้านขายยาจีน) ร้านจักสาน) เก่วเกี้ยวในทู(อ๊าม งิ้ว หนังตะลุง) หลงผิดเสพ เทพาภรณ์ คฤหปตานินท์ บาบ๋าสินสมรส ฉายาบทนฤมิต ภาพกิจปฐมเหตุ และวรรณวิเศษปัญญภูมิ

 

เปิดลับแลม่านฟ้าเกาะพญามังกรทอง

THE GOLDEN DRAGON ISLAND

 

ห้อง โปท้องหง่อก่ากี่

ห้อง โปท้องหง่อก่ากี่

WELCOME to the ARCADE

รถสองแถว(ชาวภูเก็ตเรียก รถโปท้อง

แสดงภาพอาคารชิโนโปรตุกีสสไตล์ ที่ได้รับอิทธิพลจากชนชาติในยุโรป(มีโปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศสและอังกฤษ)ผสมกับประตูแบบจีน ที่มีประตู หน้าต่างและช่องลม เสมือนหนึ่งปาก ตาและคิ้วพญามังกร ส่วนคิ้วพญามังกรสร้างเป็นรูปทรงค้างคาวซึ่งเป็นสัตว์มงคลอย่างหนึ่งของชาวจีนฮกเกี้ยน หน้าประตูเป็นบริเวณสาธารณะที่เจ้าของบ้านพึงดูแลรักษา เรียกว่าหง่อก่ากี่ (อาเขด) มีรถสองแถวตัวถังสร้างด้วยไม้ ชาวภูเก็จชาวในทูเรียกว่ารถ โปท้อง (บางคนเรียก พอท้อง)

สถาปัตยกรรม[4] ชิโนโปร์ตุกีส(SINO-PORTUGUESE STYLE) (ชิโนหมายถึงจีน ส่วนโปรตุกีสหมายถึงยุโรป) สร้างขึ้นเป็นจำนวนมากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 จนถึงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ส่วนใหญ่เป็นอาคารสองชั้นทั้งหลังเดี่ยว(อังมอเหลา)และห้องแถว กำแพงหรือผนังอาคารก่ออิฐฉาบปูนหนาตั้งแต่ 60 เซนติเมตรขึ้นไป ใช้รับน้ำหนักอาคารทั้งหมด(ยุคหลังใช้คอนกรีตเสริมเหล็ก) การใช้กำแพงรับน้ำหนักนี้ทำให้อาคารมั่นคงแข็งแรง หลังคามีความลาดชัน มุงกระเบื้องดินเผาแผ่นเล็กรูปตัว v วางสลับคว่ำ-หงาย บานประตูหน้าต่างชั้นล่างส่วนใหญ่เป็นแบบสถาปัตยกรรมจีน มีการแกะสลักลวดลายธรรมชาติทั้งพืชและสัตว์ตามคติความเชื่อของจีน ประตูหน้าต่างและช่องลมประดุจปากตาและคิ้วพญามังกร ช่องแสงเหนือหน้าต่างเพื่อระบายอากาศเป็นลายลบมุมทั้งสี่จากรูปค้างคาว ส่วนชั้นบนมีหน้าต่างยาวถึงพื้นเรียกหน้าต่างแบบฝรั่งเศส บานหน้าต่างเป็นบานเกล็ดไม้ปรับมุมได้ ลวดลายตกแต่งผนังเป็นปูนปั้นมักเป็นลายที่มาจากสถาปัตยกรรมยุโรปในยุคนีโอคลาสสิกหรือยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (RENAISSANCE) มีเสาอิงที่มีลวดลายหัวเสาตามรูปแบบของโรมันและกรีกคลาสสิกหลายชนิด เช่น โครินเธียน(CORINTHIAN) ดอริก(DORIC) ไอโอนิก(IONIC) (ทัสคัน (Tuscan) คอมโพสิต(Composite)) รวมทั้งซุ้มโค้งหน้าต่างมีการตกแต่งลวดลาย เป็นการผสมผสานของหลายยุคศิลปะมารวมไว้ในอาคารเดียวเรียกว่า ECLECTICISM

องค์ประกอบสำคัญอีกประการหนึ่งของอาคารแบบชิโนโปรตุกีส คือการมีเฉลียงหรือช่องทางเดินมีหลังคาคลุมเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดีและป้องกันแดดฝน เรียกว่าหง่อกากี่ (ARCADE)

อาคารสาธารณะแบบชิโนโปรตุกีสที่โดดเด่นคือ สถานีตำรวจภูธรตลาดใหญ่ซึ่งมีหอนาฬิกาอยู่ชั้นบน, ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอรด์, พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว, สมาคมภูเก็ตฮกเกี้ยนสามัคคี, โรงแรมออนออน และอาคารเอกวานิช ในส่วนของคฤหาสน์หลังเดี่ยวที่เรียกว่า อังมอเหลา (อังมอ แปลว่าผมแดงคือชาวยุโรป, เหลาแปลว่าตึก) เช่น ตึกพระอร่ามสาครเขตร ตึกพระพิทักษ์ชินประชา ตึกชินประชา ตึกหลวงอนุภาษภูเก็ตการ เป็นต้น

อาคารตึกแถวที่มีหง่อก่ากี่เยี่ยมชมได้ที่เมืองทุ่งคาคือถนนถลาง ถนนพังงา ถนนเทพกระษัตรีบริเวณแถวน้ำ ถนนภูเก็ต ถนนเยาวราช หากต้องการชื่นชมบานประตูสุดสวยต้องดูที่ตึกแถวถนนดีบุก ด้วยการเดินชม นั่งรถตุ๊ก ๆ หรือเช่ารถโปท้องชมเมืองก็ควรค่าแก่ประสบการณ์ตน.

SINO-PORTUGUESE ARCHITECTURE CHARACTERISTICS

Sino-Portuguese clearly has distinguishable characters, both on an exterior design and interior area utilization. Sino-Portuguese buildings found in this city can be classified into three categories; public building including offices, manor houses, and commercial buildings. These three types of buildings were constructed extensively during the reign of H.M. King Chulalongkorn the Great (Rama V) to the early period of H.M. King Ananda Mahidol (Rama VIII) and most of these buildings are two-storey (later, there were some three-storey buildings being built). The main structure, a wall or a plastered brick wall with over 60 centimeters thickness, can be used to give weight support for the entire building. (However, buildings with reinforced concrete structure were found at a later date.) Using a weight supporting structure gives much strength to these firm-looking buildings. They have steep sloped rooftops paved with v-shaped ceramic roof tiles facing up and down. Most of the door and window frames are on the ground floor, they were based on Chinese architecture with wild nature pattern engravings, teaming with Chinese mythical trees and creatures. Ventilation slits over these frames are intentionally chamfered to resemble the shape of small bats. As for the top floor, there are tall wooden slatted windows with their lower frames extended to the ground, this style is being called “French-styled window”. Decorative pattern appearing on their wall’s stuccowork are adapted from neo-classic or renaissance European architecture. There are pilasters decorated with classic Roman and Greek styles such as Corinthian, Doric, Ionic ((Tuscan, Composite)) including decorations on window arches. These decorative patterns are a mixture of each epoch’s style in one building (called eclecticism in the west).

Another significant component of the building called Sino-Portuguese is the terrace or roof covered balcony providing good ventilation and weather sheltering. This building component could also be called “Ngo-Kaki” or “Arcade”. However, these walk-ways are barricaded at present except the ones on Thalang road, Krabi road, and Dibuk road.

There are several Sino-Portuguese styled buildings in Phuket, comprising a police station (Phromthep information center) with a clock tower on top, Standard Chartered Bank, Phuket Taihua school(original site), Phuket Fujian Chinese union association, On-On hotel, and Ek Vanich building, most of them are well maintained with an intact structure.

As for manor houses, called in Fujian and Chaozhou tongue as “Ang mo lao” (Ang mo means red-hair, imply to western people. Lao means building). Some of these buildings can still be found in Phuket, but most of them are in a state of disrepair or received minimal maintenance with only a few sites being carefully preserved.

The commercial buildings are still a common sight in Phuket municipality; most of them are in Chinese style mixed with neo-classic style.

 

ห้อง ชินวิถี

The THAI-CHINESE WAY of LIFE

เป็นส่วนรับแขกของ อังมอเหลา มีโต๊ะมุกเป็นที่นั่งรับน้ำชาจากเจ้าของบ้าน มีฉากลับแลลวดลายต้นและดอกโบตั๋น

 

ห้อง อัญมณีนายหัวเหมือง

The MINER's TREASURY

แสดงนิทรรศการอันเป็นสมบัติของนายหัวเหมืองที่ได้เก็บสะสมวัตถุสิ่งละอันพันละน้อยไว้อวดแขก เช่นดวงตราไปรษณียากรดวงแรกของประเทศไทย แหวนทองหัวแหวนเพชรภูเก็จประดับดีบุก เพชรพังงาที่ได้จากแหล่งลานแร่ในจังหวัดพังงา; เงินตราของไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยที่ใช้หอยเบี้ยแทนเงินตรา ปึกดีบุก รูปร่างทรงขนมครกเป็นเงินตราของเมืองถลาง เงินพดด้วง และพัฒนาการมาเป็นธนบัตรในสมัยรัชกาลที่ ๕ เงินเหรียญต่าง ๆ และเงินตราของประเทศเพื่อนบ้าน; เครื่องมือกระเทาะหินที่มนุษย์ได้ใช้เมื่อ ๒.๕ ล้านปีที่แล้วอันเป็นจุดเริ่มของการมีวัฒนธรรมของมนุษยชาติยุคหิน ขวานหินที่พัฒนาได้สวยงามและประณีต จนมนุษย์สามารถใช้ดีบุกหลอมกับทองแดงเป็นสัมฤทธิ์เมื่อ ๕,๐๐๐ ปีที่แล้วและใช้เหล็กแทนเครื่องมือหินเมื่อ ๔,๐๐๐ ปีที่แล้ว; นอกจากนี้ นายหัวเหมืองสนใจที่จะเก็บสะสมซากบรรพชีวิน(ฟอสซิล) เช่นฟันไดโนเสาร์ บรรพชีวินปูและหอยสองฝา อายุ ๔๘๘ ล้านปี เกล็ดปลาพุทธบุตรเอนสิส อายุ ๖๕ ล้านปีช่วงที่ไดโนเสาร์กำลังจะสูญพันธุ์ บรรพชีวินแอมโมไนต์จากเทือกเขาหิมาลัย(ประเทศเนปาล) สะเก็ดดาว(อุกกาบาต); วัตถุมงคล เช่น จตุคามรามเทพ เจ้าแม่กวนอิมบนไม้จันทน์หอมขนาดพระพักตร์เท่าเมล็ดข้าวสารฝีมือประติมากรอายุ ๖๕ ปีที่ใช้เข็มเย็บผ้าเป็นสิ่วและมีดในการแกะสลัก งาช้างตราประทับ"[มณฑลภูเก็จ]" เป็นหลักฐานการใช้ ภูเก็จ หมายถึงภูเขาแก้วมาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ วัตถุมงคลที่สร้างจากดีบุก; ทั้งนี้ สรรพวัตถุอันเป็นทรัพย์สินของนายหัวเหมืองทั้งหมดเหล่านี้ต่างมาจากการทำเหมือง เช่นทองคำมาจากเหมืองทอง ดีบุกมาจากเหมืองแร่ดีบุก เป็นต้น อันเป็นแนวคิดส่งผลต่อไปว่าวัตถุเหล่านี้นั้นต่างมาจากห้องเรืองดารากร

 

ห้อง เรืองดารากร

The SOLAR SYSTEM

เป็นห้องนิทรรศการแสดงกำเนิดดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ รวมทั้งโลกที่เย็นตัวลงมีผิวพื้นเป็นมหาสมุทรและพื้นทวีปเมื่อ ๔,๕๖๐ ล้านปีที่แล้ว ลูกโลกจำลองให้เห็นเส้นทางการอพยพของชาวจีนจากมณฑลฮกเกี้ยน เมื่อ ๑๕๐ ปีที่แล้วผ่านทะเลจีนใต้ อ้อมสิงคโปร์ มะละกา ปีนัง และเข้าสู่อ่าวภูเก็จด้วยเพียงเสื่อผืนหมอนใบมาเป็นกุลีในเหมืองหาบ; แหลมสุมาตราที่เคยเกิดภัยสึนามิเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ สาเหตุการเกิดภัยพิบัติไม่ว่าแผ่นดินไหว สึนามิและการเคลื่อนที่ของทวีปเป็นเพราะภายใต้เปลือกโลกยังคงเป็นหินหนืดเคลื่อนที่อยู่ในส่วนที่เป็นเนื้อโลก จึงเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสรรพสิ่งโดยตรงต่อพื้นผิวโลก คือ แผ่นดินไหว สึนามิ ภูเขาไฟระเบิดพ่นควันและลาวา เกิดหินอัคนี ผ่านกาลเวลาอันยาวนาน สึกกร่อนเป็นหินตะกอนหรือแปรเปลี่ยนเป็นหินแปร ซึ่งหินเหล่านี้คือก้อนแร่ธาตุทั้งที่เป็นแร่ธาตุเดี่ยวและผลรวมของหลายแร่ธาตุ ปรากฏเป็นสสารมีสถานะเป็นของแข็งซึ่งพร้อมที่จะสลายตัวหรือแตกตัวเป็นอนุภาคขนาดเล็กลง เช่นควอร์ตแตกตัวเป็นทรายและทรายแป้ง หินฟันม้าแตกตัวเป็นดินและดินเหนียว แตกตัวหรือผสมกับธาตุอื่นมีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลวและก๊าซ แยกตัวหรืออยู่รวมกับแร่ที่คงสถานะเป็นของแข็ง เช่นทองคำ เงิน ดีบุก เหล็ก ฯลฯ เมื่อแร่เหล่านี้มีปริมาณมากก็จะปรากฏเป็นแหล่งลานแร่

จุลชีพเกิดขึ้นเมื่อ ๔,๓๐๐ ล้านปีที่แล้ว วิวัฒนาการเป็นสัตว์และพืช ตายทับถมทิ้งร่องรอยไว้ในหินตะกอนเป็นบรรพชีวิน พัฒนาการชีวิตวิวัฒน์เป็นสัตว์ขนาดใหญ่ขึ้น ถึงยุคที่ก่อกำเนิดเป็นสัตว์จำนวนมากเซลล์ บางสายพันธุ์วิวัฒน์เป็นมนุษย์รู้จักใช้หินเป็นเครื่องมือเมื่อ ๒.๕ ล้านปีที่แล้ว รู้จักใช้ไฟเมื่อ ๗๙๐,๐๐๐ ปีที่แล้ว แสวงหาแร่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์แทนเครื่องมือกระเทาะหินหรือขวานหิน โดยหลอมดีบุกกับทองแดงเป็นโลหะผสมเรียกว่าสัมฤทธิ์หรือสำริด เป็นมนุษย์ยุคสำริด เมื่อ ๕,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา เป็นมนุษย์ยุคเหล็กเมื่อ ๔,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา สำรวจตรวจพบแหล่งลานแร่ จึงมีกิจกรรมการทำเหมืองแร่


ห้อง สายแร่แห่งชีวิต

TIN MINING

รางเหมืองแร่

เป็นนิทรรศการเหมืองจำลองตั้งแต่เหมืองยุคแรก ๆ ในการแสวงหาแร่ดีบุกเพื่อหลอมรวมกับทองแดงเป็นสัมฤทธิ์หรือสำริดนั้น เป็นการหาแร่ที่พบเห็นบนผิวดิน ชาวภูเก็ตเรียกเหมืองแล่น การขุดติดตามสายแร่ดีบุกลึกลงไปเป็นบ่อเรียกเหมืองปล่อง ขุดลึกเข้าไปตามหน้าผาในแนวระนาบเป็นเหมืองรูหรือเหมืองอุโมงค์ ชาวเหมืองจะได้หินดินแร่ใส่ภาชนะไม้ทรงกลมก้นลึกเรียกว่าเลียง ใช้น้ำใส่เลียง โคลงเคลงเลียงจนอนุภาคดินปนกับน้ำไหลออกเป็นโคลนตม เหลือหินขนาดเล็กและทรายกับแร่ เหวี่ยงเลียงให้น้ำวนในเลียง กำลังน้ำจะแยกทรายที่เบากว่าแร่ฟุ้งกระจายอยู่ข้างบนเลียง โคลงเคลงเลียงให้น้ำพัดเอาทรายออกพ้นไป แร่ซึ่งหนักกว่าจะตกลงไปรวมที่ก้นเลียง กรรมวิธีนี้เรียกว่าการร่อนแร่ด้วยเลียง เป็นการคัดแยกแร่ออกจากส่วนที่ไม่ต้องการ

เมื่อประมาณ ๑๕๐ ปีที่ผ่านมา ชาวจีนฮกเกี้ยนได้อพยพมาขายแรงงาน เป็นกุลี[5]ในเหมืองหาบ ทำงานเป็นผลัดหรือกะ ผลัด(กะ)ละ ๘ ชั่วโมง วันละ ๓ กะ กุลีแต่ละเหมืองหาบจึงมีมากกว่า ๑๐๐ คน กุลีจีนในยามว่างมีโอกาสพบปะกับหญิงสาวชาวไทยพื้นเมือง ตกลงแต่งงานมีลูกสืบหลานเป็นบาบ๋าอยู่ในเมืองภูเก็จ เมืองตะกั่วป่า เมืองระนอง มาตั้งแต่ครั้งนั้นกลายเป็นประชากรหลักในเขตบริเวณการทำเหมืองแร่

เมื่อยุโรปผลิตเครื่องจักรกลส่งมาถึงเหมืองแร่ ช่วยให้นายหัวเหมืองลดจำนวนกุลีลง ใช้เครื่องจักรกลสูบน้ำสูบแร่ทรายดินส่งขึ้นรางเหมืองที่สูงมากกว่า ๑๐ เมตร พ่นลงในกระบะที่มีตะแกรงคัดหินออกทิ้ง น้ำก็พัดพาทรายหินขนาดเล็กและโคลนไหลไปบนรางเหมือง มีไม้ขวางเป็นนบกั้นเป็นระยะ ดินและทรายซึ่งเบากว่าแร่ดีบุกก็ถูกแรงน้ำพัดพาไปทิ้งท้ายราง แร่ดีบุกที่ค่อนข้างละเอียดจำนวนหนึ่งถูกกระบอกฉีดน้ำฟุ้งกระจายปนดินโคลนหรือทรายหลุดตกไปท้ายราง ชาวบ้านชาวเมืองที่มีอาชีพร่อนแร่ก็ได้ประโยชน์พากันมาร่อนแร่ท้ายรางเหมือง เป็นอาชีพหลักรองลงจากการทำสวนยางพารา

ลูกเชอในเรือขุดแร่ดีบุก

กัปตันเอ็ดเวิร์ด โทมัส ไมล์ [6]ได้พิจารณาเห็นว่าใต้ท้องน้ำมีแร่มากพอที่จะทำเหมือง จึงได้ดัดแปลงเรือขุดร่องน้ำเปลี่ยนมาเป็นภาชนะตักแร่ที่เรียกว่า "ลูกเชอ" ผูกต่อลูกเชอติดกันบนสายพานให้เครื่องจักรกลในเรือลากลงไปตักแร่ใต้ท้องทะเล แล้วลากขึ้นเรือเคลื่อนเทลงในกระบะเพื่อแยกหินดินแร่ดุจเดียวกับรางเหมือง เป็นการขุดแร่ในทะเลด้วยเรือเป็นครั้งแรกของโลกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ปลายสมัยรัชกาลที่ ๕


การซื้อขายแร่ดีบุกในจังหวัดภูเก็ตปรากฏหลักฐานในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ เมื่อชาวโปรตุเกสเข้ามาซื้อแร่เมื่อ พ.ศ.๒๐๕๔ กระทั่งถึงสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ การเจริญสัมพันธไมตรีทางการทูตในปี พ.ศ.๒๑๕๐ มีชาวฮอลันดาเข้ามาเป็นชาติที่ ๒ และเกิดความขัดแย้งกับโปรตุเกส ชาวถลางไม่พึงประสงค์การผูกขาดการซื้อแร่ของชาวฮอลันดา จึงผลักดันให้ฮอลันดาออกไปจากเกาะภูเก็ต และในปี พ.ศ.๒๒๒๘ มีการซื้อขายแร่ดีบุกอย่างเป็นล่ำเป็นสันในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีชาวฝรั่งเศสมาตั้งห้างรับซื้อแร่ดีบุกเป็นการผูกขาดแต่เพียงผู้เดียวในจังหวัดภูเก็ต แต่อยู่ได้ไม่นานเพราะสมเด็จพระเพทราชาไม่ทรงโปรดฯ ฝรั่งเศส

การทำเหมืองดีบุกในภูเก็ต นับจากอดีตจนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นการทำเหมืองแร่ดีบุกขนาดเล็ก พึ่งพาแรงงานคน(ไม่ใช้เทคโนโลยี) โดยที่ชาวบ้านจะร่อนหาแร่ตามลำธาร ส่วนเจ้าเมืองหรือพวกที่มีทุนรอนขึ้นมา ก็ทำเหมืองแล่น เหมืองครา ในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีชาวจีนอพยพเข้ามามากขึ้น และมีการนำเทคนิคในการทำเหมืองแบบใหม่ที่ต้องอาศัยทักษะ แรงงาน และเงินทุนสูงขึ้นเข้ามาด้วย คือ การทำเหมืองหาบและเหมืองปล่อง เจ้าเมืองและนายหัวเหมืองชาวจีนจึงเปลี่ยนไปทำเหมืองแบบดังกล่าวแทน โดยเฉพาะเหมืองหาบนับเป็นวิธีการทำเหมืองที่นิยมมากที่สุด จนถึงปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ การทำเหมืองได้พัฒนาเทคนิควิธีการขึ้นไปอีกขั้นเป็นเหมืองฉีด เหมืองสูบ และเรือขุดแร่

 

MINING DISPLAY SECTION

THE HISTORY OF TIN MINING AND MINE TYPES FOUND IN PHUKET

The historical record reveals that tin trading in Phuket was in the reign of Somdet Phra Ramathibodi II, Portuguese came to buy tin ore in 1511 A.D. Until the reign of Somdet Phra Ekathotsarot (Sanphet III) in 1607 A.D., Dutch came in. The tin trade climbed up dramatically during the reign of Somdet Phra Narai in 1685 A.D. by the French company who had monopolized the trade in Phuket.

Tin mining in Phuket, from the long past to the reign of King Jetsadabodindra (Rama III) in Bangkok had always been small businesses depending on labors without any help of technology. Villagers used a panning technique to find mineral ores in a stream while a city governor and/or investors did it with ground sluicing and hill mining.

In the mentioned period, there were more Chinese immigrants who were bringing new mining techniques such as open-cut mining and drifting that needed higher skills, workforce, and investment funds, thus the city governor and Chinese investors changed these mining techniques by this time, especially with open-cut mining which was the most popular mining technique at the time.

By the end of King Chulalongkorn ’s (Rama V) reign, mining operators took another step in their mining technique development and adopted hydraulic mining, gravel pumping, and dredging. เหมืองแล่น

เหมืองแล่นเป็นวิธีการทำเหมืองแร่เปิดในแหล่งแร่ชนิดลานแร่พลัดหรือแหล่งแร่บริเวณเชิงเขา โดยใช้แรงงานคนหรือการสูบน้ำส่งผ่านกระบอกฉีด ไปฉีดพังหน้าเหมือง แล้วปล่อยให้ดินปนแร่ไหลรวมกับน้ำไปตามคูดินที่ขุดไว้ไปสู่รางกู้แร่ (Palong) การทำเหมืองประเภทนี้ นิยมทำในช่วงฤดูฝน และเหมาะกับผู้ที่มีเงินทุนน้อย

GROUND SLUICING

Ground sluicing is an open mine technique used for residual deposit site or hill side using human power or pumping water through monitor to break the mine front and let mineral containing soil flow along with water through ditches through palongs. This kind of mining was often seen in operation during the rainy season and suitable for investors who had a small fund.

เหมืองรูหรือเหมืองปล่อง

เหมืองรู (ปล่อง) เป็นวิธีการทำเหมืองใต้ดินที่ใช้ในแหล่งแร่ชนิดลานแร่ ที่มีเปลือกดินหนามากและไม่มีแร่ในชั้นเปลือกดิน โดยใช้แรงงานคนเปิดปล่องสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดเล็กกรุไม้หรือปล่องทรงกลมเพราะดินแข็ง และติดตั้งเครื่องกว้านแร่ทำด้วยไม้หมุนมือสำหรับขนดินหินปนแร่ขึ้นมาด้านบน ใต้ดินจะทำเป็นอุโมงค์และมีการเว้นปล่องเพื่อระบายอากาศ คนงานเหมืองจะจุดเทียนไขไว้ในอุโมงค์เพื่อใช้วัดปริมาณออกซิเจน ป้องกันคนงานไม่ให้ขาดอากาศหายใจ

SHAFT MINING OR DRIFTING

Shaft mining (Drifting) is an underground mining technique for placer deposits with a thick overburden and no ores in an overburden depth. It use workers to open a small square shaft padded with wood plank liners and installed with man-powered derrick to lift up soil and rock-ore mixture onto the ground level. Underground tunnels were being constructed while air ventilation shafts were built simultaneously to allow adequate air circulation in the mine. Mine workers may light candles in the tunnels to monitor an oxygen level for labors to breathe.

เหมืองหาบ

เหมืองหาบเป็นวิธีการทำเหมืองเปิดในแหล่งแร่ชนิดลานแร่บริเวณไหล่เขา โดยการเปิดหน้าดินด้วยการขุดเจาะหรือการใช้ระเบิดให้เป็นบ่อกว้างจนถึงชั้นดินที่มีแร่ แล้วใช้แรงงานคนหรือรถตัก รถบรรทุกขนดินปนแร่ไปสู่กระบวนการล้างแร่ในโรงแต่งแร่ โดยจะต้องบดย่อยหินปนแร่ให้แตกหรือหลุดจากกันก่อน โดยการใช้เครื่องมือย่อยหรือบดแร่ แล้วจึงนำดินหินปนแร่ที่ย่อยแล้วไปลงรางไม้ และล้างเก็บเอาแร่ออก

OPENEAST OR OPEN-CUT MINING

Open-cut mining is a surface mining technique/ open pit mining technique used for placer deposits located in the nearby hillside. A surface soil layer is drilled or exploded to allow access to ore-contained soil layer, then using workers, backhoes or mine loaders, and trucks to heave ore-contained soil into ore cleaning process in an ore processing plant. Ore-containing rocks must be grinded to pieces using an ore-grinding mill before conveying them to the wooden trough to wash and collect the ores.

เหมืองฉีด

เหมืองฉีดเป็นวิธีการทำเหมืองเปิดที่ใช้กับแหล่งแร่ชนิดลานแร่ โดยใช้เครื่องดูด (HYDRAULIC ELEVATOR) ในการสูบแร่ขึ้นรางกู้แร่หรือเครื่องอุปกรณ์แต่งแร่ “จิ๊ก”(JIG) โดยใช้น้ำที่กักเก็บไว้ในทำนบน้ำบนที่สูงเป็นพลังงานในการดูดดินปนแร่ แทนการใช้ปั้มดูดทราย (GRAVEL PUMP) เหมืองฉีดมีค่าดำเนินการที่ต่ำมาก แต่ต้องลงทุนในการสร้างทำนบและการเดินท่อน้ำค่อนข้างสูง

HYDRAULIC MINING

Hydraulic mining is an open pit mining technique used with placer deposits using a hydraulic elevator to pump ores into a palong or into “jig”, mineral processing equipment, utilizing water retained in a water reservoir on the high ground to give the power needed for ore-containing soil pumping instead of using a gravel pump. Hydraulic mining has a significantly cheap expense to operate, but it needs high investment cost to build a weir and water piping system.

เหมืองสูบ

เหมืองสูบเป็นวิธีการทำเหมืองเปิดสำหรับแหล่งแร่ชนิดลานแร่ โดยการสูบฉีดน้ำไปพังดินหน้าเหมือง บางแห่งอาจใช้รถตักดิน รถไถดินหรือการระเบิดช่วย ดินปนทรายและแหล่งแร่ที่พังทลายได้จะถูกปล่อยลงสู่ขุมสูบ แล้วจึงใช้ปั้มสูบทราย (GRAVEL PUMP) สูบดินปนแร่ขึ้นสู่รางกู้แร่ (PALONG) หรือเครื่องมือแต่งแร่อย่างอื่น เช่น จิ๊ก (JIG)

การทำเหมืองสูบเป็นวิธีการที่แพร่หลาย เพราะเป็นวิธีการที่มีกำลังการผลิตสูง ใช้เงินลงทุนไม่สูงมาก และไม่ต้องการบริเวณแหล่งแร่กว้างใหญ่

GRAVEL PUMPING

Gravel pumping is an open pit mining technique used with placer deposits by injecting water to break the surface soil. Some mines may use a backhoe or a bulldozer or explosives to help coping with the task. Sandy soils and mineral ores gained by this process will be discharged to a sump and use a gravel pump to suck them to a palong or other ore processing instruments such as jig. Gravel pumping is a popular mining technique because it has a high productivity, low investment cost, and it does not require a big deposit area on site.

เหมืองเรือขุด

การทำเหมืองเรือขุดจะใช้ดำเนินการในแหล่งแร่ชนิดลานแร่ขนาดใหญ่ ที่ผ่านการสำรวจว่าเป็นแหล่งที่มีความสมบูรณ์ของแร่เพียงพอต่อความคุ้มค่าในการลงทุน เรือขุดที่ใช้ในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นประเภทลูกเชอตักดิน (BUCKET LADDER DREDGES) ใช้ขุดเปิดหน้าดินใต้น้ำไปจนถึงดินชนิดที่มีแร่ปนอยู่ขึ้นมาเทในรางเหล็ก (DROP CHUTE) บนเรือ จากนั้นจะทำการคัดแยกดินทรายและแร่ละเอียดด้วยตะแกรงหมุน แล้วแยกแร่ด้วย จิ๊ก (JIG) โดยกระบวนการทุกขั้นตอนจะดำเนินการอยู่บนเรือทั้งหมด

DREDGING

Dredge mining operation, or dredging, is a suitable technique for a big placer deposit that has been survey-approved for its abundant ore supply to fulfill an investment margin. Most of the dredges used in Thailand are bucket ladder dredges which could dig up an underwater surface soil up to ore-containing soil on the shore and pout them down into a drop chute on board, then separate sandy soil and fine sized ores using trammel and sorting ores out with a jig, and every single process are operate on board.

เรือขุดแร่ลำแรกของโลก

เป็นเรือขุดแบบลูกเชอตักดิน(BUCKET LADDER DREDGES) ด้วยการขุดเปลือกดินตลอดจนชั้นแร่ด้วยลูกเชอ (BUCKETS) ซึ่งร้อยเป็นพวงด้วย BUCKET PINS ประมาณ 30-100 ลูก แต่ละลูกมีขนาด 0.2-0.33 ลูกบาศก์เมตร นำดิน ทรายและหินปนแร่เข้าสู่การคัดแยกหินด้วยตะแกรงหมุน การแยกขนาดเม็ดทรายและแร่ลงสู่รางกู้แร่ (PALONG) หรือเครื่องแยกแร่แบบจิ๊ก(JIG) ซึ่งจะทำหน้าที่เก็บแร่

ในการเดินเรือขุดจะใช้ลวดสลิง อันประกอบด้วยสายข้างและสายหัว ซึ่งใช้เครื่องกว้านเป็นตัว ขึงตึงหรือหย่อนสายโดยปลายข้างหนึ่งยึดติดกับหลุมสมอบนตลิ่ง หรือเดินด้วย SPUDS 2 อัน ที่ยก ขึ้น-ลง โดยเครื่องกว้านเช่นกัน การตักดินจะสามารถทำได้ประมาณ 45,000 – 170,000 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน พลังงานที่ใช้ในเรือขุดส่วนใหญ่จะมีเครื่องกำเนิดพลังงานแบบเครื่องจักรไอน้ำ เครื่องแก๊ส หรือเครื่องยนต์ดีเซลอยู่ในลำเรือนั่นเอง

ภายในเรือขุดจะมีเครื่องมืออุปกรณ์ล้างแร่และแต่งแร่ ได้แก่รางกู้แร่(PALONG) และเครื่องมือแต่งแร่แบบจิ๊ก (JIG) เพื่อทำการแต่งแร่ ให้ได้หัวแร่สะอาด โดยไม่ต้องนำไปแต่งในโรงแต่งแร่อีก

THE FIRST DREDGE IN THE HISTORY

The first dredge in the history was a bucket ladder dredge that was capable of digging up an overburden soil and bedded deposit with the buckets that were interconnected by bucket pins, with an approximate number of 30 – 100 buckets for each vessel. Each bucket had a capacity of 0.2 – 0.33 cubic meters. They conveyed soils, sands, and ore-containing gravels into a destoning process using a trammel, and running through particle size sorting into a palong or a jig which collects the ores.

Moving a dredge can be achieved by using two sling cables, a side cable and head cable with one end attached to an anchor on the river bank or the shore, using mooring winches to slacken or tighten them. The dredge could also be mobilized by using two spuds moving up and down, also powered by winches. The dredge could operate at a capacity of 45,000 – 170,000 cubic meters a month. For their power source, most dredges have a steam engine, gas engine, or diesel engine installed onboard.

There are ore cleaning and processing machines onboard, for example, a palong and a jig to clean and process the ores onboard in one go.

 

ห้อง นิรมิตเล่นแร่แปรธาตุ

TIN ALCHEMY

ภัณฑ์ : แท่งโลหะดีบุก ๒๗ กก., ตะกรันมีแทนทาลั่มในระดับสูง, ตะกรันก้อนใหญ่ที่สุด, เลียงร่อนทองคำ, หินอ่อนสีชมพูจากจังหวัดยะลา

ห้อง ฉลาดนาวาชีวิต

The HARDSHIP OVERSEA CHINESE

ภัณฑ์ : หุ่นนายตันเหลี่ยน บรรพชนโรงพิมพ์กองทอง, 'เสื่อผืนหมอนใบ', เรือสำเภาจีน(JUNK)

ห้อง ลิขิตปรัชญ์สืบสาน

THE CHINESE SETTLEMENTS

ห้อง บันซ้านบางเหนียว

BANG NIAO BAZAAR

ภัณฑ์ : กระวาน, กานพลู, โกปี๊เตี๊ยม, หุ่นอำแดงฮั้ว(แม่นางดอกไม้ สะใภ้ตัณฑวณิช)

ห้อง เก่วเกี้ยวในทู

CHINESE SPIRITUAL WORKSHIP at KATHU

เล่าเอี๋ยเจ้าอ๊าม หนังตะลุง(THAI SHADOW PLAY) อุปรากรจีน(CHINESE OPERA)

ห้อง หลงผิดเสพ

OPIUM ADDICTION

ภัณฑ์ : กระบอกสูบฝิ่น, หุ่นสูบฝิ่น, หมอนฝิ่น

ห้อง เทพาภรณ์

BOUTIQNG COLLECTION

ภัณฑ์ : จักรเย็บมือ ผ้าปาเต๊ะ จ่าวโป๋ อั้วจั๋น จิ่มแจ้ SKY LIGHT

ห้อง คฤหปตนินท์

MILLIONAIRE'S PATH

ห้อง บาบ๋าสินสมรส

BABA's MARIAGE

ภัณฑ์ : หุ่นเจ้าบ่าวบาบ๋า[7] หุ่นเจ้าสาวบาบ๋า[8]

[9] [10]BABA'S MARRIAGE

ชาวจีนมีความอดทนและชอบการผจญภัยมาตั้งแต่สร้างแผ่นดิน ได้อพยพด้วยเรือสำเภาจีน แม้เพียงเสื่อผืนหมอนใบ แต่ความขยันขันแข็งในงานเหมือง จึงสร้างฐานะครอบครัว แต่งงานบาบ๋า สืบลูกสร้างหลานสืบกาลสืบแซ่[11]สร้างบ้านแปงเมืองในทูมาจนถึงปัจจุบัน

บ้านเก็ตโฮ่เป็นแหล่งแร่ดีบุกที่อุดมสมบูรณ์ในตำบลกะทู้ มีพ่อค้าชาวยุโรปเข้ามาตั้งบริษัทรับซื้อแร่ดีบุก[[1]]ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2328 และ พ.ศ.2352 พม่ายกทัพมาโจมตีเมืองถลาง[12] ส่งผลให้ชาวเมืองถลางบางส่วนอพยพหลบหนีไปอาศัยอยู่รวมกับชาวจีนที่ชุมชนกะทู้บ้านเก็ตโฮ่ ชุมชนกะทู้จึงขยายใหญ่ขึ้นและมีการทำเหมืองแร่ดีบุกอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เริ่มจากแรงงานคนแล้วพัฒนาไปใช้เครื่องมือจักรกล

IMMIGRATION OF PHUKET POPULATION

Chinese people, each holding a mat and cushion, migrated from China to this region by Chinese junks. Tin demand worldwide triggered a flood of immigrants looking for an opportunity in the mining business. These Chinese people made their settlements in Phuket and blended their own culture into the local culture providing uniqueness in this region, inherited from one generation to another thus resulting in its magical charm today.

KATHU COMMUNITY AND TIN MINING

Kathu village, Kathu district, was a rich ore deposit site for tin. European traders came to establish companies which acted as the tin ore buyers since Ayutthaya. Until 1785 A.D., when Burmese invaded the country and attacked the city of Thalang, forcing some town people to flee and join up with Chinese people in the Kathu community in the Kathu village thus enlarging the Kathu community with the result that a boom of tin ore mining activities which developed to a machinery mining operation at last. At present Kathu people do not work for tin mining anymore because the price in the world market has gone down to ash and tin ore deposit has been carelessly depleted.

 

ห้อง ฉายาบทนฤมิต

LET'S SMILE PHOTOHOUSE

ห้อง ภาพกิจปฐมเหตุ

PHOTO ARHIVES

ภัณฑ์ : นามสกุลที่ขอตั้งในมณฑลภูเก็จ(ภาพ(pic)), จดหมายเหตุภาพ(จห(ar)), จดหมายเหตุลายลักษณ์, สมุดข่อยอักขระขอม, สมุดข่อยลายลักษณ์ภาษาไทย, ภาพเหตุการณ์สึนามิจังหวัดระนองพังงาภูเก็ตกระบี่ตรังและสตูล,

ห้อง วรรณวิเศษปัญญภูมิ

THE INFORMATION CENTER

ภัณฑ์ : ข้อมูลเหมืองแร่จากหนังสือ(นส(bk)), แผนที่การทำเหมืองแร่(ผท(map)), น.ส.พ.ปักษ์ใต้(นส((bk)), สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้, สารานุกรมวรรณกรรมภาคใต้คัดสรร

อ้างอิง

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
  • Powered by MediaWiki
  • Wikimedia Foundation
อ้างอิง
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B9%89
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อังคาร, 25 มกราคม 2011 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Polls

ชื่อใด (หรือคำใด) สื่อได้ชัดคม รู้เป้าหมายได้มากกว่า
 

Who's Online

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้327
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1233
mod_vvisit_counterทั้งหมด10681664